PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

Revenues Grow 17% Year Over Year in the Fourth Quarter and 35% for the Full Year 2022

    • Total revenue grew 35% to S$136 million in 2022, with over 20% year on year growth in every segment
    • Adjusted EBITDA of S$14 million in 2022, up S$25 million from a loss of S$10 million in 2021
    • Marketplaces 2022 Adjusted EBITDA increased 2.6x over 2021

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading[1] property technology (“PropTech”) company, today announced financial results for the quarter ended December 31, 2022. Revenue of S$40 million in the fourth quarter 2022 increased 17% year over year. Net loss was S$5 million in the fourth quarter and Adjusted EBITDA[2] was a positive S$5 million. This compares to a net loss of S$27 million[3] and Adjusted EBITDA loss of S$4 million in the fourth quarter of 2021. 

Management Commentary

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, said “We are pleased with our results, as PropertyGuru performed well in the face of several transitory challenges that continue to impact our core markets. While rising interest rates and government credit intervention weighed on market activity, we remained resilient and delivered good growth by helping our customers navigate the challenges they faced and confirming the value add of our solutions in all phases of the real estate cycle.”

“Last year was a historic year for PropertyGuru, as we took the next step in our company’s evolution by listing on the NYSE. Going forward, we see great opportunity in 2023 and beyond as we continue to offer our customers differentiated solutions while looking to opportunistically deploy capital to accelerate the Company’s ongoing expansion. Sendhelper is a good example of a strategic acquisition we are excited about given the value it creates for our large audience base, and the underlying synergies between the companies,” Mr. Krishnan continued. “Rising rates, global inflation, and governmental fiscal activity are challenges that will need to be navigated in the near-term. We remain bullish on our ability to deliver value to our customers as we digitize the property ecosystem and bring transparency and efficiency. We believe that our markets in Southeast Asia will be at the forefront of future global growth.”

Joe Dische, Chief Financial Officer, added “PropertyGuru delivered strong 35% revenue growth in 2022[4], with all our segments performing well despite challenging operating conditions. We are pleased with how well our business responded, with proactive cost control actions contributing to a S$25 million year over year improvement in Adjusted EBITDA. Our actions in 2022 have laid the foundation for further revenue growth and improvements in operating performance. We continue to scale the business, accelerate the realization of our investments, and leverage the deployment of further growth capital.”

 Financial Highlights – Fourth Quarter and Full Year 2022

    • Total revenue increased 17% to S$40 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 35% to S$136 million year over year.
    • Marketplaces revenues increased 15% to S$38 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 34% to S$131 million year over year, as continued strength in Singapore and Malaysia offset challenges in the Vietnam market due to credit restrictions in the latter part of the year.
    • Singapore Marketplaces revenue increased 15% to S$19 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 24% to $69 million year over year as a result of both increased Average Revenue Per Agent (“ARPA”) and an increase in overall agents. Quarterly ARPA was up 20% in the fourth quarter to S$1,076 as compared to the previous year and up 24% year over year to S$4,078 in 2022. In the fourth quarter, there were 15,529 agents with a renewal rate of 79% in the quarter.
    • Malaysia Marketplaces revenue increased 28% to S$8 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 77% to $25 million year over year, as the Company continues to leverage our two market leading brands and benefit from the acquisition of the iProperty business in August 2021.
    • Vietnam Marketplaces revenue decreased 7% to S$6 million in the fourth quarter as compared to the previous year and increased 28% to S$24 million year over year, as governmental actions to tighten credit impacted the overall number of listings in the market. The number of listings was down 22% to 1.6 million in the fourth quarter as compared to the prior year quarter. The average revenue per listing (“ARPL”) was up 22% to S$25 in the fourth quarter as compared to the prior year quarter and up 8% to S$2.97 year over year.
    • At year-end, cash and cash equivalents was S$309 million.

Information regarding our operating segments is presented below.

 

 

For the Three Months Ended December 31

 

 

 

2022

 

2021

 

YoY Growth

 

 

 

(S$ in thousands except percentages)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Revenue

40,097             

 

34,329             

 

16.8%

 

Marketplaces

38,350

 

33,299             

 

15.2%

 

 

Singapore

18,805             

 

16,382             

 

14.8%

 

 

Vietnam

5,870             

 

6,304            

 

-6.9%

 

 

Malaysia

7,531               

 

5,888               

 

27.9%

 

 

Other Asia

6,144               

 

4,725               

 

30.0%

 

Fintech and data services

1,747          

               

1,030                  

 

69.6%

 

Adjusted EBITDA

4,829               

 

(4,149)            

 

 

 

Marketplaces

18,240             

 

6,321               

 

 

 

 

Singapore

11,441             

 

6,709               

 

 

 

 

Vietnam

722               

 

655               

 

 

 

 

Malaysia

3,429               

 

(2,026)            

 

 

 

 

Other Asia

2,648               

 

983            

 

 

 

Fintech and data services

(1,981)            

 

          (1,546)

 

 

 

Corporate*

(11,430)            

 

(8,924)            

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Adjusted EBITDA Margin (%)

12.0%

 

-12.1%

 

 

 

 

Marketplaces

47.6%

 

19.0%

 

 

 

 

Singapore

60.8%

 

41.0%

 

 

 

 

Vietnam

12.3%

 

10.4%

 

 

 

 

Malaysia

45.5%

 

-34.4%

 

 

 

 

Other Asia

43.1%

 

20.8%

 

 

 

Fintech and data services

-113.4%

 

-150.1%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

For the Twelve Months Ended December 31

 

 

 

2022

 

2021

 

YoY Growth

 

 

 

(S$ in thousands except percentages)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Revenue

135,925

 

100,711

 

35.0%

 

Marketplaces

130,861

 

97,334

 

34.4%

 

 

Singapore

69,241

 

55,891

 

23.9%

 

 

Vietnam

24,040

 

18,767

 

28.1%

 

 

Malaysia

25,388

 

14,315

 

77.4%

 

 

Other Asia

12,192

 

8,361

 

45.8%

 

Fintech and data services

5,064

 

3,377

 

50.0%

 

Adjusted EBITDA

14,466

 

(10,372)

 

 

 

Marketplaces

63,045

 

23,746

 

 

 

 

Singapore

47,626

 

33,355

 

 

 

 

Vietnam

5,470

 

2,063

 

 

 

 

Malaysia

10,208

 

(10,440)

 

 

 

 

Other Asia

(259)

 

(1,232)

 

 

 

Fintech and data services

(7,385)

 

(4,634)

 

 

 

Corporate*

(41,194)

 

(29,484)

 

 

 

Adjusted EBITDA Margin (%)

10.6%

 

-10.3%

 

 

Marketplaces

48.2%

 

24.4%

 

 

 

 

Singapore

68.8%

 

59.7%

 

 

 

 

Vietnam

22.8%

 

11.0%

 

 

 

 

Malaysia

40.2%

 

-72.9%

 

 

 

 

Other Asia

-2.1%

 

-14.7%

 

 

 

Fintech and data services

-145.8%

 

-137.2%

 

 

 

                  

*Corporate consists of headquarters costs, which are not allocated to the segments. Headquarters costs are costs of PropertyGuru’s personnel that are based predominantly in its Singapore headquarters and certain key personnel in Malaysia and Thailand, and that service PropertyGuru’s group as a whole, consisting of its executive officers and its group marketing, technology, product, human resources, finance and operations teams, as well as platform IT costs (hosting, licensing, domain fees), workplace facilities costs, corporate public relations retainer costs and professional fees such as audit, legal and consultant fees. Certain elements of marketing expenses previously allocated to Corporate in the first quarter 2022 have since been moved to business segments in line with changes to internal reporting lines.

 Strong Category Leadership Drives Long-Term Growth Opportunities

As of December 31, 2022, PropertyGuru continued its Engagement Market Share[5] leadership in Singapore, Vietnam, Malaysia, and Thailand.

 Singapore: 81 % – 5.2x the closest peer                      Thailand: 58% – 2.5x the closest peer

Vietnam: 75% – 3.1x the closest peer             Indonesia: 22% – 0.3x the closest peer

Malaysia: 93% – 15.2x the closest peer

 Full Year 2023 Outlook

The Company anticipates full year 2023 revenues of between S$160 million and S$170 million and Adjusted EBITDA of between S$11 million and S$15 million. In the near-term, the integration and scaling of the Sendhelper acquisition is expected to negatively impact profitability by S$3 million to S$4 million in 2023. Beginning in the first quarter of 2023, the Company will no longer remove the ongoing cost of being a listed entity when calculating Adjusted EBITDA. For 2023, the Company anticipates that such costs will be between S$11 million to S$12 million. For 2022, such costs were S$11 million, and on this basis the Company’s full year 2022 Adjusted EBITDA would be S$3 million.

The following short-term factors may continue to impact the Company’s operations and warrant a conservative outlook in 2023: actions by the government of Vietnam to rein in the availability of consumer credit, residual political uncertainty in Malaysia, tightened residential policies in Singapore, a lack of clarity in global fiscal policy stemming from rising interest rates, greater inflationary pressures, and global supply chain issues. Longer-term, the Company remains bullish on its growth trajectory, prospects for improving profitability, and the fundamental opportunity that exists in our core markets.

Conference Call and Webcast Details

The Company will host a conference call and webcast on Wednesday, March 1, 2023, at 8:00 a.m. Eastern Standard Time / 9:00 p.m. Singapore Standard Time to discuss the Company’s financial results and outlook. The PropertyGuru (NYSE: PGRU) Q4 2022 Earnings call can be accessed by registering at:

https://propertyguru.zoom.us/webinar/register/WN_KYdeZj7TQzW-8UifD2sWAQ

An archived version will be available on the Company’s Investor Relations website after the call at https://investors.propertygurugroup.com/news-and-events/events-and-presentations/default.aspx

[1] Based on SimilarWeb data between July 2022 and December 2022.

[2] Included in the S$10 million of adjustments between net loss and Adjusted EBITDA in the fourth quarter of 2022 was a S$5 million depreciation and amortization expense.

[3] Included in the S$23 million of adjustments between net loss and Adjusted EBITDA in the fourth quarter of 2021 were a S$5 million depreciation and amortization expense, a S$7 million share grant and option expense, and S$7 million in business acquisition transaction and integration costs.

4 The full year ended December 31, 2022 includes results of the iProperty Malaysia and thinkofliving businesses which were acquired on August 3, 2021

[5] Based on SimilarWeb data between July 2022 and December 2022.

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com 2 เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com 2 เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565

รายได้รวมไตรมาส 4 โตขึ้น 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้ทั้งปี 2565 โตขึ้น 35%

    • รายได้รวมโตขึ้น 35% มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 3.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 2 มี.ค. 66) ซึ่งในทุก ๆ ธุรกิจเติบโตขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
    • ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) มีมูลค่า 14 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 362 ล้านบาท) ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์จากยอดขาดทุน 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 258 ล้านบาท) เมื่อปี 2564
    • ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลส (Marketplaces) ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 6 เท่าจากปี 2564

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (หรือต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 เว็บไซต์ด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย ได้แก่ DDproperty.com แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 ของประเทศ และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของประเทศ วันนี้ได้ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส 4 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยมีรายได้ในไตรมาสนี้รวมทั้งสิ้น 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้น 17% จากปีก่อนหน้า ยอดขาดทุนสุทธิ (Net loss) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) และ Adjusted EBITDA[2] เป็นบวกอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์  เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2564 ยอดขาดทุนสุทธิจะอยู่ที่ 27 ล้านดอลลาร์ สิงคโปร์[3] (ราว 698 ล้านบาท) และผลกำไรที่ปรับแล้วมูลค่าอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 103 ล้านบาท)   

 ความเห็นจากผู้บริหาร

 นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า “เรายินดีกับผลประกอบการที่ออกมา เนื่องจากพร็อพเพอร์ตี้กูรูทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ มากมายที่ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดหลักของเรา ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและการแทรกแซงจากมาตรการของภาครัฐที่เข้มงวดในการให้สินเชื่อส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในตลาด เรายังคงยืนหยัดและเติบโตได้อย่างดี ด้วยการช่วยให้ลูกค้าของเราผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญไปได้ และยังเพิ่มมูลค่าให้กับโซลูชั่นต่าง ๆ ของเราในทุก ๆ เฟสของวงจรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

“ปีที่ผ่านมานับเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู เพราะเราได้ก้าวสู่การเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของโลกอย่างนิวยอร์ก (NYSE) และต่อจากนี้ไป เรายังคงมองเห็นโอกาสที่ดีในปี 2565 รวมถึงในอนาคต โดยเรายังคงเดินหน้านำเสนอโซลูชั่นที่แตกต่างให้กับลูกค้าของเรา และยังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุนอย่างชาญฉลาดเพื่อเร่งการเติบโตของบริษัท เซนด์เฮลเพอร์ (Sendhelper) เป็นตัวอย่างที่ดีของการซื้อกิจการอย่างมีกลยุทธ์ที่เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้สร้างมูลค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ของเรา และเน้นย้ำการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ” นายแฮร์รี่ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าเงินเฟ้อทั่วโลกและมาตรการหรือนโยบายทางภาษีของรัฐบาลคือความท้าทายที่เราจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา ด้วยการทำให้ระบบนิเวศของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเป็นดิจิทัลยิ่งขึ้นและทำให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราเชื่อว่าตลาดต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราดำเนินธุรกิจอยู่จะเติบโตขึ้นมาอยู่ในระดับแถวหน้าในระดับโลกได้ในอนาคต”

ด้านนายโจ ดิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน กล่าวเสริมว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรูมีรายได้ที่เติบโตอย่างแข็งแรงถึง 35% ในปี 2565[4] ในทุกเซ็กเมนต์ของธุรกิจทำผลงานได้อย่างดีแม้ว่าจะต้องเผชิญกับการทำงานที่เต็มไปด้วยความท้าทาย เรารู้สึกยินดีกับผลประกอบการที่ออกมา ด้วยมาตรการเชิงรุกในการควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้เราสามารถมีผลกำไรที่ปรับแล้วเป็นบวก คือ 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2566 เรายังคงมีแผนที่จะเพิ่มรายได้ให้เติบโตและพัฒนาผลประกอบการให้ดียิ่งขึ้น เรายังคงเดินหน้าขยายธุรกิจ เร่งการลงทุน และเพิ่มการลงทุนที่สร้างผลกำไรในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น”

 ไฮไลต์ผลประกอบการไตรมาส 4 และตลอดทั้งปี 2565

    • ยอดรายได้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 17% มาอยู่ที่ 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 35% มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลส (Marketplaces) เพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 38 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 34% มาอยู่ที่ 131 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยยังรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้ในตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย ชดเชยความท้าทายที่ต้องเผชิญในตลาดเวียดนาม เนื่องจากข้อบังคับด้านการปล่อยสินเชื่อในช่วงปลายปีที่ผ่านมานั่นเอง
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 24% มาอยู่ที่ 69 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (Average Revenue Per Agent หรือ ARPA) และรายได้โดยรวมจากเอเจนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาส 4 รายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์เพิ่มขึ้นราว 20% มาอยู่ที่ 1,076 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคนเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ทั้งปีเพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 4,078 ดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2565 นอกจากนี้ ในไตรมาส 4 สิงคโปร์มีเอเจนต์จำนวน 15,529 ราย โดยอัตราการต่ออายุในไตรมาสที่ 4 นี้อยู่ที่ 79%
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้ทั้งปี เพิ่มขึ้น 77% จากปีก่อนหน้ามาเป็น 25 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ โดยบริษัทยังคงสร้างรายได้จาก 2 แบรนด์ชั้นนำ และใช้ประโยชน์จากการควบรวมธุรกิจจาก iProperty เมื่อเดือนสิงหาคม 2564
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามลดลง 7% ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 28% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 24 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ การที่รัฐบาลประกาศนโยบายที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อจำนวนประกาศอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเวียดนามโดยรวม โดยจำนวนประกาศในไตรมาส 4 ลดลงถึง 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 6 ล้านรายการ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อประกาศ (“ARPL”) ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 3.25 ดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้เฉลี่ยต่อประกาศทั้งปีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 8% มาอยู่ที่ 2.97 ดอลลาร์สิงคโปร์
    • ณ สิ้นปี เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดมีมูลค่าอยู่ที่ 309 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของแต่ละเซ็กเมนต์แสดงตามรายละเอียดด้านล่างนี้

  

For the Three Months Ended December 31,

 
  

2022

 

2021

 

YoY Growth

 
  

(S$ in thousands except percentages)

 
  

 

 

 

 

 

 

Revenue

40,097             

 

34,329             

 

16.8%

 

Marketplaces

38,350

 

33,299             

 

15.2%

 
 

Singapore

18,805             

 

16,382             

 

14.8%

 
 

Vietnam

5,870             

 

6,304            

 

-6.9%

 
 

Malaysia

7,531               

 

5,888               

 

27.9%

 
 

Other Asia

6,144               

 

4,725               

 

30.0%

 

Fintech and data services

1,747          

 

1,030                  

 

69.6%

 

Adjusted EBITDA

4,829               

 

(4,149)            

   

Marketplaces

18,240             

 

6,321               

   
 

Singapore

11,441             

 

6,709               

   
 

Vietnam

722               

 

655               

   
 

Malaysia

3,429               

 

(2,026)            

   
 

Other Asia

2,648               

 

983            

   

Fintech and data services

(1,981)            

 

          (1,546)

   

Corporate*

(11,430)            

 

(8,924)            

   
       

Adjusted EBITDA Margin (%)

12.0%

 

-12.1%

   

Marketplaces

47.6%

 

19.0%

   
 

Singapore

60.8%

 

41.0%

   
 

Vietnam

12.3%

 

10.4%

   
 

Malaysia

45.5%

 

-34.4%

   
 

Other Asia

43.1%

 

20.8%

   

Fintech and data services

-113.4%

 

-150.1%

   
       
  

For the Twelve Months Ended December 31

 
  

2022

 

2021

 

YoY Growth

 
  

(S$ in thousands except percentages)

 
  

 

 

 

 

 

 

Revenue

135,925

 

100,711

 

35.0%

 

Marketplaces

130,861

 

97,334

 

34.4%

 
 

Singapore

69,241

 

55,891

 

23.9%

 
 

Vietnam

24,040

 

18,767

 

28.1%

 
 

Malaysia

25,388

 

14,315

 

77.4%

 
 

Other Asia

12,192

 

8,361

 

45.8%

 

Fintech and data services

5,064

 

3,377

 

50.0%

 

Adjusted EBITDA

14,466

 

(10,372)

   

Marketplaces

63,045

 

23,746

   
 

Singapore

47,626

 

33,355

   
 

Vietnam

5,470

 

2,063

   
 

Malaysia

10,208

 

(10,440)

   
 

Other Asia

(259)

 

(1,232)

   

Fintech and data services

(7,385)

 

(4,634)

   

Corporate*

(41,194)

 

(29,484)

   

Adjusted EBITDA Margin (%)

10.6%

 

-10.3%

  

Marketplaces

48.2%

 

24.4%

   
 

Singapore

68.8%

 

59.7%

   
 

Vietnam

22.8%

 

11.0%

   
 

Malaysia

40.2%

 

-72.9%

   
 

Other Asia

-2.1%

 

-14.7%

   

Fintech and data services

-145.8%

 

-137.2%

   
                  

*Corporate consists of headquarters costs, which are not allocated to the segments. Headquarters costs are costs of PropertyGuru’s personnel that are based predominantly in its Singapore headquarters and certain key personnel in Malaysia and Thailand, and that service PropertyGuru’s group as a whole, consisting of its executive officers and its group marketing, technology, product, human resources, finance and operations teams, as well as platform IT costs (hosting, licensing, domain fees), workplace facilities costs, corporate public relations retainer costs and professional fees such as audit, legal and consultant fees. Certain elements of marketing expenses previously allocated to Corporate in the first quarter 2022 have since been moved to business segments in line with changes to internal reporting lines.

 ความเป็นผู้นำอย่างแข็งแกร่งในธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 พร็อพเพอร์ตี้กูรูยังคงครองความเป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาด[5] ในประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศไทย  

 สิงคโปร์: 81 % – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 5.2 เท่า          ไทย: 58% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 2.5 เท่า

เวียดนาม: 75% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 3.1 เท่า         อินโดนีเซีย: 22% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 0.3 เท่า  

มาเลเซีย: 93% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 15.2 เท่า

 คาดการณ์ผลประกอบการปี 2566

ทั้งนี้ บริษัทได้คาดการณ์รายได้ทั้งปีของปี 2566 ไว้ประมาณ 160-170 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และ Adjusted EBITDA อยู่ที่ระหว่าง 11–15 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในระยะใกล้นี้การร่วมบูรณาการและขยายการควบรวมกิจการกับเซนด์เฮลเพอร์ (Sendhelper) คาดว่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผลกำไรราว 3-4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 นี้ และนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 บริษัทจะไม่ลบค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการเป็นบริษัทมหาชนเมื่อต้องคำนวณ Adjusted EBITDA สำหรับปี 2566 บริษัทคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณ 11–12 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ที่ 11 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และจากฐานดังกล่าวทำให้ Adjusted EBITDA ทั้งปี 2565 ของบริษัทอยู่ที่ 3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์  

ปัจจัยระยะสั้นที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทและทำให้การคาดการณ์ผลประกอบการเป็นไปแบบไม่หวือหวาสำหรับปี 2566 ได้แก่ มาตรการของรัฐบาลเวียดนามที่ควบคุมการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภค, การเมืองที่ยังคงไม่แน่นอนในมาเลเซีย, นโยบายที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างเคร่งครัดในสิงคโปร์, ความไม่ชัดเจนของนโยบายการคลังทั่วโลกอันเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น, แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อ และเรื่องเกี่ยวกับระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global Supply Chain Issues) ในระยะยาว บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด มุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนผลกำไร และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดหลักที่บริษัทดำเนินการอยู่

 รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) และ Webcast  

บริษัทจะจัดการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) และเว็บแคสต์ (Webcast) ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 8:00 น. ตามเขตเวลาตะวันออกในสหรัฐอเมริกา / 21:00 น. ตามเวลาประเทศสิงคโปร์ (20:00 น. ตามเวลาประเทศไทย) เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัท รวมถึงการคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต คุณสามารถเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ผ่านการลงทะเบียนที่:

https://propertyguru.zoom.us/webinar/register/WN_KYdeZj7TQzW-8UifD2sWAQ

สำหรับการบันทึกการประชุมสามารถรับฟังได้ที่หน้า Investor Relations บนเว็บไซต์ของบริษัท หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นแล้วที่  https://investors.propertygurugroup.com/news-and-events/events-and-presentations/default.aspx

[1] อ้างอิงข้อมูลจาก SimilarWeb ช่วงระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2565

[2] ในการปรับปรุงรายการระหว่างยอดขาดทุนสุทธิ และผลกำไรที่ปรับแล้วของไตรมาส 4 ปี 2565 มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 258 ล้านบาท) นั้นได้รวมถึงค่าเสื่อมราคา (depreciation) และ ค่าตัดจำหน่าย (amortization) มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) แล้ว

[3] ในการปรับปรุงรายการระหว่างยอดขาดทุนสุทธิ และผลกำไรที่ปรับแล้วของไตรมาส 4 ปี 2564 มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ได้รวมถึงค่าเสื่อมราคา (depreciation) และ ค่าตัดจำหน่าย (amortization) มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) อีกทั้งยังรวมถึงสิทธิ์ในการจัดสรรและซื้อขายหุ้นมูลค่า 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และค่าใช้จ่ายในการควบรวมกิจการต่าง ๆ อีก 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แล้ว

4 ผลประกอบการทั้งปี ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 นั้นรวมผลประกอบการธุรกิจของ iProperty Malaysia และ thinkofliving ซึ่งถูกควบรวมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564

[5] อ้างอิงจากข้อมูลของ SimilarWeb ช่วงระหว่าง ก.ค.- ธ.ค. 2565

Manav Kamboj appointed as Managing Director, Fintech, in addition to his current role of Chief Technology Officer at PropertyGuru Group

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “มานาฟ แคมบอช” นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจฟินเทค ควบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบัน

Manav Kamboj appointed as Managing Director, Fintech, in addition to his current role of Chief Technology Officer at PropertyGuru Group

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or “the Group”), Southeast Asia’s leading[4], property technology (“PropTech”) company today announced that Manav Kamboj, the Chief Technology Officer of PropertyGuru Group will assume leadership of the PropertyGuru Fintech business as the Managing Director (MD) with immediate effect.

 PropertyGuru ventured into fintech with the launch of PropertyGuru Finance in 2020 in Singapore and as of Q3 2022, the mortgage business had brokered over S$3 billion in homes loans. Manav will lead the business, leveraging technology, data, and analytics to drive further digitisation of the home loan process and operational excellence. He has been working closely with PropertyGuru Fintech team since its inception, focusing on its technology systems and infrastructure and brings with him these insights to his new role. 

Speaking about the appointment, Hari V Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group said, “Manav brings a strong skillset in technology and experience in financial services, combined with deep understanding of our markets and customer needs. This will help in targeting our Fintech ambitions starting with PropertyGuru Finance which is digitising the home loan process in Singapore. I wish him the very best for this new additional role.” 

Manav Kamboj, Chief Technology Officer and Managing Director, Fintech, PropertyGuru Group said, “I am excited about my new role as MD, Fintech and the opportunities that are out there in helping the consumers maximise the value of their property assets. Our focus will be on developing products and solutions for the mortgage market that guide the home buyers’ financing needs and that are more often than not the biggest hurdle in their home ownership journey.” 

Manav joined PropertyGuru Group as CTO in 2017 and since then has grown the technology team to double its size. As the CTO, he leads a distributed team of engineers, software developers and data scientists who deliver technology solutions to address the ever-changing needs of home seekers, real estate agents and property developers across the region. Under his leadership, PropertyGuru Group was recently certified ISO/IEC 27001 Information Security Management System (#ISMS). ISO/IEC 27001:2013 is the international standard for information security. He also spearheaded the inauguration of PropertyGuru Group’s technology Centre of Excellence in Bengaluru, India. The inauguration of the centre marks the Group’s sixth country office (talent-only), alongside offices in Singapore, Malaysia, Thailand, Vietnam, and Indonesia. This CoE is a significant step to scale the technology capability and capacity to drive PropertyGuru’s mission to help property seekers, sellers and owners make confident property decisions, beyond ‘property search’. 

He has more than two decades of extensive experience in the consumer internet industry across eCommerce, mobile applications and technology consulting. On top of his extensive experience in technology, Manav spent more than 7 years in retail banking, leading cross-functional teams in retail lending, product management and customer acquisition strategy. 

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “มานาฟ แคมบอช” นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจฟินเทค ควบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบัน

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “มานาฟ แคมบอช” นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจฟินเทค ควบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบัน

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “มานาฟ แคมบอช” นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจฟินเทค ควบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบัน

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ[1] (Prop Tech) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กภายใต้ชื่อ PGRU (NYSE: PGRU) (โดยต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ 2 แพลตฟอร์มชั้นนำด้านอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยอย่าง DDproperty.com แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ-ขาย-เช่า-ลงทุน และ thinkofliving.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรีวิว ข่าวสารด้านอสังหาฯ และโครงการใหม่ชั้นนำของประเทศ โดยวันนี้ทางกรุ๊ปได้ประกาศแต่งตั้งนายมานาฟ แคมบอช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ขึ้นดำรงตำแหน่งในฐานะกรรมการผู้จัดการ (MD) หน่วยธุรกิจฟินเทคของพร็อพเพอร์ตี้กูรู ควบคู่กับตำแหน่งเดิม โดยมีผลทันที

พร็อพเพอร์ตี้กูรูได้เข้าสู่ธุรกิจฟินเทค และเปิดตัวพร็อพเพอร์ตี้กูรู ไฟแนนซ์ ในปี 2563 ในประเทศสิงคโปร์ และในไตรมาส 3 ของปี 2563 ธุรกิจสินเชื่อได้สร้างสถิติโดยการสร้างยอดสินเชื่อบ้านสูงกว่า 3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (ราวกว่า 77.6 หมื่นล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566) ซึ่งในการเข้ารับตำแหน่งในครั้งนี้ นายมานาฟจะนำเทคโนโลยี ดาต้า และการวิเคราะห์เข้ามาขับเคลื่อนขั้นตอนการขอสินเชื่อในรูปแบบดิจิทัลให้มากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอนให้ดียิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้ นายมานาฟได้ร่วมงานกับทีมพร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟินเทคอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มต้น โดยให้ความสำคัญกับการวางระบบและเทคโนโลยี ซึ่งเขาพร้อมนำข้อมูลและประสบการณ์ต่าง ๆ มาปรับใช้ในตำแหน่งใหม่ที่ได้รับนี้ 

ด้านนายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวถึงการแต่งตั้งในครั้งนี้ว่า “คุณมานาฟมาพร้อมด้วยทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี รวมถึงประสบการณ์ทางบริการด้านการเงินที่หลากหลาย ผนวกกับมีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในตลาดต่าง ๆ ที่เราดำเนินการอยู่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยในการตั้งเป้าหมายสำหรับธุรกิจฟินเทค โดยเริ่มจาก พร็อพเพอร์ตี้กูรู ไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นการนำขั้นตอนการขอสินเชื่อบ้านมาสู่โลกดิจิทัลในสิงคโปร์ และผมขอให้เขาประสบความสำเร็จในบทบาทใหม่ที่เพิ่มเข้ามา” 

ในขณะที่นายมานาฟ แคมบอช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี และกรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจฟินเทค พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “ผมตื่นเต้นกับบทบาทใหม่ในฐานะกรรมการผู้จัดการของหน่วยธุรกิจฟินเทค ผมคิดว่ามีโอกาสมากมายรอเราอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้มูลค่าของสินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์ของตนเองได้อย่างสูงสุด โดยเป้าหมายของเราคือ การพัฒนาโปรดักส์และโซลูชั่นสำหรับตลาดสินเชื่อ ที่สามารถช่วยแนะนำคนที่กำลังซื้อบ้านที่มีความต้องการบริการทางด้านการเงิน เปลี่ยนอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่จะขัดขวางการมีบ้านเป็นของตัวเองให้กลายเป็นโอกาสมอบให้แก่พวกเขาได้” 

นายมานาฟ ร่วมงานกับพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ปครั้งแรกในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) เมื่อปี พ.ศ. 2560 และนับจากนั้นเขาได้สร้างทีมเทคโนโลยีที่ใหญ่ขึ้นถึงสองเท่า ในฐานะ CTO นายมานาฟทำหน้าที่หัวหน้าทีมวิศวกร นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในหลายประเทศ ซึ่งทีมเหล่านี้ได้นำเสนอโซลูชั่นต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้ที่ต้องการมีบ้าน เอเจนต์อสังหาฯ รวมไปถึงบริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯ ทั่วภูมิภาค 

ภายใต้การนำทีมของนายมานาฟ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ปเพิ่งได้รับการรับรองด้านระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ISO/IEC 27001 (#ISMS). ISO/IEC 27001:2013 คือการรับรองพื้นฐานระดับนานาชาติสำหรับการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวหอกในการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ (CoE) แห่งแรกของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ปในเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ซึ่งการเปิดศูนย์ดังกล่าวนับเป็นสำนักงานแห่งที่หกของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ปอีกด้วย (มีเฉพาะพนักงานเท่านั้น) นอกเหนือไปจากสำนักงานในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยศูนย์ CoE จะเป็นก้าวที่สำคัญในการขยายกำลังและความสามารถทางเทคโนโลยี เพื่อที่จะขับเคลื่อนภารกิจของพร็อพเพอร์ตี้กูรูที่มุ่งหวังจะช่วยให้คนหาบ้าน คนขายบ้าน และเจ้าของบ้านตัดสินใจในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ได้อย่างมั่นใจ และแน่นอนว่า “เป็นมากกว่าการค้นหาบ้าน” 

คุณมานาฟมีประสบการณ์อย่างยาวนานกว่า 2 ทศวรรษในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับผู้บริโภค อาทิ อินเทอร์เน็ต อีคอมเมิร์ซ บริษัทพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ และบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ นายมานาฟยังมีประสบการณ์กว่า 7 ปีในธุรกิจธนาคารเพื่อธุรกิจรายย่อย โดยเป็นผู้นำทีมต่าง ๆ ในหลายตลาด และหลายสาขาธุรกิจ  ไม่ว่าจะเป็นทีมสินเชื่อรายย่อย ทีมดูแลจัดการโปรดักส์ และทีมกลยุทธ์ในการหาลูกค้า  

เกาะติดเทรนด์อสังหาฯ ดัชนีราคายังไม่ฟื้น “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย” แท็กทีมฉุดดีมานด์ซื้อ-เช่าลด

เกาะติดเทรนด์อสังหาฯ ดัชนีราคายังไม่ฟื้น "เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย" แท็กทีมฉุดดีมานด์ซื้อ-เช่าลด

เกาะติดเทรนด์อสังหาฯ ดัชนีราคายังไม่ฟื้น "เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย" แท็กทีมฉุดดีมานด์ซื้อ-เช่าลด

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป แม้มีปัจจัยบวกจากกำลังซื้อต่างชาติหลังจากจีนประกาศเปิดประเทศช่วยขับเคลื่อนการเติบโต แต่ยังมีความท้าทายในประเทศไม่น้อย เมื่อกำลังซื้อผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัย ผนวกกับมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของรัฐบาลไม่ดึงดูดใจเพียงพอ ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ผ่านมาลดลงถึง 20% ขณะที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับลดลงทุกประเภท หลังจากผู้ประกอบการชะลอขึ้นราคาอสังหาฯ เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี 2565 ส่วนตลาดเช่าที่อยู่อาศัยเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว โดยภาพรวมความต้องการเช่าลดลงถึง 32% ในรอบไตรมาส แม้ดัชนีค่าเช่ายังทรงตัว จับตาการเลือกตั้งรอบใหม่ อีกหนึ่งตัวชี้วัดทิศทางการเติบโตตลาดที่อยู่อาศัยปีนี้ หลังผู้บริโภค/นักลงทุนชะลอการตัดสินใจซื้อเพื่อรอดูนโยบายภาคอสังหาฯ และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ คาดตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 หลังทิศทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น  

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 7% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 9% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยดัชนีราคายังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส 4 ปี 2562) ถึง 23% และต่ำกว่าดัชนีราคาปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานถึง 24% สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยยังไม่กลับมาฟื้นตัวดีดังเดิม 

ทั้งนี้ ไตรมาสที่ผ่านมาดัชนีราคาปรับตัวลดลงทุกประเภท ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบซึ่งได้รับความนิยมตั้งแต่ช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ ก็ชะลอตัวเช่นกัน หลังจากภาคธุรกิจกลับมาดำเนินการตามปกติทำให้การทำงานออนไลน์ลดลง ประกอบกับการที่ผู้ประกอบการและผู้ขายที่มีสินค้าแนวราบในมือนำออกมาประกาศขายในตลาดมากขึ้น จึงต้องใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมลดลงในสัดส่วนเท่ากันที่ 5% QoQ และลดลง 4% YoY ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์แม้จะลดลงเพียง 1% ในรอบไตรมาส แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าก็ลดลง 4% เช่นกัน

นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า “นอกจากปัจจัยบวกจากการที่จีนเปิดประเทศเต็มรูปแบบจะช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังส่งผลให้ตลาดท่องเที่ยวและตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย เนื่องจากจีนถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทยมากที่สุด แต่กำลังซื้อต่างชาติเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาคึกคักดังเดิมได้ เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักยังคงเผชิญความท้าทายหลายประการ ทั้งกำลังซื้อที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้กู้ซื้อบ้านที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นหรือใช้เวลาในการผ่อนนานขึ้น” 

“ขณะเดียวกันมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ จากภาครัฐบางส่วนได้สิ้นสุดลงในปี 2565 อย่างเช่นการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ส่วนมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่แม้จะมีการต่ออายุ แต่ถูกปรับเปลี่ยนรายละเอียดเป็นลดค่าโอนกรรมสิทธิ์เพียง 1% จากมาตรการเดิมที่ลดเหลือ 0.01% เท่านั้น ทำให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายที่อยู่อาศัยปีนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น ผู้บริโภคที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้จึงต้องมั่นใจในสภาพคล่องของตนเอง และมีวินัยทางการเงินที่มากพอด้วยเช่นกัน” นายวิทยา กล่าวเพิ่มเติม

“ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2565 ขยายตัว 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวจาก 4.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2565 ขยายตัวเพียง 2.6% ต่ำกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 3.2% ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เผยว่ายอดหนี้ครัวเรือนของไทย ณ ไตรมาส 3 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 87% ของ GDP มีปริมาณหนี้รวมสูงถึง 14.9 ล้านล้านบาท ซึ่ง 1 ใน 3 นั้นเป็นหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย แม้หนี้ครัวเรือนจะลดลงจากช่วงก่อนหน้าแต่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเร่งขึ้นเร็วในช่วงโควิด-19 จากรายได้ที่ลดลงเป็นหลัก 

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกยังส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อหนี้ใหม่เพิ่ม โดยเฉพาะหนี้จากการซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งมีราคาสูงและระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน ซึ่งถือเป็นจุดเปราะบางที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด”  

ไร้สัญญาณภาวะฟองสบู่อสังหาฯ – การเลือกตั้งใหม่ฉุดคนชะลอซื้อบ้าน  

“อย่างไรก็ดี แม้ความต้องการซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยโดยรวมจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่มีทิศทางเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยความต้องการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้น 36% และเพิ่มขึ้นทุกประเภทที่อยู่อาศัยเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ จากดีมานด์ที่ปรับเพิ่มขึ้นนี้ คาดว่าที่อยู่อาศัยคงเหลือในตลาดจะค่อย ๆ ถูกดูดซับไป โดยภาพรวมยังไม่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด (Oversupply) ขณะที่ความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นถึง 124% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าเทรนด์เช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากกว่าการซื้อ เนื่องจากผู้บริโภคไม่มีเงินเก็บเพียงพอที่จะใช้ในการซื้ออสังหาฯ และการเช่ายังยืดหยุ่นเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคปัจจุบันมากกว่า 

นอกจากปัจจัยท้าทายข้างต้น อีกประเด็นที่น่าจับตามองในปีนี้ คือ การเลือกตั้งครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงต้นปี 2566 ออกไปก่อน เพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ รวมถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ คาดว่าตลาดอสังหาฯ ไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาติอื่น ๆ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้ออสังหาฯ รวมถึงส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวดียิ่งขึ้น” นายวิทยา กล่าวสรุป

อัปเดตความเคลื่อนไหวตลาดอสังหาฯ ปี 66 ดีมานด์ซื้อ-เช่าชะลอตัว 

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในไตรมาสล่าสุด สรุปภาพรวมดัชนีราคาและความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าสนใจในตลาดซื้อและเช่า พร้อมเผยทำเลศักยภาพที่ดัชนีราคามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ 

      • อุปทานแนวราบยังมาแรง สวนทางดีมานด์คนซื้อลด 20% ภาพรวมอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ผ่านมานั้น ที่อยู่อาศัยแนวราบมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนอยู่ที่ 12% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 9% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 2% QoQ) ด้านคอนโดฯ แม้จะมีสัดส่วนมากที่สุดถึง 80% แต่พบว่ามีสัดส่วนลดลง 2% QoQ แสดงให้เห็นว่าเทรนด์การเลือกที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นในยุคโควิด-19 นั้น ได้ส่งผลให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ หันมาจับตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผู้ขายที่มีสินค้าแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมยังนำสินค้าออกมาขายมากขึ้นตามไปด้วย

ขณะที่ภาพรวมที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีราคาอยู่ที่ 5-10 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนถึง 26% ของที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ทั้งหมด เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า คอนโดฯ ส่วนใหญ่มีราคาอยู่ที่ 5-10 ล้านบาท (สัดส่วน 26%) ขณะที่บ้านเดี่ยวส่วนใหญ่ราคามากกว่า 15 ล้านบาท (สัดส่วน 42%) ด้านทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่ราคา 1-3 ล้านบาท (สัดส่วน 42%)

ด้านแนวโน้มความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยโดยรวมในไตรมาสล่าสุดลดลงถึง 20% QoQ หรือลดลง 14% YoY โดยปรับลดลงในทุกประเภทที่อยู่อาศัย อันเป็นผลมาจากภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อออกไปก่อน โดยความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวลดลง 21% QoQ ตามมาด้วยคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งลดลงในสัดส่วนเท่ากันที่ 20% QoQ

      • ดีมานด์ผู้เช่าลดลง 32% ดึงดัชนีค่าเช่าทรงตัว ภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ยังคงทรงตัวจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากเจ้าของอสังหาฯ ให้เช่ายังคงตรึงราคาให้สอดคล้องกับความสามารถในการใช้จ่ายของผู้เช่าในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ยังต่ำกว่าปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานอยู่ที่ 9% และต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ถึง 12% ขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ ให้เช่าในพื้นที่ใจกลางเมืองหลายทำเล สอดคล้องกับตลาดงานและตลาดท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวกลับมา

โดยคอนโดฯ เป็นอสังหาฯ ประเภทเดียวในกรุงเทพฯ ที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 1% ในรอบไตรมาส และเพิ่มขึ้น 2% YoY สวนทางกับดัชนีค่าเช่าของสินค้าแนวราบที่ปรับลดลงอย่างมาก โดยบ้านเดี่ยวลดลงถึง 17% QoQ และลดลง 14% YoY ส่วนทาวน์เฮ้าส์ลดลง 9% QoQ และลดลง 2% YoY ต่างจากตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบในจังหวัดปริมณฑลที่ดัชนีค่าเช่ายังคงเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา อาทิ จังหวัดสมุทรปราการ ทาวน์เฮ้าส์มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 17% YoY) ส่วนปทุมธานี บ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 21% QoQ (เพิ่มขึ้น 22% YoY) และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 4% QoQ (เพิ่มขึ้น 21% YoY)

ด้านจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าในกรุงเทพฯ นั้น คอนโดฯ ยังคงมีสัดส่วนมากที่สุดถึง 95% ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว 3% และทาวน์เฮ้าส์ 2%

ที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าส่วนใหญ่มีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/เดือน เมื่อแบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่า คอนโดฯ (สัดส่วน 54%) และทาวน์เฮ้าส์ (สัดส่วน 37%) ส่วนใหญ่มีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/เดือน ด้านบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่มีอัตราค่าเช่ามากกว่า 100,000 บาท/เดือน โดยมีสัดส่วนถึง 48% สะท้อนให้เห็นว่า บ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่กว้างขวางและอยู่ในทำเลทองยังเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้เช่าที่มีกำลังซื้อสูงและมีแผนย้ายถิ่นฐานในอนาคต

ขณะที่ดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ โดยรวมแม้จะลดลง 32% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 29% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 124% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ

โดยดัชนีความต้องการเช่าคอนโดฯ ลดลง 32% QoQ (เพิ่มขึ้น 45% YoY) แต่เพิ่มขึ้น 150% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ บ้านเดี่ยวลดลง 28% QoQ (ลดลง 25% YoY) แต่เพิ่มขึ้น 48% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ และทาวน์เฮ้าส์ ลดลง 29% QoQ (ลดลง 32% YoY) แต่เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ จะเห็นว่าแนวโน้มความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ สะท้อนให้เห็นถึงตลาดเช่าที่มีแนวโน้มเติบโต รองรับเทรนด์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมเช่ามากกว่าซื้อ

ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ได้แก่

      • เขตดอนเมือง เพิ่มขึ้น 6% QoQ (ลดลง 3% YoY) อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต ทำให้ทำเลนี้เป็นที่จับตามองอีกครั้ง พร้อมรองรับการเดินทางที่หลากหลาย ใกล้สนามบิน และจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในอนาคตอีกด้วย
      • ตามมาด้วย เขตหนองแขม มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 9% YoY) เป็นทำเลที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง ในปัจจุบัน รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ในอนาคต
      • เขตสะพานสูง มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567 
      • เขตบางนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ (ลดลง 3% YoY) ถือเป็นทำเลที่มีการเติบโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ด้วยรูปแบบที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ที่เป็นแนวราบตอบโจทย์คนหาบ้านปัจจุบัน ทั้งยังมีความเจริญในพื้นที่ ใกล้ห้างสรรพสินค้า ใกล้ทางด่วน และใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว
      • เขตสาทร ถือเป็นทำเลใจกลางเมืองเพียงทำเลเดียวที่ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นในไตรมาสล่าสุด โดยเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) ด้วยความเจริญจากการเป็นทำเลศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพฯ และเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (สายสีลม)

ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ส่วนใหญ่เป็นทำเลแนวรถไฟฟ้าสายใหม่หรือเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว รวมทั้งเป็นทำเลแหล่งงานขนาดใหญ่ ได้แก่

      • เขตสะพานสูง ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 168% QoQ (เพิ่มขึ้น 213% YoY) ซึ่งได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่จะเปิดให้บริการในปี 2567
      • ตามมาด้วย เขตหนองแขม ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 23% QoQ (ลดลง 6% YoY) ทำเลฝั่งธนบุรีที่สามารถเชื่อมต่อใจกลางเมืองได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4
      • เขตบางขุนเทียน ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 6% QoQ (ลดลง 1% YoY) แม้จะเป็นทำเลที่ไม่มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน แต่เป็นทำเลใกล้แหล่งงานขนาดใหญ่ในโซนพระราม 2
      • นอกจากนี้ ทำเลใจกลางเมืองยังกลายเป็นทำเลน่าสนใจที่ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเช่าในย่านเหล่านี้ที่เริ่มฟื้นกลับมาอีกครั้ง ได้แก่
        • เขตปทุมวัน ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 4% QoQ (เพิ่มขึ้น 3% YoY) 
        • เขตคลองเตย ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) 
        • เขตราชเทวี ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 1% YoY) 
        • เขตวัฒนา ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 1% YoY) 

หมายเหตุ: รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2566 เป็นรายงานแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยที่จัดทำขึ้นเป็นรายไตรมาส (ทุก 3 เดือน) โดยใช้ข้อมูลจากประกาศขาย-เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty มาทำการคํานวณด้วยวิธีการทางสถิต วิเคราะห์ และจัดทำเป็นดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคา, จํานวนที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ในตลาด และความต้องการที่มีต่อที่อยู่อาศัยในช่วงเวลานั้น ๆ โดยรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย ดัชนีราคา (Price Index) และดัชนีความต้องการ (Demand Index) จากทั้งฝั่งตลาดซื้อ-ขายและตลาดเช่า แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในรอบไตรมาสว่าเป็นไปในทิศทางใด โดยนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 เป็นต้นมา ดัชนีราคาและความต้องการในรายงานนี้ได้ใช้ข้อมูลในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เป็นปีฐาน  

อ่านและศึกษาข้อมูลแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสล่าสุดได้ที่ รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2566