ชัวร์หรือมั่ว? ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ชวนเคลียร์ 6 ข้อเข้าใจผิดเมื่อคิดขายบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ชวนเคลียร์

ชัวร์หรือมั่ว? ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ชวนเคลียร์ 6 ข้อเข้าใจผิดเมื่อคิดขายบ้าน

อสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูงและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่สามารถลงทุนหรือสร้างรายได้ได้จากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนปล่อยเช่าเพื่อทำกำไรระยะยาว หรือทำกำไรระยะสั้นจากการขายต่อ ทั้งนี้การประกาศขายอสังหาริมทรัพย์มีรายละเอียดที่แตกต่างจากการขายสินค้าทั่วไป และมีหลายจุดที่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มือใหม่มักเข้าใจผิด ซึ่งจะมีผลเสียหายในภายหลัง ดังนั้น ผู้ขายมือใหม่จึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด เพิ่มโอกาสในการเจรจาต่อรอง และมีความรู้ในการทำธุรกรรมการซื้อ-ขายให้รอบคอบและชัดเจน   

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อาสาคลายข้อสงสัยที่คนมักเข้าใจผิดเมื่อคิดขายบ้านให้กระจ่าง เพื่อให้ผู้ขายมือใหม่หรือผู้ที่วางแผนจะขายบ้านในอนาคตได้ทำความเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดีได้อย่างถูกต้อง 

เปิดวาร์ป 6 ข้อเข้าใจผิดทำคนขายบ้านสับสน

    • ข้อ 1: ตั้งราคาขายตามใจฉัน ผู้ขายต้องทำความเข้าใจและตระหนักเสมอว่าการตั้งราคาขายที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ขายต้องศึกษาและเปรียบเทียบราคาตลาด พิจารณาสภาพเศรษฐกิจหรือสถานการณ์แวดล้อมในเวลานั้น ๆ อาทิ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเวลานี้ ที่มีบ้าน/คอนโดฯ ที่ตั้งราคาสูงจนเกินไปอาจจะปล่อยขายได้ยากหรือปล่อยขายไม่ได้เลย ในขณะเดียวกัน การตั้งราคาให้ต่ำกว่าราคาตลาดถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้สนใจเข้ามาติดต่อผู้ขาย ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อเสนอที่ราคาอยู่ใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาของตลาดได้ และหากราคาขายที่คุณตั้งถูกกว่าของประกาศอื่น ๆ ในประกาศซื้อขายบ้านบนหน้าเว็บไซต์ เป็นไปได้ว่าประกาศของคุณอาจจะโดนคลิกเข้ามาชมมากกว่า อย่างไรก็ตาม การตั้งราคาขายสามารถอ้างอิงราคาประเมินของราชการ, องค์กรอิสระหรือสถาบันทางการเงิน หรือเช็กราคาตลาด/ราคาซื้อขายจริงบนทำเลนั้น ๆ จากเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อย่าง DDproperty ซึ่งมีรายงานแนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ในรอบไตรมาส และรอบปีให้ศึกษาด้วย แต่ทั้งนี้ก่อนตั้งราคาขายจะต้องไม่ลืมคำนวณค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศขายด้วย

       

    • ข้อ 2: สามารถปิดซ่อนปัญหาเกี่ยวกับตัวบ้านได้มิด ปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจะปิดอย่างไรก็ไม่มิด 100% เพราะผู้ซื้อและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้ศึกษาทำการบ้านอยู่ตลอดเวลาจากหลายช่องทาง ทั้งจากเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยหรือประสบการณ์ตรงที่มีผู้แชร์บนโลกออนไลน์ นอกจากนี้ แม้ผู้ขายจะพยายามปกปิดดีอย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านั้นอาจถูกค้นพบเมื่อถึงช่วงตรวจสอบบ้านจากผู้ซื้อ (House Inspection) ซึ่งปัจจุบันมีวิศวกรและบริษัทตรวจรับบ้านให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ หากตรวจพบปัญหามากกว่าที่คิดอาจทำให้ผู้ซื้อเกิดความไม่ไว้วางใจว่าผู้ขายตั้งใจปิดบัง และยุติการซื้อขายได้ ดังนั้น ผู้ขายควรหาทางออกโดยการเลือกซ่อมแซมจุดเสียหายที่พบทันที หรือตั้งราคาขายต่ำกว่าตลาดเนื่องจากปัญหาข้อเสียหายที่เกิดขึ้น หรือตั้งราคาขายปกติแต่ทำสัญญากับผู้ซื้อว่า ผู้ขายจะทำการออกค่าใช้จ่ายเองหากเกิดกรณีซ่อมแซมในจุดเสียหายที่ตรวจเจอ หรือตั้งราคาขายตามสภาพของบ้านในเวลานั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจบานปลายได้ในภายหลัง เพราะผู้ขายอาจจะต้องเจอกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด หากสภาพบ้านไม่เป็นไปตามในสัญญาซื้อขายที่ระบุ

       

    • ข้อ 3: เชื่อใจผู้ซื้อมากเกินไป อาจทำเสียโอกาสขาย เมื่อตกลงซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะรอความชัดเจนในการตกลงวันนัดทำสัญญาเพื่อดำเนินธุรกรรมกับผู้ซื้อต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เป็นการปิดโอกาสในการขายอสังหาริมทรัพย์กับบุคคลอื่น ผู้ขายสามารถขอให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำ หรือขอดูจดหมายอนุมัติสินเชื่อของผู้ซื้อที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือรัฐ เพื่อเป็นการการันตีถึงเรื่องความสามารถด้านการเงินของผู้ซื้อ รวมถึงการันตีในเรื่องเงินที่ผู้ขายจะได้รับจากการขายบ้าน ถือเป็นการสร้างความมั่นใจและความสบายใจในการซื้อขายของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ หากผู้ขายมีกรอบระยะเวลาที่จะต้องปล่อยขายบ้านให้สำเร็จ ไม่ควรเลือกผู้ซื้อที่ติดภาระในการปล่อยขายบ้านเก่าเพื่อนำเงินมาซื้อบ้านใหม่ เพราะแสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนในการปิดดีลซื้อขายครั้งนี้นั่นเอง ถือเป็นอีกข้อควรคำนึงที่ผู้ขายควรพิจารณา เพื่อไม่ให้เป็นการปิดโอกาสขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับผู้ซื้อที่มีศักยภาพคนอื่น ๆ
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ชวนเคลียร์
    • ข้อ 4: รอรับเงินแต่ลืมเตรียมค่าภาษี เมื่อการเจรจาตกลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้หมายความว่าผู้ขายจะรอรับเงินจากผู้ซื้อเพียงอย่างเดียว เนื่องจากในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะมีภาษีขายบ้าน (ภาษีธุรกิจเฉพาะ) ด้วย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อหลายคนมักมองข้ามไป ผู้ขายที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้อาจขาดทุนจากการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เนื่องจากไม่ได้คำนวณค่าธรรมเนียมและภาษีรวมไว้ในต้นทุนก่อนประกาศขาย โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในการขายอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่ผู้ขายต้องจ่ายนั้น จะมี 4 รายการใหญ่ ๆ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ในอัตรา 2% จากราคาประเมิน (ผู้ซื้อและผู้ขายชำระค่าธรรมเนียม 1% เท่า ๆ กัน), ค่าอากรแสตมป์ 0.5%, ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้ขายควรคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ถี่ถ้วน เพื่อวางแผนลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นลงได้ เช่น ถือครองอสังหาริมทรัพย์นานเกิน 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครบ 1 ปี ซึ่งจะทำให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
    • ข้อ 5: ขายเองก็ได้ ไม่ต้องมีนายหน้า ผู้ขายส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการขายที่อยู่อาศัยก็เหมือนกับการขายทรัพย์สินอื่น ไม่ซับซ้อน จึงอยากจัดการเองมากกว่าไปจ้างนายหน้าหรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ (Agent) ที่มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าคอมมิชชั่น เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายกับความสะดวกที่ผู้ขายจะได้รับแล้ว การมีนายหน้าหรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยนำบ้าน/คอนโดฯ ไปเสนอขายผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้ว นายหน้ายังช่วยหาหรือนำเสนอทรัพย์สินให้ตรงตามความต้องการของผู้ซื้ออีกด้วย นายหน้าที่มีประสบการณ์ช่วยให้การขายอสังหาริมทรัพย์สามารถปิดดีลได้ไวขึ้นในราคาที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อรับได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาในการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ เอง ทั้งการต่อรองหรือพาชมสถานที่จริงได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งนี้ผู้ขายควรศึกษาวิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นเพื่อเตรียมตัวในการเจรจาก่อนตกลงว่าจ้างกับนายหน้า โดยปกตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์จะได้รับค่าตอบแทนในอัตรา 3% ของราคาขาย ทั้งนี้อัตราค่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ และบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (โบรกเกอร์) ที่ดำเนินการ
    • ข้อ 6: ขายบ้านทุกครั้งต้องมีนายหน้า ในทางตรงกันข้าม หากผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ และมีความรู้พื้นฐานด้านเอกสารธุรกรรมการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ สามารถขายที่อยู่อาศัยได้เองโดยไม่จำเป็นต้องจ้างนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เสมอไป อย่างไรก็ตาม การประกาศขายด้วยตัวเองนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องต้นทุนในเรื่องของเวลาที่ใช้ศึกษาตลาดด้วย หากผู้ขายเข้าใจกลไกต่าง ๆ ในเรื่องเหล่านี้ดีก็จะลดค่าใช้จ่ายคอมมิชชั่นที่สามารถนำไปปรับเป็นส่วนลดให้ผู้ซื้อ หรือเป็นกำไรให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ ผู้ขายต้องคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการเอง เช่น การนำข้อมูลบ้านลงประกาศขายในเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยสิ่งสำคัญคือข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง นำเสนอรูปสวย ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ ยิ่งดีขึ้นไปอีกหากเว็บไซต์รองรับวิดีโอ, Virtual Tour หรือ Live Tour ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนกว่าเดิม แต่ทั้งนี้หากเป็นเว็บไซต์ที่รวมข้อมูลซื้อ-ขายด้านอสังหาริมทรัพย์อาจมีค่าธรรมเนียมประกาศตามแพ็กเกจโฆษณาของเว็บนั้น ๆ นอกจากนั้นต้องให้ข้อมูลกับผู้ที่สนใจติดต่อสอบถามเข้ามาเอง ซึ่งก็จะมีทั้งผู้สนใจเข้ามาดูเฉย ๆ และผู้สนใจซื้อจริง ๆ ผู้ขายจะต้องมีเวลาในการรับโทรศัพท์และนัดหมายพาชมบ้าน สรุปได้ว่านอกจากความรู้ความเข้าใจในตลาดอสังหาริมทรัพย์และการทำธุรกรรมแล้ว ผู้ขายควรพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้พร้อมรับมือกับผู้สนใจซื้อที่หลากหลาย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ความรู้เช่นกัน 

การขายอสังหาริมทรัพย์นั้นแม้จะมีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงแต่ไม่ถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวจนเกินไป ผู้บริโภคต่างมีโอกาสเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ในอนาคต นอกเหนือจากข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขายที่อยู่อาศัยเหล่านี้แล้ว ผู้ขายต้องไม่ลืมว่ายังมีตัวแปรอีกมากมายที่เข้ามามีบทบาทและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขายที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ผู้ขายจึงควรเตรียมความพร้อมทั้งด้านการเงินและความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้สามารถเลือกช่วงเวลาในการขายได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/เช่าที่น่าสนใจทั้งโครงการใหม่และบ้านมือสอง รวมทั้งที่ดินสำหรับปลูกสร้างบ้านในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ พร้อมเป็นแหล่งรวมความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการซื้อ-ขาย-เช่า เตรียมความพร้อมให้ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสามารถเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด

อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยยุค Now Normal คนหาบ้าน 2022 ต้องการอะไรเมื่อคิดมีบ้าน?

อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยยุค Now Normal คนหาบ้าน 2022 ต้องการอะไรเมื่อคิดมีบ้าน?

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงเปราะบางจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้กับภาคธุรกิจอีกครั้ง ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนธันวาคม 2564 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับขึ้นมาอยู่ที่ 46.2 จากระดับ 44.9 ในเดือนพฤศจิกายน เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคจะเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยอีกครั้งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปี บวกกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ราคาสินค้าเริ่มปรับเพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจต้องกลับมาเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือความผันผวนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ทุกฝ่ายล้วนมีประสบการณ์จากรอบปีที่ผ่านมาแล้ว

ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 นี้ ยังคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแพร่ระบาดฯ ที่ส่งผลโดยตรงต่อสถานะทางการเงินในครอบครัวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริโภคต้องพิจารณาความจำเป็นก่อนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบ ในขณะที่การใช้ชีวิตแบบ Now Normal ได้กระตุ้นให้ทุกคนปรับไลฟ์สไตล์ไปตามบริบทของยุคสมัย ดังนั้น การมองหาหรือเลือกที่อยู่อาศัยต้องมาพร้อมความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในทุกมิติ และตอบโจทย์การดำเนินชีวิตอย่างครบถ้วนอีกด้วย

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อัปเดตแนวโน้มที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยุคใหม่ที่น่าจับตามอง เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ตลอดปี 2021 สะท้อนพฤติกรรมการเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยที่เชื่อมโยงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุค Now Normal

    • คนซื้อบ้านยังมีดีมานด์ โฟกัสราคาจับต้องได้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดฯ ที่ลากยาวกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางการเงินของผู้บริโภค ประกอบกับสัญญาณความเสี่ยงจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคยังคงลังเลในการตัดสินใจซื้อบ้านและชะลอการทำธุรกรรมออกไปก่อนในช่วงนี้ แม้จะมีโปรโมชั่นมากมายจากผู้พัฒนาอสังหาฯ แต่ยังไม่เพียงพอในการกระตุ้นการเติบโตของตลาด อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ในตลาดที่จำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ จะหันไปเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีฟังก์ชั่นครอบคลุมการใช้งานในราคาจับต้องได้ (Affordable price) แทน เพื่อให้เหมาะสมกับกำลังซื้อที่มีและป้องกันการเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องในภายหลัง เห็นได้จากข้อมูลผู้เยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ในปี 2021 ที่ค้นหาบ้านและคอนโดฯ ในระดับราคา 1-3 ล้านบาทมากที่สุด (21%) สะท้อนให้เห็นดีมานด์ของกลุ่มลูกค้าในตลาดกลาง-ล่าง โดยระดับราคานี้ตอบโจทย์ผู้ต้องการบ้านหลังแรกซึ่งมีจำนวนไม่น้อยในตลาด ตามมาด้วยระดับราคา 3-5 ล้านบาท และมากกว่า 15 ล้านบาท ในสัดส่วน 4% เท่ากัน โดยระดับราคาต่ำที่สุดที่มีคนค้นหาคือ 100,000 บาท และระดับราคาสูงที่สุดที่มีคนค้นหาคือ 500 ล้านบาท
    • ฟังก์ชั่นการใช้งานครบ ตอบโจทย์ครอบครัว ปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ผู้บริโภคใช้พิจารณาเมื่อคิดจะซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยมักเป็นรูปแบบบ้าน/คอนโดฯ ที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของสมาชิก ข้อมูลจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ในปี 2021 สำหรับผู้ที่มีความต้องการซื้อ พบว่า ตัวกรองการค้นหา (Filter) ที่ใช้ทุกการค้นหาคือ “จำนวนห้องนอน” ตามมาด้วย “ราคา (21%)” และ “พื้นที่ใช้สอย (4%)”
DDproperty อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยยุค Now Normal

โดยการค้นหาโดยใช้จำนวนห้องนอนเป็นตัวกรอง พบว่า คนที่ต้องการซื้อบ้านต้องการบ้านขนาด 2 ห้องนอน (3%), 3 ห้องนอน (2%) และ 1 ห้องนอน (1%) ส่วนการค้นหาโดยใช้จำนวนห้องน้ำเป็นตัวกรอง พบว่า ส่วนใหญ่ (49%) ต้องการบ้านที่มี 2 ห้องน้ำ รองลงมาคือ 1 ห้องน้ำ (28%) และ 3 ห้องน้ำ (16%) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าผู้สนใจหาบ้านส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มครอบครัวขนาดกลางที่มีสมาชิกไม่มากนัก นอกจากนี้ กว่า 2 ใน 3 ของผู้ซื้อยังมองหาที่อยู่อาศัยที่มีเฟอร์นิเจอร์ครบ ตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ได้ทันที (Fully Furnished) ถึง 68%

อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยยุค Now Normal คนหาบ้าน 2022 ต้องการอะไรเมื่อคิดมีบ้าน?

ในขณะที่การเช่ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงนี้ พบว่า ตัวกรองการค้นหาที่ใช้ทุกการค้นหาคือ “จำนวนห้องนอน” เช่นกัน ตามมาด้วย “ราคา (24%)” และ “พื้นที่ใช้สอย (8%)” หากโฟกัสไปที่การค้นหาโดยใช้จำนวนห้องนอนเป็นตัวกรอง พบว่า คนที่ค้นหาบ้านเช่าต้องการขนาด 2 ห้องนอน (10%), 1 ห้องนอน (6%) และ 3 ห้องนอน (4%) ส่วนการค้นหาโดยใช้จำนวนห้องน้ำเป็นตัวกรอง พบว่า ส่วนใหญ่ (47%) ต้องการบ้านที่มี 1 ห้องน้ำ รองลงมาคือ 2 ห้องน้ำ (42%) และ 3 ห้องน้ำ (8%) ตามลำดับ โดย 4 ใน 5 ของผู้เช่า (80%) ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีเฟอร์นิเจอร์ครบพร้อมเข้าอยู่ทันที อำนวยความสะดวกให้ผู้เช่ามากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเตรียมงบสำหรับตกแต่งหรือซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติม

    • โอกาสทองของผู้ซื้อ ปล่อยเช่าสร้างรายได้ระยะยาว การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อต่อยอดสร้างรายได้ยังคงเป็นที่นิยม เนื่องจากมีความต้องการในตลาดอยู่มาก ปัจจุบันเทรนด์การเช่ายังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสงครามราคาจากผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่ทำให้เป็นโอกาสทองของผู้ซื้อ/นักลงทุนที่มีความพร้อมในการเลือกซื้อหรือลงทุนในทำเลที่มีศักยภาพเติบโตเพื่อนำมาลงทุนเก็งกำไรหรือปล่อยเช่าสร้างรายได้ในอนาคต เนื่องจากยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการเลือกเช่าที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อย ข้อมูลจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้เช่า (54%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองภายใน 5 ปีข้างหน้า ในขณะที่ 29% เผยว่ายังไม่ชัดเจนว่าจะเช่าเป็นระยะเวลายาวนานเท่าไร เมื่อพิจารณาจากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com พบว่า ผู้เช่าส่วนใหญ่ (30%) ค้นหาบ้านเช่าในระดับราคาต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ตามมาด้วยระดับราคา 10,000-20,000 บาทต่อเดือน (11%) และระดับราคามากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน (5%) โดยระดับราคาต่ำที่สุดที่มีคนค้นหาคือ 1,000 บาทต่อเดือน และระดับราคาสูงที่สุดที่มีคนค้นหาคือ 3 ล้านบาทต่อเดือน (เช่าสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดิน) ซึ่งเห็นได้ว่าผู้บริโภคบางส่วนยังมองว่าการเช่าแทนซื้อเป็นทางเลือกระยะสั้นที่น่าสนใจ นอกจากนี้การเช่ายังตอบโจทย์การทำงานและการใช้ชีวิตในเมืองหลวงมากกว่า เพราะลดภาระทางการเงินในการผ่อนชำระและให้ความยืดหยุ่นเรื่องค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังถือเป็นปีที่ท้าทายของผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่เริ่มต้นปีด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 5 แม้หลายบริษัทจะส่งสัญญาณเปิดโครงการใหม่ ๆ มากขึ้น แต่ก็ต้องจับตามองว่าปีนี้ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะนำกลยุทธ์ใดมาใช้ขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต ในขณะเดียวกัน ฝั่งผู้บริโภคเองก็ต้องติดตามสถานการณ์และความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิดก่อนตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินที่มีโอกาสผันผวนในช่วงนี้ และควรพิจารณาโครงการที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในครอบครัว ควบคู่ไปกับพิจารณาความคุ้มค่าด้านราคาเช่นกัน เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/เช่าอสังหาฯ ทั้งโครงการใหม่และมือสองในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ พร้อมรีวิวโครงการที่น่าสนใจ และนำเสนอความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการซื้อ/ขาย/เช่า เพื่อเตรียมความพร้อมให้ทุกคนสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้อย่างมั่นใจและง่ายยิ่งขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้สรุปเทรนด์อสังหาฯ น่าจับตา ส่งท้ายปีฉลู

DDproperty

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้สรุปเทรนด์อสังหาฯ น่าจับตา ส่งท้ายปีฉลู

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในรอบปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมที่มีบทบาทกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต ทัศนคติต่อการอยู่อาศัยให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยาวนาน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคใช้ชีวิตภายใต้บริบททางสังคมที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในแวดวงอสังหาฯ ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้ปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้น ชูจุดเด่นในเรื่องการสร้างสรรค์ประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ดีกว่า เพื่อดึงดูดกำลังซื้อจากผู้ที่กำลังมองหาบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ขอนำเสนอเทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่น่าจับตามองในรอบปี 2564 สรุปทิศทางแนวโน้มที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคยุคใหม่มองหา เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ส่งมอบประสบการณ์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แท้จริงได้อย่างราบรื่น

    • การผสมผสานไลฟ์สไตล์ดิจิทัล (Digital Lifestyle Integration) ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการยกระดับและรองรับการใช้ชีวิตยุคใหม่ให้สะดวกสบาย เห็นได้จากการที่หลายโครงการได้นำแนวคิดบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) มาใช้มากยิ่งขึ้น จนแทบจะกลายเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นฐานที่ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ต้องมี การที่บ้าน/คอนโดฯ ใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความอุ่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งในเรื่องการเฝ้าระวัง การตรวจสอบ การเปิดหรือปิดการใช้งานระบบไฟฟ้าได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
    • การอยู่อาศัยแบบยั่งยืนตอบโจทย์คนหาบ้าน (Sustainable & Green Living) เมื่อผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเทรนด์ความยั่งยืน ภาคธุรกิจรวมถึงตลาดอสังหาฯ จึงต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์นี้ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดฯ ที่ผ่านมาที่ผู้บริโภคต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงมองหาบ้านที่มาพร้อมฟังก์ชั่นประหยัดพลังงานและรักษ์โลก ข้อมูลจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่า คนไทยกว่า 9 ใน 10 (93%) ให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยแบบยั่งยืน โดยมากกว่าครึ่ง (62%) ต้องการบ้าน/คอนโดฯ ที่มีระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) เพื่อสร้างพลังงานทางเลือกทดแทนการใช้ไฟฟ้า ตามมาด้วยบ้านที่มีระบบระบายความร้อน (58%) และฟังก์ชั่นดูดซับมลพิษภายในบ้าน (48%) นอกจากนี้หลายโครงการยังได้เพิ่มจุดบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลาง รองรับเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง
    • บ้านเพื่อผู้สูงอายุ ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) แล้วในปีนี้ โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ถึง 20% ของประชากรทั้งหมด หลายโครงการที่อยู่อาศัยมีการออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมการสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกและราบรื่นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มราวจับในพื้นที่ต่างระดับ การเลือกประตูที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับรถเข็น และสร้างทางลาดให้รถเข็นเข้า-ออกในตัวบ้านได้ง่ายขึ้น ซึ่งรายละเอียดการออกแบบต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุเท่านั้น หากแต่เป็นหลักการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยและรองรับการใช้ชีวิตของทุกช่วงวัยได้เป็นอย่างดี ถือเป็นพื้นฐานการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ทุกบ้านต้องมี นอกจากนี้ ยังมีโครงการอสังหาฯ หลายแห่งที่ร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสุขภาพในการเพิ่มบริการดูแลสุขภาพไว้รองรับ ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ
ddproperty
    • ที่อยู่อาศัย Pet Friendly สำหรับคนรักสัตว์ เทรนด์สัตว์เลี้ยงถือเป็นอีกไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค แต่ก็กลายเป็นอีกข้อจำกัดเมื่อต้องเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยเช่นกัน ในอดีตโครงการคอนโดฯ ส่วนใหญ่มักไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนเพื่อนร่วมคอนโดฯ หรือมีปัญหาเรื่องความสะอาด ที่อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทตามมาในภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนรักสัตว์มีจำนวนไม่น้อยและถือเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อในตลาด ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ มองเห็นโอกาสและหันมาเจาะกลุ่มคนรักสัตว์โดยเปิดตัวโครงการคอนโดฯ ที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ (Pet Friendly) พร้อมทั้งมีพื้นที่ส่วนกลางที่ให้เจ้าของและสัตว์เลี้ยงได้ทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย
    • เทรนด์เช่ามาแรง ลดภาระค่าครองชีพ การชะลอตัวของเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดฯ ที่ยังมีความผันผวนอยู่ ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อน และวางแผนการเงินอย่างรัดกุม เลือกเก็บเงินสดไว้กับตัว ส่งผลให้เทรนด์การเช่าที่อยู่อาศัยกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อาทิ ค่าบำรุงรักษา รวมไปถึงค่าภาษีและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเมื่อตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางและไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่ครอบคลุมเพียงพอ การเช่าที่อยู่อาศัยจะช่วยให้กลุ่มคนรุ่นใหม่สามารถเลือกเช่าที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานได้ในราคาที่เอื้อมถึง โดยไม่มีภาระผูกมัดระยะยาว และยืดหยุ่นกว่าเมื่อคิดจะเปลี่ยนงานใหม่ นอกจากนี้การเปิดประเทศและนโยบายจากภาครัฐจะสนับสนุนให้ Digital Nomad หรือผู้ประกอบอาชีพด้านดิจิทัลชาวต่างชาติเลือกเข้ามาทำงานและพักอาศัยในไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดเช่าที่อยู่อาศัยเติบโตเช่นกัน
    • สร้างบรรยากาศแบบ Holiday at Home การใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้เกิดแนวคิดการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ให้ความรู้สึกของการพักผ่อนที่เหมือนได้ท่องเที่ยวพักผ่อนในต่างจังหวัดแม้จะอยู่ที่บ้าน รวมทั้งการตกแต่ง การจัดสวนให้มีมุมพักผ่อนที่ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ สมาชิกในครอบครัวสามารถเลือกนั่งทำงานหรือเรียนออนไลน์ในบรรยากาศที่แตกต่างออกไป ลดความจำเจเมื่อต้องทำงานที่บ้านเป็นระยะเวลานาน และยังสามารถใช้พื้นที่ในสวนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่บ้านร่วมกันได้อีกด้วย ตอบโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยให้ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามไลฟ์สไตล์ของคนในครอบครัว
    • สกุลเงินดิจิทัลกับโอกาสเป็นเจ้าของอสังหาฯ กระแสของสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ในไทยน่าจับตามองและมีบทบาทมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่ด้านฟินเทค (Fintech) เท่านั้นแต่รวมไปถึงในธุรกิจค้าปลีก ความบันเทิง และอสังหาฯ โดยในกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ที่กล้ารับความเสี่ยง มองว่าสกุลเงินดิจิทัลเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าไม่ต่างจากการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน ผู้ยื่นกู้จำเป็นต้องมีประวัติการเงินที่ดีและมีศักยภาพในการผ่อนชำระจึงจะได้รับการอนุมัติจากธนาคาร ถือเป็นอุปสรรคในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่หรือวัยเริ่มทำงาน ในขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนสกุลเงินดิจิทัลที่ได้ในระยะเวลาไม่นาน ช่วยลดข้อจำกัดเหล่านี้และเปิดโอกาสให้นักลงทุนรุ่นใหม่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำอสังหาฯ นี้ไปลงทุนขายต่อหรือปล่อยเช่าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องจับตามองต่อไปว่านอกจากการประกาศใช้สกุลเงินดิจิทัลในการซื้ออสังหาฯ หรือจ่ายค่าส่วนกลางและค่าบริการอื่น ๆ ในบางโครงการแล้ว ในอนาคตเทรนด์สกุลเงินดิจิทัลจะสามารถกลายเป็นอีกช่องทางหลักของการซื้อขายในตลาดอสังหาฯ ได้หรือไม่
DDproperty
    • Metaverse ยกระดับประสบการณ์ที่อยู่อาศัยบนโลกเสมือน เทรนด์มาแรงที่สั่นสะเทือนทุกธุรกิจส่งท้ายปี ได้แก่ Metaverse นวัตกรรมที่สร้างสรรค์และผสมผสานสภาพแวดล้อมของโลกจริงเข้ากับโลกเสมือนจริง ให้กลายเป็นชุมชนโลกเสมือนจริงผ่านการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่รองรับการเข้าถึงโลกเสมือนอย่าง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ถือเป็นแนวคิดที่จะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงตลาดอสังหาฯ ไปไม่น้อย นอกจากผู้บริโภคจะสามารถซื้อโครงการที่อยู่อาศัยในชีวิตจริงแล้ว ยังสามารถเป็นเจ้าของโครงการในโลกเสมือนได้ผ่านการเชื่อมโยงของ Metaverse อีกด้วย นอกจากนี้ยังนำไปใช้เพื่อยกระดับการเยี่ยมชมที่อยู่อาศัยก่อนตัดสินใจซื้อแบบ Virtual Tour ในอนาคตให้ได้รับประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้นเหมือนเดินชมที่สำนักงานขายด้วยตนเอง พร้อมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจในการเปิดพื้นที่ใน Metaverse ให้สามารถซื้อขายที่ดินเพื่อพัฒนาห้างสรรพสินค้าและโครงการอสังหาฯ ต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบไร้รอยต่อระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ คาดตลาดอสังหาฯ ปี 65 มีแววฟื้น ลุ้นมาตรการรัฐ และการควบคุมการแพร่ระบาดช่วยหนุน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_DDproperty_Checklist for renters

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ คาดตลาดอสังหาฯ ปี 65 มีแววฟื้น ลุ้นมาตรการรัฐ และการควบคุมการแพร่ระบาดช่วยหนุน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย สรุปภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ถือเป็นปีแห่งความท้าทายและผันผวนสูง หลังเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงและส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งอุตสาหกรรม ทั้งผู้ผลิต ผู้พัฒนาอสังหาฯ แรงงานก่อสร้าง รวมทั้งผู้บริโภคที่แม้จะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแต่ยังคงมีอุปสรรคจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินโดยตรง ต้องชะลอแผนการซื้อที่อยู่อาศัยออกไป ขณะที่เทรนด์ที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตแบบ New Normal ผู้บริโภคเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบและมองหาที่อยู่อาศัยในแถบชานเมืองมากขึ้น คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2565 จะฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจะเน้นระบายสต็อกคงค้างควบคู่กับการเปิดตัวโครงการใหม่เข้าสู่ตลาดเพื่อดึงดูดผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และนักลงทุนที่มีกำลังซื้อพร้อม ผู้บริโภคยังมองมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นตัวช่วยสำคัญ และเป็นปัจจัยบวกช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

กมลภัทร แสวงกิจ

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “ตัวแปรสำคัญของภาคธุรกิจในปีนี้ยังคงมาจากวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลักของประเทศอย่างทั่วหน้า รวมถึงภาคอสังหาฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยคาดการณ์ว่าปี 2564 จะเป็นปีที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อีกครั้ง แต่สถานการณ์ที่ผันผวนยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ ทำให้ตลาดอสังหาฯ ปีนี้ไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร ประกอบกับการแข่งขันสงครามราคาที่ดุเดือดของผู้พัฒนาอสังหาฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ทำให้เกิดการดูดซับกำลังซื้อจากผู้บริโภคไปแล้วพอสมควร เมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเงินจากการแพร่ระบาดฯ ที่ยืดเยื้อ จึงทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชะลอการซื้อออกไปก่อน แม้ว่าปีนี้ภาครัฐจะออกมาตรการที่เอื้อต่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น รวมถึงมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดอสังหาฯ ได้มากนัก เนื่องจากผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจกับสถานการณ์โควิด-19 และไม่มีกำลังซื้อเพียงพอจากผลกระทบของการแพร่ระบาดฯ”

DDproperty

โควิด-19 สร้างความกังวล ฉุดคนไทยชะลอซื้อบ้าน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค ส่งผลให้ต้องวางแผนการเงินอย่างรัดกุมในระยะยาว ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า เกือบ 3 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวไทย (71%) ยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่เลือกที่จะชะลอการซื้อออกไปก่อน โดย 39% วางแผนจะซื้อบ้านภายใน 1-2 ปี

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคเผยว่าอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการซื้อที่อยู่อาศัยมาจากการขาดรายได้ในช่วงโควิด-19 ถึง 66% รองลงมาคือราคาที่อยู่อาศัย (63%) ตามมาด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง และธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อบ้านในสัดส่วนเท่ากัน (37%) สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาทางการเงินยังคงเป็นอุปสรรคอันดับต้น ๆ ของคนหาบ้าน

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (80%) มองว่ารัฐบาลยังไม่ค่อยมีส่วนช่วยที่จะทำให้คนในประเทศสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ โดยมาตรการเยียวยาภาคอสังหาฯ ที่ต้องการมากที่สุดจากภาครัฐ คือ การลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านทั้งบ้านใหม่และบ้านที่กำลังผ่อนอยู่ (57%) เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

ถอดบทเรียน ‘โอกาส – ความท้าทาย’ ของอสังหาฯ ปี 64

DDproperty

ภาพรวมการเติบโตของภาคอสังหาฯ ที่ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ส่วนใหญ่ชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไปก่อน โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และหันมาเน้นระบายสต็อกคงค้างผ่านสงครามราคาเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในช่วงนี้แทน จึงทำให้ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในปี 2564 โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ในภาพรวมยังคงปรับตัวลดลงถึง 11% จากรอบปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนอุปทานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอุปทานคงค้างในตลาดบวกกับอัตราการดูดซับที่ลดลง อย่างไรก็ดี แนวโน้มอุปทานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีความต้องการในตลาดสูง โดยบ้านเดี่ยวมีจำนวนอุปทานเพิ่มขึ้น 33% จากปีก่อนหน้า ทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 30% ส่วนคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น 11%

นอกจากเทรนด์ที่อยู่อาศัยแนวราบจะได้รับความนิยมจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปแล้ว เทรนด์การพัฒนาที่อยู่อาศัยยังกระจายออกไปในทำเลนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (City Fringe) และแถบชานเมือง (Outskirts) มากขึ้น เนื่องจากเป็นทำเลที่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบในราคาที่เอื้อมได้ ประกอบกับปัจจัยบวกจากการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อการเดินทางสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกขึ้น ข้อมูลจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ถือเป็นสัญญาณบวกที่ทุกภาคส่วนเฝ้ารอ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะฟื้นตัว โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดท่องเที่ยวในประเทศที่ทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมของภาครัฐ และการระดมฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดแรงงานและกำลังซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามไปด้วย

จับตาทิศทางอสังหาฯ ปี 65 รอเวลาฟื้นตามเศรษฐกิจ
“คาดว่าปี 2565 จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ ไทย โดยเริ่มเห็นสัญญาณบวกในช่วงท้ายปี 2564 แต่คาดว่าระดับราคาอสังหาฯ จะยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก ควบคู่ไปกับการออกแคมเปญหรือโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดกำลังซื้อจากผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และนักลงทุนที่มีความพร้อมและหวังผลตอบแทนในระยะยาว ในขณะที่อุปทานยังไม่มีสัญญาณล้นตลาด (Oversupply) หรือเกิดภาวะฟองสบู่ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตา คือ ความคืบหน้าในการควบคุมการแพร่ระบาดฯ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางการเติบโตโดยตรง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงเปราะบางและมีความไม่แน่นอน ผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงควรติดตามสถานการณ์การระบาดฯ หลังเปิดประเทศ และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างใกล้ชิดก่อนตัดสินใจ” นางกมลภัทร กล่าวเสริม

อ่านและศึกษาข้อมูลภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2565 ได้จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2565

คนหาบ้านต้องรู้ เช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบ่อยในกรุงเทพฯ ก่อนคิดซื้อบ้าน

DDproperty

คนหาบ้านต้องรู้ เช็กพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบ่อยในกรุงเทพฯ ก่อนคิดซื้อบ้าน

น้ำท่วมเป็นปัญหาที่คนกรุงฯ อิดหนาระอาใจมายาวนาน แม้จะมีการพยายามวางระบบเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ แต่ปัญหานี้ก็ยังคงเป็นเรื่องกวนใจในชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาลักษณะทางกายภาพร่วมกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ทำให้มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตกรุงเทพฯ จะมีโอกาสจมน้ำ เห็นได้จากรายงานความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแบบสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียภายในปี พ.ศ. 2573 ของกรีนพีซ เผยว่า สภาพภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ เป็นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ภายในปี พ.ศ. 2573 สอดคล้องกับรายงาน Turn Down the Heat: Climate Extremes, Regional Impacts, and the Case for Resilience ของธนาคารโลก ที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้พื้นที่กรุงเทพฯ มีโอกาสจมน้ำภายในปี พ.ศ. 2573 เช่นเดียวกัน ดังนั้น ปัญหาน้ำท่วมขังที่มีแนวโน้มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จึงสร้างความกังวลให้ผู้บริโภคมองว่าธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณบอกให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เข้ามา

ถอดรหัสทำไมกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองน้ำมาก

    • ความเจริญอย่างรวดเร็วเปลี่ยนพื้นที่รับน้ำ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบคมนาคมเพื่อรองรับการเป็นเมืองหลวงส่งผลให้เกิดการกระจุกตัวของแหล่งงาน สถานศึกษา และการลงทุนของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การเร่งพัฒนาของเมืองทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่รับหรือระบายน้ำลดน้อยลง และถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้าง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังได้ง่ายกว่าในอดีต
    • ท่อระบายน้ำเล็กเกินไปและมักอุดตัน ระบบท่อระบายน้ำในกรุงเทพฯ ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำฝนในปริมาณที่ฝนตกไม่เกิน 60 มิลลิเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น แต่ปัจจุบันฝนที่ตกลงมามีปริมาณมากกว่า 100 มิลลิเมตร/ชั่วโมง จึงทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน และยังมีปัญหาท่อระบายน้ำอุดตันจากการสะสมของเศษขยะ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้พยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เช่น กำหนดให้มีการวางท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.20 เมตร เมื่อมีการสร้างหรือปรับปรุงถนนใหม่ รวมถึงการก่อสร้างท่อลอด Pipe Jacking จะใช้ท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.20 เมตร รวมทั้งสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ และลอกท่อระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ
    • พื้นดินทรุดตัวต่อเนื่อง การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมมาเป็นเวลายาวนานส่งผลให้ชั้นดินค่อย ๆ ยุบตัวจนเกิดแผ่นดินทรุดตัวสะสม ทำให้ลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพฯ เป็นแอ่งกระทะเมื่อมีฝนตกหนักจึงท่วมขังได้ง่าย จนมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการใช้น้ำบาดาลในปี พ.ศ. 2540 การทรุดตัวจึงชะลอลง แต่ระดับความสูงต่ำของแต่ละเขตยังคงแตกต่างกันอยู่ เห็นได้จากผลการศึกษาสำรวจของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2544 รายงานว่าสถานการณ์โดยรวมของแผ่นดินทรุดในเขตกรุงเทพฯ ดีขึ้น มีอัตราการทรุดตัวอยู่ที่ประมาณปีละ 1 เซนติเมตร ยกเว้นเขตดอนเมืองที่มีอัตราการทรุดตัวอยู่ระหว่าง 3-5 เซนติเมตรต่อปี และเขตหนองจอกมีอัตราการทรุดตัวอยู่ระหว่าง 2-3 เซนติเมตรต่อปี
    • ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมไม่เท่ากัน จากข้อมูลของกรมแผนที่ทหาร พบว่า พื้นที่ในกรุงเทพฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียงประมาณ 1-1.5 เมตร ถือว่ามีระดับที่ไม่สูงมากนัก
DDproperty Info_Flood areas in Bangkok
    • Climate change ดันระดับน้ำทะเลหนุนสูง มักเกิดในพื้นที่ราบลุ่มที่อยู่ไม่ไกลจากปากอ่าวหรือทะเล ระดับน้ำในแม่น้ำจะได้รับอิทธิพลน้ำขึ้น-น้ำลงเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา ในช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนสูงเมื่อรวมกับมวลน้ำเหนือจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูฝนจึงทำให้เกิดน้ำท่วมในชุมชนริมแม่น้ำเสมอ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดการณ์ว่า ก่อนปี พ.ศ. 2593 กว่า 600 ล้านคนทั่วโลกที่อาศัยในที่ราบลุ่มอาจต้องเผชิญกับน้ำท่วมชายฝั่งซึ่งเป็นผลมาจากระดับน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น

อัปเดตเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม-น้ำทะเลหนุนสูง
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยทำเลเสี่ยงน้ำท่วมและทำเลเสี่ยงน้ำทะเลหนุนสูง พร้อมอัปเดตความสนใจซื้อ-เช่าที่อยู่อาศัยจากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ในเดือนตุลาคม 2564 รวมทั้งแนวโน้มดัชนีราคาและดัชนีอุปทาน เพื่อสะท้อนทิศทางความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าสนใจในทำเลเหล่านี้

ทำเลเสี่ยงน้ำท่วม แต่แนวโน้มราคายังบวก
ทำเลเสี่ยงน้ำท่วมส่วนใหญ่ (ข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร) เมื่อพิจารณาแนวโน้มราคาอสังหาฯ พบว่า มีการปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ในขณะที่ความสนใจซื้อ-เช่ายังคงสูง

    • แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ มีความสนใจซื้อในเดือนตุลาคมสูงถึง 72% จากความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับทำเลเสี่ยงน้ำท่วมอื่น ๆ ในขณะที่ความสนใจเช่าสูงถึง 57% แนวโน้มราคาอสังหาฯ ยังคงทรงตัวจากปีก่อนหน้า ส่วนจำนวนอุปทานเพิ่มขึ้น 29% จากรอบปีก่อน (YoY) มีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 67% ของอุปทานโดยรวมของเขตบางซื่อ โดยทำเลนี้ได้อานิสงส์จากการเปิดให้บริการของรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน, ช่วงบางซื่อ-รังสิต และใกล้สถานีกลางบางซื่อ ทำให้ความสนใจซื้อ-เช่ายังคงอยู่ในอัตราที่สูง
    • แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร ความสนใจซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยของทำเลนี้มีสัดส่วน 22% เท่ากัน เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อและเช่าโดยรวมของเขต ด้านแนวโน้มราคาอสังหาฯ ยังเติบโต โดยเพิ่มขึ้น 7% YoY ด้านอุปทานเพิ่มขึ้นถึง 75% YoY จำนวนอุปทานคิดเป็นสัดส่วน 16% ของอุปทานทั้งหมดในเขตจตุจักร
    • แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ความสนใจซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยในทำเลนี้ยังคงมีสัดส่วนสอดคล้องกัน โดยความสนใจซื้อสูงถึง 61% เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ส่วนความสนใจเช่าสูงถึง 59% เมื่อเทียบกับความสนใจเช่าโดยรวมของเขตเช่นกัน ด้านแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น 1% YoY ในขณะที่แนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น 14% YoY มีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 67% ของอุปทานโดยรวมของเขตหลักสี่
    • แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน มีความสนใจซื้อคิดเป็นสัดส่วน 51% เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ด้านความสนใจเช่ามีสัดส่วนอยู่ที่ 60% เมื่อเทียบกับความสนใจเช่าโดยรวมของเขต ในส่วนแนวโน้มราคาอสังหาฯ เพิ่มขึ้น 5% YoY ด้านแนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น 16% YoY มีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 60% ของอุปทานโดยรวมของเขตบางขุนเทียน
    • แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค มีความสนใจซื้อคิดเป็นสัดส่วน 24% เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ด้านความสนใจเช่ามีสัดส่วน 20% จากความสนใจเช่าโดยรวมของเขต โดยแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น 5% YoY ด้านแนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น 43% YoY มีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 29% ของอุปทานโดยรวมของเขตบางแค

ทำเลเสี่ยงน้ำทะเลหนุน แนวโน้มราคาพุ่ง
ด้านแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยในทำเลเสี่ยงน้ำทะเลหนุนยังคงมีทิศทางเติบโต เช่นเดียวกับแนวโน้มอุปทาน

    • แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ พบว่าความสนใจซื้อมีสัดส่วนอยู่ที่ 54% เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ในขณะที่ความสนใจเช่ามีสัดส่วนเพียง 14% เท่านั้นเมื่อเทียบกับความสนใจเช่าโดยรวมของเขต ด้านแนวโน้มราคาและแนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 29% YoY โดยมีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 38% ของอุปทานโดยรวมของเขตสัมพันธวงศ์
    • แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด ความสนใจซื้อและเช่ามีสัดส่วนในระดับไล่เลี่ยกัน โดยความสนใจซื้ออยู่ที่ 32% เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ส่วนความสนใจเช่าอยู่ที่ 31% เมื่อเทียบกับความสนใจเช่าโดยรวมของเขต ด้านแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น 5% YoY ส่วนแนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น 38% YoY มีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 26% ของอุปทานโดยรวมของเขตบางพลัด
    • แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี มีความสนใจซื้อเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 35% เมื่อเทียบกับความสนใจซื้อโดยรวมของเขต ส่วนความสนใจเช่าอยู่ที่ 23% เมื่อเทียบกับความสนใจเช่าโดยรวมของเขต ในขณะที่แนวโน้มราคาทรงตัวจากรอบปีก่อนหน้า ส่วนแนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น 25% YoY มีสัดส่วนอุปทานอยู่ที่ 34% ของอุปทานโดยรวมของเขตธนบุรี

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากผังเมืองกรุงเทพฯ พบว่า ทำเลเสี่ยงน้ำท่วมและเสี่ยงน้ำทะเลหนุนส่วนใหญ่ถูกกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งมีความหนาแน่นของการอยู่อาศัยปานกลางและสูง รวมทั้งมีที่ดินประเภทพาณิชยกรรมด้วย ดังนั้น คาดว่าในอนาคตผู้พัฒนาอสังหาฯ จะเดินหน้าพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทำเลเหล่านี้ยังมีศักยภาพในการเติบโตอยู่ไม่น้อย

จากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com พบว่า คอนโดมิเนียมติดอันดับหนึ่งประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความสนใจซื้อในทำเลเสี่ยงน้ำท่วมและเสี่ยงน้ำทะเลหนุนในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา (ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564) ตามมาด้วยที่ดิน และบ้านเดี่ยว จากการที่ที่ดินติด 1 ใน 3 ประเภทของอสังหาฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่า แม้ทำเลเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเผชิญปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในมุมผู้ประกอบการและผู้บริโภคแล้วมองเห็นศักยภาพในการนำที่ดินไปพัฒนาโครงการต่าง ๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคสามารถเสริมความมั่นใจก่อนเลือกซื้อบ้าน โดยตรวจสอบข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย หรือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)