นูทานิคซ์เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้เส้นทางสู่ไฮบริดมัลติคลาวด์ง่ายขึ้น

นูทานิคซ์เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้เส้นทางสู่ไฮบริดมัลติคลาวด์ง่ายขึ้น

นูทานิคซ์เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้เส้นทางสู่ไฮบริดมัลติคลาวด์ง่ายขึ้น

Nutanix Cloud Platform โซลูชันที่ครอบคลุม เพื่อการใช้งานทุกแอปพลิเคชันบนคลาวด์ทุกระบบ

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด-มัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศเปิดตัวทั่วโลกในการปรับเปลี่ยน และจัดกลุ่มโซลูชันต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Nutanix Cloud Platform นำเสนอรูปแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับคลาวด์ทุกประเภท ทั้งพับลิค ไพรเวท และไฮบริดคลาวด์ ซึ่งการจัดทัพโซลูชันใหม่ในครั้งนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถนำโซลูชันต่าง ๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ และตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของลูกค้าได้ง่ายขึ้น

กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่นี้นอกจากจะทำให้ลูกค้าสามารถตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของไอทีสู่ยุคมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยขจัดความซับซ้อนที่มักเกี่ยวกับการเปิดใช้งานบริการไฮบริดคลาวด์ครบวงจรในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย โดยลดความซับซ้อนของการเลือกใช้โซลูชัน และวิธีการคิดราคา เพื่อช่วยให้ลูกค้าเตรียมพร้อมรับมือกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายขึ้นซึ่งรวมถึงการขยายเวิร์กโหลด การกำหนดลักษณะคลาวด์ การอัปเกรดเทคโนโลยี และอื่น ๆ ลูกค้าสามารถเร่งเปลี่ยนแปลงองค์กรของตนสู่เส้นทางคลาวด์ได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากการออกแบบที่ได้รับการตรวจสอบโดยนูทานิคซ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับใช้สำหรับกรณีใช้งานทั่วไป

นายอาชีช นาดคาร์นี รองประธานกลุ่มระบบโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีของ IDC กล่าวว่า “การเติบโตของนูทานิคซ์เริ่มต้นจากเป็นทางเลือกที่ยืดหยุ่นและการจัดการที่ง่ายขึ้นกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบเป็นระบบ SAN และได้พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์เต็มรูปแบบทั้งหมดตั้งแต่เวอร์ชวลไลเซชัน เน็ตเวิร์กกิ้ง จนถึงการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการรองรับเวิร์กโหลดทั้งหมดทั่วทั้งในองค์กรและในพับลิคคลาวด์  กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่นี้มอบความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจ”

บริษัทฯ ได้สร้างแพลตฟอร์มคลาวด์แบบครบวงจรที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กร โดยมีโซลูชัน HCI (โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ – hyperconverged infrastructure) ชั้นนำของตลาดเป็นรากฐานสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียบง่ายประกอบด้วย 

    • Nutanix Cloud Infrastructure (NCI) ซอฟต์แวร์โซลูชันสำหรับโครงสร้างพื้นฐานแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งรวมการทำเวอร์ชวลไลซ์กับระบบประมวลผล ระบบจัดเก็บข้อมูล และเน็ตเวิร์กกิ้ง สำหรับเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ที่สามารถปรับใช้งานได้ในดาต้าเซ็นเตอร์บนฮาร์ดแวร์ใด ๆ ที่องค์กรเลือก หรือในพับลิคคลาวด์ที่มีคุณสมบัติด้านความยืดหยุ่น ซ่อมแซมตัวเองได้ มีประสิทธิภาพ กู้คืนระบบได้ และมีการรักษาความปลอดภัยติดตั้งไว้เบ็ดเสร็จ นอกจากนั้นยังสามารถใช้งาน NCI บนพับลิคคลาวด์ด้วย

    • Nutanix Cloud Clusters (NC2) ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์ได้อย่างแท้จริง เพื่อความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และรองรับแอปพลิเคชันสมัยใหม่ได้ ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานยังคงทำได้ในแบบรวมศูนย์ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานบนพับลิคคลาวด์ หรือในศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้องค์กรสามารถกระจายงานสู่คลาวด์ได้อย่างรวดเร็ว (cloud bursting) การสร้างระบบสำรองบนคลาวด์ รวมถึงการโยกย้ายแอปพลิเคชันบางส่วนไปใช้งานพับลิคคลาวด์ได้โดยไม่ต้องลงทุนแก้ไขแอปพลิเคชัน

    • Nutanix Cloud Manager (NCM) ทำให้การสร้างและการจัดการการปรับใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องง่ายและสะดวก โดยขับเคลื่อนการกำกับดูแลที่สม่ำเสมอทั่วทั้งไพรเวทและพับลิค คลาวด์ ทำให้การใช้คลาวด์ของลูกค้าเกิดได้เร็วขึ้นNCM มีระบบการบริหารจัดการคลาวด์ต่าง ๆ ที่ชาญฉลาด รวมถึงการมอนิเตอร์ การให้ข้อมูลเชิงลึก และการแก้ไขอัตโนมัติ ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถปรับใช้ ดำเนินงาน และจัดการแอปพลิเคชันของตนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่าย และกำกับดูแลต้นทุนของการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แต่ละประเภท ท้ายที่สุดยังได้รวมการดำเนินการด้านความปลอดภัยสำหรับเวิร์กโหลดและข้อมูลทั่วทั้งระบบคลาวด์ ทำให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นอัตโนมัติด้วยการวิเคราะห์และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

    • Nutanix Unified Storage (NUS) จัดเตรียมสตอเรจแบบดิสทริบิวเต็ด และควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับโปรโตคอลแบบต่าง ๆ (volumes, files, objects) เพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่ต้องการข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไพรเวท พับลิคหรือไฮบริดคลาวด์ พร้อมความสามารถในการนำไลเซนส์ที่มีอยู่เคลื่อนย้ายไปใช้งานบนระบบที่ต้องการได้ การจัดการแบบจุดเดียวสำหรับทรัพยากรการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดจะช่วยขจัดความซับซ้อนของอินเทอร์เฟซหลายแบบ และช่วยให้ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการจัดเก็บข้อมูลสามารถดำเนินการจัดเก็บและจัดการข้อมูลส่วนใหญ่ในแต่ละวันได้  การวิเคราะห์อัจฉริยะที่รวมเข้ากับโซลูชันนี้ช่วยให้มองเห็นข้อมูล และให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการกำกับดูแลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

    • Nutanix Database Service (NDB) ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการดาต้าเบสในไฮบริดคลาวด์สำหรับดาต้าเบสเอ็นจิ้นต่าง ๆ เช่น PostgreSQL®, MySQL®, Microsoft® SQL Server, Mongo DB, Maria DB และ Oracle® Database ด้วยระบบอัตโนมัติอันทรงพลังในการจัดเตรียม การปรับขนาด การแพตช์ การป้องกัน และการโคลนของดาต้าเบสอินสแตนซ์ NDB ช่วยให้ลูกค้าสามารถส่งมอบ Database-as-a-Service (DBaaS) และประสบการณ์ด้านตาต้าเบสแบบบริการตนเองที่ใช้งานง่ายให้แก่นักพัฒนา ทั้งข้อมูลใหม่ และข้อมูลปัจจุบันที่อยู่ภายในองค์กรและในพับลิคคลาวด์
    • Nutanix End User Computing Solutions นำเสนอแอปพลิเคชันและเดสก์ท็อปแบบเวอร์ชวลแก่ผู้ใช้ทั่วโลกจากโครงสร้างพื้นฐานพับลิค ไพรเวท และไฮบริดคลาวด์ โดยให้ตัวเลือกไลเซนส์การใช้งานสำหรับผู้ใช้ NCI ที่ลดความซับซ้อน นอกจากนี้ ยังรวมแพลตฟอร์ม Desktop-as-a-Service ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถเรียกใช้เวิร์กโหลดของผู้ใช้ปลายทางบน NCI พับลิคหรือไฮบริดคลาาวด์ไว้ให้อีกด้วย

 

์Nutanix

นายโธมัส คอร์เนลี รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดการของนูทานิคซ์ กล่าวว่า “Nutanix Cloud Platform สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จชั้นนำในตลาดของบริษัทฯ เพื่อให้ธุรกิจมีรูปแบบการดำเนินงานบนคลาวด์ที่สอดคล้องกัน  กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้งานง่ายของเราได้รวมเอาความสามารถด้านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายไว้ทั้งแบบใช้ภายในองค์กรและพับลิคคลาวด์ เพื่อเปิดใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน บริการข้อมูล การจัดการ และการดำเนินงานที่สอดคล้องกันสำหรับแอปพลิเคชันในเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์”

ความเห็นจากลูกค้านูทานิคซ์ 

    • “เราเลือกนูทานิคซ์ เพราะเรากำลังมองหาแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับเวิร์กโหลดหลัก ๆ ได้
      ในขณะเดียวกันก็ต้องให้มีความเรียบง่ายและมีความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนภารกิจปกป้องลูกค้า 39 ล้านรายทั่วโลกที่ใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของเรา  ในช่วงเวลาที่เราทำงานร่วมกัน นูทานิคซ์ไม่เพียงแต่ส่งมอบให้เท่านั้น แต่ยังขยายจากโซลูชัน HCI ไปเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่สมบูรณ์พร้อม เพื่อช่วยเราตลอดเส้นทางการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล  เราตั้งตารอที่จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมที่ต่อเนื่องของพวกเขา”

      – เดวิด ฟิทซ์เจอรัลด์ ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายบริการระดับโลกด้านไอที,
      UNUM บริษัทประกันภัยที่ดูแลด้านสวัสดิการพนักงาน

    • “นูทานิคซ์เป็นพันธมิตรหลักที่ช่วยให้เราพัฒนาระบบการผลิตขั้นสูง โดยใช้เทคโนโลยี HCI และเอดจ์คอมพิวติ้งสำหรับโครงสร้างพื้นฐานการผลิตในอนาคต เราตั้งตารอกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Nutanix Cloud Platform ที่จะช่วยเราในการปรับใช้ระบบการผลิตแบบไดนามิกทั่วโลก เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน รักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล รวมถึงรองรับความต่อเนื่องทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และทำให้ขั้นตอนส่วนขยายการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของเราเป็นมาตรฐาน”

      – มาซาโอะ ซัมเบะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล
      แผนกดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
      มิตซุย เคมิคัล อิงค์

บริการด้านคลาวด์เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยในแง่ธุรกิจ เห็นว่าคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเครื่องมือที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล 

ความเห็นจากลูกค้าไทย

    • “นูทานิคซ์สามารถขึ้นระบบให้พร้อมใช้งานได้ภายในหนึ่งชั่วโมง ผู้บริหารของบริษัทฯ พึงพอใจเป็นอย่างมากที่สามารถทำงานได้สะดวกจากทุกที่ ทุกเวลา บนทุกอุปกรณ์ เพื่อเข้าถึงเดสก์ท็อปไฟล์ข้อมูล และเน็ตเวิร์กต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยและสมบูรณ์แบบ”

      – นายรุจิโรจน์ พีเจริญทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายไอที
      บริษัท โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) จำกัด 

    • “เมื่อเรามีระบบสำรองข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพและปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเรา ระบบนี้จะช่วยให้เราสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการออกสู่ตลาดได้อย่างทันท่วงที และช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของเรา นูทานิคซ์ทำให้งานแมนนวลต่าง ๆ ที่ต้องใช้เวลานานลดลงถึง 80% และลดเวลาในการจัดเตรียมระบบลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง จากหนึ่งวันเหลือเพียงครึ่งวัน”

      – นายพิเชฐ ศรีวงษ์ญาติดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
      บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน)

ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดขณะนี้มีวางจำหน่ายแล้ว  กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ที่นี่

ผลสำรวจชี้ มัลติคลาวด์ยังได้รับความนิยมต่อเนื่อง แต่ความซับซ้อนและความท้าทายต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่เช่นกัน

ผลสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กร

ผลสำรวจชี้ มัลติคลาวด์ยังได้รับความนิยมต่อเนื่อง แต่ความซับซ้อนและความท้าทายต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่เช่นกัน

ผลสำรวจพบว่ามีการใชัมัลติคลาวด์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันองค์กรต่าง ๆ ก็มุ่งความสนใจไปที่ไฮบริด มัลติคลาวด์

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด-มัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง เผยผลสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กร (Enterprise Cloud Index: ECI) ที่ทำการสำรวจติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยทำการประเมินความก้าวหน้าในการใช้คลาวด์ขององค์กร การสำรวจพบว่า มัลติคลาวด์เป็นรูปแบบที่มีการนำมาใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน และการใช้งานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 64% ในอีกสามปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนในการจัดการกับข้อจำกัดต่าง ๆ ของคลาวด์ทุกประเภทยังคงเป็นความท้าทายสำคัญขององค์กร โดย 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยว่า การจะใช้มัลติคลาวด์ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการจัดการโครงสร้างพื้นฐานการใช้ระบบคลาวด์แบบผสมที่ง่ายขึ้น ทั้งนี้ 83% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่า ไฮบริด-มัลติคลาวด์เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำงานร่วมกัน การรักษาความปลอดภัย ต้นทุน และการบูรณาการข้อมูล

ผลสำรวจชี้ มัลติคลาวด์ยังได้รับความนิยมต่อเนื่อง

นายราจีฟ รามาสวามี ประธานและซีอีโอนูทานิคซ์ กล่าวว่า “ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ พิจารณาและใช้ไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้นกว่าก่อน ความซับซ้อนของมัลติคลาวด์ก็กำลังสร้างความท้าทายมากมายที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการใช้คลาวด์ การแก้ไขความซับซ้อนเหล่านี้ ทำให้เกิดไฮบริด-มัลติคลาวด์รูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งทำให้คลาวด์เป็นรูปแบบในการทำงาน มากกว่าเป็นเพียงเป้าหมายปลายทางเท่านั้น”

การสำรวจครั้งนี้ ได้สอบถามผู้ตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับความท้าทายของการใช้คลาวด์ที่องค์กรพบเจอ ปัจจุบันองค์กรใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจบนระบบใด และวางแผนว่าจะใช้บนระบบใดในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีผลต่อการตัดสินใจด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนกลยุทธ์และลำดับความสำคัญด้านไอทีที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว

ผลสำรวจสำคัญจากรายงานครั้งนี้ ประกอบด้วย

      • ความท้าทายอันดับต้น ๆ ในการใช้มัลติคลาวด์ประกอบด้วย การจัดการความปลอดภัย (49%), การเชื่อมโยงข้อมูล (49%) และค่าใช้จ่ายในการใช้คลาวด์ข้ามประเภท (43%) แม้มัลติคลาวด์จะเป็นรูปแบบที่ใช้งานมากที่สุด และเป็นเพียงรูปแบบเดียวที่คาดว่าจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้น แต่องค์กรส่วนใหญ่ยังต้องฝ่าฟันกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการใช้คลาวด์หลายประเภทร่วมกัน ทั้งที่เป็นไพรเวทและพับลิคคลาวด์ ความท้าทายเหล่านี้จะยังคงอยู่ และผู้นำด้านไอทีต่างตระหนักมากขึ้นว่า ไม่มีวิธีการใช้คลาวด์วิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมกับการทำงานทุกอย่าง ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ไฮบริด มัลติคลาวด์ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานด้านไอทีที่สามารถประสานให้คลาวด์หลายประเภท ทั้งไพรเวทและพับลิคทำงานร่วมกันได้เป็นวิธีการที่เหมาะสม
ความท้าทายอันดับต้น ๆ ในการใช้มัลติคลาวด์
      • การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนวิธีการทำงานเกือบทั้งหมดขององค์กร และมัลติคลาวด์สามารถรองรับวิธีการทำงานแบบใหม่นี้ ผู้ตอบแบบสำรวจเกินครึ่ง (61%) กล่าวว่าการระบาดครั้งนี้ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับการจัดให้มีการทำงานแบบยืดหยุ่นมากขึ้น องค์กรส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ไม่ว่าจะมีพนักงานที่ทำงานจากระยะไกลมากขึ้นหรือน้อยลงก็ตามการทำงานในลักษณะนี้จะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปในอนาคตอันใกล้ มัลติคลาวด์มีสภาพแวดล้อมไอทีที่คล่องตัว สามารถตอบสนองความต้องการด้านความยืดหยุ่นนี้ได้ ด้วยการกระจายข้อมูลไปยังจุดใช้งานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ
      • การเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันคือสิ่งสำคัญที่สุด ในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา องค์กรเกือบทั้งหมด (91%) ได้ย้ายแอปพลิเคชัน หนึ่งรายการหรือมากกว่านั้นไปยังสภาพแวดล้อมไอทีใหม่ อย่างไรก็ตาม 80% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นตรงกันว่า การย้ายเวิร์กโหลดไปยังสภาพแวดล้อมคลาวด์รูปแบบใหม่อาจใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ตอบแบบสำรวจให้เหตุผลในการย้ายเวิร์กโหลดว่า ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด (41%) ตามด้วยเรื่องประสิทธิภาพ (39%) และความสามารถในการควบคุมการทำงาน (38%)

 

การเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันคือสิ่งสำคัญที่สุด
      • องค์กรต่าง ๆ ใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีในเชิงกลยุทธ์เพิ่มขึ้น  เกือบสามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถาม (72%) ระบุว่า ฟังก์ชันด้านไอทีในองค์กรของตนได้มีการนำมาใช้ในเชิงกลยุทธ์มากขึ้นกว่าปีที่แล้ว ผู้ตอบแบบสำรวจได้ระบุถึงเหตุผลทางธุรกิจในการเปลี่ยนรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เพื่อปรับปรุงการทำงานระยะไกลและการทำงานร่วมกัน (40%), เพื่อสนับสนุนลูกค้าได้ดีขึ้น  (36%) และ เพื่อเสริมสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (35%) นอกจากนี้พวกเขายังได้เริ่มจับคู่เวิร์กโหลดแต่ละชนิดให้ใช้งานบนโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมที่สุดอย่างมีแบบแผน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัย (41%), ประสิทธิภาพ (39%) และค่าใช้จ่าย (31%) ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหลักระดับต้น ๆ ในการปรับใช้มัลติคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
องค์กรต่าง ๆ ใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีในเชิงกลยุทธ์เพิ่มขึ้น

แวนสัน บอร์น ได้ทำการสำรวจนี้ในนามของนูทานิคซ์เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน โดยทำการสอบถามผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 1,700 คนทั่วโลก เมื่อเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 ผู้ตอบแบบสำรวจอยู่ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ในองค์กรหลากหลายขนาด ในภูมิภาคอเมริกา, ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงานดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรฉบับเต็มของนูทานิคซ์ได้ที่นี่

นูทานิคซ์วิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี ที่จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อทุกอุตสาหกรรมในปี 2565

Nutanix

นูทานิคซ์วิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี ที่จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อทุกอุตสาหกรรมในปี 2565

ไฮบริดคลาวด์-ไฮบริดเวิร์ก ปัญญาประดิษฐ์ และความปลอดภัยคือองค์ประกอบสำคัญของการปรับเปลี่ยนสู่ไฮเปอร์ดิจิทัล

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

นูทานิคซ์เผยเทรนด์เทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมการทำงาน และการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง

ไฮบริดคลาวด์ – ไฮบริดเวิร์ก คือ ปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จทุกแง่มุม
การถูกผูกมัดจากการใช้คลาวด์ใดคลาวด์หนึ่ง (cloud lock-in) จะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความกังวลขององค์กร สืบเนื่องมาจากองค์กรต่าง ๆ มีการใช้งานพับลิคคลาวด์มากขึ้น แต่สถานการณ์นี้ก็จะขับเคลื่อนให้เกิดการใช้กลยุทธ์ไฮบริด มัลติ-คลาวด์ต่าง ๆ ตามมา เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัททั้งหลายได้ใช้เลือกใช้คลาวด์แต่ละประเภทที่มีความโดดเด่นได้ตามความเหมาะสม ทั้งยังมีอิสระและทางเลือกว่าจะให้แอปพลิเคชันและข้อมูลของตนทำงานอยู่บนคลาวด์ประเภทใดได้ด้วย

NTNX4

ปีนี้จะเป็นปีที่องค์กรเลือกใช้ไฮบริดคลาวด์มากขึ้น เพราะการที่ทีมไอทีใช้เวิร์กโหลดบนคลาวด์หลายประเภท ทำให้ต้องมองหาวิธีที่จะทำให้คลาวด์ทุกประเภทที่ใช้อยู่ทำงานสอดคล้องกัน จึงมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถมัดรวมความต้องการหลากหลายไว้เป็นหนึ่งเดียวให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายต่าง ๆ มาตรการด้านความปลอดภัย และข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLAs)

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน Data Center and Cloud Service in Thailand, Board of Investment คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจะมีสัดส่วน 25 เปอร์เซ็นของ GDP ของประเทศ ภายในปี 2570 และหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยคือบริการด้าน คลาวด์ต่าง ๆ ซึ่งความต้องการบริการเหล่านี้เกิดจากบริการดิจิทัลที่มีอยู่แล้ว เช่น อี-คอมเมิร์ซ, การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และการสตรีมเนื้อหาดิจิทัล รวมถึงบริการใหม่ ๆ ที่กำลังจะมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์  ผู้บริโภคไทยกำลังผลักดันให้เกิดบริการดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นดิจิทัล และนั่นทำให้ความต้องการบริการดิจิทัลที่ทำงานบนคลาวด์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 

เทคโนโลยีขับเคลื่อนแรงงานยุคใหม่
เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักให้กับทุกมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับบุคลากรรุ่นใหม่ เช่น การผลักดันให้พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, การทำงานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญคือช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัทใดก็ตามที่เรียนรู้วิธีการปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กล่าวมา จะมีความได้เปรียบเมื่อถึงเวลาที่ต้องการรักษาและโน้มน้าวพนักงานที่มีความสามารถสูงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

การระบาดของโควิด-19 กำลังลดระดับลง และพนักงานเริ่มกลับมาทำงาน ทำให้ทีมไอทีของบริษัทต่าง ต้องปรับตัวอีกครั้ง ซึ่งการปรับตัวครั้งนี้คือการจัดหาเครื่องมือใหม่ ๆ ให้กับทีมงานที่มีการทำงานแบบ ไฮบริดได้ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานที่พบเจอตัวกัน และการมีส่วนร่วมกับพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล

ปีแห่งการสร้างระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ
ทีมไอทีจะยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในระดับสูง โดยมีความปลอดภัยของข้อมูลเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ เนื่องจากมีการใช้ข้อมูลแบบไฮบริดแพร่หลายมากขึ้น ทีมไอทีจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ติดตามตรวจสอบและกำกับดูแลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่าง ๆ

Security

ปี 2565 จะเป็นปีแห่งการสร้างระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 และภัยคุกคามที่พุ่งเป้าไปยังระบบซัพพลายเชน ประสบการณ์ที่องค์กรได้รับจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วและมากมาย (hyper-digital) จะยังไม่จบ แต่จะเร่งความเร็ว และต้องการโซลูชันที่มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยเร็วขึ้น เพื่อให้บริการทีมงานที่ทำงานจากระยะไกล รวมถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลที่พนักงานเหล่านี้ใช้ เรื่องนี้เริ่มและจบลงได้ด้วยวิธีการแบบองค์รวม เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดจากซัพพลายเชนทางเทคโนโลยีโดยรวมขององค์กร การเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ว่ามัลแวร์/ฟิชชิ่ง จะกระทบต่อความสามารถในการตอบสนองขององค์กรอย่างไร และจะสร้าง ‘war-games’ เช่น การรับรู้และทำความเข้าใจ การค้นหาและการไล่ล่าภัยคุกคามที่เฉพาะเจาะจงพุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือรูปแบบทางธุรกิจแบบใดแบบหนึ่ง ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะถูกปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ตามแอปพลิเคชันและตามข้อมูล และโดยปกติเป็นการใช้งานแบบ zero-trust ซึ่งผู้ใช้คนหนึ่งสามารถติดตามตรวจสอบได้ตลอดไลฟ์ไซเคิลของคำร้องขอและการเข้าใช้งานของตนได้

การเจาะระบบทางไซเบอร์จะซับซ้อนและเจาะจงขึ้นเรื่อย ๆ เทรนด์การทำงานจากบ้านจะทำให้สถานการณ์นี้แย่ลง คาดการณ์ได้ว่าปี 2565 จะเป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็นการเจาะระบบทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ เช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเทคโนโลยีจดจำใบหน้า และเราอาจได้เห็นช่องโหว่สำคัญจากเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้เพื่อการเลียนแบบหรือปลอมแปลง (deep fake) หรือเราอาจได้เห็นบริษัทสักแห่งถูกแทรกซึมผ่าน 5G ซึ่งแม้ว่า 5G จะปลอดภัยกว่าเทคโนโลยีไร้สายแบบเดิม แต่มีพื้นที่ให้โจมตีมากกว่ามาก และการทำงานจากบ้านหรือการทำงานจากระยะไกลก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้อมูลที่แชร์ผ่าน 5G

ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวงการ ด้วย AI
ปี 2565 จะเป็นปีของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ความท้าทายที่เกิดระหว่างความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี กับการขาดแรงงานที่มีทักษะในหลาย ๆ ด้าน ทำให้เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าองค์กรจำนวนมากจะพิจารณาใช้ AI จัดการความท้าทายเหล่านี้ โดย AI จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพให้กับการทำงานด้านไอทีและระบบอัตโนมัติ เทคนิคต่าง ๆ เช่น โมเดลการเรียนรู้สั้น ๆ จากตัวอย่างจำนวนจำกัด และโมเดลประสิทธิภาพสูงต่าง ๆ จะช่วยให้นำ AI มาใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องรับการอบรมด้วยข้อมูลจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ AI ก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ดังนั้นนอกจากการคาดการณ์ว่าจะมีการนำ AI มาใช้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังคาดการณ์ได้ว่าบริษัทหลาย ๆ แห่ง จะยังไม่ประสบความสำเร็จจากการใช้ AI ในระยะสั้น ๆ เป็นครั้งแรก หากพิจารณาอีกด้านหนึ่ง ดูเหมือนองค์กรต่าง ๆ ที่ทำตามขั้นตอนในการใช้ AI ทีละขั้นตอนจะประสบความสำเร็จมากกว่า ด้วยการเริ่มต้นที่การกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน และมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่แข็งแกร่งเป็นจุดเริ่มต้น แทนที่จะพยายามแก้ปัญหาจำนวนมากพร้อมกันในทันที อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัทที่ทำตามขั้นตอนของตนในการใช้ AI และบริษัทที่จะใช้ประโยชน์จากโมเดลที่พัฒนาโดยองค์กรวิจัยระดับแนวหน้าหรือโปรเจกต์ของบริษัทต่าง ๆ ก็จะขึ้นเป็นผู้นำในวงการเช่นกัน

ถึงเวลาสร้างระบบพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อรองรับการทำธุรกิจในอนาคต

์ีNutanix

ถึงเวลาสร้างระบบพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อรองรับการทำธุรกิจในอนาคต

Nutanix

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ไม่ว่าเศรษฐกิจมหภาคจะมีอิทธิพลต่อความเป็นไปในโลกนี้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่คือปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลและวิธีการบริหารจัดการข้อมูลจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว และช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีขึ้น องค์กรจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ทันเวลาที่ต้องการได้เลย หากไม่มีการใช้หลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้อง

IDC คาดการณ์ว่าจะมีการสร้าง, การเข้าถึง, การทำสำเนา และการใช้ข้อมูลเป็นปริมาณมากถึง 143 เซตตะไบต์ (zettabytes) ในปี 2567 แสดงให้เห็นว่ากำลังมีการสร้างข้อมูลในอัตราความเร็วสูงมาก และในปริมาณมหาศาล องค์กรต่าง ๆ กำลังนำแนวทางการทำงานที่ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติงานทำงานร่วมกัน (DevOps) มาใช้ นำซอฟต์แวรที่ใช้กับระบบคลาวด์มาใช้ให้เป็นประโยขน์ รวมถึงใช้ AI และระบบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้กำลังเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และมอบประสบการณ์เฉพาะตัวที่ตรงความต้องการของพนักงานและลูกค้าแต่ละคน แต่เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ยังเป็นปัจจัยผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ พิจารณาเรื่องพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลของตนเสียใหม่ รวมถึงวิธีการที่องค์กรเหล่านี้จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านั้นเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าต่อองค์กร

เมื่อไม่นานมานี้ นูทานิคซ์ได้นำข้อมูล IDC InfoBriefs มาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และบทบาทของผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ ในการช่วยกำหนดรูปแบบของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ใช้ข้อมูลเป็นพลังขับเคลื่อน ซึ่งนับเป็นคลื่นลูกใหม่ของการทรานส์ฟอร์มนี้ ทั้งนี้ IDC พบว่ากลุ่มผู้บริหารระดับ c-suite มุ่งมั่นลงทุนโครงการด้านข้อมูลอย่างมาก ทั้งนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ของ CEOs มีความต้องการอย่างชัดเจนที่จะทำให้องค์กรของตนใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการดำเนินงานมากขึ้น

การเชื่อมโยงการทำงานจากทุกจุดในองค์กรเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งจำเป็นต่อเป้าหมายในการใช้ข้อมูลขับเคลื่อนองค์กร ผู้นำทางเทคโนโลยีล้วนมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรที่อยู่กระจัดกระจาย เพื่อดึงคุณประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นออกมา โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจำนวนมาก

การสร้างชั้นข้อมูลที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ปัจจุบัน ข้อมูลที่กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ เช่น อยู่ที่สถานประกอบการหลักขององค์กร อยู่ที่เอดจ์ คลาวด์ และไซต์สำรอง ส่งผลต่อระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ ทั้งยังเพิ่มช่องโหว่และความซับซ้อนต่าง ๆ องค์กรจำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านปริมาณของข้อมูล ความหลากหลายและคุณภาพของข้อมูล ระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ กฎระเบียบของข้อมูล การบริหารจัดการการเพิ่มขึ้นของข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการเรียกใช้ข้อมูล (egress costs) รวมถึงฐานข้อมูลเก่าที่เก็บมานาน ผนวกกับความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ต้องป้องกันการโจมตีจากแรนซัมแวร์ต่าง ๆ ซึ่ง IDC ระบุว่าเป็นสิ่งท้าทายที่สุดในการปกป้องข้อมูล

แพลตฟอร์มไอทีแบบเก่าไม่สามารถใช้บริหารจัดการความท้าทายเหล่านี้ได้ องค์กรจำเป็นต้องใช้ชั้นข้อมูล (data layer) ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถเข้าใจและรู้เท่าทันภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ ได้ ชั้นข้อมูลนั้นจะต้องมีเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยและมีความยืดหยุ่น ติดตั้งมาเป็นมาตรฐานตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ทั้งนี้การนำหลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้กับสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และนำไปใช้ได้ทุกส่วนขององค์กร

IDC ระบุว่า ไฮบริด มัลติคลาวด์ ยังคงเป็นกลยุทธ์ “ที่ดีที่สุดในการใช้คลาวด์ทั้งสองระบบ” องค์กรต่าง ๆ ทราบดีว่าหากต้องการสร้างองค์กรที่ชาญฉลาดและรองรับอนาคตในวันนี้ พวกเขาจะต้องใช้คลาวด์หลายระบบพร้อมกัน เพื่อรองรับฟังก์ชันการทำงานที่เฉพาะเจาะจงมากมาย และใช้ดิสทริบิวเต็ดคลาวด์เพื่อการประมวลผลที่เอดจ์ด้วยฟังก์ชันไฮเปอร์สเกลต่าง ๆ ดังนั้นหลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูล จะต้องสามารถทำงานร่วมกันกับไฮบริด มัลติคลาวด์ได้ เช่น รวบรวมเวิร์กโหลดต่าง ๆ ไว้เป็นหนึ่งเดียว สามารถผสานรวมข้อมูล วิเคราะห์ และทำงานกับข้อมูลได้ ไม่ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นไว้ ณ ที่ใดก็ตาม

ดึงคุณประโยชน์ของข้อมูลออกมาใช้ด้วยระบบอัตโนมัติ
ในการรวมข้อมูลและดึงข้อมูลเชิงลึกจากทุกจุดขององค์กรมาไว้ภายในเลเยอร์พื้นฐาน ผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ต้องทบทวนและคิดหาวิธีที่จะใช้บริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างขององค์กร หลายปีที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการจัดเตรียมฐานข้อมูล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลก็ติดขัดอยู่กับการรอเวลาเพื่อเตรียมสตอเรจที่ซับซ้อน ซึ่งต้องการดิสก์จำนวนมาก เพื่อเก็บข้อมูลที่มีประเภทต่างกัน รวมถึงความยุ่งยากในการโคลนและกระบวนการรีเฟรชข้อมูล

สถาปัตยกรรมไฮบริด มัลติคลาวด์ ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้ฐานข้อมูลที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กรให้เหมือนกับฐานข้อมูลนั้นอยู่บนสภาพแวดล้อมคลาวด์ได้ ระบบอัตโนมัติและ one-click ฟีเจอร์การบริหารจัดการฐานข้อมูลหลายรายการ รวมถึงการกำกับดูแลบริการมัลติเพิลพับลิคคลาวด์ทั้งหมด และศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในองค์กร ช่วยให้ใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้าง นูทานิคซ์นำเสนอโซลูชัน Database as a Service ที่มีแดชบอร์ดเดียว พร้อมความเรียบง่ายด้วยการใช้ one-click และระบบอัตโนมัติสำหรับฐานข้อมูลสำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะได้รับการจัดเก็บอยู่ ณ จุดใดก็ตาม

การใช้หลักการพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมากในการบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง การจะนำเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น Splunk หรือ Tableau มาใช้ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสเกลและรองรับฟังก์ชันการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงได้ และแน่นอนว่าสถาปัตยกรรมแบบไฮบริด มัลติคลาวด์ช่วยให้การดำเนินงานนี้สำเร็จได้

องค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการด้านข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์และหรือระบบนิเวศ IDC ระบุว่า ในเอเชียแปซิฟิกมีตัวเลขการลงทุนในโครงการดังกล่าวนี้ถึง 54 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าอเมริกาเหนือที่อยู่ที่ 33 เปอร์เซ็นต์ และมากกว่ายุโรปที่เป็น 30 เปอร์เซ็นต์1 นับว่าเป็นการเน้นให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ มีโอกาสมากมายในการบริหารจัดการข้อมูลของตนในแนวทางที่เป็นการขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีมากขึ้น

On-demand office วิถีการทำงานแห่งอนาคต ที่เริ่มส่งสัญญาณมาจากอุตสาหกรรมบันเทิง

On-demand office วิถีการทำงานแห่งอนาคต ที่เริ่มส่งสัญญาณมาจากอุตสาหกรรมบันเทิง

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

หลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแวดวงเกมและสื่อ เช่น การเปลี่ยนจากฮาร์ดแวร์และเกมคอนโซลที่มีขนาดใหญ่ ไปเป็นการใช้ซอฟต์แวร์และการส่งเนื้อหาผ่านคลาวด์ ปัจจุบันมีผู้คนมากกว่า 400 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นใช้บริการสตรีมวิดีโอและสตรีมมิ่งอื่น ๆ เช่น Netflix

ระบบดิจิทัลแบบ on-demand จะมอบประสบการณ์ที่ผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับความบันเทิงที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา แทนที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์หรือศูนย์การค้าเพื่อความบันเทิงหรือเล่นเกมที่ต้องการ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสำคัญหลายประการ ความสามารถในการเสพเนื้อหาต่าง ๆ ที่พบได้เป็นเรื่องปกติ ทำให้ระบบการจัดจำหน่ายและการบริการแบบเก่าล้าสมัย เช่น การให้บริการภาพยนตร์ในห้องพักของโรงแรม ทั้งยังเปลี่ยนความคาดหวังต่าง ๆ ของเราด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดจำหน่ายหรือให้บริการจากต้นทางที่ทำกันมานาน และส่งผลให้อุตสาหกรรมทั้งหมดต้องปรับตัวหรือไม่ก็ต้องเผชิญกับผลกระทบอย่างรุนแรง

ในโลกของการทำธุรกิจ เราเห็นวิวัฒนาการทางความคิดที่คล้าย ๆ กัน เกี่ยวกับสถานที่และวิธีการทำงานที่เหมาะสม แม้ว่า remote work หรือการทำงานจากระยะไกล ซึ่งเดิมเรียกกันว่า telecommuting หรือการทำงานโดยใช้การสื่อสารโทรคมนาคมช่วยโดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังสำนักงาน จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีหลัก จนกระทั่งเกิดการระบาดของโควิด-19 เรื่องนี้จึงอยู่ในความสนใจของผู้บริหาร พนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ และบริษัทต่าง ๆ ที่มีแนวคิดก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม หลังจากความเร่งรีบนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ผ่านไป ก็ถึงเวลาที่อุตสาหกรรมทั้งหลาย ธุรกิจ และผู้นำทางเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวต่อรูปแบบการทำงานในอนาคต

เราอาจเรียกการเปลี่ยนลักษณะการจัดการงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนี้ว่า ‘on-demand office’ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนลักษณะของการทำงานจากเดิมที่ต้องอยู่ ณ สถานที่ตั้งหนึ่ง ๆ ไปเป็นกิจกรรมที่สามารถทำเมื่อไรก็ได้ และเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการปรับกระบวนการต่าง ๆ ของตน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ธุรกิจบันเทิงกำลังลุยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายมากขึ้น และมอบกรอบการทำงานในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นแก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ 

เพียงแค่มีหน้าจอและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถสตรีมวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันเราพบความยืดหยุ่นในทำนองเดียวกันนี้ในรูปแบบของเวอร์ชวล เช่น การจัดเตรียมการทำงานแบบเวอร์ชวล การทำงานร่วมกันและการปฏิบัติงานแบบเวอร์ชวลที่คล่องตัว ได้กลายเป็นมาตรฐานปกติไปแล้ว โดยมีต้นแบบจากรูปแบบต่าง ๆ ที่อุตสาหกรรมบันเทิงเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าอนาคตของการทำงานจะเป็นอย่างไร และเรายังสามารถคาดหวังได้เช่นเดียวกับความคาดหวังของธุรกิจในภาคบันเทิง ว่าผลของการเปลี่ยนแปลงนี้จะขยายไปไกลกว่าเรื่องของการพิจารณาเกี่ยวกับพื้นที่สำนักงานและชั่วโมงการทำงาน

ความต้องการความสะดวก ฉับไว และความยืดหยุ่น เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนความคาดหวังของทุกคน เราเคยชินกับโลกที่ทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาหาเรามากกว่าต้องเป็นฝ่ายออกไปหาสิ่งเหล่านั้น อีกเพียงไม่นานความต้องการและความเคยชินเหล่านี้จะเข้ามาสู่โลกของการทำงานอย่างแน่นอน และพนักงานเริ่มคาดหวังการจัดรูปแบบการทำงานให้เป็นเวอร์ชวล สำหรับคนรุ่นที่เกิดมาในยุคดิจิทัล การที่ต้องออกไปชมภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์ให้ทันเวลาที่หนังเริ่มฉาย ดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ล้าสมัยอย่างสิ้นเชิง และเมื่อคนรุ่นดิจิทัลเริ่มเข้ามาอยู่ในสถานที่ทำงาน ความคาดหวังของพวกเขาเกี่ยวกับระบบไอทีในองค์กร เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เทคโนโลยีจะเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานรูปแบบใหม่นี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดก็ตาม บริษัทต่าง ๆ ที่สามารถนำคุณประโยชน์ของการทำงานจากที่ใดก็ได้และคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ที่คุ้มค่าได้จากนวัตกรรมและการเติบโตที่รวดเร็วมากขึ้นเราสามารถจินตนาการได้เลยว่าคนที่มีความสามารถรุ่นต่อไปจะประเมินนายจ้างในอนาคตโดยพิจารณาจากความรอบรู้และเชี่ยวชาญด้านเทคนิค รวมถึงความสามารถในการปรับระบบการทำงานให้ทันกับความคาดหวังที่ทันสมัยของคนรุ่นใหม่ได้มากน้อยเพียงใด

ในปีที่ผ่านมา แม้แต่อุตสาหกรรมเก่าแก่ที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนานที่สุด เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และบริการด้านการเงิน ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานจากระยะไกลได้ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรมเหล่านี้

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้แอปพลิเคชันจากระยะไกล ทำให้เกิดข้อจำกัดกับบริษัทหลายแห่ง เช่น โตโยต้าไม่อนุญาตให้พนักงานทำงานจากภายนอกสำนักงาน เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดอย่างน่าทึ่ง และเกิดการประเมินความยืดหยุ่นที่เทคโนโลยีมีให้ใหม่อีกครั้ง ในที่สุดโตโยต้าได้ตัดสินใจใช้ Nutanix cloud platform เป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลเดสก์ท็อปเพื่อสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และก็ได้ตระหนักถึงแนวทางการทำงานแบบใหม่ แนวทางการทำงานแบบเวอร์ชวลเป็นหลักนี้ได้ช่วยให้การบริหารจัดการไอทีทำได้ง่าย และสนับสนุนให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการเลิกใช้กระดาษเขียนแบบ และสามารถดูโมเดลการออกแบบสามมิติได้พร้อมกัน ทำให้การปรึกษาหารือต่าง ๆ เป็นไปอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับธุรกิจบริการด้านการเงิน Suncorp New Zealand หนึ่งในกลุ่มบริการด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทุ่มเทความพยายามเป็นสองเท่าในการพัฒนาบุคลากรให้มีการใช้เทคโนโลยี และประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่การทำงานจากระยะไกลเต็มรูปแบบระหว่างการล็อกดาวน์ในปี 2563 การทำงานของอุตสาหกรรมประกันภัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และก็ยังไม่เคยมีพนักงานขายประกันทำงานจากบ้าน แต่โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (Virtual Desktop Infrastructure: VDI) ช่วยทลายอุปสรรคนี้และทำให้เป็นไปได้ ด้วยการมีระบบรักษาความปลอดภัยติดตั้งมาในตัวเรียบร้อย จึงช่วยให้มีความยืดหยุ่นและไม่ต้องกังวลใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนกลยุทธ์ระยะยาวด้านการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมผ่านระบบดิจิทัลเป็นหลักของบริษัทประกันอีกด้วย

พนักงานจะได้รับประโยชน์จาก VDI หรือโซลูชันอื่น ๆ เช่น Desktop as a Service (DaaS) อย่างแน่นอน ในส่วนของบริษัท โซลูชันต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะกระตุ้นความสนใจและรักษาผู้มีความสามารถที่เหมาะสมที่สุดไว้ได้ คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถมีความต้องการรูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลจากที่ใดก็ได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ผลการศึกษาโดย LinkedIn Talent Solutions พบว่า คนกลุ่มนี้ไม่สนใจทำงานกับบริษัทที่ไม่มีข้อเสนอในการทำงานจากระยะไกลหลังการระบาดของโควิด-19 จำนวนผู้ค้นหางานทั่วโลกใช้ตัวกรองว่า “remote” บน LinkedIn เพิ่มขึ้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2563 นอกจากนี้ในเอเชียแปซิฟิก แอปพลิเคชันสำหรับงานจากระยะไกลก็กำลังเติบโตเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ เองก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถได้ในวงกว้างมากขึ้นด้วยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่น้อยลง

รูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้จะเป็นหัวใจของวิธีการทำงานของทีมและบริษัทในยุคสถานที่ทำงานแบบออนดีมานด์ (on-demand office) การทำงานจากระยะไกลยังคงอยู่ไปอีกนาน บริษัทต่าง ๆ ที่ไม่ได้นำโซลูชันใดโซลูชันหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น VDI, DaaS หรือโซลูชันการทำงานจากระยะไกลอื่น ๆ ไปใช้อย่างจริงจัง จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานน้อยกว่าคู่แข่งที่รุดหน้ากว่า และจะไม่สามารถว่าจ้างพนักงานที่มีความสามารถที่เหมาะสมได้ การเปลี่ยนไปใช้ ‘on-demand office’ จะเป็นกุญแจสำคัญ ในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคตในทุกด้าน นับจากการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ ไปจนถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท