ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 เปิดศักราชใหม่ให้กับสถานที่ทำงาน และการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่และทันสมัยขึ้น บุคลากรในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน และเลือกสถานที่ทำงานมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่ในโลกวิถีใหม่นี้ ทั้งบุคลากรและองค์กรต้องรับมือกับความท้าทายและความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่มนุษย์เราต้องการในที่ทำงาน นั่นคือ การติดต่อสื่อสารและการประสานงานร่วมกันในทางกายภาพ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่เห็นความสำคัญ ของบุคลากร

นูทานิคซ์ได้มอบหมายให้ IDC InfoBriefs ทำการสำรวจเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน และการทำงานผ่านเครื่องมือดิจิทัล (digital workspaces) ผลสำรวจพบว่า ความท้าทายหลัก ๆ ที่องค์กรเผชิญนั้นเกิดจากการระบาดของโควิด-19 และรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ผลสำรวจยังพบว่าการระบาดนี้ทำให้บริษัททั่วโลก 42 เปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน และผู้บริหารระดับสูงมุ่งเน้นการสร้าง digital workplace ที่พร้อมรองรับอนาคต และมีความยั่งยืนในระยะยาวในช่วงหลายปีนับจากนี้[i]

IDC เสนอแนะว่า ในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดึงดูดพนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องนำแนวทางในการบริหารจัดการบุคลากรแบบใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานทั้งหมด ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพจิตใจที่ดี ส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใหับุคลากรทำกิจกรรมข้ามทีมกัน และเพิ่มแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปแบบอื่น ๆ การดำเนินการในลักษณะนี้ได้นั้น องค์กรต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานจากระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานในสำนักงาน

คำถามสำคัญที่พนักงานควรถามนายจ้าง

สิ่งสำคัญที่พนักงานควรรู้คือ นายจ้างมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานในรูปแบบไฮบริด และมีแบบแผนในการสนับสนุนการพัฒนา และการเติบโตในอาชีพการงานอย่างไรบ้าง หากองค์กรนำรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (ไฮบริด) มาใช้หรือต้องการให้พนักงานทำงานจากระยะไกลเท่านั้น พนักงานก็ควรสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานตามรูปแบบนั้น ๆ และถามถึงวิธีการที่บริษัทจะให้การอบรมการทำงานและโอกาสในการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานไอทีประเภทใดให้ ปัจจุบันการใช้แล็ปท็อป, โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (VDI), เวอร์ชวลไพรเวทเน็ตเวิร์ก (VPN) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะช่วยให้พนักงานทำงานได้เกือบทุกที่

สำหรับการฝึกอบรมระหว่างทำงาน ให้สอบถามว่านายจ้างว่ามีแนวทางในเรื่องนี้อย่างไร และใช้เครื่องมืออะไรเชื่อมต่อให้พนักงานสามารถสอบถามข้อมูลจากทีมงานและผู้บริหารได้ บริษัทให้การอบรมการใช้ระบบต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่สามารถช่วยให้พนักงานหาคำตอบต่อคำถามต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองหรือไม่ พนักงานสามารถติดต่อกับสมาชิกในทีมที่มีประสบการณ์เพื่อถามคำถามต่าง ๆ ได้โดยตรงหรือไม่ หรือจะต้องผ่านผู้ดูแลตามสายงานของพนักงานนั้น ๆ

เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารแบบครบวงจร และวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เช่น Zoom และ Microsoft Teams ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ เครื่องมือเหล่านี้รันอยู่บนระบบคลาวด์ ดังนั้นจึงสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ องค์กรที่ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากอาจเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลแบบ Database as a Service (DBaaS) ดังนั้นพนักงานจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน ไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม องค์กรที่รองรับการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากระยะไกลจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือดิจิทัลที่จำเป็นในการทำงาน อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ใดก็ตาม

สุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

ภายในปี 2568 IDC คาดการณ์ว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทชั้นนำที่ติดอันดับ Global 2000 จะดำเนินการปรับรูปแบบการทำงาน ย้ายสถานที่หรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน เพื่อให้สามารถคุ้มครองสุขภาพและรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้นi ซึ่งที่จริงแล้วควรใช้หลักปรัชญาเดียวกันนี้เพื่อปรับปรุงการส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานด้วยเช่นกัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้นในขณะนี้องค์กรต่าง ๆ จึงต้องรับมือกับภารกิจในการช่วยให้พนักงานเอาชนะความเหนื่อยล้าและภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งหากทำงานอยู่ในสำนักงานก็จะสามารถระบุปัญหาและให้ความช่วยเหลือได้ง่ายกว่าแต่อย่างไรก็ตามก็สามารถทำเช่นนั้นกับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้านได้เช่นกัน

องค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล เพื่อจำลองการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ของพนักงานในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในสำนักงานได้ เช่น การพบปะสังสรรค์ในช่วงบ่ายทุก ๆ ไตรมาส พร้อมกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของทีมงาน หรือการพูดคุยและดื่มกาแฟร่วมกันผ่านวิดีโอเป็นประจำทุกเดือน  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองได้รับการสนับสนุนจากที่ทำงาน

ให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

อีกหนึ่งความท้าทายและโอกาสที่มาพร้อมกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคตก็คือ การแนะนำให้พนักงานสูงวัยได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งอาจเป็นเรื่องน่าหวาดหวั่นสำหรับคนรุ่นเก่าที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นองค์กรจึงต้องดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบและเอาใจเขามาใส่ใจเรา การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการจัดพื้นที่พิเศษเพื่อให้พนักงานได้ซักถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานอาวุโสเหล่านี้

นูทานิคซ์จัดโครงการฝึกอบรมหลายโครงการ เพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความคุ้นเคยและมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีของบริษัท นอกจากนี้ ใบรับรองจาก Nutanix University จะช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยีของนูทานิคซ์มีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการจัดการและติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีของนูทานิคซ์ โครงการ ออกใบรับรองแบบหลายระดับของบริษัทฯ มอบเส้นทางการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการเพิ่มพูนประสบการณ์ในระยะยาว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของความหลากหลาย โดยการว่าจ้างพนักงานหลากหลายกลุ่มในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

สถานที่ทำงานแห่งอนาคตเป็นสิ่งที่จับต้องได้แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมต่อถึงกัน การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจพบว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือรูปแบบไอทีที่เหมาะสมที่สุด และธุรกิจบริการด้านการเงินมีการนำไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริดมัลติคลาวด์คอมพิวติ้งเปิดเผยข้อมูลผลสำรวจเกี่ยวกับองค์กรด้านการเงินการธนาคารทั่วโลก จากรายงานดัชนีคลาวด์ระดับองค์กรประจำปี 2565 (2022 Enterprise Cloud Index – ECI) โดยรายงานดังกล่าวมุ่งตรวจสอบความคืบหน้าขององค์กรต่าง ๆ ในการนำเทคโนโลยีค­ลาวด์ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ผลสำรวจชี้ว่า องค์กรผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วโลกใช้มัลติคลาวด์น้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจโดยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ราว 10% อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้เพิ่มขึ้น เกือบสองเท่าจาก 26% เป็น 56% ในอีกสามปีข้างหน้า ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่มีการพัฒนาไปสู่โครงสร้างพื้นฐานไอที แบบมัลติคลาวด์ ซึ่งครอบคลุมการใช้งานผสมผสานกันทั้งไพรเวท และพับลิคคลาวด์

ผลสำรวจพบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ยังคงใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิม (three-tier) เป็นโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ใช้คลาวด์ และมีการใช้พับลิคคลาวด์ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นทั้งหมดที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้พับลิคคลาวด์โดย 59% ไม่ได้ใช้บริการพับลิคคลาวด์ เปรียบเที่ยบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 47% สาเหตุหลักเนื่องจากได้มีการลงทุนจำนวนมากไปกับแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่ยังใช้งานอยู่ และเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมาก ความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบคลาวด์ประเภทต่าง ๆ ยังคงเป็นความท้าทายใหญ่ของผู้ให้บริการด้านการเงิน โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 84% เห็นด้วยว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานมัลติคลาวด์ที่ง่ายขึ้น ขณะที่ 50% ระบุว่าประเด็นเรื่องความปลอดภัยคือความท้าทายประการหนึ่งของการใช้มัลติคลาวด์ สำหรับการแก้ไขความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยความสามารถในการทำงานร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูลนั้น ผู้ตอบแบบสำรวจ 82% เห็นพ้องกันว่าไฮบริด มัลติคลาวด์ เหมาะสมที่สุดเพราะเป็นรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีที่สามารถใช้งานคลาวด์หลายระบบหลายประเภท ทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์ ที่สามารถแลกเปลี่ยนใช้ข้อมูล และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อานันท์ อาเคลา รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชันของนูทานิคซ์ กล่าวว่า “แม้ภาคอุตสาหกรรมด้านการเงินจะอยู่ในช่วงระยะแรกของการใช้คลาวด์ แต่ก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบมัลติคลาวด์ที่ทั้งไพรเวท และพับลิคคลาวด์สามารถทำงานร่วมกันได้การที่ความปลอดภัยของข้อมูล และความยืดหยุ่นในการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน องค์กรเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องนำโซลูชันไฮบริดมัลติคลาวด์มาใช้ โซลูชันไฮบริดคลาวด์ช่วยให้องค์กรสามารถบูรณาการการบริหารจัดการ และระบบความปลอดภัยได้แบบรวมศูนย์ ทั้งยังรองรับการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปใช้บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย”

การสำรวจนี้ยังได้ตั้งคำถามต่อผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในอุตสาหกรรมด้านการเงินเกี่ยวกับความท้าทายในปัจจุบันในเรื่องของการใช้คลาวด์, วิธีการใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจและแอปฯ ที่มีความสำคัญขององค์กร รวมถึงองค์กรได้วางแผนว่าจะวางและใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านั้นบนระบบใดในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ที่มีต่อการตัดสินใจในการใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งที่เพิ่งผ่านมาในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงประเด็นที่ว่ากลยุทธ์และภารกิจสำคัญด้านไอทีอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรสืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว ตัวเลขสำคัญจากผลสำรวจดังกล่าวมีดังนี้

    • ความท้าทายในการใช้มัลติคลาวด์ที่ธุรกิจบริการด้านการเงินพบ เช่น ความปลอดภัย (50%), การบูรณาการข้อมูลบนระบบคลาวด์ต่าง ๆ (46%) และความท้าทายเรื่องประสิทธิภาพเนื่องจากการซ้อนทับกันของเครือข่าย (43%) ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 78% ระบุถึงปัญหาการขาดแคลนทักษะด้านไอทีที่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน การลดความซับซ้อนในการทำงานจึงน่าจะเป็นจุดที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารฝ่ายไอทีเริ่มตระหนักว่าไม่มีแนวทางแบบครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกกรณีในการใช้คลาวด์ ดังนั้นผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (82%) จึงเห็นว่าไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ไฮบริดมัลติคลาวด์ จะช่วยแก้ไขความท้าทายที่สำคัญในการใช้มัลติคลาวด์ด้วยคุณสมบัติที่มอบสภาพแวดล้อมคลาวด์รวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถใช้ระบบความปลอดภัย และการกำกับดูแลข้อมูลในรูปแบบเดียวกันได้ทั้งหมด
    • ความสามารถในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันเป็นเรื่องจำเป็น ผู้ตอบแบบสำรวจจากภาคธุรกิจบริการด้านการเงินเกือบทั้งหมด (98%) ได้ย้ายแอปพลิเคชันอย่างน้อยหนึ่งแอปฯ ไปยังสภาพแวดล้อม ไอทีใหม่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยหลัก ๆ แล้วเป็นการย้ายจากดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นเก่าไปยังไพรเวทคลาวด์ เนื่องจากในภาคธุรกิจนี้ ความแพร่หลายของการใช้มัลติคลาวด์และพับลิคคลาวด์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ระบุว่าการพัฒนาแอปฯ ได้รวดเร็ว กว่า (43%) เป็นเหตุผลสำคัญของการย้ายแพลตฟอร์ม รองลงมาคือเรื่องของความปลอดภัย (42%) และการบูรณาการเข้ากับบริการคลาวด์เนทีฟ (40%)  นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ (83%) มีความเห็นว่าการย้ายแอปพลิเคชันไปยังสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากดังนั้น จึงคาดว่าจะมีการปรับใช้คอนเทนเนอร์เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการติดตั้งใช้งานมัลติคลาวด์เพื่อให้สามารถรันและเคลื่อนย้ายแอปฯ ต่าง ๆ ได้เกือบทุกที่อย่างง่ายดาย รวดเร็ว โดย 86% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากภาคธุรกิจบริการด้านการเงินระบุว่า คอนเทนเนอร์จะมีความสำคัญต่อองค์กรของตนในช่วงปีหน้า
    • งานด้านไอทีที่ธุรกิจบริการด้านการเงินจัดลำดับความสำคัญในช่วง 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย (54%), การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการมัลติคลาวด์ (49%) และการพัฒนาและ/หรือนำเทคโนโลยีแบบคลาวด์เนทีฟมาใช้ (47%) ต่อคำถามที่ว่าองค์กรเหล่านี้จะดำเนินการอะไรบ้าง ที่ไม่เหมือนเดิมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ผู้ตอบแบบสำรวจในธุรกิจด้านนี้ 70% ระบุว่ามีการใช้จ่ายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น, 64% ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในเรื่องของการเพิ่มระบบอัตโนมัติสำหรับการบริการตนเองโดยอาศัย AI และ 64% ลงทุนในด้านการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับประเทศไทย ธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่เริ่มการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล และคลาวด์เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจสูงมากตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 เพื่อรักษาลูกค้าและแข่งขันกับฟินเทค ในช่วงการแพร่ระบาด มีการนำคลาวด์มาใช้ควบคู่กับไพรเวทคลาวด์ และระบบที่อยู่ภายในองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการตัดสินใจในเวลาสั้น ๆ เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างกระทันหัน และทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ที่ยืนยันด้วยข้อมูลจาก Payment Data Indicator ประจำเดือนเมษายน 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า การทำธุรกรรม e-payment ในเดือนเมษายน 2565 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 348 รายการ/คน/ปี คลาวด์จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้รองรับความต้องการดังกล่าวและรองรับแอปพลิเคชัน ดาต้า กรอบการทำงานด้านความปลอดภัยและอื่น ๆ และเป็นที่คาดว่าธุรกิจการเงินไทยจะใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับแนวโน้มทั่วโลก

นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่แวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ได้ดำเนินการสำรวจในนามของนูทานิคซ์ โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอที 1,700 คนทั่วโลกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564  รายงานฉบับนี้เป็นเอกสารเพิ่มเติมจากรายงานหลัก Enterprise Cloud Index ประจำปี ฉบับที่ 4 โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ และแนวโน้มการวางแผนในภาคธุรกิจบริการด้านการเงินโดยอ้างอิงคำตอบของบุคลากรฝ่ายไอที 250 คนที่ทำงานอยู่ในธนาคารและบริษัทประกันทั่วโลก และมีการเปรียบเทียบแผนงานด้านคลาวด์ ภารกิจสำคัญ และประสบการณ์ขององค์กรเหล่านี้กับภาคธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงฐานคำตอบโดยรวมในระดับโลก

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานและผลการสำรวจ สามารถดาวน์โหลดรายงาน Enterprise Cloud Index ของนูทานิคซ์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

การปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย และสามารถดึงคุณค่าของข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสำคัญของความต่อเนื่องทางธุรกิจและความสำเร็จขององค์กร

Thawipong Anotaisinthawee, Country Manager, Nutanix

การที่โลกต้องพึ่งพาและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า ในช่วงที่ผ่านมาเราเห็นหลากหลายกรณีศึกษาที่มีการนำข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กรอย่างมาก 

เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกมิติ ทว่ายังมีความท้าทายที่องค์กรต่าง ๆ ต้องรับมือกับการปฏิบัติตามข้อกำหนด ทั้งการฝึกอบรม และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร การหาเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วย การตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงการมีที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้องค์กรของตนเองปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPA ได้ 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ชี้แจงว่า กฎหมายดังกล่าวออกมาเพื่อให้การประมวลผลข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย มีความเป็นธรรมและโปร่งใสกับเจ้าของข้อมูล ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ รวมถึงความจำเป็นของไทยในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าข้อมูลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดทางการค้าหรือทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน หรือผลจากการไม่พร้อมใช้บังคับพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัตินี้จะบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว และในขณะที่กฎหมายลูกยังไม่ครบสมบูรณ์ ผู้นำองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลขององค์กรด้วยตนเองด้วยโดยเฉพาะ ข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย รวมถึงการมีโซลูชันที่ช่วยสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล, Microsegmentation, การควบคุมการเข้าถึงตามบทบาท หรือการเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และการป้องกันการโจมตีของภัยคุกคาม เช่น Ransomeware ได้เป็นต้น

นิยามง่าย ๆ ของการปกป้องข้อมูล คือการกระทำเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่การทำให้สัมฤทธิผลนั้นไม่ง่ายเลย กรอบความคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวจะต้องได้รับการระบุไว้ในเป้าหมายและขอบเขตด้านการปกป้องข้อมูลอย่างครบถ้วนชัดเจน เพราะหากมีการกำหนดค่าอุปกรณ์ผิดพลาดเพียงอุปกรณ์เดียว หรือการกดแป้นพิมพ์เพียงสองสามครั้ง ที่ทำให้ข้อมูลไปแสดงบนหน้าจอที่เปิดเผยต่อสาธารณะ อาจส่งผลให้องค์กรเสียชื่อเสียงและตกต่ำได้

โดยปกติองค์กรต่างใช้ระบบป้องกันที่แข็งแกร่งเพื่อสกัดกั้นการละเมิดข้อมูลต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนข้อมูลที่ถูกละเมิด 1,862 รายการในปี 2564 นั้นเพิ่มขึ้น 68% จากปี 2563 รวมถึงภัยคุกคามต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม การแชร์ข้อมูลขององค์กรไปในวงกว้าง เช่น การแชร์ข้อมูลกับเวนเดอร์ ลูกค้า ซัพพลาย-เออร์ หน่วยธุรกิจ องค์กรของพันธมิตร บริษัทที่ปรึกษา รวมถึงพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล ก็ทำให้ความปลอดภัยที่ว่าแข็งแกร่งที่สุดแล้วในบริเวณที่องค์กรต้องต่อเชื่อมกับภายนอกไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป กล่าวได้ว่าคนนอกก็กลายเป็นคนในไปเสียแล้ว เพราะเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้

องค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูลแบบครบวงจรที่สมบูรณ์แบบ ที่สามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้ทุกที่ ตลอดเวลา ไม่ว่าข้อมูลนั้นกำลังถูกใช้งานอยู่กับแอปพลิเคชัน หรือเป็นข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ บนเน็ตเวิร์ก บนอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน เก็บอยู่ในฐานข้อมูล และบนคลาวด์ ครอบคลุมตั้งแต่แกนหลักไปจนถึงเอดจ์ และปกป้องทั้งข้อมูลที่ไม่มีการใช้งาน ข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว หรือกำลังถูกใช้งานอยู่

ข้อมูลของ “องค์กร” คืออะไร และข้อมูลใดบ้างที่ต้องได้รับการปกป้อง

ก่อนที่จะเริ่มจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่อยู่ตามสภาพแวดล้อมที่หลากหลายในองค์กร ผู้รับผิดชอบด้านนี้ต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลประเภทใด อยู่ในรูปแบบใด และลักษณะอื่น ๆ ของข้อมูลเป็นอย่างไร ทั้งยังต้องเข้าใจตัวแปรต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้งาน จัดเก็บ และโยกย้ายข้อมูลไปยังสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งการพิจารณาว่าข้อมูลใดสำคัญมากพอที่จำเป็นต้องปกป้องไว้เป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ มานานแล้ว

ปัจจุบันอัลกอริธึมของแมชชีนเลิร์นนิ่งช่วยให้แยกแยะข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น อัลกอริธึมนี้จะจัดประเภทข้อมูลสำคัญโดยอัตโนมัติ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลนั้นตามเนื้อหา วิธีการนี้ช่วยให้ปรับขนาดการทำงานได้มากกว่าวิธีการทำงานแบบแมนนวลมาก

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลหลากหลายที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบประหยัดเวลาได้มาก ด้วยการค้นหาข้อมูลทั้งที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างในระบบเน็ตเวิร์กขององค์กร

การจัดประเภทข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่าย

เมื่อระบุและแยกแยะข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่ายทั้งหมดออกมาได้แล้ว ผู้ดูแลระบบไอทีจำเป็นต้องกำหนดระดับชั้นความลับต่าง ๆ ขึ้นมา และทำการตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลแต่ละหน่วยไว้ที่ใด จะอนุญาตให้ผู้ใช้หรือผู้มีบทบาทใดเข้าถึงข้อมูลนั้นได้บ้าง และเข้าถึงได้ในขอบเขตมากน้อยเพียงใด

แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่มีหมวดหมู่ของข้อมูลที่เป็นการเฉพาะของตนอยู่แล้ว แต่โดยทั่วไปข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่ายจะได้รับการจัดเป็นสี่กลุ่มดังนี้

    • ข้อมูลสาธารณะ: ข้อมูลที่ทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาอย่างอิสระ เช่น ข้อมูลการติดต่อ สื่อทางการตลาด ราคาของสินค้าและบริการต่าง ๆ
    • ข้อมูลภายใน: ข้อมูลที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือคู่แข่งทางธุรกิจ แต่สามารถแชร์กันภายในองค์กรได้อย่างอิสระ เช่น แผนผังองค์กร และคู่มือการขายต่าง ๆ
    • ข้อมูลลับ: ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่าย ซึ่งหากหลุดไปยังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต จะสามารถส่งผลในทางลบแก่องค์กร เช่น สัญญาการจัดซื้อจัดหาต่าง ๆ และเงินเดือนของพนักงาน
    • ข้อมูลที่จำกัดการเข้าถึง: ข้อมูลองค์กรที่มีความอ่อนไหวง่ายในระดับสูง ซึ่งหากรั่วไหลออกไป จะนำความเสี่ยงทางกฎหมาย การเงิน ชื่อเสียง หรือกฎระเบียบมาสู่องค์กร เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ของลูกค้า และรายละเอียดบัตรเครดิต เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูล

เมื่อกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสมแล้ว นโยบายด้านความปลอดภัยจะปกป้องไม่ให้ข้อมูลสูญหาย และป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตให้กับอุปกรณ์ ระบบ และเครือข่ายทั้งหมด ทั้งยังให้บริการ ตรวจสอบ และบริหารจัดการ ผ่านการทำงานร่วมกันของกระบวนการและเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ไฟร์วอลล์ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส และเครื่องมืออื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้มาตรฐานและกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันตามการใช้งาน ความสำคัญของข้อมูล รวมถึงกฎระเบียบที่กำหนดไว้

ผู้ดูแลระบบความปลอดภัยจำเป็นต้องตระหนักรู้และเข้าใจวิวัฒนาการในการจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลจากทั้งมุมของเทคโนโลยีและลักษณะงาน การเปลี่ยนแปลงบางประการที่กระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลโดยตรง ได้แก่

    • บิ๊กดาต้า: มีการสร้างข้อมูลในปริมาณที่สูงมากทุกวัน โดยบริษัทวิจัย IDC ได้คาดการณ์ว่าขนาดของปริมาณการใช้ข้อมูลทั่วโลก (global datasphere) จะสูงถึง 175 เซตตะไบท์ (ZB) ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนใหญ่นี้ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ได้ถูกนำไปใช้ตรงตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้อย่างคุ้มค่า

      นอกจากนี้ ข้อมูลนี้ยังมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย ยากต่อการจัดหมวดหมู่หรือประมวลผล  ข้อมูลจากการวิจัยของ MIT พบว่าปัจจุบัน 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีโครงสร้าง อยู่ในรูปแบบของ เสียง/วิดีโอ-ข้อความที่ปนกัน, ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดของบุคคลในองค์กร (server logs), โพสต์บนโซเชียลมีเดีย และอื่นๆ

    • คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ปลายทาง (End User Computing: EUC): อุปกรณ์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้ามายังเน็ตเวิร์กขององค์กร (เป็นรายบุคคล และ ผ่านอินเทอร์เน็ต) มีความหลากหลาย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ อุปกรณ์เหล่านั้นรวมถึง อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT), อุปกรณ์สำหรับสวมใส่, เซ็นเซอร์, และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่าง ๆ

      การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานี้ ทำให้ข้อมูลขององค์กรไม่ได้มีตัวตนอยู่เฉพาะในโลเคชั่นที่มีการควบคุมและมีการกำหนดอย่างชัดเจนเท่านั้นอีกต่อไป แต่ยังทอดข้ามไปอยู่ในทุกอุปกรณ์และทุกแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้เข้าถึง สถานการณ์เหล่านี้ทำให้การรักษาความปลอดภัยข้อมูลมีความซับซ้อนขึ้น แม้ว่าองค์กรต่าง ๆ จะพยายามใช้ดาต้าเวอร์ชวลไลเซชันมาช่วยทำให้การทำงานต่าง ๆ ง่ายขึ้นก็ตาม

    • สภาพแวดล้อมแบบไฮบริด: องค์กรกำลังมุ่งย้ายโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากดาต้าเซ็นเตอร์ไปอยู่บนสภาพแวดล้อมคลาวด์มากขึ้น และไฮบริดคลาวด์คือเทคโนโลยีที่ช่วยองค์กรจัดการกับเรื่องนี้ และนั่นเป็นการทำให้เรื่องของความปลอดภัย (อย่างน้อยที่สุดบนพับลิคคลาวด์) เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ขายเทคโนโลยีและลูกค้า

    • การทำงานจากที่ใดก็ได้: การระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ต้องใช้รูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้ และการทำงานจากบ้านภายในชั่วข้ามคืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และองค์กรจำนวนมากต้องหาทางให้พนักงานของตนเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและไฟล์งานสำคัญทางธุรกิจได้จากบ้านของพนักงานแต่ละคน การทำงานจากที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่องค์กรจะสามารถประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ และนำขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอมาใช้เสียอีก

ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เหล่านี้ ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIOs) ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTOs) ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (CISOs) และผู้ดูแลระบบความปลอดภัยจำเป็นต้องใช้มาตรการและขั้นตอนที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องข้อมูลของบริษัท และของลูกค้าให้ได้ตลอดเวลา

มาตรการด้านความปลอดภัยที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้

ไม่มีภัยคุกคามใดที่มีลักษณะเหมือนกัน ผู้ดูแลด้านไอทีจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงประเภทของภัยคุกคามที่แตกต่างกันเหล่านั้นที่จะกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร และต้องแน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ขององค์กรได้รับการติดตามตรวจสอบการบุกรุกต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุม

มาตรการด้านความปลอดภัยที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้

ไม่มีภัยคุกคามใดที่มีลักษณะเหมือนกัน ผู้ดูแลด้านไอทีจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงประเภทของภัยคุกคามที่แตกต่างกันเหล่านั้นที่จะกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร และต้องแน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ขององค์กรได้รับการติดตามตรวจสอบการบุกรุกต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุม

ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุดแก่พนักงาน: พนักงานทุกคนต้องเข้าใจว่าข้อมูลสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร และหากข้อมูลถูกบุกรุกจะเกิดผลลัพธ์อย่างไร และองค์กรต้องมั่นใจว่าพนักงานให้ความสนใจอีเมลที่เข้ามาในแต่ละวันว่าเป็นอีเมลที่ส่งมาจากไหน เปิดอีเมลจากผู้ส่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น และไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบใด ๆ ที่ไม่แน่ใจที่มาและผู้ส่งว่าเป็นใคร การใช้เบราว์เซอร์ก็เช่นเดียวกัน พนักงานทุกคนควรรู้ความหมายของสัญญาณเตือนต่าง ๆ บนหน้าเว็บ และต้องสามารถแยกแยะว่าไซต์ใดเป็นไซต์ที่หลอกลวงและไซต์ใดเชื่อถือได้

องค์กรควรใส่ใจการบริหารจัดการรหัสผ่านเป็นพิเศษ รหัสผ่านที่ละเมิดได้ง่ายและรหัสผ่านที่ใช้ร่วมกันยังคงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้องค์กรมีความกังวล เมื่อสิบปีที่ผ่านมาการสร้าง รายการรหัสผ่านนับพันล้านรายการเพื่อแฮ็กบัญชีผู้ใช้งานสักบัญชีหนึ่ง ต้องใช้เวลาและการประมวลผลที่นานมาก ๆ แต่ปัจจุบันกลายเป็นงานเล็ก ๆ เท่านั้น

ใช้การควบคุมที่ลงลึกถึงรายละเอียด: ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำให้ใช้โมเดล zero trust ซึ่งเป็นการให้ผู้ใช้งานและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าถึงทรัพยากรเท่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น โมเดลนี้เกี่ยวโยงกับ microsegmentation ของเน็ตเวิร์กและการสร้างนโยบายที่เจาะจงอย่างมากให้กับเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลแมชชีน แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน และบริการต่าง ๆ ที่ใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลแบบให้สิทธิน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น (least privileged) แก่ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลประเภทที่อ่อนไหวง่าย

การใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการจัดการด้านอัตลักษณ์และการเข้าถึง (Identity and Access Management: IAM) คู่กับรูปแบบการใช้ปัจจัยหลายอย่างในการตรวจสอบและยืนยันตัวตน (Multi-Factor Authentication: MFA) เป็นกุญแจสำคัญในการนำระบบรักษาความปลอดภัยแบบ zero trust มาใช้ในองค์กร

เข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด: การเข้ารหัสเป็นกระบวนการของการทำให้อ่าน แกะ หรือทำสำเนาข้อมูลได้ยาก โดยการใช้อัลกอริธึมทำการรบกวนข้อมูลให้สับสน  ผู้ใช้งานที่มีคีย์หรือระดับการเข้าถึงที่ถูกต้องเท่านั้นที่สามารถถอดรหัส ดู หรือประมวลผลข้อมูลนั้นได้ วิธีนี้สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรับส่งด้วย ทั้งนี้ การเข้ารหัสมีสี่ลักษณะดังนี้

      • ระดับเน็ตเวิร์ก
      • ระดับแอปพลิเคชัน
      • ระดับดาต้าเบส
      • ระดับจัดเก็บข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยข้อมูลจากแกนกลางสู่ส่วนที่ติดต่อกับภายนอก

ข้อมูลคือสกุลเงินที่ขับเคลื่อนองค์กรทุกแห่งไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ไม่มีอะไรสำคัญต่อองค์กรมากกว่าการปกป้องข้อมูลขององค์กรจากการสูญหาย การทุจริต และการโจรกรรม

การเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นพร้อมกันระหว่างลูกค้า ผู้ขายเทคโนโลยี พันธมิตร และพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ ทำให้เส้นแบ่งระหว่างคนนอกและคนในองค์กรไม่ชัดเจนอีกต่อไป ส่งผลให้การป้องกันอาณาเขตของข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่งมีการขยายจากแกนกลางซึ่งเป็นสถานที่หลักในการเก็บข้อมูล ไปยังขอบของเน็ตเวิร์กหรือ edge ซึ่งเป็นที่ที่มีการรวบรวมและใช้ข้อมูล ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการกระจายตัวของข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยนี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการรวบรวม รับส่ง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลก็ตาม

 

ผลการศึกษาชี้ องค์กรภาครัฐเป็นผู้นำในการใช้มัลติคลาวด์

ผลการศึกษาชี้ องค์กรภาครัฐเป็นผู้นำในการใช้มัลติคลาวด์

ผลการศึกษาชี้ องค์กรภาครัฐเป็นผู้นำในการใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจเผยให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาของรัฐเป็นภาคส่วนที่ใช้มัลติคลาวด์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของการใช้มัลติคลาวด์ของภาครัฐทั่วโลกถึงสองเท่า

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด มัลติคลาวด์ คอมพิวติ้ง เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาครัฐจากรายงานการสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กร (Enterprise Cloud Index – ECI) ประจำปี 2565 ซึ่งประเมินความคืบหน้าขององค์กรต่าง ๆ ในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ และสถาบันการศึกษาของรัฐทั่วโลก รายงานดังกล่าวชี้ว่าองค์กรภาครัฐใช้มัลติคลาวด์เป็นรูปแบบหลักในงานด้านไอที โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และคาดว่าการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจาก 39% เป็น 67% ในช่วงสามปีข้างหน้า

มัลติคลาวด์ได้รับการยอมรับและนำมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกลายเป็นสถาปัตยกรรมด้านไอทีที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาครัฐ ผลสำรวจ ECI พบว่ามีการใช้มัลติคลาวด์มากที่สุดในส่วนภาคการศึกษาของรัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยอยู่ที่ 69% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเกือบสองเท่า นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ก็มีการใช้มัลติคลาวด์สูงกว่าค่าเฉลี่ยเช่นกัน อยู่ที่ 47% อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนในการจัดการคลาวด์หลายระบบยังคงเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญสำหรับองค์กรภาครัฐ 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความเห็นว่า การที่องค์กรต่าง ๆ จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลาวด์หลาย ๆ ระบบให้ง่ายมากขึ้น  นอกจากนั้น ในการแก้ไขปัญหาท้าทายที่สำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย การใช้งานร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูล 75% มีความเห็นว่า รูปแบบไฮบริดมัลติคลาวด์ (Hybrid Multicloud) ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีที่ใช้ระบบคลาวด์หลายประเภท ทั้งไพรเวทคลาวด์และพับลิคคลาวด์ โดยมีการทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ชิป จอร์จ รองประธานกลุ่มธุรกิจภาครัฐของนูทานิคซ์ กล่าวว่า “ประเทศทั่วโลก กำลังพัฒนาไปใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบมัลติคลาวด์ที่มีการผสมผสานไพรเวทคลาวด์และพับลิคคลาวด์เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาครัฐซึ่งมีการนำไปใช้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาที่ว่านี้จำเป็นต้องอาศัยความมุ่งมั่นในการสร้างแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งและปลอดภัย เพื่อให้สามารถใช้มัลติคลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพและขยายขีดความสามารถให้ครอบคลุมทั้งส่วนแกนหลัก (Core) และส่วนขอบ (Edge) ของเครือข่าย องค์กรภาครัฐจำเป็นที่จะต้องมองหาโซลูชันไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านความปลอดภัย รวมถึงการตรวจสอบอย่างทั่วถึง การจัดการที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้นโยบายที่สอดคล้องกัน และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุมบนทุกสภาพแวดล้อม”

ผู้ตอบแบบสอบถามในส่วนของภาครัฐได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความท้าทายด้านระบบคลาวด์ที่เผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน รวมไปถึงวิธีการรันแอปพลิเคชันทางธุรกิจ และแอปพลิเคชชันที่สำคัญต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน และแผนการรันแอปพลิเคชันดังกล่าวในอนาคต  นอกจากนั้น ยังมีการสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีในปัจจุบัน ในอนาคต และเร็วๆ นี้  รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านไอทีและภารกิจสำคัญอันเนื่องมาจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ในรายงานฉบับล่าสุดมีดังนี้:

    • หน่วยงานภาครัฐเผชิญความท้าทายเกี่ยวกับมัลติคลาวด์ เช่น การปกป้องข้อมูลบนคลาวด์หลายระบบ (49%), การใช้งานแอปพลิเคชันที่ใดก็ได้ (47%), การรักษาความปลอดภัย (46%) และการจัดการค่าใช้จ่าย (45%) นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ เกือบทั้งหมด (97%) รวมไปถึง 86% ของสถาบันการศึกษาของรัฐ และ 87% ของหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก กำลังประสบปัญหาขาดแคลนทักษะด้านไอทีสำหรับการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในปัจจุบันและโฟกัสหลักสำหรับหลาย ๆ องค์กรในช่วงหนึ่งปีนับจากนี้คือ การลดความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินงาน  อย่างไรก็ดี ผู้บริหารฝ่ายไอทีตระหนักว่าในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ไม่มีแนวทางแบบครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดังนั้นไฮบริดมัลติคลาวด์จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดตามความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (75%)  โดยไฮบริดมัลติคลาวด์จะช่วยแก้ไขความท้าทายที่สำคัญบางประการให้กับการใช้งานมัลติคลาวด์ ด้วยการจัดหาสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบครบวงจรเพื่อรองรับการปรับใช้นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูลอย่างสอดคล้องกัน
    • หน่วยงานภาครัฐมีความเห็นในแง่บวกเกี่ยวกับการที่แอปพลิเคชันสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ (application mobility) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้คลาวด์อัจฉริยะและมัลติคลาวด์ และถึงแม้ว่า 75% ขององค์กรภาครัฐโยกย้ายแอปพลิเคชันอย่างน้อยหนึ่งแอปพลิเคชันไปยังสภาพแวดล้อมด้านไอทีใหม่เมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ (91%) โดยองค์กรที่ทำการโยกย้ายดังกล่าวระบุถึงปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการตัดสินใจได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและ/หรือการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (33%), การเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุม (31%) และประสิทธิภาพ (30%) นอกจากนั้น 76% มีความเห็นว่าการย้ายเวิร์กโหลดไปยังคลาวด์ระบบใหม่อาจต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เปรียบเทียบกับ 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์กรภาครัฐมองว่าการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันเป็นปัญหาที่น้อยกว่า ส่วนสถาบันการศึกษาของรัฐ ซึ่งมีการใช้มัลติคลาวด์มากที่สุด ก็มีความเห็นในแง่บวกมากยิ่งขึ้น โดยมีเพียง 56% เท่านั้นที่ประสบปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชัน ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ มีความกังวลใจในเรื่องนี้มากที่สุด โดยอยู่ที่ 77%
    • ภารกิจสำคัญสูงสุดด้านไอทีของภาครัฐในช่วง 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย (46%), การจัดเก็บข้อมูล (41%), การปรับใช้ 5G (39%) และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมัลติคลาวด์ (39%) นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามภาครัฐยังระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้องค์กรต้องเพิ่มการใช้จ่ายด้านไอทีในบางแง่มุม เช่น การเพิ่มความแข็งแกร่งด้านการรักษาความปลอดภัย (55%), การปรับใช้เทคโนโลยีการบริการตนเองโดยใช้ AI (50%) และการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่ (40%)

สำหรับประเทศไทย ได้มีการสร้างบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ GOV Cloud เพื่อเป็นศูนย์รวมอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญให้เกิดการรวมศูนย์การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเสมือนที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสูงให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ขาดความพร้อมด้านการดูแลศูนย์ข้อมูลและขาดบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะ ทั้งนี้ยังให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความสามารถด้าน Cloud computing เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานและวิธีการใช้งาน Cloud ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

รายงานนี้ดำเนินการสำรวจโดย Vanson Bourne  ในนามของนูทานิคซ์ เป็นการสำรวจปีที่สี่ติดต่อกัน โดยได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที 1,700 คนทั่วโลกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 รายงานนี้เป็นฉบับเสริมของรายงานหลัก ดัชนีคลาวด์ระดับองค์กรประจำปี ฉบับที่สี่ (Fourth Annual Enterprise Cloud Index) ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั่วโลก โดยมุ่งสำรวจแนวโน้มการวางแผนและการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในส่วนของภาครัฐ และอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายไอทีภาครัฐ 491 คน นอกจากนี้ มีการเปรียบเทียบแผนงาน ภารกิจสำคัญ และประสบการณ์เกี่ยวกับคลาวด์ในส่วนของภาครัฐและเซ็กเตอร์ย่อย รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ และผลการสำรวจทั่วโลก ข้อมูลที่ระบุไว้ในรายงานฉบับนี้ครอบคลุม “องค์กรภาครัฐ” หรือ “ภาครัฐทั่วโลก” ซึ่งหมายถึงผู้ตอบแบบสอบถามในหน่วยงานรัฐบาลกลาง หน่วยงานส่วนกลาง รัฐบาลท้องถิ่น สถาบันการศึกษาของรัฐ และหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก  นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเซ็กเตอร์ย่อยสำหรับการเปรียบเทียบ ซึ่งได้แก่ หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ และสถาบันการศึกษาทั่วโลก

ดาต้าเบส: คิดใหม่-ทำใหม่ เหตุผลห้าประการที่ทำให้ DBaaS เป็นหัวใจของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ดาต้าเบส: คิดใหม่-ทำใหม่

ดาต้าเบส: คิดใหม่-ทำใหม่ เหตุผลห้าประการที่ทำให้ DBaaS เป็นหัวใจของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ข้อมูลปริมาณมากที่องค์กรสร้างขึ้นเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ในอดีตข้อมูลหนึ่งเพตาไบต์ถือเป็นข้อมูลปริมาณที่สูงมาก และก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ เพราะเทียบเท่ากับตู้เก็บเอกสารทรงสูงราว 20 ล้านตู้ หรือข้อความที่พิมพ์บนหน้าเอกสารขนาดมาตรฐาน 500,000 ล้านหน้า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่องค์กรจะต้องบริหารจัดการข้อมูลหลายสิบหรือหลายร้อยเพตาไบต์ ซึ่งอยู่ในดาต้าเบสที่หลากหลาย ทำให้ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ จำนวนมาก

เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ปริมาณข้อมูลก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากยังนำระบบแบบดั้งเดิมมาใช้บริหารจัดการดาต้าเบสก็ย่อมจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากมากขึ้น เพราะระบบรุ่นเก่าให้การตอบสนองช้า ประสิทธิภาพการทำงานไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้การดำเนินงานโดยรวมขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากดาต้าเบสมีบทบาทสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ จึงต้องมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อใช้จัดการดาต้าเบสได้อย่างเหมาะสม

ความเรียบง่ายของดาต้าเบส

รายงานวิจัยของไอดีซีระบุว่า ในการใช้งานดาต้าเบสนั้น เป็นการใช้ดาต้าเบสที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กรราว 75 เปอร์เซ็นต์[1] ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่น่าประหลาดใจ เพราะข้อมูลเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กร และองค์กรต่าง ๆ ย่อมต้องการที่จะเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญที่สุดไว้ใกล้ตัว แต่หากธุรกิจให้ความสำคัญกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแล้ว การใช้บริการด้านดาต้าเบส (Database-as-a-Service: DBaaS) จะช่วยให้องค์กรสามารถตั้งค่าและจัดการดูแลดาต้าเบสของตนได้อย่างไม่ยุ่งยาก DBaaS สามารถรองรับระบบงานอัตโนมัติและการจัดการตนเองได้ ไม่ว่าดาต้าเบสนั้นจะทำงานอยู่บนระบบใดก็ตาม

ห้าเหตุผลสำคัญที่องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นควรจะพิจารณาใช้ DBaaS

1) ลดปัญหาการหยุดทำงานของระบบ

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมาก ทำให้การสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นความท้าทายต่อธุรกิจมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน การติดตั้งแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมไอทีแบบเดิม อาจทำให้ระบบต้องหยุดทำงานเป็นเวลานาน รายงานวิจัยของฟอเรสเตอร์คอนซัลติ้งที่สนับสนุนโดยนูทานิคซ์ประเมินว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายราว 35,000 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมงอันเนื่องมาจากการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน การสูญเสียรายได้ และผลกระทบในด้านอื่น ๆ ที่ตามมา[2] เช่น การติดตั้งแพตช์ด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาระบบของสายการบินแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ทำให้ระบบหยุดทำงานและตัดการเชื่อมต่อนานถึง 14 ชั่วโมงต่อการอัปเดตแต่ละครั้ง และนั่นหมายถึงไม่สามารถจำหน่ายตั๋วเครื่องบินได้ในช่วงเวลานั้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อรายได้

reduce-downtime

การใช้ DBaaS จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถดูแลจัดการดาต้าเบสหลากหลายได้แบบรวมศูนย์ ซึ่งสามารถกระจายแพตช์ไปยังดาต้าเบสทั้งหมดได้โดยอัตโนมัติ และรวดเร็วขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ซึ่งในหลาย ๆ กรณี สามารถติดตั้งแพตช์ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และหากเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ การใช้งาน DBaaS จะช่วยให้องค์กรสามารถกู้คืนดาต้าเบสได้ทันที และช่วยให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้เป็นปกติ

2) ลดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร

รายงานวิจัยของไอดีซีชี้ว่า องค์กรเกือบสามในสี่ (73 เปอร์เซ็นต์) ใช้เครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อจัดการกับดาต้าเบสที่อยู่ในองค์กรและดาต้าเบสที่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานไอที และคลาวด์แตกต่างกัน[3] ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้บริษัทต้องจัดซื้อเครื่องมือที่ซ้ำซ้อนและต้องคอยให้การดูแลรักษาเครื่องมือเหล่านั้น แต่ยังลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้วย เช่น ผู้จัดการด้านดาต้าเบสต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพื่อสร้างและดูแลดาต้าเบสต่าง ๆ ทั้งนี้ฟอเรสเตอร์ได้รายงานว่า ทีมผู้ดูแลดาต้าเบส (Database Administrator – DBA) มักจะต้องทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ทันเวลา

รายงาน Forrester’s Total Economic ImpactTM of Nutanix Era ระบุว่าองค์กรจะสามารถลดการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวได้ 50 เปอร์เซ็นต์ เพียงแค่เปลี่ยนไปใช้โซลูชันการบริหารจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายกว่า[4] นอกจากนี้ผู้ดูแลดาต้าเบสมักจะจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณด้านฮาร์ดแวร์สำหรับดาต้าเบสมากเกินจำเป็น เพื่อเผื่อไว้สำหรับการขยายตัวของดาต้าเบสในอนาคต แต่หากใช้ระบบ DBaaS ซึ่งสามารถปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการและในเวลาที่ต้องการแล้ว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมดไป

ฟอเรสเตอร์ประเมินว่า องค์กรจะได้รับผลตอบแทนการลงทุน (ROI) โดยรวม 291 เปอร์เซ็นต์ หากเปลี่ยนไปใช้ Nutanix Database Service[5]

3) จัดหาบุคลากรที่มีความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

รายงานวิจัยของฟอเรสเตอร์ชี้ว่า บริษัทต่าง ๆ พบว่าบริษัทฯ มีความท้าทายในการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีชุดทักษะด้านการจัดการดูแลดาต้าเบสระบบเก่า[6] เพราะเมื่อใดก็ตามที่พนักงานที่มีประสบการณ์ลาออกหรือเกษียณ ความรู้ความสามารถของเขาเหล่านั้นก็จะหายไปจากองค์กรด้วยทันที เกิดช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง และตามมาด้วยปัญหาด้านคุณภาพของบุคลากร ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Gen Z เริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน คนรุ่นนี้เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลและคาดหวังว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ดังนั้นองค์กรจึงต้องนำเทคโนโลยีที่ทำงานบนคลาวด์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นและใช้งานง่ายที่สุดมาใช้ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรกลุ่มนี้ไว้กับบริษัท

work-force

4) ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

การที่องค์กรต่าง ๆ ตั้งเป้าที่จะก้าวนำหน้าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ มากขึ้น ดาต้าเบสต่าง ๆ คือขุมทองของข้อมูลลูกค้า และเทคโนโลยีใหม่ต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจข้อมูลนี้ เช่น ช่วยให้สามารถตรวจสอบรูปแบบของข้อมูล ตรวจสอบได้ว่าข้อมูลมีลักษณะผิดปกติอย่างไรหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการทำงานแบบแมนนวล

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี AI และ ML ทำงานได้ดีที่สุดบนคลาวด์ การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับดาต้าเบสที่ติดตั้งภายในองค์กรจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป การย้ายดาต้าเบสไปไว้บนคลาวด์และใช้ DBaaS ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจที่ต้องการติดตามพฤติกรรมของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ และตามติดทันเทรนด์ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่ทรงคุณค่า

insight-data

5) เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

รายงานการคาดการณ์ของ IDC ประจำปี 2565 ระบุว่า ภายในปีนี้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิกจะพึ่งพาหรือได้รับอิทธิพลจากดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลโดยตรงจะเร่งให้เกิดอัตราการเติบโตต่อปีที่ 18 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2565-2567 ซึ่งคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งหมด ภายในสิ้นปี 2567[7]

การนำ DBaaS มาใช้ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงงานด้านอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นดิจิทัลด้วย ทีมพัฒนาแอปพลิเคชันของบริษัทที่ดูแลการสร้างระบบและกระบวนการใหม่ ๆ ต้องทำงานกับดาต้าเบสที่เป็นปัจจุบันและสดใหม่ ไม่ใช่ข้อมูลที่ทำซ้ำไว้ซึ่งมักจะไม่เป็นปัจจุบัน การใช้ DBaaS เป็นการปูทางให้หน่วยงานทั่วทั้งองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

สำหรับประเทศไทย องค์กรด้านเทเลคอม และเซอร์วิสโพรไวเดอร์นำโซลูชัน DBaaS ของนูทานิคซ์ไปใช้กับสภาพแวดล้อมดาต้าเบสขององค์กร เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานดาต้าเบสที่เพิ่มสูงขึ้นขององค์กรทั้งในแง่มุมของขนาด ความต้องการใช้งาน ความหลากหลายของดาต้าเบส การป้องกันและกู้คืนดาต้าเบส ซึ่งหลังจากได้มีการนำโซลูชัน DBaaS มาใช้งานทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับดาต้าเบสมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

      • การติดตั้งดาต้าเบสเมื่อมีการร้องขอจากยูสเซอร์ และหน่วยงานต่าง ๆ เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
      • การร้องขอสำเนา และการโคลนดาต้าเบสเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบ นำไปประมวลผล และออกรายงานต่าง ๆ ใช้เวลาลดลงเหลือ 30 นาที และลดการใช้พื้นที่สตอเรจที่จัดเก็บสำเนาข้อมูลดาต้าเบสเหล่านั้น
      • สามารถกู้คืนดาต้าเบสกลับไปยังช่วงเวลาที่ต้องการได้โดยใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีกับข้อมูลขนาดมากกว่า 60 TB
      • การดูแลจัดการดาต้าเบสหลายประเภทเช่น Oracle, PostgreSQL และอื่น ๆ สามารถทำผ่านเครื่องมือเดียวกัน ซึ่งช่วยลดความยุ่งยาก และลดค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน

ดาต้าเบสแห่งอนาคต

ดาต้าเบสเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นวันนี้และในอนาคตปริมาณข้อมูลมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณจะเป็นปัจจัยบังคับให้องค์กรต่าง ๆ ปรับปรุงระบบจัดการดาต้าเบสของตนให้ทันสมัยและใช้งานง่าย ไม่ว่าดาต้าเบสนั้นจะอยู่บนระบบภายในองค์กร บนไพรเวทคลาวด์ หรือบนไฮบริดคลาวด์ องค์กรจำเป็นต้องหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานของตน