The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

By Thawipong Anotaisinthawee, Country Manager, Nutanix (Thailand)

Technology adoption in healthcare has been historically slow compared to other industries, mostly due to its highly regulated nature. For a long time, cloud adoption was no different. However, a recent study by Nutanix predicts healthcare cloud adoption will rise from 27 per cent to 51 per cent in the next three years. The growth will be spurred on by public, private, and hybrid multicloud solutions which open the gate for clinical and non-clinical applications beyond traditional data management.

Throughout the pandemic, digital healthcare delivery increased. Providers required intelligent, scalable, and secure solutions to support their response to the public health emergency and maintain patient engagement. Health providers were required to track patients’ infection rates, manage vaccinations, and tackle a multitude of overly clinical tasks. Consequently, the amount of data produced has never been greater. This requires increasingly sophisticated collection methods and analysis – much of which has occurred in the cloud.

Healthcare providers are also finding new non-clinical applications for the cloud, such as resource planning and supply chain management. However, as the applications and benefits of the cloud become more apparent, where should these organisations look to invest?

Clinical cloud benefits

Although the hybrid multicloud is the most popular IT architecture worldwide, the 2022 Nutanix Enterprise Cloud Index survey found that 30 per cent of healthcare respondents preferred the private cloud as their preferred IT model. The majority (70 per cent) cite security and privacy requirements as being the main obstacles to adopting other forms of cloud, limiting many to private cloud solutions.

However, the public cloud offers numerous benefits that should not be overlooked. Predictive and reactive real-time analytics have become vital tools for healthcare providers, especially as more data is created and stored. Additionally, patient and healthcare devices generate vast amounts of medical data in many different languages. Such information is often spread across multiple electronic health record instances, inhibiting holistic insights. The public cloud allows providers to easily consolidate and manage incoming data from multiple sources before migrating more sensitive information to a secure environment.

When considering cloud solutions in healthcare, it will be key to address the main concerns providers have, from interoperability, security, and cost to data integration. Enter hybrid multicloud which enables providers to use private and public clouds.  Patients want to know their providers can quickly access data to make sound decisions about their care, and providers require easier access to more patient information and data about their facilities and organisations. With the right mix of private and public clouds in a hybrid multicloud environment, organisations can achieve both.

Security must be considered

When managing sensitive data, security and privacy must remain a priority. Some healthcare organisations spend hundreds of thousands of dollars on perimeter and internal endpoint security, which is managed by cloud-based solutions. Especially with the healthcare cloud computing market is expected to hit $128.19 billion by 2028, with an almost 20 per cent CAGR through 2028, security will continue to be top of mind.

Operating through a hybrid multicloud environment means providers can respond much faster than with on-premises infrastructure that could potentially be compromised. The security posture of major cloud providers has been proven to be as good as or better than most enterprise data centres.  Hybrid multicloud also allows providers to implement information air gaps, securing sensitive data or backups in a separate, disconnected environment. This would limit intruder access to critical information and increase the chance of a full recovery following an attack.

Hybrid multicloud environments give providers the best of both worlds, allowing organisations to maintain a cloud environment that enables a combination of security and cost savings at the same time. The most security-focused data and workloads are kept in private clouds while running regular data and apps in cost-effective public cloud networks.

Flexibility, scalability, and the patient experience

The increased need for flexible solutions continues to impact IT decisions. Health providers need infrastructure that allows them to move data between environments more seamlessly. Cloud computing allows businesses to be more flexible – both in and out of the workplace and across multiple data environments. This level of flexibility helps improve the speed at which practitioners can work and deliver care, therefore improving the patient experience

Hybrid multicloud is here to stay, but numerous challenges remain as regulations drive many healthcare organisations’ IT deployment decisions. Despite this, the past two years have influenced healthcare organisations to accelerate – among other innovations – telehealth adoption, allowing them to see more patients safely, scale operations rapidly, and recognise the benefit digital and cloud services can have on patient engagement.

Nutanix-The-future-of-healthcare-is-in-the-cloud-web

As digital services continue to grow in complexity, patients and providers require easier access, control over, and visibility of their data to improve business outcomes and patient care. By investing in both private and public clouds in a hybrid multicloud environment, providers can achieve this, leveraging the efficiency of the public cloud alongside the security and control that private clouds can deliver.

How Thailand’s healthcare industry is embracing new technologies

Songkhlanagarind Hospital, a leader in delivering medical services to 14 southern provinces, is proof that Thailand has continually implemented innovative medical and public health technology for a very prolonged period. Using Nutanix technology, the hospital has enabled the medical staff to give medical consultations utilizing their mobile devices to view information on its Intranet, effectively allowing access to the HIS application and patient medical records from anywhere, at any time.

In the overall scheme of the nation, the Ministry of Public Health in Thailand offers various applications, including for health care and Covid-19. In response to the COVID-19 outbreak, the National Health Security Office (NHSO) has cooperated with the private sector to provide telemedicine services via various applications.

As the Covid-19 situation has become better, the Thai Ministry of Public Health has upgraded “Doctor Ready (Morprompt)”, a central database platform for storing COVID-19 vaccination information for over 32 million people, to be a digital health platform that Thai citizens can utilize to access services more efficiently with incorporating new capabilities including telemedicine. Furthermore, the back-office system has been developed to link all health care units to information and electronic transaction security following international standards. In addition, there is cooperation from many parties to build a system for using cloud-based digital health information per medical and public health standards. The collaboration demonstrates that both public and private sectors in this industry will continue to adopt cutting-edge technologies, including cloud computing, to enhance the efficiency of the healthcare industry for tomorrow.

คลาวด์ประเภทใด เหมาะสำหรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคต

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

คลาวด์ประเภทใด เหมาะสำหรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคต

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

บทความโดย นายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

อุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงระบบคลาวด์มาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป อันเนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่ต้องมีกฎระเบียบเข้มงวดรัดกุม ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของนูทานิคซ์ คาดการณ์ว่าการใช้คลาวด์ในอุตสาหกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 27 เปอร์เซ็นต์ เป็น 51 เปอร์เซ็นในอีกสามปีข้างหน้า การเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้พับลิคคลาวด์ ไพรเวทคลาวด์ และไฮบริดมัลติคลาวด์ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันที่ให้การวินิจฉัย รักษา หรือดูแลผู้ป่วยโดยตรง (clinical applications) และแอปพลิเคชันที่ใช้สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย (non-clinical applications) ได้ล้ำหน้ากว่าการบริหารจัดการข้อมูลแบบเดิม ๆ

การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลาที่โควิด-19 ระบาดผู้ให้บริการด้านนี้จำเป็นต้องติดตามอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วย ต้องบริหารจัดการการฉีดวัคซีน และติดตามปริมาณงานด้านการรักษาพยาบาลที่มากเกินไปจำนวนมาก ทำให้มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต้องใช้วิธีการรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และส่วนมากวิธีการเหล่านี้อยู่บนระบบคลาวด์

ผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ยังต้องการ non-clinical applications ที่ทำงานบนคลาวด์ เช่น การวางแผนทรัพยากรและการจัดการซัพพลายเชน เมื่อมีความต้องการแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ทำงานบนคลาวด์มากขึ้น และได้เห็นประโยชน์ของคลาวด์ชัดเจนขึ้น แล้วองค์กรด้านนี้ควรลงทุนกับคลาวด์ประเภทใด

ประโยชน์ของคลาวด์ต่อการให้การรักษาพยาบาล

แม้ว่าไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นสถาปัตยกรรมด้านไอทีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก แต่ผลสำรวจ Nutanix Enterprise Cloud Index ประจำปี 2565 พบว่า 30 เปอร์เซ็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขยกให้ไพรเวทคลาวด์ เป็นรูปแบบไอทีที่เลือกใช้ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) อ้างถึงความต้องการด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำคลาวด์ประเภทอื่นมาใช้ ทำให้ส่วนมากจำกัดการใช้อยู่ที่โซลูชันด้านไพรเวทคลาวด์

พับลิคคลาวด์มีประโยชน์มากมายที่ไม่ควรมองข้าม เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เชิงคาดการณ์และเชิงโต้ตอบ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการสร้างและเก็บข้อมูลมากขึ้น นอกจากนี้ อุปกรณ์ด้านการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์ของผู้ป่วยก็สร้างข้อมูลทางการแพทย์จำนวนมากและหลายภาษา ข้อมูลเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ตามอินสแตนซ์การเก็บข้อมูลด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ทำให้ยากที่จะได้ข้อมูลเชิงลึกแบบองค์รวม แต่พับลิคคลาวด์ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านนี้สามารถผสานรวมและบริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลจำนวนมาก ก่อนที่จะย้ายข้อมูลที่อ่อนไหวง่ายไปไว้บนสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

การใช้โซลูชันคลาวด์ในวงการแพทย์และสาธารณสุข คือกุญแจสำคัญที่ช่วยจัดการกับความกังวลต่าง ๆ ให้กับผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกัน ความปลอดภัย และค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการผสานรวมข้อมูลไว้ด้วยกัน การเก็บข้อมูลบางประเภทไว้บนไพรเวทคลาวด์ แต่บางประเภทอยู่บนพับลิคคลาวด์ เมื่อเกิดความต้องการต่าง ๆ ขึ้น เช่น ผู้ป่วยต่างต้องการรับรู้ว่าผู้ให้บริการของตนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตัดสินใจได้ว่าจะรักษาดูแลเขาอย่างไร และผู้ให้บริการก็ต้องการวิธีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ต่าง ๆ และข้อมูลองค์กรของตนได้ง่ายขึ้น ความต้องการเช่นนี้สามารถจัดการได้ด้วยการใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์ ที่ช่วยให้ใช้งานได้ทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์และการผสมผสานที่ลงตัวของไพรเวท และพับลิคคลาวด์ในสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์นี้เองที่ช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการต่าง ๆ ได้

ต้องคำนีงถึงความปลอดภัย

การบริหารจัดการข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นอันดับแรก องค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุขบางแห่งใช้งบหลายแสนดอลลาร์กับเรื่องของความปลอดภัยทั้งจุดที่มีการใช้งานภายใน และส่วนที่ติดต่อกับภายนอกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริหารจัดการด้วยโซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์ และความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการคาดการณ์ว่า ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งของวงการแพทย์และสาธารณสุขจะแตะระดับ 128.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (GAGR) เกือบ 20 เปอร์เซ็นจนถึงปี 2571

การทำงานผ่านสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถตอบสนองได้เร็วกว่าการทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานระบบปิดที่อยู่ในองค์กร ซึ่งเป็นจุดที่จะถูกโจมตีได้ง่าย  แนวทางด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ดีหรือดีกว่าดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ไฮบริดมัลติคลาวด์ยังช่วยให้ผู้ให้บริการใช้วิธีการเปิดช่องว่างให้กับข้อมูล (information air gaps) ที่เป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย หรือสำรองข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่แยกออกต่างหากไม่เชื่อมต่อกัน ซึ่งจะจำกัดผู้บุกรุกไม่ให้เข้าถึงข้อมูลสำคัญและเพิ่มโอกาสในการเรียกคืนข้อมูลและระบบหลังการถูกโจมตี

สภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ช่วยให้ผู้ให้บริการได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุดจากทั้งไพรเวทและพับลิค คลาวด์ ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ คงสภาพแวดล้อมคลาวด์ที่มีทั้งความปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย ในเวลาเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลและเวิร์กโหลดที่ต้องการความปลอดภัยมากที่สุดไว้บนไพรเวทคลาวด์ ในขณะเดียวกันก็วางข้อมูลและแอปพลิเคชันทั่วไปไว้บนเครือข่ายพับลิคคลาวด์ต่าง ๆ ที่คุ้มค่าใช้จ่าย

ความยืดหยุ่น การปรับขนาดได้ และประสบการณ์ของผู้ป่วย

ความต้องการโซลูชันที่ยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น ยังคงส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านไอที ผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขต้องการโครงสร้างพื้นฐานไอที ที่ช่วยให้เคลื่อนย้ายข้อมูลไปมาระหว่างสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น คลาวด์คอมพิวติ้งช่วยให้ธุรกิจยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน และไม่ว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนสภาพแวดล้อมใดก็ตาม ระดับความยืดหยุ่นนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงาน และให้บริการด้านการดูแลสุขภาพได้เร็วขึ้น และส่งผลต่อเนื่องในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วยด้วย

ไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แต่ความท้าทายยังคงมีอยู่อีกมาก เพราะการตัดสินใจเลือกใช้โซลูชันด้านไอทีขององค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ต้องพิจารณาถึงกฎระเบียบต่าง ๆ เป็นสำคัญอย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดสองปีที่ผ่านมามีอิทธิพลต่อองค์กรด้านการแพทย์ และสาธารณสุขให้รีบเร่งพิจารณานวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้เทเลเฮลท์ ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการพบ และให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย, ขยายการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว, และตระหนักว่าดิจิทัลและบริการคลาวด์ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมมากขึ้น

Nutanix-The-future-of-healthcare-is-in-the-cloud-web

การที่บริการดิจิทัลมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ผู้ป่วยและผู้ให้บริการต้องการวิธีการง่าย ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล ควบคุม และมองเห็นข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจ การลงทุนทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์บนสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ จะช่วยให้ผู้ให้บริการ สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยใช้คุณประโยชน์ด้านประสิทธิภาพของพับลิคคลาวด์ ควบคู่กับความปลอดภัย และความสามารถในการควบคุมที่ไพรเวทคลาวด์มีให้

อุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทยเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ผู้นำในการให้บริการทางการแพทย์ในภาคใต้ของไทย เป็นหนึ่งสถาบันทางการแพทย์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าได้มีการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้งานทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว โรงพยาบาลได้ใช้โซลูชันของนูทานิคซ์ เสริมศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้สามารถให้คำปรึกษาต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์มือถือ สามารถเข้าใช้งานข้อมูลบนอินทราเน็ต เข้าใช้แอปพลิเคชัน HIS และเวชระเบียนของผู้ป่วยได้จากทุกที่ทุกเวลา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการ

ในภาพรวมของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้จัดหาแอปพลิเคชันหลากหลาย ทั้งด้านการดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ และแอปพลิเคชันที่ใช้รับมือกับการระบาดของโควิด-19 เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนให้บริการระบบการแพทย์ทางไกลผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ

เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง กระทรวงสาธารณสุขไทยได้ทำการ ยกระดับ “หมอพร้อม” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีผู้ใช้งานประมาณ 32 ล้านคน ให้เป็นแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ Digital Health Platform เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการง่ายกว่าเดิม โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลากหลายรวมถึง เทเลเมดิซีน และพัฒนาระบบหลังบ้านให้รองรับการเชื่อมโยงกับหน่วยบริการสาธารณสุขทุกสังกัด มีระบบความปลอดภัยข้อมูลและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือจากหลายฝ่ายเพื่อพัฒนาระบบให้มีการใช้ข้อมูลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งตามมาตรฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ความเคลื่อนไหวต่อเนื่องนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งภาครัฐและเอกชนจะยังเดินหน้านำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งรวมถึงคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการให้บริการด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ ปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยด้วยนูทานิคซ์ มุ่งมั่นสู่เป้าหมายเป็นผู้ให้บริการโซลูชันไอทีชั้นนำของประเทศ

โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ ปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยด้วยนูทานิคซ์ มุ่งมั่นสู่เป้าหมายเป็นผู้ให้บริการโซลูชันไอทีชั้นนำของประเทศ

โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ ปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยด้วยนูทานิคซ์ มุ่งมั่นสู่เป้าหมายเป็นผู้ให้บริการโซลูชันไอทีชั้นนำของประเทศ

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ และซอฟต์แวร์โซลูชันทรงประสิทธิภาพจากนูทานิคซ์

บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด (PCC) วางใจใช้เทคโนโลยีของนูทานิคซ์เพิ่มประสิทธิภาพดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย ช่วยให้การบริหารจัดการและกระบวนการทำงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสามารถสร้างสรรค์บริการหลากหลายได้เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง

PCC เป็นหนึ่งในผู้วางระบบไอทีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามายาวนานกว่าสามทศวรรษช่วยองค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลด้วยบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่การทำ proof of concepts การพัฒนาแอปพลิเคชัน และการทดสอบ production environment ให้แก่ลูกค้า ตลอดจนนำเสนอเทคโนโลยีของนูทานิคซ์รวมไว้ในโปรเจกต์ที่นำเสนอให้กับลูกค้ามากมาย เช่น บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด และกรมบัญชีกลาง

นายศักดิ์ณรงค์ แสงสง่าพงศ์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “PCC มีภารกิจในการให้บริการโซลูชันด้านไอทีที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า ด้วยการนำเสนอโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมและบริการคุณภาพสูงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากร กระบวนการทำงาน และผลประกอบการของลูกค้า ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ของเราเป็นองค์กรภาครัฐ ความมีเสถียรภาพของระบบ การปรับขนาดการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ความปลอดภัย รวมถึงความง่ายและสะดวกในการใช้งาน และคุ้มค่าการลงทุน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาในเวลาที่เราสร้างสรรค์โซลูชัน หรือนำเสนอโครงการต่าง ๆ ให้กับลูกค้า นูทานิคซ์มีส่วนเข้ามาช่วยนำพาลูกค้าของเราให้ก้าวสู่ความเป็นองค์กรที่ล้ำสมัย สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที พร้อมประสบความสำเร็จอย่างงดงามตลอดเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลในอนาคต”

PCC ใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) ของนูทานิคซ์ เป็นฐานรองรับให้แอปพลิเคชันเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ลูกค้า รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัท นายศักดิ์ณรงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อเราเปลี่ยนมาใช้ HCI ของนูทานิคซ์เพื่อรวมศูนย์แอปพลิเคชันและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ของบริษัท มาไว้บนแพลตฟอร์มเดียวที่บริหารจัดการได้จากที่เดียว ช่วยให้เราลดขั้นตอนในการจัดซื้อฮาร์ดแวร์ จากเดิมที่ต้องแยกซื้อมาเป็นการจัดซื้อแบบเดียวกันและใช้ร่วมกันได้ ทำให้การดูแลรักษาง่ายขึ้นมาก นอกจากนี้ โซลูชันของนูทานิคซ์ยังสามารถใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ได้อย่างราบรื่นต่อเนื่อง ช่วยให้บริษัทมีความคล่องตัวมากขึ้น”

นอกจากนี้ PCC ยังใช้ซอฟต์แวร์โซลูชันต่าง ๆ ของนูทานิคซ์อีกหลายรายการ เช่น Nutanix Prism ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ควบคุมระบบได้จากจุดเดียว ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการด้านไอที, Nutanix Kubernetes Engine เพื่อใช้พัฒนาคลาวด์-เนทีฟ แอปพลิเคชันต่าง ๆ, NCM Self-Service ซึ่งช่วยให้สามารถจัดเตรียมระบบต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก่อนที่จะนำแอปพลิเคชันเหล่านั้นไปใช้งานบนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึง Nutanix Flow ซึ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยของแอปพลิเคชันและเน็ตเวิร์กที่ใช้ในกระบวนการทำงานภายในของบริษัท นอกจากนี้ PCC กำลังพิจารณานำ Nutanix Files มาใช้ในเร็ว ๆ นี้

เทคโนโลยีของนูทานิคซ์ที่รวมศูนย์งานด้านไอทีมาไว้ที่เดียวกัน ช่วยให้ PCC ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และลดเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชันลงจากเดิมใช้เวลาเป็นสัปดาห์เหลือเพียงไม่กี่วัน สามารถอัปโหลดขั้นตอนการทำงานและการพัฒนาต่าง ๆ ขึ้นไปยังระบบได้โดยแทบไม่มีดาวน์ไทม์ ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และสามารถเพิ่มโหนดได้ในเวลา 1-2 วันจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ นอกจากนี้ทีมพัฒนาแอปพลิเคชันของ PCC สามารถทดสอบหรือเรียกใช้ทรัพยากรได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง จากเดิมต้องใช้เวลา 2 ถึง 3 วัน

นายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ กล่าวว่า “นูทานิคซ์ขอขอบคุณ PCC ที่ให้ความไว้วางใจใช้เทคโนโลยีของเรา นูทานิคซ์เชื่อมั่นว่าโซลูชันของเราตอบโจทย์องค์กรที่มองไกลไปในอนาคต และแสวงหาเครื่องมือในการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง นูทานิคซ์นำเสนอแพลตฟอร์มไฮบริด-มัลติคลาวด์ และชุดของโซลูชันครบวงจรที่ทรงประสิทธิภาพให้กับลูกค้า พร้อมความยืดหยุ่น ใช้งานง่าย ปรับขนาดได้ ทำงานโดยอัตโนมัติ มีความปลอดภัยสูง รองรับการทำงานกับเวิร์กโหลดทุกประเภท บนทุกสภาพแวดล้อม และทุกที่ทุกเวลา สอดรับกับรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดในปัจจุบัน เรายินดีที่ได้มีส่วนร่วมบนเส้นทางสู่ความสำเร็จของ PCC ในการช่วยให้ลูกค้าปราศจากความกังวลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานไอที และสามารถเน้นความสำคัญกับแอปพลิเคชัน และการสร้างสรรค์บริการต่าง ๆ ที่เป็นพลังขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ”

นูทานิคซ์แต่งตั้ง แอรอน ไวท์ เป็นรองประธาน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นูทานิคซ์แต่งตั้ง แอรอน ไวท์ เป็นรองประธาน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นูทานิคซ์แต่งตั้ง แอรอน ไวท์ เป็นรองประธาน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริดมัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศแต่งตั้งนายแอรอน ไวท์ เป็นรองประธานและผู้จัดการทั่วไป ดูแลงานด้านการขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีผลทันที โดยประจำอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์และรายงานตรงไปยังนายแอนดรูว์ บรินด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายรายได้ของนูทานิคซ์

นายแอรอนร่วมงานกับนูทานิคซ์มากว่า 5 ปี ตำแหน่งล่าสุดเป็นรองประธานดูแลตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ และประจำอยู่ที่ดูไบ ก่อนร่วมงานกับนูทานิคซ์ เขาเป็นผู้นำด้านการขายที่ Sage, Hitachi Data Systems, Citrix และ VMware

นายบรินด์ กล่าวว่า “แอรอนมีประสบการณ์ในแวดวงเทคโนโลยีระดับนานาชาติมากกว่า 20 ปี สร้างการเติบโตให้กับทั้งบริษัทและทีมงานฝ่ายขายควบคู่กันไป เพื่อขับเคลื่อนให้บริษัทมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและสม่ำเสมอ ผมมีโอกาสอันแสนพิเศษเห็นสไตล์การบริหารงาน และความสามารถต่าง ๆ ของแอรอนตั้งแต่เขาเริ่มเข้ามาทำงานกับนูทานิคซ์ เขามีความเชื่อมั่นอย่างมากว่า ผู้คนคือการเต้นของหัวใจของนูทานิคซ์ และยังเชื่อในการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นลำดับแรกรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ”

นายแอรอน ไวท์ กล่าวว่า “ความสำเร็จของผมต้องยกให้กับทีมที่ผมสร้างและวัฒนธรรมองค์กรที่ผมมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมา วัฒนธรรมองค์กรที่แสดงความยินดีแม้แต่ความสำเร็จที่เล็กที่สุด เป็นพลังให้ทีมงานทำสิ่งที่ดีที่สุดและกล้าที่จะนำเสนอและทดลองแนวคิดใหม่ ๆ ผมหวังว่าจะได้ส่งเสริมจิตวิญญาณนี้ให้กับทีมนูทานิคซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นนี้ และทำงานร่วมกับทีมเพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ นำนูทานิคซ์ไปใช้ปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย และประสบความสำเร็จในการสร้างสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์

ลูกค้าของนูทานิคซ์ในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ประกอบด้วยองค์กรที่หลากหลายในทุกภาคส่วน เช่น Toyota และ Mitsui Chemical ในญี่ปุ่น, Langs Building Supplies ในออสเตรเลีย, Suncorp ในนิวซีแลนด์, Olam ในอินเดีย, Meritz Securities ในเกาหลี,  ธนาคาร BJB Syariah  และ ธนาคาร BPD Bali ในอินโดนีเซีย รวมถึง KTBST Securities ในประเทศไทย

แอรอนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขา Human Movement Science and Physical Education และปริญญาโทด้าน Information Systems จาก University of Liverpool เมื่อรับตำแหน่งใหม่นี้เขาและครอบครัวจะย้ายมาประจำอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

แนวทางบริหารจัดการดาต้าเบสในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ข้อถกเถียงเกี่ยวกับประโยชน์ของพับลิคคลาวด์เมื่อเทียบกับไพรเวทคลาวด์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเด็นร้อนแรงนั้น ได้กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากองค์กรต่างต้องวุ่นวายอยู่กับการใช้งานดาต้าเบสหลายประเภท บนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ แอปพลิเคชันจำนวนมากในปัจจุบันที่ใช้ดาต้าเบสมากกว่าหนึ่งประเภท และแอปพลิเคชันที่เป็นคอนเทนเนอร์ไรซ์ที่ทันสมัยต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการกระจัดกระจายของดาต้า (sprawl of data) และดาต้าเบส ปริมาณมหาศาลเหล่านี้มีข้อมูลรวมกันหลายสิบหรือหลายร้อยเพตาไบต์ ซึ่งผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องบริหารจัดการ และแน่นอนว่าเป็นปริมาณที่มากมายเกินกว่าจะจัดการได้

นอกจากนี้ ภาระด้านค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดการดาต้าเบส และความเสี่ยงจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้องค์กรต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรไม่อาจละเลยได้ การที่ดาต้าเบสมีบทบาทสำคัญมากต่อการทำงานในแต่ละวันขององค์กร ทำให้ธุรกิจทั้งหลายต่างต้องแสวงหาวิธีการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายกว่าวิธีการเดิม ๆ

ค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูง

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความเกี่ยวเนื่องที่พัวพันซับซ้อนกันระหว่างแอปพลิเคชัน ดาต้าเบส
และบริการต่าง ๆ จากภายนอกที่เพิ่มขึ้นมากกำลังกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รายงาน IDC InfoBrief[1] ชี้ให้เห็นว่า องค์กรเกือบสามในสี่ (73 เปอร์เซ็นต์) ใช้เครื่องมือและกระบวนการหลายประเภทเพื่อบริหารจัดการดาต้าเบสที่เก็บอยู่ภายในองค์กร เมื่อเทียบกับดาต้าเบสที่อยู่บนคลาวด์ ส่งผลให้องค์กรต้องซื้อเครื่องมือที่ซ้ำซ้อนและต้องจัดการดูแลเครื่องมือเหล่านี้ อีกทั้งยังต้องจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอ ข้อเท็จจริงจากรายงานของ Forrester Consulting [2] ชี้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพในการจัดสรรบุคลากรส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาจำนวนมากแก่ทีมงานผู้ดูแลด้านดาต้าเบส (Database Administrator – DBA) เพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วง

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แนวทางไอทีแบบเดิม ๆ ที่ใช้เครื่องมือรุ่นเก่าเพื่อจัดการดาต้าเบสที่รันอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมจะก่อให้เกิดความล่าช้าจนไม่สามารถรองรับงาน และความคิดริเริ่มที่สำคัญมากต่อธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางดังกล่าวยังทำให้การดำเนินการส่วนต่าง ๆ แยกออกจากกันขาดความต่อเนื่อง และมีการใช้ทรัพยากรและกระบวนการที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการลดรายจ่าย และจำเป็นที่จะต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการดาต้าเบสให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และตอบสนองได้อย่างฉับไวมากขึ้น

เมื่อองค์กรเดินมาถึงทางตัน เราจะพบว่ามีองค์กรหลายแห่งหันไปใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายที่สามารถบริหารจัดการดาต้าเบสหลายแบบผ่านแพลตฟอร์มเดียวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริการต่าง ๆ เช่น Database-as-a-Service (DBaaS) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและใช้ดาต้าเบสต่าง ๆ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยาก เช่น การติดตั้ง การกำหนดค่า การดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ด้านดาต้าเบสที่ซับซ้อน จะได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะองค์กรต่าง ๆ มองหาวิธีการที่ง่ายขึ้นเพื่อจัดการดาต้าเบสที่หลากหลายนี้ ควบคู่กับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

การเพิ่มขึ้นของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)

การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่อาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อปี 2564 ซึ่งสร้างความกังวลใจอย่างมากแก่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบส ทั้งในเรื่องของการป้องกันดาต้าเบสให้รอดพ้นจาก ransomware รวมถึงการดูแลไม่ให้ข้อมูลแบ็คอัพติดเชื้อไปด้วย

แม้ว่าการป้องกันการโจมตีจาก ransomware เป็นเรื่องท้าทายอันดับแรก แต่แพลตฟอร์มการบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ สามารถช่วยได้ในเรื่องของการกู้คืนข้อมูล (data recovery) การแพตช์จุดล่อแหลมด้านความปลอดภัยบนสภาพแวดล้อมไอทีแบบดั้งเดิม อาจก่อให้เกิดดาวน์ไทม์เป็นเวลานาน ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาของ Forrester Consulting ที่สนับสนุนโดยนูทานิคซ์ ระบุว่าตัวเลขการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานและรายได้ขององค์กรที่เป็นแบบ composite organization คิดเป็นมูลค่า 35,000 เหรียญสหรัฐฯ

ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ระบบบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรที่ติดแรนซัมแวร์สามารถกู้คืนระบบและย้อนกลับไปยังจุดที่ถูกต้อง ก่อนที่จะติดแรนซัมแวร์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการที่บุคลากรจะต้องดำเนินการแก้ไขแบบแมนนวลด้วยตนเอง

โซลูชั่นที่ช่วยให้สามารถแบ็คอัพข้อมูลตามกำหนดเวลาได้อย่างละเอียดจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่ผู้ดูแลดาต้าเบสและผู้จัดการฝ่ายไอที ฟังก์ชันนี้เปรียบได้กับโปรแกรมเล่นวิดีโอที่ฝังอยู่บนเว็บไซต์ โดยคุณจะสามารถย้อนกลับไปกลับมายังช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่องในขั้นที่ต้องการ ซึ่งนับว่าสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ข้อมูลแบ็คอัพอาจเป็นส่วนหนึ่งของดาต้าเบสที่ติดเชื้อ การกำหนดเวลาอย่างละเอียดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกู้คืนข้อมูลจากช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อแล้ว

บริหารจัดการดาต้าเบสได้เรียบง่าย

ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดการข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสภาพแวดล้อมด้านดาต้าเบสก็มีความซับซ้อนและมีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์กรต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องคำนึงถึง SLA ด้านประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจจำนวนมากมักจะรันแอปพลิเคชันและบริการที่มีความสำคัญต่อธุรกิจไว้บนดาต้าเบสขนาดใหญ่ โดยไม่มีการบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนและสิ้นเปลืองเวลาในการทำงาน และทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยโซลูชันที่ว่านี้จะต้องช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการฐานข้อมูลบนพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์บนระบบแบบเก่า ก็จะสามารถลดเวลาให้เหลือเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังช่วยให้สามารถปกป้องดาต้าเบสได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว หรือทำการโคลนข้อมูล (fast clone) และสร้างสแน็ปช็อตเพื่อช่วยในการกู้คืนข้อมูล จะเห็นได้ว่าดาต้าเบสมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอที เครื่องมือด้านการจัดการ และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดค่าใช้จ่าย กู้คืนข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และดำเนินงานในแต่ละวันได้อย่างราบรื่นไม่ยุ่งยาก