IDC จัดให้ Infor เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape ด้านการให้บริการ SaaS และโซลูชัน ERP ที่ใช้งานบนคลาวด์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในเอเชียแปซิฟิก 2021

infor

IDC จัดให้ Infor เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape ด้านการให้บริการ SaaS และโซลูชัน ERP ที่ใช้งานบนคลาวด์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในเอเชียแปซิฟิก 2021

Infor ได้รับการยอมรับด้าน SaaS และโซลูชันคลาวด์ ERP เฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท

อินฟอร์ (Infor) บริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ประกาศว่าบริษัทได้รับการจัดให้เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape: Asia/Pacific Manufacturing Cloud Enterprise Resource Planning 2021 Vendor Assessment report (doc #AP46741021, July 2021) รายงาน IDC MarketScape เป็นการประเมินผู้ขายเทคโนโลยีด้วยกรอบการประเมินที่ครอบคลุมและเข้มงวด ซึ่งจะพิจารณาถึงเกณฑ์การประเมินที่สำคัญ เช่น ความสามารถในการใช้งานข้ามแอปพลิเคชันและการรวมการทำงานเข้าไว้ด้วยกัน การอยู่ในตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ ราคาและรูปแบบของการปรับใช้งาน รวมถึงการให้บริการลูกค้า เกณฑ์ในการพิจารณาเจ้าของเทคโนโลยีแต่ละรายยังรวมถึงครอบคลุมอุตสาหกรรมใดบ้าง เริ่มตั้งแต่ขอบเขตของการให้บริการ ฟังก์ชันการใช้งาน ความสามารถด้านนวัตกรรม และความพึงพอใจของลูกค้า

คุณสเตฟานี คริชนัน Associate Vice President IDC Asia/Pacific กล่าวว่า “รายงาน IDC MarketScape for Asia/Pacific Manufacturing Cloud ERP ตอบคำถามเกี่ยวกับขีดความสามารถของผู้จำหน่ายเทคโนโลยีในภูมิภาค เพื่อสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตให้เติบโตไปตามเส้นทางอุตสาหกรรม 4.0 จากข้อมูลของเรา การลงทุนด้าน ERP ถือเป็นเทคโนโลยีตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิก เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมายสำคัญด้านประสิทธิภาพและนวัตกรรม ตลอดจนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ดังนั้น ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกจึงต้องการการบูรณาการ ระบบอัตโนมัติ และการเชื่อมต่อระบบให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ส่งผลให้ระบบ ERP บนคลาวด์ที่รวมปัญญาประดิษฐ์ (AI), อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) และการวิเคราะห์ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแรงกดดันที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ที่ทำให้ผู้ผลิตมองหาเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่สำคัญเหล่านี้ได้ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของตน

คุณเชมา อรัมบูรู รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัทอินฟอร์ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นตัวเร่งให้บริษัทต้องเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ การทำให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม และขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ โซลูชัน ERP สำหรับใช้งานบนคลาวด์แบบ Multi-Tenant (MT) ที่รองรับผู้ใช้งานหลายรายในหลากหลายรูปแบบของอินฟอร์ (CloudSuites) ช่วยให้ธุรกิจเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ก้าวไปสู่โครงการต่าง ๆ ของอุตสาหกรรม 4.0 โดยช่วยรวมศูนย์การตัดสินใจ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน การที่อินฟอร์ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำยิ่งตอกย้ำถึงตำแหน่งของเราในตลาดนี้ เราเข้าใจถึงความแตกต่างของอุตสาหกรรมที่ลูกค้าดำเนินการอยู่ และเราภูมิใจที่จะนำเสนอโซลูชันเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์และพร้อมใช้งานทันที ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาจัดการกับความท้าทายที่ไม่เหมือนใคร และปลดล็อกช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นให้กับธุรกิจของตน”

โซลูชัน Infor CloudSuite เป็นโซลูชันเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท และเป็นบริการคลาวด์บนโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย และปรับขนาดได้ของ Amazon Web Services (AWS) โซลูชัน Infor CloudSuite ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีชั้นนำของอินฟอร์เช่น Infor OS เพื่อขับเคลื่อนประสบการณ์ผู้ใช้ยุคใหม่พร้อมการผสานรวมและเวิร์กโฟลว์ ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน Infor ERP สำหรับอุตสาหกรรม: https://www.infor.com/solutions/erp/industry-erp

นวัตกรรมการจัดการคลังสินค้า ได้รับแรงกระตุ้นจาก ความคาดหวังของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาตรฐานสูงขึ้น

ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

นวัตกรรมการจัดการคลังสินค้า ได้รับแรงกระตุ้นจากความคาดหวังของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาตรฐานสูงขึ้น

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

ความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ธุรกิจระดับโลก และการค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้้งแต่การผลิตอาหารไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้องค์กรต้องปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานด้านซัพพลายเชน ลดค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในแต่ละวัน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้เกิดจากแรงกดดันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องตอบสนองต่อความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่ง
เคยชินกับการได้รับประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการเฉพาะตัวของตนและที่ไหนเมื่อไรก็ได้

ความกดดันนี้ค่อย ๆ กระจายมายังวงการคลังสินค้า แม้ว่าที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างจำกัดเพื่อประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ เช่น ระบบป้ายรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Radio Frequency Identification: RFID) หรือบาร์โค้ด แต่ความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่านี้กำลังจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ สำหรับผู้เพิ่งเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ IDC รายงานว่า ในปี 2566 งานต่าง ๆ ในคลังสินค้าจะมีการใช้หุ่นยนต์ และการจัดการด้านต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากถึง 65% ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้กว่า 20% และลดเวลาในการประมวลผลคำสั่งลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง แม้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงให้คลังสินค้าเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดอาจจะยังต้องใช้เวลาอีกมาก แต่เทคโนโลยีก็เป็นประโยชน์ต่องานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย

ระบบคลังสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจที่กระบวนการทำงานพื้นฐานของธุรกิจคลังสินค้าในภูมิภาคนี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าที่ผ่านมา งานด้านโลจิสติกส์และระบบคลังสินค้าจะไม่ได้รับการจัดให้มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ก็ตาม ทั้งนี้ การทำงานแบบดั้งเดิมซึ่งต้องพึ่งพาคนมากกว่าการนำระบบต่าง ๆ มาใช้ ทำให้องค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การจ้างพนักงานเพิ่ม เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นจัดการกับความท้าทายหรือข้อติดขัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในคลังสินค้านั้น

อย่างไรก็ตาม คลังสินค้ายุคใหม่มีจำนวนประเภทของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และต้องการเวลาในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสมบูรณ์ครบวงจรที่สั้นลง ก็กำลังท้าทายรูปแบบการทำงานดังกล่าวข้างต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น มักทำให้ระบบโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดมากขึ้นตามไปด้วย และอาจเป็นข้อผิดพลาดที่มีราคาแพงเกินที่จะแก้ไข ปริมาณการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกินความสามารถของพนักงานที่จะรับมือกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต่างตื่นตัวกับความจริงที่ว่า ถึงเวลาที่องค์กรจำเป็นต้องแสวงหาทางเลือกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ทันต่อความต้องการที่เข้ามายังคลังสินค้าต่าง ๆ ของตนได้

นอกจากนี้ความกดดันที่เกิดจากธุรกรรมอีคอมเมิร์ซบนช่องทางโซเชียลต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน การเพิ่มขึ้นของการซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซ ทำให้ความต้องการต่าง ๆ เกิดมาจากลูกค้าโดยตรง ลูกค้าที่คาดหวังว่าจะสามารถเห็นความเป็นไปและสถานะคำสั่งซื้อของตนเองได้ทันที รายละเอียดต่าง ๆ เช่น เส้นทางการขนส่ง การบรรจุหีบห่อ และการรับประกันว่าได้จัดส่งสินค้าที่ถูกต้องตามคำสั่งซื้อนั้น มีความสำคัญมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังต้องมีระบบรองรับความผิดพลาดใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขให้สิ่งต่าง ๆ กลับมาถูกต้อง การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น บริษัทต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ต้องเริ่มใช้แนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ มิฉะนั้นจะพบว่า การปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องเผชิญกับความคาดหวังและปริมาณงานที่เปลี่ยนไป จะทำให้ธุรกิจตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบอย่างมาก

โลจิสติกส์ในฐานะผู้สร้างความแตกต่าง
เมื่อโลจิสติกส์กลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจได้ ธุรกิจต่าง ๆ ควรปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบคลังสินค้าอย่างไร แนวคิดแบบเดิมประการหนึ่ง คือ การบริหารจัดการคลังสินค้าให้เป็นหน่วยงานเอกเทศและให้รองรับการ “อัปเกรด” ซึ่งแนวทางนี้อาจทำให้เกิดการฝึกอบรมพนักงานได้ดีขึ้น หรือแนวทางการใช้ระบบใหม่สักระบบที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการติดตามด้านโลจิสติกส์ แต่วิธีการนี้มักช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในแนวระนาบ และอาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดไว้

ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนไปใช้ป้ายรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (RFID) แทนบาร์โค้ดโดยตรงนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และส่งผลให้ต้องสแกนสินค้าเองเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้กำไรเพิ่มเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน การนำ RFID ไปติดไว้ที่บรรจุภัณฑ์ในขั้นตอนจัดเก็บบนแท่นวางสินค้าสำหรับลากเก็บหรือลำเลียง (pallet) ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการใหม่ จะสามารถเพิ่มความแม่นยำได้โดยใช้แรงงานน้อยที่สุด ในขณะที่การใช้บีคอน (beacons) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี IoT ส่งผ่านสัญญาณบลูทูธ เพื่อสนับสนุนระบบการบริหารจัดการทรัพยากรจะช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมาก

องค์กรที่จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างแท้จริง ต้องไม่มองงานด้านโลจิสติกส์ว่าเป็นเอกเทศแยกจากงานอื่น การที่โลจิสติกส์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทำให้งานด้านคลังสินค้าต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมทำประโยชน์ให้กับธุรกิจมากขึ้น เช่น งานประกอบสำเร็จบางประเภทสามารถทำที่คลังสินค้าได้ ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์สามมิติ (3D printing) ส่งผลให้คลังสินค้าแทบจะไม่ต้องผลิตงานจากการร้องขอเป็นครั้งคราวเลย

ก้าวต่อไปข้างหน้า
ตัวอย่างข้างต้น อาจจะต้องมีการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างการผลิตกับระบบคลังสินค้ากันใหม่ และอาจจำเป็นต้องปรับปรุงโมดูลด้านโลจิสติกส์ที่ใช้อยู่ในระบบ ERP ปัจจุบันด้วยเช่นกัน หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ต้องปรับใช้ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) แบบพิเศษ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น ทั้งนี้ WMS เป็นระบบบริหารจัดการที่สร้างจากวิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตั้งแต่ต้น สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น พร้อมการทำงานอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

โดยสรุป คลังสินค้าที่ทันสมัยสามารถทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมาก นอกจากเพิ่มประสิทธิภาพและเวลาในการตอบสนองที่รวดเร็วขึ้น การมีทรัพยากรมากขึ้น มุ่งพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานด้านต่าง ๆ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ ที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้า ประสบการณ์ที่จะทำให้ลูกค้าประหลาดใจและชื่นชอบ และหากทำได้สำเร็จจะช่วยให้ธุรกิจนำหน้าคู่แข่งได้

ธุรกิจมีความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการด้านโลจิสติกส์ มากกว่าการตั้งความหวังว่าจะมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากวิธีการแบบเดิม ๆ หากพิจารณาในแง่บวกจะพบว่า ค่าใช้จ่ายของระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความสามารถของเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาที่องค์กรต้องถามตัวเองว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว และเราพร้อมหรือยัง

ทำไมสถาปัตยกรรมแบบ multi-tenant จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง

infor

ทำไมสถาปัตยกรรมแบบ multi-tenant จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

องค์กรธุรกิจที่ตัดสินใจย้ายการทำงานไปยังระบบคลาวด์ มีทางเลือกที่เป็นโซลูชันตามรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันสองประเภท คือ แบบ Single-Tenant (ST) ที่รองรับผู้ใช้งานรายเดียวรูปแบบเดียว ซึ่งไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการใช้งานโซลูชันภายในองค์กรบนเทคโนโลยีของคนอื่น (ที่เรียกว่า โฮสต์ติ้ง) หรือแบบ Multi-Tenant (MT) ที่รองรับผู้ใช้งานหลายรายในหลากหลายรูปแบบ และสร้างขึ้นบนเทคโนโลยีคลาวด์ที่แท้จริงที่สามารถปรับขนาดการใช้งานเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก

การตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบใดไม่ว่า ST หรือ MT เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ควรพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ  การพิจารณาเพียงอย่างเดียวว่าจะเลือกพับลิคหรือไพรเวทคลาวด์ หรือไม่ก็อาจคาดว่าไพรเวทคลาวด์ปลอดภัยกว่า  แนวความคิดเช่นนี้อาจทำให้องค์กรเริ่มต้นเส้นทางปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในทิศทางที่ผิด จนนำไปสู่ความล้มเหลว  ประโยชน์เบื้องต้นจำนวนมากที่จะได้รับจากการใช้ MT cloud จะช่วยให้ผู้บริหารด้านไอทีและเพื่อนร่วมงานเข้าใจว่า เพราะเหตุใด MT cloud จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง

ระบบคลาวด์สำคัญอย่างไร

แนวทางการดำเนินงานที่องค์กรเลือกนั้นถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโซลูชันที่เลือกจะกำหนดพารามิเตอร์ในการอัปเกรด และชี้ให้เห็นความสามารถในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กร  หากองค์กรตัดสินใจผิดพลาดอาจส่งผลให้สูญเสียทรัพยากร รวมถึงเวลาและความพยายามของทีมที่ทุ่มเทไป  การที่องค์กรเปลี่ยนไปใช้โซลูชันแบบ ST อาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้ทีมไอทีต้องรับผิดชอบมากขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการนำความสามารถขั้นสูงที่ต้องใช้กับเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้งาน  น่าเสียดายที่องค์กรบางแห่งไม่ทราบถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในการย้ายไปใช้ ST จนถึงวันที่ต้องประสบกับปัญหาที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่าองค์กรกำลังย้ายปัญหาเดิม ๆ ที่มีอยู่ไปยังฮาร์ดแวร์ใหม่ในจุดที่ที่พวกเขาไม่เข้าใจและไม่สามารถเข้าถึงได้

ยึดโยงอยู่กับปัญหาเดิม ๆ หรือขจัดให้หมดไป

หนึ่งในเหตุผลที่น่าสนใจที่สุดว่าเพราะเหตุใดการเลือกใช้โซลูชันแบบ ST และ MT จึงสำคัญ คือ การอัปเกรดจะเป็นโอกาสให้องค์กรได้คิดค้นสิ่งใหม่ นำกระบวนการใหม่ ๆ มาใช้งาน จนกลายเป็นความคล่องตัวอย่างแท้จริง  ทั้งยังเป็นโอกาสให้องค์กรบอกลาการปรับเปลี่ยนที่มากจนเกินไป จนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการอัปเกรดและการนำกลยุทธ์ใหม่ ๆ มาใช้ในอนาคต  การย้ายโซลูชันดั้งเดิมขององค์กรไปยังคลาวด์จะทำให้ความไร้ประสิทธิภาพแบบเดิม ๆ หายไปและเกิดสิ่งใหม่แทนที่

ความแตกต่างของ Single tenant (ST) และ Multi-tenant (MT)

สถาปัตยกรรมแบบ Single tenant ลูกค้าแต่ละรายจะได้ใช้ซอฟต์แวร์ในโครงสร้างพื้นฐานเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากเหมือนกับที่ติดตั้งไว้ในองค์กร ช่วยให้องค์กรควบคุมการทำงานได้มากขึ้น แต่ก็ต้องลงแรงและลงทุนมากขึ้นเช่นกัน  องค์กรสามารถย้ายระบบดั้งเดิมทั้งหมด ที่มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนติดไปด้วยไปไว้บนคลาวด์  โดยที่จะยังคงสามารถดูแลฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม เช่น การรักษาความปลอดภัยและการสำรองข้อมูล หรือมอบความรับผิดชอบเหล่านั้นให้กับผู้ให้บริการโฮสต์โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาโซลูชัน

สภาพแวดล้อมแบบ multi-tenancy ช่วยให้ลูกค้าจำนวนมากสามารถใช้แอปพลิเคชันภายในสภาพ แวดล้อมการทำงานเดียวกันบนฮาร์ดแวร์และทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน  ซึ่งโมเดลแบบแชร์ค่าใช้จ่ายนี้จะช่วยลดต้นทุน ทำให้องค์กรได้ประโยชน์ในการดำเนินงานจากการใช้กระบวนการ การบำรุงรักษา และการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน  โซลูชัน MT ใช้ความสามารถในการปรับขยายและการตั้งค่าที่สามารถอัปเกรดให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ในขณะที่โซลูชันแบบที่ต้องปรับแต่งเองไม่สามารถทำได้

ความแตกต่างระหว่าง single tenant กับ multi-tenant ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของจำนวนบริษัทที่อยู่บนคลาวด์เหล่านี้เท่านั้น ความรับผิดชอบต่องานส่วนต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่ได้ก็แตกต่างกันด้วย

ข้อดีของการใช้ multi-tenant (MT)

ความสามารถที่ล้ำหน้า ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลาวด์ขนาดใหญ่ พร้อมความสามารถขั้นสูงต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoTs), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ฯลฯ

Platform as a Service สถาปัตยกรรมแบบ MT มีเครื่องมือแบบ no code/low code ดังนั้น ผู้ใช้ทางธุรกิจจึงสามารถสร้างรายงาน ปรับแต่งแบบฟอร์ม และอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการเขียนโค้ด

เครื่องมือสำหรับผู้ใช้งาน โซลูชัน MT สมัยใหม่มีเครื่องมือรองรับการปรับขยาย ปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบจากการแก้ไขที่ยุ่งยาก

โซลูชันคุณภาพสูงและล้ำสมัย  มั่นใจได้ในคุณภาพของโซลูชัน เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้งานกับ MT จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบและการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด

เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานแนวปฏิบัติดีที่สุดในอุตสาหกรรมจะถูกนำมาติดตั้งไว้เบ็ดเสร็จในโซลูชัน เช่น เวิร์กโฟลว์ประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากผู้ใช้งานรุ่นแรก ๆ 

เลี่ยงความยุ่งยากในการปรับแก้ – ไม่ต้องกังวลกับการอัปเกรด และวิธีปรับเปลี่ยนแก้ไขใด ๆ อีกต่อไป พราะเป้าหมายในการ “ไม่ต้องปรับแก้” จะช่วยให้ทีมจดจ่อไปที่ความสำเร็จใหม่ ๆ แทนที่จะยึดติดอยู่กับวิธีการเดิม ๆ ที่คุ้นเคย

เปลี่ยนเป็นดิจิทัล การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันต้องอาศัยคุณประโยชน์ต่าง ๆ จากคลาวด์แบบ MT ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดทำกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการระยะยาว  การใช้ multi-tenant ทำให้วิสัยทัศน์ในด้านนี้เป็นจริงขึ้นมาได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยได้รับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยและการโจมตีรูปแบบใหม่ ๆ อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ

สำรองข้อมูลและทำสำเนาข้อมูลเต็มรูปแบบอย่างอัตโนมัติ ในโซลูชันคลาวด์แบบ MT การสำรองข้อมูลอัตโนมัติจะดำเนินการแบบ full redundancy ในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักอย่างเฉียบพลันเนื่องจากพายุหรือภัยพิบัติ

ตอบสนองความต้องการใช้งานสูงสุด   โซลูชันคลาวด์แบบ MT ปรับขนาดการทำงานได้ง่ายเพื่อรองรับช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้งานสูงสุด

อัปเกรดอย่างต่อเนื่อง ทันสมัยอยู่เสมอด้วยการอัปเดตทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องเสี่ยงกับความล้าหลังอีกต่อไป

ควบคุมค่าใช้จ่าย ช่วยประหยัดทรัพยากรต่าง ๆ เช่น พนักงาน การรักษาความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุด รวมถึงพื้นที่สำหรับสำรองข้อมูลและการทำสำเนาข้อมูลเต็มรูปแบบ

คล่องตัว – ปรับกำลังความสามารถตามความจำเป็นเมื่อมีการควบรวมกิจการหรือขยายสาขา มีการอัปเดทอยู่สม่ำเสมอ ทำให้องค์กรขยายไปยังภูมิภาคใหม่ ๆ ได้โดยไม่ยุ่งยาก

นวัตกรรมทีมไอทีไม่ต้องใช้เวลากับการบำรุงรักษา จึงหันมาให้ความสำคัญกับงานด้านกลยุทธ์และการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น

บทสรุป

ในขณะที่ธุรกิจทั่วโลกในทุกอุตสาหกรรมพยายามอัปเกรดและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้ทันสมัยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ล้วนตระหนักถึงข้อดีในการปรับใช้คลาวด์  อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยน ไปใช้โซลูชันบนคลาวด์เป็นเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น  เพราะการปรับใช้คลาวด์แบบ multi-tenant ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ทำให้การประมวลผลบนคลาวด์เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความคล่องตัว ความปลอดภัย และฟังก์ชันการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขั้นสูง

Infor ครองตำแหน่งผู้นำด้าน Cloud ERP for Product-Centric Enterprises จากการจัดลำดับของรายงาน Gartner Magic Quadrant

infor

Infor ครองตำแหน่งผู้นำด้าน Cloud ERP for Product-Centric Enterprises จากการจัดลำดับของรายงาน Gartner Magic Quadrant

โดยประเมินจากโซลูชัน CloudSuite ของ Inforที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท

อินฟอร์ (Infor) บริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ประกาศว่า Gartner® Inc. ได้จัดให้ Infor เป็นผู้นำด้าน Cloud ERP for Product-Centric Enterprises ในรายงาน Gartner Magic Quadrant™ ประจำปี 2021

การได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้นำในรายงาน Gartner Magic Quadrant ในครั้งนี้ มาจากการที่ Gartner ประเมินโซลูชันด้าน CloudSuite เฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท (Industry-specific CloudSuite) ของ Infor ซึ่งประกอบด้วยแพลตฟอร์มในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ของ Infor นำขบวนโดย LN (ระบบ ERP ที่ช่วยลดความซับซ้อนและทำให้การผลิตเป็นอัตโนมัติ), M3 (ระบบ ERP ด้านการผลิตและจัดจำหน่าย) และ SyteLine (ระบบ ERP เพื่อวางแผนการผลิตสำหรับการผลิตชิ้นส่วนและการผลิตแบบต่อเนื่อง)

ดาวน์โหลดรายงาน Gartner Magic Quadrant ประจำปี 2021 ด้าน Cloud ERP for Product-Centric Enterprises ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ได้ที่นี่

นายโซมา โซมาซันดาราม หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Infor กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำในรายงาน Gartner Magic Quadrant เราเชื่อว่า Infor สร้างความต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของเราในตลาดด้วยโซลูชันด้าน multi-tenant cloud ERP ต่าง ๆ (CloudSuites) ซึ่งสร้างจากแนวคิด API-centricity และ data-centricity อย่างแท้จริง”

นายโซมากล่าวเสริมว่า “โซลูชันเหล่านี้ทำงานอย่างชาญฉลาด มีการกำหนดค่าไว้ล่วงหน้า และทันสมัย ทำให้เราสามารถช่วยลูกค้าให้เติบโตและทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล มี time-to-value เร็วขึ้น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและปรับขยายได้ของเรา ซึ่งรวมถึงแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ติดตั้งมาเบ็ดเสร็จ และการออกแบบที่ช่วยให้ใช้งานง่าย”

Gartner ได้ระบุไว้ในรายงาน Magic Quadrant for Cloud ERP for Product-Centric Enterprises ประจำปี 2021 ว่า “ตลาด ERP for product-centric enterprises กำลังเปลี่ยนเป็นรูปแบบการใช้งานบนคลาวด์อย่างรวดเร็ว ผู้นำด้านแอปพลิเคชัน ERP ควรใช้รายงาน Magic Quadrant นี้เพื่อประเมินชุดแอปพลิเคชันด้าน cloud ERP ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ ERP ที่รองรับการปรับเปลี่ยนได้”

รายงานของ Gartner ระบุว่า “ภายในปี 2023 องค์กรต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงแพลตฟอร์ม ERP จะมีความคล่องตัวด้านไอทีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40% เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ดีขึ้น”

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า “ภายในปี 2023, 60% ขององค์กรที่ใช้แนวทาง product-centric จะใช้ความสามารถของ ERP ที่เป็นมาตรฐานต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม ERP ที่รองรับการปรับเปลี่ยนได้”

Gartner ยังได้ระบุว่า “ภายในปี 2024, 60% ของแอปพลิเคชัน SaaS ที่ใช้ในระดับองค์กรจะอยู่ในรูปแบบแพ็คเกจที่รวมความสามารถทางธุรกิจที่ให้บริการด้านข้อมูล ข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงลึก และแอปพลิเคชันในการทำงานไว้ด้วยกัน”

Infor CloudSuite เป็นโซลูชันที่ปรับให้เหมาะกับการใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท และให้บริการในลักษณะ cloud services บน Amazon Web Services (AWS) ที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้ ทั้งนี้ Infor CloudSuites ใช้ Infor OS ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของ Infor เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้งาน เสริมประสิทธิภาพให้กับการบูรณาและเวิร์กโฟลว์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เยี่ยมชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.infor.com/solutions/erp/industry-erp

เตรียมพร้อมสู่ยุคใหม่ของความปลอดภัยและสุขภาพ

Fabio Tiviti

เตรียมพร้อมสู่ยุคใหม่ของความปลอดภัยและสุขภาพ

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

ไม่มีใครทราบเลยว่า การแพร่ระบาดของโควิดนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด และโลกของการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากเหตุการณ์นี้ แต่ที่แน่ ๆ ดูเหมือนว่าเราจะรับรู้ได้ถึงผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตเรานี้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมากมายที่เราได้ประสบในช่วง 12-18 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่า การทำงานเสมือนจริงไม่ว่าจะเป็นแบบไฮบริดที่ทำงานจากบ้านหรือจากที่ใดก็ตาม หรือเข้าออฟฟิศทุกวันเต็มเวลา ดูเหมือนว่าการทำงานแบบนี้จะยังคงอยู่กับเราต่อไปอีกนาน

ในมุมหนึ่ง โควิดให้โอกาสพิสูจน์แนวคิดเรื่องการทำงานจากที่บ้าน (work from home = WFH) ว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ จากการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแสดงให้เห็นว่า พนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ WFH มีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น เทียบได้กับการทำงานเต็มวันในทุกสัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจเพิ่มเติมจากรายงานฉบับนี้ยังแสดงให้เห็นว่า การ WFH ทำให้การลาออกของพนักงานลดลง 50% และมีการลาป่วยน้อยลงอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่ตอกย้ำข้อเท็จจริงนี้คือ การลดพื้นที่สำนักงานได้ช่วยประหยัดเงินค่าเช่าลงได้อย่างมาก โดยผลการศึกษาระบุว่า สามารถประหยัดได้ถึง 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อพนักงานหนึ่งคน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในทำนองเดียวกัน จากผลสำรวจของ Gartner เมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะยังคงอยู่ตลอดไป โดยมีผู้บริหารองค์กรจำนวนสูงถึง 82% วางแผนให้พนักงานทำงานจากระยะไกลในอนาคต อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงพาร์ทไทม์

ทว่าในขณะที่กลยุทธ์และนโยบายการ WFH ส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการกับวิกฤตท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรค ข้อบ่งชี้ถึงการทำงานระยะยาวแบบนี้เห็นได้ชัดว่า จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งผู้คน กระบวนการ และระบบ ตลอดจนโครงสร้างที่จำเป็นเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว มากกว่าเพื่อการวางแผนการทำงานในระยะสั้น

ผลลัพธ์ที่น่าแปลกใจ
อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่พึงตระหนักถึงในการจัดทำแผนกลยุทธ์ระยะยาว คือ ทางเลือกนี้ไม่ได้ปราศจากความเสี่ยงโดยสิ้นเชิง และเมื่อต้องประเมินกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ องค์กรต้องมองภาพรวมให้รอบคอบก่อนจะทำการตัดสินใจ

สำหรับประเด็นสำคัญด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีสิ่งที่ควรพิจารณาและไม่ควรมองข้าม ซึ่งจะเห็นได้จากการนำมาตรฐาน ISO ใหม่ – ISO 45003 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกที่ประเมินถึงความเสี่ยงด้านจิตสังคมฉบับแรกมาเริ่มใช้งานในเดือนมิถุนายน 2564 โดยมาตรฐานใหม่นี้จะให้คำแนะนำในการจัดการสุขภาพจิต และความปลอดภัยในการทำงาน เน้นในเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิต รวมทั้งการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิผล แรงกดดันที่มีมากเกินไป ความเป็นผู้นำที่ไม่ดี และวัฒนธรรมองค์กร โดยองค์กรที่มุ่งมั่นในความยั่งยืนสามารถปรับกลยุทธ์ระดับองค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติได้มากขึ้น เพราะการใช้มาตรฐาน ISO 45003 จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการรับรองสภาพการทำงานที่มีคุณค่า สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

มาตรฐานนี้ได้รับการแนะนำให้ใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่า แม้การทำงานระยะไกลจะมีความยืดหยุ่นก็ตาม แต่พนักงานที่ทำงานในออฟฟิศแบบดั้งเดิมจำนวนมากพบว่า ตนเองกำลังประสบกับภาวะหมดไฟจากการทำงานเมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาระหน้าที่และความต้องการ
ต่าง ๆ ภายในครอบครัว สำหรับหลาย ๆ คนเส้นแบ่งระหว่างงานกับบ้านอาจเลือนลาง จนทำให้การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวกลับตาลปัตร ไปเป็นการผสานชีวิตส่วนตัวและการทำงานเข้าด้วยกัน (work-life integration) ซึ่งแน่นอนว่าบางคนอาจปรับตัวได้ง่าย แต่ไม่ใช่กับทุกคน

จากมุมมองของนายจ้าง การติดตามและจัดการกับภาวะหมดไฟในการทำงานที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งสัญญาณด้านสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่นอกออฟฟิศ (virtual workforce) มีความสุข เกิดแรงจูงใจ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำให้เกิดผลเชิงบวกในท้ายที่สุดด้วย
ผู้ริเริ่มเรื่องนี้กำลังมุ่งเน้นที่ความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานที่ทำงานอยู่นอกออฟฟิศมากขึ้นเป็นสองเท่า โดยใช้แนวทางสร้างสรรค์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดความเสี่ยงลงให้เหลือน้อยที่สุด

การใช้แนวทางอย่างเป็นระบบ
การใช้แนวทางต่าง ๆ ดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท แต่บริษัทหลายแห่งก็หันมาใช้ระบบบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management: HCM) เป็นจุดเริ่มต้น โดยใช้ประโยชน์จากเกณฑ์วัดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทำให้เข้าใจถึงสุขภาพของพนักงาน ติดตามแนวโน้มและรูปแบบ และเน้นย้ำประเด็นที่ต้องให้ความสนใจแบบเรียลไทม์ โปรไฟล์ของพนักงานแต่ละคนสามารถสร้างขึ้นได้ตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะทางจากที่พักพนักงานถึงออฟฟิศ ตลอดจนการขาดงานจากการเจ็บป่วยและการนัดหมายทางการแพทย์ ซึ่งเมื่อนำมารวมกับการวิเคราะห์ของ Microsoft ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน เวลาประชุม จำนวนอีเมลที่ส่งออกแล้ว จะทำให้เห็นภาพว่าจำเป็นต้องยื่นมือเข้าไปช่วย ณ จุดใดบ้าง (design interventions) เพื่อทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ระบบประเภทนี้ยังช่วยระบุได้ว่า พนักงานมีความเหมาะสมที่จะทำงานระยะไกลในระยะยาวหรือไม่ ในความเป็นจริงที่ตรงกันข้ามกับความเข้าใจส่วนใหญ่พบว่า การทำงานแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุก ๆ คน ทั้งนี้เนื่องจากหลายคนจะพบว่าตนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นก็ต่อเมื่ออยู่ในออฟฟิศ เมื่อตระหนักถึงความสำคัญพื้นฐานนี้ องค์กรที่มองการณ์ไกลจึงใช้การวิเคราะห์ความสามารถเชิงคาดการณ์ เพื่อค้นหาโปรไฟล์ และขยายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ DNA ด้านพฤติกรรมของพนักงานแต่ละคนในองค์กร ปีที่ผ่านมา อินฟอร์ได้ทำการวิจัยในส่วนที่สำคัญนี้ ระบุโปรไฟล์จำนวนหนึ่งที่เหมาะสมที่สุดกับการทำงานระยะไกล โดยมีผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการโฟกัสที่งาน พร้อมจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละคน ตลอดจนความพร้อมและความสบายใจในการแสดงความคิดและอารมณ์ ซึ่งผลจากการวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่า พนักงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานระยะไกลนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยสนใจกับคำชมของคนนอกมากนัก แต่จะรู้สึกกระตือรือร้นเมื่อได้รับรู้ถึงความเร่งด่วนของงานที่ทำมากกว่า

การออกแบบแนวทางการทำงานแบบไฮบริด
ข้อมูลเชิงลึกประเภทนี้เผยให้เห็นถึงข้อกังวลของนายจ้าง ที่กำลังพิจารณาเปลี่ยนการทำงานทั้งหมดไปเป็นการทำงานแบบเวอร์ชวล หลายองค์กรเลือกใช้แนวทางแบบไฮบริดมากขึ้น เพื่อรองรับโปรไฟล์พนักงานที่หลากหลาย และเลือกใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้พนักงานได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่

สำหรับองค์กรที่ใช้วิธีทำงานแบบไฮบริด แม้แต่การจะเปลี่ยนกลับไปทำงานที่ออฟฟิศก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เพราะจะต้องมีการจัดตารางเวลาการทำงานที่สร้างสรรค์ของคนในออฟฟิศ เพื่อลดการทำงานใกล้กันให้เหลือน้อยที่สุด โดยจะต้องมีพื้นที่ในการทำงานที่กว้างขวางขึ้น พร้อมระบบกรองอากาศที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ควรต้องรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน

อนาคตของการทำงานมาถึงแล้ว
ขณะนี้ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลแล้วว่า การทำงานในออฟฟิศแบบเต็มเวลากำลังเหลือน้อยลงทุกขณะ และไม่ว่ารูปแบบการทำงานแบบเวอร์ชวลหรือไฮบริดจะเหมาะสมหรือไม่ก็ตาม สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ จะต้องทำตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดตามที่กำหนดไว้ในการรับรองมาตรฐาน ISO ใหม่ ที่ให้คำแนะนำในการจัดการสุขภาพจิต และความปลอดภัยในการทำงานโดยประเมินถึงความเสี่ยงด้านจิตสังคม ทั้งนี้ จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบที่เหมาะสมในการติดตาม ให้ความสำคัญ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้

รูปแบบการทำงานในอนาคตอยู่ที่นี่แล้ว และองค์กรที่มองการณ์ไกลกำลังสรุปกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงรักษาบุคลากรที่มีความสามารถที่องค์กรต้องการเอาไว้ เพื่อจะได้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคงท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวนมากขึ้นในอนาคต