รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570
- ปริมาณการใช้งานดาต้าบนมือถือทั่
วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่ วงสองปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2570 จะมียอดผู้ใช้บริการ 5G สูงถึง 4.4 พันล้านบัญชี - คาดว่าในภูมิภาคเอเชียตะวั
นออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมี ยอดการใช้งานดาต้าต่อสมาร์ ทโฟนเติบโตพุ่งสูงแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี - ในปี 2570 60% ของการใช้ดาต้าบนมือถือทั่
วโลกจะอยู่บนเครือข่าย 5G
- ปริมาณการใช้งานดาต้าบนมือถือทั่
ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564 ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึงหนึ่งพันล้านบัญชี
ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570
ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและคาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570
มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยมีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”
“อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและเรายังมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพให้แก่ประเทศไทย เราพร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก 5G ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี XR/AR การเล่นเกมบนคลาวด์ และช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำเสนอคลื่น 5G ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ในประเทศไทย ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เต็มไปด้วยสมรรถนะของสัญญาณ ความครอบคลุม และความเร็วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ 5G ในประเทศไทย”
คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย
จากไทม์ไลน์ปี 2570 มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่าปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา
การเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล สถิติและการคาดการณ์ล่าสุดยังสะท้อนถึงความต้องการเชื่อมต่อข้อมูลและบริการดิจิทัลอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของภูมิศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็มีผู้คนหลายร้อยล้านคนสมัครใช้งานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือใหม่ทุกปี
รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้หนึ่งในสี่ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลกสามในสี่จะสามารถเข้าถึง 5G ได้
ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดยอีริคสันคาดการณ์ว่า ในปี 2565 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2570 แตะระดับ 230 ล้านจุด
ในส่วนของ Internet of Thing (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด
เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566