คุยกับ Influencer ยังไงไม่ให้ move on เป็นวงกลม”?

สื่อสาร_Influencer

คุยกับ Influencer ยังไงไม่ให้ move on เป็นวงกลม?

เสียงของ Influencer หรือกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ มักจะดังและทรงอิทธิพลเสมอในความรู้สึกของผู้ติดตาม และอยากทำตามคำแนะนำ ไอเดียนั้น ๆ จึงกลายเป็นว่ากระบอกเสียงของ Influencer ที่ดังมาก ๆ ในสายตาผู้บริโภคนี้ เป็นอีกหนึ่ง mechanic สำหรับแบรนด์ในการสร้างการรับรู้ ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภค นี่คือเนื้องานฝั่งประชาสัมพันธ์ จากหลาย ๆ เคสของจริง ยำรวม 3 สเต็ปการดีลงานกับ Influencer มาไว้ให้แล้วในบทความนี้ 

1. แบ่งเซกเมนต์และวาง positioning กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์

ก่อนจะเริ่มต้นบทสนทนา เราอยากให้คุณเริ่มต้นจากการเซกเมนต์และวาง positioning กลุ่ม Influencer เสียก่อน ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณอ่านเกมขาด และเลือก “บทบาท” ของ influencer ที่ตรงโจทย์แผนงานที่วางไว้ แน่นอนว่ายอด reach ยอด engagement คือมาตรวัดอันดับต้นๆ แต่หากลงดีเทลมากไปกว่านั้นจะเห็นความแตกต่าง จุดแข็ง และบทบาทของ Influencer แต่ละประเภท ให้คุณเลือกในแบบที่น่าจะตอบโจทย์งานมากที่สุด

The Many Faces of Influencer

สมมติว่าคุณกำลังตามหา Influencer สายมาร์เกตติ้ง รายชื่อจำนวนหนึ่ง pop-up เข้ามาในหัว นาย A จะทำให้แบรนด์คุณเป็นที่รู้จักในวงการการตลาด นาย B เป็น practitioner ที่เข้าใจ pros & cons ของเครื่องมือและความท้าทายของคนหน้างาน ผู้อ่านเชื่อถือเขาในฐานะผู้ใช้งานจริง ขณะที่นาย C เป็นกูรู ผู้สอน หน้าที่ต่อจากนี้คือการทำการบ้านต่อว่าแต่ละคนถนัดสื่อสารยังไง แบรนด์จะได้และสามารถให้อะไรอีกฝ่าย ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงรูปแบบของงาน ขอบเขตงานที่ Influencer สามารถทำได้ รวมถึงการวัดผลหลังปิดจ็อบงาน

 

2. การศึกษาดูใจ

ต่อไปคือการศึกษาดูใจ ขั้นตอนสำคัญที่ไม่สมควรก้าวข้าม หากอยากสร้าง relationship และประสิทธิผลของงานร่วมกันกับ Influencer ขั้นตอนนี้อาศัยความละเมียดละไมในการศึกษาทำความรู้จัก ความสนใจแบบที่ “กำลังดู ๆ กันอยู่”  และบทสนทนาจะเริ่มต้นจากตรงนั้น

    • จับ sense ความสนใจในประเด็น / กิจกรรม ที่คุณกำลังนำเสนอ
    • แจ้งความต้องการและรายละเอียดกิจกรรม
    • สอบถามขอบเขตและสไตล์การทำงาน ฉายเดี่ยว? หรือ ทีม?
    • สร้างข้อตกลงเรื่องข้อมูลที่สามารถส่งมอบให้ได้หลังกิจกรรมเสร็จสิ้น (กรณีที่เป็นโปรเจกต์เสียตังค์)
    • สุดท้าย..ตกลงเรื่องงบประมาณและเงื่อนไขการชำระค่าใช้จ่าย (กรณีที่เป็นโปรเจกต์เสียตังค์)

เรากำลังพูดถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับ Influencer ซึ่งสามารถไต่ระดับความสัมพันธ์ได้ด้วยการให้เวลาและความสม่ำเสมอ ถามว่าทำไมต้องทำแบบนั้น? เพราะหากสามารถพาความสัมพันธ์ไปถึงจุดที่ลงตัวกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กิจกรรมและการสื่อสารต่างๆ จะเป็นไปอย่างธรรมชาติ ความจริงใจและการคอยสนับสนุนจากแบรนด์ในฐานะแหล่งข้อมูล อินไซต์ต่างๆ จะช่วยให้ Influencer “อิน” ในความเป็นแบรนด์และสื่อสารออกไปได้ตรงจุด ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้า สื่อสารกลับมาหาแบรนด์ให้เข้าใจความต้องการ ฟีดแบ๊กต่าง ๆ จากผู้บริโภค

 

3. กำหนดการวัดผล

ผลลัพธ์ที่ต้องการ? ใช้อะไรวัดผล? บทสนทนาที่ต้องคุยให้เคลียร์ยิ่งกว่าเคลียร์ก่อนเริ่มงาน

อย่างที่ทราบกันดี พลังของ Influencer สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ Influencer ควรรับทราบว่าตัวชี้วัดความสำเร็จของโปรเจกต์นี้คืออะไร เพื่อให้อีกฝ่ายประเมินความเป็นไปได้ของงานตั้งแต่ต้นจนจบ

การวัดผลลัพธ์ระยะสั้น สามารถตรวจสอบได้จาก Performance metrics ซึ่งตัวชี้วัดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของงานนั้นๆ ย่อยคร่าวๆ ไว้ 3 สเตจ ดังนี้

Awareness Stage – กิจกรรมที่สร้าง/กระตุ้นการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์ อาจเป็นการลงบทความ ข่าวประชาสัมพันธ์ หรือนำเสนอคอนเทนต์ใดๆ มักวัดผลโดยใช้ Posts, Reach, Impressions, Reaction จากกลุ่ม audience เป็นหลัก

Consideration Stage – สเตจนี้เป็นการทำกิจกรรมหรือแคมเปญใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าเริ่มมีปฏิสัมพันธ์บางอย่างต่อแบรนด์ โดยสื่อสารอะไรบางอย่างที่มีประโยชน์มากพอที่จะเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้า หรือยินยอมมอบข้อมูลอะไรบางอย่างให้กับแบรนด์ เช่น การดาวน์โหลดรีพอร์ต, การจัด webinar / workshop, การขอทดลองใช้ trial ฯลฯ กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า lead generation ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสื่อสารและตั้งข้อตกลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นก่อนเริ่มงาน ไม่ว่าจะเป็น target segmentation, การ commit lead ฯลฯ ดังนั้น result ของงานมักถูกวัดจากยอด engagement, ยอด clicks ไปจนถึงจำนวนและประเภทบุคคลที่ลงชื่อมา

Lead Generation
ตัวอย่างหน้าเพจลงทะเบียนเข้าร่วม CX Champion webinar ของ Content Shifu ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายด้วยคอนเทนต์ / งานสัมมนา

Conversion Stage – สเตจปิดการขาย สั้นๆ ง่ายๆ ว่าดูที่ยอดสั่งซื้อ (orders) ที่เข้ามาจาก Influencer channel นั้น ๆ เป็นต้นว่าแจกโค้ดเฉพาะสำหรับผู้ติดตาม Influencer เพื่อรับส่วนลด ซึ่งแบรนด์สามารถวัด traffic ลูกค้าที่วิ่งเข้ามาจาก Influencer จากโค้ดหรือลิงค์ UTM ฯลฯ

FAQ_influencer

การทำการบ้าน เรียนรู้ขอบเขตความชอบ ความสนใจ สไตล์งาน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยพัฒนาบทสนทนาในแต่ละครั้ง รวมถึงสนับสนุนการทำงานของคุณและ Influencer ให้เป็นไปอย่างราบรื่น   

Source: traackr, Ourgreenfish, Content Shifu, Freepix 

“ดาต้า” นั้นสำคัญไฉน ในงานประชาสัมพันธ์

ดาต้า_ประชาสัมพันธ์

“ดาต้า” นั้นสำคัญไฉน ในงานประชาสัมพันธ์

ก็เหมือนกับทุกวงการที่ต้องมีดาต้า หรือข้อมูล “ที่ใช่” ไว้ใช้ในการทำงาน งานประชาสัมพันธ์ (PR) นั้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและส่งต่อสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลไปยังสื่อสาธารณะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากจับข้อมูลมานำเสนอได้ถูกจุดย่อมสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับแบรนด์ได้อย่างที่วางแผนไว้

 

ทำการบ้านตั้งแต่ระดับ “คำ/ข้อความ” (Adjust messaging)

ดาต้าที่ได้จากคำค้นหรือการพูดถึงของผู้คนสามารถช่วยนักประชาสัมพันธ์เลือกใช้เมสเสจที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงบริบทการเล่าเรื่อง ทำไมถึงต้องสร้างความเชื่อมโยง? นั่นเพราะรูปแบบและการใช้คำสามารถส่งอิทธิพลกับการสร้าง “react” ของผู้อ่านหรือผู้ฟัง การใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างหายนะให้กับแบรนด์หรือบุคคลนั้น ๆ ได้ในชั่วพริบตา ในมุมของนักประชาสัมพันธ์ จึงมีการทำการบ้านเรื่อง keyword การใช้คำศัพท์เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น การเก็บเกี่ยวข้อมูลจากเครื่องมือจำพวก google trends หรือ social listening tool ก็สามารถจับทางแนวทางของข้อความที่น่าจะดึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ โดยกระบวนการคิดการเลือกใช้คำนั้นต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้คำที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบของสารที่นำเสนอ หรือการเลือกใช้คำให้ตรงกับการคำค้นใน SERP ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการค้นแบบตัวอักษรหรือค้นหาทางเสียง แล้วแต่การใช้งาน รวมถึง CTA ที่อยากให้เกิดขึ้น ก็จะเป็นตัวกำกับคำที่ใช้และรูปแบบการเล่าเรื่อง

 

“ปัง” หรือ “แป๊ก” ให้ดาต้าเป็นตัวบอก (Proof of PR activities)

ดาต้าจะเป็นหนึ่งในเครื่องพิสูจน์ว่าแคมเปญที่จัดนั้น “ปัง” หรือ “แป๊ก” ด้วยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถแสดงผลลัพธ์ที่จับต้องได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัท ConnectWise ได้นำ Onclusive’s media analytics platform แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลด้านสื่อมาใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการมอนิเตอร์ข่าวสารไปจนถึงสามารถทำการบ้านเรื่องนักข่าว ดึงข้อมูลย้อนหลังที่นักข่าวให้ความสนใจและเขียนถึงขึ้นมาใช้ประกอบการ pitch ได้ นอกเหนือไปจากจำนวนพื้นที่สื่อที่สามารถเข้าถึงได้แล้ว การตรวจวัดลงไปถึงระดับ Earned Media Brand Sentiment, Share of Voice, และ Power of Voice ของแบรนด์และคู่แข่ง เป็นอีก factor ที่ปรากฏในรีพอร์ตงานประชาสัมพันธ์มากขึ้น

ดาต้า_ประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างรายงานการแสดงผลค่า Sentiment และ Share of Voice ระหว่างแบรนด์

ร่องรอยดาต้าที่ถูกทิ้งไว้ในโลกโซเชียล (Behavioral insight)

การทำแคมเปญหรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์แต่ละครั้ง ต้องวิเคราะห์ลึกไปถึงพฤติกรรมผู้บริโภคผ่านการเสพคอนเทนต์ในแชนแนลต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยตัดสินใจการลงคอนเทนต์กับสื่อหรืออินฟลูเอนเซอร์นั้น ๆ ปัจจุบันเครื่องมือดิจิทัลฟรีบางประเภทออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกทีมพีอาร์ในการเกาะติดข้อมูลเหล่านี้

ระบบ https://starngage.com/ แสดงข้อมูลผู้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ระบุเรื่องเพศ สัญชาติ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาช่วยประเมินอะไรบางอย่างก่อนไปต่อในการทำกิจกรรมใด ๆ

มีคำกล่าวในแวดวงประชาสัมพันธ์ว่า 65% ของประชาสัมพันธ์ยุคใหม่มองการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นทักษะสำคัญในอนาคต เพราะต่อไปดาต้าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยตัดสินใจที่ทรงพลังสำหรับงานพีอาร์ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนกลยุทธ์, การวัดผล, และการสร้างสรรค์ผลงานอื่น ๆ ปรับปรุงภาพลักษณ์ แบรนด์ และเซอร์วิส อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ถอดรหัสได้จะไม่มีประโยชน์เลยหากขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่ดีจากผู้นำไปใช้ ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่นักประชาสัมพันธ์ควรให้ความสำคัญกับการฝึกสกิลขุดคุ้ยดาต้าและนำไปใช้ต่อให้เป็น