จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

จีเอชแอล จับมือ อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย ผ่านร้านค้าในไทยกว่า 2,600 ราย

ประเด็นสำคัญ:

    • จีเอชแอล ให้บริการ Alipay+ สำหรับ 2,600 ร้านค้าท้องถิ่นในประเทศไทย โดยร้านค้าสามารถรับชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนจากโมบายวอลเล็ตชั้นนำของเอเชียได้แล้ว
    • ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตั้งแต่การค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ไปจนถึงการบริการต้อนรับ และสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศจะได้รับประโยชน์จากการให้บริการนี้
    • จิม ทอมป์สัน และพรีเมี่ยมเอาท์เล็ทต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือแบบพันธมิตรในครั้งนี้

จีเอชแอล ซิสเต็ม เบอร์ฮาด (จีเอชแอล) เป็นบริษัทชั้นนำด้านการให้บริการการชำระเงินระดับภูมิภาคอาเซียน เปิดให้บริการรับชำระเงินด้วยอาลีเพย์พลัส (Alipay+) สำหรับร้านค้าท้องถิ่นมากกว่า 2,600 รายในประเทศไทย เพื่อรองรับการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนจากโมบายวอลเล็ตชั้นนำต่าง ๆ ของเอเซีย ได้แก่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกง), Kakao Pay (เกาหลีใต้), และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) เพิ่มเติมนอกเหนือจาก Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) ที่ร้านค้าสามารถรับชำระมาแล้วตั้งแต่ปี 2558

ปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ที่มาเยือนเมืองไทย สามารถชำระเงินด้วยโมบายวอลเล็ตจากประเทศตนเองกับร้านค้ารีเทลได้มากกว่า 5,000 ร้าน โดยใช้เทคโนโลยีจาก GHL ซึ่งเป็นพันธมิตรของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและการตลาดข้ามพรมแดนระดับโลกของแอนท์กรุ๊ป โดยธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ไปจนถึงธุรกิจบริการและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศ

ตามประกาศของรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566  มีนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆเข้ามาในประเทศไทยมากถึง 6.15 ล้านคน ซึ่งเกินเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดการณ์ไว้  การกลับมาอีกครั้งของนักท่องเที่ยวนี้ พวกเขามีความคาดหวังมากขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทางและการใช้จ่ายตามร้านค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักท่องเที่ยวจำนวนมากคุ้นเคยกับประสบการณ์การชำระเงินที่ราบรื่นผ่านโมบายวอลเล็ตของประเทศตนเอง

นายปริญญา จินันทุยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอชแอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากการเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของ GHL และ Alipay นำมาสู่ความร่วมมือครั้งล่าสุดกับอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ร้านค้าท้องถิ่นสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยการรับชำระเงินด้วยวิธีที่ลูกค้าคุ้นเคยและสะดวก ความร่วมมือนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ต้องการผลักดัน เศรษฐกิจแบบไร้เงินสด” (Cashless Economy) ส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินและช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อปริมาณธุรกรรมดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบเศรษฐกิจจะได้รับประโยชน์จากความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยซึ่งส่งผลเชิงบวกกับหลายภาคส่วนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม”  จิม ทอมป์สัน บริษัทผู้ผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยเป็นหนึ่งในแบรนด์ธุรกิจท้องถิ่นรายแรก ๆ ที่ให้บริการนี้ และเป็นตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากความร่วมมือนี้ ด้วยการเป็นต้นกำเนิดของศิลปะจากการทำผ้าไหมที่ยอดเยี่ยม ปัจจุบัน จิม ทอมป์สัน เป็นไอคอนิกแบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับโลกจากประเทศไทยที่มีชื่อเสียงด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่สวยงาม และมีผลิตภัณฑ์และบริการที่มากกว่าผ้าไหม (Beyond Silk) ทำให้จิม ทอมป์สัน เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รักของทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ

คุณนันท์นภัส เวโรจนวัฒน์ ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด จิม ทอมป์สัน กล่าวว่า “ด้วยการบริการรับชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน ปัจจุบัน จิม ทอมป์สันให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลที่คุ้นเคยและสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ซึ่งช่วยยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งของพวกเขา นักท่องเที่ยวจากจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้โมบายวอลเล็ตในการชำระเงิน สามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่นและไม่ยุ่งยากอีกต่อไป โดยช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาวอีกด้วย”

 ดร.เชอรี่ ฮวง ผู้จัดการทั่วไปของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ส่วนบริการการค้าออฟไลน์ แอนท์กรุ๊ป กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในปัจจุบันไม่เหมือนกับนักท่องเที่ยวในช่วงก่อนการแพร่ระบาด โดยนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจำนวนมากคุ้นเคยกับไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม ความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยอย่าง GHL ทำให้ธุรกิจร้านค้าในประเทศไทยจำนวนมากสามารถรับการชำระเงินแบบดิจิทัล อย่างอีวอลเล็ตได้ นับเป็นวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคชาวเอเชียนิยมใช้ ช่วยให้ประสบการณ์การชำระเงินสะดวก และไม่ยุ่งยากอีกต่อไป”

นักท่องเที่ยวจะสามารถเพลิดเพลินกับการจับจ่ายใช้สอยและความบันเทิงในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัด โดยพวกเขาสามารถใช้โมบายวอลเล็ตที่ใช้เป็นประจำในประเทศตนเองได้ ตามแหล่งช้อปปิ้งยอดนิยม เช่น พรีเมี่ยมเอาท์เล็ททั้ง 6 แห่ง ที่ชะอำ เขาใหญ่ พัทยา อยุธยา ภูเก็ต และกระบี่

แอนท์กรุ๊ปเผยรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 พร้อมอัปเดตความคืบหน้าการดำเนินการตามกลยุทธ์ ESG

แอนท์กรุ๊ปเผยรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 พร้อมอัปเดตความคืบหน้าการดำเนินการตามกลยุทธ์ ESG

แอนท์กรุ๊ปเผยรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 พร้อมอัปเดตความคืบหน้าการดำเนินการตามกลยุทธ์ ESG

แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) เผยแพร่รายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 โดยให้ความสำคัญกับความคืบหน้าของกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในปี 2565

แอนท์กรุ๊ปลงทุน 20.46 พันล้านหยวน (ประมาณ 2.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในปี 2565 ซึ่งลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปี 2562 การลงทุนดังกล่าวถูกจัดสรรตามการสร้างนวัตกรรมสำคัญ เช่น ฐานข้อมูลแบบกระจายและโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล, บล็อกเชน, การประมวลผลความเป็นส่วนตัว, ความปลอดภัยของข้อมูลและเครือข่าย, กรีนคอมพิวติ้ง (Green Computing), และปัญญาประดิษฐ์ (AI)

“ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา เรามุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาของโลกที่ชุมชนต่าง ๆ ต้องเผชิญมาโดยตลอด เราเชื่อว่าการสร้างทั้งคุณค่าเชิงพาณิชย์และคุณค่าทางสังคมเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท” เอริค จิง ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอของแอนท์กรุ๊ป เขียนคำปราศรัยในรายงาน

ant group sustainability report 2022

ตัวอย่างเช่น การให้ความสำคัญในหัวข้อการพัฒนาสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในรายงานความยั่งยืน การนำเทคโนโลยีกรีนคอมพิวติ้ง (Green Computing) มาใช้ของแอนท์กรุ๊ป โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ให้เหมาะสม และการฝึกโมเดล AI ช่วยลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่มีผลแผ่รังสีเท่ากันกับก๊าซเรือนกระจกถึง 62,127.53 ตัน (เท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์) การลดลงเหล่านี้มีผลกับดาต้าเซ็นเตอร์ในรูปแบบให้เช่าของแอนท์กรุ๊ปและทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงในห่วงโซ่มูลค่าปี 2565 ตามโร้ดแมปการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนของแอนท์กรุ๊ป บริษัทจะทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดของบริษัทให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2568 ทั้งนี้ ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนอีกครั้ง (ขอบเขตที่ 1 และ 2) เป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ทั้งขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2573

แอนท์กรุ๊ปนำเสนอกรอบการประเมินผลและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) เป็นครั้งแรกในรายงานความยั่งยืนปี 2565 ช่วยให้บริษัทสามารถระบุและจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 ยังระบุพื้นฐานหลักของการปฏิบัติงานสำหรับประเด็นสำคัญที่ได้ระบุไว้ทั้งหมด และให้การรับรองโดยบุคคลที่สาม ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทติดตามความคืบหน้า รักษาความสม่ำเสมอ ตรวจสอบและเปรียบเทียบสถิติด้านความยั่งยืนของบริษัทได้

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราค่อย ๆ สำรวจเส้นทางการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยคาร์บอนต่ำซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายสำคัญรออยู่ข้างหน้าก่อนที่เราจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2573 เราจำเป็นต้องทุ่มเทความพยายามและทรัพยากรให้มากขึ้น รวมทั้งทำแผนระยะยาว” อี้เจีย เป็ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของแอนท์กรุ๊ป ระบุไว้ในรายงาน “เรามุ่งมั่นที่จะบรรลุการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรของเราเอง และมีส่วนร่วมกับฐานผู้ใช้ที่กว้างขวาง รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรของเราตลอดจนห่วงโซ่มูลค่าเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปและบริษัทในเครือเช่น MYbank ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเผยแพร่ มาตรฐานการจัดอันดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับเอสเอ็มอี (SMEs) ทั่วประเทศฉบับแรก ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถประเมินการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเอสเอ็มอี รวมทั้งเสนอสิ่งจูงใจ เช่น สินเชื่อสีเขียว (green loans) ภายในสิ้นปี 2565 MYbank จัดอันดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มเอสเอ็มอีจำนวน 6.23 ล้านรายได้สำเร็จตามเกณฑ์สะสม นอกจากนี้ยังให้สินเชื่อสีเขียวแก่เอสเอ็มอี จำนวน 420,000 รายโดยมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็นสิ่งจูงใจ

ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปได้มอบหมายประเด็นสำคัญ 19 รายการซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในรายงานความยั่งยืนให้กับผู้บริหารและผู้นำด้านธุรกิจซึ่งมีหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์หลักที่ต้องการ (OKRs) และวางแผนการดำเนินการในระยะสามปี ตัวอย่างเช่น การเติบโตอย่างทั่วถึงของธุรกิจเอสเอ็มอี บริษัทได้เปลี่ยนจากตัวชี้วัดแบบเดิม เช่น จำนวนผู้ใช้หรือจำนวนผู้ใช้รายวัน (DAU) ที่บริษัทอินเทอร์เน็ตมักใช้เป็นตัวชี้วัด หันไปมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการเข้าถึงบริการสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ก่อนหน้านี้ถูกลิดรอนโอกาสดังกล่าวด้วยวิธีการอื่น นอกจากนี้ยังใช้การลดต้นทุนการดำเนินงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัดอีกด้วย

“เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าโอกาสการเติบโตของบริษัทในอนาคตมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความสามารถในด้านการช่วยแก้ปัญหาสังคม” อี้เจีย เป็ง กล่าวเสริม “ดังนั้น การสร้างคุณค่าเชิงพาณิชย์และสังคมแบบบูรณาการจึงเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ ESG ของเรา และช่วยให้เราสามารถระบุโอกาสทางนวัตกรรม และผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนของเราในอนาคตได้”

ในประเด็นความเท่าเทียมทางดิจิทัล (Digital Inclusion) แอนท์กรุ๊ปและบริษัทในเครืออย่าง MYbank ได้ให้บริการด้านการชำระเงินและบริการทางการเงินแบบครอบคลุมแก่เอสเอ็มอีจำนวน 86 ล้านราย (รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก) ตามเกณฑ์สะสม ทำให้กระบวนการมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายในการให้บริการเอสเอ็มอี 100 ล้านรายภายในปี 2573 โดยในปี 2565 ปริมาณการทำธุรกรรมเฉลี่ยผ่านมินิโปรแกรมของผู้ค้าบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์เพิ่มขึ้น 49.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แอนท์กรุ๊ปช่วยสนับสนุนให้ลูกค้า 260 ล้านคนเข้าถึงบริการของพันธมิตรทั่วโลกได้ และยังทำให้เอสเอ็มอีเข้าร่วมการค้าระดับโลกได้ง่ายขึ้นผ่านการชำระเงินข้ามพรมแดนและบริการทางการเงินของบริษัท

ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปสนับสนุนความมุ่งมั่นที่จะกำกับดูแลกิจการด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ESG การแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างการกำกับดูแลของบริษัท โดยโอเพนส์แพลตฟอร์มของอาลีเพย์ได้ร่วมมือกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) เพื่อสร้างโซลูชันเฉพาะอุตสาหกรรมกว่า 400 รายการ ในการช่วยเหลือผู้ค้าจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เติบโตและได้ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรม โดยโอเพนส์แพลตฟอร์มด้านดิจิทัลไฟแนนซ์ของแอนท์ (Ant Digital Finance) ได้ช่วยเหลือพันธมิตรในฝั่งสถาบันทางการเงินกว่า 150 รายในการให้บริการแก่ผู้ใช้ประมาณหนึ่งล้านคนต่อปี

ในปี 2565 แอนท์กรุ๊ปบริจาคเพื่อการกุศล 790 ล้านหยวน (ประมาณ 111.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ยอดสะสมของการใช้จ่ายเพื่อการกุศลเป็น 2.7 พันล้านหยวน (ประมาณ 381.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่ปี 2562 หนึ่งในหลาย ๆ โครงการ “ไซเบอร์ มู่หลาน” (Cyber Mulan) คือโปรแกรมที่ช่วยปลุกพลังในการพัฒนาความสามารถของผู้หญิงใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ การคุ้มครองขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนการจ้างงานและอาชีพ และโอกาสในการเติบโตที่หลากหลาย โดยมอบกรมธรรม์ประกันภัย 3.75 ล้านฉบับแก่ผู้หญิงในพื้นที่ชนบท เสนอการฝึกอบรมงานและโอกาสการจ้างงานแบบดิจิทัลให้แก่ผู้หญิง 10,000 คน ขยายสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการสตรีกว่า 1 ล้านคน และสนับสนุนทีมฟุตบอลหญิงในชนบท 70 ทีม

ตั้งแต่ปี 2560 แอนท์กรุ๊ปได้เผยแพร่รายงานความยั่งยืนประจำปีตามมาตรฐานองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative) สามารถอ่านรายงานได้บนเว็บไซต์แอนท์กรุ๊ป (ขณะนี้มีให้บริการเฉพาะฉบับภาษาจีน ฉบับภาษาอังกฤษจะเผยแพร่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า)

นักท่องเที่ยวจากสี่ประเทศในเอเชียสามารถชำระเงินในประเทศไทยด้วยโมบายล์วอลเล็ตของประเทศตัวเองได้แล้ว

นักท่องเที่ยวจากสี่ประเทศในเอเชียสามารถชำระเงินในประเทศไทยด้วยโมบายล์วอลเล็ตของประเทศตัวเองได้แล้ว

นักท่องเที่ยวจากสี่ประเทศในเอเชียสามารถชำระเงินในประเทศไทยด้วยโมบายล์วอลเล็ตของประเทศตัวเองได้แล้ว

    • โมบายล์วอลเล็ตที่สามารถใช้ได้แล้วในประเทศไทย โดยชำระเงินผ่าน Alipay+ ได้แก่ AlipayHK, KakaoPay, Touch ‘n Go eWallet และ Alipay
    • การบินไทย คือหนึ่งในสายการบินรายแรก ๆ ที่ใช้ Alipay+ เพื่อเป็นช่องทางการชำระเงิน

แอนท์กรุ๊ป ผู้ให้บริการอาลีเพย์พลัส (Alipay+) โซลูชันการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศและโซลูชันการตลาด ประกาศรองรับโมบายล์วอลเล็ตจำนวน 4 รายที่สามารถใช้ชำระค่าใช้จ่ายได้แล้วในประเทศไทย ได้แก่ AlipayHK (ฮ่องกง SAR), KakaoPay (เกาหลีใต้), Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) และ Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ค้าในไทยตั้งแต่ปี 2558

การพัฒนาล่าสุดและการเพิ่มการรองรับโมบายล์วอลเล็ตอีก 3 รายของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) จะขยายประสบการณ์การท่องเที่ยวดิจิทัลแบบไร้รอยต่อสำหรับนักท่องเที่ยวเอเชียที่มาเยือนเมืองไทย สอดรับกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศที่กำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

แอนท์กรุ๊ปเผยความร่วมมือครั้งใหม่กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (“TAT”) เพื่อส่งเสริมแคมเปญ Amazing Thailand และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศไทย นอกจากจะช่วยให้เกิดความสะดวกสบายด้านการชำระเงินและการทำธุรกรรมบนโมบายล์วอลเล็ตที่นักท่องเที่ยวคุ้นเคยแล้ว แอนท์กรุ๊ปยังให้บริการโซลูชันดิจิทัลกับธุรกิจท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นการบริการแบบดิจิทัลไลเซชัน, การทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่มีประสิทธิภาพ, และการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งเน้นในการช่วยให้ร้านค้าท้องถิ่นสามารถปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพตลอดการเดินทาง ตั้งแต่ก่อนเดินทางจนจบการเดินทาง โดยธุรกิจท้องถิ่นสามารถใช้โซลูชัน Alipay+ D-storeTM  ในการสร้างร้านค้าดิจิทัลในรูปแบบมินิโปรแกรม และใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการเข้าถึงและดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยว

นายยุทธศักดิ์ สุภสร, ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT) กล่าวว่า “เราได้สร้างความไว้วางใจและความร่วมมือกับอาลีเพย์มานานหลายปีในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนแผ่นดินใหญ่ เรายินดีที่จะขยายความร่วมมือเพื่อเข้าถึงนักท่องเที่ยวอีกสามประเทศในเอเชียผ่านอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญกับประเทศไทย”

“เราพร้อมสนับสนุนการทำงานของแอนท์กรุ๊ปเพื่อส่งเสริมการทำดิจิทัลไลเซชันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยการใช้บริการโซลูชันดิจิทัลที่ล้ำสมัยและทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ค้าท้องถิ่น ซึ่งเรามั่นใจว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่การสร้างรายได้และสร้างโอกาสการเติบโตสำหรับธุรกิจท้องถิ่น”

การบินไทย คือหนึ่งในสายการบินรายแรก ๆ ที่ใช้ Alipay+ เป็นช่องทางการชำระเงิน นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการโมบายล์วอลเล็ตทั้งสี่รายสามารถชำระค่าตั๋วเครื่องบินผ่านโมบายล์วอลเล็ตได้อย่างราบรื่น และยังเพลิดเพลินไปกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่แข่งขันได้

ดร. เชอร์รี่ หวง, ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการร้านค้าออฟไลน์ของ Alipay+ แสดงความเห็นเกี่ยวกับการขยายการใช้งานล่าสุดของอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ว่า “เรามีความเชื่อมั่นอย่างมากว่าการรองรับโมบายล์วอลเล็ตของประเทศในเอเชียมากขึ้นในประเทศไทยจะเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ยั่งยืน และน่าดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยว สิ่งที่เราให้ความสำคัญในวันนี้คือการให้ความรู้กับผู้ค้าท้องถิ่นในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจhospitality และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากกโซลูชันอาลีเพย์พลัส (Alipay+)”

“เราหวังว่าจะได้ร่วมงานกับผู้ค้าท้องถิ่น ไม่เพียงแค่ในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเท่านั้น แต่รวมไปถึงพื้นที่ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว เพื่อช่วยภาคธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของโซลูชันดิจิทัล” ดร. เชอร์รี่ กล่าวเสริม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยจำนวนการลงทะเบียนใหม่อย่างมหาศาลของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนการลงทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2566

แอนท์กรุ๊ปเปิดตัวอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ตั้งแต่ปี 2563 มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถรับการชำระเงินผ่านโมบายล์วอลเล็ตได้หลากหลาย และเข้าถึงผู้บริโภคระดับภูมิภาคและทั่วโลกมากถึง 1 พันล้านคน ผ่านการเชื่อมระบบอย่างง่ายดายเพียงครั้งเดียว นอกจากประเทศไทยแล้ว อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีนแผ่นดินใหญ่, มาเก๊า SAR, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และอีกหลายประเทศ

ยอดธุรกรรมบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์ช่วงวันหยุดแรงงานโตขึ้น 70% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนการแพร่ระบาด

ยอดธุรกรรมบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์ช่วงวันหยุดแรงงานโตขึ้น 70% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนการแพร่ระบาด

ยอดธุรกรรมบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์ช่วงวันหยุดแรงงานโตขึ้น 70% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนการแพร่ระบาด ไทยครองอันดับ “Top Five” ประเทศในเอเชียที่มีปริมาณการทำธุรกรรมบนอาลีเพย์สูงสุด ในช่วงวันหยุดแรงงาน

ในช่วงวันหยุดวันแรงงานปี 2566 ที่ทุกคนนิยมท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 29 เมษายนถึง 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นสามวันแรกของวันหยุดธนาคารจำนวน 5 วันในประเทศจีน การใช้จ่ายโดยรวมของผู้บริโภคชาวจีนที่ใช้แพลตฟอร์มอาลีเพย์ชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวพุ่งสูงขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562 ก่อนสถานการณ์แพร่ระบาด โดยเป็นการใช้จ่ายให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โรงแรม การเดินทาง และร้านอาหาร

เนื่องจากความต้องการเดินทางพุ่งสูงสุดในช่วงวันหยุด ผู้ใช้อาลีเพย์ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น การใช้รถโดยสาร หรือการเช่าจักรยานสาธารณะเพิ่มขึ้นถึง 220% เมื่อเทียบกับปี 2562 นอกจากนี้ จำนวนการค้นหาคำว่า “เช่ารถ” และ “จุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า” ในแอปอาลีเพย์เพิ่มขึ้นถึง 240% และ 300% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2565  

นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแล้ว เมืองต่าง ๆ ในประเทศจีนที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักซึ่งสามารถมอบประสบการณ์แปลกใหม่ไม่เหมือนใครให้นักท่องเที่ยวได้กำลังกลายเป็นที่นิยมในหมู่คนอายุน้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เมืองจือปั๋ว (Zibo) ซึ่งเป็นเมืองชั้นสามในมณฑลซานตงและมีชื่อเสียงเรื่องอาหารปิ้งย่างได้มีเงินสะพัดในช่วงสามวันแรกของวันหยุดวันแรงงานปี 2566 และเมื่อเทียบกับปี 2565 ปริมาณการชำระเงินผ่านอาลีเพย์ในร้านอาหารปิ้งย่างในเมืองจือปั๋วเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นถึง 500% และยังเพิ่มขึ้นถึง 200% สำหรับธุรกิจโรงแรม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เฟื่องฟูยังช่วยสร้างงานใหม่ ๆ โดยบนแพลตฟอร์มอาลีเพย์มีจำนวนการค้นหางานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การมองหางานตำแหน่งผู้จัดการโฮมสเตย์ เพิ่มขึ้นถึง 60%ระหว่างวันที่ 21 – 30 เมษายน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในเดือนมีนาคม

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยการท่องเที่ยวแห่งชาติจีน (China Tourism Academy) คาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนจะมีทริปการเดินทางถึง 240 ล้านทริปในช่วงวันหยุดวันแรงงานปี 2566 โดยตัวเลขสูงกว่าก่อนการแพร่ระบาดในปี 2562[1] วันหยุดวันแรงงานจึงถือเป็นวันหยุดสำคัญในประเทศจีนที่คนจำนวนมากนิยมท่องเที่ยว

ในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวต่างประเทศในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนก็คึกคักเช่นกัน โดยในช่วงวันหยุดปีนี้ การใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ใช้อาลีเพย์ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับปี 2562

ในช่วงวันหยุดวันแรงงานปี 2566 ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียยังคงเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีน โดย ประทศไทย, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, เขตบริหารพิเศษมาเก๊า, ญี่ปุ่น, และเกาหลีติดตำแหน่ง “ Top Five ประเทศในเอเชียที่มีปริมาณการทำธุรกรรมบนอาลีเพย์สูงสุด” ตามมาด้วย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ในอันดับที่หกและเก้าตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ไกลกว่านั้นก็ได้รับความสนใจเช่นกัน เช่น ฝรั่งเศสอยู่ในอันดับที่ 7 และออสเตรเลียในอันดับที่ 8

การใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวจีนในจุดหมายปลายทางยอดนิยมแถบยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงวันหยุดปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2562 การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นชี้ให้เห็นถึงความนิยมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศในยุโรปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีน

หมายเหตุ:

เป็นการรวบรวมข้อมูลจากวันที่ 29 เมษายนถึง 1 พฤษภาคม 2023 ซึ่งเป็นสามวันแรกจากวันหยุดวันแรงงาน 5 วัน เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น

ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศของ Alipay และ AlipayHK ดีดตัวสูงขึ้นในช่วงตรุษจีน ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว

ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศของ Alipay และ AlipayHK ดีดตัวสูงขึ้นในช่วงตรุษจีน ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว

ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศของ Alipay และ AlipayHK ดีดตัวสูงขึ้นในช่วงตรุษจีน ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว

ไทยครองแชมป์อันดับหนึ่งสำหรับ ‘ประเทศที่มีปริมาณการทำธุรกรรมสูงสุด’ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ติดอันดับท็อปด้านการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านบริการ Alipay นอกเหนือจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ในช่วงวันหยุดดังกล่าว
    • ช่วงวันที่ 21-27 มกราคม ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ยาว 7 วันในจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองการเริ่มต้นปีเถาะ Alipay และ AlipayHK ซึ่งเป็นพันธมิตรวอลเล็ทของ Alipay+ รายงานว่าปริมาณการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากจีนผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทาง

การเดินทางในประเทศและระหว่างประเทศของจีนฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมาสำหรับการเริ่มต้นปีเถาะ โดยเห็นได้จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของยอดการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

ในช่วงวันที่ 21 ถึง 26 มกราคม ปริมาณการทำธุรกรรมในต่างประเทศของผู้ใช้ Alipay เพิ่มสูงขึ้นถึง150% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊าเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อพิจารณาจากจำนวนธุรกรรมในช่วงวันหยุดตรุษจีนที่ผ่านมา

ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้ง โดยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 อันดับแรกที่มีปริมาณการทำธุรกรรมสูงสุดโดยผู้ใช้ Alipay ในช่วง 6 วันแรกของเทศกาลตรุษจีน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยไทย ‘ครองแชมป์อันดับหนึ่ง’

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนการทำธุรกรรมผ่าน Alipay จากนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังมาเก๊าเพิ่มขึ้น 100% ขณะที่ธุรกรรมจากนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังฮ่องกงเพิ่มขึ้นเกือบ 70%  ปัจจุบัน Alipay ให้บริการแก่ผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคน และได้ทรานส์ฟอร์มจากการเป็นเครื่องมือการชำระเงินที่เชื่อถือได้มาเป็นโอเพ่นดิจิทัลแพลตฟอร์มในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ไทยเป็นหนึ่งในห้าจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้ใช้ Alipay ในช่วงเวลาดังกล่าว เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเก๊า และมาเลเซีย การชำระเงินข้ามพรมแดนของ Alipay ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ค้ารายย่อย เช่น คนขายของริมถนน และร้านสะดวกซื้อ และยอดใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ร้านค้าปลอดภาษีในประเทศต่าง ๆ

เมื่อวันที่ 8 มกราคม จีนได้ประกาศมาตรการเบื้องต้นเพื่อลดข้อจำกัดการเดินทางระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง โดยยกเลิกข้อกำหนดการกักกันโรคที่บังคับใช้มาเกือบ 3 ปี  วันหยุดนักขัตฤกษ์ช่วงตรุษจีนมีการเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนแผ่นดินใหญ่เริ่มหันมาท่องเที่ยวต่างประเทศอีกครั้ง ส่วนนักเดินทางจากฮ่องกงและมาเก๊าเดินทางกลับไปยังจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อพักผ่อนหรือร่วมงานรวมญาติ

AlipayHK อีวอลเล็ทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฮ่องกง มีผู้ใช้งาน 3.3 ล้านคน รายงานยอดธุรกรรมในจีนแผ่นดินใหญ่และมาเก๊าเพิ่มสูงขึ้นถึง 18 เท่าในช่วงวันที่ 21 ถึง 24 มกราคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนจำนวนผู้ใช้ AlipayHK ที่ทำธุรกรรมในจีนแผ่นดินใหญ่และมาเก๊าเพิ่มขึ้น 15 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้ง Alipay และ AlipayHK เป็นพันธมิตรอีวอลเล็ทของ Alipay+ ผู้ให้บริการโซลูชั่นการชำระเงินและการตลาดดิจิทัลระหว่างประเทศระดับโลกที่ Ant Group เป็นเจ้าของ โดยเชื่อมโยงผู้ค้ากับบริการอีวอลเล็ทและช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย ปัจจุบัน Alipay+ มีพันธมิตรด้านโมบายล์เพย์เมนท์มากกว่า 15 รายทั่วโลก ผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางการชำระเงินในท้องถิ่นตามความต้องการได้อย่างสะดวกสบาย ควบคู่ไปกับการทำธุรกรรมในต่างประเทศได้อย่างราบรื่น และรับสิทธิประโยชน์จากข้อเสนอทางการตลาด และโปรโมชั่นจากผู้ค้าผ่าน Alipay+

AlipayHK อีวอลเล็ทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฮ่องกง มีผู้ใช้งาน 3.3 ล้านคน รายงานยอดธุรกรรมในจีนแผ่นดินใหญ่และมาเก๊าเพิ่มสูงขึ้นถึง 18 เท่าในช่วงวันที่ 21 ถึง 24 มกราคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ส่วนจำนวนผู้ใช้ AlipayHK ที่ทำธุรกรรมในจีนแผ่นดินใหญ่และมาเก๊าเพิ่มขึ้น 15 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ทั้ง Alipay และ AlipayHK เป็นพันธมิตรอีวอลเล็ทของ Alipay+ ผู้ให้บริการโซลูชั่นการชำระเงินและการตลาดดิจิทัลระหว่างประเทศระดับโลกที่ Ant Group เป็นเจ้าของ โดยเชื่อมโยงผู้ค้ากับบริการอีวอลเล็ทและช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย

ปัจจุบัน Alipay+ มีพันธมิตรด้านโมบายล์เพย์เมนท์มากกว่า 15 รายทั่วโลก ผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางการชำระเงินในท้องถิ่นตามความต้องการได้อย่างสะดวกสบาย ควบคู่ไปกับการทำธุรกรรมในต่างประเทศได้อย่างราบรื่น และรับสิทธิประโยชน์จากข้อเสนอทางการตลาด และโปรโมชั่นจากผู้ค้าผ่าน Alipay+