พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ในปี 2565

พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ในปี 2565

พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ในปี 2565

สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย

โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย

หลายคนอาจมีจินตนาการว่าเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) น่าจะเหมือนกับในภาพยนตร์แนวไซ-ไฟที่มียานพาหนะลอยฟ้ารับส่งผู้คน หรือมีหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หมอประจำบ้าน

เราพูดถึงกันมานานเกี่ยวกับเมืองที่มีความเป็น ‘อัจฉริยะ’ แต่คำนิยามของความเป็นอัจฉริยะที่ว่านี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเรามีการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เราจะมาสำรวจกันว่าพัฒนาการของ ‘สมาร์ทซิตี้’ ในปี 2565 ก้าวล้ำไปถึงไหนแล้ว

ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์ล่าสุดของสมาร์ทซิตี้ยังคงห่างไกลจากภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), 5G, เทคโนโลยีคลาวด์, บิ๊กดาต้า และ Internet of Things (IoT) ที่ถูกนำมาใช้ในเมืองอย่างต่อเนื่องทำให้พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ได้ก้าวหน้าไปตามความคาดหวังของผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของสมาร์ทซิตี้ในวันนี้ งาน Expo 2020 Dubai* น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในโลกสำหรับสภาพแวดล้อมเมืองที่มีการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึงและได้รับการออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

(*ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”)

ด้วยอาคารกว่า 130 หลังเชื่อมต่อถึงกันในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของประเทศโมนาโก งาน Expo 2020 Dubai ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติที่ปลอดภัย ยั่งยืน และบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 170 ปี ของการจัดนิทรรศการระดับโลกนี้

Expo 2020 Dubai มีความเป็นอัจฉริยะมากแค่ไหน

หัวข้อหลักของการจัดงาน Expo 2020 คือ “การเชื่อมโยงความคิดและการสร้างสรรค์อนาคต”  งานนิทรรศการนี้อาศัยการขับเคลื่อนด้วย AI และมีแพลตฟอร์มที่แยกต่างหากสำหรับการจัดการพลังงาน  นอกจากนี้ อาคารอัจฉริยะและระบบรักษาความปลอดภัยถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและทำงานอย่างสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้จัดการอาคารสามารถควบคุมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น การทำความเย็น คุณภาพของอากาศ การผ่านเข้า-ออกอาคาร และสัญญาณเตือนอัคคีภัย

Expo 2020 เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งงานกว่า 210,000 จุด รวมไปถึงประตูเข้า-ออก 5,500 จุด และกล้องกว่า 15,000 ตัว เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าชมงาน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างราบรื่นและไร้รอยต่อ  นอกจากนั้น ยังมีการประหยัดพลังงาน ปรับสมดุลในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดโดยนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ และใช้พลังงานที่กักเก็บในแบตเตอรี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการชาร์จไฟให้กับยานยนต์ไฟฟ้า

ความชาญฉลาดของงาน Expo 2020 อยู่บนระบบปฏิบัติการ MindSphere ที่ทำงานบนคลาวด์ของซีเมนส์ (Siemens) โดยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์โดยสาร ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ โคมไฟส่องสว่างและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ถูกเชื่อมโยงในลักษณะที่สัมพันธ์กันและถูกกลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ปรับสภาพความเป็นอยู่ภายในเมือง โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ถูกออกแบบและรวมไว้ตั้งแต่ระดับรากฐานของ MindSphere

งาน Expo 2020 ตอกย้ำถึงศักยภาพของสมาร์ทซิตี้อย่างรอบด้าน กล่าวคือ ระบบอัจฉริยะจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อมิติต่างๆ ของเมือง เช่น การบริหารจัดการ การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณสุข และการดูแลความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกรวมมูลค่าราว 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯจนถึงปี พ.ศ. 2569

ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าการลงทุนเพื่อปรับปรุงเมืองให้ฉลาดขึ้นจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2573 โดยจะเป็นการลงทุนทั้งในส่วนของภาคเอกชน เช่น การสร้างอาคารอัจฉริยะ และระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Microgrid) รวมถึงภาครัฐ และทุกคนจะได้รับประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยให้เมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีความยืดหยุ่นและปลอดภัยมากขึ้น

ต่อยอดจาก Expo 2020 Dubai สู่เมืองที่แท้จริง

หลังจากที่งาน Expo 2020 สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม พื้นที่ในบริเวณนี้จะถูกพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองแห่งอนาคตที่มีชื่อว่า District 2020 ภายใต้โครงการของรัฐบาลดูไบ

ด้วยการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานและการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่มีการก่อสร้างแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ให้กลายเป็นชุมชนเมืองเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัย องค์กรธุรกิจ และนักท่องเที่ยว District 2020 จะยังคงเก็บรักษาสินทรัพย์และสิ่งก่อสร้างภายในพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ที่เป็นไปตามมาตรฐานอาคารสีเขียวทั้ง LEED และ CEEQUAL โดยจะพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมืองอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์และรองรับการใช้งานที่หลากหลายและยั่งยืน มีทั้งพื้นที่สำนักงาน พื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน ชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นและเงียบสงบ สถานที่ท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ศูนย์นิทรรศการ Dubai Exhibition Center และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อธุรกิจและการพักผ่อน โดยคาดว่า District 2020 จะสามารถรองรับได้ประชากรสูงสุดถึง 145,000 คน

District 2020

ซีเมนส์จะมีบทบาทสำคัญในการแปลงโฉมพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ให้กลายเป็น District 2020 และจะกลายเป็นผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ระดับโลกในส่วนของธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก และทางเรือ จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี มาที่ District 2020 และคาดว่าพนักงานของซีเมนส์ประมาณ 1,000 คนจะทำงานอยู่ในอาคารสองหลังที่ใช้เทคโนโลยีการจัดการอาคารที่ถูกติดตั้งไว้เดิมสำหรับงาน Expo 2020 เช่น เซ็นเซอร์อัจฉริยะ และแพลตฟอร์ม IoT ที่รองรับ ‘ระบบตรวจจับ’ ทั่วทุกจุดภายในอาคาร เพื่อจัดหาข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะใช้งานของอาคาร รวมไปถึงการให้บริการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งสำหรับบุคคลและอุปกรณ์ต่าง ๆ

ถอดบทเรียน Expo 2020 Dubai กับการพัฒนา Smart City ของประเทศไทย

สถานการณ์การแพร่ระบาดก่อให้เกิดปัญหาท้าทายมากมายสำหรับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งยังทำให้รูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และการพบปะสังสรรค์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  นอกจากนั้น ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนสำหรับเมืองต่าง ๆ เนื่องจากมีข้อมูลว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 60% มาจากพื้นที่เมือง  ความท้าทายที่สำคัญสองประการนี้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้บริหารเมืองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคิดทบทวนเกี่ยวกับอนาคตของเมืองที่ตนเองดูแล ประเทศไทยก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่างจากกัน

เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ไฟฟ้า ประปา และเครือข่ายการสื่อสาร จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน

แนวทางการสร้างสมาร์ทซิตี้จากงาน Expo 2020 ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้:

  • เมืองจะเป็นเมืองก็ต่อเมื่อมีคนอาศัยอยู่ ดังนั้นการออกแบบสมาร์ทซิตี้ที่ประสบความสำเร็จจะต้องมุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก (Human-Centered)
  • เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างมาก แต่ในระดับที่แตกต่างกันสำหรับเทคโนโลยีแต่ละอย่างและเมืองแต่ละแห่ง ดังนั้นจึงไม่มีโซลูชันแบบครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกเมือง การผสมผสานเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม การติดตั้งใช้งานที่ยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ จะช่วยให้เมืองมีความเป็นอัจฉริยะและรองรับการใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมืองจะต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไลฟ์สไตล์ของผู้คน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากส่วนต่างๆ ของเมืองซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนห้องแล็บมีชีวิต เพื่อพัฒนาปรับปรุงเมืองให้มีความฉลาดอยู่เสมอ โดยสิ่งสำคัญคือจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างฯ ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับขนาดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม
  • การพัฒนาที่ยั่งยืนถือเป็นภารกิจสำคัญสำหรับเมืองต่าง ๆ เพราะในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน เราจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่เมือง การปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI, IoT, Blockchain, Big Data ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ขณะที่เมืองต่าง ๆ เปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังจากที่การเดินทางระหว่างประเทศและกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเริ่มกลายเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวพักผ่อน การเดินทางเพื่อทำธุรกิจ หรือจุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุน เราสามารถเร่งการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ได้ด้วยการเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และสร้างโซลูชั่นที่เหมาะกับวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของเรา โดยจุดมุ่งหมายคือการสร้างเมืองแห่งอนาคตที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น และมีความยั่งยืนสำหรับทั้งคนไทยและผู้มาเยือน

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ*”

ซีเมนส์

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ*”

* ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นในปี 2021 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”

    • งาน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ” ใช้เทคโนโลยีด้านอาคารอัจฉริยะจากซีเมนส์ซึ่งถูกขับเคลื่อนและรวมไว้บนแพลตฟอร์มการบริการ IoT ภาคอุตสาหกรรม MindSphere 
    • อาคารมากกว่า 130 แห่งจะเชื่อมต่อและสื่อสารกันผ่าน Siemens Navigator แพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร
    • อาคารต่าง ๆ ในสามโซนหลัก (Thematic Districts) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะ Desigo CC โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายครอบคลุมในด้านความยั่งยืน ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการรักษา ความปลอดภัย

เป็นเวลากว่า 170 ปีที่งาน World Expo ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะสานต่อความยิ่งใหญ่ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจากทั่วทุกมุมโลก ซีเมนส์ได้มีส่วนร่วมในงาน World Expo ตั้งแต่การจัดแสดงโทรเลขไฟฟ้าแบบเข็ม (Pointer Telegraph) ในงานครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1851 และในงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ครั้งนี้ ซีเมนส์ได้แสดงนวัตกรรมต้นแบบ (Blueprint) สำหรับเมืองอัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการจัดการงาน World Expo 2020 Dubai

งานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จะเป็นหนึ่งในงานเอ็กซ์โปที่มีการเชื่อมต่อที่เน้นเรื่องความยั่งยืนหรือนวัตกรรมสีเขียวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในงานที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีทางอาคารของซีเมนส์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก อาทิ ดิจิทัลโซลูชั่นเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อ ตรวจสอบ และควบคุมอาคารผ่าน MindSphere ระบบปฏิบัติการบนคลาวด์สำหรับ IoT ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและปฏิบัติงานได้อย่างชาญฉลาด โดยเทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยของผู้ร่วมชมงานและควบคุมดูแลรักษาระบบความปลอดภัย

ซีเมนส์ เป็นพาร์ทเนอร์ระดับพรีเมียร์ของงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นดิจิทัลโดยการนำระบบการจัดการอาคารดิจิทัล Desigo CC มาติดตั้งใช้งานทั่วทั้งงาน โดยครอบคลุมในแต่ละโซนการจัดงาน (ได้แก่ โซน Mobility โซน Opportunity และโซน Sustainability) รวมถึงศูนย์การจัดแสดงนวัตกรรมของประเทศต่าง ๆ และ Dubai Exhibition Centre โดยระบบจะใช้เซนเซอร์และการวิเคราะห์หลากหลายเพื่อตรวจสอบและควบคุมฟังก์ชันของอาคาร อาทิเช่น ระบบปรับอากาศ การใช้พลังงาน การควบคุมความสว่าง ลิฟต์ คุณภาพอากาศและระบบส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัย

ข้อมูลจากระบบเหล่านี้จะถูกนำมาจัดการและประมวลโดยศูนย์บัญชาการและควบคุมในแต่ละโซนการจัดงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน พร้อมอำนวยความสะดวกและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ผู้ร่วมงาน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกป้อนเข้าสู่ Siemens Navigator แพลตฟอร์มศูนย์กลางการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อเชื่อมต่อกับอาคารต่าง ๆ มากกว่า 130 แห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวซึ่งถือเป็นหนึ่งในการติดตั้งระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อให้ผู้ให้บริการต่าง ๆ สามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดและนำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบการใช้พลังงานระหว่างการจัดงานเอ็กซ์โปในครั้งนี้ ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์ม MindSphere ที่้ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในงาน ข้อมูลจากเซนเซอร์ เกตเวย์ ระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งเชื่อมต่อกันจะถูกวิเคราะห์และแสดงผลให้ผู้จัดงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกรวมไว้ในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของงานเอ็กซ์โปโดยมีระบบย่อยมากกว่า 20 ระบบ อาทิ ระบบการควบคุมการเข้า-ออกอาคาร ระบบการจัดการอาคาร และระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งจะถูกรวมไว้ในแพลตฟอร์มที่ป้อนคำสั่งและควบคุมจากส่วนกลาง ทำให้ผู้ดูแลทราบถึงสถานการณ์ภาพรวมและทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะที่ใช้ในงาน World Expo 2020 Dubai เป็นตัวอย่างการใช้งานจริงของหลากหลายโซลูชันเมืองอัจฉริยะที่ถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างเมืองที่มีความยั่งยืน และให้ความสะดวกสบายกับผู้อยู่อาศัย โดยสามารถนำมาต่อยอดหรือเป็นนวัตกรรมต้นแบบสำหรับการวางแผนงานเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย”

ซีเมนส์มีประสบการณ์ในด้านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของสถานที่สำคัญให้เป็นดิจิทัลมาอย่างยาวนานทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ท่าอากาศยานนานชาติดูไบ โรงละครโอเปราดูไบ และมัสยิด Sheikh Zayed ของอาบูดาบี ที่เลือกใช้เทคโนโลยีจากซีเมนส์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

“การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” ช่วยสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” ช่วยสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงวันนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปยังทุกภาคส่วน ภาครัฐและเอกชนต่างมุ่งจัดการปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ล้วนเป็นเรื่องเร่งด่วนในทุก ๆ ด้าน อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและสิ่งแวดล้อม” เป็นอีกปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วนเช่นกัน จากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยและมีความรุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลจากสภาวะโลกร้อนในหลายประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก

แท้จริงแล้วภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อประเด็นนี้ เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานมากถึงหนึ่งในสามของการใช้พลังงานทั้งหมดในโลก ซึ่งเทคโนโลยีการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบันช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญช่วยลดสภาวะโลกร้อนโดยอาศัยการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยี
ดังกล่าว

การจัดการพลังงานไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมมีส่วนช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

เรามาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญซึ่งทุกภาคส่วนเห็นร่วมกันชัดเจนถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ อาทิ การผลิตพลังงานไฟฟ้า การเกษตร และการบริโภคในครัวเรือน ได้เริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาระดับหนึ่งแล้ว แต่ภาคอุตสาหกรรมนั้นแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย แม้แต่ในประเทศเยอรมนีที่เป็นผู้นำในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่เองก็ตาม

เพื่อจัดการปัญหานี้ ซีเมนส์เห็นแนวทางขับเคลื่อนสำคัญ 3 ประการที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. การสร้างความยืดหยุ่นในการนำพลังงานมาใช้ เช่น การใช้โซลูชั่นการกักเก็บพลังงานและการใช้ระบบโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plants : VPP)

  2. การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ควบคุม

  3. การนำการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrification) มาใช้ ในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงาน

จากสามแนวทางข้างต้น “การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งยังสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากปัจจัยการขับเคลื่อนที่เหลือ

ในการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะนั้น มี 2 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ หนึ่ง – ความเป็นไปได้ที่จะนำพลังงานสะอาด ซึ่งไม่มีการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมมาป้อนเข้าสู่สถานประกอบการอุตสาหกรรม อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ สอง – การจัดการพลังงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การจัดการความต้องการใช้พลังงานด้วยซอฟต์แวร์ เป็นต้น

เหตุผลที่การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะมีผลอย่างมากต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็คือ เมื่อจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อมลภาวะ แทนที่การผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีแบบเดิม เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซลที่มีการก่อมลภาวะสูง

การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพคือ “หัวใจสำคัญ” ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม
กรณีศึกษาจากบริษัท Gestamp ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะยานยนต์ในสเปนซึ่งมีหลายกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากแต่ขาดข้อมูลการใช้พลังงานที่ชัดเจนทำให้โรงงานต้องเผชิญกับค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

แต่ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์มาตรวัดพลังงานและการใช้โซลูชันการสื่อสารรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่จากโรงงาน 15 แห่งใน 6 ประเทศแล้วนำมาวิเคราะห์ Gestamp สามารถระบุ
จุดที่เป็นปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงาน ทำให้สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 14,000 ตันต่อปี

การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะช่วยให้การผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยในบริหารรอบการทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกเหนือจากนั้น
ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรม พร้อมเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการนำพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันการจัดการพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการปรับกระบวนการจัดการให้เป็นระบบดิจิทัล (Digitalization) และนำการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrification) มาใช้ ผลที่ตามมาไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แต่ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น การปรับกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล (Digitalization) ทำให้เราสามารถพัฒนาระบบดิจิทัลทวิน (Digital Twin) สำหรับระบบไฟฟ้าของโรงงานได้
และเมื่อควบรวมกับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ผู้วางระบบงานสามารถทดสอบการจำลองสถานการณ์การทำงานต่าง ๆ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุดในการวางระบบงาน
เพื่อลดความผิดพลาดและลดต้นทุนในการวางแผนงาน การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา

วิกฤติการณ์การแพร่ระบาดทำให้เราต้องพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานทางธุรกิจของเรา สำหรับอุตสาหกรรม ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างรากฐานธุรกิจในอนาคตด้วยการผสมผสานการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเข้ากับแผนงานของกิจการ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ใช่แค่ตัวเลขทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน ครอบคลุม ตั้งแต่ลูกค้า ชุมชน ประเทศ ไปจนถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมในโลกของเราด้วย

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
     ●  Gestamp reference:
     ●  Siemens DEGREE sustainability framework: