เทรนด์เทคโนโลยีที่ต้องจับตามอง การเติบโตขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเต็มตัว ในปี 2565 และอนาคตข้างหน้า

เทรนด์เทคโนโลยีที่ต้องจับตามอง

เทรนด์เทคโนโลยีที่ต้องจับตามอง การเติบโตขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเต็มตัว ในปี 2565 และอนาคตข้างหน้า

วินเซนต์ คาลไดรา

บทความโดย วินเซนต์ คาลไดรา, หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (FSI), เร้ดแฮท

สถานการณ์การแพร่ระบาดทำให้รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตของเรา รวมถึงการใช้บริการต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา บริษัทจำนวนมากต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ มีการใช้รูปแบบการทำงานจากที่บ้านอย่างกว้างขวาง และใช้เครื่องมือบริการแบบดิจิทัลมากมายเพื่อเข้าถึงลูกค้า ควบคู่ไปกับการอัพเดตและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กล่าวได้ว่าปัจจุบันเราก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศเริ่มตระหนักว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดและประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่ได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างเป็นระบบ และใช้ประโยชน์จากข้อมูล จากเทคโนโลยี และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อมอบคุณประโยชน์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างทรงประสิทธิภาพ เป็นไปโดยอัตโนมัติ และสเกลได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าองค์กรต้องพัฒนาความสามารถหลายด้านที่จำเป็นต่อการรุดหน้าไปสู่องค์กรที่ “ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ” (Self-Driving Enterprise) แต่มีแนวโน้มพื้นฐาน 3 ประการที่องค์กรจำเป็นจะต้องพิจารณาเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ ดังนี้

ความสามารถในการเชื่อมโยงแอปพลิเคชัน การให้บริการ และข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (Data Gravity) เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นข้อมูลและการโยกย้ายการประมวลผลข้อมูลไปไว้ที่ Edge

ขณะที่การติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลโดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น 5G และอุปกรณ์ IoT กลายเป็นเรื่องปกติ แต่ผลที่ตามมาก็คือ องค์กรต่าง ๆ มีการสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาลมากขึ้น และ ข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่สร้างโดยระบบ latency-sensitive ซึ่งอยู่ภายนอกดาต้าเซ็นเตอร์หรือคลาวด์สาธารณะ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าล่าสุดของเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถผนวกรวมเวิร์กโฟลว์อัจฉริยะเข้าไว้ในโซลูชันดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้มีการผลิตข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากมีการรวบรวม เชื่อมต่อ และเพิ่มเติมรายละเอียดของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

สำหรับแนวโน้มดังกล่าวนี้ การ์ทเนอร์ประเมินว่าในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ผลิตและประมวลผลข้อมูลได้เพียง 10% ของข้อมูลที่อยู่ภายนอกระบบส่วนกลาง แต่ก็คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 75% ภายในปี 2568[[1]] ด้วยเหตุนี้การเคลื่อนย้ายข้อมูลจึงกลายเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะกระแสข้อมูลมีการไหลย้อนกลับ และมีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลที่ Edge เพิ่มมากขึ้น แนวโน้มเรื่องนี้จำเป็นต้องอาศัยสถาปัตยกรรมที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (Data-Centric Architecture) บนโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบไฮบริดที่ทันสมัย และมีการขยายระบบคลาวด์ให้ครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อที่ Edge[[2]] และอยู่ใกล้กับจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์มากขึ้น ในขณะเดียวกันจะต้องใช้รูปแบบการดำเนินการที่สอดคล้องกันเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับใช้ระบบประมวลผล Edge Computing เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีนับจากนี้ โดยมีอัตราการเติบโต 31.1% ต่อปี[[3]] สำหรับมูลค่าตลาดโดยรวมที่ 45.32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2564-2573 เป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิตให้ทันสมัย และการปรับเปลี่ยนบริการด้านการเงินสู่ดิจิทัลที่เกิดขึ้นมากในภูมิภาคนี้

ข้อมูลที่รวดเร็วและ AI/ML กระตุ้นการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติ Hyper Automation แบบอัจฉริยะที่ใช้ AIOps

เมื่อระบบปฏิบัติการของธุรกิจโยกย้ายไปประมวลผลที่ edge ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิบที่หลั่งไหลเข้ามาได้แบบเรียลไทม์ และกลั่นกรองเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน องค์กรที่ออกแบบเวิร์กโฟลว์และกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นใหม่จะสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง (ML) เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ ให้เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น และยกระดับการทำงานของบุคลากร

แนวทางนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่เฉพาะกระบวนการใหม่ ๆ ที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าและการให้บริการ แต่ยังครอบคลุมถึงส่วนงานพื้นฐานที่สำคัญภายในองค์กร เช่น ฝ่ายปฏิบัติการด้านไอที ฝ่ายการเงิน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายกฎหมายและการกำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการปฏิบัติงานด้านไอที ซึ่งแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI หนึ่งเดียวที่รองรับการผนวกรวมระบบอัตโนมัติในด้านต่าง ๆ (ITOps, DevOps, DataOps, MLOps) เข้าด้วยกัน จะสามารถรองรับระบบอัตโนมัติแบบครบวงจรที่ก้าวล้ำและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครอบคลุมงานต่าง ๆ เช่น การบริหารขีดความสามารถ การจัดเก็บและสำรองข้อมูล การจัดการความปลอดภัย การกำหนดค่าแอปพลิเคชัน และการปรับใช้โค้ด ซึ่งจะช่วยลดการโต้ตอบของผู้ใช้งานและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ทั้งยังสามารถปรับขนาดของกระบวนการเพื่อจัดการสภาพแวดล้อมไอทีที่มีความซับซ้อนและกระจัดกระจายมากขึ้น

Everything-as-code ช่วยรองรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

ภายใต้การดำเนินการแบบเก่า การปฏิบัติตามกฎระเบียบภายนอกและนโยบายภายในองค์กรต้องอาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนและดำเนินการโดยบุคคล รวมไปถึงเอกสารต่าง ๆ มากมาย เช่น คู่มือ รายการตรวจสอบ แนวทางการปฏิบัติงาน และมีการใช้ระบบอัตโนมัติบางส่วนซึ่งต้องอาศัยการจัดการคอนฟิกูเรชั่นและงาน DevOps และมีแนวโน้มว่าจะเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ ส่วนงานภายในองค์กร แต่ด้วยแนวทาง Everything-as-code[4] องค์กรจะขยายการพัฒนาแอปพลิเคชันเข้าไปยังการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีทุกแง่มุม โดยมีการกำหนดและเขียนโค้ดสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การส่งมอบซอฟต์แวร์ และการจัดการบริการด้านแอปพลิเคชัน เช่น ซัพพลายเชนด้านซอฟต์แวร์ที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น จะมีความปลอดภัยได้โดยใช้การตรวจสอบแบบอัตโนมัติ การสร้างแพ็คเกจ และ การรับรองแบบในตัว หรืออาจสร้างกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแล โดยระบุลักษณะที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานะของระบบที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการที่สามารถทำการแก้ไขได้เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับฝ่ายไอทีได้อย่างมาก

ในช่วงหลายปีนับจากนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบนิเวศไฮบริดคลาวด์ ขณะที่องค์กรต่าง ๆ ขยายสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีไปสู่ edge โดยใช้แนวทางสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นข้อมูลเป็นปัจจัยหลัก เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สและมาตรฐานใหม่ ๆ ที่รองรับระบบอัตโนมัติ Hyper Automation ที่ชาญฉลาด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมและมีการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศสามารถติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีได้ทุกที่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะรองรับและสเกลนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้ในองค์กรสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้อย่างครบวงจรในแบบเรียลไทม์จากระบบภายในองค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเต็มรูปแบบสามารถสร้างระบบงานอัตโนมัติเพื่อตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และทุ่มเทความพยายามไปที่การตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรโดยอาศัยข้อมูลรอบด้าน พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อให้บริการที่เหนือกว่าสำหรับลูกค้า

กรุงศรี และ KTBCS รับรางวัล Red Hat APAC Innovation Awards 2021

Red Hat APAC Innovation Awards 2021

กรุงศรี และ KTBCS รับรางวัล Red Hat APAC Innovation Awards 2021

ยกย่องความสำเร็จของการทำ Digital Transformation ที่ใช้โซลูชัน Open Source ของ Red Hat

Red Hat Innovation Awards 2021

เร้ดแฮท อิงค์ (Red Hat) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์ส (open source) ประกาศรายชื่อผู้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Red Hat APAC Innovation Awards) ประจำปี 2564 โดยในส่วนของประเทศไทย กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) และบริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด (KTBCS) ได้รับรางวัลดังกล่าวในงาน Red Hat APAC Forum Virtual Experience จากความสำเร็จในการนำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้ในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล (digital transformation) และการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ซอฟต์แวร์ open source ยังคงทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับองค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย พัฒนาแอปพลิเคชัน และปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่รูปแบบดิจิทัล รายงาน State of Enterprise Open Source ของ Red Hat ระบุว่าในปัจจุบัน 92 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารไอทีในภูมิภาคนี้ใช้โอเพ่นซอร์สระดับองค์กร (enterprise open source) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ 90 เปอร์เซ็นต์

การจัดงาน Red Hat APAC Forum Virtual Experience ภายใต้ธีม “Open Your Perspective”มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน พลิกโฉมองค์กรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้าโดยอาศัยเทคโนโลยี open source สำหรับในปีนี้ รางวัล Red Hat APAC Innovation Awards ยกย่องความสำเร็จทางด้านเทคโนโลยีของ 24 องค์กรในภูมิภาคนี้ โดยเน้นพิจารณาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาอย่างมุ่งมั่น และการใช้โซลูชันของ Red Hat ในเชิงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

เกณฑ์การพิจารณาผู้ได้รับรางวัลดูจากผลที่ได้จากการนำโซลูชันของ Red Hat ไปปรับใช้เพื่อรองรับเป้าหมายทางธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กร อุตสาหกรรม ชุมชน และวิสัยทัศน์ของโครงการที่ไม่เหมือนใคร โดยผู้ได้รับการคัดเลือกต้องแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือและวัฒนธรรมด้าน open source ช่วยให้องค์กรปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มความคล่องตัว และประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาท้าทายและเทรนด์ใหม่ ๆ ในอนาคตได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ

รางวัลในปีนี้แบ่งเป็น 5 สาขา ได้แก่ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation), โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud Infrastructure), การพัฒนาคลาวด์-เนทีฟ (Cloud-native Development), ระบบอัตโนมัติ (Automation) และความยืดหยุ่น (Resilience) สำหรับประเทศไทยมีองค์กรได้รับรางวัล 2 สาขา คือ สาขา Cloud-native Development และสาขา Hybrid Cloud Infrastructure

Krungsri

สาขา: Cloud-native Development
ผู้ได้รับรางวัล: กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของไทยในด้านของมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อ และเงินฝาก และเป็นหนึ่งในหกสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks – D-SIBs) ของไทย มีประวัติการดำเนินงานที่ยาวนานกว่า 76 ปี กรุงศรีเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Mitsubishi UFJ Financial Group – MUFG) ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กรุงศรีมุ่งมั่นตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดดิจิทัลแบงกิ้งของไทย ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางปี 2564-2566 ธนาคารตั้งเป้าที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ และมอบประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ด้วยการยกระดับแผนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของธนาคาร โดยกรุงศรีได้สร้างระบบที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเชื่อมต่อได้ง่าย เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของระบบนิเวศด้านพันธมิตรทั้งหมด นอกจากนี้ ธนาคารยังจำเป็นต้องย้ายจากแอปพลิเคชันรุ่นเดิม ๆ ไปเป็นการใช้งานแอปพลิเคชันแบบคอนเทนเนอร์ไรซ์ โดยใช้สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จ กรุงศรีจำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มที่สมบูรณ์พร้อมที่มาพร้อมแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบคอนเทนเนอร์เป็นไปอย่างราบรื่น

กรุงศรีทำงานร่วมกับ Red Hat และ IBM GBS เพื่อสร้างแพลตฟอร์ม Open banking API ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนระบบนิเวศ API ที่มีลักษณะเฉพาะทั่วภูมิภาค ธนาคารได้ติดตั้งใช้งาน Red Hat OpenShift ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งและมีความปลอดภัยที่รัดกุม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานที่ระบบจะต้องไม่มีการหยุดชะงักเลย (zero downtime) นอกจากนี้ยังลดระยะเวลาของวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

ด้วยเหตุนี้ กรุงศรีจึงสามารถสร้างและนำเสนอแอปพลิเคชันและบริการใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการปรับใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์-เนทีฟและคอนเทนเนอร์ นอกจากนี้การใช้แพลตฟอร์มไมโครเซอร์วิสที่ขับเคลื่อนด้วย Red Hat ช่วยให้ธนาคารมีความพร้อมที่จะปรับใช้แนวทาง DevSecOps เพื่อผลักดันวัฒนธรรมด้านระบบงานอัตโนมัติและการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล และยังช่วยขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางการทำงานและบูรณาการระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ใช้งาน

KTBCS

สาขา: Hybrid Cloud Infrastructure
ผู้ได้รับรางวัล: บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด (KTBCS)

KTBCS เป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำด้านการให้บริการไอทีแก่ภาคธุรกิจธนาคารและภาครัฐ KTBCS ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน, บริการให้เช่าพื้นที่เพื่อติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ และการบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์, บริการด้านพัฒนาระบบงานและแอปพลิเคชันตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านไอที

KTBCS ได้รับมอบหมายจากบริษัทแม่คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ให้ดำเนินการย้ายระบบงานจากเดิมไปใช้ระบบคลาวด์ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ระบบดิจิทัลอีกทั้งตอบสนองนโยบายของกระทรวงการคลังที่ให้ธนาคารเพิ่มศักยภาพการบริการธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้าธนาคารเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ดังนั้น KTB จึงสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่าย KTBCS ได้ใช้ Red Hat OpenStack Platform, Red Hat OpenShift, Red Hat Ceph Storage และ Red Hat Enterprise Linux สร้างระบบ private cloud สำหรับ KTB เพื่อการพัฒนาดิจิทัลแอปพลิเคชันใหม่ ๆ และให้มีผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า

ระบบ private cloud ที่ดำเนินการโดย KTBCS ทำให้ KTB ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจการเงิน มีอัตราการเติบโตของธุรกิจสูงขึ้น สามารถให้บริการด้านการเงินดิจิทัลที่ทันสมัยตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพิ่มความปลอดภัยและพร้อมใช้งานร่วมกับดิจิทัลแอปพลิเคชันอื่น ๆ KTB สามารถลดระยะเวลาของวัฏจักรการพัฒนาบริการ จากเดิมที่เคยใช้เวลาหลายสัปดาห์เหลือเพียงไม่กี่วัน ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยให้ KTB ลดขั้นตอนการทำงานโดยการการสร้างระบบและสภาพแวดล้อมไอทีในองค์กร สามารถลดต้นทุน และแรงงานส่วนโครงสร้างพื้นฐานได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น แอปพลิเคชัน global transaction และแอปพลิเคชัน One Krungthai สำหรับพนักงานใช้ภายในองค์กร นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานของ KTB มีความคล่องตัวมากขึ้น และสามารถรองรับปริมาณงานที่จะเพิ่มขึ้นหรือการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต

เพื่อต่อยอดความสำเร็จของธนาคาร KTBCS มีแผนงานจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ร่วมกับดิจิทัลแอปพลิเคชัน เพื่อรองรับปริมาณงานของหน่วยงานภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีของ Red Hat ทำให้ KTBCS มั่นใจว่าจะสามารถสร้างระบบ national private cloud ให้กับหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รางวัลสาขาการพัฒนาคลาวด์-เนทีฟนี้ มอบให้แก่องค์กรที่มีการพัฒนาการบริการอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงองค์กรที่เป็นต้นแบบเรื่องการสร้างสรรค์ การดูแลรักษา และการปรับใช้แอปพลิเคชันเพื่อการดำเนินธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ

คำกล่าวสนับสนุน

คุณมาร์เจ็ต แอนดรีสส์ ผู้จัดการทั่วไปและรองประธานของเร้ดแฮทประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ Red Hat
“ปี 2564 ยังคงเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่องค์กรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีการใช้เทคโนโลยี open source เพื่อทำ digital transformation และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านธุรกิจอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น ไฮบริดคลาวด์ ระบบวิเคราะห์ข้อมูล และเอดจ์คอมพิวติ้ง เพื่อรับมือกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงประสบการณ์ให้กับลูกค้า Red Hat ขอแสดงความยินดีกับองค์กรที่ได้รับรางวัลในปีนี้ และเราหวังว่าโซลูชันโอเพ่นซอร์สของ Red Hat จะช่วยให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายมากมายที่ต้องเผชิญในปัจจุบัน พร้อมทั้งปลดล็อคความสำเร็จในอนาคตให้กับธุรกิจในเอเชีย-แปซิฟิก”

คุณสายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
“แพลตฟอร์ม Open API ของเรานับเป็นรากฐานในการสร้างระบบที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเชื่อมต่อได้ง่าย ซึ่งจะขับเคลื่อนการเติบโตของระบบนิเวศพันธมิตรของกรุงศรี เราใช้เทคโนโลยีไมโครเซอร์วิสที่ขับเคลื่อนโดย Red Hat เพื่อทำให้บริการธนาคารเป็นเรื่องง่าย และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของลูกค้า โดยลูกค้าจะสามารถเข้าถึงสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ ประกันชีวิต หรือวางแผนเกษียณอายุได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง แพลตฟอร์มนี้จะช่วยปูทางให้กรุงศรีเป็นธนาคารชั้นนำของไทยที่สามารถเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วอาเซียนได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ พันธมิตรของเรายังสามารถเสนอราคา ให้บริการ และแจ้งข้อมูลประมาณการให้แก่ลูกค้าได้โดยตรงและรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา”

คุณภูษิต สระปัญญา รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานบริหารงานปฏิบัติการ KTBCS
“ขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 จำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารและหน่วยงานภาครัฐจะต้องยกระดับการดำเนินงานรูปแบบดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าและประชาชน Red Hat ช่วยให้ KTBCS พัฒนาระบบ private cloud เพื่อปรับปรุงการให้บริการด้านธนาคารของ KTB และลดค่าใช้จ่ายด้านไอที นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีช่วยให้ธนาคารมีความพร้อมมากขึ้นในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงข้อมูลและความรู้ด้านการเงิน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะช่วยส่งเสริมการเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย”

ข้อมูลเพิ่มเติม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัล Red Hat APAC Innovation Awards 2021
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุม Red Hat Forum Asia Pacific 2021

Red Hat Forum Asia Pacific 2021 เปิดโลกทัศน์การใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส เร่งสร้างนวัตกรรมในโลกยุคไฮบริด

Red Hat

Red Hat Forum Asia Pacific 2021 เปิดโลกทัศน์การใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส เร่งสร้างนวัตกรรมในโลกยุคไฮบริด

เปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้และแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมแบบเปิด การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล และความยืดหยุ่นในการใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์สประกาศจัดงาน Red Hat Forum Asia Pacific 2021 งานที่เป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ และเหล่าพันธมิตรของเร้ดแฮท เพื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส งานดังกล่าวจัดขึ้นใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564

การจัดงาน Red Hat Forum Asia Pacific ในปีที่ 11 นี้ อยู่ภายใต้ธีม “Open Your Perspective” เพื่อต้องการสื่อให้เห็นและมอบโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานและผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดใหม่ ๆ และข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อเพิ่มมุมมองให้กับผู้เข้าร่วมงานในการนำโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ไปช่วยทำให้องค์กรธุรกิจได้ค้นพบโซลูชันและเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อรังสรรค์รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และปูทางไปสู่อนาคตการนำดิจิทัลมาใช้

จากรายงาน State Enterprise Open Source ฉบับล่าสุดของเร้ดแฮท ระบุว่า มีการนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับองค์กรไปใช้มากที่สุดเพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีตอบโจทย์องค์กรที่สุดและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ 64% ขององค์กรที่ตอบแบบสำรวจระบุว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สระดับองค์กรในการปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีเป็นอันดับต้น ๆ เพิ่มขึ้นจากตัวเลขผลสำรวจ 53% เมื่อสองปีที่ผ่านมา การที่มีองค์กรโยกย้ายไปใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจจะต้องสร้างความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถนำแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไปใช้งานได้กับทุกสภาพแวดล้อมโดยไม่จำเป็นต้องสร้างแอปพลิเคชันใหม่ ไม่ต้องฝึกอบรมพนักงานใหม่ หรือสามารถดูแลสภาพแวดล้อมไอทีที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้โอเพ่นไฮบริดคลาวด์มีคุณสมบัติด้านความรวดเร็วและความคล่องตัวที่สามารถช่วยองค์กรให้จัดการกับเรื่องเหล่านี้ได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์การใช้คลาวด์ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งเป็นการเร่งให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรทำได้เร็วขึ้น 

ในงาน Red Hat Forum Asia Pacific 2021 คุณมาร์เจ็ต แอนดรีสส์ ผู้จัดการทั่วไปและรองประธานของเร้ดแฮทประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในฐานะผู้กล่าวคำปราศรัยหลักได้นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในโลกยุคใหม่ และองค์กรจะสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ และโอเพ่นซอร์สไปใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร 

ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องราวล่าสุดต่าง ๆ ด้านโอเพ่นซอร์ส รวมถึงการบริหารจัดการการให้บริการระบบคลาวด์ (managed cloud services) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถเลือกใช้บริการคลาวด์ที่ต้องการได้อย่างง่าย ๆ ช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ที่ตรงกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงการนำประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ทำโครงการที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

พร้อมกันนี้ เร้ดแฮทจะประกาศมอบรางวัล Red Hat APAC Innovation Awards 2021 เพื่อยกย่องลูกค้าที่นำโซลูชันของเร้ดแฮทไปใช้งานอย่างสร้างสรรค์ แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบแหลม ตัวอย่างองค์กรที่ได้รับรางวัลในปีที่ผ่านมาซึ่งนำโซลูชันโอเพ่นซอร์สของเร้ดแฮทไปใช้งานได้อย่างประสบความสำเร็จ ได้แก่ Standard Chartered Bank, Chunghwa Telecom และ Bajaj Allianz Life Insurance เป็นต้น

ไฮไลท์กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่

    • ประเด็นสำคัญและการประชุมกลุ่มย่อยที่เน้นไอที 4 ประเภท ได้แก่ โอเพ่นไฮบริดคลาวด์,
      การพัฒนาบนคลาวด์เนทีฟ, ระบบอัตโนมัติที่เน้นบริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
    • หัวข้อสำคัญที่จะกล่าวถึง ได้แก่
      • แนวทางของเร้ดแฮทสู่กลยุทธ์โอเพ่นไฮบริดคลาวด์
      • Telco – On the Edge: การลงทุนด้าน 5G ในธุรกิจโทรคมนาคมจะประสบความสำเร็จหรือไม่
      • โครงการเร่งการใช้งาน AI/ML ด้วยกรอบการทำงานแบบโอเพ่นไฮบริดคลาวด์
      • การใช้โอเพ่นซอร์สเร่งสร้างนวัตกรรมในโลกไฮบริดคลาวด์
      • Better Together: การเชื่อมต่อระบบอัตโนมัติเพื่อการปรับใช้งานไฮบริดคลาวด
      • เส้นทางการใช้ระบบอัตโนมัติให้ประสบความสำเร็จ
      • การพัฒนารูปแบบการคาดการณ์สำหรับการหมุนเวียนของลูกค้าธนาคารดิจิทัล โดยใช้วิศวกรรมข้อมูลและการวิเคราะห์สำหรับ AI/ML
    • เรื่องราวจากลูกค้าที่ประสบความสำเร็จในการใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สขับเคลื่อนนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ และ AI/ML
    • ผู้ชนะรางวัล Red Hat Innovation Award APAC 2021
    • การสาธิตสดของเทคโนโลยีโอเพ่นคลาวด์ของเร้ดแฮท และ OpenShift สำหรับผู้ชมที่สนใจ

คำกล่าวสนับสนุน

มาร์เจ็ต แอนดรีสส์ ผู้จัดการทั่วไปและรองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทเร้ดแฮท
“การแพร่ระบาดครั้งใหญ่นี้ได้กระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้นในด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ และธุรกิจจำนวนมากขึ้นก็หันมาใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สในองค์กรของตน ในงาน Red Hat Forum ปีนี้ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมแบ่งปันวิธีที่องค์กรต่าง ๆ สามารถท้าทายขีดจำกัด และใช้ประโยชน์จากโอเพ่นซอร์สในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลพร้อมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการดำเนินงาน ทั้งนี้ การจัดงานแบบเวอร์ชวลครั้งนี้ช่วยให้เราเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น การผสมผสานแนวคิด เรื่องราวความสำเร็จ และข้อมูลเชิงลึกเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เราสามารถผลักดันการนำโอเพ่นซอร์สไปใช้อย่างต่อเนื่องต่อไป”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ภาครัฐได้ประโยชน์อะไรจากเอดจ์คอมพิวติ้ง

ภาครัฐได้ประโยชน์อะไรจากเอดจ์คอมพิวติ้ง

บทความโดยคุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

เอดจ์คอมพิวติ้ง สามารถช่วยให้การบริหารจัดการบริการสาธารณะต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานอย่างชาญฉลาดและคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น แต่การนำเทคโนโลยีเอดจ์คอมพิวติ้งต่าง ๆ มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง ปัจจุบันภาคส่วนอื่น ๆ ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้และได้รับผลลัพธ์ที่ทรงคุณค่าให้ได้เก็บเกี่ยวแล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานภาครัฐจะพิจารณาถึงประโยชน์และโอกาสที่จะได้รับจากการนำเอดจ์คอมพิวติ้งมาใช้ในหน่วยงานตน เร้ดแฮทมีตัวอย่างผลลัพธ์จากการใช้เอดจ์คอมพิวติ้งในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ภาคการผลิต และรูปแบบการใช้งานที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้

มีการใช้เอดจ์คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิต และที่อยู่อาศัย

เมื่อสามสิบปีที่แล้ว ศักยภาพและอัจฉริยะของไอทีในองค์กรวางอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ปัจจุบันเรามาถึงจุดที่เวิร์กโหลดบางประเภทสามารถย้ายไปวางไว้ที่อุปกรณ์ปลายทาง (edge) ได้แล้ว 

เมื่อมีการนำกระบวนการประมวลผลไปวางไว้ ณ จุดกำเนิดของข้อมูลหรือที่ใกล้ข้อมูลที่สุด (แทนที่จะวางอยู่บนคลาวด์หรือรีโมทดาต้าเซ็นเตอร์) เอดจ์คอมพิวติ้งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจจากข้อมูลที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ ณ จุดสำคัญที่สุดได้รวบรวมไว้

ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือใช้เอดจ์คอมพิวติ้ง เพื่อนำความสามารถในการประมวลผลให้อยู่ใกล้เครือข่ายเอดจ์ และลดเวลาที่ใช้ในการตอบสนองลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อความเร็วในการให้บริการและความพร้อมใช้งานตามคุณสมบัติของ 5G ที่ต้องมีให้กับผู้รับบริการ

มีการนำเอดจ์คอมพิวติ้งไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในวงกว้าง รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเอดจ์คอมพิวติ้งช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบให้สินค้าและบริการได้มาตรฐานตามการรับประกันระดับคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ (QA) และรอบการผลิต ช่วยให้นำสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย ข้อมูลที่เซ็นเซอร์ต่าง ๆ รวบรวมไว้ ณ เครื่องจักรแต่ละตัว ช่วยให้วิศวกรสามารถระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหากับระบบ

ตามปกติแล้ว เซ็นเซอร์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้มีไมโครโปเซสเซอร์ที่มีความสามารถในการคิดและเรียนรู้ที่มีขอบเขต ซึ่งใช้ตรวจสอบและตรวจวัดปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความดัน ความร้อน หรือการไหลของน้ำ ในทำนองเดียวกัน สมาร์ทมิเตอร์หรืออุปกรณ์ตรวจวัดอัจฉริยะที่ติดตั้งอยู่ ณ จุดหนึ่ง ๆ ก็มีความสามารถในการประมวลผลบางประการ เช่น บันทึกปริมาณการใช้ก๊าซ ไฟฟ้า หรือน้ำในครัวเรือน และนำข้อมูลที่บันทึกไว้นั้นไปใช้ประโยชน์ จะเห็นได้ว่าสมาร์ทมิเตอร์คืออุปกรณ์ปลายทางหรืออุปกรณ์เอดจ์ที่มีประสิทธิภาพ

การใช้งานลักษณะนี้ในปัจจุบันยังอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่สมาร์ทมิเตอร์จะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้นั้นไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้มากกว่าแค่การคำนวณค่าบริการ สมาร์ทมิเตอร์อาจช่วยให้ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟลดลง ทำการปิดอุปกรณ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน และแม้แต่เปิดหน้าต่างหากอุณหภูมิในอาคารสูงถึงระดับที่ตั้งไว้

การบริหารจัดการเมืองด้วยระบบอัจฉริยะ

หากพิจารณาตามหลักการดังกล่าวนี้ การใช้เอดจ์คอมพิวติ้งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับภาครัฐในแต่ละท้องถิ่น คือการนำเอดจ์คอมพิวติ้งไปใช้ในการบริหารจัดการเมืองให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นหรือสมาร์ทซิตี้ และในไม่ช้าก็เร็ว สมาร์ทมิเตอร์จะถูกนำไปใช้ในการบริหารจัดการการใช้พลังงานในท้องถิ่นและครัวเรือน และอุปกรณ์เอดจ์ต่าง ๆ จะสามารถใช้บริหารจัดการสถานการณ์หลากหลายด้านของเมือง ๆ หนึ่งได้

เมื่อพิจารณางานที่เกี่ยวกับการจัดการจราจรใจกลางเมือง ผู้ควบคุมเพียงรู้และเข้าใจว่าถนนแต่ละสายมีการจราจรหนาแน่นเพียงใดในเวลาใดเท่านั้น ก็จะสามารถตัดสินใจได้เลยว่าต้องปรับการจราจรบนถนนช่วงใดหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนระยะเวลาของสัญญาณไฟจราจรช่วงใดบ้าง เพื่อบรรเทาความแออัด แต่หากต้องใช้เวลาส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นกลับไปประมวลผลยังหน่วยงานกลาง ข้อมูลนั้นอาจล้าสมัยไปแล้ว เมื่อมีการสั่งการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ก็ไม่ทันกาลเพราะปัญหาอาจไม่ได้อยู่ ณ จุดเดิมแล้ว อาจย้ายไปอยู่จุดอื่นหรือขยายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้น หรือหมดปัญหาไปแล้วก็ได้

อย่างไรก็ตาม การนำระบบการประมวลผลไปวางไว้ใกล้กับถนนต่าง ๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเสริมระบบการประมวลผลนั้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) อาจทำให้ระบบสัญญาณไฟจราจรสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เทคโนโลยี AI/ML สามารถทำความเข้าใจสาเหตุและผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันมาแล้ว และเรียนรู้ว่าเคยแก้ปัญหานั้นอย่างไร ดังนั้นเราสามารถติดตั้งอุปกรณ์เอดจ์ที่มี AI/ML ไว้บนเสาสัญญาณไฟจราจร เพื่อให้ระบบแยกแยะระบุปัญหาที่พบและทำการแก้ไขได้ในเวลาเกือบจะทันทีที่เกิดปัญหานั้น

การใช้เอดจ์คอมพิวติ้งกับงานด้านอื่น ๆ ของภาครัฐ

การนำความสามารถของเอดจ์เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการด้านการจราจรเป็นเพียงหนึ่งในแนวทางที่ใช้ในการบริหารจัดการเมืองเท่านั้น ตัวอย่างอื่น เช่น การติดตามตรวจสอบระบบปรับสภาวะอากาศ (HVAC) ในอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นทรัพย์สินของราชการ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่คุ้มค่ามากขึ้น และตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สาธารณูปโภคของครัวเรือนและธุรกิจ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำ หรือของที่ไม่ต้องการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ เอดจ์คอมพิวติ้งยังมีบทบาทในการวางแผนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เอดจ์ไว้ที่จุดสำคัญต่าง ๆ ที่ภูเขาไฟฟูจิของประเทศญี่ปุ่น เพื่อสตรีมส่งข้อมูลสภาพแวดล้อมหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว ข้อมูลที่สตรีมมานี้ช่วยให้บริการฉุกเฉินต่าง ๆ ตอบสนองได้เกือบจะทันที ด้วยการส่งทีมบุคลากรฉุกเฉินไปยังสถานที่เกิดเหตุในช่วงเวลาที่ทันต่อสถานการณ์

ศักยภาพของการประมวลผล ณ จุดรับข้อมูลหรือที่เอดจ์ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ เราสามารถนำข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่บนเสาสัญญาณไฟจราจรในเมืองมาใช้บริหารจัดการการไหลเวียนของการจราจร ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การจดจำภาพ รวมถึงการปรับช่วงเวลาของสัญญาณไฟจราจรได้เอง

ประโยชน์ของเอดจ์คอมพิวติ้งต่อหน่วยงานรัฐ

เป็นเรื่องปกติที่หน่วยงานรัฐทั่วไปมักมีงบประมาณหรือทรัพยากรที่จำกัด และไม่สามารถทำทุกสิ่งที่ต้องการได้ ระบบอัตโนมัติที่ทำงานอยู่ที่เอดจ์ มีขนาดเล็กกว่าดาต้าเซ็นเตอร์ที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้อยู่ในอดีต และนั่นคือการใช้คนเพื่อมาบริหารจัดการเทคโนโลยีน้อยลง ช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้นเพื่อทำงานอื่นที่มีคุณค่ากว่าและมีประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น

เทคโนโลยีเอดจ์ยังมีความยืดหยุ่นที่ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการเก็บ และกำหนดได้ว่าเก็บเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตัดสินใจได้ว่าควรเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งใด และอุปกรณ์เอดจ์บางรายการจำเป็นต้องเชื่อมต่อตลอดเวลาหรือไม่

การโยกย้ายการทำงานจากดาต้าเซ็นเตอร์ไปใช้เอดจ์คอมพิวติ้ง สามารถช่วยให้หน่วยงานรัฐให้บริการได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุ้มค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป

ทำไมต้องใช้ระบบอัตโนมัติ

Red Hat

ทำไมต้องใช้ระบบอัตโนมัติ

บทความโดย สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

ระบบอัตโนมัติช่วยธุรกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ องค์กรในปัจจุบันกำลังรับมือกับแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจเดิมจากหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น Airbnb และ Amazon นอกจากนี้ทุกธุรกิจยังเผชิญกับความท้าทายในการสนับสนุนพนักงานและพาร์ทเนอร์ ในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ รวมถึงทำอย่างไรจึงจะสามารถมอบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และบริการที่รวดเร็วมากขึ้นให้ลูกค้าได้

ดังนั้นทุกธุรกิจจึงต้องการและจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานครั้งใหญ่นี้ด้วยตนเอง

ระบบอัตโนมัติจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากต่อการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง และการปรับตัว และไม่ได้สำคัญเฉพาะกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรผ่านกระบวนการต่าง ๆ อีกด้วย และด้วยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงนี้ ช่วยให้องค์กรมีเวลาและใช้กำลังความสามารถเน้นไปที่การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้นทำงานสำเร็จได้เร็วขึ้น เจ้าหน้าที่ไอทีก็จะมีเวลาไปจัดการแก้ไขปัญหาที่ใหญ่กว่าได้มากขึ้น ทำให้ปัญหาเหล่านั้นเป็นเหมือนงานประจำ และปรับให้สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นผ่านระบบอัตโนมัติได้ในที่สุด

ความได้เปรียบของระบบอัตโนมัติ

ระบบอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมาแทนที่คน เราได้เห็นแนวคิดลักษณะนี้จากการที่ระบบอัตโนมัติช่วยขจัดขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องใช้คนทำ แต่เราพบความสำคัญและข้อได้เปรียบของระบบอัตโนมัติได้จาก ความสามารถในการผลิตที่ดีขึ้น ความสม่ำเสมอ และประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น เมื่อองค์กรใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การมีส่วนร่วมของคนจะมีความสำคัญมากขึ้นแต่ด้วยความถี่ที่น้อยลง

แทนที่เราจะมองว่าระบบอัตโนมัติเป็นเครื่องมือที่ลดการจ้างงาน แต่เราควรมองความเป็นจริงที่ว่า ระบบอัตโนมัติช่วยให้พนักงานไอทีมีประสบการณ์มากขึ้นในการให้ความสำคัญและหาทางแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่า มากกว่าที่จะต้องทำงานเดิม ๆ ทุกวันซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ข้อได้เปรียบของระบบอัตโนมัติ

     ● ผลผลิตมากขึ้น พนักงานขององค์กรสามารถใช้เวลาไปทำงานที่จะส่งผลสำคัญต่อธุรกิจได้มากขึ้น ปล่อยให้การทำงานซ้ำ ๆ เป็นหน้าที่ของซอฟต์แวร์

     ● เชื่อถือได้มากขึ้น เมื่อลดเวลาในการทำงานของคนลงก็จะช่วยให้การควบคุมปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นเหมือนเดิมตลอดเวลาลดลง การใช้ระบบอัตโนมัติจะทำให้องค์กรทราบอย่างแน่นอนว่ากระบวนการต่าง ๆ การทดสอบ การอัปเดท เวิร์กโฟลว์ หรืองานอื่น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด ใช้เวลานานเท่าไร และองค์กรก็จะสามารถเชื่อมั่นในผลลัพธ์ที่จะออกมาได้

     ● กำกับดูแลง่ายขึ้น การใช้คนจำนวนมากอาจทำให้เกิดช่องว่างทางความรู้มากขึ้น และนั่นหมายถึงว่าแต่ละฝ่ายที่ทำงานร่วมกันในองค์กรอาจไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือมีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่รับผิดชอบอยู่นี้ ดังนั้น ความสามารถในการตรวจสอบทุกกระบวนการการทำงานหมายถึงการควบคุมที่ดีขึ้น 

ความท้าทายในการใช้ระบบอัตโนมัติ

     ● ค่าใช้จ่าย การสร้างโซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพต้องใช้เวลาและกำลังความสามารถมาก การทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เชื่อถือได้เช่น เร้ดแฮท ที่จะเป็นผู้ช่วยจัดการกับงานหนักนี้แทนองค์กร เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและทำงานได้เร็วขึ้น

     ● ขอบเขตการใช้งาน ระบบอัตโนมัติไม่ได้ชาญฉลาดได้ด้วยตัวเอง แต่ขึ้นอยู่กับองค์กรจะใช้ระบบอัตโนมัติทำอะไรบ้าง และจะสร้างขึ้นด้วยวิธีการใด ซึ่งบางส่วนอาจอยู่นอกเหนือขอบเขตนั้น ดังนั้นการจำกัดการใช้ระบบอัตโนมัติในบางแง่มุม หรือบางฟังก์ชันสามารถบรรเทาความกังวลนี้ได้ องค์กรควรระลึกไว้เสมอว่า ระบบอัตโนมัติขององค์กรจะฉลาดและปลอดภัยพอ ๆ กับวิธีการที่องค์กรใช้งานเท่านั้น

ทีมทำงานด้านไอทีได้รับการร้องขอให้ดำเนินการให้เร็วขึ้น จัดการกับสภาพแวดล้อมไอทีที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น และนำแนวทางการพัฒนาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อรับมือกับความต้องการใหม่เหล่านี้ องค์กรจำนวนมากได้ใช้ระบบอัตโนมัติกับงานด้านไอทีบางอย่างในวงจำกัดในบริบทที่แตกต่างกันอย่างไม่ยืดหยุ่น มีสคริปต์เฉพาะเรื่องมากมาย รวมถึงใช้เครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์ดั้งเดิมที่ใช้เฉพาะทางและมีข้อจำกัดทางกรรมสิทธิ์ แม้ว่าวิธีการแบบนี้จะช่วยให้ฟังก์ชั่นที่ใช้ทำงานเร็วขึ้น แต่ก็ไม่สามารถขยายการทำงานไปยังทรัพยากรที่หลากหลาย และอาจทำให้การกระจายระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพไปทั่วองค์กรทำได้ยาก

องค์กรไม่ได้ต้องการแค่ความสามารถในการสร้างระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดายเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องกระจายการใช้และนำระบบอัตโนมัติมาใช้ซ้ำกับโปรเจคและทีมงานทั้งหมดได้ ในระดับการกำกับดูแลและการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม องค์กรบางแห่งอาจใช้ระบบอัตโนมัติอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการความช่วยเหลือในการขยายการทำงานของระบบออกไปเท่านั้น

ไม่ว่าสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรจะซับซ้อนเพียงใด ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ในขั้นตอนไหนของการทำให้ระบบไอทีทันสมัยก็ตาม การสร้างระบบอัตโนมัติที่นำไปใช้ได้ทั้งองค์กร ไม่เพียงช่วยให้องค์กรสามารถทำให้กระบวนการด้านไอทีเป็นอัตโนมัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยี ทีมงานที่มีอยู่ และองค์กรเองด้วย

การนำโซลูชันระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมมาใช้ ช่วยให้องค์กรใช้แอปพลิเคชันและบริการใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรับรู้ได้ว่ามีความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชันมากขึ้น องค์กรสามารถใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเตรียมระบบ จัดการการตั้งค่า การแพตช์ การทำงานผสานกันของแอป รวมถึงความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

เร้ดแฮทเชื่อว่าระบบอัตโนมัติเป็นองค์ประกอบเชิงกลยุทธ์และพื้นฐานของระบบไอทีที่ทันสมัยและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โซลูชัน บริการ และการฝึกอบรมต่าง ๆ ของบริษัทช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมความต้องการในการทำให้ธุรกิจเป็นอัตโนมัติ ดังนั้นองค์กรสามารถเน้นไปที่การสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ และก้าวไปข้างหน้า

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นใช้ระบบอัตโนมัติหรือองค์กรที่ต้องการขยายการใช้งานให้ครอบคลุมงานใหม่ ๆ เร้ดแฮทมีโซลูชันที่สามารถช่วยให้คุณปรับขยายการทำงานระบบอัตโนมัติให้ใช้กับทุกส่วนของธุรกิจขององค์กรได้

เร้ดแฮททำงานด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนโอเพ่นซอร์สขนาดใหญ่ วิศวกรของเร้ดแฮทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฟีเจอร์ต่าง ๆ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจและไอทีดำเนินการได้อย่างมั่นคง คงความเสถียรและปลอดภัย

Red Hat Ansible Automation Platform ช่วยให้องค์กรปรับขยายระบบอัตโนมัติด้านไอที บริหารจัดการการทำงานที่ซับซ้อนต่าง ๆ และควบคุมระบบอัตโนมัติ แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากศูนย์กลางผ่านเวอร์ชวลแดชบอร์ด ควบคุมการเข้าใช้งานที่กำหนดไว้ตามบทบาทของผู้ใช้ และอื่น ๆ อีกมากเพื่อลดความซับซ้อนในการทำงาน

Ansible Automation Platform ใช้ภาษาอัตโนมัติที่ง่าย จึงช่วยให้ผู้ใช้งานประสานการทำงานระหว่างทีมหลาย ๆ ทีมและบุคคลต่าง ๆ เพื่อแชร์ ตรวจสอบ และจัดการระบบอัตโนมัติได้อย่างสะดวก

Ansible Automation Platform มีโครงสร้างของคำสั่งการทำงานที่ง่ายในการทำความเข้าใจ ทำให้สามารถผสานการตั้งค่าและการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ ให้เข้ากับงานด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจได้ว่างานต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องใช้และเกิดขึ้นตามลำดับที่ถูกต้อง