ความเปลี่ยนแปลงคือการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่?

Disruption as the new normal?

ความเปลี่ยนแปลงคือการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่?

บทความโดย อิซาเบลลา กุสุมาวาตี, รองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี, บริษัทอินฟอร์

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า โควิด-19 ทำให้ซัพพลายเชนด้านอาหารต้องหันมาสู้แบบหลังชนฝา บางรายถึงกับกล่าวว่า โควิด-19 ต้องรับผิดชอบในการทำให้ซัพพลายเชนด้านอาหารพังทลายลงอย่างสิ้นเชิง  สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้นับเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของปัญหาอุตสาหกรรมอาหารโลก  การขาดแคลนแรงงานและทักษะอย่างหนัก กอปรกับปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งทางทะเลที่ติดอยู่ตามท่าเรือต่าง ๆ ต้นทุนการขนส่งที่พุ่งทะยาน และยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น  ทั้งหมดนี้หมายถึงว่าผู้ผลิตอาหารจำนวนมากกำลังประสบกับปัญหาการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันต้องรักษาผลกำไรให้ได้  ซึ่งเป็นการซ้ำเติมจุดอ่อนในซัพพลายเชนด้านอาหารทั่วโลกให้ทรุดหนักลงไปอีก  ดังนั้น ธุรกิจอาหารต่าง ๆ ทั่วโลกจึงต้องหาวิธีต่าง ๆ และพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะยืนหยัดให้ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางอุปสรรคนานัปการ

The Centre for Food Policy ศูนย์สหวิทยาการเพื่อพัฒนานโยบายด้านอาหารทั่วโลกของประเทศอังกฤษ อธิบายถึงระบบอาหารว่าเป็น “ระบบที่ทำให้ทุกอย่างและทุกคนเชื่อมโยงถึงกัน ทั้งที่มีอิทธิพลต่อและได้รับอิทธิพลจากกิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภคและอื่น ๆ”  ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้แปรรูปอาหารที่ตกอยู่ท่ามกลางระบบที่ซับซ้อนนี้ จึงต้องเผชิญกับจุดอ่อนและปัญหามากมายทั้งที่ต้นทางและปลายทางของซัพพลายเชนที่ใหญ่ขึ้น  และผลจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้เปิดเผยและทำให้จุดอ่อนของซัพพลายเชนที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ยิ่งทรุดหนักลงไปอีก  เพราะภายใต้แรงกดดันที่เกิดจากความคาดหวังของลูกค้า และความท้าทายของซัพพลายเชนที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารจำนวนมากต้องประเมินอย่างเร่งด่วนถึงความยืดหยุ่นด้านซัพพลายเชนที่ตนมีอยู่

ในท้ายที่สุด การจัดหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้กับลูกค้าที่ใช่ในเวลาที่ถูกต้อง ก็ยังคงเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เสริมด้วยแรงกดดันจากระยะเวลาในการรอคอยสินค้าและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น  เรื่องที่ธุรกิจจำนวนมากทราบดีคือ ความจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้มากขึ้นทั่วทั้งซัพพลายเชน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันได้มากขึ้น มองเห็นภาพรวมที่ครอบคลุมทั้งระบบ ตลอดจนการหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาซัพพลายเชนที่ชาญฉลาดมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ในเวลาเดียวกัน การดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้ซัพพลายเชนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อจะได้สามารถระบุปัญหาติดขัดและความด้อยประสิทธิภาพต่าง ๆ ก่อนที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงก็ยังคงสำคัญอย่างยิ่งยวดเช่นกัน  

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลตระหนักดีถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อซัพพลายเชนในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข จึงได้พยายามเดินหน้าผลักดันความเชื่อมโยงของซัพพลายเชน เศรษฐกิจดิจิทัล และการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้พบปะผู้นำภาคเอกชนสหรัฐอเมริกา และลงนามร่วมกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการส่งเสริมความเข้มแข็งของซัพพลายเชน เพื่อกระชับมิตรภาพและความเป็นหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ และย้ำความสนใจร่วมกันในซัพพลายเชนที่เข้มแข็ง หลากหลายและมั่นคง รวมทั้งผลประโยชน์ร่วมกันจากการหารือ ความร่วมมือและการประสานงานเพื่อลดความเปราะบางในระบบซัพพลายเชน ลดภาวะการหยุดชะงักและเพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศสามารถเข้าถึงสินค้าสำคัญได้ตลอดเวลา

ก้าวสู่ดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการกล่าวถึง ‘ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน’ อยู่บ่อยครั้งในฐานะเป็นยาครอบจักรวาลสำหรับรักษาอาการป่วยไข้ของธุรกิจทุกประเภท ซึ่งรวมถึงปัญหาต่าง ๆ ด้านซัพพลายเชนด้วย  ทว่า สำหรับผู้ผลิตอาหารที่ยังกังวลถึงเรื่องผลกำไรที่ลดน้อยถอยลงเรื่อย ๆ นั้น หากเป็นกรณีต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นโดยเฉพาะ การพลิกโฉมเป็นซัพพลายเชนดิจิทัลแบบจัดเต็มย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเสมอไป แต่ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการแบ่งโปรเจกต์ใหญ่ ๆ ออกเป็นแนวคิดต่าง ๆ ที่สามารถจัดการได้มากขึ้น เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่น ๆ ขององค์กร

จากรายงานของศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า ในปี 2565 Market Research คาดว่าตลาดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกจะมีมูลค่า 6.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มจะเติบโตถึง 8.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2569  การสร้างตลาดใหม่และการตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคได้คือความท้าทายสำคัญที่ธุรกิจต้องเผชิญ  ดังนั้น การเข้าใจแผนภาพหรือเทรนด์อาหารในอนาคตจึงเป็นโอกาสของผู้ผลิต  ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาหารของไทยควรปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยปรับจุดอ่อนเพิ่มจุดแข็งจากการอาศัยแรงหนุนของปัจจัยแวดล้อมรวมถึงเทรนด์ของตลาด ในด้านสร้างโอกาสทางธุรกิจหรือเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ, สร้างภาพลักษณ์หรือปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจให้ทันกระแสโลก และที่สำคัญคือ การลงทุนโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต, พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบวัตถุดิบและอาหาร

เพิ่มการมองเห็นสูงสุดทั่วทั้งองค์กร  

การใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากข้อมูลที่ได้จากซัพพลายเชนที่ใหญ่กว่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน จะต้องจัดให้อยู่ในลำดับงานที่มีความสำคัญมาก เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพสูงสุดในการมองเห็นและความโปร่งใสทั่วทั้งองค์กร  ดังนั้น การสร้างมาตรฐานและบูรณาการระบบธุรกิจเข้าด้วยกันจึงเป็นวิธีเดียวที่จะทำเช่นนี้ได้

นายโรเบิร์ต วีเลอร์ รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายซัพพลายเชนของ Kalsec ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชันการรับรสและประสาทสัมผัสจากธรรมชาติ การปกป้องอาหาร รวมทั้งโซลูชันสีและโซลูชันฮ็อปขั้นสูงสำหรับหมักเบียร์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีโรงงานถึง 8 แห่งทั่วโลก ขายให้กับลูกค้ากว่า 80 ประเทศ พร้อมแหล่งจัดหาวัตถุดิบกว่า 40 ประเทศ กล่าวว่า “เราใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) และระบบการจัดไลฟ์ไซเคิลผลิตภัณฑ์ (PLM) สำหรับกระบวนการ Optiva ของ Infor ในทุกไซต์งานของเราทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เชื่อมต่อกันได้ทั่วทุกภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังทำให้เราได้แหล่ง ข้อมูลจริงเพียงหนึ่งเดียว (Single Source of Truth – SSOT) สำหรับกระบวนการทางธุรกิจหลักอีกด้วย” เช่น ระบบ ERP ที่ช่วยจัดการเรื่องสินค้าคงคลังในทุกสถานที่  ปัจจุบัน Kalsec เห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ในระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของบริษัทฯ ตั้งแต่ใบเสร็จจากซัพพลายเออร์ที่รอดำเนินการไปจนถึงการจัดส่งถึงลูกค้าและทุกเรื่องในระหว่างนั้น  นายวีเลอร์กล่าวเสริมว่า “เทคโนโลยีนี้ทำให้เรามีข้อมูลเชิงลึกพร้อมสรรพที่จำเป็นต่อการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างธุรกิจที่คล่องตัว”

ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ การรวมระบบที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเข้าไว้ด้วยกัน จะขจัดขั้นตอนการทำงานแบบแมนนวลที่ต้องใช้เวลานาน ตลอดจนเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อีกด้วย  นายวีเลอร์ กล่าวว่า “เราต้องการระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันหลักอื่น ๆ ที่ใช้ในธุรกิจ เพื่อช่วยปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน และทำให้เวลาในการตอบสนองลูกค้าดีขึ้น”  ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นผ่านระบบที่บูรณาการเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์ ขจัดการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ทั้งเวลาและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย  สำหรับองค์ประกอบหลักของธุรกิจอาหารอื่น ๆ เช่น การรับรองการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับด้านสุขภาพและความปลอดภัย ประสิทธิภาพในเรื่องที่กล่าวมานับว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้การบริหารที่เป็นพื้นฐานและจำเป็นต่อการดำเนินงานภายในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มรวดเร็วขึ้นด้วย

การวางแผนที่เป็นเลิศ

เมื่อมาถึงประเด็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ระบบ ERP ที่เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างได้เช่นกัน  ทำให้สามารถเข้าถึงระดับสต็อกและสินค้าคงคลังที่แม่นยำและทันเวลา รวมถึงการคาดการณ์ที่ช่วยให้บริษัทอาหารมั่นใจได้ว่า จะมีการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อและมีการใช้มาตรการฉุกเฉินเมื่อจำเป็น เช่น การคาดการณ์ความล่าช้าในการจัดส่งส่วนผสม เป็นต้น  นอกจากนี้ จำนวนสต็อกที่ถูกต้องยังใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อได้ด้วย  โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นจากการแปลงข้อมูลต่าง ๆ เป็นข้อมูลเชิงลึก ที่ช่วยให้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยความรู้สึกปลอดภัยเพราะทราบว่า การตัดสินใจเหล่านี้มาจากพื้นฐานข้อมูลเชิงลึกตามบริบทที่ถูกต้องเหมาะสม  ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ธุรกิจคล่องตัวพร้อมเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับซัพพลายเชน ด้วยข้อมูลเชิงลึกและการมองการณ์ไกลที่ระบบเหมาะสมเท่านั้นจะสามารถให้ได้

ธุรกิจอาหารจำต้องคุ้นชินกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่เช่นนี้ให้ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง  ซัพพลายเชนจึงต้องไตร่ตรองเรื่องความเป็นจริงใหม่นี้ เพื่อให้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคงยามต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด  ซึ่งวิธีเดียวที่จะทำเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทที่อยู่ในศูนย์กลางของซัพพลายเชนเพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจของตนได้ตามที่กล่าวมา และจะต้องใช้ข้อมูลธุรกิจเชิงลึกเป็นแนวทางการดำเนินงานของตนและของซัพพลายเชนที่ใหญ่ขึ้นด้วย  ผู้ผลิตอาหารเหมาะจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยสร้างซัพพลายเชนที่มั่นคง คล่องตัวและยืดหยุ่นให้พร้อมรับมือกับความท้าทายนานัปการที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

ภูมิภาคที่มีความหลากหลายมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้ง คุณอิซาเบลลา กุสุมาวาตี ดำรงตำแหน่งรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี (SEAK) คุณอิซาเบลลาจะประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบการขยายธุรกิจในภูมิภาค SEAK ของอินฟอร์ เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศ และนำความเจริญเติบโตมาสู่อินโฟร์ในสิงคโปร์, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และเกาหลีต่อไป

คุณเชมา อรัมบูรู รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “เรายินดีต้อนรับคุณอิซาเบลลาเป็นผู้นำภูมิภาค SEAK ภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินฟอร์ เธอเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม ด้วยประวัติการทำงานที่แข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และการสร้างทีมขายที่มีประสิทธิภาพสูงในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คลาวด์, การใช้งานบนอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย, ปัญญาประดิษฐ์และ IoT ทำให้เรามีโอกาสมากมายในการช่วยลูกค้าเร่งสร้างนวัตกรรมให้ครอบคลุมทั่วธุรกิจของพวกเขา  ผมเชื่อมั่นว่า อิซาเบลลาจะเป็นบุคลากรทรงคุณค่าของอินฟอร์ พันธมิตร และเป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าของเรา”

คุณอิซาเบลลานำประสบการณ์กว่าสองทศวรรษในการบริหารจัดการการขาย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาธุรกิจและตลาดใหม่มาใช้  ล่าสุดเธอดำรงตำแหน่งรองประธานและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ SUSE  ก่อนหน้านี้คุณอิซาเบลลาเคยดำรงตำแหน่งผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ Salesforce, SAP, Oracle และ Microsoft  ซึ่งเธอได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและพันธมิตร ตลอดจนคว้ารางวัลความสำเร็จอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการขาย ความเป็นผู้นำ และพนักงานดีเด่น

ในฐานะพลเมืองในภูมิภาคที่มีความหลากหลายเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณอิซาเบลลาจึงสามารถพูดภาษาต่าง ๆ ที่สำคัญในภูมิภาคนี้ได้ กอปรกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการค้าในเอเชีย ทำให้เธอมีความได้เปรียบในบทบาทนี้  เธอเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของ Women’s Business Network ซึ่งเป็นสมาคมการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นภายในธุรกิจและสังคม และเป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจอันแรงกล้าในการสนับสนุนความเป็นผู้นำและด้านเทคโนโลยีของสตรี

คุณอิซาเบลลา กล่าวว่า “ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลีกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความสนใจและความต้องการระบบคลาวด์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม และผลลัพธ์เชิงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม  การที่ธุรกิจต่าง ๆ หลุดพ้นจากความไม่แน่นอนหลังการแพร่ระบาดในช่วงสองปีที่ผ่านมา พวกเขาจึงมองหาโซลูชันเทคโนโลยีที่สามารถรองรับความต้องการในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความคล่องตัว, ประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และการเข้าใจความต้องการการใช้งาน  อินฟอร์สร้างโซลูชัน CloudSuite ที่เฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ และเพื่อให้การนำนวัตกรรมทางธุรกิจออกสู่ตลาดเกิดได้เร็วขึ้น  ดิฉันยินดีที่ได้ร่วมงานกับครอบครัวอินฟอร์ และพร้อมจะขับเคลื่อนความสำเร็จและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าและพันธมิตรของเราทั่วภูมิภาค SEAK”

จากดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

From Digital to Continuous Transformation

จากดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การพูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้กลายเป็นหัวข้อในการประชุมผู้บริหารไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนวิธีการทำงานที่ทันสมัย รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการสำหรับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้เร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมากมาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความจำเป็นเร่งด่วนในการเปิดรับรูปแบบการทำงานจากทุกสถานที่ และจัดการกับความต้องการที่ผันผวนไปอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตระหนักถึงคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ มีการลงทุนที่สมเหตุสมผลมากขึ้น และจำนวนผู้บริหารที่สนับสนุนความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เพิ่มจำนวนขึ้น  ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปรับใช้คลาวด์ควบคู่ไปกับความสามารถในการผสานรวมด้วย API ที่ทันสมัย ช่วยขับเคลื่อนขั้นตอนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นไปได้  ระบบคลาวด์ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด การรักษาความปลอดภัย และศักยภาพของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยรวบรวมข้อมูลทั่วทั้งองค์กรตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงแบบไดนามิก  การนำมาปรับใช้เช่นนี้เป็นการนำศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินธุรกิจบรรจบเข้าด้วยกัน และเพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการทำงานมากขึ้น ทว่า ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ก็ยังคงมีข้อบกพร่อง         

หรือจะเป็นคำจำกัดความที่ผิดพลาด?

เพราะอย่างน้อยในสถานการณ์ส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงมักจะหมายความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง ในขณะที่พจนานุกรมออกซฟอร์ดหมายถึง “การเปลี่ยนแปลงโดยสมบูรณ์สำหรับบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง” โดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงจะเกิดกับหนึ่งเหตุการณ์หรือชุดเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงไปสู่จุดประสงค์เดียวกัน

สำหรับความหมายด้านดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มักจะอยู่ในรูปแบบของโครงการเดียว เช่น ซอฟต์แวร์ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร (ERP) แบบใหม่ หรือกลุ่มโครงการต่อเนื่องเพื่อสร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมมากขึ้น มุ่งเน้นที่การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลการเป็นวิธีสำคัญในการปรับปรุงให้ทันสมัย เร่งการตัดสินใจ รวมถึงการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับทั้งในด้านประสบการณ์และประสิทธิภาพทางเงิน แต่หากการเปลี่ยนแปลงนี้สิ้นสุดลงหลังการใช้งานจริงของเทคโนโลยีที่รองรับ ข้อดีต่าง ๆ ก็จะลดลงไปตามเวลาที่
ผันผ่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สภาพแวดล้อมดิจิทัลที่แท้จริง

วินสตัน เชอร์ชิล เคยกล่าวไว้ว่า “การปรับปรุงคือการเปลี่ยนแปลง จะสมบูรณ์แบบได้ต้องหมั่นปรับเปลี่ยน” แม้ว่าความสมบูรณ์แบบในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในปี 2565 นี้ แต่สำหรับธุรกิจต่าง ๆ กลับไม่เคยรู้สึกจริงจังมากขึ้นขนาดนี้มาก่อน

การรักษาสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่แท้จริง ซึ่งสามารถฟื้นคืนเป็นปกติ ปรับขนาด และยืดหยุ่นได้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ลดความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของตลาดนั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงครั้งเดียวย่อมไม่สามารถทำได้  เราดำเนินงานอยู่ในสภาพที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนเกิดอุตสาหกรรมและหน้าที่ความรับผิดชอบของงานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อตามให้ทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น ภายใต้เรื่องนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสำรวจโมเดลธุรกิจและช่องทางใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ต้องสร้างวิธีการใหม่ให้อยู่ใน DNA ของธุรกิจ และพร้อมที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ในเรื่องใหม่ ๆ หรือความท้าทายต่าง ๆ ที่ใช้การกดปุ่มเพียงแค่คลิกเดียว

ธุรกิจจำนวนมากจะยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เรื่องนี้ถือเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการวางแผน ทว่า การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลที่จำเป็นต่อการเติบโตในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงจำต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  แม้ว่าเรื่องนี้จะดูคล้ายกัน แต่ก็เป็นแนวทางพื้นฐานในการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสม มากกว่าจะมุ่งเน้นไปที่การคัดเลือกเทคโนโลยี  การเปลี่ยนจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานไปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนนั้น จะต้องใช้แนวทางในการบริหารจัดการบุคคลที่มีความสามารถมีทักษะ การลงทุนเฉพาะด้าน ตลอดจนวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงในระยะยาวด้วย

Amazon มักได้รับการกล่าวถึงในฐานะเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ดีที่ใช้แนวทางเฉพาะนี้อย่างเป็นรูปธรรม บริษัทฯ ระบุว่า นวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในช่วงเวลาหนึ่งเหมือนแฮกกาธอน หรือศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจที่แข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ หากแต่เกิดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของงานในแต่ละวัน ในทางปฏิบัติทุกการประชุมและการตัดสินใจที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นไปเพื่อแน่ใจว่า ลูกค้าจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทฯ ในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งส่วนหนึ่งของเป้าหมายนี้หมายถึงการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเพื่อลูกค้า การตระหนักรู้จากภายนอก รวมถึงการมองหาไอเดียใหม่ ๆ นอกองค์กร โดยจะต้องไม่ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนด “ห้ามรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น”  ผู้สร้างนวัตกรรมจะแก้ไขและปรับปรุงข้อเสนออย่างต่อเนื่องตามความคิดเห็นของลูกค้าเป็นหลัก ภายใต้การวางแผนระยะยาวที่กำหนดอยู่ในกรอบค่านิยมหลักที่ฝังแน่นอยู่ใน Amazon มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง 

การเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด

โดยทั่วไป โครงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เราเคยเห็นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสำหรับองค์กรส่วนใหญ่  แต่สำหรับบริษัทที่เชี่ยวชาญและมองการณ์ไกลกำลังสร้างแนวทางในการพัฒนา ตรวจสอบ และลงทุนในกระบวนการ แนวทางปฏิบัติ ตลอดจนระบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้แน่ใจว่าความสามารถที่มีอยู่จะได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความต้องการและความแตกต่างที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจนั้น ๆ เมื่อเติบโตขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปของตลาดปัจจุบันที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทได้ตามความจำเป็น

การแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ผลสำรวจของผู้ผลิตเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับว่า อุตสาหกรรมการผลิตจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมก่อนเกิดการแพร่ระบาดอีกต่อไป  ในขณะที่รายงานเน้นว่า 95% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความกังวลเกี่ยวกับซัพพลายเชนของตนในปัจจุบัน อีก 91% ได้เพิ่มการลงทุนในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลด้วยวิธีการตอบสนอง และคาดหวังถึงอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

อยู่หัวแถวเข้าไว้

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคคอย่างแน่นอน และเพื่อให้ก้าวล้ำไปข้างหน้า จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก  องค์กรจะสร้างรูปแบบการทำงานที่เน้นความคล่องตัว ความเร็ว การปรับขนาด และความยืดหยุ่น ผ่านสภาพท้าทายที่เป็นอยู่เพื่อทบทวนและปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า ประเมินทั้งรูปแบบการดำเนินงานและข้อมูลที่มีอยู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอาจเป็นคำศัพท์ที่เราใช้ร่วมกับการปฏิวัติทางดิจิทัลที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้  อย่างไรก็ตาม ผู้ชนะด้านดิจิทัลที่แท้จริงคือผู้ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นวิถีในการรักษาความเกี่ยวข้องในตลาด ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้เร็วและชัดเจนกว่าคู่แข่ง

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการประกันคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษา เมื่อใช้บล็อกเชนร่วมกับโซลูชัน ERP แบบ multi-enterprise ที่ทันสมัยบนระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนาน กับข้อกำหนดเฉพาะในการจัดการอายุการเก็บรักษา, ความซับซ้อนในการจัดตารางการผลิต ตลอดจนการตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ มากมาย นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 รวมถึงอัตราภาษี, มาตรการด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่ายิ่งทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญหาและแนวโน้มมากมายเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบไปทั่วระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่การจัดซื้อ การผลิต ตลอดไปจนถึงการส่งมอบสินค้า

เมื่อบริษัทอาหารและเครื่องดื่มต้องการสร้างรากฐานให้ดีขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เราพบว่ามีเทคโนโลยีและโซลูชันมากมายให้เลือกพิจารณา โดยบล็อกเชนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ทุกวันนี้ บริษัทต่าง ๆ กำลังใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนในการตรวจสอบและติดตามสินค้า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นทั่วทั้งระบบซัพพลายเชน สำหรับผู้บริโภค บล็อกเชนเป็นวิธีใหม่ที่ทำให้ผู้คนสามารถติดตาม “เส้นทาง” ของอาหารจากแหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค

แม้ว่าบล็อกเชนจะมีศักยภาพพร้อมในการส่งมอบประโยชน์ และนวัตกรรม และสร้างสรรค์ให้กับทั้งธุรกิจและผู้บริโภคก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าบล็อกเชนไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาแบบครอบจักรวาล แต่หากนำฟังก์ชันการทำงานไปใช้ร่วมกับโซลูชันการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ที่ทันสมัย และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ที่เชื่อมธุรกิจภายในซัพพลายเชนเดียวกันทั้งหมดเข้าด้วยกันบนระบบคลาวด์ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ที่กำลังพยายามรับรองคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษาของส่วนผสมและผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งให้กับผู้บริโภค

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยระบุว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้บริโภคต่างทวีความต้องการด้านการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของอาหารและเครื่องดื่ม (Food Traceability) เพิ่มขึ้น และกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของธุรกิจอาหารไทยในอนาคตอันใกล้  โดยมีการประเมินว่า ความท้าทายดังกล่าวจะมาในรูปแบบของมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับผู้ส่งออกไทยในระยะข้างหน้า เช่น นโยบาย Farm to Fork ของสหภาพยุโรปที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจากฟาร์มไปจนถึงมือผู้บริโภค ที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและขนส่งอาหารที่มีความโปร่งใส ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหาร โดยการบังคับติดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลสินค้า เช่น โภชนาการ แหล่งที่มา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ หรือมาตรฐานเพิ่มเติมของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาที่จะทำให้การตรวจสอบย้อนกลับของแหล่งที่มาอาหารจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเอกสารมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น 

ก้าวไปอีกขั้นกับบล็อกเชน

จากมุมของผู้ผลิต ที่ผ่านมาการแบ่งปันและติดตามข้อมูลจากซัพพลายเออร์และเกษตรกร รวมถึงการให้ข้อมูลด้านความยั่งยืนและแหล่งกำเนิดของอาหารที่สำคัญ ไม่เคยมีความสำคัญกับผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคขนาดนี้มาก่อน

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังช่วยตอบสนองความต้องการที่สำคัญนี้ โดยบล็อกเชนจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า เมื่อมีการบันทึกข้อมูลแบบรวมศูนย์หรือกระจายศูนย์แล้ว ก็จะไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้อีก สำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม คุณลักษณะเช่นนี้สำคัญต่อผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค เพราะเป็นการให้ข้อมูลแหล่งที่มาของอาหารที่น่าเชื่อถือที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ข้อมูลที่บันทึกลงในบัญชีแยกประเภทของบล็อกเชน จะสามารถขจัดโอกาสที่จะนำส่วนผสมที่ไม่ใช่ออร์แกนิกมาแสดงไว้ในผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในภายหลัง หรือเมื่อมีการอัปโหลดข้อมูลในระบบซัพพลายเชน อาจเกิดสถานการณ์ที่ข้อมูลอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยเจตนาได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว เช่น การขายเนื้อม้าแต่กลับระบุว่าเป็นเนื้อวัว เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย รายงานจากศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยได้ระบุว่า กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารของไทยที่ต้องเร่งดำเนินการเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับอย่างจริงจังมี 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ ประมง อาหารสัตว์ ตลอดจนสินค้าผักและผลไม้ โดยสินค้าเหล่านี้มักถูกจับตาในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้า และยังเป็นกลุ่มสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในระยะหลังคู่ค้าสำคัญอย่างจีนก็เข้มงวดในมาตรการด้านสุขอนามัยในสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น  ทั้งนี้สินค้า 4 กลุ่มหลักมีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 159,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 16% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยซึ่งอยู่ที่กว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี

และนี่คือจุดที่เรานำเทคโนโลยีบล็อกเชนก้าวขึ้นไปอีกขั้น เครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise และโซลูชัน ERP ที่ทันสมัย ให้ความสามารถกับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม ในการปฏิสัมพันธ์แบบไดนามิกที่จำเป็นกับหลากหลายบริษัท เพื่อนำประโยชน์จากข้อมูลและการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันมาใช้งาน  ซึ่งความสามารถเหล่านี้รวมถึงการวางแผนข้ามองค์กร การดำเนินการจากหลายบริษัท ตลอดจนการแก้ปัญหาที่คาดการณ์ไว้ร่วมกันโดยอัตโนมัติในระบบซัพพลายเชนที่ขยายตัวออกไป

โซลูชัน ERP สมัยใหม่และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise น้้นสำคัญอย่างยิ่ง ในการรับประกันว่าข้อมูลที่ถูกต้องจะบันทึกไว้ในบล็อกเชนตั้งแต่แรกเริ่ม นอกจากนี้ โซลูชัน ERP และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ยังช่วยให้มั่นใจว่า ข้อมูลที่จัดเก็บในบล็อกเชนสามารถนำไปใช้สร้างมูลค่าข้ามสายงานได้ทั่วทั้งระบบซัพพลายเชนขององค์กร อนึ่ง สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ บล็อกเชน โซลูชัน ERP และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ไม่ใช่คู่แข่งกัน  ในทางกลับกันเทคโนโลยีและโซลูชันทั้งหมดต่างส่งเสริมซึ่งกันและกันมากกว่า ช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มปรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และส่งมอบผลิตภัณฑ์สุดพิเศษให้กับลูกค้าและผู้บริโภคปลายทาง

ก้าวการเติบโตของบล็อกเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในระบบซัพพลายเชน ทำให้การปรับใช้เทคโนโลยีนี้ยังคงเติบโต และได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆ ที่กำลังมองหาวิธีที่ปลอดภัยในการตรวจสอบและติดตามข้อมูลซัพพลายเชน สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม บล็อกเชนยังคงเติบโตและทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในเรื่องอาหารที่ความปลอดภัยเป็นเรื่องจำเป็น เช่น เนื้อสัตว์และปลา เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นกำลังเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลายเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ส่วนกรณีการใช้งานสำคัญอื่น ๆ ก็เริ่มเห็นได้ชัดสำหรับบล็อกเชน  ขณะนี้องค์กรและหน่วยงานทั่วโลกกำลังมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เทคโนโลยีก้าวต่อไป โดยองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้บล็อกเชนเป็นหลักก็กำลังช่วยกันกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบของข้อมูลที่ควรรวมไว้ในบล็อกเชน

หนทางสู่อนาคต

เป็นที่ชัดเจนว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นวิธีสำคัญสำหรับองค์กรในการปกป้องความถูกต้องของข้อมูลอย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรที่ตระหนักถึงคุณประโยชน์สูงสุดที่จะได้จากเทคโนโลยีในระบบซัพพลายเชน โดยโซลูชัน ERP ที่ทันสมัยบนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบเครือข่ายร่วมด้วย จะสามารถใช้วิธีแบบองค์รวมสำหรับองค์กรเพื่อใช้งานข้อมูลที่เก็บไว้ในบล็อกเชน  

แนวทางแบบองค์รวมนี้เป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม จะสามารถสร้างซัพพลายเชนด้านอาหารที่โปร่งใสมากขึ้น ปกป้องแบรนด์ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ช่วยลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อส่งเสริมแนวคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนของวันนี้และในอนาคตต่อไป

วิธีที่ผู้ผลิตอาหารใช้วางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์เกิดประโยชน์สูงสุด

วิธีที่ผู้ผลิตอาหารใช้วางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

วิธีที่ผู้ผลิตอาหารใช้วางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์เกิดประโยชน์สูงสุด

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ตามที่สหประชาชาติได้กำหนดความสัมพันธ์กันเป็นระบบระหว่างน้ำ-อาหาร-พลังงาน ให้เป็นหัวใจสำคัญของความพยายามในการพัฒนาที่ยั่งยืน  และพบว่าอาหารมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกสูงถึง 26% ดังนั้น จึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าเพราะเหตุใดผู้ผลิตอาหารและผู้แปรรูปอาหารจึงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันให้เพิ่มข้อมูลรับรองความยั่งยืนของตน  บริษัทต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนความท้าทายนี้ให้เป็นโอกาส โดยต้องทำให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาตรงตามความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า ทั้งในแง่ของความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจอาหารจะต้องทำงานหนักมากขึ้นอย่างชาญฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์

การเปลี่ยนแปลงที่มาจากความต้องการของลูกค้า

การเพิ่มขึ้นของอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย กับการรายงานข่าวของสื่อที่เกี่ยวกับการบริโภคและความรับผิดชอบที่ยั่งยืนมากขึ้นนั้น หมายความว่าลูกค้าจำนวนมากขึ้นต้องการการมองเห็น และการเชื่อมต่อที่แท้จริงกับสินค้าที่ซื้ออยู่ทุกวันซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารด้วยเช่นกัน และสิ่งที่พวกเขาเป็นกังวลไม่ใช่เพียงแค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการบรรจุและขนส่งผลิตภัณฑ์อีกด้วย

สำหรับผู้ผลิตอาหาร แน่นอนว่าข้อกำหนดกฎหมายด้านความยั่งยืนกำลังเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน เห็นได้จากการกำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ในบางประเทศ เช่น Grüne Punkt ในเยอรมนีหรือ Green Dot ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใบอนุญาตของเครือข่ายยุโรปสำหรับการรีไซเคิลวัสดุบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคบริโภค และ Anti-Wastage and Circular Economy (AGEC) ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการขจัดของเสียและมลพิษ เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันนี้การกำหนดให้ติดฉลากระบุคุณค่าทางโภชนาการและสารก่อภูมิแพ้ได้กลายเป็นมาตรฐานไปแล้ว จึงเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มกฎระเบียบมากขึ้นในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปล่อยคาร์บอนและการใช้น้ำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงต้องมุ่งเป้าไปที่การปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับฐานลูกค้าที่มีวิสัยทัศน์มากขึ้นด้วย

แม้ว่าการรับรองข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เข้มงวดจะยังไม่ใช่ ‘ใบอนุญาตในการดำเนินงาน’ ก็ตาม แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็นในที่สุด ธุรกิจอาหารจำนวนมากขึ้นกำลังนำเรื่องความยั่งยืนมาทำให้ตนเองแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ ทว่า เรื่องนี้ถือว่าสำคัญ เพราะต้องตอบให้ได้ว่าอะไรคือเกณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถือว่า ‘ยั่งยืน’ บางทีธุรกิจอาหารกำลังเผชิญกับอุปสรรคยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ ‘ยั่งยืน’

ขอบเขตของความยั่งยืน

แนวทางที่ตรงไปตรงมาและค่อนข้างเป็นพื้นฐานที่สุด คือ การกำหนดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่เป็นเจ้าของหรือแหล่งควบคุม ซึ่งรวมถึงปัจจัยทุกด้านภายใต้การควบคุมของผู้ผลิตอาหาร  ซึ่งจะต้องทำไปทีละขั้นตอน รวมทั้งต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกระบวนการต่าง ๆ ที่ธุรกิจใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านไฟฟ้า ไอน้ำ การทำความร้อน หรือการทำความเย็น เป็นต้น ทั้งนี้ ควรขยายขอบเขตของแนวทางมาตรฐานให้กว้างขึ้น โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของระบบซัพพลายเชน ซึ่งหากจะกล่าวซ้ำก็คือตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภคนั่นเอง  และหากภาคส่วนนี้จริงจังกับเรื่องความยั่งยืน ก็จำเป็นต้องขยายขอบเขตไปให้ไกลกว่าเรื่องผู้บริโภค โดยต้องพิจารณาถึงวงจรของเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อรักษาประโยชน์ใช้สอยและมูลค่าสูงสุดของผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา รวมทั้งการวิเคราะห์ทางเลือกของขยะและการรีไซเคิลด้วย ทว่า ในปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำใด ๆ ที่แสดงถึงการรายงานความยั่งยืนที่เข้มงวด ซึ่งจำเป็นจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้

ผู้บริโภคกำลังมองหาความชัดเจนเกี่ยวกับฉลากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จากอุตสาหกรรมที่แม้แต่ผู้ผลิตเองก็ไม่สามารถอธิบายได้เสมอไป ดังนั้น การขาดความสม่ำเสมอและมาตรฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์จึงไม่ได้ช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นแต่อย่างใด  ถ้าเช่นนั้น ความยั่งยืนจะเริ่มต้นและจบลง ณ ที่ใด เช่น  การเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดินที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น การสนับสนุนการทำฟาร์มที่ส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึงการที่ซัพพลายเออร์จำนวนมากขึ้นพยายามใช้น้ำในกระบวนการผลิตให้น้อยลงเช่นกัน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ความยั่งยืนยังรวมถึงการปรับปรุงที่ทำให้การผนวกรวมสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรและ ซัพพลายเออร์ดีขึ้นอีกด้วย

เกณฑ์วัดความความยั่งยืนมีอะไรบ้าง  ท้ายที่สุดแล้ว ขณะนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและผู้แปรรูปที่จะต้องกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณา เพื่อตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนควรจะเป็นอย่างไร  ทั้งนี้ รวมถึงการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าในเรื่องความโปร่งใสด้านความยั่งยืน และการวางระบบเพื่อรับมือกับการบังคับใช้ข้อกำหนดกฎหมายที่เป็นรูปธรรม ซึ่งควรจะทำให้การแข่งขันยกระดับสูงขึ้นไปอีกขั้น

 ภาวะข้อมูลล้น

เมื่อพูดถึงการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยั่งยืนออกสู่ตลาด ปัญหาหลักสำหรับธุรกิจอาหารคือวิธีจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดจากระบบซัพพลายเชนทั้งหมด (ซึ่งยังไม่รวมถึงการทำให้แน่ใจว่าวันที่ที่ได้รับจากคู่ค้าซัพพลายเชนนั้นถูกต้อง)  ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้ก็ยังไม่ใช่ข้อมูลคงที่เช่นกัน แต่จะเป็นข้อมูลแบบไดนามิกที่ไม่มีคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์คงที่ ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเทศแหล่งกำเนิดของส่วนผสม หรือวิธีการขนส่ง หรือข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น  ดังนั้น การพิจารณาปัจจัยเพื่อกำหนดความยั่งยืนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงส่งผลให้ความซับซ้อนยุ่งยากในการจัดการวงจรชีวิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ  ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงการกำหนดสูตรผลิตภัณฑ์อีกต่อไป แต่ยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจออกสู่ตลาดได้โดยเร็วที่สุด

ดังนั้น ณ จุดนี้ การใช้สเปรดชีตจึงไม่เพียงพอสำหรับการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (PLM) อีกต่อไป เนื่องจากไม่สามารถจัดการกับข้อมูลที่ไดนามิกปริมาณมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้สเปรดชีตไม่เพียงแต่มีแนวโน้มทำให้เกิดข้อผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังใช้เวลานานมากในการส่งจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่ง อันเป็นความพยายามที่จะรวมการดำเนินการและกิจกรรมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน  การใช้เครื่องมือ PLM ที่เหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจรวบรวมไอเดียต่าง ๆ ทำให้กระบวนการคิดก่อนเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์จนออกสู่ตลาดมีการจัดการที่เหมาะสม และนำมาซึ่งความโปร่งใสแบบใหม่
ไม่เพียงแต่ในด้านเกณฑ์การตัดสินใจและความรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรับรองความยั่งยืนอีกด้วย

กระบวนการในการทำงานร่วมกัน

เครื่องมือที่เหมาะสมจะอำนวยความสะดวกในการป้อนข้อมูลจากธุรกิจทุกส่วน โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  จัดสรรกิจกรรมให้กับแผนกและบุคคลต่าง ๆ จัดลำดับงาน และกำหนดให้ลงชื่อออกจากระบบดิจิทัลก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ ทั้งยังรวมถึงการเร่งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  บ่อยครั้งที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดล่าช้า เนื่องจากมีข้อผิดพลาดในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อยหนึ่งด้าน  ทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมออกสู่ตลาดในเวลาที่เหมาะสมนั้น มีความเกี่ยวพันและต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก เพราะในตอนท้าย ข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สุดที่ดูเหมือนไม่ใช่ส่วนสำคัญของกระบวนการก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้

การเดินทางที่ไม่มีจุดสิ้นสุด

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ไม่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่จะยังคงดำเนินต่อไปอีกนานหลังจากเปิดตัวแล้ว  การเปลี่ยนซัพพลายเออร์ เปลี่ยนแปลงส่วนผสม หรือตอบสนองต่อกฎหมายใหม่ เป็นตัวอย่างของความจำเป็นที่ทำให้ต้องมีการคำนวณปัจจัยด้านความยั่งยืนใหม่ ซึ่งทั้งสำคัญ ซับซ้อนและใช้เวลานานมากเกินกว่าจะปล่อยให้อยู่ในสเปรดชีต  โซลูชัน PLM ที่เหมาะสมสามารถจัดการกระบวนการทั้งหมดนี้ได้ โดยเปลี่ยนข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ จากนั้นจึงแนะนำวิธีปรับสูตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่ในข้อมูลจำเพาะและต้นทุนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความยั่งยืนอีกด้วย

การจะก้าวต่อไปอีกขั้นต้องคำนึงถึงการจัดการขั้นตอนสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ด้วย  ดังนั้น PLM จึงเป็นมากกว่าการผสมสูตรส่งไปจนถึงมือของผู้บริโภค มองไกลไปถึงการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ และอาจรวมถึงทางเลือกในการจัดการขยะอาหารอย่างรับผิดชอบอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนที่กล่าวมาแสดงถึงความพยายามเพิ่มเติมในการเพิ่มการรับรองข้อมูลด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจอาหารโดยเฉพาะ

ในขณะที่ธุรกิจอาหารจำนวนมากขึ้นพยายามสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง  ความสามารถในการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่แท้จริงในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและมีความท้าทายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  เทคโนโลยีจึงเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มความยั่งยืนได้สูงสุด ที่จะช่วยให้ธุรกิจอาหารสามารถปรับตัวให้เข้ากับความต้องการและกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่ยังคงนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่น่าดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค  ธุรกิจอาหารสามารถปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และวางโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมสำหรับความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการส่งมอบมาตรฐานความยั่งยืนสูงสุดด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม