CIMB Thai Bank และ KBTG สององค์กรไทย ได้รับรางวัล APAC Innovation Awards ประจำปี 2565 จาก Red Hat

CIMB Thai Bank และ KBTG สององค์กรไทย ได้รับรางวัล APAC Innovation Awards ประจำปี 2565 จาก Red Hat

CIMB Thai Bank และ KBTG สององค์กรไทย ได้รับรางวัล APAC Innovation Awards ประจำปี 2565 จาก Red Hat

พิจารณาจากความสำเร็จในการใช้โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สของ Red Hat เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อปรับกระบวนทัพให้ทันกับแนวทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Red Hat, Inc. ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการไทยที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Red Hat APAC Innovation Awards) ประจำปี 2565 ได้แก่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMB Thai Bank) และ กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ณ งาน Red Hat Summit: Connect รางวัลนี้พิจารณาจากการนำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเร่งให้ทีมงานด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รองรับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลง

การจัดงาน Red Hat Summit: Connect ภายใต้ธีม “Explore what’s next” ในปีนี้ได้ยกย่องความสามารถขององค์กรต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สไปใช้เพื่อปรับตัวได้ทันกับสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจได้อย่างเหมาะสม และมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งในปีนี้ Red Hat APAC Innovation Awards ให้การยกย่ององค์กรจำนวน 26 แห่งในภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล จากการนำโซลูชันของRed Hat ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อก้าวล้ำเทรนด์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที

ความคล่องตัวและนวัตกรรมมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของธุรกิจในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน รายงาน State of Enterprise Open Source 2022 ของ Red Hat ระบุว่า 95 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า โอเพ่นซอร์สเป็นเทคโนโลยีสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดขององค์กร โอเพ่นซอร์สช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในระยะยาว

ผู้ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ จะต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกจากการนำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้สนับสนุนวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กร อุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ โดยต้องแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือและวัฒนธรรมแบบโอเพ่นซอร์สสามารถเร่งให้กระบวนการทางธุรกิจ และการทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม และสามารถแก้ไขความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างไร

รางวัลในปีนี้แบ่งเป็นห้าสาขา ได้แก่ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation), โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud Infrastructure), การพัฒนาคลาวด์-เนทีฟ (Cloud-native Development), ระบบอัตโนมัติ (Automation) และความยืดหยุ่น (Resilience) สำหรับประเทศไทยมีองค์กรได้รับรางวัลสอง แห่ง คือ CIMB Thai Bank และ KBTG

สาขา: Digital Transformation และ Hybrid Cloud Infrastructure
องค์กรที่ได้รับรางวัล: ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMB Thai Bank)

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMB Thai Bank) มีวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าในอาเซียน และมุ่งมั่นสร้างองค์กรให้เป็นธนาคารที่มีสมรรถนะสูงอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างความก้าวล้ำให้ลูกค้าและสังคม ผ่านบริการทางการเงินที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน ผ่านความแข็งแกร่งของเครือข่ายของธนาคารในอาเซียน และด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด ปัจจุบันธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลจำนวนมาก ธนาคารจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการต่าง ๆ ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล เช่น การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payments) และบริการโอนเงินระหว่างธนาคาร เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของธนาคารฯ จำเป็นต้องมีวงจรในการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น รองรับปริมาณเวิร์กโหลดที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างและปรับขนาดแอปพลิเคชันใหม่ ๆ และส่งแอปพลิเคชันเหล่านี้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ธนาคารฯ จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องนำแพลตฟอร์มใหม่ด้านธนาคารดิจิทัลมาใช้ โดย Red Hat OpenShift และ Red Hat OpenShift on AWS (ROSA) เป็นโซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้บริการด้านธุรกรรมการเงินของธนาคารมีความคล่องตัว ปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ และมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับปริมาณงานพัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนมากทั้งบนระบบคลาวด์และในระบบภายในองค์กรได้ 

โซลูชันดังกล่าว ช่วยให้ธนาคารฯ สามารถทำการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชัน รวมทั้งบริการด้านธนาคารดิจิทัลใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลถึงการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างฟังก์ชั่นทางธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งยังได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สมีให้อีกด้วย

สาขา: Digital Transformation และ Cloud-Native Development
องค์กรที่ได้รับรางวัล: กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2488 เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการธนาคารแบบครบวงจรแก่ผู้บริโภค การพาณิชย์ และองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การให้กู้ยืม บัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์ส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน รถ และสินเชื่อเช่าซื้อ เป็นต้น ปัจจุบัน KBank เป็นผู้ให้
บริการ K PLUS โมบายแบ้งกิ้งอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 18.6 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2565 KBank เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์และเงินฝากสูงสุดเป็นอันดับสี่ในประเทศ ทั้งยังมีส่วนแบ่ง ตลาดด้านสินเชื่อมากสุดเป็นอันดับสาม โดย KBTG หน่วยงานด้านไอทีของ KBank ทำหน้าที่ดูแล Infrastrucutre และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับธุรกิจของธนาคารทั้งในปัจจุบันและอนาคต

KBTG จำเป็นต้องพัฒนาระบบ Infrastructure ของธนาคารให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรองรับการให้บริการลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์ดิจิทัลใหม่ ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงการคงสถานะการเป็นผู้นำทางด้านธนาคารดิจิทัลของไทย KBTG จึงมองหาแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และมีประสิทธิภาพการทำงานเท่าทันการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกรรมดิจิทัล ให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันจำนวนมาก ทั้งยังทวีความรวดเร็วในการส่งผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลออกสู่ตลาด เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 KBTG ได้นำ Red Hat OpenShift และ Red Hat Advanced Cluster Management ซึ่งเป็นโซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สที่ช่วยอำนวยความสะดวก ให้การสร้างและออกแอปพลิเคชันใหม่ ๆ แบบ On-premise สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยี Infrastructure ที่สำคัญให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม และคอนเทนเนอร์ การนำโซลูชันของ Red Hat มาใช้ ช่วยให้ KBTG สามารถลดเวลาในการจัดเตรียมระบบ และออกแอปพลิเคชันจาก 3 วัน เหลือเพียงวันเดียว ทำให้เราสามารถส่งมอบแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น

คำกล่าวสนับสนุน

Marjet Andriesse, senior vice president and general manager, APJC, Red Hat

“ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลตามแผน Thailand 4.0 ยังคงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว Red Hat ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของลูกค้าของเรา ที่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโอเพ่นซอร์สสามารถช่วยให้พวกเขามีความคล่องตัวและตอบสนองเทรนด์ของตลาดและลูกค้าได้อย่างไร ลูกค้าไทยของเราที่ได้รับรางวัลล้วนยืนยันให้เห็นถึงความคล่องตัว และสมรรถนะของนวัตกรรมในแง่มุมของการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ไฮบริดคลาวด์ เพื่อให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชัน และส่งผลิตภัณฑ์/บริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วขึ้น เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและลูกค้าขององค์กรเหล่านั้น ฉันหวังว่าความสำเร็จเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับองค์กรอื่น ๆ ในเอเชียแปซิฟิกให้ปลดล็อก และใช้ประโยชน์จากศักยภาพของโอเพ่นซอร์สได้เต็มประสิทธิภาพ”

นายไพศาล ธรรมโพธิทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เทคโนโลยีและวิทยาการข้อมูล ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

“ความมุ่งมั่นอย่างหนึ่งของเราเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดด้านการเงินในประเทศไทย คือการให้ความสำคัญกับการให้บริการลูกค้าด้วยบริการธนาคารดิจิทัลที่ปรับให้เจาะจงตามความต้องการของแต่ละบุคคลมากขึ้น และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเราจะสามารถรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการที่เพิ่มมากขึ้นได้ เราจึงสร้างแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัลขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับขนาดการทำงานซึ่งเป็นคุณสมบัติของเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ เราใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สของ Red Hat เป็นเทคโนโลยีสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านนี้ เราจึงมั่นใจว่าแพลตฟอร์มที่เราใช้มีประสิทธิภาพ สามารถปรับขนาดการทำงานได้ตามความเหมาะสม และมีความยืดหยุ่น ทั้งการใช้งานในระบบที่อยู่ภายในองค์กรและบนคลาวด์ต่าง ๆ”

นายตะวัน จิตรถเวช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี, KBTG

“ในฐานะที่ KBank เป็นธนาคารดิจิทัลอันดับหนึ่งของไทย เราจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่าง ต่อเนื่องเพื่อคงจุดยืนนี้ไว้ ดังนั้นการปรับโครงสร้างพื้นฐานแอปพลิเคชันของธนาคารฯ ให้ทันสมัยอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการหลากหลาย ที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ในโลกดิจิทัลของลูกค้า โซลูชันของ Red Hat ช่วยให้เรามั่นใจว่าองค์ประกอบสำคัญใน Infrastructure ของเรา เช่น ภาษาที่ใช้การเขียนโปรแกรมและคอนเทนเนอร์ นั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด และเราจะสามารถส่งมอบแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ใหม่ ๆ สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว”

Open source on any cloud: How Red Hat brings greater choice to cloud marketplaces

ใช้โอเพ่นซอร์สบนคลาวด์ใดก็ได้: อีกหนึ่งทางเลือกที่ Red Hat มีให้บน Cloud Marketplaces

Open source on any cloud: How Red Hat brings greater choice to cloud marketplaces

Article by: Maryam Zand, Vice President of Cloud Partners at Red Hat

At theToday at AnsibleFest, Red Hat announced the availability of Ansible Automation Platform in AWS Marketplace and Ansible Automation Platform in Azure Marketplace. This is the latest milestone in Red Hat’s long-standing collaborations with AWS and Microsoft as we work together to help customers more efficiently migrate, develop and modernize applications in the cloud. 

As customers continue to evolve their hybrid cloud strategy, ease of access is critical in order to flexibly deploy solutions at the necessary scale and spanning the full spectrum of their cloud footprint. By working with leading cloud providers such as AWS, Microsoft and Google to develop native offerings and make Red Hat solutions available in cloud marketplaces, Red Hat is committed to accelerating hybrid cloud innovation and enhancing customer experience by making it easier for organizations to purchase and deploy the solutions they need faster. 

Powering innovation and value on cloud marketplaces 

Organizations are increasingly turning to cloud marketplaces as a means of more simply procuring and deploying cloud services and software solutions to accelerate digital innovation. In fact, IDC predicts that by 2024, 55% of organizations will use cloud marketplaces to source software.[1]

For Red Hat, we see this shift in consumption as an opportunity to better serve organizations with greater choice, flexibility and ease in deploying open source solutions across the hybrid cloud in support of nearly any enterprise cloud operating model. Cloud marketplaces open up hundreds of software solutions and cloud services at the click of a button, while enabling organizations to utilize committed spend with cloud providers and benefit from streamlined billing models.

In recent years Red Hat has been deepening collaboration with the leading cloud providers, AWS, Google and Microsoft, to make Red Hat software and cloud services available in cloud marketplaces and within native cloud provider consoles. Fully managed services such as Red Hat OpenShift Service on AWS and Microsoft Azure Red Hat OpenShift are purchased through the provider’s console and jointly supported by Red Hat and the cloud partner. This offers an enhanced customer buying experience to accelerate procurement, development and deployment of applications in the public cloud, and unlocking the benefits of open source in bringing together disparate systems across a hybrid cloud footprint.

Other Red Hat products are also available in the cloud marketplaces, including industry leading solutions such as Red Hat Enterprise Linux and Red Hat OpenShift. Let’s take a look at how Red Hat is showing up in cloud marketplaces today: 

AWS Marketplace

In addition to the upcoming listing for Red Hat Ansible Automation Platform, the following
Red Hat solutions are currently available in AWS Marketplace

    •  Red Hat OpenShift
    •  Red Hat Enterprise Linux
    • Red Hat Enterprise Linux for SAP Solutions 
    • Red Hat Enterprise Linux with Microsoft SQL Server 

As evidenced by today’s announcement, Red Hat is continuing to expand the availability of solutions in AWS Marketplace. Customers and partners can expect to see more from Red Hat and AWS to deliver future-ready, friction-free solutions.

Google Cloud Marketplace

Red Hat OpenShift is now available in Google Cloud Marketplace! Since 2013, Red Hat and Google have worked together to enable greater flexibility and choice in hybrid cloud, beginning with Red Hat Enterprise Linux support for Google Compute Engine. Now, we are evolving our offerings with Google to bring Red Hat hybrid cloud solutions to Google Cloud Marketplace

    • Red Hat OpenShift
    • Red Hat Enterprise Linux
    • Red Hat Enterprise Linux for SAP Solutions

With flexible configurations based on an open source, security-focused foundation, global network infrastructure and advanced data analytics, Red Hat and Google Cloud can provide customers with the tools and technologies they need to build and operate hybrid and multicloud environments more effectively and efficiently.

Microsoft Azure Marketplace

Red Hat and Microsoft have steadily built upon years of collaboration to introduce two new fully managed services within the last three years, Red Hat Ansible Automation Platform on Microsoft Azure and Microsoft Azure Red Hat OpenShift. Both of these jointly developed and supported native offerings pair industry leading open source technology with the convenience and support of a managed service. 

Red Hat and Microsoft continue to extend our work together to enhance customer experience and simplify deployment. Customers and partners can take advantage of several Red Hat solutions available in the Microsoft Azure Marketplace today: 

    •       Red Hat OpenShift
    •       Red Hat Enterprise Linux
    •       Red Hat Enterprise Linux for SAP Solutions 
    •       Red Hat Ansible Automation Platform

Red Hat’s close collaboration with major cloud providers also brings together our respective partner ecosystems to further extend customer support. Service providers, systems integrators and independent software vendors are able to integrate Red Hat cloud offerings into their own digital transformation initiatives to benefit customers and optimize existing resources through cloud providers.

Delivering enhanced customer experiences

Red Hat has always been committed to making it as easy as possible for customers to engage with Red Hat solutions. Not only is Red Hat built on open source, but we were one of the first technology companies to introduce a subscription-based business model to help customers remain agile and dynamic in building their IT environments. 

Like everything in IT, the ways in which organizations are buying and deploying software is constantly evolving. That’s why Red Hat is enhancing our business practices to introduce flexible methods of purchasing and deploying Red Hat solutions on the public cloud – through investments in native offerings with cloud providers, channel enablement programs and cloud marketplaces. 

We look forward to our continued collaboration with leading cloud providers to further excel innovation across hybrid multicloud and create value for customers in accessing and deploying open source to support their business needs into the future. Learn more about how Red Hat is driving high-value customer experiences in the cloud.

[1] Source: IDC FutureScape: Worldwide Future of Digital Innovation 2022 Predictions, October 2021, Doc # US47148621.

ใช้โอเพ่นซอร์สบนคลาวด์ใดก็ได้: อีกหนึ่งทางเลือกที่ Red Hat มีให้บน Cloud Marketplaces

ใช้โอเพ่นซอร์สบนคลาวด์ใดก็ได้: อีกหนึ่งทางเลือกที่ Red Hat มีให้บน Cloud Marketplaces

ใช้โอเพ่นซอร์สบนคลาวด์ใดก็ได้: อีกหนึ่งทางเลือกที่ Red Hat มีให้บน Cloud Marketplaces

บทความโดย มาร์แยม แซนด์, Vice President of Cloud Partners, Red Hat

ณ งาน AnsibleFest งานประจำปีด้าน automation จัดโดย Red Hat ประจำปี 2022 นี้ Red Hat ประกาศว่า Ansible Automation Platform พร้อมให้ใช้ได้บน AWS Marketplace และ Ansible Automation Platform พร้อมใช้บน Azure Marketplace แล้ว ซึ่งนับเป็นความคืบหน้าล่าสุดของความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนานของ Red Hat กับ AWS และ Microsoft ในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเคลื่อนย้าย พัฒนา และปรับปรุงแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานบนคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่ลูกค้าพัฒนากลยุทธ์ในการใช้ไฮบริดคลาวด์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ความง่ายในการเข้าถึงการใช้งานกลายเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ลูกค้ามีความยืดหยุ่นในการนำโซลูชันต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการสเกลและขยายการทำงานไปยังคลาวด์ได้เต็มรูปแบบ การทำงานร่วมกันของผู้ให้บริการคลาวด์ เช่น AWS, Microsoft และ Google เพื่อพัฒนาการนำเสนอแบบเนทีฟ และทำให้โซลูชันของ Red Hat พร้อมให้บริการบน cloud marketplaces ทั้งนี้ Red Hat เร่งพัฒนานวัตกรรมไฮบริดคลาวด์ และเพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค้าทำให้องค์กรสามารถซื้อและปรับใช้โซลูชันที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

เสริมแกร่งนวัตกรรมและคุณประโยชน์บน cloud marketplaces

องค์กรหันมาใช้ cloud marketplaces เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้จัดหา และใช้บริการ คลาวด์/ซอฟต์แวร์โซลูชันต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เพื่อช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ IDC คาดการณ์ว่า ภายในปี 2567, 55% ขององค์กรจะค้นหาซอฟต์แวร์ที่ต้องการจาก cloud marketplaces[1]

Red Hat เห็นว่าพฤติกรรมการใช้งานที่เปลี่ยนไปนี้ เป็นโอกาสที่บริษัทฯ จะให้บริการองค์กรต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ผ่านทางเลือกที่มากขึ้น ความยืดหยุ่น และความง่ายในการใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สบนไฮบริดคลาวด์ เพื่อสนับสนุนรูปแบบการทำงานด้านคลาวด์ขององค์กรเกือบทุกรูปแบบ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์โซลูชัน และบริการด้านคลาวด์หลายร้อยรายการได้เพียงคลิกเดียวบน cloud marketplaces ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้องค์กรใช้รูปแบบค่าใช้จ่ายที่ตกลงไว้กับผู้ให้บริการคลาวด์ต่าง ๆ และใช้ประโยชน์จากรูปแบบการเก็บเงิน
ที่คล่องตัว

ในปีที่ผ่านมา Red Hat ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำเช่น AWS, Google และ Microsoft เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ของบริษัทฯ พร้อมใช้งานบน cloud marketplaces และภายในคอนโซลของผู้ให้บริการด้านเนทีฟคลาวด์ บริการที่มีการบริหารจัดการ (managed services) เต็มรูปแบบ เช่น Red Hat OpenShift Service on AWS และ Microsoft Azure Red Hat OpenShift มีวางจำหน่ายผ่านการซื้อจากคอนโซลของผู้ให้บริการ และจะได้รับการสนับสนุนจาก Red Hat และพันธมิตรด้านคลาวด์นั้น ๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าที่ซื้อได้รับประสบการณ์การซื้อที่ดีขึ้น ช่วยให้การจัดหา การพัฒนา และการใช้แอปพลิเคชันบนพับลิคคลาวด์ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น และนำศักยภาพของโอเพ่นซอร์สที่สามารถนำระบบที่แตกต่างกันทั้งหลายที่อยู่บนไฮบริดคลาวด์มาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์และบริการอื่นของ Red Hat ที่จำหน่ายผ่าน cloud marketplaces ต่าง ๆ เช่น โซลูชันชั้นนำของอุตสาหกรรมอย่าง Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift ทั้งนี้การวางจำหน่ายโซลูชันของ Red Hat บน cloud marketplace มีดังนี้

AWS Marketplace

นอกจาก Red Hat Ansible Automation Platform ที่กำลังจะตามมาเเล้ว โซลูชันของ Red Hat ที่วางจำหน่ายบน AWS Marketplace แล้ว มีดังนี้:

    • Red Hat OpenShift
    • Red Hat Enterprise Linux
    • Red Hat Enterprise Linux for SAP Solutions
    • Red Hat Enterprise Linux with Microsoft SQL Server 

Red Hat ยังคงเพิ่มการวางจำหน่ายโซลูชันต่าง ๆ บน AWS Marketplace อย่างต่อเนื่อง Red Hat และ AWS เดินหน้านำเสนอโซลูชันที่พร้อมใช้งานในอนาคตได้อย่างราบรื่นอย่างต่อเนื่องและจะได้ประกาศให้ผู้ใช้งานทราบต่อไป

Google Cloud Marketplace

Red Hat OpenShift เปิดให้บริการแล้วบน Google Cloud Marketplace นับตั้งแต่ปี 2556 Red Hat และ Google ได้ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และทางเลือกในการใช้ไฮบริดคลาวด์ โดยเริ่มต้นด้วยการใช้ Red Hat Enterprise Linux ใน Google Compute Engine ปัจจุบัน Red Hat กำลังพัฒนาข้อเสนอร่วมกับ Google ในการนำโซลูชันไฮบริดคลาวด์ของ Red Hat ต่อไปนี้ วางจำหน่ายบน Google Cloud Marketplace:

    • Red Hat OpenShift
    • Red Hat Enterprise Linux
    • Red Hat Enterprise Linux for SAP Solutions

Red Hat และ Google Cloud สามารถให้บริการลูกค้าด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างและใช้งานไฮบริดและมัลติคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น จากความสามารถ
ในการตั้งค่าที่ยืดหยุ่นตามแบบฉบับของโอเพ่นซอร์ส พื้นฐานความคิดในการพัฒนาที่ยึดความปลอดภัยเป็นหลัก โครงสร้างพื้นฐานที่มีเครือข่ายทั่วโลก และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพล้ำหน้า

Microsoft Azure Marketplace

Red Hat และ Microsoft ได้ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องหลายปี เพื่อแนะนำบริการใหม่ในลักษณะ managed services เต็มรูปแบบสองรายการในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมาก คือ Red Hat Ansible Automation Platform on Microsoft Azure และ Microsoft Azure Red Hat OpenShift โซลูชันทั้งสองที่ได้ร่วมกันพัฒนานี้ เป็นการจับคู่เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม เข้ากับความสะดวกและ
การสนับสนุนที่ managed service มีให้

Red Hat และ Microsoft ยังคงขยายการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าและทำให้การใช้งานง่ายขึ้น ลูกค้าและพันธมิตรสามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชันของ Red Hat ที่มีอยู่บน Microsoft Azure Marketplace ได้แล้วดังนี้

    • Red Hat OpenShift
    • Red Hat Enterprise Linux
    • Red Hat Enterprise Linux for SAP Solutions 
    • Red Hat Ansible Automation Platform

ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง Red Hat กับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่นี้ ยังนำมาซึ่งระบบนิเวศด้านพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้การสนับสนุนลูกค้าได้มากขึ้น ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ ผู้ออกแบบและสร้างระบบ และผู้ขายซอฟต์แวร์อิสระ สามารถนำข้อเสนอหรือผลิตภัณฑ์ด้านคลาวด์ของ Red Hat ไปรวมไว้ในโครงการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทรัพยากรด้านไอทีที่มีอยู่ ผ่านผู้ใหบริการคลาวด์ต่าง ๆ

เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า

Red Hat มุ่งมั่นในการช่วยให้ลูกค้านำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้งานได้ง่ายที่สุดมาโดยตลอด นอกจากที่ Red Hat เป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นบนโอเพ่นซอร์สแล้ว ยังเป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีรายแรก ๆ ที่นำโมเดลธุรกิจแบบ subscription มาให้ลูกค้าใช้ เพื่อช่วยให้มีความคล่องตัวและสามารถสร้างสภาพแวดล้อมไอทีของตนได้อย่างต่อเนื่อง

แนวทางที่องค์กรจัดซื้อและใช้ซอฟต์แวร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความเคลื่อนไหวด้านไอทีในแง่มุมอื่น  และนี่คือเหตุผลที่ Red Hat ปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อแนะนำวิธีการจัดซื้อและใช้โซลูชันของ Red Hat บนพับลิคคลาวด์ที่ยืดหยุ่น ผ่านการลงทุนใน native offerings กับผู้ให้บริการคลาวด์ต่าง ๆ ผ่านโปรแกรมส่งเสริมการขายให้กับพันธมิตร (channel enablement programs) และการวางจำหน่ายบน cloud marketplaces

[1] Source: IDC FutureScape: Worldwide Future of Digital Innovation 2022 Predictions, October 2021, Doc # US47148621.

Red Hat เปิดตัว OpenShift Platform Plus เวอร์ชันล่าสุด เพื่อบริหารจัดการการทำงานบนไฮบริดคลาวด์ให้สอดคล้องกันมากขึ้น

Red Hat เปิดตัว OpenShift Platform Plus เวอร์ชันล่าสุด เพื่อบริหารจัดการการทำงานบนไฮบริดคลาวด์ให้สอดคล้องกันมากขึ้น

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก เปิดตัว Red Hat OpenShift Platform Plus รุ่นล่าสุด

ความสามารถใหม่ ๆ นี้ ช่วยให้ใช้ Kubernetes stack ได้ง่ายขึ้น เพิ่มความคล่องตัว สร้างมาตรฐานในการพัฒนาและการบริหารจัดการแอปพลิเคชัน ที่ครอบคลุมตั้งแต่ดาต้าเซ็นเตอร์ เอดจ์ ไปจนถึง มัลติพับลิคคลาวด์

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก เปิดตัว Red Hat OpenShift Platform Plus รุ่นล่าสุด ที่มาพร้อมฟีเจอร์และความสามารถใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากแพลตฟอร์ม Kubernetes พื้นฐานทั่วไป ให้ตอบสนองการใช้งานด้านสตอเรจ การบริหารจัดการ และอื่น ๆ อีกมาก นับเป็นการยกระดับ Red Hat OpenShift Platform Plus ให้เป็นแพลตฟอร์ม Kubernetes หนึ่งเดียวที่รองรับความต้องการด้านไอทีขององค์กรได้ครบถ้วนในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมการทำงานที่ดิสทริบิ้วเต็ดเอดจ์ หรือสภาพแวดล้อมมัลติพับลิคคลาวด์

รายงาน The Innovation Leader’s Guide to Navigating the Cloud-Native Container Ecosystem ของบริษัทวิจัย การ์ทเนอร์ (Gartner®) ให้คำแนะนำว่า “องค์กรต่าง ๆ ควรกำหนดมาตรฐานไว้บนแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรเพียงหนึ่งเดียวให้ครอบคลุมกรณีการใช้งานที่หลากหลายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”[1] การที่องค์กรต่าง ๆ ใช้แอปพลิเคชันมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้แพลตฟอร์มคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วย Kubernetest ที่นอกจากจะใช้รองรับโครงสร้างพื้นฐานโอเพ่นไฮบริดคลาวด์แล้ว ยังต้องรองรับเวิร์กโหลดและแอปพลิเคชันหลากหลายที่ทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานนี้ด้วย

Red Hat OpenShift Platform Plus ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานที่มีความมั่นคงให้กับองค์กรต่าง ๆ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดมาตรฐานด้านไอทีเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แพลตฟอร์มรุ่นใหม่ล่าสุดนี้ประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างปกป้อง และจัดการแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นตลอดอายุการใช้งานของซอฟต์แวร์ และใช้ได้กับคลัสเตอร์ Kubernetes ทั้งหมด เทคโนโลยีพื้นฐานที่ได้รับการอัปเดทประกอบด้วย

    • Red Hat OpenShift 4.11
    • Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes 2.6
    • Red Hat OpenShift Data Foundation 4.11

แพลตฟอร์มครบวงจรสำหรับเวิร์กโหลดต่าง ๆ ที่รันอยู่บนไฮบริดคลาวด์

การที่องค์กรต่าง ๆ ยังปรับขนาดสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการระบบที่มั่นคง สอดคล้องกัน และใช้ได้กับทุก ๆ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพิ่มขึ้นตามไปด้วย  Red Hat OpenShift 4.11 ที่ทำงานกับรันไทม์อินเทอร์เฟซ Red Hat OpenShift 4.11 และ CRI-O 1.24 ได้รับการออกแบบเพื่อทำให้ใช้ Kubernetes ระดับองค์กรได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะใช้อย่างไรและที่ไหนบนโอเพ่นไฮบริดคลาวด์

Red Hat OpenShift เวอร์ชันล่าสุดช่วยให้องค์กรสามารถติดตั้ง OpenShift ได้โดยตรงจาก marketplace ของผู้ให้บริการพับลิคคลาวด์สำคัญ ๆ ในตลาด เช่น AWS marketplace และ Azure marketplace ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่องค์กรในการเลือกที่จะรัน OpenShift ตามลักษณะที่ต้องการ และช่วยให้ทีมงานฝ่ายไอทีตอบสนองความต้องการด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้น

ฟีเจอร์และความสามารถใหม่ ๆ ของ Red Hat OpenShift 4.11 ประกอบด้วย

    • Pod Security Admission integration: ช่วยให้ผู้ใช้ระบุระดับการแยกระบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันให้กับ Kubernetes pod ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ควบคุมลักษณะการทำงานของ pod ได้อย่างชัดเจน สม่ำเสมอ และสอดคล้องกันมากขึ้น
    • Installer Provisioned Infrastructure (IPI) รองรับการใช้งานกับนูทานิคซ์: ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้กระบวนการ IPI เพื่อติดตั้ง OpenShift บนสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลซ์ของนูทานิคซ์ ได้แบบอัตโนมัติด้วยการคลิกครั้งเดียว พร้อมผสานรวมการทำงานร่วมกัน
    • สถาปัตยกรรมเพิ่มเติมสำหรับแซนด์บ็อกซ์คอนเทนเนอร์ (Sandboxed Container) รวมถึงความสามารถในการรันแซนด์บ็อกซ์คอนเทนเนอร์บน AWS และบน OpenShift แบบซิงเกิลโหนด แซนด์บ็อกซ์คอนเทนเนอร์ใช้เป็นเลเยอร์เพิ่มเติมสำหรับการแยกเวิร์กโหลด แม้กระทั่งที่ส่วนเอดจ์ของเครือข่ายที่อยู่ไกลออกไปก็ตาม

เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบบนสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด

ในการจัดการเวิร์กโหลดต่าง ๆ อาจจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลเพิ่มเติม  ด้วยเหตุนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการคอนเทนเนอร์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เอดจ์  Red Hat Advanced Cluster Management 2.6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Red Hat OpenShift Platform Plus จึงได้เพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความพร้อมใช้งานในกรณีการใช้งานที่มีลาเทนซีสูงและแบนด์วิธต่ำ

Red Hat Advanced Cluster Management hub cluster เดียวสามารถใช้และบริหารจัดการคลัสเตอร์ OpenShift แบบซิงเกิลโหนดได้มากถึง 2,500 คลัสเตอร์ ซึ่งสามารถใช้และจัดการที่เอดจ์ของเครือข่ายโดยไม่ต้องกำหนดค่าใด ๆ) นอกจากนี้ Red Hat Advanced Cluster Management 2.6 ยังประกอบด้วยตัวเก็บรวบรวมข้อมูลดัชนีที่เอดจ์ ซึ่งเหมาะสำหรับเวิร์กโหลดแบบซิงเกิลโหนด และเวิร์กโหลดขนาดเล็ก ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบการทำงานของระบบผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล 

นอกจากนั้น Red Hat Advanced Cluster Management ยังสามารถทำงานผสมผสานกับเครื่องมือสำคัญ ๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้เวิร์กโฟลว์ที่มีอยู่ได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการบูรณาการที่สำคัญได้แก่:

    • การมองเห็นแอปพลิเคชันได้อย่างกว้างขวางโดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ ของแอปพลิเคชันได้กว้างขึ้น และแสดงให้เห็นแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยตรงผ่าน OpenShift
    • การจัดการคลัสเตอร์โดยตรงจาก Red Hat Ansible Automation Platform ซึ่งเป็นส่วนของเทคโนโลยีพรีวิว ช่วยให้ผู้ใช้ Ansible สามารถโต้ตอบกับ Red Hat Advanced Cluster Management ได้ในแบบเนทีฟ
    • การบูรณาการเข้ากับ Kyverno PolicySet ซึ่งเป็นส่วนของเทคโนโลยีพรีวิว ช่วยให้ผู้ใช้มีทางเลือกมากขึ้นในการปรับใช้นโยบาย Kubernetes

บริการข้อมูลและที่เก็บข้อมูลถาวร (Persistent Storage) ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับโมเดิร์นเวิร์กโหลด

องค์กรต่าง ๆ ที่โยกย้ายระบบไปยังไฮบริดคลาวด์ มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการกู้คืนระบบให้กลับสู่ภาวะปกติ  ด้วยเหตุนี้ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาข้อมูลสูญหายและการหยุดชะงักของธุรกิจในกรณีที่ระบบเกิดล้มเหลว Red Hat OpenShift Data Foundation 4.11 จึงมี OpenShift API สำหรับการปกป้องข้อมูล โดยสามารถใช้ API ของผู้ให้บริการเพื่อแบ็คอัพและกู้คืนแอปพลิเคชันและข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงหรือใช้แอปพลิเคชันการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่โดยครอบคลุมไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด

นอกจากนั้น Red Hat OpenShift Data Foundation ยังรองรับการตรวจสอบแบบมัลติคลัสเตอร์ผ่านทาง Red Hat Advanced Cluster Management ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการจัดการข้อมูลคลัสเตอร์ได้อย่างครบถ้วนจากจุดเดียว โดยครอบคลุมหลายคลัสเตอร์ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยการผนวกรวมการจัดการคลัสเตอร์สำหรับระบบต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือหนึ่งเดียว

การวางจำหน่าย

Red Hat OpenShift 4.11 และ Red Hat OpenShift Data Foundation 4.11 มีวางจำหน่ายแล้ว ส่วน Red Hat Advanced Cluster Management 2.6 คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงเดือนสิงหาคม

คำกล่าวสนับสนุน

โจ เฟอร์นันเดส รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มของเร้ดแฮท
“ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ หันไปใช้โมเดิร์นแอปพลิเคชันกันมากขึ้น เพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบไดนามิกที่เหนือกว่าให้แก่ผู้ใช้ ดังนั้นองค์กรเหล่านี้จึงต้องการแพลตฟอร์มที่รองรับการจัดการที่ใช้ได้กับทุกระบบอย่างสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ หรือเวิร์กโหลดแบบคอนเทนเนอร์ที่ครอบคลุมทั้งส่วนขอบของเครือข่ายและมัลติพับลิคคลาวด์ Red Hat OpenShift Platform Plus ที่เปิดตัวครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้านแพลตฟอร์มที่รองรับการทำงานอย่างสอดคล้องกัน ประกอบด้วยชุดเครื่องมือที่พร้อมสรรพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มอบความยืดหยุ่นให้กับการใช้ข้อมูล และมีการรักษาความปลอดภัยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น”

ข้อมูลเพิ่มเติม

ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

Explaining artificial intelligence governance

ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

บทความโดยฟาดซี อูเชโวคุนซ์, สถาปนิกด้านบริการทางการเงิน, เร้ดแฮท

บริการทางการเงินเป็นภาคธุรกิจที่มีความท้าทายสูงมากจากการที่ผู้ทำธุรกิจด้านนี้ต่างแสวงหาความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และแนวทางในการทำธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการนำวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้ร่วมกัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญ
ที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำในการทำนายและคาดการณ์ และให้บริการแก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดีสถาบันการเงินจำเป็นต้องกำหนดกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมเพื่อขับเคลื่อนการใช้งาน AI ในทุกแง่มุมให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ

บทบาทของการกำกับดูแลการใช้ AI

การกำกับดูแล AI ประกอบด้วยกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และกระบวนการที่ใช้ในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน การกำกับดูแลการใช้ AI มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากภาคธุรกิจการเงินมีกฎระเบียบที่เข้มงวด ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุม เพื่อให้สามารถกำกับดูแลกลยุทธ์ด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น กรอบการทำงานดังกล่าวควรประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการใช้ AI และมีคู่มือหรือแนวนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูล นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องระบุและป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อคุ้มครองข้อมูลอย่างเข้มงวด และเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

คุณประโยชน์สำคัญที่ได้จากการลงทุนด้านกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ได้อย่างเหมาะสม มีดังนี้

    • เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ — เข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น และคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น
    • เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย — งานประจำ และกระบวนการด้านต่าง ๆ ทำได้แบบอัตโนมัติ
    • บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น — แชทบ็อท หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

การลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์เหล่านี้อาจหมายรวมถึงการว่าจ้างบุคลากรที่มีหน้าที่กำกับดูแลกรอบการทำงาน กำหนดแนวทางและมาตรการที่ชัดเจน และจัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล

กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ต้องเกิดจากความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

ปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ที่สถาบันการเงินจะต้องจัดการดูแลในสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมที่จะช่วยตรวจวัด และจัดการเป้าหมายของโมเดลต่าง ๆ รวมถึงความต้องการข้อมูลระดับประสิทธิภาพที่ต้องการ และความน่าเชื่อถือโดยสอดรับกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กร

การปรับเปลี่ยนตามแนวทางของกรอบการกำกับดูแลที่กำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน รอบด้าน และครบถ้วนสมบูรณ์ จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถพัฒนาและควบคุมวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วก็จะสามารถปกป้ององค์กร และลูกค้าให้ปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ในขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นให้กับลูกค้า

ปัจจัยสำคัญที่สถาบันการเงินจะต้องคำนึงถึงในการดำเนินแนวทางปฏิบัติตามกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมและชัดเจน ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและความปลอดภัย รวมถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

    • ความน่าเชื่อถือ— เป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและองค์ประกอบทางจริยธรรมของโมเดล AI เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อคนบางกลุ่ม  ความรับผิดชอบและความโปร่งใสจะช่วยรับรองยืนยันการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมถึงผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจที่นำไปสู่ผลลัพธ์ และเปิดโอกาสให้มีช่องทางสำหรับการสอบถามหรือตั้งคำถามในกรณีที่จำเป็น
    • ความยืดหยุ่น— โมเดล AI จะต้องได้รับการปรับปรุงและทบทวนแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความเสี่ยงใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และความท้าทายอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสอดคล้องกัน กรอบการกำกับดูแลที่รัดกุมจะช่วยให้สถาบันการเงินบรรลุเป้าหมายในการประเมิน ตรวจสอบ และตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ความปลอดภัย— โมเดล AI อาจเผยให้สถาบันการเงินเห็นความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงัก เช่น ระบบไอทีล่ม ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (เช่น การโจมตีแบบ Data Poisoning) และปัญหาเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ความท้าทายในการปรับใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI

  องค์กรจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายสำคัญ ๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI เป็นประโยชน์ในระยะยาว

    • การดำเนินการเก็บรวบรวม ทำความสะอาดข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เชื่อถือได้ และสอดคล้องกันมากขึ้น รวมถึงความเที่ยงตรงของฟังก์ชั่นการป้อนข้อมูล
    • การจัดการปัญหาเรื่องอคติในโมเดล AI ที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นธรรมและมีการเลือกปฏิบัติ
    • การยึดมั่นในความรับผิดชอบและความโปร่งใสในระบบ AI ช่วยให้ผู้ดูแลด้านการใช้ AI ในองค์กร เข้าใจว่าองค์กรใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในลักษณะใดบ้าง ทั้งยังเอื้อให้มีการทบทวนหรือปรับเปลี่ยนการตัดสินใจในกรณีที่จำเป็น
    • การปฏิบัติตามกฎระเบียบ นโยบายองค์กร มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงข้อบังคับภายนอกและภายในองค์กร เป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคธุรกิจที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเช่นภาคการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ บทลงโทษ และความเสียหายต่อชื่อเสียง
    • การจัดการและตรวจติดตามการทำงานของระบบ AI เชิงรุก ด้วยการระบุและวินิจฉัยปัญหา และอนุญาตให้มีการดำเนินการแก้ไข

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เปิดกว้างของเร้ดแฮทเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน หรือการพัฒนาโซลูชันที่มีการนำ AI มาใช้ร่วมด้วย