รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปริมาณการใช้ดาต้ามือถือพุ่งเกือบ 300 เท่า ในรอบ 10 ปี

Ericsson

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปริมาณการใช้ดาต้ามือถือพุ่งเกือบ 300 เท่า ในรอบ 10 ปี

    • ภายในสิ้นปี 2570 จะมีผู้ใช้ 5G พุ่งเป็น 4.4 พันล้านบัญชีหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนบัญชีผู้ใช้มือถือในปัจจุบัน
    • ในปี 2570 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก
    • สิ้นปีนี้ คาดว่ายอดผู้ใช้บริการ 5G ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มแตะ 15 ล้านบัญชี

รายงานเชิงลึกระดับโลกของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดเผยว่าตั้งแต่อีริคสันจัดทำและเผยแพร่รายงาน Ericsson Mobility Report เป็นครั้งแรกในปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มขึ้นเกือบ 300 เท่า โดยในรายงานฉบับครบรอบสิบปีนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครือข่ายมือถือทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้เราได้ย้อนกลับไปดูเทรนด์ต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในรอบทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงการคาดการณ์ไปจนถึงปี 2570

จากการคาดการณ์ที่ระบุว่ายอดผู้ใช้บริการ 5G จะสูงแตะ 660 ล้านบัญชีภายในสิ้นปีนี้เป็นการตอกย้ำสมมติฐานที่ว่า 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วที่สุด โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีนและอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาอุปกรณ์ 5G ที่ลดลง อีริคสันยังพบว่าในไตรมาส 3 ที่ผ่านมานี้ทั่วโลกมียอดผู้ใช้ 5G มีจำนวนเพิ่มขึ้นสุทธิที่ 98 ล้านบัญชี เทียบกับผู้สมัครใช้ 4G รายใหม่ที่ 48 ล้านบัญชี และคาดว่าเครือข่าย 5G จะครอบคลุมผู้ใช้งานกว่า 2 พันล้านคนภายในสิ้นปี 2564

สอดคล้องกับการคาดการณ์ล่าสุดที่ระบุว่าภายในปี 2570 เครือข่าย 5G จะกลายเป็นเครือข่ายหลักของโลกเพื่อใช้เข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่ง ณ เวลานี้ผู้ใช้ 5G มีสัดส่วนประมาณ 50% ของจำนวนผู้ใช้มือถือทั้งหมดทั่วโลก โดยครอบคลุมประชากรโลกถึง 75% และคิดเป็น 62% ของปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนทั่วโลก

Nunzio Mirtillo

มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทยกล่าวว่า “การสื่อสารบนมือถือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเหลือเชื่อต่อสังคมและธุรกิจตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อเรามองไปข้างหน้าในปี 2570 เครือข่ายมือถือจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นทั้งในแง่ของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมถึงการใช้ชีวิตและการทำงาน ในรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุดของเรา ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเร่งความเร็วขึ้นอีกระดับ และเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างยิ่งยวด”

คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ยอดผู้ใช้มือถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มเป็น 1.1 พันล้านราย โดยมียอดผู้สมัครใช้บริการ 5G สูงแตะ 15 ล้านราย และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามปีนี้ โดยคาดว่าในปี 2570 จะมียอดผู้ใช้ 5G ถึง 560 ล้านราย นอกจากนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในโลก แตะ 46 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 34% ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดที่เติบโตต่อปีที่ 39% ส่งผลให้มียอดการใช้เน็ตต่อเดือนสูงถึง 46 เอกซะไบท์ (EB) เป็นผลมาจากจำนวนผู้สมัครใช้บริการ 4G และ 5G ที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่เปิดให้บริการ 5G

มร. อิกอร์ กล่าวเสริมว่า “ประเทศไทย คือ หนึ่งในประเทศที่มีประชากรใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลก เมื่อกล่าวถึงภาคอุตสาหกรรมและองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ประเทศไทยคือหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาค โดยมีธุรกิจที่มีศักยภาพจำนวนมากที่นำเทคโนโลยี 5G มาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความทันสมัย ผมมองว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างเครือข่าย 5G ที่สามารถตั้งโปรแกรม มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ”

Ericsson

ตั้งแต่ปี 2554 การนำเครือข่าย 4G LTE มาใช้งานได้ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่เพิ่มยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกพุ่งเป็น 5.5 พันล้านคน และเกิดอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ 4G ขึ้นในตลาดมากกว่า 20,000 รุ่น ในรายงานยังชี้ให้เห็นว่าวงจรเทคโนโลยีของอุปกรณ์ 5G นั้นเปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วกว่า ในปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือ 5G คิดเป็นสัดส่วน 23% ของมือถือทั้งหมดทั่วโลก เทียบกับโทรศัพท์มือถือ 4G ที่มีเพียง 8% ณ จุดเดียวกัน

สิ่งนี้กระตุ้นให้การใช้ปริมาณอินเตอร์เน็ตบนมือถือเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากพิจารณาการเติบโตแบบปีต่อปี จะพบว่าปริมาณการใช้เน็ตมือถือ ณ ไตรมาส 3 ปี 64 เติบโตที่ 42% หรือประมาณ 78 เอกซะไบต์ (EB) ซึ่งนับรวมปริมาณอินเตอร์เน็ตจากบริการบรอดแบรนด์อินเตอร์เน็ตไร้สาย (Fixed Wireless Network) นอกจากนี้ ยังพบว่ายอดการใช้เน็ตมือถือในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีปริมาณเทียบเท่าปริมาณเน็ตที่เคยมีมาทั้งหมดจนถึงปี 2559 ซึ่งจากการคาดการณ์ล่าสุดยังเผยว่าในปี 2570 จะมีการใช้เน็ตมือถือเพิ่มขึ้นสูงถึง 370 เอกซะไบต์ (EB)

นอกจากนี้ ในรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับครบรอบ 10 ปี ยังมีบทความประกอบอีก 4 หัวข้อ ดังนี้

    • การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคตดิจิทัล โดยร่วมกับ Far EasTone
    • การสร้างเครือข่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล โดยร่วมกับ stc
    • Time-to-content: กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับประสิทธิภาพเครือข่าย
    • การสร้างเครือข่ายต่าง ๆ ที่ยั่งยืน

Explore the Ericsson Mobility Report November 2021 edition and the Ericsson Mobility Report Journey.

RELATED LINKS:

อีริคสันแต่งตั้งอิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย

Nunzio Mirtillo

อีริคสันแต่งตั้งอิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ประกาศแต่งตั้ง มร. อิกอร์ มอเรล ขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย ก่อนหน้าที่จะรับตำแหน่งประธาน บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย มร. อิกอร์ เคยเป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการเครือข่ายของอีริคสันประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, โอเชียเนีย และอินเดีย ซึ่งเขารับผิดชอบฝ่ายปฏิบัติการและนำส่งบริการระบบเครือข่าย (Networks Service Delivery & Operations), ซัพพลายเชน (Supply Chain), สนับสนุนการขาย (Sales Support) รวมถึงฝ่ายนวัตกรรมออโตเมชั่นและปัญญาประดิษฐ์ (Automation and Artificial Intelligence)

มร. อิกอร์เข้ารับตำแหน่งต่อจากนาดีน อัลเลน ที่ดำรงตำแหน่งนี้ถึงห้าปีครึ่ง ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานด้านกลยุทธ์และองค์กรธุรกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, โอเชียเนีย และอินเดีย

มร. นันซิโอ เมอร์ทิลโล ประธานบริษัทอีริคสัน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, โอเชียเนีย และอินเดีย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับอีริคสันและเรามุ่งมั่นสนับสนุนผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) ในประเทศไทย โดยมอบประโยชน์ต่าง ๆ จากการเชื่อมต่อไปยังผู้บริโภคและองค์กร โดยการปรับใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นล้ำยุคของเรา อิกอร์ เป็นผู้นำที่มีประสบการณ์ของอีริคสันและด้วยประวัติการทำงานอันยาวนานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญหลากหลายอุตสหากรรมหรือรู้จักตลาดหลายภูมิภาคเป็นอย่างดี ผมมั่นใจว่าภายใต้การนำของเขา อีริคสันจะดำเนินการตามคำมั่นสัญญาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในประเทศไทยต่อไป”

มร. อิกอร์เข้าร่วมงานกับอีรัคสันในปีพ.ศ. 2543 และได้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในด้านเทคโนโลยี การขาย และการดำเนินงานในยุโรป อเมริกาเหนือและละตินอเมริกา เอเชีย และอินเดีย มร. อิกอร์สำเร็จการศึกษาระดับบริหารเอ็มบีเอ (MBA) ในสาขา Innovation & Design Thinking โดยมุ่งเน้นที่ตลาดยุโรปและเอเชียจาก ESADE/AALTO Business School ประเทศสเปน-ฟินแลนด์ นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

มร. อิกอร์กล่าวถึงการมารับตำแหน่งใหม่ว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับตำแหน่งใหม่ในฐานะประธาน บริษัทอีริคสัน ประเทศไทย ตลาดไทยมีความพิเศษและเฉพาะตัวมากด้วยอัตราการใช้เวลาในโลกออนไลน์เฉลี่ยต่อวันสูงในระดับแนวหน้าของโลก และที่นี่ยังแสดงถึงโอกาสทางธุรกิจที่น่าตื่นเต้นสำหรับเรา ผมใจจดจ่อที่จะสนับสนุนผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของไทยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารที่มีพลวัตและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยให้ประเทศไทยสร้างระบบนิเวศไร้สายในอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชั่น 5G ที่ล้ำสมัยของ Ericsson”

นับเป็นเวลากว่า 115 ปีที่อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทย อีริคสันได้เป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของไทยในการจัดหานวัตกรรมการเชื่อมต่อของเทคโนโลยีมือถือในยุคต่าง ๆ แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย และอีริคสันกำลังทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อแนะนำ 5G ในประเทศไทยได้อย่างราบรื่น 

Ericsson เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ทั่วโลก โดยมีเครือข่าย 5G จำนวน 97 เครือข่ายที่เปิดให้บริการแล้วใน 46 ประเทศ

มาเลเซียเลือกอีริคสันให้เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อนำประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

Ericsson_อีริคสัน

มาเลเซียเลือกอีริคสันให้เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อนำประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

    • อีริคสันเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Digital Nasional Berhad (DNB) ในกรอบเวลา 10 ปีเพื่อพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วประเทศมาเลเซีย
    • 5G จะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและอุตสาหกรรมของมาเลเซีย
    • อีริคสันนำเสนอโซลูชั5G แบบต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-to-End) ซึ่งประกอบไปด้วยโครงข่ายหลัก (Core), โครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (RAN) และการขนส่ง การดำเนินงานและระบบสนับสนุนธุรกิจ (OSS/BSS) และการบริหารจัดการเครือข่าย

ประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ จะได้รับประโยชน์จากสัญญาร่วมมือด้าน 5G เป็นระยะเวลา 10 ปี ระหว่างอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) และหน่วยงานดิจิทัลแห่งชาติของมาเลเซีย Digital Nasional Berhad (DNB) เพื่อขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีไร้สายยุคถัดไปของประเทศมาเลเซีย

ความเร็ว ความหน่วงต่ำและความสามารถในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลให้กับประเทศ ในขณะที่การสร้างระบบนิเวศ 5G จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงเทคโนโลยีโลกเสมือนต่าง ๆ อาทิ Augmented Reality (AR) หรือ Virtual Reality (VR) และระบบอัตโนมัติทั่วทั้งองค์กร อุตสาหกรรม และการใช้งาน Internet of Things (IoT) ในหลายภาคส่วน

ด้วยการนำสมรรถนะของ 5G มาใช้และเร่งติดตั้งเครือข่ายและระบบนิเวศ 5G ทั่วประเทศมาเลเซียจะทำให้ DNB จัดสรรการเข้าถึงและบริการแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รวมถึงผู้ที่ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการในรูปแบบอื่นจากภาครัฐ เพื่อทำให้ได้รับประสบการณ์ 5G ระดับโลกและทำให้อุตสาหกรรม 4.0 เป็นจริงในมาเลเซีย

มร. ราล์ฟ มาร์แชล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ DNB กล่าวว่า “DNB มุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีที่สุดแก่ประชาชนชาวมาเลเซีย ธุรกิจและรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่ามาเลเซียจะอยู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก เราเจาะจงให้อีริคสันนำเสนอเทคโนโลยี 5G อันล้ำยุคที่ดีที่สุดและบริการระดับมืออาชีพที่พร้อมใช้งานตรงกับความต้องการของ DNB ที่มีความเฉพาะเจาะจงและไม่เหมือนใคร”

การมีส่วนร่วมของอีริคสันในโครงการ 5G ระดับชาติจะทำให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การสร้างงาน การเป็นพันธมิตรกับประชากรกลุ่มภูมิบุตร (ชาวมลายูดั้งเดิม) และผู้รับเหมาท้องถิ่นอื่นและผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ไปจนถึงการสร้างองค์ความรู้และประสิทธิภาพในประเทศมาเลเซีย

มร. เดวิด เฮเกอร์บรอ ประธานกรรมการ บริษัทอีริคสัน (มาเลเซีย ศรีลังกาและบังกลาเทศ) กล่าวว่า “5G เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเปิดนวัตกรรมและกลายเป็นหลักสำคัญที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นเรื่องน่ายินดีกับความมุ่งมั่นในการเร่งนำ 5G มาใช้ทั่วประเทศ แก้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลให้กับประเทศ 5G จะเป็นตัวส่งเสริมความตั้งใจของรัฐบาลในการสนับสนุนชาวมาเลเซียให้เป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชันและการใช้งาน 5G“

“ด้วยระยะเวลาและการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศมาเลเซียมายาวนานถึง 56 ปี เราตื่นเต้นที่จะได้ขยายความมุ่งมั่นของเรามาสู่ประเทศนี้ อีริคสันมั่นใจด้วยความเป็นผู้นำ 5G ระดับโลกและความสามารถในการปรับใช้ที่แข็งแกร่ง จะทำให้เราทำได้ตามเป้าหมายของ DNB” มร. เดวิดกล่าวเพิ่มเติม

ความร่วมมือระหว่าง DNB และอีริคสันครั้งนี้ครอบคลุมไปถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์และและโซลูชันระบบวิทยุของอีริคสัน (Ericsson Radio System) ที่ประหยัดพลังงาน รวมไปถึงระบบการจัดสรรช่วงคลื่นความถี่ Ericsson Spectrum Sharing ที่เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งาน 5G ในขอบเขตที่กว้างใหญ่

นอกจากนั้นความร่วมมือนี้ยังรวมถึงโครงข่าย 5G หลักแบบคลาวด์ (Cloud-native 5G Core) และโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ 5G (RAN) อีริคสันจะบริหารความต้องการเฉพาะสำหรับของเครือข่ายด้วยการบริหารจัดการเครือข่ายชั้นนำด้วย Ericsson Operations Engine โซลูชันดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่าย DNB โดยใช้ AI ระบบอัตโนมัติและ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ Cognitive Software เพื่อคาดการณ์และป้องกันปัญหา

สิ่งที่อีริคสันจัดหาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำยังรวมถึงโซลูชันระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (OSS) และระบบสนับสนุนธุรกิจ (BSS)

DNB ได้รับมอบหมายในการนำประเทศมาเลเซียให้บรรลุแรงปณิธานด้านดิจิทัลตามแผนพิมพ์เขียวเศรษฐกิจดิจิทัลมาเลเซีย หรือ MyDIGITAL ของรัฐบาลซึ่งจะเปลี่ยนโฉมประเทศไปสู่การขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล เป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป็นผู้นำในด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ความปลอดภัยในไซเบอร์และเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

DNB ยังคงสนับสนุนความทันสมัยของเครือข่ายมือถือของประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งในแผนปรับโครงสร้างดิจิทัลแห่งชาติ Jalinan Digital Negara (Jendela) เพื่อให้ชาวมาเลเซียทุกคนได้รับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ

ในระยะเริ่มต้น DNB มุ่งหมายที่จะเปิดตัวเครือข่าย 5G แรกของมาเลเซียในกัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายาและไซเบอร์จายา ธุรกิจของอีริคสันและการนำประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาปรับใช้ในมาเลเซียเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บรรลุเป้าหมายของ DNB ที่กำหนดให้มีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศภายในปี 2567

อีริคสันคือผู้นำ 5G ระดับโลกด้วย 97 เครือข่าย 5G ที่เปิดให้บริการแล้วใน 46 ประเทศทั่วโลก

พลิกโฉม 360 องศาประสบการณ์ความตื่นเต้นเร้าใจของการดูกีฬาไปกับเทคโนโลยี 5G

Ericsson_อีริคสัน

พลิกโฉม 360 องศาประสบการณ์ความตื่นเต้นเร้าใจของการดูกีฬาไปกับเทคโนโลยี 5G

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียวนับว่าเป็นมหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติที่ค่อนข้างแปลกกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ช่างเป็นการแข่งขันกีฬาที่เงียบเหงา เพราะคณะผู้จัดงานไม่ได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าร่วมชมเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ซึ่งน่าจะอยู่กับพวกเราไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง

เทคโนโลยี 5G จะนำความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลมายังทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งวงการกีฬา เพราะเทคโนโลยี 5G สามารถรองรับการใช้งาน Digital Application, Video on Demand และ Immersive User Experience (ประสบการณ์การรับชมที่เสมือนจริงและล้ำลึก) เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกของการดูกีฬาที่ใกล้ชิด พร้อมพรั่งด้วยข้อมูลเชิงลึกเพียงปลายนิ้วสัมผัส และ Interactive สุด ๆ ไม่ว่าแฟนกีฬาเหล่านั้นจะเข้าชมที่สนามหรือดูจากที่บ้าน

มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกจะปรับเปลี่ยนเข้าใช้งานเทคโนโลยี 5G ภายในปี 2564 นี้ โดยในรายงาน ConsumerLab ที่จัดทำขี้นโดยบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีสื่อสารอย่างอีริคสันได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคว่า ผู้ใช้งานเทคโนโลยี 5G จะใช้เวลาเพิ่มเติมอีก 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการรับชมวิดีโอความคมชัดระดับ HD ผ่านมือถือ และอีก 1 ชั่วโมงเพิ่มขึ้นเพื่อใช้งานเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR-Augmented Reality) เมื่อเทียบกับยุค 4G

ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่นั่งที่ดีที่สุดในการดูกีฬาอยู่ในบ้านของคุณนั่นเอง อีริคสันเผยแพร่ผ่าน 5G in Sports Blog ว่า สิ่งที่ 5G จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การจัดงานอีเว้นต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการแข่งขันกีฬา และจะเป็นช่องทางการหารายได้ใหม่ ๆ ของค่ายมือถือนั่นคือ 5G จะเสริมประสบการณ์การดูกีฬาของผู้บริโภคทั้งจากสนามแข่งขันที่ผู้ชมจะสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันและนักกีฬาแบบเรียลไทม์ และนำผู้ชมทางบ้านเข้าใกล้แบบเกาะสนามแข่งขัน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการประสบการณ์การรับชมแบบองค์รวมทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน

ชาติที่ตื่นตัวที่สุดในการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาเสริมประสบการณ์การชมกีฬาคือ การ์ต้า เจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2022 Ooredoo ผู้นำค่ายมือถือในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจับมือกับอีริคสัน เพื่อนำเอาขีดความสามารถของเทคโนโลยี 5G มาเพื่อสร้างให้ฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นมีความยิ่งใหญ่ที่สุด โดยการ์ต้าไม่เพียงแต่การทุ่มเงินมหาศาลถึงกว่าสองแสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในการสร้างสนามแข่งขันใหม่ถึง 8 สนาม Ooredoo ยังได้เตรียมความพร้อมด้านการถ่ายทอดการแข่งขัน โดยได้พัฒนาเครือข่าย 5G ให้ครอบคลุมสนามหลัก ๆ เช่น สนาม Al Wakrah สนาม Al Janoub รวมทั้งสนามกีฬาเสมือนจริงในศูนย์การค้าชั้นนำอย่าง Mall of Qatar

การ์ต้าเอาจริงเอาจังมากกับการเตรียมความพร้อม ด้วยการทดลองระบบกับการแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศอย่าง Amir Cup 2021 ซึ่งผู้ชมในสนามจริงและแบบเสมือนจริงสามารถรับชมการแข่งขันได้อย่างใกล้ชิดและมีอารมณ์ร่วมไปกับการแข่งขัน (Immersive Experience) ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่พีคสุดของการดูกีฬาแบบเสมือนจริงของการ์ต้าคือผู้ชมสามารถเลือกจุดการรับชมได้อย่างอิสระและไม่จำกัดระหว่างการชมการแข่งขัน กล่าวคือสามารถเป็นผู้กำกับภาพได้ด้วยตัวเอง

อีกความน่าสนใจของการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อชมการแข่งขันกีฬาในแบบ Immersive การแข่งขันฟุตบอลบุนเดสลีกาในปี 2020 ของเยอรมันนี ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Vodafone, Sky Sport Channel และอีริคสัน ในการร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ของผู้ชมในสนาม Merkul Spiel ในเมือง Düsseldorf แน่นอนว่าสิ่งที่เพิ่มเติมสำหรับผู้ชมในสนามคือ เสียงบรรยายและการวิเคราะห์การแข่งขัน ที่ให้ผู้ชมในสนามสามารถเลือกที่จะฟังได้

ยิ่งไปกว่านั้น AR Technology ยังสามารถช่วยให้ผู้ชมในสนามเข้าถึงข้อมูลการแข่งขันและนักกีฬาได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นสถิติการครองบอล ความเร็วในการวิ่งและข้อมูลรอบด้านของนักฟุตบอล การชมวิดีโอย้อนหลังทั้งแบบปกติและ Slow Motion เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลการตัดสิน และเลือกฟังเสียงการสนทนาในสนามระหว่างผู้เล่น กรรมการ และผู้จัดการทีม ซึ่งเติมเต็มประสบการณ์การชม ณ สนามแข่งได้อย่างสมบูรณ์แบบ

เทคโนโลยี 5G จะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจมาสู่ค่ายมือถือ ผู้จัดการแข่งขันกีฬา ผู้พัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการสร้าง Immersive Experience ให้กับผู้ชม มีประมาณการว่าผู้ชมกีฬากว่า 160 ล้านคนต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาจะใช้งาน 5G for Immersive Experience ในปี 2567  โดย 1 ใน 4 จะเป็นการใช้งาน AR rendering service ทั้งจากในสนามแข่งขันและจากทางบ้าน และจะก่อให้เกิดรายได้ใหม่จาก 5G for immersive experience กว่า 4 พันล้านเหรียญต่อปี

อีริคสัน คาดว่ายอดผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลกจะพุ่งขึ้นเกินกว่า 580 ล้านรายภายในสิ้นปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านรายต่อวัน จากรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับที่ 20 ตอกย้ำให้เห็นว่า 5G จะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการใช้เร็วที่สุด โดยภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมด

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1.1 พันล้านราย ในขณะที่ยอดผู้ใช้งาน 5G ยังต่ำกว่าระดับ 2 ล้านราย อย่างไรก็ตามคาดว่าการสมัครใช้ 5G จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมียอดรวมพุ่งขึ้นถึง 400 ล้านราย ภายในปี 2569

คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกโดยจะแตะ 39 กิกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2569 – โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 36% ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เฉลี่ยเติบโตต่อปีที่ 42% เพิ่มขึ้นถึง 39 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครใช้ 4G และการเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย 5G ในประเทศที่มีการเปิดตัว 5G แล้ว

อีริคสันเผยยอดผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลกจะทะลุ 500 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้

Ericsson_อีริคสัน

อีริคสันเผยยอดผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลกจะทะลุ 500 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้

    • ในไตรมาสแรกปี 2564 พบมีผู้ใช้งาน 5G บนอุปกรณ์ที่รองรับเครือข่าย 5G เพิ่มขึ้นถึง 70 ล้านราย และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นถึง 580 ล้านรายภายในสิ้นปี
    • ภายในปี 2569 ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเติบโตรวดเร็วสุดเมื่อเทียบกับทั่วโลก และจะมีผู้ใช้งาน 5G แตะ 400 ล้านราย
    • อีริคสันสนับสนุนประเทศไทยขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบนิเวศเครือข่ายไร้สาย (Wireless Ecosystem) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม 0 ในฐานะพันธมิตรเครือข่าย 5G ที่ได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลก
Ericsson_EMR ConsumerLab

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) คาดว่ายอดผู้สมัครใช้ 5G จะพุ่งขึ้นเกินกว่า 580 ล้านรายภายในสิ้นปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านรายต่อวัน

จากการคาดการณ์ตามรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับที่ 20 ตอกย้ำให้เห็นว่า 5G จะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการใช้เร็วที่สุดตลอดกาล โดยภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมด

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1.1 พันล้านราย ในขณะที่ยอดผู้ใช้งาน 5G ยังต่ำกว่าระดับ 2 ล้านราย อย่างไรก็ตามคาดว่าการสมัครใช้ 5G จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมียอดรวมพุ่งขึ้นถึง 400 ล้านราย ภายในปี 2569

คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกแตะ 39 กิกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2569 – โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 36% ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เฉลี่ยเติบโตต่อปีที่ 42% เพิ่มขึ้นถึง 39 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครใช้ 4G และการเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย 5G ในประเทศที่มีการเปิดตัว 5G แล้ว

นางนาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้บุกเบิกเปิดตัวบริการ 5G เชิงพาณิชย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะพัฒนาระบบนิเวศไร้สายสำหรับ Industry 4.0 ที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานมือถือของผู้บริโภคและสนับสนุนการเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมไปสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เช่น ภาคการผลิต พลังงาน และการดูแลสุขภาพ อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาถึง 115 ปีแล้ว และเราทำหน้าที่พันธมิตร 5G ระดับโลกที่ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวาง เพื่อสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์นั้นอย่างเป็นรูปธรรม”

ตามรายงาน ความเร็วของการนำเครือข่าย 5G ไปใช้จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปเริ่มช้ากว่าและตามหลังตลาดจีน สหรัฐอเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางอยู่มาก

คาดว่าการสมัครใช้ 5G จะพุ่งเกินหนึ่งพันล้านรายเร็วกว่าไทม์ไลน์ของ 4G LTE ถึงสองปี โดยมีปัจจัยเบื้องหลังสำคัญ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการพัฒนา 5G ของจีน ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ และความพร้อมใช้งานที่มาเร็วขึ้นประกอบกับการวางจำหน่ายของอุปกรณ์ดีไวซ์ที่รองรับ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่ง ณ เวลานี้มีการเปิดตัวหรือวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนที่รองรับเครือข่าย 5G มากกว่า 300 รุ่นแล้ว

ความเคลื่อนไหวของ 5G เชิงพาณิชย์นี้คาดว่าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป โดยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในด้านการเชื่อมต่อ และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

คาดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสัดส่วนผู้สมัครใช้ 5G มากที่สุด ถึงประมาณ 1.4 พันล้านรายภายในปี 2569 ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับคาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้ 5G สูงสุดที่ 84% และ 73% ตามลำดับ

นาดีน อัลเลน

5G เปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยแล้ว

จากรายงาน Five Ways to a Better 5G พบว่า ในปี 2030 ตลาด 5G สำหรับผู้บริโภคทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 31 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการให้บริการ 5G ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ตามรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุด ตอกย้ำให้เห็นความตั้งใจของผู้บริโภคที่ต้องการอัปเกรดเป็น 5G ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะมีการระบาดของ Covid-19  สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 5 ล้านรายสามารถใช้ 5G ได้แล้ว นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีพฤติกรรมใหม่ ๆ จากการใช้ 5G ของผู้ใช้กลุ่มแรก ๆ โดยพวกเขาใช้เวลามากกว่า 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับแอป AR และเล่นเกมบนคลาวด์ ซึ่งมากกว่าผู้ใช้ 4G ประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะที่ 57% ของผู้ใช้ 5G เริ่มสตรีมวิดีโอ HD หรือมีการใช้งานมากขึ้น โดย 14% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้ Wi-Fi น้อยลงหลังอัปเกรดเป็น 5G

ผู้ใช้งาน 5G ที่เป็นกลุ่มแรก ๆ ในประเทศไทยพึงพอใจกับความเร็วของ 5G แต่ก็คาดหวังให้มีนวัตกรรมมากขึ้นเช่นกัน ผู้บริโภคระบุว่าพวกเขายินดีจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้น 50% สำหรับใช้แพ็กเกจ 5G ที่รวมบริการดิจิทัลที่มีบทบาทสูงสำหรับธุรกิจเชิงพาณิชย์ สำหรับบริการอื่น ๆ เช่น ทีวี 5G ที่มาพร้อมกับบรอดแบนด์ 5G ระบบ Fixed Wireless Network (FWA) คลาวด์ความเร็วสูง เพลงคุณภาพสูงระดับ Hi-Fi เทคโนโลยี AR ที่สามารถโต้ตอบได้  ประสบการณ์ทั้งในสถานที่จริงและประสบการณ์เสมือนจริงสำหรับการแข่งขันกีฬาและมหกรรมคอนเสิร์ตผ่านทางไกลมีแนวโน้มให้ผู้บริโภคอัปเกรดเป็นแพ็กเกจระดับพรีเมียม 5G ซึ่งการเพิ่มรายได้ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะมาจากการรับรู้และจัดการกับความท้าทายของความพร้อมใช้งาน 5G รวมถึงแผนและบริการใหม่ ๆ ที่ทำให้เห็นคุณค่าของ 5G

อีริคสัน 5G