ระบบอัตโนมัติ คือความสำเร็จบนเส้นทางทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กร

Red Hat

ระบบอัตโนมัติ คือความสำเร็จบนเส้นทางทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กร

โดย กวินธร ภู่ตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เร้ดแฮท (ประเทศไทย) จำกัด

ความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบันคือจำเป็นต้องดำเนินงานให้ฉับไวมากขึ้นกว่าในอดีต ใช้ทรัพยากรน้อยลง ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางปี 2563 ซึ่งบุคลากรจำนวนมากต้องทำงานจากบ้านในช่วงที่โควิดแพร่ระบาด ส่งผลให้ฝ่ายไอทีขององค์กรหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานและทบทวนขีดความสามารถในการให้บริการแก่ลูกค้าและการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงสถานการณ์ความไม่แน่นอน  ทางออกของความท้าทายนี้อาจเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้นำมาใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ

ระบบอัตโนมัติทางธุรกิจ: เริ่มต้นที่คำจำกัดความ

คำจำกัดความของระบบอัตโนมัติทางธุรกิจ (Business Automation) กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ได้หันไปให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล ในอดีต องค์กรมักจะเน้นปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นอัตโนมัติ เช่น การจัดเก็บข้อมูล แต่ทุกวันนี้ องค์กรทุกแห่งต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) และจำเป็นต้องนำระบบอัตโนมัติต่าง ๆ มาใช้ เพื่อช่วยทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล  ก่อนหน้านี้ การใช้ระบบอัตโนมัติเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบอัตโนมัติ แต่ปัจจุบัน ควรพิจารณานำระบบอัตโนมัติไปใช้ทางธุรกิจมากขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับกระบวนการทางธุรกิจ แล้วจึงจัดโมเดลเหล่านี้ให้เป็นระบบที่ง่ายต่อการบำรุงรักษาและกระจายการทำงาน

แต่เดิม เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Management: BPM), การจัดการการตัดสินใจ (Decision Management) และการประมวลผลเหตุการณ์ที่ซับซ้อน (Complex Event Processing: CEP) ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายให้กับส่วนงานต่าง ๆ ภายในองค์กร  แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่รองรับการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ให้สอดคล้องกับเครื่องมือและแนวทางการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ จะช่วยให้องค์กรนำเสนอแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

บทบาทของระบบอัตโนมัติ ต่อการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

แม้ว่าความจำเป็นในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะขึ้นอยู่กับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละองค์กร แต่เป็นที่ชัดเจนว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นคือกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในสภาพตลาดปัจจุบัน รายงานผลการศึกษาของไอดีซี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเร้ดแฮท ชี้ว่า บุคลากรฝ่ายไอที 86% ระบุว่า “ระบบอัตโนมัติมีความสำคัญอย่างมากหรือมีความสำคัญสูงสุดต่อกลยุทธ์ด้านคลาวด์ในอนาคตขององค์กร” แนวทางการสร้างระบบอัตโนมัติที่ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรจะต้องรวมถึงการปรับเปลี่ยนวิธีที่บุคลากร กระบวนการ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทำงานร่วมกันด้วย

ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณประโยชน์ของระบบอัตโนมัติก็คือ บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ (Ascend Money) ของไทย ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีลูกค้ากว่า 40 ล้านคนใน 6 ประเทศ  แอสเซนด์ มันนี่เติบโตอย่างรวดเร็วจากการเข้าซื้อกิจการหลายแห่ง และการที่ทีมงานในแต่ละประเทศมีวิธีการพัฒนาและใช้ดิจิทัลแอปพลิเคชั่นแตกต่างกัน ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยการสร้างแพลตฟอร์มกลางสำหรับการพัฒนาและติดตั้งแอปพลิเคชั่น  แอสเซนด์ มันนี่ ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับกระบวนการ และการให้บริการแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บน OpenShift Container Platform ของเร้ดแฮท ซึ่งทำงานอยู่บนเทคโนโลยี Kubernetes container orchestration  นอกจากนี้ Ansible automation ยังช่วยให้แอสเซนด์ มันนี่ สามารถขยายผลิตภัณฑ์และบริการทางธุรกิจได้อย่างง่ายดาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที

ระบบอัตโนมัติขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ

การขยายระบบอัตโนมัติไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้ทำงานแบบแมนนวลน้อยลง  ทีมงานฝ่ายไอทีสามารถนำกระบวนการใหม่ ๆ เช่น DevOps และ DevSecOps ไปใช้ได้ และสามารถพัฒนาและอัพเดตแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ระบบอัตโนมัติยังช่วยเรื่องการบริการตนเองหรือทำงานได้ด้วยตนเองและการมอบหมายงาน ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขใหม่ ๆ เช่น พนักงานจำนวนมากที่ทำงานจากระยะไกล ทำให้เราทุกคนล้วนได้รับแรงกดดันทั้งในเรื่องของทรัพยากรและเวลาที่จำกัด  การมอบหมายงานและการทำงานได้ด้วยตนเองมีความสำคัญมากต่อการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ เหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ทีมไอทีย่อมจะไม่สามารถเขียนโค้ดและสร้างผลิตภัณฑ์ได้หากขาดการตรวจสอบและการควบคุมที่เพียงพอ องค์กรอาจได้รับความเสี่ยงจากช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และทำให้ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรที่มีค่า เวลา และเงินไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรก  ดังนั้น ในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำกับดูแลว่า “ใครได้รับอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง”

 

ก้าวต่อไป: ระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ปัจจุบันระบบอัตโนมัติช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านไอที และเพิ่มความคล่องตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรม  ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ยกระดับขีดความสามารถด้านการคาดการณ์ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย ความผันผวน และความเสี่ยง 

เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้งานสำหรับระบบอัตโนมัติทางธุรกิจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีที่ต้องประเมินแนวทางที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนความคล่องตัวทางธุรกิจ ควรมองหาโซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการนโยบาย การบังคับใช้ และกระบวนการได้ในระดับโดเมน  การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ณ จุดเดียว จะช่วยให้ปรับขยายการทำงานได้ง่าย ควบคู่กับการใช้เวลาที่ลดลง เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับโครงการสำคัญ ๆ ได้มากขึ้น  หากการปรับตัวคือเป้าหมายหลักในปี 2563 ในปี 2564 องค์กรก็ควรยกระดับมาพิจารณานำระบบอัตโนมัติทางธุรกิจมาเป็นส่วนหนึ่งของโรดแมปการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

การขยายธุรกิจร่วมกับพาร์ทเนอร์ในปี 2564 พาร์ทเนอร์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จของเร้ดแฮท

Red Hat

การขยายธุรกิจร่วมกับพาร์ทเนอร์ในปี 2564 พาร์ทเนอร์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จของเร้ดแฮท

เร้ดแฮท
โดย กวินธร ภู่ตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทเร้ดแฮท (ประเทศไทย) จำกัด

จากโพสต์ของพอล คอร์เมียร์ ประธานและซีอีโอของเร้ดแฮท ผมขอกล่าวย้อนอดีตถึงช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของเรา รวมไปถึงทิศทางในอนาคต เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พอลได้อธิบายถึงความสำคัญของพาร์ทเนอร์ต่อเรื่องราวความสำเร็จทางธุรกิจของเร้ดแฮท:

“ช่องทางจัดจำหน่ายคือหัวใจสำคัญของเร้ดแฮท  ถ้าหากไม่มีเครือข่ายพาร์ทเนอร์ เร้ดแฮทก็จะไม่ได้เป็นบริษัทดังวันนี้”

พาร์ทเนอร์เปรียบเสมือนเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างเร้ดแฮทกับลูกค้า ซึ่งเป็นเช่นนี้มาโดยตลอดในเกือบทุกช่วงเวลาของประวัติการดำเนินงานของเร้ดแฮท รวมถึงในช่วงปี 2563 และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปขณะที่เราร่วมกันขยายธุรกิจให้เติบโตในปี 2564  เร้ดแฮทและพาร์ทเนอร์ของเราพิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินงานในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่โดดเด่นอย่างแท้จริงก็คือ แรงขับเคลื่อนที่เกิดจากพาร์ทเนอร์ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยปัญหาท้าทายและความไม่แน่นอน

เมื่อโลกเปลี่ยนไป เร้ดแฮทได้พึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานโอเพ่นซอร์สของเรา รวมถึงเครือข่ายพาร์ทเนอร์ที่กว้างขวาง เพื่อช่วยให้ลูกค้าดำเนินการปรับเปลี่ยนและปรับขนาดธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการใหม่ๆ  องค์กรต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและบริการต่างๆ ภายในเวลาชั่วข้ามคืน และในหลายๆ กรณี จำเป็นต้องเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)  ระบบโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ (Open Hybrid Cloud) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเลือกสำหรับธุรกิจอีกต่อไป แต่เป็นมาตรการที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจ

ด้วยเหตุนี้ พาร์ทเนอร์ของเร้ดแฮทจึงมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการนำพาลูกค้าองค์กรทั่วโลกก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตที่เปิดกว้างและปลอดภัยมากขึ้น  และจากผลงานที่ผ่านมา เร้ดแฮทเชื่อมั่นในศักยภาพของพาร์ทเนอร์ซึ่งจะช่วยผลักดันความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคต

เร้ดแฮท

ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงและมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง  แน่นอนว่าปี 2563 คือช่วงเวลาสำคัญที่เต็มไปด้วยความท้าทาย แต่เร้ดแฮทและพาร์ทเนอร์ของเราก็สามารถฟันฝ่าวิกฤติและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เมื่อปีที่แล้ว เราได้เปิดตัว แพลตฟอร์ม Renewals Intelligence ซึ่งช่วยให้พาร์ทเนอร์ได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจน สามารถนำไปใช้งานในทางปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในส่วนของการต่ออายุสัญญาการใช้บริการร่วมกับเร้ดแฮท  ตั้งแต่ข้อมูลผลการดำเนินงานในอดีตไปจนถึงข้อมูลคาดการณ์เกี่ยวกับการขาย แพลตฟอร์ม Renewals Intelligence ช่วยให้พาร์ทเนอร์ตรวจสอบติดตามโอกาสทางธุรกิจ เพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าที่มีอยู่  ปัจจุบันพาร์ทเนอร์ด้านช่องทางจัดจำหน่ายของเร้ดแฮทกว่า 180 รายกำลังใช้งานแพลตฟอร์ม Renewals Intelligence

ในปี 2563 องค์กรต่างๆ ทั่วโลกกำลังสานต่อหรือปรับเปลี่ยนโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น พาร์ทเนอร์ของเราได้ให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรเหล่านี้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการใช้ Red Hat OpenShift และ  Red Hat Ansible Automation Platform เป็นแพลตฟอร์มสำหรับรองรับเวิร์กโหลดอัตโนมัติที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว โดยครอบคลุมเครือข่ายพาร์ทเนอร์ทั่วโลกของเรา

 

เสริมศักยภาพให้กับพาร์ทเนอร์ด้วยการฝึกอบรมและการรับรองความเชี่ยวชาญ

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้พาร์ทเนอร์ประสบความสำเร็จก็คือ โครงการ Red Hat Online Enablement  Network (OPEN) ของเรา ซึ่งมีการจัดฝึกอบรมในหลากหลายหลักสูตรและการรับรองความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้พาร์ทเนอร์เพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเร้ดแฮท รวมไปถึงเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์

ในปี 2563 เราได้เปิดตัวหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุง 131 หลักสูตร เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับบริการแอพพลิเคชั่น, OpenShift, Ansible Automation Platform และ Quarkus เป็นต้น  นอกจากนี้ เร้ดแฮทยังได้ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้สำหรับระบบการฝึกอบรม Red Hat OPEN โดยเพิ่มเติมฟังก์ชั่นใหม่สำหรับการแชร์ข้อมูล เพื่อให้พาร์ทเนอร์สามารถแชร์ลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และยังมีตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับให้พาร์ทเนอร์ขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรมที่ควรเรียนรู้ โดยอ้างอิงจากหัวข้อที่สนใจเป็นพิเศษ

ที่สำคัญก็คือ เมื่อปีที่แล้ว มีพาร์ทเนอร์ของเร้ดแฮทได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและการขายกว่า 44,000 รายการทั่วโลก

 

อนาคตข้างหน้า

สำหรับปีนี้ เร้ดแฮทมีแผนที่จะกระตุ้นการมีส่วนร่วมในเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของเรา โดยใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นลูกค้า โดยเราจะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อผลักดันความสำเร็จที่ต่อเนื่องของลูกค้า โดยอาศัยเทคโนโลยีของเร้ดแฮทและนวัตกรรมของพาร์ทเนอร์  ด้วยการผสานรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สชั้นนำของเร้ดแฮทเข้ากับทักษะความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พาร์ทเนอร์จะสามารถสร้างโซลูชั่นแบบครบวงจร จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ และนำเสนอบริการที่มอบมูลค่าทางธุรกิจที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้า

พาร์ทเนอร์หลายรายของเราเริ่มต้นจาก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) แล้วต่อด้วย Red Hat OpenShift แต่เราทำงานอย่างจริงจังเพื่อช่วยให้พาร์ทเนอร์ขยายขีดความสามารถให้ครอบคลุมสถาปัตยกรรมโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด และตอนนี้ พาร์ทเนอร์มีโอกาสที่จะขยายผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอ เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทคโนโลยีของเร้ดแฮท นอกเหนือไปจาก RHEL และ OpenShift ซึ่งจะช่วยให้สามารถรองรับการจัดการเวิร์กโหลดในสภาพแวดล้อมคลาวด์หรือระบบที่ติดตั้งภายในองค์กร รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ และอื่นๆ  ขั้นถัดไปเรามีแผนที่จะผลักดันในส่วนของระบบประมวลผลเอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge Computing), บริการ Managed Services และระบบรักษาความปลอดภัย

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราได้ขยายกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลก และยกระดับความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์รายสำคัญที่ทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน  เครือข่ายพาร์ทเนอร์ของเร้ดแฮทครอบคลุมขอบเขตที่กว้างขวาง ตั้งแต่ผู้ให้บริการโซลูชั่นไปจนถึงบริษัทซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และผู้ติดตั้งระบบ (SI) ทั้งยังมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะอีกด้วย  ขณะที่เราก้าวเข้าสู่ปี 2564 ลูกค้าหลายรายกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาไปสู่ไฮบริดคลาวด์ ขณะที่พาร์ทเนอร์ของเรากำลังเสริมสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญในระดับที่สูงขึ้น และเราคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จร่วมกับพาร์ทเนอร์มากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต

การดำเนินการของเราร่วมกับพาร์ทเนอร์มีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดยอาศัยเครื่องมือใหม่ๆ เช่นแพลทฟอร์ม Renewals Intelligence และการขยายการฝึกอบรมหลักสูตร OPEN และเรามีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ครอบคลุมส่วนอื่นๆ ภายในระบบนิเวศน์ของเรา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ISV และ SI มีความพร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมๆ กับเร้ดแฮท ด้วยการสร้าง การจัดจำหน่าย และการให้บริการซัพพอร์ตสำหรับโซลูชั่นต่างๆ ร่วมกันในปี 2564

พร้อมกันนี้ เรามองว่าบริการ Managed Services เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการดำเนินงานบนระบบไฮบริดคลาวด์ และพาร์ทเนอร์ของเร้ดแฮทมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในส่วนนี้  ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะรายสำคัญได้นำเสนอ OpenShift Dedicated ในรูปแบบของบริการที่ได้รับการจัดการอย่างสมบูรณ์สำหรับ Red Hat OpenShift บน AWS, Google Cloud Platform และ Microsoft Azure  ขณะที่เราขยายขอบเขตการนำเสนอเทคโนโลยีโดยอาศัยความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ รวมไปถึงผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ เรามีเป้าหมายที่จะช่วยให้พาร์ทเนอร์และลูกค้าที่ใช้ระบบคลาวด์ใดๆ ก็ตามได้รับประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ เร้ดแฮทยังมีการมอบรางวัล Red Hat ASEAN Partner Synergy Awards ประจำปี 2564 ให้แก่พาร์ทเนอร์ดูแลกลุ่มองค์กรธุรกิจและภาครัฐ เพื่อยกย่องความสำเร็จและความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นโดยใช้เทคโนโลยีของเร้ดแฮท เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและปรับปรุงผลประกอบการทางด้านธุรกิจ สำหรับรางวัลในปีนี้ มีพาร์ทเนอร์ไทยได้รับรางวัลเจ็ดรายในแปดสาขาด้วยกัน คือ

บริษัท จีเอเบิล จำกัด [Advanced Partner of the Year], บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

[Commercial Partner of the Year และ Strategic Products Partner of the Year], บริษัท อินแกรม ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด [Distributor of the Year], บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด [Net New Business Partner of the Year], บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด [OEM Partner of the Year], บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด [Ready Partner of the Year] และ บริษัท วีโนฮาว (ประเทศไทย) จำกัด [Training Partner of the Year] รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัล

เกาะติดเทรนด์บ้าน 2021 “เช่า” มาแรงกว่าซื้อเพราะตอบโจทย์คนยุคนี้จริงหรือ?

DDProperty

เกาะติดเทรนด์บ้าน 2021 “เช่า” มาแรงกว่าซื้อเพราะตอบโจทย์คนยุคนี้จริงหรือ?

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะยังคงชะลอตัว แต่การนำเข้าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคและเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ในอนาคต

ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ 49.4 โดยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากการแพร่ระบาดฯ ระลอกใหม่ แม้ว่าจะยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องมาจากยังไม่มีไทม์ไลน์ที่ชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนทั้งประเทศ ทำให้ผู้บริโภคยังมีความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงชะลอการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นหรือสินค้าที่มีราคาสูงในช่วงนี้ออกไปก่อน

เห็นได้จากผลสำรวจพฤติกรรมการซื้อของคนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ปี 2563 ของวันเดอร์แมน ธอมสัน และแดทเทล พบว่า ความตั้งใจในการซื้อสินค้าที่ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ (High Involvement) เช่น ยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ ของผู้บริโภคลดลงทุกกลุ่มสินค้า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือนมีแนวโน้มที่จะลดหรือหยุดการซื้อสินค้าและบริการออกไป และส่วนใหญ่ไม่มีแนวโน้มจะกลับมาซื้อสินค้าเหล่านี้ภายใน 1 ปี

สอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดจากวันเดอร์แมน ธอมสัน ณ เดือนกันยายน 2563 ที่ได้คาดคะเนพฤติกรรมของผู้บริโภคช่วงหลังการแพร่ระบาดฯ ว่าในอนาคตในระยะสั้น-กลาง (0-1 ปี) ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมไม่ชอบความเสี่ยง และเลือกที่จะถือเงินสดหรือฝากธนาคาร รวมถึงหารายได้เสริมจากช่องทางอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น

 

โควิด-19 ตัวแปรสำคัญ ดันอสังหาฯ ให้เช่าโตต่อเนื่อง 

ภาคอสังหาฯ ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค เนื่องจากบ้าน/คอนโดฯ เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน แม้คนไทยจะมีประสบการณ์ตรงในการรับมือการแพร่ระบาดฯ ในรอบแรก แต่การแพร่ระบาดฯ ระลอกใหม่ที่มาอย่างไม่มีใครคาดคิด ทำให้ทุกคนต้องปรับแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมอีกครั้ง

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เทรนด์การเช่าอสังหาฯ กลับมาเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ทั่วประเทศในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ความสนใจเช่าที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากยอดเข้าชมประกาศที่อยู่อาศัยให้เช่าที่เพิ่มขึ้นถึง 31% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดฯ ระลอกใหม่ ในขณะที่ความสนใจซื้อมีการเติบโตในสัดส่วนเพียง 7% เท่านั้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มประกาศที่อยู่อาศัยให้เช่าบนเว็บไซต์ (Supply) ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้พบว่า เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่ง (52%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 ซึ่งการแพร่ระบาดฯ ยังไม่แพร่หลายในไทย

“ความจำเป็น” ผลักให้ผู้บริโภคเลือกเช่าเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยปัจจัยแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญทำให้ผู้บริโภคยุคนี้หันมาพิจารณาและสนใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัยมากกว่าการซื้อ แม้จะมีโปรโมชั่นสงครามราคาออกมากระตุ้นการซื้อมากมายก็ตาม ดังนี้

  • เศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง กระทบความมั่นคงต่ออาชีพ ผลกระทบทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2562 รวมกับวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดปี 2563 กินระยะเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจปีนี้ยังคงไม่แน่นอน โดยข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ คาดว่าแนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ของปี 2564 จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5%-3.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงจากคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.5%-4.5% เนื่องจากยังมีผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่จะลงทุนและจ้างงานในอนาคต ทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลกับความมั่นคงของอาชีพการงาน จึงให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินของครอบครัวมากขึ้น ปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน เก็บเงินสำรองเพื่อลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพ
  • ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่เอื้อมถึง เนื่องจากความสามารถในการใช้จ่าย (Affordability) ของผูู้บริโภคในปัจจุบันลดลง ทำให้ต้องวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมและให้ความสำคัญกับการมีเงินเก็บมากขึ้น ผู้บริโภคจึงใช้เวลาและความรอบคอบในการพิจารณาซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ มากตามไปด้วย โดยเน้นไปที่ความคุ้มค่าที่ได้รับบวกกับราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะทรัพย์สินที่มีราคาสูง มีการเปรียบเทียบความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่าที่จะได้รับเมื่อเลือกซื้อหรือเช่าบ้าน/คอนโดฯ โดยมีตัวแปรสำคัญ คือ กำลังซื้อที่มีจำกัดในเวลานี้ของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเช่าที่อยู่อาศัยเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการซื้อ นอกจากนี้อสังหาฯ ให้เช่าส่วนใหญ่จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและเฟอร์นิเจอร์พร้อมเข้าอยู่ทันที ช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และไม่จำเป็นต้องมีเงินเป็นค่าบำรุงรักษา หรือเสียภาษีต่าง ๆ เหมือนการมีบ้านเป็นของตัวเอง
  • เลือกเช่าเพื่อลดภาระผูกพันในระยะยาว สร้าง Safe Zone ด้านค่าใช้จ่าย เพราะการเช่ามีภาระผูกพันที่น้อยกว่าการซื้อ ไม่มีสัญญาผูกมัดระยะยาว การเช่าที่อยู่อาศัยเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภควัยเริ่มต้นทำงานที่กำลังเริ่มสร้างฐานะ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่แล้ว เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางส่วน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการเงินเพื่อรองรับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสร้าง Safe Zone ลดความเสี่ยงปัญหาค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ เพราะการมีเงินออมเก็บไว้ถือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคนี้ไม่ควรมองข้าม การเช่าที่อยู่อาศัยจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการผ่อนดาวน์ และสามารถนำเงินเก็บไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นกว่าได้ ป้องกันปัญหาการเงินขาดสภาพคล่องจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและเงินเก็บได้ดียิ่งขึ้น
  • มีความยืดหยุ่นในการโยกย้ายทำเล ได้ทดลองอยู่ก่อนซื้อขาด ปัจจุบันความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) อีกต่อไป เมื่อมีการขยายตัวของเมือง การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้า ทำให้การจ้างงานและแหล่งที่อยู่อาศัยมีการขยายไปในทำเลที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ (New CBD) และแถบชานเมืองมากขึ้น ผู้บริโภคจึงมีทางเลือกในการเช่าที่อยู่อาศัยที่มีราคาเหมาะสมในทำเลที่ไม่แออัด และเดินทางไปทำงานใจกลางเมืองได้สะดวก เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนงานหรือโยกย้ายทำเลก็ทำได้ง่ายกว่า เพราะการเช่าไม่มีสัญญาผูกมัดในระยะยาว และยังมีข้อดีตรงที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้ทดลองอยู่อาศัยในทำเลที่สนใจเพื่อประเมินความพึงพอใจจากสภาพแวดล้อม ความเจริญในพื้นที่ รวมถึงการเดินทาง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในทำเลนั้น ๆ ในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเช่าที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในแต่ละช่วงวัยได้ง่ายขึ้น
  • คนรุ่นใหม่ยังออมเงินหวังซื้อบ้าน แต่คนโสดหันไปเลือกเช่ามากขึ้น การซื้อที่อยู่อาศัยยังคงเป็นหนึ่งในความต้องการอันดับต้น ๆ ของคนรุ่นใหม่อยู่เสมอ ข้อมูลล่าสุดจากผลสำรวจ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า แผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ Gen Y นั้นมากกว่าครึ่ง (59%) ตั้งใจออมเงินเพื่อวางแผนซื้อบ้าน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินชีวิตแล้ว การเลือกเช่าอสังหาฯ ก็ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีสถานภาพโสดเช่นกัน โดย 8% ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสนใจเช่าบ้าน/คอนโดฯ สูงกว่าคนรุ่นใหม่ที่มีสถานะอื่น ๆ การเช่าที่อยู่อาศัยช่วยให้คนโสดที่อยู่ตัวคนเดียว ไม่มีภาระผูกมัดทางครอบครัวมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายมากกว่า เมื่อพิจารณาความเหมาะสมด้านอื่น ๆ แล้วถือว่าเพียงพอกับไลฟ์สไตล์ประจำวัน มีความคุ้มค่า ไม่เป็นการสร้างหนี้เกินกำลังอย่างไม่จำเป็น ตอบโจทย์ความต้องการใช้ชีวิตอิสระของคนโสดได้เป็นอย่างดี

คนชะลอการซื้อแต่ยังไม่พับแผน

แม้การเช่าที่อยู่อาศัยจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายในขณะนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนใหญ่ยังอยากมีบ้านเป็นของตัวเองเมื่อมีความพร้อมมากพอ เนื่องด้วยความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคที่วางแผนซื้อบ้านจะใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้นเพื่อรอดูทิศทางสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาอิทธิพลด้านการเงินและการงาน

ผลสำรวจล่าสุดเผยว่ามีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่ตัดสินใจจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองภายใน 1 ปี ในขณะที่อีก 18% ยังไม่มีแผนการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาอันใกล้ โดยตั้งใจจะซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในช่วงเวลามากกว่า 5 ปีหลังจากนี้ นอกจากนี้ในกลุุ่มผู้บริโภคที่เป็นผู้เช่ายังมีการวางแผนขยับขยายที่อยู่อาศัยในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงและรองรับความต้องการของครอบครัว โดยกว่า 3 ใน 5 (64%) มีเหตุผลสำคัญในการวางแผนซื้อบ้านใหม่ คือ ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองแทนการเช่าในปัจจุบัน ตามมาด้วยต้องการพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สำหรับพ่อแม่และบุตรหลานที่มากขึ้น (46% และ 31% ตามลำดับ)

จะเห็นได้ว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยนั้นยังมีอยู่ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจพับแผนการซื้อแค่เลือกชะลอออกไปก่อน เพื่อเก็บเงินสดไว้กับตัวและรอดูแนวโน้มจากสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่มองหาที่อยู่อาศัยและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น ทั้งนี้เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com/) ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเและเป็นประโยชน์สำหรับผูู้บริโภคที่กำลังมองหาบ้าน/คอนโดฯ ให้เช่า โดยรวบรวมข้อมูลประกาศให้เช่า/ซื้อ (Listings for rent/sale) ที่น่าสนใจมากมายในหลากหลายทำเลครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งมี  “AreaInsider” ที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของแต่ละทำเลครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วยให้ผู้บริโภคศึกษาข้อมูลทำเลที่สนใจได้อย่างง่ายดาย และตัดสินใจเลือกทำเลได้ตรงไลฟ์สไตล์มากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อผู้บริโภคมีความพร้อมในการซื้อที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เครื่องมือคำนวณยอดเงินกู้ที่จะได้รับเมื่อยื่นขอสินเชื่อจากธนาคาร (Affordability calculator) ช่วยประเมินความสามารถในการซื้อเพื่อเป็นข้อมูลล่วงหน้า เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป พร้อมกันนี้ยังสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึก/ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอสังหาฯ ได้โดยตรงเพื่อช่วยให้ตัดสินใจซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

นูทานิคซ์เพิ่มความสามารถในการป้องกัน Ransomware เพื่อมอบความปลอดภัยให้กับระบบไอทีของลูกค้า

นูทานิคซ์เพิ่มความสามารถในการป้องกัน Ransomware เพื่อมอบความปลอดภัยให้กับระบบไอทีของลูกค้า

บริษัทผู้นำด้านไฮบริดและมัลติคลาวด์ตอกย้ำความแข็งแกร่งการให้บริการระบบเครือข่าย สตอเรจ และเวอร์ชวลไลเซชั่น

นูทานิคซ์

Nutanix (นูทานิคซ์) (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไพรเวท ไฮบริด และมัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศเพิ่มการป้องกัน ransomware บนแพลตฟอร์มคลาวด์ของบริษัทฯ รวมถึงการตรวจสอบและการตรวจจับภัยคุกคามแบบใหม่ ตลอดจนการทำสำเนาข้อมูล (data replication) แบบเรียลไทม์ ที่ลงลึกถึงรายละเอียด และการควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีติดตั้งไว้ในนูทานิคซ์สแต็คเรียบร้อยแล้ว  ความสามารถใหม่เหล่านี้สร้างขึ้นบนบริการด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่พรั่งพร้อมของนูทานิคซ์ในการรักษาความปลอดภัยระบบเน็ตเวิร์ก, ระบบสตอเรจแบบไฟล์และแบบอ็อปเจกต์, เวอร์ชวลไลเซชั่น และด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ ช่วยองค์กรปกป้อง, ตรวจจับ และกู้คืนข้อมูลจากการโจมตีของ ransomware ในสภาพแวดล้อมคลาวด์ที่หลากหลาย  การทำงานระยะไกลที่เพิ่มขึ้นทำให้การโจมตีกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากขึ้นทุกวัน ความสามารถเหล่านี้จะช่วยให้การนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยและความต่อเนื่องทางธุรกิจไปใช้ในระดับโครงสร้างพื้นฐาน ได้ง่ายกว่าการพึ่งพาระบบเมทริกซ์ที่ซับซ้อนของผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยที่ติดตั้งเพิ่มเติมขึ้นมาในภายหลัง

รายงานล่าสุดของการ์ทเนอร์ เปิดเผยว่า “เฉพาะในปี 2563 ภัยคุกคามได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กับการทำงานระยะไกลที่เพิ่มขึ้น และภัยคุกคามฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นโควิด-19  ทั้งนี้ ransomware ได้พัฒนาไปไกลเกินกว่าจะเป็นแค่การโจมตีแบบเน้นปริมาณ (commodity) มาเป็นการโจมตีแบบครอบคลุม ที่ประสงค์ให้เกิดการติดไวรัสที่อุปกรณ์ปลายทางเดี่ยว ๆ  เน้นการใช้เทคนิคขั้นสูงเช่นภัยคุกคามแบบไร้ไฟล์ (fileless malware) และการขโมยข้อมูลออกจากระบบ (data exfiltration) ransomware สายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ทำให้การป้องกันและการวางแผนยิ่งทวีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมาเพื่อป้องกันการโจมตีของ ransomware”  องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีผู้ใช้งานระยะไกลจำนวนมาก หรือมีสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด ไม่อาจพึ่งพาปฏิบัติการหรือใช้เครื่องมือเพียงแบบเดียวในการปกป้องตนเองได้อีกต่อไป  พวกเขาจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนจะช่วยให้รับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างดีที่สุด

 

ตรวจจับและกู้คืนจากระบบเครือข่ายและภัยคุกคามข้อมูล

ปัจจุบันแพลตฟอร์มคลาวด์ของนูทานิคซ์นำเสนอการตรวจจับความผิดปกติโดยอาศัยการเรียนรู้ของอุปกรณ์ และบริการ IP reputation ด้วยปฏิบัติการระบบเครือข่ายรักษาความปลอดภัย และโซลูชั่นการตรวจสอบของบริษัทฯ Flow Security Central ซึ่งเป็นฟีเจอร์ของ Nutanix Flow  ทั้งนี้ Flow Security Central จะช่วยระบุถึงวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้ในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่รู้จัก รวมถึง ransomware ที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเน็ตเวิร์กก่อนที่จะเข้าถึงชั้นแอปพลิเคชั่นและชั้นข้อมูลต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ฟีเจอร์ Flow Security Central สามารถตรวจสอบเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อหาความผิดปกติ, พฤติกรรมอันตราย รวมถึงการโจมตีเน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นทุกวัน ทำการค้นหาเป้าหมายต่าง ๆ ที่มีช่องโหว่เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ฟีเจอร์ Flow Security Central ยังตรวจสอบอุปกรณ์ปลายทางเพื่อระบุการรับส่งข้อมูลที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการป้องกันการใช้โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป ที่เป็นเป้าหมายหลักในการเริ่มติดไวรัสและการแพร่กระจายของ ransomware

 

นูทานิคซ์
ภาพ: Flow Security Central

เมื่อมองลึกลงไปถึงชั้นแอปพลิเคชั่น จะเห็นได้ว่าขณะนี้แพลตฟอร์มคลาวด์ของนูทานิคซ์ได้เพิ่มการตรวจจับransomware ไว้สำหรับบริการด้านการจัดเก็บไฟล์ไว้ในโซลูชั่น Nutanix Files อีกด้วย ฟีเจอร์ File analytics ที่อยู่ใน Nutanix Files สามารถตรวจพบรูปแบบการเข้าถึงที่ผิดปกติและน่าสงสัย พร้อมทั้งระบุรูปแบบของ ransomware ที่รู้จัก เพื่อบล็อกการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์  ขณะนี้ฟีเจอร์ Nutanix Files analytics สามารถระบุการแชร์ไฟล์ที่ไม่ได้กำหนดค่าการทำสำเนา และการทำ snapshots อย่างเหมาะสม และจะทำการแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบไอทีถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้แน่ใจว่ามีการทำ snapshots พร้อมให้ใช้งานได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ Nutanix Files ทำให้การ snapshots ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและการลบข้อมูล ซึ่งเป็นวิธีประจำที่แฮ็กเกอร์ใช้ในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ในการส่ง ransomware เข้าโจมตีเป้าหมาย (ransomware payloads) เพื่อสกัดกั้นความพยายามในการกู้คืนข้อมูล  ด้วยความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้ที่บูรณาการรวมอยู่ใน Nutanix Files ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีไม่เพียงแต่จะตรวจจับได้เท่านั้น แต่ยังสามารถกู้คืนข้อมูลจากการโจมตีของ ransomware ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เครื่องมือที่ติดตั้งมาพร้อมสรรพ

 

ปกป้องข้อมูลและแอปพลิเคชั่น

ปัจจุบันแพลตฟอร์มคลาวด์ของนูทานิคซ์ได้รวมฟีเจอร์ใหม่ ๆ ไว้ในโซลูชั่น Nutanix Objects เพื่อเสริมการปกป้องข้อมูลแอปพลิเคชั่นจากการโจมตีของ ransomware ต่าง ๆ  Nutanix Objects กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นในระบบจัดเก็บข้อมูลหลัก (primary storage) และระบบจัดเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage) ที่พิเศษยิ่งขึ้นคือขณะนี้ Nutanix Objects มีความสามารถในการกำหนดค่าการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่อนุญาตให้เขียนซ้ำ (Write Once Read Many – WORM) สำหรับไฟล์และข้อมูลที่ทีมไอทีเลือกไว้ เพื่อช่วยป้องกันการลบหรือการเข้ารหัสข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และขัดขวางการโจมตีจาก ransomware จำนวนมากที่เกิดขึ้นเป็นประจำ  การป้องกันแบบ WORM เหล่านี้สามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ เพียงแค่จัดประเภทข้อมูลภายใต้ “การระงับทางกฎหมาย (legal hold)” เพื่อป้องกันการบุกรุกหรือมุ่งร้ายทำลายให้เสียหาย  นอกจากนี้ฟีเจอร์ของ Objects ในการควบคุมความปลอดภัยยังได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก Cohasset Associates ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่สามารถเขียนซ้ำได้ และไม่สามารถลบทิ้งได้ตามที่ระบุไว้ภายใต้กฎข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC), องค์กรการกำกับดูแลอุตสาหกรรมการเงิน (FINRA) และ คณะกรรมาธิการการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์แห่งสหรัฐอเมริกา (CFTC)

นอกจากนี้ Nutanix Objects ยังให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในระดับที่ลงลึกถึงรายละเอียด เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถรักษาความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมที่มีผู้ใช้หลายคนได้ดีขึ้น  และท้ายที่สุดขณะนี้แพลตฟอร์มนูทานิคซ์ให้การสนับสนุน Microsoft Windows Credential Guard สำหรับใช้งานเวอร์ชวลแมชชีนและเวอร์ชวลเดสก์ท็อปบนอะโครโพลิสไฮเปอร์ไวเซอร์ โดย Credential Guard เพิ่มการป้องกันระบบปฏิบัติการ (OS) จาก malware ที่ใช้วิธีการโจมตีโดยการขโมยข้อมูลสำคัญในระบบ Microsoft OS ซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปที่ผู้โจมตีใช้ในการได้มาซึ่งสิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบ

 

เพื่อให้มั่นใจในความต่อเนื่องของธุรกิจ

ในขณะที่การตรวจจับและการป้องกันเป็นสองสิ่งสำคัญของกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน malware และ ransomware แต่ทุกบริษัทควรมีแผนรองรับเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจจะสามารถดำเนินต่อไปได้เมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น  ขณะนี้ Nutanix Mine ซึ่งเป็นโซลูชั่นสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลสำรองของบริษัทฯ สามารถทำการสำรองข้อมูลโดยตรงไปยัง Nutanix Objects เมื่อมีการใช้ Nutanix Mine ร่วมกับโซลูชั่นจากพันธมิตรเช่น HYCU Inc. หมายความว่าการป้องกัน ransomware ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Objects เช่น ความเสถียรและ WORM จะถูกนำมาปรับใช้ในโซลูชั่นสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลสำรองนี้ด้วย  นอกจากนี้นูทานิคซ์ยังนำคุณสมบัติใหม่ ๆ สำหรับทำงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึง Veeam® Object Immutability ตลอดจนถึงการรับรองจากผู้จำหน่ายโซลูชั่นสำรองข้อมูลชั้นนำต่าง ๆ เพื่อขยายการป้องกัน ransomware ไปยังระบบจัดเก็บข้อมูลสำรองอีกด้วย

นายราจีฟ มิรานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของนูทานิคซ์กล่าวว่า “ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIOs) และผู้บริหารด้านการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ (CISOs) ต่างรู้ดีว่าไม่มีโซลูชั่นใดเพียงหนึ่งเดียวที่จะสามารถป้องกัน ransomware หรือการโจมตีของ malware ประเภทอื่น ๆ ได้ 100% และรูปแบบของการทำงานระยะไกลและแบบไฮบริดผสมผสานในขณะนี้ก็เพิ่มพื้นที่การถูกโจมตีขององค์กรให้มากขึ้น  องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีแนวทางการป้องกันในเชิงลึกเพื่อความปลอดภัย โดยเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตน  อย่างไรก็ตามเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมนั้นจะต้องใช้งานได้ง่ายและช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น  นูทานิคซ์นำเสนอแพลตฟอร์มคลาวด์ที่แข็งแกร่ง พร้อมชุดป้องกัน ransomware ที่เพียบพร้อมยิ่งขึ้นสำหรับให้บริการแล้วในขณะนี้”

ฟีเจอร์ใหม่ท้้งหมดพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าแล้วในขณะนี้  กรุณารับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการที่นูทานิคซ์สามารถช่วยป้องกัน ransomware ได้ที่นี่

แดสสอล์ท ซิสเต็มส์เปิดตัวแพลตฟอร์มการออกแบบใหม่ “3DEXPERIENCE SOLIDWORKS” เพิ่มศักยภาพทำงานร่วมกันให้กับนักประดิษฐ์และเพิ่มโอกาสจ้างงานให้นักเรียน-นักศึกษา

Dassault Systèmes

แดสสอล์ท ซิสเต็มส์เปิดตัวแพลตฟอร์มการออกแบบใหม่ “3DEXPERIENCE SOLIDWORKS” เพิ่มศักยภาพทำงานร่วมกันให้กับนักประดิษฐ์และเพิ่มโอกาสจ้างงานให้นักเรียน-นักศึกษา

    • แพลตฟอร์มใหม่บนคลาวด์เปิดตัวที่งาน 3DEXPERIENCE World 2021 สร้างการเรียนรู้และแนวทางนำเสนองานสร้างสรรค์ผ่านการออกแบบดิจิทัล 3 มิติ งานวิศวกรรมและแอปพลิเคชันการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Makers มอบวิธีการการออกแบบ การแบ่งปัน การเชื่อมโยงและทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ร่วมกับชุมชนระดับโลก Madein3D ให้ชุมชนนักออกแบบดิจิทัลรุ่นใหม่ 
    • 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Student นำเสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะการออกแบบ พร้อมรับรองความสามารถที่อุตสาหกรรมให้การยอมรับ ยกรับความสามารถของนักเรียน-นักศึกษาให้เริ่มอาชีพได้เร็วกว่าเดิม

แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: #13065, DSY.PA) ประกาศเปิดตัว 2 แพลตฟอร์มการออกแบบใหม่ในอนาคต ได้แก่ “3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Makers” และ “3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Student” ภายในงาน 3DEXPERIENCE World 2021 ในรูปแบบเสมือนจริง นำเสนอวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการออกแบบ การทำงานร่วมกัน การแบ่งปันและพัฒนาทักษะสู่ความเป็นเลิศ ช่วยให้นักประดิษฐ์และนักเรียน-นักศึกษาสามารถเข้าถึงเครื่องมือและสภาพแวดล้อมดิจิทัลบนคลาวด์ที่มีศักยภาพที่สุดในโลกเพื่อใช้สำหรับงานด้านการออกแบบ วิศวกรรมและนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน

แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Makers ได้ร่วมศูนย์นักประดิษฐ์  และแนวความคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างการทำงานร่วมกัน โดยนักออกแบบดิจิทัลมือใหม่ยังสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยใช้แอปพลิเคชัน 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS Professional, 3D Creator และ 3D Sculptor พร้อมแชร์โปรเจกต์ส่วนตัวไปยังชุมชนผู้ผลิตระดับโลกอย่าง Madein3D ที่ แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ ดูแลอยู่ โดยชุมชนแห่งนี้มีผู้ผลิตระดับแนวหน้าในวงการออกแบบ รวมถึงนวัตกรที่คอยให้ความช่วยเหลือและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบสมัครเล่นต่าง ๆ

สำหรับแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Students จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน-นักศึกษาและเพิ่มโอกาสการทำงานที่มีการแข่งขันสูงในตลาด ซึ่งจะพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรม การทำงานร่วมกัน การจัดการโปรเจกต์ รวมถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และต่อยอด ที่ล้วนเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการอย่างสูงในอุตสาหกรรม แพลตฟอร์มนี้ยังสามารถใช้งานได้จากทุกที่และมีฟีเจอร์การใช้งานครบครัน อาทิ 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS Student, 3D Designer Student และ Collaborative Business รวมถึงแอปพลิเคชันที่จำเป็นของบรรดานวัตกรในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงชุมชนออนไลน์ระดับโลกที่มีเพื่อนนักออกแบบและเหล่าผู้เชี่ยวชาญแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE พร้อมได้รับรองความสามารถในระดับที่อุตสาหกรรมให้การยอมรับ 2 รายการ

เพื่อเป็นการสนับสนุนการเปิดตัวของ 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Student แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ได้จัดงาน “World Wide Virtual Career Fair” ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างงาน 3DEXPERIENCE World 2021 โดยเชิญนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในอเมริกาเหนือ ยุโรปและญี่ปุ่น มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายแบบตัวต่อตัวกับทีมงานที่มีความสามารถระดับโลกของ แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ พร้อมด้วยลูกค้าของ SOLIDWORKS

มร. จิอัน เปาโล บาสซี่ ประธานบริหาร, โซลิดเวิร์ค, แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “เราเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไปสู่แพลตฟอร์ม จากการความเชื่อมโยงและพัฒนาไปสู่สัมพันธภาพ…3DEXPERIENCE SOLIDWORKS จะพลิกโฉมวิธีการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมของทั้งนักประดิษฐ์และนักเรียน-นักศึกษา พวกเขาสามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการและสร้างความก้าวหน้าในด้านอาชีพได้ตั้งแต่ในช่วงเรียน ขณะที่ผู้ผลิตสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผ่านการแชร์ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และพร้อมให้การช่วยเหลือด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและทำงานร่วมกัน ซึ่งทั้งนักประดิษฐ์และนักเรียน-นักศึกษาต่างได้รับความรู้และวิธีการชั้นเลิศเพื่อสร้างประสบการณ์พลิกเกมธุรกิจ เบนเดสก์ท็อปไปสู่การจัดการโดยแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE”

แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Student จะพร้อมวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม 2564 ส่วนแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE SOLIDWORKS for Makers จะวางจำหน่ายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ที่จะให้ประสบการณ์การซื้อที่ง่ายและสะดวกกว่าเดิมบนแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE

Dassault Systèmes

โซเชียลมีเดีย:

แชร์ข้อความผ่านทาง Twitter:  @Dassault3DS เปิดตัวแพลตฟอร์มออกแบบใหม่ #3DEXPERIENCE SOLIDWORKS เพิ่มศักยภาพงานออกแบบและทักษะการทำงานร่วมกันให้กับผู้ผลิตและนักเรียน-นักศึกษา #3DXE #3DXW21

ติดต่อ แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ ผ่านทาง Twitter Facebook LinkedIn YouTube

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม:

แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE, ซอฟต์แวร์การออกแบบ 3 มิติ, โซลูชั่น 3D Digital Mock Up และ Product Lifecycle Management (PLM) ของ Dassault Systèmes: http://www.3ds.com

แดสสอล์ท ซิสเต็มส์ 3DEXPERIENCE Edu:  https://edu.3ds.com/en

ชมวิดีโอเกี่ยวกับทักษะสำคัญที่เป็นที่ต้องการในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืนคลิก https://edu.3ds.com/en/job/skills

Dassault Systèmes’ 3DEXPERIENCE Lab:  https://3dexperiencelab.3ds.com/en/projects/fablab/3dexperiencer-boston-fablab/