การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริการจะช่วยให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม ก้าวไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างไร

ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริการจะช่วยให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม ก้าวไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างไร

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

สำหรับผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก เส้นทางของการฟื้นตัวหลังการระบาดอาจดูเหมือนยังห่างไกลและไม่ชัดเจน ความผันผวนทั่วโลก ช่องว่างที่เกิดขึ้นในระบบซัพพลายเชน และช่องทางการซื้อปกติที่หยุดชะงักยืดเยื้อมานานก็ยังยุ่งยากไม่จบสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตที่มีเงินสดสำรองลดน้อยลง ภาวะชะงักงันยิ่งเกิดขึ้นนานเท่าใด ก็ยิ่งกดดันให้ธุรกิจต้องรีบสร้างกระแสเงินสดให้มากขึ้นเท่านั้น  โชคยังดีที่เทคโนโลยีสามารถช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม (Industrial Machinery and Equipment: IM&E) ได้ประโยชน์จากความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ และจูงใจให้ลูกค้ากลับมาสานต่อโครงการที่หยุดชะงักได้อีกครั้งหนึ่ง

พบกันครึ่งทาง – หลักสำคัญ 8 ประการสำหรับผู้ผลิต IM&E ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ผู้ผลิตสามารถช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจขับเคลื่อนเดินหน้าต่อไป ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางช่วยนำพวกเขากลับเข้ามาในวงจรการซื้ออีกครั้ง ทำให้รู้สึกสบายใจกับการลงทุน และจุดประกายด้วยข้อเสนอของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับคำมั่นสัญญาที่มีมูลค่ามากขึ้น  การดูแลและคำแนะนำอย่างเอาใจใส่อาจเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวข้ามความลังเลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก และใส่ใจในด้านศักยภาพการเติบโตแทน

โซลูชันด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) สมัยใหม่ที่ใช้ในระบบคลาวด์ มักมีเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ผลิตปรับการทำงานให้เข้ากับลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค เทศบาล หรือการก่อสร้างเชิงพาณิชย์

การเอาใจใส่ดูแล ตัวแทนจัดซื้อเครื่องจักรกลและอุปกรณ์หนักก็ไม่ได้แตกต่างจากผู้บริโภคสินค้าบรรจุภัณฑ์มากนัก  ปัจจัยจูงใจนั้นจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน เช่น ผู้ซื้อรถยก เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครน และเครื่องมือเกี่ยวกับถนน ก็จะกังวลถึงความปลอดภัย ความพร้อมใช้งาน ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเหตุผลในการเลือกซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ราคาสูงขนาดนั้น  ทั้งนี้ ลูกค้า IM&E ต่างพร้อมที่จะสั่งซื้ออยู่แล้ว หากได้การรับประกัน การสนับสนุน และบริการเสริมที่มีมูลค่าเพิ่มจากซัพพลายเออร์ 

การทำงานร่วมกัน ผู้ผลิต IM&E สามารถปรับการทำงานให้เข้ากับลูกค้าได้ดีขึ้น ด้วยการจัดหาพอร์ทัลและเครื่องมือสื่อสารเกี่ยวกับรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ข้อมูลจำเพาะต่าง ๆ การจัดส่ง ตลอดจนสถานะของการให้บริการ อนึ่ง ผู้ผลิต IM&E จำเป็นต้องเปิดประตูแห่งการสื่อสาร โดยที่ยังคงสามารถรักษาข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์และความปลอดภัยระบบของตนไว้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากการซื้อ IM&E จำนวนมากจะเป็นแบบสั่งทำหรือผลิตตามคำสั่งของวิศวกร

ระบบซัพพลายเชนที่เชื่อมโยงถึงกัน อุตสาหกรรม IM&E ก็เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาติดขัดในระบบซัพพลายเชน ทำให้การปฏิบัติตามคำสั่งซื้อทำได้ช้าลง  ขณะที่ภาวะชะงักงันในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะพบจุดสมดุลในปี 2565 ประสบการณ์นี้ยังได้สอนให้ผู้ผลิตได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการมองเห็นระบบซัพพลายเชนแบบครบวงจร โดยไม่ต้องผูกติดอยู่กับซัพพลายเออร์เพียงรายเดียว  โดยผู้ผลิตจะสามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับการจัดส่งชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ด้วยการมองเห็นแบบเรียลไทม์ลึกลงไปในระบบซัพพลายเชนที่ขยายออกไปได้อีกหลายระดับ

ความซับซ้อน  ความซับซ้อนของกระบวนการในโรงงานเพิ่มขึ้นตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดของอุปกรณ์ อะหลั่ยมูลค่าสูง วัสดุพิเศษ ชิ้นส่วนไฮเทค รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เป็นต้น ทำให้ต้องมีการประสานงานขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้า  อีกทั้งต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อลดการสูญเสีย  รวมถึงการที่ทีมโรงงานจะต้องเข้าถึงข้อมูลการสั่งซื้อได้ง่าย เพื่อให้แน่ใจในข้อกำหนดเฉพาะของงานนั้น ๆ เพราะความเสียหายในกระบวนการผลิตอาจส่งผลให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง

การตั้งค่า – โซลูชันเพิ่มประสิทธิภาพการขายสำหรับตั้งค่า ราคา และใบเสนอราคา (Configure, Price, Quote: CPQ) มีบทบาทสำคัญในการช่วยลูกค้าเลือกรายละเอียดผลิตภัณฑ์ โซลูชัน CPQ จะแนะนำลูกค้าตลอดกระบวนการคัดเลือก นำเสนอการผสมผสานเชิงตรรกะ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเลือกนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด  โซลูชันเหล่านี้สามารถออกใบเสนอราคา สร้างภาพกราฟฟิก และรายการวัสดุ เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตตามคำสั่งซื้อได้  เทคโนโลยีเข้ามาปฏิรูปกระบวนการจัดซื้อ ช่วยให้ผู้ซื้อได้รับคุณสมบัติหลายอย่างรวมกันตรงตามต้องการ โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งผลิตภาพและประสิทธิภาพสำหรับผู้ผลิต

นวัตกรรม การสาธิตคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้กลับมาสนใจหรือกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง  โซลูชัน Product Lifecycle Management (PLM) สำหรับจัดการวงจรการผลิตของอุตสาหกรรมจะช่วยเร่งการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานและการจัดทำเอกสาร ซึ่งรวมถึงการทดสอบและการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางอุตสาหกรรมใด ๆ ที่จำเป็น

บริการหลังการขาย – การบริการภาคสนามเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการปรับการทำงานให้ใกล้ชิดกับลูกค้าเป็นการสร้างความสัมพันธ์และรากฐานสำหรับต่อยอดการขายและการซื้อซ้ำจากลูกค้า  ทว่า การบริการภาคสนามจำเป็นต้องมีการจัดการชิ้นส่วนจำนวนมากที่เคลื่อนย้ายได้ ตั้งแต่การส่งช่างเทคนิคภาคสนามตลอดไปจนถึงการจัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ในสินค้าคงคลัง  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้โซลูชันที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพ  ซึ่งสัญญาการให้บริการและข้อตกลงการรับประกันแบบแบ่งเป็นแผนต่าง ๆ จะช่วยสร้างรายรับให้กับผู้ผลิตเป็นโบนัสเพิ่มเติมได้

การให้บริการ – เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแก้ไขปัญหาเรื่องกระแสเงินสดของตนได้ โดยแทนที่ลูกค้าจะต้องซื้ออุปกรณ์สักชิ้นก็เปลี่ยนเป็นมาทำสัญญากับซัพพลายเออร์เพื่อผลลัพธ์ดังที่กล่าวมา เพราะลูกค้ามั่นใจในผลลัพธ์ที่จะได้ในตอนท้าย  โดยซัพพลายเออร์จะใช้เซ็นเซอร์อุปกรณ์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) เพื่อติดตามประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรในไซต์งาน

บทสรุป

ผู้ผลิต IM&E สามารถใช้โอกาสนี้ผลักดันให้เกิดผลมากขึ้น ด้วยการใช้โซลูชันซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยบนระบบคลาวด์  โซลูชัน ERP บนคลาวด์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ IM&E ให้คุณสมบัติต่าง ๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ขั้นสูง ความสามารถของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) รวมถึงโซลูชันเพิ่มประสิทธิภาพการขายสำหรับกำหนดค่า ราคา และใบเสนอราคา ที่จะช่วยให้ผู้ผลิต IM&E มีเครื่องมือที่จำเป็นในการเสริมแกร่งด้านเวลาการตอบสนอง และรับรองกับลูกค้าได้อย่างมั่นใจว่าผู้ผลิตจะสามารถทำงานให้เสร็จตรงเวลาและเป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ

อนาคตของความยั่งยืนด้านอาหาร

อนาคตของความยั่งยืนด้านอาหาร

อนาคตของความยั่งยืนด้านอาหาร

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บริษัทต่าง ๆ จะต้องดำเนินการเชิงรุกในส่วนของตนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าจะผ่านการร่วมมือกับภาครัฐ การใช้เครื่องมืออัจฉริยะ และการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อการเติบโตและการปรับตัว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชากรที่เพิ่มขึ้น และการระบาดของโควิด-19 เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งที่กำลังมีอิทธิพลและกำลังมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบอาหารของโลก  การที่บริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต้องเผชิญกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลานั้น บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มจำเป็นต้องถอยหนึ่งก้าวเพื่อประเมินเสียใหม่ว่าบริษัทของตนอยู่ ณ สถานะใดในเรื่องของความยั่งยืน

สำหรับเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่มีโซลูชันใดโซลูชันหนึ่งที่เหมาะสมไปกับทุกธุรกิจ  ในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องให้องค์กรทบทวนเรื่องผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัสดุและกระบวนการต่าง ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงวิธีที่จะสามารถเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับการดำเนินงานทุกด้านของตน

แนวทางแรกที่ควรทำคือการให้คำจำกัดความว่า ความยั่งยืนในการดำเนินงานของบริษัทคืออะไร และจะเริ่มใช้แนวทางต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกสายงานของบริษัทอย่างไร จากนั้นทำการเชื่อมโยงเส้นทางการเปลี่ยนสู่การดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนของบริษัทเข้าด้วยกัน เช่น เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทตั้งไว้ และกรอบการดำเนินธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่วางแผนไว้ในปัจจุบัน  แนวทางสุดท้ายคือการกำหนดและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเป้าหมายต่าง ๆ และวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้เร่งกระบวนการต่าง ๆ

ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน

ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญมากในสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน วิธีการทำงานแบบสองประสานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดหมายด้านความยั่งยืนนี้ เป็นแนวทางสำคัญที่จะมั่นใจได้ว่าสามารถแก้ปัญหาที่ยืดเยื้อได้จริง

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนเสียตั้งแต่ต้นทางของการเกิดปัญหา เป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะมีนโยบายและโครงการที่สนับสนุนการทำงานด้านความยั่งยืนให้กับธุรกิจต่าง ๆ และลดความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ธุรกิจยังต้องตระหนักว่าตนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อลูกค้า ซึ่งพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าล้วนต้องการความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ การศึกษาจึงเป็นหัวใจหลักทั้งกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่แบบองค์รวม การสนับสนุนจากภาครัฐจะช่วยให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่มระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรรมนี้ สามารถรวมตัวกันเพื่อจำแนกความท้าทายต่าง ๆ และหารือเกี่ยวกับโอกาสต่าง ๆ ในหลายแง่มุม เช่น การผลิตผลิตผลด้านอาหาร การผลิตในโรงงาน และบรรจุภัณฑ์ รวมถึงสามารถรวบรวมนวัตกรรมการวิจัย และความพยายามต่าง ๆ ในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ด้วยกัน

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นกรณีศึกษาด้านความพยายามด้านความยั่งยืนที่เน้นความร่วมมือแบบองค์รวมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ  เอเชียแปซิฟิกมีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายขององค์กรทุกขนาดต่างตระหนักถึงหน้าที่ของตนที่มีต่อส่วนรวม เช่น มาตรการด้านความยั่งยืนในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในบางรัฐของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ตลอดจนการนำการผลิตอาหารท้องถิ่นมาใช้ในสิงคโปร์

ถึงแม้ว่าผู้บริโภคต่างพยายามเต็มที่เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำกลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล แต่ไม่มีอะไรดีไปกว่าการยับยั้งไม่ให้พลาสติกและความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์หลุดลอดเข้ามาใน value chain เสียตั้งแต่เริ่มต้น และนี่เองที่นวัตกรรมและความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ ด้วยการใช้นโยบายและผลิตภัณฑ์ทำการแทรกแซงเสียตั้งแต่ต้นทางเพื่อสร้างความยั่งยืน

เป็นอีกครั้งที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยบริษัทต่าง ๆ คำนวณต้นทุนการดำเนินการของทางเลือกในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ใช้ซ้ำได้หรือย่อยสลายได้  ข้อมูลที่รวบรวมจากการวิเคราะห์เหล่านี้ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) จะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ทรัพยากรทางเลือกและกระบวนการผลิต หรือกระบวนการผลิตใด ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง

ขนาดธุรกิจไม่ใช่ปัญหา

กรณีเรื่องขนาดของผู้ประกอบการนี้ แม้แต่เกษตรกรรายย่อยก็อาจพบว่าตนอยู่บนทางแยกระหว่างความยั่งยืนและความอยู่รอด เครื่องมือที่ชาญฉลาด เช่น การใช้เซ็นเซอร์ที่ใช้ความสามารถของอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ทำการติดตามสภาพการเจริญเติบโตของผลผลิต ลดการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง และเพิ่มผลผลิต ควบคู่กับการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ของผลผลิตที่คาดหวังไว้ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค จะช่วยให้เกษตรกรมีความคล่องตัวและตอบสนองต่อเงื่อนไขต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศกับองค์กรขนาดใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เกษตรกรรายย่อยสามารถใช้ทรัพยากรจากองค์กรใหญ่ ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงาน และความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายนี้จะสามารถเร่งให้เกิดนวัตกรรมที่คล่องตัวในองค์กรขนาดใหญ่ได้เช่นกัน ความร่วมมือต่าง ๆ จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้อย่างสะดวก และได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

สำหรับผู้ที่กังวลเกี่ยวกับ “greenwashing” ซึ่งหมายถึงการที่บริษัทใช้ประโยชน์เรื่องความยั่งยืนมาเป็นเทรนด์ในการสร้างกำไรนั้น  มีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้  ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้วางแนวทางและข้อจำกัดในการยับยั้งการกระทำดังกล่าว ไม่ว่าจะผ่านรูปแบบการจัดการฉลากและการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือการตรวจสอบย้อนกลับที่มากขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท ซึ่งทั้งระดับความรับผิดชอบและความโปร่งใสที่สูงขึ้นล้วนเป็นผลลัพธ์และวิธีป้องกันที่ต้องการให้เกิดขึ้น

โลกที่กำลังเปลี่ยนไป

หากถามว่าโควิด-19 เผยให้เห็นความไม่มีประสิทธิภาพของระบบอาหารของโลกอย่างไรทั้งในเรื่องของการจัดหาอาหาร ความขาดแคลน และความสูญเปล่า ผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบที่ธุรกิจได้รับ คือ ธุรกิจที่มีการพัฒนาและปรับกระบวนการดำเนินงานจะก้าวหน้าและประสบความสำเร็จกว่าธุรกิจอื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

บริษัทที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ต่างแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อสร้างความเติบโต ด้วยการบูรณาการความยั่งยืนของธุรกิจหลักทั้งหมดเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร ไม่ว่าจะผ่านการลดบรรจุภัณฑ์ ลดการสูญเปล่าในระบบซัพพลายเชน หรือการฟื้นฟูส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบนิเวศ

สิ่งสำคัญกว่านั้น คือบริษัทเหล่านี้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยให้เปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกำลังมองไปข้างหน้าหลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเทคโนโลยีจะยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือและนวัตกรรมที่ทันสมัย ยั่งยืน และยืดหยุ่นให้กับทุกภาคส่วน และนำพาบริษัทต่าง ๆสู่อนาคตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

เทรนด์ยอดนิยมที่ขับเคลื่อนการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน

ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ทุกองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้คลาวด์ และยอมรับว่าการย้ายโซลูชันภายในองค์กรไปยังคลาวด์จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่าง ๆ มากมาย ต่างไปจากยุคแรก ๆ ของการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งมาก ช่วงนั้นอาจเป็นเพราะธุรกิจยังไม่คุ้นเคยกับคลาวด์ ทั้งยังกังวลเรื่องความปลอดภัย การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการสูญเสียโซลูชันในองค์กรที่ปรับแต่งไว้มากมาย  ปัจจุบันบริษัทให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มคลาวด์ และแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ความสามารถที่แข็งแกร่ง และความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งล้วนช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้งานคลาวด์มากกว่าที่เคยเป็นมา

เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบคลาวด์เป็นรากฐานที่สำคัญของการปรับปรุงธุรกิจให้ทันสมัย  สำหรับองค์กรธุรกิจที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ลองมาพิจารณาเทรนด์สำคัญบางประการที่จะแสดงให้เห็นว่า การย้ายไปยังระบบคลาวด์ไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตอีกด้วย 

    1. ความจำเป็นในการขจัดข้อมูลแยกส่วน และให้ทุกฝ่ายตัดสินใจโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน

ข้อมูลของโซลูชันภายในองค์กรมักถูกจัดเก็บเป็นแบบแยกส่วน และให้ข้อมูลเชิงลึกเพียงเล็กน้อยแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่สำคัญ ทำให้ผู้บริหาร พนักงาน และคู่ค้าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้โดยตรง  ในทางกลับกัน โซลูชันคลาวด์จะจัดเก็บข้อมูลรวมศูนย์ไว้ในคลาวด์ สร้างระบบบันทึกหนึ่งเดียวสำหรับการใช้งานขององค์กร โดยมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเข้าถึงได้จากทุกที่ทั่วโลก ระบบคลาวด์ช่วยให้มีการนำข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำในเวลาและบริบทที่เหมาะสม  ส่งผลให้องค์กรตัดสินใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและลดความเสี่ยงในการดำเนินงานอีกด้วย

    1. ความสามารถที่ออกแบบมาเฉพาะให้กับแต่ละอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้องมี ไม่ใช่ “มีก็ดี” อีกต่อไป

ธุรกิจต้องการให้โซลูชันทางธุรกิจของตนมีความสามารถที่ออกแบบมาเฉพาะเหมาะกับประเภทของอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า  ผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำจะกำหนดค่าคุณสมบัติเฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมไว้ล่วงหน้าในโซลูชันของตน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจต่าง ๆ จะมีฟังก์ชันเฉพาะที่ตนต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีการปรับแก้ไขที่ซับซ้อนใด ๆ ทำให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และให้รากฐานที่มั่นคงสำหรับความสำเร็จในระยะยาว

    1. พนักงานในปัจจุบันล้วนต้องการได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ทันสมัย

เมื่อคนดิจิทัลยุคใหม่เข้าสู่โลกแห่งการทำงาน พวกเขาต้องการเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย และรองรับการใช้งานตามแบบที่ชอบ  ซึ่งโดยปกติแล้วจะหมายถึงซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะและให้ความรู้สึกเหมือนกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ และโซเชียลแพลตฟอร์มที่พวกเขาใช้ในชีวิตประจำวัน และที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและการทำงานร่วมกันได้ในทันที  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า พันธมิตร และซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศทางธุรกิจทั้งหมด

    1. การปรับใช้ไฮบริดคลาวด์จะเป็นศูนย์กลางการทำงานเพราะการผสานรวมดีขึ้น

ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมองหาโซลูชันที่ให้โอกาสในการเลือกพร้อมประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อที่จะสามารถใส่ใจไปกับสิ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างแท้จริง  การเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์ทำให้ธุรกิจมีทางเลือกในการใช้งานที่หลากหลาย  ในความเป็นจริงองค์กรในปัจจุบันจำนวนมากก็มีองค์ประกอบระบบคลาวด์ที่เชื่อมโยงกับชุดโซลูชันหลักภายในองค์กรอยู่แล้ว  ปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปจะเปลี่ยนจากแนวทางการใช้งานแบบไฮบริด ไปเป็นการใช้งานคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ  โดยที่เทคโนโลยีสำหรับการผสานรวมยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านความสะดวกในการใช้งาน เวลาในการติดตั้งเพื่อใช้งาน และต้นทุนรวม (TCO)

    1. ไว้วางใจพันธมิตรระบบคลาวด์เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตแทรกซึมอยู่ในแทบทุกอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้มั่นใจว่า ระบบและแพลตฟอร์มขององค์กรได้รับการปกป้องทางการเงิน  การละเมิดข้อมูลหรือการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตทำให้ธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยถึง 3.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเกิดช่องโหว่มากมายที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี  พันธมิตรระบบคลาวด์ชั้นนำของอุตสาหกรรมมีทรัพยากรสำหรับรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์พร้อมใช้งาน มากกว่าที่องค์กรส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะสามารถหามาใช้ได้เอง  ดังนั้น องค์กรจึงสามารถส่งมอบหน้าที่การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และค่าใช้จ่ายที่มีนัยสำคัญเหล่านี้ให้กับพันธมิตรระบบคลาวด์ที่มีความรับผิดชอบได้อย่างวางใจ ด้วยการย้ายระบบและแพลตฟอร์มธุรกิจของตนไปยังระบบคลาวด์

ภัยคุกคามทางไซเบอร์

6. ผลักดันให้เกิดรายได้หลังการขาย ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจแบบ subscription-based

ในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมองหาวิธีสร้างความแตกต่าง ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เพิ่มความสามารถในการทำกำไร ด้วยการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้หลังการขาย  โซลูชันบนคลาวด์สามารถให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่เข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ทำให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนข้อเสนอด้านผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมไปเป็นรูปแบบของการให้บริการแทน อย่างเช่น โมเดลธุรกิจแบบ subscription-based เป็นต้น  ฟีเจอร์ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางเช่นนี้สามารถกลายเป็นตัวสร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้กับบริการ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ป้องกันไม่ให้สินค้าและบริการเกิดความซ้ำซ้อน รวมถึงเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ  การใช้โมเดลธุรกิจแบบ subscription-based จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ด้านรายได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามปกติตามระยะเวลาที่ลูกค้าสมัครใช้งาน  ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้องค์กรเพิ่มการมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลกำไรของธุรกิจด้วย

ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

ธุรกิจจำเป็นต้องเปิดรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อให้ทันกับยุคสมัย เพื่อทำให้ธุรกิจคล่องตัวมากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและตลาดที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่น การขจัดการแยกส่วนของข้อมูลจะช่วยให้องค์กรทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น มีข้อมูลที่ถูกต้องและอัปเดตตลอดเวลา เพื่อช่วยในการตัดสินใจ  ฟังก์ชันที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของตนได้  รวมถึงประสบการณ์ผู้ใช้ทันสมัยและการใช้งานง่ายจะยิ่งช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โซลูชันธุรกิจที่ใช้งานบนระบบคลาวด์เป็นกุญแจสำคัญสำหรับองค์กรในการปรับวิธีดำเนินธุรกิจให้ทันสมัย  ทว่าการโยกย้ายงานไปยังระบบคลาวด์ก็เป็นสิ่งที่สามารถปรับตามความเหมาะสมได้  การใช้งานแบบไฮบริดช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นำมาปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจได้ ในขณะเดียวกันก็ยังอาศัยระบบเดิมที่มีอยู่ได้เพื่อใช้ฟังก์ชันการทำงานสำคัญที่อาจยังไม่พร้อมย้ายไปยังระบบคลาวด์  ไม่ว่าระบบธุรกิจขององค์กรจะอยู่ในคลาวด์ทั้งหมดหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด แต่ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของระบบคลาวด์นั้นก็นับว่าแข็งแกร่ง และสามารถพัฒนาได้เร็วกว่าการใช้งานที่อยู่ในระบบขององค์กร  และวิธีดำเนินการในแนวใหม่นี้ก็จะทำให้มีโอกาสในการสร้างรายได้และโมเดลธุรกิจใหม่แบบขึ้น เช่น บริการ subscription-based เป็นต้น

คลาวด์คอมพิวติ้งได้พัฒนาไปไกลมาก  ยิ่งธุรกิจรอใช้โซลูชันบนระบบคลาวด์นานไปเท่าใด การแข่งขันที่ต้องอาศัยประโยชน์จากคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าก็ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้น  (หากธุรกิจต้องการประสบความสำเร็จ) อย่ายอมที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

หลากหลายหนทางสู่ระบบคลาวด์

เมื่อองค์กรกำหนดกลยุทธ์ย้ายการดำเนินงานไปสู่ระบบคลาวด์ ขั้นตอนแรกที่สำคัญ คือ การพิจารณาลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจองค์กร  เลือกเส้นทางสู่คลาวด์ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าได้สูงสุด
โดยมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์หนึ่งในสามข้อนี้

ฟังก์ชันหลักของธุรกิจ 

การย้ายฟังก์ชันสำคัญทางธุรกิจไปยังระบบคลาวด์ เช่น การวางแผนจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP) หรือการบริหารจัดการด้านการเงิน สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีนัยสำคัญ เพียงแต่ต้องใช้เวลาสักระยะ
ถึงจะเห็นผลตอบแทนเหล่านั้น

กระบวนการทางธุรกิจให้แคบ

หนึ่งในวิธีสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทนจากการลงทุน คือ การมุ่งเน้นไปที่กระบวนการทางธุรกิจที่แคบ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบกับเฉพาะบางทีมภายในองค์กรเท่านั้น  บ่อยครั้งที่โซลูชัน “เอดจ์” เหล่านี้มักทำให้ธุรกิจได้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มทรัพยากรสำหรับโครงการขนาดใหญ่

วัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

การย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ช่วยให้ธุรกิจรวบรวมข้อมูลจากทั่วองค์กรและขจัดการเก็บข้อมูลแบบ
แยกส่วนได้  ซึ่งสิ่งนี้ช่วยทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ทีมงานทั้งรายบุคคลและทั้งทีมทำงานได้ดีขึ้น 

 

คาดการณ์ 3 อันดับระบบซัพพลายเชนที่จะเกิดในปี 2565

infor

คาดการณ์ 3 อันดับระบบซัพพลายเชนที่จะเกิดในปี 2565

infor

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ปี 2565 นับเป็นปีที่สามในการเผชิญกับภัยพิบัติด้านสุขภาพทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผลกระทบรุนแรงจากความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ประเด็นของความไม่แน่นอนและความกังวลที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะยังคงเกี่ยวกับปัญหาด้านความพร้อมของแรงงานและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่สำหรับโหลดสินค้า เซมิคอนดักเตอร์ ความพร้อมใช้งานของรถพ่วงสำหรับลากตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนพื้นที่จัดเก็บของคลังสินค้า

ดังนั้น อนาคตทางสังคมและเศรษฐกิจของเราทุกคนอาจจะยังรางเลือนไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงเทศกาลวันหยุด อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นรูปแบบของซัพพลายเชนแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความสับสนวุ่นวายทางการค้า และการขนส่งสินค้าทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งแนวโน้ม 3 ประการที่เราจะต้องเผชิญในปีนี้ ได้แก่

1) ปัญหาเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ตามท่าเรือสำคัญในอเมริกาเหนือและยุโรปเหนือ จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 2566 เนื่องจากความแออัดและความล่าช้าในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงปัญหาการขนส่งที่เกิดขึ้นแต่ใน “มหาสมุทร” เท่านั้น แต่ได้กลายเป็นปัญหาของเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกไปแล้ว ปริมาณการขนส่งสินค้าขาเข้าที่เพิ่มขึ้นจากเอเชีย (จากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงเป็นประวัติการณ์) กอปรกับปัญหาเกี่ยวกับแรงงานที่ท่าเรือ คนขับรถบรรทุก พนักงานขนถ่ายคลังสินค้า ตลอดจนปัญหาตู้คอนเทนเนอร์และรถพ่วงที่ว่างพร้อมใช้งาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนถ่ายของเรือเดินทะเล และส่งผลกระทบถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากท่าเรือไปยังคลังสินค้า หรือสถานที่แยกสินค้าที่อยู่ภายในประเทศอีกด้วย

2) บริษัทต้องจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใช้ตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจะยังคงเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง นอกเหนือจากการมองเห็นสินค้าคงคลังในระหว่างการขนส่งแบบเรียลไทม์แล้ว บริษัทจะต้องมีการตั้งเป้าในการดำเนินงานใหม่ เน้นให้มองเห็นการขนส่งแบบองค์รวมในหลากหลายมิติ แทนการมุ่งแสวงหาต้นทุนที่ต่ำลงเพียงอย่างเดียว เช่น พื้นที่โหลดสินค้า การดำเนินงานและสภาพการเงินของซัพพลายเออร์ จุดขนส่งสำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้า และความคืบหน้าในการควบคุมดูแลการขนส่งตลอดเส้นทาง เป็นต้น และเพื่อช่วยให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วขึ้นเมื่อเกิดปัญหาภายในเครือข่ายซัพพลายเชนหรือช่องทางการขนส่งทั่วโลก ความยืดหยุ่นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อยกเว้นเพื่อช่วยให้ระบุและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น (exception monitoring) เพราะความสำเร็จในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าปลายทางน้้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ขึ้นอยู่กับการควบคุมและความยืดหยุ่นที่เพิ่มมากขึ้นในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทาง

infor

3) รูปแบบของระบบซัพพลายเชนทั่วโลกในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน ได้แก่

      • ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศที่สูงขึ้นจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไป แม้ว่าความแออัดและข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตในปัจจุบันได้ลดลงมาอยู่ในระดับใหม่ที่สมดุลทั้งโลกแล้ว
      • ตลาดการขนส่งสินค้าในช่วง ‘ไฮซีซัน’ แบบดั้งเดิมจะเริ่มเร็วขึ้นและลากยาวกว่าปกติ
      • สัญญาการขนส่งสินค้าระยะสั้นจะเพิ่มมากขึ้น
      • ผู้ส่งสินค้าจะยังคงเพิ่มการใช้งานผู้ให้บริการขนส่งทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าของเรือหรือไม่มีเรือเป็นของตนเอง (Non-Vessel-Operating Common Carriers – NVOCCs) และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์แบบ third-party (3PLs) เพื่อให้มั่นใจว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับการโหลดสินค้า
      • ผู้ส่งสินค้าจำนวนมากขึ้นจะแลกเปลี่ยนพื้นที่โหลดสินค้าที่มีการคาดการณ์ไว้ ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลากับผู้ให้บริการหลักของตน เพื่อปรับปรุงการวางแผนเครือข่ายการขนส่งสินค้าโดยรวม
      • ผู้ส่งสินค้าและผู้รับสินค้าปลายทางจำนวนมากขึ้นจะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าสำหรับรถพ่วงและตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มพื้นที่โหลดสินค้าในเครือข่าย
      • ผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากขึ้นจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์และ
        ซัพพลายเชนระดับโลก โดยเน้นเรื่องความผันผวนของอุปทานที่ลดลง ควบคู่ไปกับการจัดการต้นทุนเพื่อปกป้องสายการผลิต ประสบการณ์ลูกค้าปลายทาง รวมถึงผลกำไรของธุรกิจโดยรวม

ความไม่แน่นอนของความท้าทายด้านอุปทานและอุปสงค์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้กลายเป็น “นิวนอร์มัล” ของผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนไปแล้ว ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับปรุงเทคโนโลยี และเครื่องมือบริหารจัดการซัพพลายเชนที่พวกเขาใช้ทุกวัน ทั้งนี้ การเชื่อมต่อกับพันธมิตรได้มากขึ้นและยืดหยุ่นขึ้น มีแหล่งข้อมูลภายนอกมากขึ้น รวมถึงมีเครือข่ายซัพพลายเชนที่ชาญฉลาดที่เชื่อมโยงความต้องการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไว้ด้วยกันในท้ายที่สุด ที่เกิดจากการวางแผนการจัดซื้อและการจัดส่งตั้งแต่ต้นทาง จะช่วยให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าจะสามารถตอบสนองและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต

การแก้ไขปัญหาขยะอาหารในเอเชีย ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นผู้นำในการลดขยะอาหารได้อย่างไร

infor

การแก้ไขปัญหาขยะอาหารในเอเชีย ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นผู้นำในการลดขยะอาหารได้อย่างไร

Infor

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

รายงานฉบับใหม่ของ Food Waste Index Report ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมีอาหารกว่า 1.3 พันล้านตันถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งคิดเป็นประมาณเกือบหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด โดยเป็นขยะอาหารจากครัวเรือนสูงถึง 60% ของจำนวนทั้งหมด และที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านั้น คือ ขยะอาหารทั่วโลกมากกว่าครึ่งเกิดขึ้นในเอเชียนี่เอง

ตัวเลขของขยะอาหารเป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก เพราะขยะอาหารในทุกวันนี้ได้กลายเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกใหญ่เป็นอันดับสาม ทำให้ระบบอาหารทั่วโลกกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศมากที่สุด และปริมาณการสูญเสียอาหารก็เป็นเรื่องจริงที่ยากจะทำใจยอมรับได้

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่า มีปริมาณขยะอาหารประมาณ 78.69 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และยังขาดการติดตามและจัดเก็บข้อมูลด้านการสูญเสียและขยะอาหารอย่างเป็นระบบ กรมควบคุมมลพิษจึงร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการการจัดการของเสียแบบผสมผสานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (Integrated Waste Management for GHG Reduction) จัดทำ “การจัดทำแผนที่นำทางการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย (ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ประกอบอาหาร และผู้บริโภค)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์การจัดการขยะอาหารในประเทศไทย นำเสนอดัชนีขยะอาหาร (Food Waste Index) รวมถึงความคิดเห็นในการจัดทำแผนที่นำทางการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย พ.ศ. 2564–2573 ที่ตั้งเป้าให้ลดปริมาณขยะอาหารลงร้อยละ 25 ภายในปี พ.ศ. 2568 และร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2573

นอกจากนี้ จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระบุว่า สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ยังให้เงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาในการสํารวจปริมาณและที่มาของขยะอาหารและแนวทางในการลดขยะอาหาร โดยมีโรงแรมหลายแห่งเข้าร่วมโครงการ และมอบหมายให้องค์กรอิสระ Scholars of Sustenance (SOS) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรที่มีระบบในการขนส่งอาหารที่ได้มาตรฐาน ทำหน้าที่กระจายอาหารส่วนเกินจากโรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้าปลีก ไปยังสถานสงเคราะห์หรือชุมชนที่ต้องการ

โชคดีที่ยังมีการรับรู้ถึงปัญหาเร่งด่วนนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายหน่วยงานทั่วภูมิภาคเอเชียได้พยายามอย่างมากที่จะลดขยะอาหาร โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องวันที่ควรบริโภคก่อน (best-before date) ซึ่งเป็นช่วงที่สินค้าจะมีคุณภาพดีที่สุด กับวันที่สินค้าหมดอายุ (use-by date) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว และส่งผลกระทบต่อเนื่องทั่วทั้งภาคส่วน ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผู้นำ โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์อัจฉริยะ เพื่อสกัดกั้นปัญหาตั้งแต่ต้นทาง

รายละเอียดทุกอย่างปรากฎอยู่บนฉลาก

ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ต้องแก้ไข คือ ความสับสนของผู้บริโภคเกี่ยวกับวันที่ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ ในประเทศเกาหลี ผลสำรวจที่จัดทำโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพแห่งเกาหลี (Korea Health Industry Development Institute) พบว่า 56.4% ของผู้บริโภค จะโยนอาหารทิ้งก่อนเวลาอันควร โดยดูจาก “ควรบริโภคภายในวัน” (“sell-by” dates) ซึ่งระบุว่าของชิ้นนั้นจะวางอยู่ในร้านได้ไม่เกินวันที่ระบุข้างกล่อง แทนที่จะดู “วันหมดอายุ” (“use-by” dates) เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาเนื่องจากการระบุวันสำหรับร้านค้าแบบแรกมักจะทำให้เข้าใจผิด เพราะโดยปกติแล้วจะหมายถึงอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ 60-70% เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ กระทรวงความปลอดภัยด้านอาหารและยาของเกาหลีจึงกำหนดให้ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการติดฉลากอาหาร โดยใช้การระบุวันหมดอายุแทนวันสำหรับร้านค้าทั้งหมด ซึ่งจะเป็นอายุที่นานกว่า และไม่มีผลกระทบด้านความปลอดภัยใด ๆ หากผลิตภัณฑ์ได้รับการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม

เมื่อเกิดความสับสนและความเข้าใจผิดกันอย่างมากเกี่ยวกับฉลากวันที่ของผลิตภัณฑ์ การที่ผู้บริโภคมีความตระหนักรู้และข้อมูลที่มากขึ้น จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการลดการสูญเสียอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่สามารถดำเนินการเชิงรุก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของผู้บริโภค ในเรื่องการระบุวันที่ที่ผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพดีที่สุด (best-before) ไม่ใช่วันหมดอายุ ตลอดจนการใช้กฎระเบียบติดฉลากมาตรฐานตามที่เกาหลีได้ทำไว้

ชั้นวางสินค้าอัจฉริยะ และการแจ้งเตือนวันหมดอายุสินค้า

ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งได้เริ่มทดลองใช้ชั้นวางสินค้าอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยลดราคาสินค้าให้สอดคล้องกับวันหมดอายุ และวันที่ที่ผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพดีที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพพอที่จะนำไปใช้งานในบ้านได้ โดยใช้กับตู้เย็นอัจฉริยะที่สามารถแจ้งเตือนผู้บริโภคถึงวันหมดอายุที่ใกล้จะถึง รวมถึงเตือนให้รับประทานผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะหมดอายุ

การใช้อายุการเก็บรักษาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถูกปรับตามคุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์นั้น สามารถใช้เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค เพราะเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมนี้มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว และสามารถเป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้ได้ โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจของตน

การเปลี่ยนวิธีการติดฉลากและจัดเก็บผลิตภัณฑ์จะทำให้ผู้ผลิตมีโอกาสจะขึ้นเป็นผู้นำในวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของการยืดอายุการเก็บรักษาให้นานสูงสุด เพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารที่มากจนน่าตกใจในแต่ละวัน

การรวมโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเข้าไปในสมการ

เมื่อพูดถึงเรื่องอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ การแก้ไขต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ สินค้าที่เน่าเสียง่ายก็ต้องใช้วิธีแบบหนึ่ง และแม้แต่สินค้าที่ไม่เน่าเสียง่ายก็อาจแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละล็อตผลิต ดังนั้น การนำความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning – ML) เข้ามาใช้งานร่วมกันในด้านนี้ จะทำให้ผู้ผลิตสามารถเตรียมพร้อมสำหรับสต็อกสินค้าที่มีตัวแปรต่าง ๆ เกี่ยวข้องในกระบวนการได้ดียิ่งขึ้นในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชนตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงกำหนดอายุการเก็บรักษาแบบไดนามิกสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์

ในทางปฏิบัติ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสภาพของส่วนผสม และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทาง โดยพิจารณาจากเวลาและปัจจัยแวดล้อมในการจัดเก็บและการขนส่งในทุกระยะ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการผลิต ตลอดจนการจัดทำโปรไฟล์คุณภาพของวัตถุดิบ และการตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เมื่อมาถึงร้านค้าปลีก ซึ่งเหมาะต่อการนำอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (Internet of Things – IoTs) มาใช้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก IoTs สามารถตรวจสอบตัวแปรสำคัญต่าง ๆ และส่งข้อมูลที่สำคัญนี้กลับเข้าสู่ระบบอัจฉริยะเพื่อการวิเคราะห์ได้ โดยจะช่วยกำหนดวันหมดอายุที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะสอดคล้องกับคุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์ในแต่ละล็อตการผลิต

ประโยชน์สามต่อที่ผู้ผลิตจะได้รับ

นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมต่าง ๆ จากความละเอียด และการมองเห็นของข้อมูลทั่วทั้งซัพพลายเชนอีกด้วย เนื่องจากระบบที่เหมาะสมสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็น เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และให้ทางเลือกในการจัดหาแหล่งผลิตได้ดียิ่งขึ้น เช่น ผู้ผลิตจะได้รับแจ้งถึงส่วนผสมที่ต้องการและเวลาที่จะได้รับส่วนผสมนั้น ทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนสูตรเพื่อชดเชยกับความล่าช้า หรือข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับคุณภาพของส่วนผสม ในทำนองเดียวกัน ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบหาแหล่งผลิตส่วนผสมจากแหล่งอื่นได้หากพบว่าซัพพลายเออร์รายใดรายหนึ่งขาดสินค้า หรือเปลี่ยนไปใช้การขนส่งแบบอื่นแทนหากวิธีขนส่งที่ใช้อยู่มีส่วนทำให้อายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สั้นลง

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดและขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ยังสามารถส่งผลเชิงบวกต่อผลกำไรของธุรกิจได้อีกด้วย ในขณะที่ส่วนผสมที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติจะให้อายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่นานกว่า ทว่า หากในที่สุดแล้วตัวผลิตภัณฑ์เองยังมีอายุการเก็บรักษาที่จำกัด เราก็ต้องตั้งคำถามถึงประโยชน์ในการจ่ายเพิ่มสำหรับส่วนผสมที่จะต้องมีความเสถียรและอยู่ได้นานขึ้น เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ธุรกิจจำนวนมากพยายามที่จะลดการสต็อกสินค้าให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในที่สุด การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์อัจฉริยะจึงเป็นสิ่งสำคัญ และส่งผลช่วยให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์มากกว่าถึงสามต่อ ทั้งในเรื่องการลดการสูญเสียอาหาร ประหยัดต้นทุนทางธุรกิจ และปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ธุรกิจที่มองการณ์ไกลในภูมิภาคเอเชียต่างตระหนักดีถึงเรื่องนี้ และนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ไปปรับใช้กับซัพพลายเชนทั้งหมดของตน เพื่อปูทางไปสู่การลดปริมาณขยะอาหารทั่วโลก

การสูญเสียอาหารเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในทุกระดับของระบบนิเวศ โดยมีผลสะท้อนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตทั่วทั้งอุตสาหกรรมจึงค้นหาโซลูชันที่ชาญฉลาดและมีความรับผิดชอบ เพื่อจัดการกับหนึ่งในวิกฤตการณ์เร่งด่วนที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้