เปิดเช็กลิสต์เตรียมพร้อมสำหรับมือใหม่ อัปสเต็ปความมั่นใจเมื่อคิดซื้อบ้านหลังแรก

เปิดเช็กลิสต์เตรียมพร้อมสำหรับมือใหม่ อัปสเต็ปความมั่นใจเมื่อคิดซื้อบ้านหลังแรก

เปิดเช็กลิสต์เตรียมพร้อมสำหรับมือใหม่ อัปสเต็ปความมั่นใจเมื่อคิดซื้อบ้านหลังแรก

แม้ปัจจัยแวดล้อมจะสั่นคลอนแผนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคบางส่วน แต่ความต้องการซื้อยังคงมีอยู่ ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามฯ (50%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากในรอบก่อนหน้าที่มีเพียง 44% โดยได้รับแรงกระตุ้นมาจากมาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นี้ ประกอบกับการที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างจัดโปรโมชั่นอย่างดุเดือดหวังกระตุ้นยอดขายช่วงโค้งสุดท้ายของปี จึงถือเป็นโอกาสทองของผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินหรือมีเงินเก็บที่จะซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมเช่นกัน

ขณะที่จำนวนอุปทานในตลาดอสังหาฯ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลการสำรวจภาวะภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2567 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) พบว่า อุปทานที่อยู่อาศัยเสนอขายในตลาดที่อยู่อาศัยรวม (บ้านจัดสรรและอาคารชุด) มีจำนวน 229,528 หน่วย มูลค่ารวม 1,350,586 ล้านบาท ซึ่งขยายตัว 11% และ 30.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่จำนวน 17,197 หน่วย มูลค่ารวม 128,440 บาท สะท้อนให้เห็นว่าอุปทานที่อยู่อาศัยยังคงมีจำนวนเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของผู้ซื้อในเวลานี้

เทรนด์หาบ้านออนไลน์โตต่อเนื่อง คนสนใจบ้านมือหนึ่งเพราะอยากได้บ้านใหม่แกะกล่อง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เผยว่า จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2567 เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังคงมีอยู่แม้จะไม่ได้คึกคักเท่าที่ผ่านมา โดยช่องทางออนไลน์ยังครองใจคนหาบ้านและเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาได้เป็นอย่างดี ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า ช่องทางยอดนิยมที่ผู้บริโภคใช้ค้นหาข้อมูลเมื่อซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น 62% นิยมใช้เว็บไซต์โครงการมากที่สุด รองลงมาคือ Google ในสัดส่วนไล่เลี่ยที่ 60% และกลุ่มอสังหาฯ ในโซเชียลมีเดีย 51% ขณะที่แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์อย่าง YouTube (39%) และ TikTok (20%) ยังเป็นอีกช่องทางที่คนหาบ้านให้ความสนใจ โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มอายุ 22-29 ปี เนื่องจากสามารถถ่ายทอดบรรยากาศจริงของโครงการได้ดีกว่าและมีรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย ตอบโจทย์เทรนด์การเสพสื่อในยุคนี้ 

สำหรับฟิลเตอร์หรือตัวเลือกในการค้นหาที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด กว่า 2 ใน 3 (67%) ต้องการฟิลเตอร์ค้นหาจากทำเลที่ตั้ง รองลงมาคือฟิลเตอร์ค้นหาตามขนาดที่อยู่อาศัย 62% และฟิลเตอร์ที่ช่วยแยกระหว่างที่อยู่อาศัยโครงการใหม่และมือสอง 58% โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง (71%) ซึ่งช่วยคัดกรองบ้าน/คอนโดฯ ที่ต้องการได้ในเบื้องต้นและมีผลเกี่ยวเนื่องไปยังการวางแผนค่าใช้จ่ายตามไปด้วย เนื่องจากโครงการเปิดใหม่จะมีข้อเสนอที่ดึงดูดใจมากกว่า ผู้พัฒนาอสังหาฯ มักจัดโปรโมชั่นร้อนแรงกระตุ้นยอดขายในช่วงเปิดตัวโครงการใหม่อย่างเต็มที่ และเมื่อกู้ซื้อบ้านมือหนึ่งยังมีโอกาสได้วงเงินที่สูงกว่าการกู้ซื้อบ้านมือสองอีกด้วย

นอกจากนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ในปี 2567 นี้ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อบ้าน/คอนโดฯ มือหนึ่งนั้น กว่า 4 ใน 5 (83%) เลือกเพราะอยากได้ที่อยู่อาศัยในสภาพใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน ไม่ต้องกังวลว่าบ้านจะทรุดโทรมหรือเจ้าของเดิมจะแอบซ่อนความเสียหายไว้ รองลงมา 67% ต้องการตกแต่งบ้านตามสไตล์ที่ชื่นชอบ ขณะที่ 66% มองว่าบ้านมือหนึ่งมีโปรโมชั่นต่าง ๆ มากกว่า ตอบโจทย์ในการวางแผนค่าใช้จ่าย ส่วน 59% มองว่ารูปแบบบ้าน/ห้องของโครงการเปิดใหม่มีความทันสมัยมากกว่า และ 56% มองว่าไม่มีประวัติหรือเหตุการณ์ร้าย/น่ากลัว ทำให้อุ่นใจและลดความกังวลไปได้ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นจุดเด่นของบ้านมือหนึ่งได้เป็นอย่างดี 

สอดคล้องกับความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของชาวอาเซียนที่ให้บ้านมือหนึ่งเป็นตัวเลือกอันดับแรกเมื่อคิดซื้อที่อยู่อาศัย ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคในอาเซียนจากเว็บไซต์ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป (NYSE: PGRU) พบว่า ชาวมาเลเซีย 72% และชาวเวียดนาม 52% สนใจที่จะซื้อที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมากที่สุด โดยมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของภาครัฐ ประกอบกับเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยของ 2 ประเทศนี้มีทิศทางเป็นบวกตามไปด้วยเช่นกัน

เปิดเช็กลิสต์เลือกซื้อบ้านใหม่อย่างไรให้ตรงปก ตรงใจ คลายกังวลสำหรับมือใหม่

การซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นการลงทุนครั้งสำคัญในชีวิต เนื่องจากบ้าน/คอนโดฯ มีราคาสูงจึงต้องใช้เวลาผ่อนชำระที่ยาวนาน การลงหลักปักฐานแต่ละครั้งจึงถือเป็นเรื่องใหญ่ หากมือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ในแวดวงอสังหาฯ มาก่อนอาจเกิดความกังวลใจได้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แนะนำเช็กลิสต์ในการเลือกซื้อบ้านมือหนึ่งสำหรับคนหาบ้านมือใหม่ ให้เริ่มต้นวางแผนการซื้อบ้านได้อย่างรอบคอบ พร้อมศึกษาปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนซื้อ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ไม่เคยซื้อบ้านมาก่อนสามารถก้าวสู่เส้นทางการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้อย่างราบรื่นและมั่นใจยิ่งขึ้น

  • สำรวจความพร้อมทางการเงิน คำนวณราคาบ้านที่กู้ได้ ปัจจัยสำคัญในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ อันดับแรกคือต้องรู้ความสามารถในการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อช่วยวางแผนการเงินและกำหนดราคาบ้าน/คอนโดฯ ที่เหมาะกับงบได้ โดยสามารถคำนวณราคาที่อยู่อาศัยคร่าว ๆ ด้วยการใช้สูตร “(รายได้ต่อเดือน) X (60 เท่าของรายได้) = ราคาบ้านที่กู้ซื้อได้” เช่น รายได้ 30,000 บาท/เดือน x 60 = 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณเบื้องต้นเพื่อให้ทราบวงเงินขั้นต่ำที่จะกู้ได้ ทั้งนี้ บางธนาคารอาจจะปรับจำนวนเท่าของรายได้ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์พิจารณาของแต่ละสถาบัน ซึ่งจะต้องประเมินความสามารถทางการเงินควบคู่ไปกับประมาณการหนี้สินของผู้กู้อีกครั้ง เมื่อผู้บริโภคทราบวงเงินกู้คร่าว ๆ แล้วจะสามารถใช้เป็นราคาตั้งต้นในการค้นหาบ้าน/คอนโดฯ ที่สนใจ จากนั้นจึงเริ่มวางแผนเก็บเงินเพื่อใช้เป็นเงินดาวน์ประมาณ 10-20% ของราคาที่อยู่อาศัย 
  • เลือกประเภทที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ ที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทมีจุดเด่นและข้อควรพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ผู้บริโภคควรพิจารณาว่าสมาชิกที่จะอาศัยด้วยมีใครบ้าง มีความต้องการในชีวิตประจำวันและมีไลฟ์สไตล์อย่างไร เช่น ต้องการสวนหย่อมเพื่อพักผ่อน ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง หรือเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ รวมทั้งผู้บริโภคมีแผนจะขยายครอบครัวในอนาคตหรือไม่ ซึ่งทำให้อาจต้องการพื้นที่มากขึ้นตามไปด้วย จากนั้นนำความต้องการที่มีมาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดฯ ว่าประเภทไหนที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากที่สุด
  • เปรียบเทียบความคุ้มค่าของคุณภาพวัสดุที่ใช้ ผู้บริโภคควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหรือตกแต่ง ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและราคาแตกต่างกัน รวมไปถึงความคงทนในการใช้งาน เช่น วัสดุในห้องครัวแบบไหนที่ทนทาน ผนังเก็บเสียงได้ดีหรือไม่ หรือไม่ใช้พื้นลามิเนตในโซนที่เปียกน้ำบ่อยเพราะอาจบวมได้ง่าย ฯลฯ โดยผู้บริโภคสามารถสอบถามสเปกวัสดุต่าง ๆ กับพนักงานขายได้เมื่อเยี่ยมชมโครงการจริง และนำมาพิจารณาความคุ้มค่าด้านราคากับวัสดุที่ได้ ควบคู่ไปกับเรื่องความสวยงามว่าผลงานการก่อสร้างและตกแต่งที่โครงการมอบให้นั้นตอบโจทย์ตามที่คาดหวังหรือไม่
  • สำรวจส่วนกลางและระบบรักษาความปลอดภัย ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยผู้บริโภคที่ให้ข้อมูลกับทาง DDproperty ผ่านแบบสำรวจฯ ออนไลน์ ถึง 79% เผยว่าส่วนกลางภายในโครงการที่อยู่อาศัยถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมาก ดังนั้นผู้บริโภคต้องสำรวจว่าส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกจากโครงการมีอะไรบ้าง และพิจารณาว่าสิ่งที่ได้รับเหมาะสมกับค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายหรือไม่ หรือมีส่วนไหนที่เกินความจำเป็น เพราะจะส่งผลต่อค่าบำรุงรักษาที่ต้องจ่ายตลอดการอยู่อาศัย   

นอกจากนี้ ระบบรักษาความปลอดภัยต้องมีครบทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและภายในที่อยู่อาศัยเอง โดยมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เช่น มีระบบลิฟต์ล็อกชั้นสำหรับคอนโดฯ กล้องวงจรปิดทั่วทั้งโครงการ ใช้ระบบคีย์การ์ดในการเข้าออก ใช้กลอนประตูดิจิตอล (Digital Door Lock) รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง ซึ่งล้วนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหากเทียบกับการช่วยป้องกันความเสียหายของผู้อยู่อาศัย ทั้งนี้ ชื่อเสียงที่ดีของนิติบุคคลยังมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับบริการที่ดีตลอดการอยู่อาศัย โดยสามารถสอบถามชื่อบริษัทนิติบุคคลของโครงการจากพนักงานขายได้เช่นกัน

  • ทำเลโครงการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เบื้องต้นผู้บริโภคควรสำรวจพื้นที่โครงการด้วยตนเองว่าในทำเลนั้นมีความเจริญในพื้นที่ ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเพียงใด เช่น ใกล้ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งช็อปปิ้ง โรงพยาบาล สถานศึกษา ฯลฯ รวมทั้งมีระบบคมนาคมที่รองรับการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกหรือไม่ เช่น ใกล้รถไฟฟ้า BTS/MRT ใกล้ทางด่วน หรือสามารถเข้าออกได้หลายเส้นทาง นอกจากนี้ อีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือการสำรวจว่าทำเลที่โครงการตั้งอยู่นั้นอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกหนักหรือไม่ และปัจจุบันมีการจัดทำระบบระบายน้ำช่วยรับมือและแก้ปัญหาที่ดีขึ้นแล้วหรือยัง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจประสบปัญหานี้อีกครั้งในอนาคต
  • ตรวจสอบว่าโครงการปลอดข้อพิพาทหรือไม่ สิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคไม่ควรมองข้ามก่อนตัดสินใจจองบ้าน/คอนโดฯ คือโครงการนั้นผ่านการอนุมัติรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment Report) เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เนื่องจากบางโครงการอาจประกาศขายในระหว่างที่ยื่นขอ EIA อยู่ ซึ่งหากไม่ผ่านการอนุมัติจะส่งผลให้โครงการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดหรือไม่สามารถก่อสร้างได้ และจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ทำการจองแล้วโดยตรง นอกจากนี้ ผู้บริโภคควรค้นหาข้อมูลว่าโครงการที่สนใจนั้นมีข้อพิพาทหรือมีคดีความที่ยังไม่สิ้นสุดหรือไม่ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของโครงการ ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถประกาศขายหรือทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างที่คิด
  • เลือกโปรโมชั่นจัดเต็ม อัปเลเวลความคุ้มค่า ปัจจุบันผู้พัฒนาอสังหาฯ ต่างงัดกลยุทธ์ออกมาเร่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ผ่านการจับมือกับพันธมิตรที่หลากหลายเพื่อนำเสนอโปรโมชั่น/แคมเปญการตลาดที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์มากขึ้น ประกอบกับการที่มีมาตรการอสังหาฯ จากภาครัฐมาช่วยสนับสนุน ทำให้เวลานี้ถือเป็นโอกาสทองสำหรับผู้วางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในช่วงปลายปีนี้ที่จะพิจารณาโครงการที่มีโปรโมชั่นดี ๆ มาช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด สอดคล้องกับผลสำรวจที่ DDproperty จัดทำผ่านช่องทางออนไลน์ พบว่าโปรโมชั่นยอดนิยมที่ผู้วางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ ต้องการมากที่สุด คือส่วนลด/ราคาพิเศษถึง 84% รองลงมาคือฟรีค่าส่วนกลางรายปี 76% และฟรีค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธิ์ 69% จะเห็นได้ว่า 3 อันดับแรกของโปรโมชั่นที่ผู้ซื้อบ้านต้องการจะเน้นไปที่ส่วนลดทางการเงินเป็นหลัก เนื่องจากช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเมื่อซื้อบ้านใหม่ได้ตรงจุดมากที่สุด 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ได้ปล่อยแคมเปญล่าสุด “H.O.M.E. Campaign” แคมเปญที่ร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาฯ ชั้นนำของไทย รวบรวมโครงการคุณภาพหลากหลายรูปแบบและระดับราคา เปิดโอกาสให้คนหาบ้านได้เลือกสรรที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์พร้อมเลือกโปรโมชั่นพิเศษที่โดนใจได้เอง เพียงลงทะเบียนซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่เข้าร่วมแคมเปญนี้โดยสังเกตได้จากริบบิ้นสีแดงและสีชมพูบนเว็บไซต์ DDproperty และทำการโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 รับสิทธิ์เลือกโปรโมชั่นพิเศษจาก 1 ใน 4 ของรางวัลสุดคุ้มได้ทันที มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท/รางวัล*

  1. Home: ฟรี! บัตรกำนัลมูลค่าสูงสุด 30,000 บาท* สำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์หรือบริการ Home Service จาก NocNoc ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ ให้คุณเลือกช็อปปิ้งสินค้าเพื่อตกแต่งที่อยู่อาศัยในสไตล์ที่ชอบ
  2. Organise: ฟรี! จ่ายค่าส่วนกลางเพิ่มให้ 1 ปี ฟินได้เต็มที่กับส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวก (มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท*)
  3. Manage: ฟรี! บริการเอเจนต์จากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ช่วยให้คุณหาผู้ซื้อ/ผู้เช่าได้ง่ายขึ้น (จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท*)
  4. Experience: ฟรี! คำแนะนำการจัดฮวงจุ้ยบ้าน/คอนโดฯ จากอาจารย์ฮวงจุ้ยชั้นนำ เสริมมงคลและพลังบวก (มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท*)

สิทธิพิเศษมีจำนวนจำกัด! อย่าพลาดโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยช่วงโค้งสุดท้ายของปี ดูรายละเอียดและโครงการที่เข้าร่วมได้ทาง https://homecampaign.ddproperty.com หรือสังเกตโครงการที่มีริบบิ้น H.O.M.E. สีแดง (รางวัลมูลค่าสูงสุด 30,000 บาท*) และสีชมพู (รางวัลมูลค่าสูงสุด 10,000 บาท*) บนเว็บไซต์ DDproperty.com

หมายเหตุ

  • *รางวัลของแคมเปญ “H.O.M.E. Campaign” มี 2 ระดับ คือระดับที่ 1 โครงการที่ติดริบบิ้นสีแดง รับรางวัลมูลค่าสูงสุด 30,000 บาท/รางวัล และระดับที่ 2 โครงการที่ติดริบบิ้นสีชมพู รับรางวัลมูลค่าสูงสุด 10,000 บาท/รางวัล
  • **ในการรับรางวัลจากแคมเปญนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด ยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่อาจเกิดขึ้นสำหรับบางรางวัลที่เลือกรับ (ถ้ามี) โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

คนไทยยังตั้งเป้าซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพเศรษฐกิจยังท้าทาย ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐแรงพอจุดไฟให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก

คนไทยยังตั้งเป้าซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพเศรษฐกิจยังท้าทาย ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐแรงพอจุดไฟให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก

คนไทยยังตั้งเป้าซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพเศรษฐกิจยังท้าทาย ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐแรงพอจุดไฟให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก

แม้ภาครัฐจะขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านหน่วยงานในการกำกับของรัฐฯ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมาได้เร็วอย่างที่คาด ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนสิงหาคม 2567 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการเติบโตของหลายธุรกิจรวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ต่างชะลอตัวตามไปด้วยเช่นกัน

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย พบว่าภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 48% ขณะที่ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัวอยู่ที่ 63% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ออกมาเพิ่มเติมในเดือนเมษายน 2567 นี้ ยังไม่สามารถปลุกให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้ตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง

อย่างไรก็ดี ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 61% (จากเดิม 59% ในรอบก่อน) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการวางแผนทางการเงินมากขึ้น หลังจากเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องซื้อบ้านในเวลานี้เรียนรู้ที่จะปรับแผนการใช้จ่ายและสร้างวินัยทางการเงินให้พร้อมยิ่งขึ้นก่อนที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

ประกอบกับการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจึงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้ที่วางแผนซื้อบ้านเช่นกัน โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ในระดับสูง (49%) และสูงมาก (28%) มีเพียง 16% เท่านั้นที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมแล้ว นอกจากนี้สัดส่วนของผู้บริโภคที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ยังทรงตัวอยู่ที่ 13% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ออกมาเพิ่มเติมในปีนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์และช่วยแบ่งเบาภาระของคนซื้อบ้านได้มากเท่าที่ควร

จับตาดีมานด์ที่อยู่อาศัย คนอยากซื้อบ้านมากขึ้นก่อนสิ้นสุดมาตรการรัฐ  

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามฯ (50%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากรอบก่อนหน้าที่เป็น 44% นับเป็นสัญญาณบวกสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังต้องการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมในระยะเวลาอันใกล้ก่อนที่มาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนและลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นี้ ด้านสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยลดลงมาอยู่ที่ 10% (จากเดิม 14%) ขณะที่ผู้บริโภค 7% วางแผนจะรับมรดกที่อยู่อาศัยจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อ ส่วนอีก 32% ยังคงไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ ในเวลานี้

  • อยากได้พื้นที่ส่วนตัวโจทย์ใหญ่ดันคนซื้อบ้าน ในกลุ่มผู้บริโภคที่อยากซื้อที่อยู่อาศัย เกือบครึ่ง (47%) ตัดสินใจซื้อเนื่องจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวที่มากขึ้น รองลงมาคือซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเมื่อขยายครอบครัว 31% จะเห็นว่าสองอันดับแรกจะให้ความสำคัญไปที่การซื้อเพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยซื้อเพื่อการลงทุนในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 30% เนื่องจากการลงทุนในอสังหาฯ ถือเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ และมีดีมานด์ในตลาดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินพบว่าผู้วางแผนซื้อบ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย (33%) เผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว ขณะที่เกือบครึ่ง (48%) สามารถเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ครึ่งทางแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อที่อาศัยในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว คนหาบ้านจึงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยตนเองก่อน โดยมีเพียง 18% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเก็บเงินใด ๆ

  • เงินเก็บสวนทางราคาบ้านทำคนเลือกเช่า ในขณะเดียวกันเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อ ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการเงินเป็นหลัก โดยมากกว่าครึ่ง (56%) เผยว่ามีเงินเก็บไม่พอที่จะซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ราคาบ้านที่สูงเกินไปทำให้เกือบ 2 ใน 5 (37%) ขอเลือกออมเงินแทน และ 36% มองไม่เห็นความจำเป็น/ความเร่งด่วนที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้เช่าส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับการบริหารสภาพคล่องทางการเงินในยุคที่แนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง จึงลดความเสี่ยงโดยหลีกเลี่ยงการซื้อที่อยู่อาศัย และหันมาเลือกเช่าซึ่งตอบโจทย์ทางการเงินและลดภาระค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า

ปัจจุบันมุมมองการเป็นเจ้าของที่อาศัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปตามเทรนด์ Generation Rent ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไม่สร้างภาระทางการเงินในระยะยาวจากการซื้อที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีความคล่องตัวมากกว่าหากต้องการโยกย้ายในอนาคต โดยผู้เช่าเกือบ 2 ใน 5 (39%) เผยว่าได้วางแผนเช่า 2 ปีก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยในภายหลัง ส่วน 29% มีความไม่แน่ใจว่าจะเช่าอีกนานแค่ไหน เนื่องจากยังต้องพิจารณาปัจจัยความพร้อมด้านอื่น ๆ อีกครั้ง ขณะที่ 5% เผยว่าตั้งใจจะเช่าอยู่ตลอดชีวิต 

สำหรับอัตราค่าเช่าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในหมู่ผู้เช่าอยู่ในช่วงไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน สัดส่วน 46% สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์การมองหาที่อยู่อาศัยให้เช่าที่มีราคาย่อมเยา ตอบโจทย์สถานะทางการเงินในยุคปัจจุบันเป็นหลัก รองลงมาคือ 5,001-10,000 บาท/เดือน และ 10,001-15,000 บาท/เดือน (สัดส่วน 32% และ 9% ตามลำดับ)

อัปเดตเทรนด์คนหาบ้าน ต่อจิ๊กซอว์บ้านในฝันยุค 2024 

  • ขนาด-ทำเลหัวใจสำคัญเมื่อเลือกซื้อบ้าน ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค กว่า 2 ใน 5 (43%) ให้ความสำคัญกับขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก โดยบ้าน/คอนโดฯ ในฝันต้องมีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอที่จะตอบโจทย์การอยู่อาศัยและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของสมาชิกในครอบครัว รองลงมาคือพิจารณาราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอยในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 42% สะท้อนให้เห็นว่าความคุ้มค่ายังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก 37%

สำหรับปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย พบว่าผู้บริโภคเกือบครึ่ง (48%) พิจารณาจากทำเลที่ตั้งของโครงการมาเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับการเลือกโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพในการเติบโตหรืออยู่ในทำเลที่ภาครัฐมีแผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเมกะโปรเจกต์ในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของที่อยู่อาศัยตามไปด้วย รองลงมาคือโครงการที่เดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และพิจารณาจากความปลอดภัยของโครงการ ในสัดส่วนเท่ากันที่ 44% ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวทั้งสิ้น

  • คุณภาพงานตกแต่งภายในดึงดูดใจให้เลือกดีเวลลอปเปอร์ ปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคพิจารณาเมื่อเลือกผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น มากกว่าครึ่ง (53%) ให้ความสำคัญกับคุณภาพของการตกแต่งภายในของโครงการมากที่สุด เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สะท้อนคุณภาพของสินค้าโดยตรง และผู้บริโภคยังสามารถประเมินความคุ้มค่าจากคุณภาพงานเทียบกับราคาขายในเบื้องต้นได้ รองลงมาคือพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนาอสังหาฯ และข้อเสนอทางการเงินต่าง ๆ ส่วนลด หรือเงินคืน ในสัดส่วนเท่ากันที่ 50% ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเมื่อซื้อบ้านใหม่ได้ไม่น้อย โดยที่ผู้บริโภคยังสามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้เป็นงบตกแต่งบ้านได้
  • เทรนด์ Pet Parent มาแรง 78% สนใจโครงการเลี้ยงสัตว์ได้ ผลสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยว่าคนไทยต้องการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นลูก (Pet Parent) มากถึง 49% สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงและโอกาสในการเจาะกลุ่มเป้าหมายนี้ในหลากหลายธุรกิจรวมทั้งตลาดที่อยู่อาศัยเช่นกัน สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study ที่พบว่า ผู้บริโภคกว่า 3 ใน 4 (78%) เผยว่าสนใจโครงการที่เลี้ยงสัตว์ได้ หรือ Pet-Friendly โดยกว่า 2 ใน 3 (67%) ของกลุ่มผู้ที่สนใจนั้นคาดหวังว่าในโครงการเหล่านี้จะมีการแยกโซนระหว่างผู้ที่เลี้ยงสัตว์และไม่ได้เลี้ยงภายในอาคารอย่างชัดเจน รองลงมาคือมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น สวน สระว่ายน้ำ ระบบระบายอากาศ ฯลฯ ในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 66% และมีการออกแบบเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง เช่น มาพร้อมระบบระบายอากาศภายในห้อง ระเบียงเสริมความปลอดภัยป้องกันการปีนป่าย 60%
  • ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่จาง คนไทยมองหาบ้านที่ช่วยจบปัญหา ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นความกังวลของคนหาบ้าน เนื่องจากความเสี่ยงนี้กระทบต่อสุขภาพอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้บริโภคถึง 61% เลือกพิจารณาเฉพาะโครงการที่มีเครื่องปรับอากาศและระบายอากาศได้ดีเท่านั้น เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 รองลงมา 53% เผยว่าจะทบทวนแผนการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงอีกครั้ง ขณะที่ 37% จะพิจารณาการเลือกซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่มีฟังก์ชั่นหรือคุณสมบัติที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ 
  • ได้บ้านไม่ตรงปกความกังวลอันดับ 1 ของคนซื้อบ้าน การซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่และมาพร้อมความท้าทาย เนื่องจากหากซื้อแล้วเกิดปัญหา ผู้ซื้อไม่สามารถเปลี่ยนได้ง่ายดายเหมือนการซื้อสินค้าทั่วไป เห็นได้ชัดจากความกังวลของผู้บริโภคที่ซื้อ ขาย หรือเช่าที่อยู่อาศัยนั้น พบว่ากว่า 3 ใน 5 (61%) มีความกังวลว่าคุณภาพของที่อยู่อาศัยที่ได้จะไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้มากที่สุด โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและสูง รองลงมาคือ กังวลว่าแผนการผ่อนชำระอาจได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนหรือเพิ่มขึ้นในอนาคต 51% ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทางการเงินตามมาได้ ขณะที่อีก 42% กังวลว่าโครงการที่ซื้อไปแล้วจะมีข้อพิพาทกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถขาย โอนกรรมสิทธิ์ หรือปล่อยเช่าได้ 

กลุ่มมิลเลนเนียลและ Gen Z พร้อมซื้อบ้านมากแค่ไหนในเวลานี้

ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) หรือ Gen Y และ Gen Z เป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างครอบครัวและเริ่มวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยจึงมีความสำคัญต่อภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ดีมีผู้บริโภคเพียง 37% เท่านั้นที่มีแผนย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ภายใน 1 ปีข้างหน้า ขณะที่กว่า 3 ใน 5 (63%) เผยว่ายังไม่มีแผนย้ายออกเร็ว ๆ นี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องการดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด 43% รองลงมาคือตั้งใจรับช่วงต่อบ้านของพ่อแม่ 28% และไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของตัวเองในเวลานี้ 27% สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายทางการเงินที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญของมนุษย์ 

แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z เผยว่าหากต้องเลือกระหว่างการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องการซื้อมากถึง 82% มีเพียง 18% เท่านั้นที่สนใจเช่า 

ทั้งนี้ในช่วง 1 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z วางแผนการเงินไปกับการใช้จ่ายภายในครอบครัวมากถึง 56% รองลงมาคือเก็บเงินไว้เป็นกองทุนเงินสำรองฉุกเฉิน 54% เพื่อรับมือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต และเก็บเงินไว้เพื่อเคลียร์หนี้ต่าง ๆ ให้หมด 27% โดยมีเพียง 21% เท่านั้นที่วางแผนออมเงินไว้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่า สถานการณ์สังคมสูงวัยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับวัยแรงงานที่ลดลงในไทย ส่งผลให้ “แซนด์วิช เจเนอเรชัน (Sandwich Generation)” หรือคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเอง มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเผชิญปัญหาทางการเงิน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางกลายเป็นความท้าทายให้คนรุ่นใหม่สร้างเนื้อสร้างตัวได้ยากกว่าสมัยก่อน การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ อีกต่อไป

หวังพึ่งมาตรการภาครัฐ กลไกผลักดันให้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลายาวนานและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้กลายมาเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาฯ ไม่ได้เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ และกระทบต่อผู้ที่วางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จาก 1 ใน 3 ของผู้บริโภค (33%) เผยว่าจะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ รองลงมาคือวางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกกว่าแทน และไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ ในสัดส่วนเท่ากันที่ 22% เพื่อเป็นการลดการสร้างภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ออกไปก่อน

นอกจากนี้ สภาพคล่องทางการเงินยังเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การมีบ้านในฝันไม่ใช่เรื่องง่าย มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง รองลงมาคือมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 41% และมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ไม่เอื้ออำนวย 30% จะเห็นได้ว่าอุปสรรคสำคัญ 3 อันดับแรกล้วนเป็นผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภค ที่มีผลโดยตรงต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารทั้งสิ้น ทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เผยว่าอัตราการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เป็นกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท

ทั้งนี้ หลายฝ่ายยังคงคาดหวังปัจจัยบวกจากมาตรการจากภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดอสังหาฯ ควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดในเวลานี้ 3 ใน 5 (60%) ต้องการให้มีมาตรการช่วยลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น รองลงมาคือมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อเดิมที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% จะเห็นได้ว่า 2 อันดับแรกให้ความสำคัญกับมาตรการที่มาช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเป็นหลัก เนื่องจากจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของผู้กู้ซื้อบ้านได้โดยตรง และอันดับ 3 มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก 40% ซึ่งจะช่วยดึงดูดใจให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีบ้านเป็นของตนเองสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่อยากให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัย ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญขับเคลื่อนให้ภาคอสังหาฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกลับมาคึกคักอีกครั้ง

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค นักลงทุนและเอเจนต์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 22-69 ปี จำนวน 1,050 คน 

อ่านและศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยรอบล่าสุดได้ที่ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study

PropertyGuru Reports Second Quarter 2024 Results

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

PropertyGuru Reports Second Quarter 2024 Results

Revenue of S$41 Million and Adjusted EBITDA of S$7 Million

  • Total revenue grew 10% to S$41 million in the second quarter of 2024, with growth from Vietnam as market conditions continue to improve
  • Adjusted EBITDA grew to S$7 million in the second quarter of 2024, up 48% from S$5 million in the second quarter of 2023
  • Adjusted EBITDA margin of 17% in the second quarter of 2024, up from 13% in the second quarter of 2023

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading, property technology (“PropTech”) company, today announced financial results for the quarter ended June 30, 2024. Revenue of S$41 million in the second quarter of 2024 increased 10% year over year. Net loss was S$16 million in the second quarter and Adjusted EBITDA was positive S$7 million. This compares to net loss of S$6 million and Adjusted EBITDA of positive S$5 million in the second quarter of 2023.

Financial Highlights – Second Quarter 2024

  • Total revenue increased 10% year over year to S$41 million in the second quarter.
  • Marketplaces revenues increased 11% year over year to S$39 million in the second quarter driven by improving conditions in Malaysia and Vietnam combined with ongoing strength in Singapore.
  • Revenue by segment:
  • Singapore Marketplaces revenue increased 16% year over year to S$25 million, as the number of agents and the Average Revenue Per Agent (“ARPA”) grew in the quarter. Quarterly ARPA was up 17% in the second quarter to S$1,464 as compared to the prior year quarter and the number of agents in Singapore was up almost 500 to 16,577 from the second quarter of 2023. The renewal rate was 81% in the second quarter of 2024.
  • Malaysia Marketplaces revenue increased 12% year over year to S$7 million, as the Company continues to benefit from iProperty and PropertyGuru Malaysia’s combined market strength.
  • Vietnam Marketplaces revenue increased 4% year over year to S$5 million, as an increase in the number of listings was partially offset by a decrease in average revenue per listing (“ARPL”). The number of listings was up 17% to 1.5 million in the second quarter compared to the prior year quarter. ARPL was S$3.46, down 10% from the second quarter of 2023.
  • Fintech & Data services revenue increased 3% year over year to S$1.6 million.
  • At quarter-end, cash and cash equivalents were S$309 million.

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

สร้างรายได้ 41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และกำไรส่วนที่เป็นเงินสด 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

  • รายได้โดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 นี้ โตขึ้น 10% อยู่ที่ 41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.07 พันล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 3 ก.ย. 2567) โดยได้รับอานิสงส์การฟื้นตัวและกลับมาเติบโตของตลาดในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง
  • กำไรส่วนที่เป็นเงินสด (Adjusted EBITDA) ในช่วงไตรมาสที่ 2 เติบโตมาอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 183.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 131 ล้านบาท) หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตราว 48% YoY  
  • ทั้งนี้ สัดส่วนอัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ (Adjusted EBITDA margin) ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2567 นี้อยู่ที่ 17% เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 13%

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE: PGRU) (จากนี้จะเรียกแทนว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท” ) ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของไทย และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย วันนี้ได้แถลงผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยรายได้ ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 อยู่ที่ 41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ราว 1.07 พันล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 3 ก.ย. 2567) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาราว 10% (+10% YoY)  ในขณะที่อัตราขาดทุนสุทธิ (Net Loss) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 16 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 419.2 ล้านบาท)  และอัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ ยังคงเป็นบวกอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 183.4 ล้านบาท) ตัวเลขดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นบวกเมื่อเทียบกับผลประกอบการในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนั้นอัตราขาดทุนสุทธิ (Net Loss) อยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 157.12 ล้านบาท) ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 130.9 ล้านบาท) 

ไฮไลต์ผลประกอบการ – ไตรมาสที่ 2 ปี 2567  

  • รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (+10%YoY) มาอยู่ที่41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.07 พันล้านบาท   
  • รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 11% มาอยู่ที่ 39 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว02 พันล้านบาท) ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของตลาดในประเทศมาเลเซียและเวียดนาม รวมไปถึงตลาดที่มีความแข็งแกร่งอย่างสิงคโปร์ 
  • รายได้ตามเซ็กเมนต์: 
    • หน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 16% อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 655 ล้านบาท) เนื่องจากจำนวนเอเจนต์และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (“ARPA”) เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ในไตรมาสที่ 2 รายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์เพิ่มขึ้นราว 17% อยู่ที่1,464 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 38,000 บาท) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนจำนวนเอเจนต์ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเกือบ 500 รายมาอยู่ที่ 16,577 รายจากไตรมาสที่ 2 ของปีก่อนหน้า อัตราการต่ออายุสมาชิกในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 84%  
    • รายได้ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 12% อยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 183.4 ล้านบาท) โดยบริษัทยังคงเดินหน้ากลยุทธ์ในการใช้ความแข็งแกร่งของ 2 แบรนด์หลัก ที่เป็นเจ้าตลาดด้านแพลตฟอร์มอสังหาฯ ในมาเลเซียเป็นจุดแข็งในการเดินเกมรุก และมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคในมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง
    • รายได้ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า 4% อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 131ล้านบาท) โดยรายได้มาจากการที่จำนวนรายการประกาศที่เพิ่มขึ้นสามารถทดแทนรายได้ต่อประกาศ (“ARPL”) ที่ลดลงไปบางส่วนได้บ้าง  ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เวียดนามมีจำนวนประกาศเพิ่มขึ้นราว 17% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันอยู่ที่ราว 1.5 ล้านรายการ รายได้เฉลี่ยต่อประกาศอยู่ที่ 3.46 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 90 บาท) ลดลง 10% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว   
    • ในขณะที่รายได้จากหน่วยธุรกิจ Fintech & Data services เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 3% (+3% YoY) อยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 42 ล้านบาท)
  • ณ สิ้นสุดไตรมาส 2 ปี 2567 เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash & Cash equivalents) มีทั้งสิ้น 309 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 8.09 พันล้านบาท)

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้งหมายถึงสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการจับจ่ายใช้สอยและวางแผนทางการเงินอื่น ๆ เช่นกัน ข้อมูลล่าสุดจากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจซบเซาและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงอย่างต่อเนื่องที่หลายฝ่ายคาดหวังให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประคับประคองกำลังซื้อไปได้ท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้

ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่าสถานะหนี้เสีย (NPL) ที่ค้างชำระเกิน 90 วันในไตรมาส 2 ของปี 2567 อยู่ที่กว่า 1.15 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นหนี้เสียจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยกว่า 218,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน จะเห็นได้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงสวนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องด้วยที่อยู่อาศัยเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องกู้สินเชื่อจากธนาคารเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียม และด้วยระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยาวนาน ทำให้อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นกู้ ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ผู้บริโภคพิจารณาเมื่อต้องกู้ซื้อบ้านถึง 78% ดังนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเปรียบเสมือนเข็มทิศที่กำหนดทิศทางการเงินของผู้ที่วางแผนกู้ซื้อบ้านและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้

การปรับอัตราดอกเบี้ยมีผลอย่างไรเมื่อกู้ซื้อบ้าน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกกำหนดโดยธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจรวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเกี่ยวข้องกับผู้ที่วางแผนซื้อบ้านและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านโดยตรง เพราะหากมีการปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับลดหรือเพิ่มตามเช่นกัน

หากผู้บริโภคกู้ซื้อบ้านโดยเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่มีการปรับขึ้น-ลงในช่วงเวลาที่ธนาคารกำหนด โดยทั่วไปมักจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงต้นของการผ่อนบ้านเพื่อดึงดูดใจลูกค้า เหมาะสำหรับการกู้ซื้อบ้านในช่วงที่เศรษฐกิจดี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยมักมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากยังคงถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปตามสัญญาเดิมนั่นเอง  

ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) จะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะยาวสำหรับลูกหนี้ชั้นดีซึ่งจะเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสุดหรือ MLR (Minimum Loan Rate) ซึ่งสามารถขึ้น-ลงได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดเงิน และต้นทุนทางการเงินของธนาคาร และผันแปรตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย จึงเหมาะสำหรับการกู้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเพราะมักจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่หากอยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นผู้กู้ก็จะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ทำความรู้จัก “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ผู้ช่วยใกล้ตัวของคนผ่อนบ้าน

ผู้บริโภคที่กู้ซื้อบ้านในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวควรวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ รวมทั้งหมั่นศึกษาเทคนิคการผ่อนบ้านที่ช่วยลดต้นลดดอกควบคู่ไปด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนมาทำความรู้จักกับ “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ทางลัดที่จะช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเมื่อกู้ซื้อบ้านที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน โดยการ “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ต่างมีวัตถุประสงค์ในการลดอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านให้ต่ำลงเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

  • รีเทนชั่น (Retention) เป็นการต่อรองขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่กำลังผ่อนอยู่ โดยธนาคารจะตรวจสอบประวัติการผ่อนชำระของผู้กู้ก่อนพิจารณาเช่นกัน วิธีนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ผู้กู้ไม่เสียเวลาในการจัดเตรียมเอกสารใหม่ เนื่องจากเป็นการทำธุรกรรมกับธนาคารเดิม ธนาคารจะมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว ทำให้ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่นาน นอกจากนี้ยังมีข้อดีตรงที่เสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ จึงได้ประโยชน์ทั้งการประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ถูกกว่า
  • รีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการย้ายไปทำสัญญาสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคารแห่งใหม่เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า โดยหลายธนาคารมักจะมีการจัดโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ จึงทำให้ผู้กู้จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการรีเทนชั่น นอกจากนี้บางแห่งยังมีโปรโมชั่นพิเศษเพิ่มเติม เช่น ฟรีค่าประเมินหลักประกัน, ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย หรือฟรีค่าจดจำนอง เป็นต้น จุดเด่นของการรีไฟแนนซ์คือผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกข้อเสนอที่มองว่าคุ้มค่าที่สุดจากธนาคารต่าง ๆ ได้เอง ถือเป็นวิธีที่ได้รับนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนลงได้อย่างชัดเจน หรืออาจได้เงินส่วนต่างมาใช้ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้หากกู้ได้มากกว่าวงเงินเดิม 

เปิดเช็กลิสต์ก่อนตัดสินใจ “รีเทนชั่น” หรือ “รีไฟแนนซ์” แบบไหนเหมาะกับคุณ

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า ผู้บริโภคที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองเกือบ 3 ใน 5 (59%) มีความคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์อยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้สูง (สัดส่วน 68% และ 71% ตามลำดับ) ขณะที่อีก 34% ไม่รู้จักการรีไฟแนนซ์มาก่อน โดยเหตุผลหลักของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ตั้งใจจะรีไฟแนนซ์ (60%) มองว่าวิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น ขณะที่ 52% มองว่าช่วยให้ได้อัตราดอกเบี้ยและการผ่อนจ่ายที่ถูกลง และ 36% รู้สึกว่าตัวเองในปัจจุบันมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินมากขึ้นกว่าตอนแรก

อย่างไรก็ดี แม้เป้าหมายในการรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์จะมุ่งเน้นไปที่การช่วยลดอัตราดอกเบี้ย แต่มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้รวบรวมเช็กลิสต์ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกแนวทางลดดอกเบี้ยที่ตอบโจทย์การเงินได้มากที่สุด ดังนี้

  • ตรวจสอบรายละเอียดสัญญาเดิมให้ชัดเจน ปกติแล้วธนาคารจะมีโปรโมชั่นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่คิดดอกเบี้ยอัตราพิเศษในช่วง 3 ปีแรกเท่านั้น เมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวดอกเบี้ยจะขยับเป็นอัตราลอยตัวจึงทำให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้กู้ควรตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่ามีเงื่อนไขเวลาในการยื่นเรื่องรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์ไว้อย่างไร 

โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะระบุให้ผู้กู้สามารถรีไฟแนนซ์ได้หลังจากผ่อนไประยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากมีการรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด ผู้กู้จะต้องเสียค่าปรับให้ธนาคารเดิมขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ดี หากผู้กู้มีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก่อนเวลาที่กำหนดในสัญญาเนื่องจากแบกรับภาระดอกเบี้ยไม่ไหว ก็ควรคำนวณยอดค่าปรับมาเปรียบเทียบกับจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนว่าคุ้มพอที่จะเสียค่าปรับหรือไม่ วิธีไหนจะแบ่งเบาภาระทางการเงินได้มากกว่ากัน หรือจะเลือกอดทนผ่อนจ่ายไปจนครบกำหนดสัญญาก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็นแทน 

  • เวลาในการเตรียมเอกสาร อีกหนึ่งข้อดีของการรีเทนชั่นคือเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ซึ่งมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มากนัก เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ จึงมีความสะดวกสบายมากกว่า อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการพิจารณาไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระอยู่แล้ว จึงอนุมัติได้เร็วกว่าการรีไฟแนนซ์ที่ผู้กู้ต้องเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้ประกอบการยื่นกู้ตามเงื่อนไขของธนาคารใหม่ หลังจากนั้นธนาคารจะตรวจสอบประวัติการชำระสินเชื่อ ภาระหนี้ ประเมินสภาพที่อยู่อาศัยที่ต้องการกู้ และดำเนินการตามขั้นตอนตรวจสอบ ซึ่งใช้เวลาการพิจารณาอนุมัติเท่ากับการขอกู้ใหม่
  • คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด หลายคนมองว่าการรีไฟแนนซ์คุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่มักเสนอโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้ อย่างไรก็ดี ผู้กู้ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่จะต้องมีขั้นตอนการจดจำนองใหม่อีกครั้ง จึงมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการรีเทนชั่นกับธนาคารเดิม โดยค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ประกอบด้วย 
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3% 
  • ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง 1% (ปัจจุบันมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย โดยลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จาก 1% เหลือ 01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา จนถึง 31 ธันวาคม 2567)
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน 25-2% 
  • ค่าอากรแสตมป์ 05% ของวงเงินกู้
  • ค่าประกันอัคคีภัย

นอกจากนี้หลังจากได้รับการอนุมัติจากธนาคารใหม่ที่รีไฟแนนซ์แล้ว ผู้กู้จะต้องสอบถามยอดหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิมก่อน ซึ่งจะต้องเตรียมเงินส่วนนี้ไปชำระให้กับธนาคารเดิมในวันไถ่ถอนด้วยเช่นกัน ขณะที่การรีเทนชั่นจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% ของยอดวงเงินกู้เดิมหรือวงเงินที่เหลือแล้วแต่ที่ธนาคารกำหนด ผู้บริโภคจึงควรคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกันให้ละเอียด หากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับต่างกันไม่มากนัก การรีเทนชั่นอาจจะคุ้มค่ากว่าเนื่องจากเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่น้อยกว่า

  • ต่อรองเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่า เบื้องต้นผู้กู้ควรติดต่อขอทราบตัวเลือกโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์จากธนาคารอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกับการรีเทนชั่นกับธนาคารเดิมว่าที่ใดให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดในช่วง 3 ปีแรก เนื่องจากเมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวก็จะสามารถขอยื่นเรื่องรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยได้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์มักจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการรีเทนชั่น หากผู้กู้ได้รับโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษก็สามารถนำไปต่อรองกับธนาคารเดิมเพื่อขอรีเทนชั่นในอัตรานั้นได้ ซึ่งมีโอกาสที่ทางธนาคารเดิมจะปรับลดดอกเบี้ยลงมาให้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งและรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้ได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลงและคุ้มค่ากว่า เนื่องจากค่าธรรมเนียมการรีเทนชั่นต่ำกว่าการรีไฟแนนซ์

แม้การรีเทนชั่นและรีไฟแนนซ์จะเป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้ทุกคนแบ่งเบาภาระในการผ่อนบ้านได้มากขึ้น ลดจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลง รวมทั้งเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้นแล้ว แต่หัวใจสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามตั้งแต่คิดจะซื้อบ้าน/คอนโดฯ คือการวางแผนการเงินให้เป็นระบบก่อนกู้ซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ผ่อนไม่ไหวจนขาดส่งค่างวดและกระทบไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะแสดงในประวัติทางการเงินของเครดิตบูโรและจะมีผลในการพิจารณาอนุมัติเมื่อยื่นขอรีเทนชั่นและรีไฟแนนซ์กับธนาคารทุกแห่งเช่นกัน จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

ทั้งนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านปี 2567 อัปเดตล่าสุดจากหลากหลายธนาคารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและเงื่อนไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ก่อนดำเนินการติดต่อธนาคารในขั้นตอนต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/ให้เช่าโครงการบ้าน/คอนโดฯ ทั้งโครงการใหม่และบ้านมือสองที่น่าสนใจในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเลือกและค้นหาที่อยู่อาศัยที่ตรงใจได้มากที่สุด เตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในฝันได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น