Restaurant Brands International จับมือแอนท์กรุ๊ป เร่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับธุรกิจร้านอาหารทั่วเอเชีย-แปซิฟิก

Restaurant Brands International

Restaurant Brands International จับมือแอนท์กรุ๊ป เร่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับธุรกิจร้านอาหารทั่วเอเชีย-แปซิฟิก

Restaurant Brands International Inc. (“RBI”) หนึ่งในบริษัทที่ทำธุรกิจร้านอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเจ้าของแบรนด์ เช่น TIM HORTONS®, BURGER KING® และ POPEYES® ประกาศความร่วมมือระดับภูมิภาคกับแอนท์กรุ๊ป (Ant Group) โดยจะใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นดิจิทัลของแอนท์กรุ๊ปเพื่อเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของ RBI เพื่อสนับสนุนการทำงานของร้านอาหารแฟรนไชส์และการขยายธุรกิจในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว แอนท์กรุ๊ปจะทำงานร่วมกับร้านอาหารแฟรนไชส์ของ RBI ในแต่ละประเทศ เพื่อติดตั้งการใช้งานโซลูชั่นดิจิทัล รวมถึงโซลูชั่นมินิโปรแกรมในรูปแบบของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Alipay+ ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านการตลาดและการชำระเงินระหว่างประเทศที่ครอบคลุมทั่วโลก ความร่วมมือในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบประสบการณ์หลากหลายช่องทาง (omni-channel) ที่ราบรื่นและสะดวกมากขึ้นสำหรับลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของร้านอาหาร

ด้วยโซลูชั่นมินิโปรแกรม SaaS แอนท์กรุ๊ปจะพัฒนามินิโปรแกรมสำหรับแต่ละแบรนด์ของ RBI ซึ่งได้แก่ Tim Hortons, Burger King และ Popeyes โดยมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพตลาดของแต่ละประเทศ ภายใต้มินิโปรแกรมนี้ ร้านอาหารแฟรนไชส์ของ RBI ในแต่ละประเทศจะสามารถผนวกรวมการดำเนินงานทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินงานได้อย่างละเอียดและเจาะลึกมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ลูกค้าของร้านอาหารจะสามารถเข้าถึงบริการเพิ่มเติมได้ เช่น เมนูและการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) การสั่งอาหารทางออนไลน์แล้วไปรับที่ร้าน หรือการส่งถึงบ้าน ฟังก์ชั่นการสแกนและสั่งอาหารภายในร้าน เป็นต้น นอกจากนั้น มินิโปรแกรมยังผนวกรวมกับ Loyalty Program ที่มีอยู่ในแต่ละแบรนด์ของ RBI และนำเสนอฟีเจอร์ด้านการตลาดดิจิทัลเพิ่มเติม เช่น การแจกคูปองส่วนลดแบบดิจิทัล ฯลฯ

เพื่อช่วยให้ร้านอาหารของ RBI เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น มินิโปรแกรมดังกล่าวจะถูกบูรณาการเข้ากับแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่น ๆ ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมถึงแพลตฟอร์มของ Chope ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพชั้นนำด้านเทคโนโลยี F&B ระดับภูมิภาค และบริการอีวอลเล็ทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว RBI จะใช้ประโยชน์จากโซลูชั่น Alipay+ ของแอนท์กรุ๊ป เพื่อขยายทางเลือกในการชำระเงินสำหรับร้านอาหาร เว็บไซต์ แอพ และมินิโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยการผนวกรวมโซลูชั่นต่างๆ ของ Alipay+ การดำเนินงานของ RBI จะรองรับการชำระเงินต่าง ๆ เช่น ทรูมันนี่ วอลเล็ท (True Money Wallet) ในไทย, Touch ‘n Go eWallet ในมาเลเซีย, GCash ในฟิลิปปินส์, Kakao Pay ในเกาหลีใต้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

เอเครม โอเซอร์ ประธานประจำภูมิภาค APAC ของ Restaurant Brands International กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ประกาศการเป็นพันธมิตรครั้งสำคัญกับแอนท์กรุ๊ป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภารกิจของเราเพื่อเพิ่มความสะดวกกับลูกค้าในการสั่งและรับประทานอาหารที่ง่ายขึ้น รวมถึงการชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่สะดวก และตรงความต้องการของลูกค้า ผู้ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในเอเชียจะได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล และการรวมมินิโปรแกรมเข้ากับแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่น ๆ เช่นกัน”

แองเจล เจา ประธานกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “การนำระบบการชำระเงินดิจิทัลและนวัตกรรมทางการตลาดมาใช้เป็นเรื่องสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้บริการแบบไร้การสัมผัส (Contactless) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพื่อให้แบรนด์สามารถปรับตัวได้เท่าทันต่อตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ แอนท์กรุ๊ปมุ่งมั่นในการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ RBI ต่อการมุ่งสู่เส้นทางดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น เพื่อนำเสนอประสบการณ์แก่ลูกค้าในรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อลูกค้ากับแบรนด์ในเครือ RBI ทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อมอบประสบการณ์เหนือระดับให้แก่ลูกค้า”

การปรับใช้โซลูชั่นดังกล่าวจะครอบคลุม 8 ตลาดในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วยร้านอาหาร 1,500 สาขาภายใต้ 3 แบรนด์หลักของ RBI

อ่านข้อมูล business partnership อื่น ๆ ของแอนท์กรุ๊ป: iQiyi ใช้ Alipay+ ขยายตลาด พัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ทั่วเอเชีย

ดีลอยท์เผยรายงาน “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

Deloitte report_ดีลอยท์

ดีลอยท์เผยรายงาน “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

    • การค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรม cross-border e-commerce ที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว การพัฒนาต่อยอดด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลง RCEP
    • ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ตลาดที่กำลังพัฒนา” ในด้านของการพัฒนา Cross-border E-commerce และ Digitalization เช่นเดียวกับ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
    • การชำระเงินและการขาย เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด

ดีลอยท์ (Deloitte) เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับ “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” (Technology-empowered Digital Trade in Asia Pacific) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ล่าสุดด้านการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ทุกสิ่งกำลังพัฒนาไปสู่คดิจิทัล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนาคตที่ยั่งยืน โดยธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยมีบทบาทสำคัญอย่างมาก

รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นขององค์กรธุรกิจที่มีส่วนร่วมในระบบการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ โดยคาดการณ์ว่าการค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้จะเติบโตรวดเร็วขึ้น เนื่องจากกิจกรรม cross-border e-commerce ที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งคาดว่าภูมิภาคนี้จะเข้าสู่ยุคทองของการค้าดิจิทัลในอีกสามปีข้างหน้า

เทยเลอร์ แลม รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี มีเดียและเทเลคอมมูนิเคชั่น ดีลอยท์ ประเทศจีน กล่าวว่า “ช่วงการแพร่ระบาด การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคได้พัฒนาไปสู่การค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนำเสนอโอกาสการพัฒนาของแบรนด์ใหม่ ๆ และ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP นั้นจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภูมิภาค และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการค้าดิจิทัลต่าง ๆ”

แกรี่ วู หัวหน้าทีมฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของตลาดทั่วโลก, ดีลอยท์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาช่วยผู้ค้าทั่วโลกให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศ โดยปราศจากมาตรการกีดกันทางการค้าใด ๆ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศหลัก ๆ สองประการ ได้แก่ ลอจิสติกส์ และ การชำระเงิน ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ เทคโนโลยีบล็อกเชนก็มีส่วนช่วยสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ในการค้าดิจิทัล”

ข้อมูลเชิงลึกในระดับภูมิภาค
การค้าโลกเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ

      • ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการค้าก็ขยายตัวเป็นวงกว้างและเจาะลึกมากขึ้น กล่าวได้ว่าการค้าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ และดาต้าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก
      • โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบ 5G จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มการกระจายข้อมูลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายใหม่ๆ และรองรับ Internet of Everything (IoE) ขณะเดียวกัน การเก็บรวบรวมบิ๊กดาต้าจำนวนมหาศาล ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด
      • ในภาพรวม การค้าโลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก “ระบบดิจิทัล”ไปสู่ “ระบบอัจฉริยะ” โดย “การค้าดิจิทัล” เป็นรูปแบบการพัฒนาล่าสุด

พัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก

    • เศรษฐกิจระดับภูมิภาคส่วนใหญ่ถูกประเมินเพื่อการพัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัล โดยอ้างอิงดัชนีชี้วัดสองอย่างคือ อี-คอมเมิร์ซระหว่างประเทศ (60%) และการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (40%) และผลลัพธ์ที่ได้มีดังนี้:
        • ตลาดที่พัฒนาแล้ว: จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น
        • ตลาดกำลังพัฒนา: ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
        • ตลาดที่อยู่ในขั้นเริ่มต้น: เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และบรูไน
    • ในประเทศไทย อัตราการขยายตัวของตลาด cross-border e-commerce ถือว่าค่อนข้างสูง และมีโครงสร้างทางด้านดิจิทัลที่แข็งแรง แต่การพัฒนายังอยู่ในระดับที่จำกัด
Deloitte_ดีลอยท์ รีพอร์ต

การเติบโตขององค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก (Micro-Multinational Enterprise – mMNE) เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก

      • ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเป็นองค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก หรือ mMNE เพราะเข้าร่วมใน cross-border e-commerce ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก
      • ธุรกิจรายย่อยเหล่านี้นำเสนอ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น” หลากหลายประเภท ควบคู่กับการปรับรูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วโลก โดยธุรกิจในกลุ่มนี้ครองสัดส่วนกว่า 85% ของกิจกรรม cross-border e-commerce ในเอเชีย-แปซิฟิก
      • คุณลักษณะที่สำคัญของ mMNE:
          • ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว
          • มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปแล้วมีพนักงานไม่ถึง 100 คน
          • มีการดำเนินงานครอบคลุมทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วมีร้านสาขาในต่างประเทศ 3.56 แห่ง

“การชำระเงิน และการขาย” เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด

      • ระบบชำระเงินดิจิทัลมีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 55% ส่วนระบบการขายแบบดิจิทัลมีอัตราการใช้งาน 53%
      • ตลาดที่พัฒนาแล้วมีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า ทั้งในส่วนของการชำระเงิน การขาย และลอจิสติกส์
      • ในตลาดกำลังพัฒนา การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในด้านการผลิตและการค้าอยู่ในระดับที่สูง
Deloitte_ดีลอยท์ รีพอร์ต

แฟรงกี้ ฟาน ผู้บริหาร WorldFirst ประจำประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีบทบาทอย่างมากต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค”

“การมีการซื้อขายออนไลน์ระหว่างประเทศและการชำระเงิน รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า เอสเอ็มอีในภูมิภาคจะได้รับความมั่นคงในการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ที่ WorldFirst เรามุ่งมั่นในการนำเสนอบริการด้านการเงินแบบครบวงจรแบบ one-stop ครอบคลุมทั้งการชำระเงิน การเก็บเงิน และการแลกเปลี่ยนเงินให้แก่บริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่” แฟรงกี้ กล่าว

iQiyi ใช้ Alipay+ ขยายตลาด พัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ทั่วเอเชีย

Alipayplus

iQiyi ใช้ Alipay+ ขยายตลาด พัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ทั่วเอเชีย

iQiyi ปรับใช้โซลูชั่นการตลาดและการชำระเงิน Alipay+ อย่างครบวงจรในเอเชีย ครอบคลุมไทย เกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

“อ้ายฉีอี้” (iQiyi) แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชั้นนำของเอเชีย จับมือแอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ประกาศโครงการความร่วมมือที่รองรับการใช้งานของโซลูชั่นระดับโลกด้านการตลาดและการชำระเงินระหว่างประเทศ Alipay+ อย่างครบวงจร ซึ่งจะช่วยให้ iQiyi สามารถขยายตลาดได้อย่างกว้างขวาง ด้วยการนำเสนอทางเลือกในการชำระเงิน และพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ใช้มากขึ้น

การประกาศความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุม Asia TV Forum & Market ของปีนี้ โดย แอนนา พัค เบอร์ดิน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ iQiyi International กล่าวว่า “ด้วยความเป็นบริษัทที่จัดตั้งและเติบโตในเอเชีย เป้าหมายของเราคือการนำเสนอเรื่องราวและคอนเทนต์เอเชียสู่สายตาชาวโลก เรามุ่งมั่นร่วมมือกับพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์ในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน บริษัทมีความยินดีในความร่วมมือกับ Alipay+ ครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยขยายการเข้าถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของเราผ่านทางเครือข่ายและช่องทางต่างๆ ของ Alipay+ ในเอเชีย ความร่วมมือนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการนำเสนอคอนเทนต์เอเชียที่น่าสนใจ มีความเป็นสากลทั้งพล็อตและรายละเอียดต่าง ๆ ให้แก่ผู้ชมทั่วโลก”

ความร่วมมือดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ iQiyi นำโซลูชั่นการชำระเงิน Alipay+ มาใช้ภายในแอพเมื่อปี 2563 เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซื้อบริการสตรีมมิ่งของ iQiyi และขยายการเข้าถึงผู้ใช้งานอี-วอลเล็ท (E-wallet) ในเอเชีย โดยระบบจะเชื่อมต่อกับบริการอี-วอลเล็ทต่าง ๆ เช่น บริการทรูมันนี่ (TrueMoney) ในไทย, Kakao Pay ในเกาหลี, Dana ในอินโดนีเซีย, Touch’n’Go ในมาเลเซีย และ GCash ในฟิลิปปินส์

ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสองแบรนด์จะทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับการทำการตลาดของ iQiyi ผ่านทางแคมเปญการตลาดและช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้ iQiyi สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานทั่วเอเชียได้มากขึ้น พร้อมพัฒนาทางเลือกในการชำระเงินเพื่อรองรับคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคนี้ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นหลัก (mobile-native audience) และรักษาการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว

แอนท์กรุ๊ปได้เปิดตัวโซลูชั่นการตลาดและการชำระเงิน Alipay+ เมื่อปี 2563 โดยโซลูชั่นดังกล่าวสร้างมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่สามารถยอมรับวิธีการชำระเงินได้หลากหลายวิธีมากขึ้น และจัดแคมเปญด้านการตลาดดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย โซลูชั่น Alipay+ เชื่อมต่อกับเครือข่ายพาร์ทเนอร์ ผู้ให้บริการอี-วอลเล็ท และธนาคารต่าง ๆ ดังนั้นผู้ค้าและผู้ประกอบการจึงสามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อกับผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งแบรนด์ชั้นนำระดับโลกและระดับท้องถิ่นจากกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจบันเทิงดิจิทัลไปจนถึงบริการไลฟ์สไตล์ ร่วมมือกับ Alipay+ และผู้ให้บริการอี-วอลเล็ทชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดแคมเปญ 11.11 Mega Deals โดยมีการแจกจ่ายคูปองส่วนลดกว่า 10 ล้านชุด เพื่อสนับสนุนมหกรรมช้อปปิ้งครั้งใหญ่ประจำปี และกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาด

สการ์เล็ต ชิง หัวหน้าฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการด้านความร่วมมือกับผู้ค้าทั่วโลก กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “การทำตลาดผ่านหลากหลายช่องทางในภูมิภาคต่าง ๆ นับเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ประกอบการทั้งในส่วนของธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์ โซลูชั่น Alipay+ จึงนำเสนอทางเลือกที่มีทั้งความหลากหลาย ความคล่องตัวสูง และยังประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการทำตลาดให้กับแบรนด์ต่างๆ ทั้งยังสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว”

ทาง iQiyi และ Alipay+ ยังมีแผนขยายตลาดด้วยการดึงดูดผู้ใช้งานอี-วอลเล็ทในเอเชียด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แคมเปญดิจิทัล สิทธิพิเศษ และคูปองส่วนลด

“ด้วยความเชี่ยวชาญของ iQiyi ในเรื่องดิจิทัลคอนเทนต์ และความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายร่วมกันในภูมิภาคนี้ เราหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุคโมบายล์ ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้งานไปขั้นหนึ่ง” สการ์เล็ต ชิง กล่าว

หลังจากที่จัดตั้งสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศที่สิงคโปร์เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว iQiyi ได้เปิดสำนักงานสาขาในประเทศและภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ โดยมีทีมงานฝ่ายพัฒนาคอนเทนต์ประจำที่เกาหลีใต้ และล่าสุดได้ประกาศแผนการผลิตซีรี่ย์ 4 เรื่องจากเกาหลีใต้ และซีรีย์เรื่องแรกจากฟิลิปปินส์

ทรูมันนี่ วอลเล็ท เปิดตัว “อาลีเพย์พลัส รีวอร์ด” (Alipay+ Rewards) พร้อมโปรโมชั่น ‘11.11 Mega Deals’

Alipay+ RewardsTrueMoney

ทรูมันนี่ วอลเล็ท เปิดตัว “อาลีเพย์พลัส รีวอร์ด” (Alipay+ Rewards) พร้อมโปรโมชั่น ‘11.11 Mega Deals’

มอบข้อเสนอสุดพิเศษจากแบรนด์ดังในธุรกิจบันเทิง ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม และไลฟ์สไตล์ แก่ผู้ใช้ทรูมันนี่ 20 ล้านคน

ทรูมันนี่ วอลเล็ท เปิดตัว “อาลีเพย์พลัส รีวอร์ด” (Alipay+ Rewards) รูปแบบของฟีเจอร์ใหม่ภายในแอพ (in-app feature) เพื่อให้ผู้ใช้ 20 ล้านคนได้รับข้อเสนอโปรโมชั่นสุดพิเศษ พร้อมสิทธิ์ลุ้นชิงโชคจากแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ ในธุรกิจบันเทิง ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม และไลฟ์สไตล์ มูลค่ารวมกว่า 13 ล้านบาท ภายใต้แคมเปญ ‘11.11 Mega Deals’ มอบประสบการณ์ช้อปปิ้งสุดประทับใจแก่ผู้ใช้ทรูมันนี่ในเทศกาลช้อปปิ้ง 11.11 นี้

แบรนด์ที่เข้าร่วมแคมเปญ 11.11 Mega Deals ได้แก่ iQiyi, Viu, Google Play, Lazada, foodpanda และอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษที่จะเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค และมอบความสะดวกสบายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้ทรูมันนี่วอลเล็ทสามารถสะสมหรือซื้อคูปองส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ ผ่านทาง Alipay+ Rewards

ภายใต้แคมเปญ ‘11.11 Mega Deals’ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2564 ทรูมันนี่นำเสนอดีลสุดฮอตและของรางวัลผ่านกิจกรรมสนุก ๆ เช่น

    • ‘วงล้อนำโชค’ มอบโชคให้ผู้ใช้ทรูมันนี่ร่วมลุ้นรางวัลใหญ่ เช่น ‘Apple MacBook Air และ Apple iPad Air’ ได้ทุกวัน
    • ‘ดีล 1 บาท’ ผู้ใช้ทรูมันนี่สามารถซื้อคูปองส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ ในราคาเพียง 1 บาท
    • ‘ดีลพิเศษจากร้านค้าออนไลน์’ ผู้ใช้ทรูมันนี่จะได้รับรางวัลพิเศษมากมายจาก Alipay+ Rewards รวมถึงคูปองพิเศษ และคูปองส่วนลดจากแบรนด์ชั้นนำ

Alipay+ Rewards มอบเครื่องมือทางการตลาดดิจิทัลใหม่ล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาโดยแอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้บริหารจัดการแพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลอาลีเพย์ (Alipay) ให้บริการแก่ผู้ใช้โมบายล์วอลเล็ทหลายร้อยล้านคนในหลายประเทศทั่วโลกสำหรับการซื้อสินค้า และบริการจากแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น ด้วย Alipay+ Rewards ผู้ใช้โมบายล์วอลเล็ทจะสามารถแลกรับ หรือซื้อคูปองส่วนลดจากร้านค้าแบรนด์ดังต่างๆ รวมไปถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด และผู้ให้บริการทรูมันนี่ กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าและสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้แก่ผู้ใช้งาน การเปิดตัว Alipay+ Rewards ในทรูมันนี่ วอลเล็ทครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงแบรนด์ชั้นนำระดับโลกและระดับภูมิภาค และเพลิดเพลินกับประสบการณ์การใช้จ่ายที่สะดวกมากยิ่งขึ้น พร้อมรับข้อเสนอสุดพิเศษในเทศกาลช้อปปิ้ง 11.11 นี้”

หยิน จิง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายลูกค้าระดับโลกของแอนท์ กรุ๊ป กล่าวว่า “เนื่องจากผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราเห็นถึงความต้องการในการซื้อสินค้าออนไลน์ และใช้บริการออนไลน์เพื่อความบันเทิงที่เพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคในภูมิภาคนี้มักจะมองหาข้อเสนอหรือโปรโมชั่นที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ Alipay+ Rewards จึงร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านอีวอลเล็ทอย่างเช่น ทรูมันนี่ วอลเล็ท เพื่อนำเสนอแบรนด์ชั้นนำระดับโลกและระดับท้องถิ่นให้กับผู้ใช้ในประเทศโดยตรง”

แอนนา พัค เบอร์ดิน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจและความร่วมมือระหว่างประเทศของ iQiyi กล่าวว่า “อ้ายฉีอี้ (iQiyi) มองเห็นแนวโน้มการเติบโตของคอนเทนต์ในเอเชียเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเทนต์จีน ในหลายเดือนที่ผ่านมา เรารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ Alipay+ Rewards และทรูมันนี่ ในการนำเสนอบริการที่เหนือกว่าแก่ผู้ใช้ทรูมันนี่เพื่อเข้าถึงแหล่งคอนเทนต์ในเอเชียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ต้อนรับแคมเปญ 11.11 ในปีนี้”

ผู้สนใจสามารถร่วมจับรางวัล ‘11.11 Mega Deals’ ได้ง่ายๆ ตาม 6 ขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ล็อกอินเข้าสู่ทรูมันนี่ วอลเล็ท และคลิกที่ไอคอน ‘Alipay+ Rewards’
    2. เก็บคูปองเพื่อสมัครสมาชิก Alipay+ Rewards (เฉพาะครั้งแรกเท่านั้น)
    3. ไปที่แบนเนอร์ ‘จับรางวัล’ (Lucky Draw) [วงล้อนำโชค]
    4. คลิกที่ ‘Go’ เพื่อรับสิทธิ์ลุ้นรางวัล
    5. คลิกที่ ‘ดูรางวัล’ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    6. ดูรายละเอียดของรางวัลที่คุณได้รับ

4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการเข้าร่วม ‘ดีล 1 บาท’

    1. ล็อกอินเข้าสู่ทรูมันนี่ วอลเล็ท และคลิกที่ไอคอน ‘Alipay+ Rewards’
    2. ตรวจสอบคูปอง 1 บาทที่แบนเนอร์
    3. เลือกคูปอง 1 บาทที่คุณต้องการ
    4. ดำเนินการตามขั้นตอนชำระเงิน
Alipay+ Rewards

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘11.11 Mega Deals’ โดยทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้จากเว็บไซต์ https://www.truemoney.com/a/category/promotion-page/promo-alipayreward/ หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าทรูมันนี่ 1240

สมาคมฟินเทคประเทศไทย จับมือ 10×1000 นำเสนอหลักสูตรด้านฟินเทคระดับโลก ให้กับผู้ประกอบการไทย

10x1000 Flex for Inclusion

สมาคมฟินเทคประเทศไทย จับมือ 10x1000 นำเสนอหลักสูตรด้านฟินเทคระดับโลก ให้กับผู้ประกอบการไทย

10X1000 Tech for Inclusion แพลตฟอร์มที่รวบรวมการอบรมและการเรียนรู้ด้านฟินเทค ได้ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรผู้นำด้านฟินเทค นักลงทุน และอุตสาหกรรมด้านการเงินการลงทุนจากทั่วโลก เพื่อนำเสนอหลักสูตรที่จะให้องค์ความรู้ ให้แนวคิดเกี่ยวกับฟินเทคและได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้นำองค์กรระดับนานาชาติ

10X1000 ได้รับความร่วมมือจาก IFC หรือ International Finance Corporation หนึ่งในสมาชิกของ World Bank Group และ Alipay ในปี 2018 ร่วมนำเสนอหลักสูตรที่มีชื่อว่า “Flex” ตั้งเป้ารับสมัครผู้อบรมที่มีคุณสมบัติและผ่านการคัดเลือกเข้าจำนวน 1,000 รายจากทั่วโลก ซึ่งเตรียมเปิดการอบรมในเดือนตุลาคม 64 โดยหลักสูตรดังกล่าวนี้จะเป็นการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ

ผู้เข้าอบรม 1,000 รายชื่อจากทั่วโลกในหลักสูตร Flex จะมาจากการคัดเลือกของกลุ่มพันธมิตร เช่น IFC, United Nations Development Programme, United Nations Economic Commission of Africa, SME Final Forum, Dubai International Financial Centre, Malaysia Digital Economy Corporation, KPMG และสมาคมฟินเทค แห่งฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ประเทศไทย

10x1000 Flex for Inclusion
10x1000 Flex for Inclusion

นายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย (TFA) กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรจากทั่วโลก ในการนำเสนอหลักสูตรของ 10X1000 และเชื่อว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคในประเทศไทย จะสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีบุคลากรด้านฟินเทคอยู่ในวงที่จำกัดมาก ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีในการสร้างรากฐานความรู้ด้านฟินเทคให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ผ่านการเรียนรูปแบบออนไลน์โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคระดับสากล ซึ่งเป้าหมายของ 10×1000 นั้น ตรงกับเป้าหมายและแผนงานที่ TFA ได้วางไว้ ในเรื่องการเสริมความรู้ด้านฟินเทค ทั้งในระดับพื้นฐาน และเชิงลึกให้ครอบคลุมมากที่สุด จึงถือได้ว่าการร่วมมือในครั้งนี้เป็นการนำร่องในการพัฒนาความรู้ด้านฟินเทคให้แก่คนไทย ก่อนที่จะก้าวไปเรียนรู้ด้านฟินเทคในเชิงปฏิบัติการจากประสบการณ์จริง ซึ่ง TFA มีแผนที่จะเปิดตัวหลักสูตรในช่วงต้นปี 2565 หากสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

10x1000 Flex for Inclusion

หลักสูตร Flex เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานด้านฟินเทค หรืออยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ความพิเศษของหลักสูตรนี้คือการได้เรียนกับตัวจริงระดับโลก เน้นสอนผ่าน Case Study ด้วยการเชิญผู้นำในองค์กรด้านการเงินและเทคโนโลยี ที่ประสบความสำเร็จมาแบ่งปันความรู้ด้านฟินเทค ผ่านการเรียนที่ค่อนข้างยืดหยุ่นต่อผู้เรียน เพราะเป็นการเรียนรูปแบบออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่าต้องการเริ่มเรียนในช่วงไหน ระหว่าง 11 ตุลาคม, 25 ตุลาคม, 1 พฤศจิกายน  หรือ 8 พฤศจิกายน โดยจะเรียนในวันเวลาไหนก็ได้ แต่ต้องเรียนผ่านวีดีโอ 8 บทเรียน และทำแบบทดสอบ 3 ชุด ให้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์ เพื่อรับ Certificate ของหลักสูตร ซึ่งในโปรแกรมจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ และภายในเนื้อหาจะครอบคลุมทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและการเงิน รวมไปถึงกลยุทธ์การต่อยอดและขยายธุรกิจด้วย โดยการเรียนจะเน้นให้ผู้เรียนมี Mindset ที่ถูกต้อง มีความรู้ และได้ฝึกทักษะที่จำเป็นด้านฟินเทค เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดกับธุรกิจของตนเองได้

Eric Jing ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ant Group เจ้าของแพลตฟอร์มด้านการเงิน Alipay กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับสมาคมฟินเทคประเทศไทย เพื่อให้ 10×1000 เติบโตไปอีกก้าวนึงผ่านการร่วมมือกันในครั้งนี้ โดยเราตั้งเป้าหมายร่วมกันลดช่องว่างทางความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Skills Gap ในประเทศไทย โดย 10×1000 นั้นมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรและผู้นำด้านเทคโนโลยีและการเงิน ปีละ 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายด้าน SDGs หรือการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN) ทั้งในเรื่องการศึกษา การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการลดความเหลื่อมล้ำ โดยเรามั่นใจว่าผู้ที่จบหลักสูตร Flex ของ 10×1000 จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และพัฒนาระบบนิเวศน์ด้านการเงิน และฟินเทคในประเทศของตนเองได้ ซึ่งถ้าทำได้ดังนี้จริงก็จะช่วยให้ 10×1000 สามารถเข้าใกล้เป้าหมายด้าน SDGs ได้มากขึ้นเช่นกัน

ชลเดช ทิ้งท้ายว่า สมาคมฟินเทคประเทศไทย จะคัดเลือกผู้เรียนจากผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด 100 ที่นั่ง ซึ่งจะเลือกจากรายชื่อผู้สมัครที่เป็นสมาชิกของ สมาคมฟินเทคประเทศไทย และต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับฟินเทคหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยวางแผนเปิดรับสมัครในวันที่ 20 กันยายน – 4 ตุลาคม 2564 ผ่านทาง www.thaifintech.org และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนในวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ผ่านทางอีเมลที่สมัครมา ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thaifintech.org