พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป บริษัทแม่ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ปรับแบรนด์ครั้งใหญ่

DDproperty and thinkofliving.com repositions brand

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป บริษัทแม่ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ปรับแบรนด์ครั้งใหญ่

ชูภาพกูรูผู้คอยให้ “คำแนะนำ” แก่ผู้ที่คิดจะซื้อ-ขาย-เช่า รวมทั้งเจ้าของอสังหาฯ พร้อมสโลแกนใหม่ “จากบ้านของเรา…สู่บ้านของคุณ”

    • การปรับแบรนด์ใหม่ครั้งนี้มุ่งสร้างภาพจำให้กับพร็อพเพอร์ตี้กูรู และแบรนด์ในเครือ ในฐานะเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ทุกคนไว้วางใจ และเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้ใน “การค้นหาอสังหาฯ” แต่ยังพร้อมให้คำแนะนำ รวมไปถึงบริการ และโซลูชั่นให้กับทุก ๆ คนในระบบนิเวศของธุรกิจอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้ค้นหา, ผู้ขาย, เอเจนต์ และแม้แต่บริษัทผู้พัฒนาโครงการต่าง ๆ
    • นอกจากนี้ การปรับแบรนด์ในครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของกลุ่มพร็อพเพอร์ตี้กูรู ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ ชั้นนำ และยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจฟินเทค (Fintech) รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูล (Data) ล่าสุด เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส” (PropertyGuru For Business) เพื่อเจาะตลาดการให้บริการกลุ่มลูกค้าองค์กร
    • พร้อมกันนี้ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้กูรูยังเปิดตัวแบรนด์แคมเปญที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทพร้อมกันใน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, เวียดนาม และไทย

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป จำกัด (NYSE: PGRU) (“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”), บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาฯ หรือพร็อพเทค (PropTech) ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ ชั้นนำของไทยอย่าง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และเว็บไซต์รีวิวโครงการชั้นนำของประเทศ thinkofliving.com ได้ประกาศการปรับแบรนด์ครั้งสำคัญ โดยมุ่งเน้นให้คำแนะนำกับทุก ๆ คนที่คิดจะอยู่ หรือกำลังอยู่ในเส้นทางของอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ซื้อ, ผู้เช่า, ผู้ขาย, เอเจนต์, บริษัทพัฒนาอสังหาฯ, ธนาคารและสถาบันการเงิน, นักประเมินค่าทรัพย์สิน หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านผังเมือง

จุดยืนใหม่ของแบรนด์พร็อพเพอร์ตี้กูรูในครั้งนี้เป็นการสื่อสารกับทุกคนที่อยู่บนเส้นทางของอสังหาฯ ว่า “ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนไหนก็ตาม คุณจะได้รับคำแนะนำจากกูรู หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านอสังหาฯ” ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ของกรุ๊ปในการที่จะก้าวสู่การเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านอสังหาฯ ที่ทุกคนไว้วางใจ และยังสะท้อนถึงภารกิจหลักของกรุ๊ปที่ต้องการช่วยเหลือให้ผู้ที่กำลังซื้อ, เช่า, ขาย หรือแม้แต่เจ้าของอสังหาฯ สามารถตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนได้อย่างมั่นใจ โดยวันนี้แบรนด์พร็อพเพอร์ตี้กูรูเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มสำหรับการค้นหาอสังหาฯ แต่กำลังเดินหน้าสู่การเป็น “แพลตฟอร์มอสังหาฯ ที่ได้รับความไว้วางใจ” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   

นอกจากนี้ พร็อพเพอร์ตี้กูรูยังได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส” (PropertyGuru For Business) โดยเน้นการให้บริการโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าองค์กร-บริษัทอสังหาฯ ได้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส (PropertyGuru For Business) เป็นการรวมบริการและโปรดักส์ประเภท B2B ต่าง ๆ ซึ่งมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บริษัทผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ, เอเจนซี่ต่าง ๆ, ธนาคารและสถาบันการเงิน, นักประเมินค่าทรัพย์สิน, นักวางนโยบาย/ผังเมือง เป็นต้น โดยโซลูชั่นที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ PropertyGuru Finance, DataSenseValueNet,  FastKey และการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส จะเป็นการนำเสนอโซลูชั่นที่มีการนำเอาข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าองค์กรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเติบโตอย่างมีศักยภาพ และปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ 

นายแฮรี่ วี คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับแบรนด์ครั้งสำคัญในครั้งนี้ว่า “ในฐานะผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุ๊ปของเรามีภารกิจสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทุก ๆ คนที่อยู่บนเส้นทางอสังหาฯ ให้สามารถตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น เราจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่กำลังซื้อ, เช่า หรือขายอสังหาฯ เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากทุก ๆ การสื่อสารเกิดขึ้นบนหลักการที่สร้างความไว้วางใจระหว่างผู้ใช้งานทั้งสองฝ่าย ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่พูดถึงนี้ ก็คือ “แพลตฟอร์มอสังหาฯ ที่เชื่อถือได้” โดยเราจะนำโซลูชั่นด้านข้อมูลที่จะทำให้เกิดความโปร่งใส อีกทั้งยังนำนวัตกรรมจากเทคโนโลยีของเรามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ และทำให้การซื้อ-ขายอสังหาฯ เข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง  ในขณะเดียวกัน เราจะคอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องในเส้นทางอสังหาฯ นั้น ๆ  

วันนี้ เราเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้ “ค้นหาอสังหาฯ” และนำเสนอบริการแบบครบวงจรยิ่งขึ้นแล้ว อย่างไรก็ดี เราจะยังลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจสินเชื่อบ้าน, ข้อมูล, ระบบปฏิบัติงาน และอื่น ๆ ทั้งหมดนี้เพื่อที่เราจะได้นำเสนอข้อมูลและเครื่องมือที่ใช่ให้กับการตัดสินใจครั้งสำคัญได้อย่างมั่นใจนั่นเอง” 

ด้านนางเรอโมนา ดูเคน ผู้อำนวยการฝ่ายแบรนด์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวเพิ่มเติมว่า “การปรับแบรนด์ของเราในครั้งนี้สะท้อนถึงการปรับกลยุทธ์ครั้งสำคัญขององค์กร เพื่อเข้าสู่การเติบโตในเฟสใหม่ แสดงถึงการให้ความสำคัญกับคุณค่าที่เราต้องการส่งมอบแก่ผู้ใช้งานและลูกค้าของเรา ในวันนี้ เราไม่ได้เป็นแค่เพียงแพลตฟอร์มที่ใช้เพื่อการค้นหา แต่เราต้องการเป็นผู้ช่วยในโมเมนต์สำคัญ ๆ ในเส้นทางของการซื้อ, ขาย, เช่า, และลงทุนด้านอสังหาฯ ของคุณ เพราะเราเข้าใจดีว่าในแต่ละขั้นตอนมีความยุ่งยากซับซ้อน และในบางครั้งเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจจนต้องการความช่วยเหลือ หรือหาใครสักคนที่คอยให้คำแนะนำให้เดินหน้าต่อไปได้ และเราจะขอเป็นคน ๆ นั้นที่คอยช่วยเหลือคุณ 

สำหรับการปรับแบรนด์ในครั้งนี้ มีการปรับรายละเอียดที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเราได้มากยิ่งขึ้น  โดยทุกคนจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของเรา ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ รวมไปถึงเว็บไซต์, แอปพลิเคชัน และสื่อโซเชียลมีเดียของเรา” 

การปรับแบรนด์ของกรุ๊ปที่มุ่งเน้นการให้ “คำแนะนำ” ในครั้งนี้ เป็นการผสมผสานโปรดักส์และโซลูชั่นจากหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท ภายใต้สโลแกน “จากบ้านของเรา…สู่บ้านของคุณ” สะท้อนให้เห็นถึงความหมายที่หลากหลายของคำว่า “บ้าน” สำหรับแต่ละคน (ไม่ว่าจะเป็น ผู้คนที่กำลังค้นหา, เจ้าของ, เอเจนต์, ผู้พัฒนาโครงการ, ธนาคาร หรือแม้แต่นักประเมินค่าทรัพย์สิน) บ้านอาจจะเป็นสถานที่สำหรับพำนักอาศัย แต่สำหรับบางคน บ้านเป็นเสมือนเป้าหมายของชีวิต แต่ไม่ว่าความหมายของคำว่าบ้านสำหรับคุณจะคืออะไร พร็อพเพอร์ตี้กูรูพร้อมที่จะนำเสนอประสบการณ์, โปรดักส์, บริการ และไอเดียการตลาดที่พัฒนาโดยใช้ข้อมูลช่วยสนับสนุน เพื่อให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพกับผู้บริโภคและลูกค้าของเราตลอดการเดินทางบนเส้นทางอสังหาฯ” 

นอกจากนี้ กรุ๊ปยังได้เปิดตัวแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2565 โดยมีการเปิดตัวโลโก้ใหม่ที่เป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อถือในภาคธุรกิจอสังหาฯ พบกับแบรนด์แคมเปญครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้ตามสื่อต่าง ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม โดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุก ๆ เซ็กเมนต์ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังจะซื้อหรือเช่าอสังหาฯ ผู้ขาย, เอเจนต์ และกลุ่มลูกค้าองค์กร ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับแบรนด์แคมเปญในไทยครั้งนี้ได้ที่นี่   

ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหวังซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ จริงหรือ?

ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหวังซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ จริงหรือ?

ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหวังซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ จริงหรือ?

เศรษฐกิจไทยในเวลานี้อยู่ในภาวะเปราะบาง อันเนื่องจากปัจจัยท้าทายที่ยืดเยื้อจากการแพร่ระบาดฯ ผนวกกับภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ล้วนฉุดให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ และเมื่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงแผนการเงินของผู้บริโภค และกลายเป็นความท้าทายระลอกใหม่ของผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้ ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของภาครัฐ พร้อมทั้งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยบวกที่ดึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาอีกครั้ง ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือนสิงหาคม 2565 ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 43.7 จากระดับ 42.4 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน 

ขณะที่ตลาดอสังหาฯ แม้ไม่ได้มีการเติบโตหวือหวา แต่เห็นสัญญาณบวกจากการที่ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ กลับมาเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาโครงการให้ตอบโจทย์คนหาบ้านในยุคนี้มากขึ้น ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 51% จากเดิมที่มีเพียง 45% ในรอบก่อน สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้นในตลาดอสังหาฯ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการยังเลือกตรึงราคาที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับกำลังซื้อในช่วงนี้ จึงทำให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีความพร้อม สามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังพบว่าความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นเป็น 67% จากเดิม 62% ในรอบก่อน ส่งสัญญาณการกลับมาฟื้นตัวของดีมานด์ฝั่งคนหาบ้านที่เริ่มเชื่อมั่นในการใช้จ่ายอีกครั้ง

ไขคำตอบ คนไทยพร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยหรือยัง

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (57%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 1 ปีข้างหน้านี้ ขณะที่อีก 7% ยังคงเลือกเช่าที่อยู่อาศัยต่อไป ส่วน 35% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยในช่วงนี้ 

ส่วนเหตุผลสำคัญอันดับต้น ๆ ของกลุ่มผู้ที่ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการอยู่อาศัยเป็นหลัก โดย 43% ต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น รองลงมาคือต้องการเพิ่มพื้นที่รองรับบุตรหลาน/พ่อแม่ และซื้อไว้เพื่อลงทุนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน (30% และ 29% ตามลำดับ) 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความพร้อมในการวางแผนการเงินก่อนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย พบว่ามีผู้บริโภคเพียง 1 ใน 4 (25%) เท่านั้นที่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (47%) ยังเก็บเงินได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วนอีก 22% ยังไม่ได้เริ่มวางแผนออมเงินใด ๆ สะท้อนให้เห็นว่าแม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้นี้ แต่หากขาดการวางแผนทางการเงินที่รอบคอบก็ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเมื่อต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคต 

นอกจากนี้ พบว่าสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคจำเป็นต้องเช่าที่อยู่อาศัยต่อไป โดยเกือบครึ่ง (48%) ของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้า เผยว่าไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ส่วนเกือบ 2 ใน 5 (39%) เลือกที่จะเช่าเพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่า ขณะที่ 1 ใน 4 ยังมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในเวลานี้ (27%) และมองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงไป จึงเลือกเก็บออมเงินไว้มากกว่าที่จะซื้อที่อยู่อาศัยตอนนี้ (25%) 

เจาะลึกความท้าทายของคนหาบ้าน สั่นคลอนแผนซื้อที่อยู่อาศัยมากน้อยแค่ไหน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด สะท้อนทัศนคติและมุมมองคนหาบ้านชาวไทยที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยปัจจุบัน ท่ามกลางความท้าทายที่ถาโถมรอบด้าน ซึ่งล้วนสร้างความกังวลและสั่นคลอนแผนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย 

    • “การเงิน” ความท้าทายหลักเมื่อคิดซื้อบ้าน การซื้อที่อยู่อาศัยแม้จะมีราคาสูงและระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน แต่ถือเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ ท่ามกลางความท้าทายรอบด้านที่ส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกระทบมาสู่ผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินตามไปด้วย ข้อมูลจากผลสำรวจ CHAMBER BUSINESS POLL: “สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2565” ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ปีนี้คนไทยมีหนี้สินถึง 99.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับจากที่มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2550 และพบว่าเป็นหนี้จากที่อยู่อาศัย 35.7% ซึ่งสอดคล้องกับแบบสอบถามฯ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ที่เผยว่า ผู้บริโภคถึง 4 ใน 5 (80%) ยังคงต้องเผชิญความท้าทายจากปัญหาการเงินเมื่ออยากมีบ้าน โดยความท้าทายอันดับต้น ๆ มาจากการหาแหล่งเงินกู้ในการซื้อที่อยู่อาศัย (54%) และยื่นขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ยากขึ้น (44%) ดังนั้น คนซื้อบ้านในยุคนี้จึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งประเมินภาระค่าใช้จ่ายให้รอบด้านก่อนตัดสินใจ 
DDproperty-CSS-H2-2022-TH_Info
    • อย่าผลีผลามเมื่อเจอที่อยู่อาศัยในทำเลที่ถูกใจ ระวังเหตุไม่คาดฝัน การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตเป็นความท้าทาย โดยผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53%) มองว่าการหาทำเลที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องท้าทายและใช้เวลาค้นหาไม่น้อย ซึ่งนอกจากจะต้องเดินทางสะดวก อยู่ในทำเลที่มีความเจริญ รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาฯ ได้ในอนาคตแล้ว นอกจากนี้ อีกข้อสำคัญควรพิจารณาคือข้อมูลและข่าวสารว่าทำเลนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ไม่เป็นผลดีมากน้อยเพียงใด เช่น พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก/อุทกภัย พื้นที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีเมื่อมีเหตุโรงงานไฟไหม้หรือระเบิด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและโครงการอสังหาฯ เอง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงผังเมือง หรือแผนการเวนคืนอสังหาฯ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งก็เป็นอีกประเด็นที่ควรศึกษาเช่นกัน เพื่อให้สามารถคัดเลือกที่อยู่อาศัยในทำเลที่ถูกใจและอยู่ได้ในระยะยาว
    • “เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยสูง” ฉุดคนชะลอซื้อบ้านหลังที่สอง นอกเหนือจากผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องแล้ว ในปีนี้ยังมีความท้าทายจากสถานการณ์เงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามาสร้างความกังวลให้ผู้บริโภคอีกระลอก ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนสิงหาคม 2565 อยู่ที่ 7.86% ถือเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อ กนง. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงยิ่งสร้างความกังวลใจและกระทบกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยไม่น้อยเมื่อต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้วและวางแผนซื้อบ้านหลังที่สองเพิ่มในอีก 1 ปีข้างหน้า มากกว่าครึ่ง (59%) เผยว่าจะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับอีก 58% ที่เลือกชะลอแผนการซื้อไปก่อนเช่นกันหากเงินเฟ้อยังไม่กลับสู่ระดับปกติ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินปัจจุบันและรอประเมินสถานการณ์ในอนาคต
    • หวังภาครัฐช่วยลดดอกเบี้ย จูงใจซื้อบ้านยุคเงินเฟ้อ แม้ปีนี้คนหาบ้านจะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปี แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว พบว่าช่วงเวลานี้ยังคงเป็นโอกาสที่ดีในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย โดยข้อมูลจากแบบสอบถามฯ เผยว่าผู้บริโภคมากกว่า 4 ใน 5 คาดว่าอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ และราคาที่อยู่อาศัยจะมีการปรับเพิ่มขึ้นภายใน 1 ปีข้างหน้า ดังนั้น การมีมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ จากภาครัฐจึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เมื่อเจาะลึกถึงมาตรการช่วยเหลือและสนับสนุนที่คนหาบ้านคาดหวังจากภาครัฐท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อสูงในตอนนี้ พบว่า กว่า 3 ใน 5 (62%) ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเพิ่มเติมอีก ขณะที่มากกว่าครึ่ง (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดดอกเบี้ยทั้งสินเชื่อบ้านที่กู้ใหม่และที่มีอยู่ ตามมาด้วยคาดหวังว่าจะมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก (44%) เพื่อส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงานและเริ่มสร้างครอบครัว ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้บริโภคอายุระหว่าง 22-29 ปี
DDproperty-CSS-H2-2022-TH

จับตาเทรนด์อสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยยังไม่ปรับขึ้น โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน

จับตาเทรนด์อสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยยังไม่ปรับขึ้น โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน

จับตาเทรนด์อสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยยังไม่ปรับขึ้น โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวในเวลาอันใกล้ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ต้องประเมินความเสี่ยงทางการเงินกับความคุ้มค่าให้รอบคอบมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยยังคงไม่ปรับขึ้น หลังผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยบ้านเดี่ยวยังได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ดัชนีราคาเติบโตในไตรมาสที่ผ่านมา ด้านตลาดเช่ายังคงมาแรง ความต้องการเช่าโตถึง 88% ในรอบไตรมาส ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมซื้อ ดันดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนที่พร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่ยังไม่แพงเกินไป ก่อนปรับราคาขึ้นตามต้นทุน และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2565 นี้

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บน DDproperty เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 2% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 5% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 ต่ำกว่าดัชนีราคาปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานถึง 18% สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคายังไม่กลับมาฟื้นตัวดีเท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ 

ขณะที่การทำงานออนไลน์และเรียนออนไลน์ที่กลายเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันส่งผลให้บ้านเดี่ยวยังคงครองใจผู้บริโภคยุคนี้ โดยเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มถึง 21% จากปีก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อนหน้า ต่างจากดัชนีราคาคอนโดฯ ที่ลดลงถึง 3% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงนี้ผู้ซื้อยังคงให้ความสนใจที่อยู่อาศัยแนบราบที่มีความคุ้มค่าและพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์มากกว่า และเมื่อโครงการที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นในอนาคต ย่อมส่งผลให้โครงการรีเซลหรือโครงการมือสองซึ่งมีราคาถูกกว่า กลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเช่นกัน

- ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวในเวลาอันใกล้ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ต้องประเมินความเสี่ยงทางการเงินกับความคุ้มค่าให้รอบคอบมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยยังคงไม่ปรับขึ้น หลังผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยบ้านเดี่ยวยังได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ดัชนีราคาเติบโตในไตรมาสที่ผ่านมา ด้านตลาดเช่ายังคงมาแรง ความต้องการเช่าโตถึง 88% ในรอบไตรมาส ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมซื้อ ดันดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนที่พร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่ยังไม่แพงเกินไป ก่อนปรับราคาขึ้นตามต้นทุน และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2565 นี้ ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บน DDproperty เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 2% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 5% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 ต่ำกว่าดัชนีราคาปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานถึง 18% สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคายังไม่กลับมาฟื้นตัวดีเท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ ขณะที่การทำงานออนไลน์และเรียนออนไลน์ที่กลายเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันส่งผลให้บ้านเดี่ยวยังคงครองใจผู้บริโภคยุคนี้ โดยเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มถึง 21% จากปีก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อนหน้า ต่างจากดัชนีราคาคอนโดฯ ที่ลดลงถึง 3% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงนี้ผู้ซื้อยังคงให้ความสนใจที่อยู่อาศัยแนบราบที่มีความคุ้มค่าและพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์มากกว่า และเมื่อโครงการที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นในอนาคต ย่อมส่งผลให้โครงการรีเซลหรือโครงการมือสองซึ่งมีราคาถูกกว่า กลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเช่นกัน

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “ความท้าทายที่ตลาดอสังหาฯ ไทยต้องเผชิญในตอนนี้ถือเป็นบททดสอบที่หลายฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคไปด้วยกัน เนื่องจากผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่และโรคฝีดาษลิง ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาพลังงานและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบกันเป็นทอด ๆ ทั้งในฝั่งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และภาครัฐ ทำให้การซื้อ-ขายในตลาดอสังหาฯ ไม่กลับมาคึกคักได้ตามที่คาดการณ์ไว้ 

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense พบว่าแนวโน้มความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึง 20% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อาจทำให้จำเป็นต้องชะลอการซื้อออกไปก่อน เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการเป็นภาระหนี้ผูกพันระยะยาวในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอนเช่นนี้ กลายเป็นโอกาสของตลาดเช่าที่อยู่อาศัย เห็นได้จากความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้นถึง 166% จากปีก่อนหน้า”

“ช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นโอกาสทองของกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และนักลงทุนที่มีความพร้อม ก่อนที่ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงที่สูงขึ้น ผนวกกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่มีทิศทางปรับขึ้นตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะส่งผลให้ยอดผ่อนชำระที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงการยกเลิกอัตราดอกเบี้ยคงที่ของธนาคาร/สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ท้าทายในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคไม่น้อย ด้านผู้ประกอบการเร่งกระตุ้นการตัดสินใจซื้อด้วยการแข่งจัดโปรโมชันสุดคุ้ม หรือตรึงราคาให้นานที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของคนหาบ้านยุคนี้ เมื่อผนวกกับปัจจัยบวกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ทำให้ผู้ซื้อบ้านสามารถกู้ได้ 100% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย รวมถึงมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนอง เหลือเพียง 0.01% จึงถือเป็นโอกาสสุดท้ายของปีนี้ที่เอื้อให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่ยังไม่แพงเกินไป” 

“อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคกว่า 3 ใน 5 (63%) ต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้าน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้สูง ขณะที่ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (59%) คาดหวังว่าภาครัฐจะมีการปรับระเบียบข้อบังคับที่ช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น ดังนั้น มองว่าภาครัฐยังคงต้องกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในกลุ่มผู้ซื้อชาวไทยให้มากขึ้นด้วยการออกมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม อาทิ การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก หรือการขยายมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนองครอบคลุมที่อยู่อาศัยในระดับราคามากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้งมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงจุดและชัดเจน เพื่อเพิ่มความสามารถในการซื้อของผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัยมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวได้ไวขึ้น นอกจากนี้ การที่กระทรวงมหาดไทยเตรียมออกประกาศกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเงื่อนไขให้ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้บนเนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่นั้น หากมีการประกาศใช้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ แนวราบเติบโตเพิ่มขึ้นอีกด้วย” นางกมลภัทร แสวงกิจ กล่าวสรุป

ดีมานด์ที่อยู่อาศัยยังไม่แผ่ว คนสนใจซื้อ-เช่าโตต่อเนื่อง

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บน DDproperty เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในไตรมาสล่าสุด สรุปภาพรวมความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าสนใจทั้งในตลาดซื้อและตลาดเช่า พร้อมอัปเดตทำเลศักยภาพที่มีแนวโน้มราคาเติบโตในไตรมาสนี้

    • อุปทานแนวราบโตต่อเนื่อง ดีมานด์คนซื้อเพิ่ม ดัชนีอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ผ่านมานั้น ที่อยู่อาศัยแนวราบมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนอยู่ที่ 11% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3% จากไตรมาสก่อน ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 7% และเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อนเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่สินค้าแนวราบอยู่ในมือได้นำสินค้าออกมาขายมากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand)

      ด้านคอนโดฯ แม้จะครองตลาดด้วยสัดส่วนมากที่สุดถึง 82% แต่ลดลง 4% จากไตรมาสก่อน อันเป็นผลจากการดูดซับอุปทานไปแล้วบางส่วนจากการจัดโปรโมชันเร่งระบายสินค้าในสต็อกของผู้ประกอบการ รวมทั้งยังไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่มากนัก ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจะมีจำนวนที่อยู่อาศัยมากขึ้น จากความเชื่อมั่นของผู้ขายที่นำสินค้าในมือออกมาขายมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการที่เปิดโครงการคอนโดฯ ใหม่เพิ่มขึ้น สอดรับกับดีมานด์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งตลาดอสังหาฯ จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตลาดท่องเที่ยวและกำลังซื้อจากชาวต่างชาติเช่นกัน

      ด้านแนวโน้มความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยล่าสุดเพิ่มขึ้น 20% จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย อันเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มส่งสัญญาณปรับขึ้นราคาที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ย กลายเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้บริโภคต้องมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ในเวลานี้มากขึ้น ซึ่งคอนโดฯ กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการซื้อเพิ่มสูงสุดที่ 26% จากไตรมาสก่อน ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว (เพิ่มขึ้น 15% และ 11% ตามลำดับ)

    • ดัชนีค่าเช่ายังทรงตัว คอนโดฯ ครองใจผู้เช่าดันดีมานด์พุ่ง 105% แม้ภาพรวมอัตราค่าเช่าต่อตารางเมตรต่อเดือนในกรุงเทพฯ ยังคงทรงตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเจ้าของอสังหาฯ ให้เช่ายังตรึงราคาให้สอดคล้องกับรายจ่ายของผู้เช่า เพื่อช่วยกระตุ้นการตัดสินใจเช่าอีกทางหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้วพบว่า ดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานอยู่ที่ 9% เลยทีเดียว เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีโอกาสเติบโตในตลาดเช่า โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5% ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดฯ (เพิ่มขึ้น 4% และ 1% ตามลำดับ) ขณะที่ดัชนีความต้องการเช่าล่าสุดปรับตัวเพิ่มสูงถึง 88% จากไตรมาสก่อน หรือเพิ่มขึ้นถึง 166% จากปีก่อนหน้า โดยคอนโดฯ ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุด เห็นได้ชัดจากดัชนีความต้องการเช่าที่เพิ่มถึง 105% จากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดเช่าคอนโดฯ ที่กลับมามีดีมานด์ในตลาดสูงอีกครั้ง ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ที่มีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 21% และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาสก่อน

      โดยทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเช่าที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในโซนใจกลางเมือง เนื่องจากการขยายเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าหลายสายที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น ผู้บริโภคจึงเลือกเช่าในทำเลที่มีอัตราค่าเช่าย่อมเยากว่าแทน จากรายงานฯ พบว่า ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นในรอบไตรมาส ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ เพิ่มขึ้นมากที่สุด 38% รองลงมาคือเขตคลองสามวา เพิ่มขึ้น 22%, เขตสะพานสูง เพิ่มขึ้น 13%, เขตทุ่งครุ เพิ่มขึ้น 8% และเขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งอัตราค่าเช่าส่วนใหญ่อยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/เดือน 

    • เกาะติดทำเลศักยภาพ รถไฟฟ้าดันย่านชานเมืองราคาพุ่ง ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก โดยมีโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีราคาเติบโตอย่างน่าสนใจ ที่น่าจับตามองคือในไตรมาสนี้เริ่มเห็นบางทำเลใจกลางเมือง และใกล้แหล่งธุรกิจมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมาให้ความสนใจทำเลใจกลางเมืองอีกครั้ง
        • เขตทวีวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มถึง 19% จากปีก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เชื่อมต่อการเดินทางมายังใจกลางเมืองให้สะดวกขึ้น 
        • เช่นเดียวกับเขตตลิ่งชัน ที่ได้รับปัจจัยบวกจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันเช่นกัน ส่งผลดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 15% จากปีก่อนหน้า โดยทั้งเขตทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชันยังเป็นทำเลที่มีสินค้าแนวราบเป็นหลัก ซึ่งตอบโจทย์คนหาบ้านในยุคนี้ จึงทำให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงการแพร่ระบาดฯ 
        • เขตสัมพันธวงศ์ อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสองกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เขตสัมพันธวงศ์มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 6% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ยังเป็นย่านการค้าเก่าที่หาโครงการใหม่ ๆ ยาก จึงทำให้ระดับราคาในทำเลนี้ค่อนข้างสูงตามไปด้วย
        • เขตวังทองหลาง มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 21% จากปีก่อนหน้า มีแนวโน้มเติบโตจากการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ที่จะเปิดให้บริการปี 2566 จึงทำให้ทำเลนี้เป็นที่จับตามองในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และคาดว่าจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
        • เขตหนองจอก แม้จะอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก แต่เนื่องจากเป็นทำเลที่มีสินค้าแนวราบเป็นหลัก จึงทำให้ราคาที่อยู่อาศัยมีการเติบโตขึ้นอย่างน่าสนใจ โดยดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 8% จากปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ ยังพบว่าทำเลใจกลางเมืองที่เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่นั้น ดัชนีราคาได้เริ่มปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ได้แก่ เขตบางรัก มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 2%, เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 2%, เขตคลองสาน เพิ่มขึ้น 2% และเขตพระโขนง เพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน อันเป็นผลจากการคลายล็อกดาวน์และกลับมาดำเนินธุรกิจตามปกติเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตามโซนของกรุงเทพฯ พบว่า โซนกรุงธนบุรีตอนเหนือยังคงเป็นโซนที่มีทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากเป็นทำเลที่มีที่ดินให้ต่อยอดพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบได้ และได้อานิสงส์จากโครงข่ายทางด้านคมนาคมของภาครัฐ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าและทางด่วน จึงตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคได้อย่างครบครัน

DDproperty เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

“MRT พระราม 9” ทำเลสุดฮอตแนวรถไฟฟ้า คนกรุงเลือกซื้อย่าน “สวนหลวง” ตลาดเช่า “บางนา” มาแรง

DDproperty-Info_Best-of-H1-2022

ท่ามกลางบททดสอบที่ท้าทาย ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง ภาวะเงินเฟ้อ ผนวกกับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยยังคงมีอยู่ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.ddproperty.com ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 (ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565) สะท้อนเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยยอดนิยมของผู้ซื้อและผู้เช่าทั่วประเทศ พบว่าการเข้าชมประกาศขายอสังหาฯ ลดลงประมาณ 14% จากช่วง 6 เดือนก่อนหน้า สืบเนื่องจากปัจจัยรุมล้อมข้างต้นที่ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อเปลี่ยนมาเป็นการเช่าแทน ส่งผลให้ความต้องการเช่าในบางทำเลมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ที่เผยว่ามีผู้บริโภคเพียง 16% เท่านั้นที่พร้อมจะซื้อบ้านภายใน 1 ปีข้างหน้านี้

โดยพฤติกรรมการค้นหาที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางออนไลน์ของคนหาบ้านยุคนี้ 50% จะพิมพ์คำค้นหาตามสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือสนใจ (Free Text) ขณะที่อีกกลุ่มจะใช้คำค้นหา (Keyword) เกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของอสังหาฯ แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ค้นหาด้วยจังหวัด, เขต/อำเภอ, แขวง/ตำบล คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการค้นหาทั้งหมด 

ขณะที่ “สถานีรถไฟฟ้า” ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคำค้นหายอดนิยมและมาแรงในยุคนี้ มีสัดส่วน 10% ของการค้นหาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าทำเลแนวรถไฟฟ้ายังเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการค้นหาที่อยู่อาศัยของคนหาบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหารถติด จึงเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่สะดวกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าแทน

“กรุงเทพฯ” ยืนหนึ่งจังหวัดที่มีการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุด 

กรุงเทพมหานครครองความนิยมเป็นจังหวัดที่มีการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่อันดับ 2 ได้แก่ เชียงใหม่, อันดับ 3 นนทบุรี, อันดับ 4 ชลบุรี, อันดับ 5 สมุทรปราการ, อันดับ 6 ปทุมธานี, อันดับ 7 ภูเก็ต, อันดับ 8 ประจวบคีรีขันธ์, อันดับ 9 เมืองพัทยา และอันดับ 10 นครราชสีมา จะเห็นได้ว่าการค้นหาที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับอานิสงส์ความเจริญจากเมืองหลวง รวมทั้งหัวเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นผลจากเทรนด์ Workcation ได้รับความนิยมในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ รูปแบบการทำงานที่ได้ท่องเที่ยวและพักผ่อนในเวลาเดียวกัน กลายเป็นอีกปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคมองหาบ้านพักตากอากาศในหัวเมืองท่องเที่ยวมากขึ้น 

“MRT พระราม 9” สุดยอดทำเลยอดนิยมแนวรถไฟฟ้า

ทำเลแนวรถไฟฟ้าเป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเมื่อค้นหาที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่าผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (51%) มองว่าโครงการที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เป็นปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ โดยทำเลแนวรถไฟฟ้าที่มีการค้นหามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก 2565 ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตวิถีคนเมือง 

โดย 10 สถานีรถไฟฟ้าที่เป็นทำเลยอดนิยมในกลุ่มคนค้นหาอสังหาฯ ช่วงครึ่งปีแรก 2565 อันดับ 1 ได้แก่ MRT พระราม 9 อีกหนึ่งทำเลศักยภาพของกรุงเทพฯ ตามมาด้วยอันดับ 2 BTS อ่อนนุช, อันดับ 3 BTS อารีย์, อันดับ 4 BTS อโศก, อันดับ 5 BTS พร้อมพงษ์, อันดับ 6 BTS เอกมัย, อันดับ 7 MRT ห้วยขวาง, อันดับ 8 BTS อุดมสุข, อันดับ 9 BTS ทองหล่อ และอันดับ 10 BTS สะพานควาย 

“สวนหลวง” ครองใจคนซื้อชาวกรุง “บางนา” มาแรงในตลาดเช่า

ด้านตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีความเคลื่อนไหวน่าจับตามองและมีโครงการใหม่เปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เห็นได้ชัดจากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า  “สวนหลวง” กลายเป็นทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงระดับบนที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 

ขณะที่จำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ ให้เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า “บางนา” เป็นทำเลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยปัจจัยบวกที่สนับสนุนการเติบโตจากโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเมืองระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ ใกล้แหล่งงาน ประกอบกับการพัฒนาโครงการเมกะโปรเจค (Mega Project) และโครงการที่อยู่อาศัยอีกหลายโครงการ

โดย 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
อันดับ 3 แขวงบางนา เขตบางนา
อันดับ 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
อันดับ 5 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา 

ด้าน 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 แขวงบางนา เขตบางนา
อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
อันดับ 3 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
อันดับ 4 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
อันดับ 5 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย

ราคาขาย-เช่าอสังหาฯ เมืองกรุงยังไม่ฟื้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาขายที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกนี้ยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีราคากลางเฉลี่ยอยู่ที่ 106,000 บาท/ตารางเมตร ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า และลดลงถึง 18% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส 4 ปี 2562) ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและมีความพร้อมทางการเงิน ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาขายอสังหาฯ และดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ 

ขณะที่อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 485 บาท/ตารางเมตร/เดือน ลดลง 3% จากปีก่อนหน้า และลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ อย่างไรก็ดี แม้คอนโดมิเนียมจะเป็นอสังหาฯ ประเภทเดียวที่ค่าเช่าลดลง 3% จากปีก่อนหน้า แต่ก็ยังมีความต้องการเช่าอยู่ไม่น้อยและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างคนวัยทำงานและนักศึกษา ทำให้มีอัตราค่าเช่าคอนโดฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 500 บาท/ตารางเมตร/เดือน ขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบยังได้รับความนิยมต่อเนื่องในตลาดเช่าและมีทิศทางเติบโต บ้านเดี่ยวมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 320 บาท/ตารางเมตร/เดือน โตถึง 28% จากปีก่อนหน้า ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 210 บาท/ตารางเมตร/เดือน โต 7% จากปีก่อนหน้า 

“สมุทรปราการ” คว้าอันดับ 1 ตลาดซื้อ-เช่าอสังหาฯ ปริมณฑล

เทรนด์ Work from Home ในช่วงการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยในทำเลรอบนอกของกรุงเทพฯ มากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองและปริมณฑลกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในด้านราคาที่ย่อมเยากว่า จากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายในเขตปริมณฑลบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า สมุทรปราการเป็นจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อและเช่าอสังหาฯ มากที่สุดในครึ่งแรกของปี 2565 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ช่วยให้การเดินทางมาทำงานหรือเรียนในย่านใจกลางเมืองสะดวกสบายมากขึ้น 

โดย 5 ทำเลในเขตปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
อันดับ 3 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
อันดับ 4 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 5 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ขณะที่ 5 ทำเลในเขตปริมณฑล ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
อันดับ 3 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 4 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
อันดับ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เกาะติดวิถีคนหาบ้านกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมมีบ้านแค่ไหนในยุคเงินเฟ้อ

เกาะติดวิถีคนหาบ้านกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมมีบ้านแค่ไหนในยุคเงินเฟ้อ

เกาะติดวิถีคนหาบ้านกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมมีบ้านแค่ไหนในยุคเงินเฟ้อ

ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) หรือ Gen Y (ผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527–2539) เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยข้อมูลจาก MSCI เผยว่าปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรกลุ่มนี้กว่า 1.8 พันล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรทั่วโลก โดยในทวีปเอเชียมีประมาณ 1.1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 24% ของประชากรในภูมิภาค ขณะที่ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือนพฤษภาคม 2565 รายงานว่ามีประชากรไทยในช่วงวัยดังกล่าวกว่า 12 ล้านคนจากประชากรในประเทศกว่า 64 ล้านคน (แยกตามจำนวนประชากรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและมีสัญชาติไทย) ซึ่งน่าจับตามองในด้านบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทั้งจากการเป็นวัยทำงาน มีความต้องการและมีกำลังซื้อสูง รวมทั้งเป็นช่วงวัยที่เริ่มเป็นเจ้าของทรัพย์สินมูลค่าสูงอย่างเช่น รถยนต์ คอนโดมิเนียม หรือบ้าน 

ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เผยว่า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลถือเป็นกลุ่มที่มีหนี้สะสมและหนี้เสียสูงที่สุด โดยมียอดหนี้รวมทั้งประเทศจากกลุ่มนี้ถึง 4.5 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเป็นหนี้เสียสะสม 3 แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีกำลังซื้อสูง แต่ภาระหนี้สินก็สูงตามไปด้วย ท่ามกลางความท้าทายทางการเงินจากปัจจัยแวดล้อมที่รุมเร้าในขณะนี้ ส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต้องปรับแผนการเงินในยุคเงินเฟ้อให้รัดกุมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงวางแผนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบ แม้ตอนนี้จะถือเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยจากภาครัฐ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งราคาวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ยังเป็นปัจจัยสำคัญหลัก ๆ ที่กลุ่มมิลเลนเนียลต้องพิจารณา

เจาะไลฟ์สไตล์กลุ่มมิลเลนเนียล บ้านแบบไหนตอบโจทย์ให้พร้อมเปย์

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อัปเดตเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในยุคนี้ เผยข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและแนวคิดแผนการเงินที่เปลี่ยนไป เมื่อเผชิญภาวะเศรษฐกิจเปราะบางและเงินเฟ้อยังพุ่งสูง ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลยังพร้อมมีบ้านเป็นของตนเองมากแค่ไหน

    • โฟกัสเงินสำรองฉุกเฉิน หวังสร้างความมั่นคงทางการเงิน สถานะทางการเงินของผู้บริโภคยังคงสั่นคลอนอย่างต่อเนื่อง นอกจากโควิด-19 จะส่งผลให้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้ เมื่อผนวกกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้ราคาสินค้าและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น พร้อมกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงต่อเนื่อง จึงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเตรียมแผนการเงินให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มมิลเลนเนียลซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ทำให้การวางแผนใช้จ่ายในช่วง 1 ปีข้างหน้าของกลุ่มมิลเลนเนียลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่การสร้างความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด โดยมากกว่าครึ่ง (57%) ต้องการเก็บเงินไว้เป็นกองทุนเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต ตามมาด้วยนำไปใช้จ่ายภายในครอบครัว (47%) และออมเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ที่ค้างอยู่ (45%) ด้านการออมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยนั้นได้รับความสนใจมาเป็นอันดับสี่ (39%) สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มมิลเลนเนียลยังต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เพียงจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายและรอให้มีความพร้อมทางการเงินมากพอเสียก่อน 
    • “ห่วงพ่อแม่–ขาดสภาพคล่อง-ครองความโสด” เหตุผลหลักที่ไม่ย้ายออก เมื่อพูดถึงความพร้อมในการย้ายออกไปซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองนั้น พบว่าภายในหนึ่งปีข้างหน้ามากกว่าครึ่งของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลยังไม่พร้อมย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ (54%) เช่นเดียวกับข้อมูลจากแบบสอบถามฯ รอบก่อน โดยมีเหตุผลสำคัญคือต้องการดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด (36%) สะท้อนให้เห็นว่าแม้คนรุ่นใหม่จะมีแนวคิดสมัยใหม่ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่การปลูกฝังความกตัญญูในสังคมไทยยังคงอยู่ นอกจากนี้เป็นประเด็นมีเงินเก็บไม่มากพอที่จะเช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัยที่ต้องการได้ (34%) เนื่องจากความท้าทายทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการเงินโดยตรง ตามมาด้วยยังไม่ได้แต่งงาน (30%) จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ ซึ่งเทรนด์การครองตัวเป็นโสดนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เห็นได้จากข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองเผยว่า ในปี 2564 มีสถิติการจดทะเบียนสมรสทั่วประเทศเพียง 240,979 คู่ ลดลงจากปี 2563 ที่มีการจดทะเบียนสมรสถึง 271,352 คู่ และ 328,875 คู่ในปี 2562
    • หวังภาครัฐลดหย่อนภาษี กระตุ้นคนซื้อบ้าน มาตรการจากภาครัฐ 3 อันดับแรกที่กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการคือ มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้าน ตามมาด้วยการปรับระเบียบข้อบังคับภาครัฐที่ช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น และมาตรการควบคุมราคาที่อยู่อาศัยที่บังคับใช้โดยภาครัฐ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยส่งเสริมให้กลุ่มมิลเลนเนียลที่อยากมีบ้าน/คอนโดฯ ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสมใจแล้ว ยังกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง นอกจากนี้ เมื่อเจาะลึกถึงรูปแบบอสังหาฯ ที่กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการซื้อนั้นมีความคล้ายคลึงกับผู้บริโภคช่วงวัยอื่น โดยบ้านเดี่ยวได้รับความนิยมมากที่สุด ตามมาด้วยคอนโดฯ ส่วนอันดับ 3 เป็นที่ดิน ต่างจากช่วงวัยอื่นที่สนใจซื้อทาวน์เฮ้าส์ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มมิลเลนเนียลได้ศึกษาข้อมูลการลงทุนอสังหาฯ มากขึ้น เนื่องจากที่ดินเปล่านั้นมีจุดเด่นตรงที่ความเสี่ยงต่ำและมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในยุคเงินเฟ้อ
    • ร่วมลดมลพิษด้วยรถยนต์ไฟฟ้า มาตรการสนับสนุนให้มีการใช้และผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น นอกจากจะช่วยลดมลพิษในอากาศแล้วยังช่วยประหยัดค่าน้ำมันในช่วงที่ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นอกจากที่อยู่อาศัยในฝันจะมาพร้อมฟังก์ชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว กลุ่มมิลเลนเนียลยังคำนึงถึงความพร้อมหากต้องการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตอีกด้วย โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มมิลเลนเนียลเผยว่า ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในกลุ่มที่มีรายได้สูง นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าที่คาดหวังจากภาครัฐและผู้พัฒนาอสังหาฯ คือ การเข้าถึงจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและห้างสรรพสินค้าใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงเพิ่มความพร้อมในการให้บริการจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในที่จอดรถสาธารณะและที่จอดรถส่วนตัว ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าราบรื่นและสะดวกยิ่งขึ้น ลดอุปสรรคเมื่อต้องการชาร์จไฟระหว่างเดินทาง

แม้ความท้าทายทางเศรษฐกิจปัจจุบันจะกระทบเสถียรภาพทางการเงิน และทำให้แผนการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มมิลเลนเนียลต้องสะดุดลงไปบ้าง แต่เชื่อว่าความพร้อมในการปรับตัวและจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายจะช่วยให้เข้าใกล้การเป็นเจ้าของบ้าน/คอนโดฯ ในฝันได้ง่ายขึ้น เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.comได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารและคลังความรู้ในแวดวงอสังหาฯ ช่วยเตรียมความพร้อมให้ทุกคนเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมเชิญชวนผู้บริโภคมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย เพื่อสะท้อนความต้องการที่อยู่อาศัยและมุมมองคนหาบ้านชาวไทยยุคใหม่ พร้อมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษได้ตั้งแต่วันนี้-10 กรกฎาคม 2565 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง DDproperty Facebook Fanpage