วิธีต่อกรกับภาวะเงินเฟ้อด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

Supply Chain’s Wild Ride Continues

วิธีต่อกรกับภาวะเงินเฟ้อด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ของบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่งให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียรายได้และเสี่ยงที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า  ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านราคาที่อาจทำให้ยอดขายลดลง บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจึงควรตรวจสอบค่าใช้จ่าย พอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ด้านกำไรแบบองค์รวม ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นบริบทของความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจและซัพพลายเชนจะต้องมีการปรับตัวและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งหากธุรกิจจัดการได้อย่างเหมาะสม ความท้าทายด้านเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสที่ขับเคลื่อนให้เกิดความต้องการด้านนวัตกรรมและระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง 

ปัญหา 4 ประการที่เกิดจากเงินเฟ้อ พร้อมวิธีรับมือ :

  1. ความขาดแคลนและการเปลี่ยนแปลงส่วนผสม

นอกจากสภาพอากาศที่รุนแรงและความแปรปรวนตามฤดูกาลแล้ว ความขัดแย้ง การหยุดชะงักของซัพพลายเชน และแรงกดดันทางการเมือง ยังมีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรพุ่งทะยานสูงขึ้น  ดังที่เห็นได้จากตัวอย่างล่าสุดคือ สงครามยูเครน-รัสเซียที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในการส่งออกธัญพืช ข้าวสาลี และน้ำมันพืช ทำให้เกิดการขาดแคลนส่วนผสมอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารทั่วโลก

เพิ่มการมองเห็นทั้งระบบ – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งด้วยการมองเห็นทั้งระบบแบบเรียลไทม์ตลอดระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่เกษตรกรและซัพพลายเออร์ต้นน้ำ ผ่านการแปรรูปไปจนถึงผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกปลายน้ำในระบบ ซึ่งจะช่วยให้ทีมจัดซื้อสามารถจัดรูปแบบและดำเนินการตามแผนทางเลือกได้

ตรวจสอบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถลดความเสี่ยงในการขาดแคลนส่วนผสมได้อีกทางหนึ่ง ด้วยการกระจายทางเลือกด้านวัตถุดิบและซัพพลายเออร์ให้หลากหลายขึ้น  หรือหากส่วนผสมขึ้นราคาจนไม่อาจอธิบายได้ (หรือไม่สามารถแบกรับภาระด้านนี้ไว้ได้อีกต่อไป) การลดการผลิตสินค้าบางชนิดอาจเป็นทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ปรับปรุงการวางแผนซัพพลายเชน – โซลูชันสำหรับการวางแผนซัพพลายเชนที่ทันสมัยสามารถช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มวางแผนและคาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยควรเป็นแบบที่มีแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ติดตั้งไว้ในตัวเบ็ดเสร็จเพื่อให้คาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น และตอบสนองตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและราคา เป็นต้น

มองการณ์ไกล – การคาดการณ์และการวางแผนที่แม่นยำจะช่วยให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มเข้าใจ
ความต้องการระยะยาวของตน ทำให้สามารถเจรจาสัญญากับซัพพลายเออร์ได้อย่างมั่นใจเพื่อการันตีว่าจะมีสินค้าเมื่อต้องการ  ในบางกรณีผู้ผลิตอาจล็อกราคาไว้ได้ด้วย ทำให้บริษัทไม่ต้องปรับขึ้นราคาในอนาคต

  1. ต้นทุนของราคาเชื้อเพลิง พลังงาน และค่าขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น

การปิดท่าเรือคอนเทนเนอร์ระหว่างการแพร่ระบาดยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องในระบบซัพพลายเชนทั่วโลก  มิหนำซ้ำต้นทุนพลังงานและราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นก็ยังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์อาหารแพงขึ้นอย่างมาก  ทุกภูมิภาคแม้แต่ประเทศที่กฎระเบียบด้านความยั่งยืนมีการผ่อนปรนเพราะมีท่อส่งน้ำมันและเชื้อเพลิงต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

วางแผนกลยุทธ์การขนส่ง – เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่ง เช่น เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เครื่องบินขนส่งสินค้า และรถพ่วงหัวลากส่งสินค้าระยะไกล เป็นต้น การรับประกันประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เน่าเสียง่ายอาจต้องเลือกซัพพลายเออร์ใหม่ ๆ ที่อยู่ใกล้ผู้ผลิตมากขึ้น  ดังนั้น ซอฟต์แวร์ที่ทกให้มองเห็นภาพรวมและการวิเคราะห์ต้นทุนที่ครอบคลุมทั้งระบบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การจัดซื้อเชิงรุก

พิจารณาการจัดหาในท้องถิ่น – หากเลือกได้ ผู้บริโภคจะชอบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและเป็นออร์แกนิกมากกว่า แต่ก็ต้องเผชิญกับทางเลือกที่จำกัดและการพึ่งพาผลิตผลที่มาจากท้องถิ่น  การเปลี่ยนแปลงของค่าขนส่งที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก ทำให้อาจต้องพิจารณากลยุทธ์ในการนำการผลิตกลับจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำอย่างละเอียดอีกคร้้ง  ซึ่งเมื่อหักลบค่าขนส่งที่สูงกับเงินที่ประหยัดได้จากค่าแรงที่ต่ำแล้ว การย้ายโรงงานผลิตกลับบ้านเกิดจึงเป็นขั้นตอนที่สมเหตุผลหากมีแรงงานพร้อม

เอาต์ซอร์สโลจิสติกส์ – การใช้บริษัทโลจิสติกส์ภายนอก (third-party logistics: 3PL) สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดส่งถึงปลายทางได้  การทำงานกับ 3PL นั้นเหมือนกับการทำงานร่วมกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ ที่สามารถจัดการได้ดีที่สุดผ่านโซลูชันระบบคลาวด์ที่ยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับการแชร์ดาต้าโดยที่ยังคงปกป้องความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูลไว้ได้

  1. ประสบการณ์ของลูกค้าและการเตรียมการณ์

เงินเฟ้อส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลก บางคนคาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะมาถึง ซึ่งเป็นภาพที่บั่นทอนการลงทุนหนักขึ้นไปอีก  ไม่ว่าผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะควรแบกรับความผันผวนของราคาหรือส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นให้แก่ลูกค้าก็ตาม ล้วนเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ต้องพบพานมาโดยตลอด  ทว่า การลดขนาดบรรจุภัณฑ์และคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาราคาให้คงที่นั้นสามารถส่งผลเสียย้อนกลับได้ เนื่องจากผู้บริโภคที่รอบรู้เริ่มให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และอาจแชร์ข่าวประเภทนี้ให้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียได้

รักษาคุณภาพ – ผู้ผลิตอาจถูกจูงใจให้เปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือส่วนผสมเพื่อประหยัดต้นทุน แต่การทำเช่นนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามประกาศผลิตภัณฑ์  โซลูชันการจัดการไลฟ์ไซเคิลผลิตภัณฑ์สามารถจำลองผลการเปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือส่วนผสมใหม่ที่กระทบต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียคุณภาพและการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด

จัดการไลฟ์ไซเคิลของผลิตภัณฑ์ – แม้ว่าคุณภาพและการปฏิบัติตามข้อกำหนดเป็นเรื่องที่ไม่สามารถประนีประนอมได้ แต่ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มก็ควรมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ประหยัดกว่า ซึ่งอาจรวมถึงการปรับลดสายการผลิตสินค้า หรือการทบทวนการใช้ส่วนผสมที่นับวันจะยิ่งหายากขึ้นทุกที  ดังนั้น โซลูชันจัดการไลฟ์ไซเคิลผลิตภัณฑ์สามารถช่วยผู้ผลิตลดเวลาที่ต้องใช้ในการพัฒนาและจัดการผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมบรรลุผลในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและการติดฉลาก

จัดการสต็อกในคลังสินค้า – การจัดการสต็อกคลังสินค้าอย่างมีกลยุทธ์จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดการกระแสเงินสดและลดทุนที่จมอยู่ในสต็อกได้ดีขึ้น  เนื่องจากการดิสรัปของซัพพลายเชนได้เปลี่ยนวิธีคิดของผู้ผลิตเกี่ยวกับการจัดส่งแบบทันเวลา ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการเพิ่มปริมาณสต็อกอย่างรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียจากส่วนผสมที่หมดอายุหรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ล้าสมัย  ซอฟต์แวร์วางแผนสินค้าคงคลังสามารถช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจถึงความแตกต่างของกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเลือกแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม

ทำให้กระบวนการเป็นอัตโนมัติ – หากปรับสูตรอาหารไม่ได้แถมลูกค้าก็ไม่ยอมให้ขึ้นราคา การปรับเพิ่มการผลิตและประสิทธิภาพผ่านระบบอัตโนมัติอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรับมือกับผลกระทบของเงินเฟ้อ  ระบบอัตโนมัติสามารถใช้ได้ตั้งแต่ใช้ขจัดการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนและปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ ไปจนถึงเพิ่มการจดจำภาพด้วยแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เพื่อทำให้งานที่ใช้แรงงานมากซึ่งเมื่อก่อนต้องใช้สายตาและการตัดสินใจของมนุษย์ เป็นอัตโนมัติ 

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์

ผู้ผลิตสามารถใช้นวัตกรรมเพื่อช่วยบรรเทาแรงกดดันที่เกิดจากเงินเฟ้อและต้นทุนส่วนผสมที่เพิ่มขึ้น  แต่จะต้องขจัดไซโลด้านไอทีระหว่างแผนกต่าง ๆ ออกให้หมดเพื่อคว้าโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล ระบบธุรกิจและกระบวนการเดียวกันได้ ทำให้บริษัทสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะดึงดูดใจผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

แนะนำสูตรอาหารใหม่ – เมื่อเงินเฟ้อบีบให้บริษัทอาหารต้องเปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือเปลี่ยนส่วนผสม ความสามารถในการคำนวณสูตรอาหารและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่จึงมีความสำคัญ และกระบวนการนี้ก็เป็นอะไรที่ซับซ้อนและใช้เวลานานเกินกว่าจะใช้วิธีแบบแมนนวล  โซลูชันจัดการไลฟ์  ไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสามารถจัดการกระบวนการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับข้อกำหนด ต้นทุน และความยั่งยืนให้เหมาะสม

ยืนหยัดทางเลือกใหม่ – อีกวิธีที่ผู้ผลิตอาจใช้รับมือกับเงินเฟ้อได้ คือ การสร้างสาขาใหม่ แนวคิดการขายใหม่ ๆ หรือออกโมเดลใหม่สู่ตลาด โซลูชันระบบคลาวด์ให้การปรับใช้ที่รวดเร็ว ช่วยให้ตอบสนองได้อย่างคล่องตัว  โซลูชัน two-tier ERP แบบสองระดับที่แยกจากกันและมีการปรับแต่งระบบที่แตกต่างกันให้ความยืดหยุ่นสูง อาจเป็นวิธีที่รวดเร็วในการแยกสาขาออกจากธุรกิจและระบบ ERP ที่ใช้อยู่ปัจจุบันโดยยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ ที่ทันสมัยได้

เอาชนะความผันผวน

เงินเฟ้อได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจคาดการณ์ว่าความผันผวนและต้นทุนที่สูงอาจเป็นประเด็นระยะยาว  ทั้งนี้ ผู้ผลิตสามารถรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้โดยการตรวจสอบกระบวนการซัพพลายเชน บริการ และพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตน โซลูชัน ERP บนระบบคลาวด์ที่ทันสมัยสามารถช่วยธุรกิจในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและค้นหาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมสำหรับปัญหาที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ  การทำงานเชิงรุกและเชิงกลยุทธ์สามารถสร้างความแตกต่างให้กับผู้ผลิตและทำให้พวกเขาแตกต่างจากคู่แข่งได้

Profit versus Sustainability: Are they mutually exclusive?

Profit versus Sustainability

Profit versus Sustainability: Are they mutually exclusive?

By Terry Smagh, Senior Vice President and General Manager for Asia Pacific and Japan, Infor

The world’s population is predicted to grow to more than 9 billion by 2050 and the Food and Agriculture Organization (FAO) estimates that we will need to produce 60% more food to feed everyone, a huge increase that will undoubtedly take its toll on the planet.  Add into the mix the impact of climate change on harvests and the pressing need to massively reduce waste right across the food supply chain, and it is not difficult to see why the food and beverage sector is under ever-increasing pressure to embrace sustainability.

Supply chain pressures and fluctuating customer demands and tastes, in combination with squeezed margins, mean that food and beverage businesses need to achieve the holy grail of doing more for less. The industry is expected to boost its sustainability credentials, while working hard to save money, staying profitable even when faced with the most disruptive of market challenges.

This conundrum has led many to question if it is in fact possible to be sustainable AND profitable, with some surmising that it is actually impossible. In reality, it is no longer a choice. Sustainability is rapidly becoming not just a ‘nice-to-have’ but instead is a crucial part of doing business in the food and beverage sector. Firms must reduce their environmental footprint alongside producing enough food to feed a growing population, while turning a healthy profit.

As is so often the case, the answer lies in innovation, with the right technology, applied in the right way, maximising yield, driving down waste and increasing operational efficiencies, ultimately underpinning a food and beverage sector that is both sustainable and profitable.

Sustainability – a pressing priority

While sustainability certainly is not a new topic for the food and beverage industry, the last couple of years in particular have served to propel the issue towards the top of the priority list. Not only do we have the forecasted 60% increase in food production and associated environmental impact to consider, but food waste levels are massive too, with roughly one third of all food produced in the world wasted each year (one third estimated to be lost in transit through poor planning and refrigeration, and not forgetting the waste generated during production too). More consumers are taking sustainability considerations into account when choosing which products to buy, increasingly looking to brands to prove their sustainability credentials.

Regulatory pressure to become sustainable is only set to increase. Thanks to the worldwide nature of the food and beverage supply chain, local, country-specific sustainability requirements can quickly become global, applicable across borders if organisations want to continue to do business in the international marketplace. Rising energy prices too have led more businesses to prioritise energy efficiency, becoming almost sustainable by default as part of wider efforts to cut costs. In short, pressure to become more sustainable is coming from all directions.

Sustainability as an enabler of growth

When looking at sustainability it is imperative to examine the business benefits to be reaped from embracing sustainability, an approach that helps to build a strong business case for investing in environmental initiatives.

As with other industries, we are increasingly seeing preferential finance options made available to food and beverage businesses who can evidence their environmental credentials. Additionally, non-sustainable sources of raw ingredients are becoming, and will continue to become, more costly. Reducing waste undoubtedly helps the bottom-line and some innovative food businesses are even putting their by-products to good use, turning them into additional revenue streams.

Talent attraction is another major benefit of becoming more sustainable. More employees want to work for ethical businesses, businesses who play their part in achieving a better world for us all. In an industry where the labour shortage is rapidly becoming a major threat to productivity, the ability to take your pick from a dwindling talent pool is not to be sniffed at.

Perhaps most important of all is the increasing consumer demand for sustainable products, meaning that sustainable businesses will continue to win a bigger market-share. And, more brands are choosing to only work with sustainable suppliers, those who can evidence just what they are doing to reduce their environmental impact alongside compliance with sustainability standards.

No longer a choice

It is not if but when for embracing sustainability in the food and beverage sector, not just in terms of satisfying regulatory requirements or reducing costs, but if businesses are to set their sights on long-term business growth. To answer the initial conundrum, we should not think of it as sustainability versus profitability, indeed for the food and beverage sector in particular, it is more a case of sustainability equals profitability.

A sustainable risk assessment

This need for increased sustainability does not change the fact that for some, embracing sustainability can be seen to be somewhat of a herculean task and one that can potentially involve a substantial investment.  In reality, this definitely does not have to be the case, with smaller, more targeted environmental initiatives often the key to making a real difference. 

Individual businesses need to fully assess the risk of not embracing sustainability before embarking on any sustainability endeavours. To do this requires data, not just data from the business but from right across the supply chain. Access to key data enables organisations to fully assess the risk they face if they are not sustainable, more often than not, providing tangible evidence of why and how sustainability is a key enabler of business growth and profitability. It is this data that will ensure businesses can ascertain their current environmental footprint, providing a starting point to identify which initiatives will have the maximum impact on not only sustainability but profitability too.  

Collaboration across the supply chain is the key; collaboration facilitated by technology. So complex and multi-faceted are the supply chains that form the backbone of the food and beverage industry, that spreadsheets and manual processes are no longer fit-for-purpose when it comes to knowing exactly what impact a business is having on the environment and how it can minimise this while still turning a healthy profit.

Turning data into insight

We are all dealing with swathes of data and it is knowing what to do with the available data that can make all the difference. What are needed are solutions with sustainability capabilities built-in, technology that will grow alongside a business and the rapidly-evolving legislative and regulatory landscape in which we are all operating. The application of machine learning technologies to a single, unified source of supply-chain wide information can result in previously undiscovered, actionable insight that will inform which sustainability efforts will have the maximum impact on reducing environmental impact while boosting profits.

For instance, increased forecasting accuracy can reduce waste at all points of the supply chain, as well as saving on the associated costs of over and under production. Yield optimisation is another benefit for both the environment and the bottom-line, again with the right insight enabling a business to optimise operations. Similarly, it is access to supply-chain wide data that underpins innovations such as dynamic best before dates and smart shelves, as well as enabling businesses to supply that all-important provenance information to customers. These all contribute to reducing the environmental impact of the food and beverage industry, while boosting customer satisfaction, meeting and even exceeding customer expectations.

It is this visibility, collaboration and insight-based decision-making that is vital if the industry is to play its part in securing the future of the planet while still remaining a profitable sector. Investing in sustainability initiatives today represents the most cost-effective approach to securing long-term profitability, with the technology available to make full use of huge amounts of data. The right insight lays the foundation for truly informed decision-making, helping organisations to achieve the most sustainable outcomes within the constraints and parameters of their individual businesses, achieving long term security and profitable growth at every step of the way.

ทั้งกำไรทั้งยั่งยืน เกิดพร้อมกันได้จริงหรือ

Profit versus Sustainability

ทั้งกำไรทั้งยั่งยืน เกิดพร้อมกันได้จริงหรือ

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2593 จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 9 พันล้านคน  ทั้งนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่าโลกจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นถึง 60% เพื่อเลี้ยงปากท้องของทุกคน การเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างมหาศาลจะส่งผลเสียแก่โลกอย่างแน่นอน เมื่อผนวกกับผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการเก็บเกี่ยว และความจำเป็นเร่งด่วนในการลดปริมาณขยะทั่วห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจถึงเหตุผลที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่มากขึ้นในการนำความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ 

ภายใต้แรงกดดันด้านซัพพลายเชน ความต้องการและรสนิยมของลูกค้าที่ผันผวนตลอดเวลา ผนวกกับการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรมสำหรับคู่ค้า หมายความว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะต้องดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตโดยลดปัจจัยและทรัพยากรต่าง ๆ ให้น้อยลง  ทั้งนี้ เป็นที่คาดกันว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะต้องเพิ่มการรับรองด้านความยั่งยืนให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อจะได้ประหยัดเงินและรักษาผลกำไรไว้ให้ได้ แม้ตลาดต้องเผชิญกับความท้าทายที่วุ่นวายที่สุดก็ตาม

ปัญหาในเรื่องนี้ทำให้หลายคนเกิดคำถามขึ้นมากมายว่า จะเป็นไปได้จริงหรือที่จะดำเนินธุรกิจที่ได้ท้้งความยั่งยืนแถมยังทำกำไรได้อีกด้วย บ้างก็ว่าไม่มีทางที่จะเป็นไปได้  ซึ่งในความเป็นจริงผู้ประกอบการก็ไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว เพราะความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ ‘น่ามี’ หากแต่กำลังกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจภาคอาหารและเครื่องดื่มอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการต้องผลิตอาหารให้เพียงพอเพื่อเลี้ยงดูประชากรที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศโดยจะต้องรักษาผลกำไรที่ดีไว้ให้ได้ด้วย

นวัตกรรมก็คือคำตอบสำหรับเรื่องนี้ ด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้งานในทางที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มผลผลิตสูงสุด ลดของเสีย ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสนับสนุนให้ภาคอาหารและเครื่องดื่มสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและได้กำไรในที่สุด

ความยั่งยืนเป็นความสำคัญเร่งด่วน

แน่นอนว่าความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ได้มีการยกระดับความสำคัญของประเด็นนี้ไปอยู่ในลำดับต้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา  เพราะเราไม่เพียงแต่ต้องคาดการณ์ถึงการผลิตอาหารเพิ่มขึ้น 60% และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงขยะอาหารปริมาณมหาศาลด้วย เนื่องจากประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลกในแต่ละปีจะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ (ซึ่งเป็นจำนวนที่คาดว่าสูญเสียไประหว่างการขนส่งที่การวางแผนและการแช่เย็นที่ไม่ดีพอ รวมถึงขยะอาหารที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตด้วย)  ผู้บริโภคที่คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ และจะยิ่งพิจารณามากขึ้นหากแบรนด์นั้น ๆ พิสูจน์ให้เห็นถึงการรองรับความยั่งยืนของตน

ส่วนแรงกดดันด้านกฎระเบียบเพื่อความยั่งยืนก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  ระบบซัพพลายเชนด้านอาหารและเครื่องดื่มมีความเป็นสากลทั่วโลก ดังนั้น ธุรกิจที่ต้องการดำเนินงานต่อในตลาดต่างประเทศจะสามารถปรับข้อกำหนดด้านความยั่งยืนเฉพาะประเทศและของท้องถิ่น ให้ใช้ร่วมกับการค้าข้ามแดนได้อย่างรวดเร็ว สำหรับราคาพลังงานที่พุ่งสูงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากขึ้นต้องให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน จนเกือบจะกลายเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปโดยปริยาย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความพยายามในหลาย ๆ ด้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ  กล่าวโดยสรุปคืออุตสาหกรรมอาหารฯ กำลังได้รับแรงกดดันจากทุกฝ่ายให้ดำเนินการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนั่นเอง

ความยั่งยืนเป็นปัจจัยส่งเสริมการเติบโต

เมื่อพิจารณาเรื่องความยั่งยืน การศึกษาถึงประโยชน์ทางธุรกิจต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการนำความยั่งยืนมาใช้ในการดำเนินงานถือเป็นเรื่องสำคัญ  เนื่องจากแนวทางนี้จะช่วยสร้างกรณีศึกษาทางธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ 

เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อมจะได้รับโอกาสทางการเงินมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราคาของวัตถุดิบจากแหล่งไม่ยั่งยืนที่มีราคาแพงและจะยิ่งแพงขึ้นเรื่อย ๆ  ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าการลดของเสียจะทำให้ธุรกิจได้กำไรเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีธุรกิจอาหารที่สร้างสรรค์บางรายถึงกับใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้เปลี่ยนเป็นช่องทางรายรับเพิ่มเติมให้กับบริษัทได้ด้วย

ทั้งนี้ ในบางครั้งสิ่งสำคัญที่สุดคือความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนจะยังคงได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น  ปัจจุบันมีแบรนด์สินค้าจำนวนมากขึ้นเลือกทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ที่พิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนว่า พวกเขากำลังทำทุกวิถีทางเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ ด้านความยั่งยืน

ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป

ถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะต้องยอมรับเรื่องความยั่งยืน หากต้องการมุ่งเน้นที่การเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว จะต้องไม่ใช่เพียงแค่การปฏิบัติตามข้อบังคับด้านกฎระเบียบหรือการลดต้นทุนเท่านั้น  ดังนั้นเพื่อตอบคำถามนี้ในเบื้องต้น เราไม่ควรคิดถึงปัญหานี้ในแง่ความยั่งยืนกับความสามารถในการทำกำไร  จริง ๆ แล้วภาคอาหารและเครื่องดื่มควรจะตระหนักได้อย่างชัดเจนว่า ความยั่งยืนเปรียบเสมือนความสามารถในการทำกำไรจะเหมาะกว่า

การประเมินความเสี่ยงอย่างยั่งยืน

ความต้องการด้านความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า สำหรับบางธุรกิจการนำความยั่งยืนมาปรับใช้ในการดำเนินงานเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำได้ยากและอาจจะต้องลงทุนมหาศาล  แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เพราะความคิดริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดเล็กกว่าและตรงเป้าหมายมากกว่า มักจะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง 

ธุรกิจที่ไม่ต้องการมีส่วนร่วมในความพยายามด้านความยั่งยืนจะต้องประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ โดยอาศัยข้อมูลที่ไม่ได้มาจากธุรกิจของตนเท่านั้น แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ได้มาจากทั่วทั้งระบบซัพพลายเชน เพื่อทำให้ธุรกิจนั้น ๆ เข้าใจถึงความเสี่ยงอย่างถ่องแท้หากไม่ต้องการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืน  ทั้งนี้ ข้อมูลจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงเหตุผลที่ความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตและทำกำไร  และทำให้ธุรกิจมั่นใจในการตรวจสอบการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม (environmental footprints) ของตนในปัจจุบัน พร้อมช่วยระบุโครงการต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบสูงสุดทั้งในด้านความยั่งยืนและความสามารถในการทำกำไร

ดังนั้น กุญแจสำคัญสำหรับเรื่องนี้ก็คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานร่วมกันทั่วทั้งซัพพลายเชน ซึ่งเป็นแกนหลักสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและแง่มุมต่าง ๆ มากมาย และเมื่อมาถึงจุดที่ต้องการทราบอย่างชัดเจนว่า ธุรกิจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านใดบ้าง และจะลดผลกระทบนี้ให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไรโดยที่ยังคงรักษาผลกำไรไว้ได้ ขั้นตอนแบบแมนนวลและการใช้สเปรดชีตก็จะไม่เหมาะกับงานประเภทนี้อีกต่อไป 

แปลงข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึก

เราทุกคนต่างต้องรับมือกับข้อมูลจำนวนมหาศาล การรู้วิธีใช้ข้อมูลที่อยู่ในมือจะสามารถสร้างความแตกต่างได้ สิ่งที่จำเป็นสำหรับเรื่องนี้คือโซลูชันที่มีความสามารถด้านความยั่งยืนติดตั้งมาในตัวเบ็ดเสร็จที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้มุมมองที่ครอบคลุม และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุแนวโน้มและโอกาสในการปรับปรุงความยั่งยืน และเป็นเทคโนโลยีที่จะเติบโตควบคู่ไปกับธุรกิจพร้อมกับกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การใช้เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงกับแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมเป็นหนึ่งเดียวกับซัพพลายเชน จะทำให้มีข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ที่นำไปใช้งานได้จริง และจะแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของโครงการหรือความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนที่เหมาะสมที่สุดต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยที่องค์กรยังคงเพิ่มผลกำไรได้ในเวลาเดียวกัน

เช่น การคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำขึ้นจะช่วยลดของเสียในทุกขั้นตอนของระบบซัพพลายเชนได้ อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตที่มากหรือน้อยจนเกินไป  นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตจะเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและผลกำไรแล้ว ข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องยังช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อีกด้วย  ในทำนองเดียวกัน การเข้าถึงข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งระบบซัพพลายเชนที่รองรับนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น วันหมดอายุแบบไดนามิกที่ปรับได้ตามคุณภาพของผลิตภัณฑ์และชั้นวางสินค้าอัจฉริยะ รวมทั้งการช่วยให้ธุรกิจสามารถให้ข้อมูลแหล่งที่มาที่สำคัญทั้งหมดแก่ลูกค้า ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ โดยในขณะเดียวกันก็สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกินความคาดหวังไปเสียด้วยซ้ำ

หากอุตสาหกรรมอาหารฯ ต้องการมีส่วนร่วมในการปกป้องอนาคตโลกโดยที่ยังคงรักษาผลกำไรไว้ได้สิ่งสำคัญคืออุตสาหกรรมอาหารฯ จะต้องมีการมองเห็นภาพรวมทั้งระบบ มีการทำงานร่วมกัน และมีการใช้ข้อมูลเชิงลึกประกอบการตัดสินใจ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการลงทุนในโครงการเพื่อความยั่งยืนจึงเป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุดในการสร้างผลกำไรระยะยาวเพราะข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องจะเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่ครบถ้วนอย่างแท้จริงช่วยให้องค์กรบรรลุผลลัพธ์ที่ยั่งยืนที่สุดภายใต้ข้อจำกัดและพารามิเตอร์ของแต่ละธุรกิจ เกิดความมั่นคงและการเติบโตที่ให้ผลกำไรในระยะยาวตลอดทุกขั้นตอนการดำเนินงาน

2023 Technology Trends for the Enterprise

Supply Chain’s Wild Ride Continues

2023 Technology Trends for the Enterprise

By Terry Smagh, Senior Vice President and General Manager for Asia Pacific and Japan, Infor

As we usher in the new year, enterprise cloud solution providers are looking to expand their focus to business buyers, not just IT/development teams. 

As Gartner® notes in its Top Strategic Technology Trends for 2023[1] presentation, given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally, “senior IT and business leaders need to prepare to optimize, scale, or pioneer. 

    • To optimize resilience, operations or trust
    • To scale your vertical solutions, product delivery, or … everywhere
    • To pioneer customer engagement, accelerated responses or opportunity”

From an Infor perspective, we also see the growing need for combinations of technologies to address disruptions in any given industry or market.

With these market dynamics as the backdrop, here are four of our technology predictions for 2023: 

    1. The Composable Reality

For the last few years, many of the top market research and analyst firms have talked about the need and recommendation for purchasing best-of-breed applications and “composing” them together in a harmonious way, known as the “composable ERP.” 

This challenges the notion of a monolithic ERP system itself as the center of gravity for an organization. However, what hasn’t yet been formally addressed is the means by which to accomplish this composition. While many pure-play vendors in the market have their specific versions of iPaaS (infrastructure platform-as-a-service), no-code development frameworks, machine learning platforms, and more, no one has fully expanded their portfolio to cover the complete breadth for an end-to-end innovation use case. This is where GSIs (global system integrators) have traditionally played a large role, but the demand from buyers will likely be that this is an easier and faster process to procure, personalize, and deploy. Many larger software companies have procured more capabilities, but the vast majority are not natively integrated yet with their existing cloud services. This will be the year to make that the reality through a true digital transformation platform that becomes the standard glue for any given organization.

    1. Mainstream Hyperautomation

With the continuous pressure on cost efficiency and market influence, there is a conflicting need for new business models & differentiation while also being cost conscious. Organizations need to prove ROI faster while also focusing on the areas of their business where the largest cost and risk occurs. More often than not this tends to center around operations and people. 

What we should expect is that simply automating one given task is not enough. That may simply begin the journey. Instead, this will be a journey of continuous improvement even if a sense of automation exists. Can I make this faster, more accurate, more proactive, more intelligent? Can this continue to automate across disparate systems? Can this reach into my legacy on-premise systems and knowledge? This will become the expectation that IT teams request, as they are pressured by the business.

    1. Enterprise Simulations

Similar to the hyperautomation trend, businesses will want to explore if new paths can help them receive inventory faster, sell more product, reduce waste, move into new markets, or even assess how they can react to new market situations. Performing large-scale simulations like this can certainly be done in test environments but that comes with an excessively large overhead of data migrations or refreshes, process refinements, and eventual porting of changes to production. My expectation is that business users will want access to simulations in the context of their daily work. For instance, if a procurement specialist is working on an order and thinks this might be her opportunity to work with a new vendor of choice, then perhaps technology will enable her to simulate that decision based on the mass data profiles and machine learning & optimization models running in the background. If the user likes the result, then they can gain more confidence in the path and ultimately make better decisions that affect the overall business significantly. It should no longer be the bottleneck for changing a business process for better decision making.

    1. Enterprises becoming Creative Agencies

As an aggregator of the previous trends, the overarching movement is that, as the workforce evolves and the business becomes increasingly more pressured for ROI-based innovation, the C-suite will want technology solutions that empower their workers to be creative in safe yet measured ways. They will want to exploit the creativity of every member of every department without having to procure a myriad of tools and put stress on IT to provide project spaces. Instead, this should be engrained into the enterprise software experience to encourage such behavior. Employees will be better able to manage supply chains, resolve issues and escalations, optimize planning and inventory, and more. Companies will look for a trusted partner in an enterprise software vendor to empower and embrace the fact that lack of standardization in innovation can actually make you differentiated in your market. 

Gartner is a registered trademark of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved.

[1] Gartner® “Top Strategic Technology Trends for 2023” presentation, Gilbert van der Heiden, David Groombridge and others, October 2022; given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally.

 

เทรนด์เทคโนโลยีปี 2566 ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

Supply Chain’s Wild Ride Continues

เทรนด์เทคโนโลยีปี 2566 ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

เมื่อย่างเข้าสู่ปีใหม่ ผู้จำหน่ายโซลูชันคลาวด์ระดับองค์กรก็ต่างพากันมองหาลู่ทางขยายฐานลูกค้าเพิ่ม โดยไม่เน้นที่ทีมพัฒนาหรือทีมไอทีเท่านั้นอีกต่อไป

ข้อมูลจาก Top Strategic Technology Trends for 2023[1] ที่นักวิเคราะห์ของ Gartner® ได้นำเสนอในงานระดับโลก IT Symposia 2022 ระบุว่า “ผู้นำด้านไอทีและธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมพร้อมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับขยายหรือเป็นผู้ริเริ่ม ในประเด็นต่อไปนี้:

    • เพิ่มประสิทธิภาพด้านความยืดหยุ่น การดำเนินงาน หรือความไว้วางใจให้เหมาะสมที่สุด
    • ปรับขยายโซลูชันซอฟต์แวร์แบบครบวงจรที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเฉพาะ (vertical solutions) ตลอดจนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการได้จากทุกที่
    • เป็นผู้นำในการมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตอบสนองต่อความต้องการ และสร้างโอกาสในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าอย่างรวดเร็ว”

จากมุมมองของ Infor เราสังเกตเห็นถึงความต้องการการผสานรวมเทคโนโลยีหลากหลายที่เพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 

4 เทคโนโลยีที่ Infor คาดการณ์ โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในตลาดเหล่านี้ มีดังนี้:

    1. ความเป็นจริงที่ประกอบได้

      ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ตลาดชั้นนำหลายแห่งต่างระบุถึงความต้องการและให้คำแนะนำในการซื้อแอปพลิเคชันที่ดีที่สุด และ “จัดองค์ประกอบ” ของแอปพลิเคชันเหล่านี้เข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อที่รู้จักกันในนาม “composable ERP” ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่งระบบ ERP ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะทางธุรกิจ

      วิธีแบบนี้ขัดกับแนวคิดที่ว่าระบบ ERP เป็นระบบหลักที่สำคัญขององค์กร  แต่วิธีการที่จะทำให้องค์ประกอบนี้สำเร็จยังไม่ได้รับการกล่าวถึงอย่างเป็นทางการ  ในขณะที่ผู้ให้บริการแบบ Pure-Play ที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการเฉพาะจำนวนมากในตลาดจะมี iPaaS (แพลตฟอร์มบริการโครงสร้างพื้นฐาน) เฟรมเวิร์กการพัฒนาแบบไม่ใช้โค้ด ตลอดจนแพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิงและอื่น ๆ ที่เป็นเวอร์ชันเฉพาะของตนเองก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีบริษัทใดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมนวัตกรรมแบบครบวงจรได้ทั้งหมด  ซึ่งเป็นจุดที่เดิม GSIs (ผู้รวมระบบทั่วโลก) เข้ามามีบทบาทสำคัญมาโดยตลอด แต่ผู้ซื้อก็มักจะต้องการกระบวนการจัดซื้อ การปรับแต่ง และการปรับใช้ที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น 

      ที่จริง บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่หลายแห่งได้เพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถผสานรวมเข้ากับบริการคลาวด์ที่มีอยู่ได้โดยตรง  ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปีที่จะทำให้การจัดซื้อ การปรับแต่งและการปรับใช้ที่ง่ายดาย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นจริงขึ้นมาได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่แท้จริง ที่กำลังกลายเป็นเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานที่เชื่อมต่อ ตลอดจนรวมบริการคลาวด์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ สำหรับทุกองค์กร  

    1. ไฮเปอร์ออโตเมชันกระแสหลัก – แนวคิดในการทำให้การทำงานทุกอย่างภายในองค์กรเป็นอัตโนมัติ

      ด้วยแรงกดดันด้านประสิทธิภาพของต้นทุนและอิทธิพลของตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจเกิดความต้องการที่ขัดแย้งระหว่างรูปแบบธุรกิจใหม่กับการสร้างความแตกต่างที่ต้องคำนึงถึงต้นทุนด้วยในเวลาเดียวกัน  ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ให้เร็วขึ้น และต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่มีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและผู้คน

      ดังนั้น ธุรกิจควรคำนึงไว้เสมอว่าการทำให้งานหนึ่งงานเป็นอัตโนมัตินั้นไม่พอ มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะระบบอัตโนมัตินั้นจะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ข้อเรียกร้องต่อทีมไอทีให้ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ รวมไปถึงการทำให้กระบวนการต่าง ๆ เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น เป็นเชิงรุกมากขึ้น ชาญฉลาดขึ้น สามารถทำได้โดยขยายความสามารถด้านการทำงานระบบอัตโนมัตินี้ไปยังระบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระบบดั้งเดิมและความรู้ในองค์กรที่ไม่ได้บูรณาการหรือทำงานอัตโนมัติในปัจจุบัน  

    1. โปรแกรมเพื่อวิเคราะห์และทดสอบสถานการณ์ทางธุรกิจในสภาพแวดล้อมจำลอง

ธุรกิจต้องการวิธีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับสินค้าคงคลังเร็วขึ้น ขายสินค้าได้มากขึ้น
ลดของเสีย ย้ายไปตลาดใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งประเมินวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ตลาดใหม่ ซึ่งคล้าย ๆ กับเทรนด์ด้านไฮเปอร์ออโตเมชันที่เป็นการผสานรวมเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และเครื่องมือต่างๆ สำหรับระบบงานอัตโนมัติเข้าไว้ด้วยกัน  อนึ่ง การจำลองงานสเกลใหญ่ขนาดนี้จะสามารถทำได้อย่างแน่นอนในสภาพแวดล้อมเพื่อการทดสอบ แต่นั่นก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการย้ายหรือรีเฟรชข้อมูล การปรับแต่งกระบวนการ และการถ่ายโอนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตในตอนท้าย   

สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าถึงการจำลองในบริบทของการทำงานประจำ เช่น หากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อจัดจ้างรายหนึ่งกำลังทำคำสั่งซื้อ และคิดว่านี่อาจเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับเวนเดอร์รายใหม่ ก็อาจใช้เทคโนโลยีนี้ช่วยจำลองการตัดสินใจได้ โดยอิงจากโปรไฟล์ข้อมูลจำนวนมาก แมชชีนเลิร์นนิงและโมเดลเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ  ซึ่งหากผู้ใช้พอใจในผลลัพธ์ก็จะทำให้มั่นใจและตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญในท้ายที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาติดขัดในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นอีกต่อไป

    1. องค์กรธุรกิจจะกลายเป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์

ในฐานะที่ Infor เป็นผู้รวบรวมเทรนด์ต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ เราพบว่าความเคลื่อนไหวโดยรวมคือ เมื่อพนักงานมีการเปลี่ยนแปลง และธุรกิจต้องเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่พิจารณาจากผลตอบแทนการลงทุนเป็นหลัก  สิ่งนี้จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต้องการโซลูชันเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานรังสรรค์งานด้วยวิธีที่ปลอดภัยและวัดผลได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกทุกคนในทุกแผนก โดยไม่ต้องจัดหาเครื่องมือมากมายหรือสร้างแรงกดดันให้กับฝ่ายไอทีในการจัดหาพื้นที่สำหรับโครงการต่าง ๆ  และควรใช้ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรส่งเสริมการกระทำดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้พนักงานบริหารจัดการซัพพลายเชน แก้ไขปัญหาและยกระดับการทำงาน พร้อมปรับปรุงการวางแผนและสินค้าคงคลังและอื่น ๆ ได้ดีขึ้น  ทั้งนี้ ธุรกิจจะต้องมองหาพันธมิตรที่เชื่อถือได้จากผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและน้อมรับแนวทางและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสร้างโซลูชันที่ไม่เหมือนใครและเป็นนวัตกรรม ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมและยังคงแข่งขันได้

Gartner is a registered trademark of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved.

[1] Gartner® “Top Strategic Technology Trends for 2023” presentation, Gilbert van der Heiden, David Groombridge and others, October 2022; given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally.