ภารกิจ “ลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาด

อาลีเพย์

ภารกิจ “ลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาด

โดย นี ซิงจุน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของแอนท์ กรุ๊ป ผู้ให้บริการอาลีเพย์

Ni Xingjun CTO Ant Group

การแพร่ระบาดระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าเราคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ขณะที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ และทำให้ปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทที่ปรึกษา McKinsey คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดใกล้จะยุติลงในบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดกลับเลวร้ายลงในประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา โดยมีการรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดในประเทศไทยในช่วงที่ประเทศกำลังจะเตรียมฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ทำให้เศรษฐกิจต้องชะงักอีกครั้ง และทำให้กลุ่มคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ไปอีกนานแค่ไหน

สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนาหลายๆ ประเทศ สถานการณ์ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่นี้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อภาคธุรกิจ สุขภาพจิตของประชาชน และระบบการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาช่องว่างที่เกิดขึ้น ส่งเสริมความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันในประเทศต่างๆ ทั้งนี้การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสรรค์สรรค์คือสิ่งที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายข้างต้น

ในประเทศไทย ประชาชนใช้โมบายแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ลงทะเบียนจองและรับวัคซีน ติดตามสถานะการรับวัคซีนทั้งสองโดส บันทึกผลข้างเคียง รวมถึงออกหลักฐานการรับวัคซีน โดยหมอพร้อมยังใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานในการลงทะเบียนอีกด้วย 

ด้วยความพยายามที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยได้เปิดตัวโครงการต่างๆ เช่น “เราชนะ” เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผ่านแอปเป๋าตัง โดยคาดว่าโครงการนี้จะสามารถเยียวยาประชาชนได้มากถึง 33.5 ล้านคน

แม้วิธีการที่ใช้ช่วยเหลือประชาชนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนามี “ทักษะทางด้านดิจิทัล” เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองหาหนทางใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเราจำเป็นต้องจัดการฝึกอบรมด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียนแล้ว ยังจะช่วยขยายโอกาสให้กับทุกคนในยุคดิจิทัล

รายงานเกี่ยวกับ “อนาคตของการทำงาน” (Future of Jobs) ในปี 2563 สภาเศรษฐกิจโลก พบว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด “คือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม” ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ รายงานประเมินว่าภายในปี 2568 อาจมีการยกเลิกตำแหน่งงานราว 85 ล้านตำแหน่ง และอาจมีตำแหน่งงานใหม่สำหรับบทบาทหน้าที่ใหม่เกิดขึ้นราว 97 ล้านตำแหน่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริธึม

แรงงานไทยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการทำงานในอนาคต สอดคล้องกับรายการเรื่องทักษะดิจิทัลจาก World Economic Forum ในปี 2563 ชี้ว่ามีเพียง 54.9% ของแรงงานไทยที่มีองค์ความรู้ด้านทักษะดิจิทัล และจุดอ่อนคือ “ความไม่พร้อมในการปรับตัวสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคต” ดังนั้นการเทรนนิ่ง การศึกษา และทัศนคติต่อการทำงานในอนาคต เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องส่งเสริมสำหรับแรงงานไทย

ด้วยตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในตลาดแรงงาน International Finance Corporation (ในเครือธนาคารโลก) และอาลีเพย์ (Alipay) จึงร่วมมือกันเปิดตัว โครงการ 10×1000 Tech for Inclusionเมื่อปี 2561 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทรนนิ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี 10,000 คนในช่วงระยะเวลา 10 ปี

ด้วยความหวังว่าบุคลากรเหล่านี้จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรม และการเติบโตให้แก่บริษัทหรือองค์กรที่ตนเองทำงานพร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักดัน และบ่มเพาะบุคลากรรุ่นใหม่ราว 100,000 คนในประเทศบ้านเกิด ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ ให้คำแนะนำ หรือส่งต่อโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้อื่น

กรณีตัวอย่างของโครงการ 10X10,000 คือ Aruna บริษัทสตาร์ทอัพด้านอี-คอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ก่อตั้งบริษัทสองคนได้ผ่านการฝึกอบรมในโครงการดังกล่าว แพลตฟอร์มของพวกเขาสามารถเชื่อมต่อชาวประมงท้องถิ่นกับลูกค้าโดยตรง เพื่อช่วยให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับปลา และบรรเทาปัญหาความยากจน  นอกจากนี้ Aruna ยังได้บ่มเพาะ “ฮีโร่ท้องถิ่น” (Local Hero) ซึ่งหมายถึงเยาวชนในหมู่บ้านชายฝั่งทะเลที่ช่วยให้ความรู้แก่ชาวประมงถึงประโยชน์ของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โครงการนี้ได้จัดการฝึกอบรมในหลักสูตรใหม่ FinTech Foundation Program โดยมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนกว่า 160 คนจาก 17 ประเทศในทวีปเอเชีย ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคจากทั่วโลก ซึ่งสามารถปลูกฝังความคิดในการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และบ่มเพาะความเป็นผู้นำ ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของอุตสาหกรรมอีกด้วย

10x1000

โรซี่ คาห์นนา ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และแปซิฟิกของ IFC กล่าวระหว่างการเปิดหลักสูตร FinTech Foundation Program ว่า “แรงงานในปี 2564 ต้องพบเจอกับช่วงเวลาที่ไม่ปกติ และด้วยเหตุนี้เอง บทบาทหน้าที่ ความรู้ความสามารถ และการทำงานของพวกเขาจึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ประเทศต่างๆ ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก”

การแพร่ระบาดนับเป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องอาศัยการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความมุ่งมั่นทุ่มเทของทุกภาคส่วนเพื่อที่จะเอาชนะวิกฤตในครั้งนี้  ขณะที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ เราจำเป็นต้องมองหาหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่เหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อขจัดปัญหาความยากจน และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

นั่นคือเหตุผลที่เราเชื่อว่าการแก้ไข “ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” ในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาโดยการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต จึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างโลกแห่งอนาคตที่สดใส ยั่งยืน และมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ทุกคน

อินฟอร์แต่งตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

infor

อินฟอร์แต่งตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นายอรัมบูรูพร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์มาเสริมทัพธุรกิจด้าน Software-as-a-Service (Saas) ในภูมิภาคที่ธุรกิจของอินฟอร์เติบโตเร็วที่สุด

อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้งนายเชมา อรัมบูรู ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ)  ทั้งนี้ นายอรัมบูรูจะประจำที่ฮับภูมิภาคของบริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบธุรกิจของอินฟอร์ในอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี อินเดีย และญี่ปุ่น เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จและความพึงพอใจของลูกค้าต่อไป

Infor_อินฟอร์_เชมา
เชมา อรัมบูรู, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, อินฟอร์

นายเควิน ซามูเอลสัน ซีอีโอของอินฟอร์ กล่าวว่า “เชมาเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมไอทีและระบบคลาวด์ พร้อมผลงานในการพลิกโฉมธุรกิจชั้นนำ และสร้างทีมขายที่ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายราย  เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เขามาร่วมเป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เต็มไปด้วยโอกาสและความหลากหลาย  โดยลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผมเคยพบ ต่างกำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยเร่งสร้างนวัตกรรม ความเติบโต และการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจของตน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและซัพพลายเชนที่ต้องมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว เพื่อให้โมเดลธุรกิจของตนสามารถปรับตัวได้ในทุกรูปแบบ  ทั้งนี้โซลูชั่น CloudSuites แบบ multi-tenant ของอินฟอร์ ถูกสร้างขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อรองรับแต่ละอุตสาหกรรม ช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้มากขึ้น สามารถขยายขนาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และบรรลุผลลัพธ์ด้านลูกค้าได้เป็นอย่างดี

นายอรัมบูรูพร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน SaaS ทั่วทั้งภูมิภาค ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านไอทีและระบบคลาวด์กว่า 20 ปี และประสบการณ์การทำงานตำแหน่งผู้นำระดับสูงใน Oracle และ SAP โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นหัวหอกนำระบบคลาวด์มาใช้ทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ)  ล่าสุดเขาเป็นรองประธานฝ่ายขายระดับองค์กรของ Oracle Autonomous Database Cloud ใน APJ  อีกทั้งก่อนหน้านั้นนายอรัมบูรูได้พลิกโฉมธุรกิจ SME ของ SAP เอเชียแปซิฟิก ด้วยการใช้โมเดลทางธุรกิจทำให้เกิดนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน (innovative go-to-market models) ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ขึ้นเป็นทวีคูณอีกด้วย

นายอรัมบูรู กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นผู้นำในภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของเศรษฐกิจโลก และเป็นภูมิภาคที่มีการใช้งานคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน ขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ มองหาการลงทุนด้านระบบดิจิทัล และปรับการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น  เทคโนโลยีและระบบคลาวด์ก็จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สำคัญ  อินฟอร์เป็นเอกทางด้านการนำเสนอบริการและโซลูชั่นที่ออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายหลายหลากที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน  และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยเหลือลูกค้าของเราก้าวไปตามเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้” 

“เครื่องมือในการขับเคลื่อนการเติบโตและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่คือทีมของผม พรสวรรค์ของบุคลากรเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของอินฟอร์ ผมรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและโค้ชให้กับพวกเขา ได้ช่วยพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งทีมงานคุณภาพ ทำให้ลูกค้าของเราเกิดความพึงพอใจทุกครั้งที่ได้ติดต่องาน” นายอรัมบูรู กล่าวปิดท้าย

ในภาวะที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม เทคโนโลยีช่วยนำการปฏิสัมพันธ์กันของคนกลับสู่ธุรกิจอีกครั้ง

ในภาวะที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม เทคโนโลยีช่วยนำการปฏิสัมพันธ์กันของคนกลับสู่ธุรกิจอีกครั้ง

บทความโดยนายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ปี 2563 ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่การห้ามการเดินทางยังคงอยู่ ทำให้การประชุมธุรกิจแบบออนไลน์ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปเช่นกัน  ข้อมูลล่าสุดจากผลสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรของนูทานิคซ์ (Nutanix Enterprise Cloud Index: ECI) พบว่า 68% ขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นตั้งใจจะดำเนินธุรกิจโดยใช้การประชุมผ่านวิดีโอมากขึ้น และจำกัดการเดินทางให้เหลือเท่าที่จำเป็น

โลกใหม่ของการทำธุรกิจลักษณะนี้ได้เปลี่ยนความเชื่อในการทำธุรกิจต่าง ๆ ที่ฝังแน่นมานาน ผู้นำธุรกิจคุ้นเคยกับประสิทธิภาพของการประชุมแบบพบหน้ากันและกันมาหลายทศวรรษ เป็นนัยว่าการพบกันเป็นทางเดียวที่จะสร้างความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเชื่อใจกันได้ เอเชียเป็นภูมิภาคที่เชื่อในแนวทางนี้มากที่สุด ซึ่งรวมถึงความเชื่อที่ว่าการเดินทางทางธุรกิจเป็นวิถีชีวิตปกติ การพบปะพูดคุยกันเป็นเรื่องสำคัญที่จะดึงให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติต่อพันธมิตร รวมถึงการได้พบกันช่วยให้สามารถหาวิธีจัดการกับความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ทางวัฒนธรรมและการทำธุรกิจได้

วัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจขององค์กรไทยก็เช่นกัน ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการคิดว่าการได้พบหน้ากันจะทำให้การเจรจาต่าง ๆ ราบรื่น และในระหว่างพบปะกันก็สามารถสังเกตปฏิกิริยาตอบกลับต่าง ๆ ได้ทันที แต่โควิด-19 ได้เข้ามาเร่งการเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่เคยมีมา ธุรกิจหันมาใช้เครื่องมือการประชุมออนไลน์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต่างแสวงหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์องค์กรของตนมากที่สุด ตัวอย่างของภาครัฐ เช่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้ให้บริการระบบประชุมทางไกลออนไลน์แบบ web conference ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีชื่อว่า GIN Conference (Government Information Network: GIN) ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และได้มีการปรับปรุงระบบเพื่อให้รองรับกับการใช้งานในภาวะเร่งด่วนและรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และจากภาวะวิกฤต
ทำให้ขยายการใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น

 

ปรับตัวสู่โลกใหม่

หากไม่มีการระบาดของโควิด-19 เราจะยังไม่รู้และไม่เข้าใจถึงพลังของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง หากไม่มีเทคโนโลยี โควิด-19 จะต้อนเราเข้ามุมที่โดดเดี่ยวในช่วงเวลาที่ไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แต่เทคโนโลยีช่วยให้เรายังคงติดต่อถึงกัน รักษาและสร้างความสัมพันธ์ใหม่ไว้ได้ 

บริษัทต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างจริงจังเพื่อให้ธุรกิจ “ดำเนินต่อไป” เป็นบริษัทที่มีวิธีคิดที่เต็มไปด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างแท้จริง บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST SEC เป็นบริษัทไทยที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานทั้งหมด มีการวางแผนที่รัดกุมทั้งด้านบุคลากรและเทคโนโลยีที่จะเลือกใช้ บริษัทใช้เวลาในการให้ความรู้ความเข้าใจและปรับวิธีคิดของพนักงาน และศึกษาโซลูชั่นอย่างจริงจังก่อนลงมือปรับเปลี่ยน โดยเริ่มต้นจากโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดปรับเป็นแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ ซึ่งการดำเนินการตามแผนเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ได้ผลลัพธ์เร็วกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าด้วยบริการที่สะดวกรวดเร็วไม่สะดุดแม้ในเวลาอัปเกรดระบบหรือต้องขยายระบบเพื่อรองรับธุรกรรมเร่งด่วนต่าง ๆ

 

ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

บางประเทศได้ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นี้อย่างเต็มที่ ข้อมูลจากผลสำรวจ ECI ของนูทานิคซ์ ทำให้เราได้เห็นว่าบริษัทหลายแห่งให้ความสำคัญกับการจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานจากบ้านอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จาก 46 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วโลก และ 62 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในไทยที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรองรับการทำงานจากระยะไกล การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกิดขึ้นได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ไฮบริดคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถทำให้พนักงานที่ทำงานจากระยะไกลสามารถเข้าถึงเวอร์ชวลแอปพลิเคชั่น เวอร์ชวลเดสก์ท็อป และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 

ปัจจุบัน ผู้นำธุรกิจจำเป็นต้องใช้การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันนี้กับสัมพันธภาพทางธุรกิจต่าง ๆ ภายนอกองค์กรด้วย

เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อผู้บริหารของบริษัทที่แทบจะหาเวลาเข้าร่วมประชุมแบบพบหน้ากันไม่ได้เลย จู่ ๆ ก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ในวาระการประชุมที่ในอดีตผู้บริหารเหล่านี้เคยบอกว่าต้องประชุมแบบพบหน้ากันเท่านั้น และเมื่อพวกเขารู้แน่ในข้อเท็จจริงแล้วว่าไม่สามารถทำการประชุมแบบพบหน้ากันได้อีกต่อไป ผู้บริหารเหล่านี้จึงยอมรับและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากการประชุมแบบเวอร์ชวล ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้มีเวลามากขึ้นเพื่อทำธุรกิจที่เป็นชิ้นเป็นอัน มากกว่านั่งจมอยู่บนท้องถนนกับการจราจรที่ติดขัด หรือรถไฟฟ้าที่แน่นขนัดในเวลาเช้าอันเร่งด่วนเพื่อเดินทางไปร่วมประชุม และเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนการประชุมที่เกี่ยวกับ ‘งานเอกสาร’ ต่าง ๆ ไปเป็นการใช้อีเมล์หรือการส่งข้อความแทน นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถทำธุรกิจกับคนทั่วโลกได้จากบ้านที่มีทั้งความปลอดภัยและสะดวกสบาย

 

ความขัดแย้งที่เห็นชัดเจน เมื่อการเว้นระยะห่างทำให้เกิดความผูกพันมากขึ้น

การทำธุรกิจแบบเวอร์ชวล ยังมีสิ่งดีงามที่ฉายออกมา นั่นคือ เทคโนโลยีช่วยให้เราทุกคนได้รับเชิญให้เข้ามาในบ้านของเพื่อนร่วมงานอย่างไม่ตั้งใจ และได้เห็นเด็ก ๆ สัตว์เลี้ยงของคนที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเรา เดินเข้าออกผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ได้อย่างจริงใจ และบนพื้นฐานของประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะได้แบ่งปันกันได้มากกว่าสิ่งที่เราแสดงออกต่อกันในการพบปะทางธุรกิจอย่างเป็นทางการในระยะเวลาสั้น ๆ

นอกจากนี้ การที่ทุกคนทำงานจากระยะไกล ทำให้เราต่างเผชิญกับการที่ต้องพยายามศึกษาและใช้งานการประชุมผ่านวิดีโอหรือการโทรศัพท์แบบกลุ่ม ในขณะที่ในอดีตห้องประชุมห้องหนึ่ง ๆ มักเต็มไปด้วยผู้เข้าประชุม และมีสปีกเกอร์โฟนตั้งอยู่กลางโต๊ะ อาจมีวิดีโอฉายอยู่บนหน้าจอขนาดใหญ่ แล้วเชื่อมต่อการประชุมในห้องนี้ไปยังพนักงานหนึ่งหรือสองคนที่ทำงานจากระยะไกล ปัจจุบัน ความท้าทายของพนักงานที่ทำงานจากระยะไกลคือความท้าทายของทุกคน นั่นคือ การสร้างพื้นฐานที่ใช้ร่วมกันที่เอื้อให้สร้างการปฏิสัมพันธ์ทางธุรกิจรูปแบบใหม่ได้ นอกจากนี้เมื่อทุกคนอยู่ไกลกันและมักสื่อสารกันแบบไม่ต้องโต้ตอบทันที จึงสามารถใช้เครื่องมือในการแปลภาษาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมในงานต่าง ๆ ไปได้ทั่วภูมิภาค

การระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราทุกคนมีประสบการณ์แล้วว่าการระบาดครั้งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบของสังคมทุกอณูไปแล้ว แต่นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ผู้บริหารต้องหยุดติดต่อกับพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตร ในทางตรงกันข้าม การที่ผู้บริหารได้นั่งประจำที่อยู่แห่งเดียว และมีตารางงานที่คาดการณ์ได้มากกว่า ช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถจัดการงานได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หาผู้อื่นแบบตัวต่อตัวได้มากขึ้น ช่วยให้ได้พูดคุยกับทีมงานที่ทำงานภาคสนามมากขึ้น และช่วยให้มีการประชุมออนไลน์กับพันธมิตรจำนวนมากเกินกว่าที่จะทำได้หากต้องเดินทางไปประชุมแบบพบหน้ากัน ความสามารถในการมารวมตัวกันแม้จะมีระยะห่างและมีความท้าท้ายต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมปรับตัว ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์เรา การที่เราทุกคนยอมรับความยืดหยุ่นที่เพิ่งค้นพบนี้ และสร้างวิธีการที่ดีขึ้นในการทำธุรกิจในอนาคตอันใกล้เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง

ระบบเครือข่ายซัพพลายเชนด้านการเงินช่วยซัพพลายเออร์ บรรเทาภาระ และรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี

infor

ระบบเครือข่ายซัพพลายเชนด้านการเงินช่วยซัพพลายเออร์ บรรเทาภาระ และรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี

บทความโดย นายแคส เบรนท์เจนส์ รองประธานฝ่ายขายผลิตภัณฑ์อินฟอร์ เน็กซ์ซัส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

Infor_อินฟอร์_แคส

สภาวะความผันผวนที่ยังคงสั่นคลอนระบบซัพพลายเชนทั่วโลก กดดันให้ผู้นำธุรกิจต้องคิดถึงแนวทางในการจัดการเอกสาร ข้อมูล และเงินทุนที่ขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกใหม่อีกครั้ง

บรรดาผู้ค้าปลีกและบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสารเคมีเฉพาะ แรงงาน และการขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ที่ผู้บริหารด้านการเงินต่างก็รับรู้ได้ถึงผลกระทบต่อกำไรเบื้องต้นของบริษัท

หลายบริษัทกำลังพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า และอีกหลายบริษัทก็กำลังพยายามต่อรองกับซัพพลายเออร์ของตน  ดังนั้นการปรับการดำเนินธุรกิจนำระบบดิจิทัลมาใช้ให้มากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสมากมายชดเชยกับต้นทุนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้ และในบางกรณียังช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจได้อีกด้วย

 

ผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ขนส่ง

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเกิดอุปสรรคมากมายในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก

ค่าใช้จ่ายของบริษัทขนส่งที่พุ่งทะยานโดยมีความหวังเพียงน้อยนิดว่าจะดีขึ้น  กอปรกับความต้องการตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูง ความแออัดของท่าเรือขนส่ง ตลอดจนความล่าช้าและการหยุดชะงักต่าง ๆ ที่ได้รับรายงานยาวเหยียด ล้วนแล้วแต่เพิ่มแรงกดดันต่อต้นทุนในการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสิ้น

หลักฐานที่ชัดเจนของเรื่องนี้คือการที่เรือเอเวอร์กิฟเว่น (Ever Given) ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 20,000 ตู้ เกยตื้นในคลองสุเอซเมื่อวันที่ 23 มีนาคม กีดขวางการจราจรในคลอง และทำให้การขนส่งสินค้าทางทะเลต้องหยุดชะงักในจุดที่มีการสัญจรทางน้ำที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากเบี้ยประกันในการโหลดสินค้าขึ้นเรือก่อน ได้ซ้ำเติมให้ปัญหานี้รุนแรงยิ่งขึ้น จากข้อมูลของ S&P Platts ผู้ให้บริการข้อมูลด้านพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และแหล่งที่มาของราคาอ้างอิง ระบุว่าเบี้ยประกันเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับคอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,000 – 3,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ 

Photo by Julius Silver from Pexels

การมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์สร้างโอกาสได้

แพลตฟอร์มซัพพลายเชนแบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้ให้บริการ เช่น ธนาคารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เช่น

    • การชดเชยต้นทุนการสรรหาซัพพลายเออร์ใหม่ ด้วยการปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมให้เป็นดิจิทัล ลดการใช้พอร์ทัลส่งข้อมูลระหว่างสองอุปกรณ์ (point-to-point portal) ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม (เช่น เอเย่นต์) หรือค่าธรรมเนียมธนาคารที่ไม่จำเป็น
  •  
    • การแบ่งเบาภาระต้นทุนผ่านการจัดการด้านการเงินในระบบซัพพลายเชนแบบดิจิทัล  เมื่อต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ซัพพลายเออร์จึงจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนจึงกลายเป็นต้นทุนสินค้าที่ขายซึ่งโปรแกรมการเงินด้านซัพพลายเชนที่ขับเคลื่อนโดยผู้ซื้อจะช่วยแบ่งเบาภาระดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพด้านเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้เข้าร่วมซัพพลายเชนได้สูงสุด

ผู้ที่สามารถนำการปรับเปลี่ยนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อกับซัพพลายเออร์ให้เป็นดิจิทัล จะสามารถลดต้นทุนของสินค้าที่ขาย รวมถึงการปรับปรุงอัตรากำไร และเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยมีผลสำเร็จที่พิสูจน์แล้วดังนี้

    • ทำให้การประมวลผลใบแจ้งหนี้แบบไร้สัมผัสมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากกว่า 98%  
    • กู้คืนข้อมูลการขอเงินค่าสินค้าคืนได้ถึง 100%
    • ปรับปรุงระยะเวลานับตั้งแต่วันจ่ายชําระหนี้ค่าสินค้า ถึงวันรับชําระเงินสดจากการขายสินค้าดีขึ้น 10-30% ซึ่งจะช่วยให้การหมุนเวียนเงินสดดีขึ้น
    • ช่วยให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถึง 3 เท่า โดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากรภายใน (การสรรหาซัพพลายเออร์ใหม่และการจัดการบัญชีเจ้าหนี้)

 

การคิดใหม่เรื่องเอกสาร ข้อมูลและเงินทุน

นายเดวิด ลาฟิตต์ กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Deckers Outdoor Corp ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์แบรนด์ UGG, Teva และ Sanuk กล่าวว่า “เมื่อคุณมีคำสั่งซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปมาบ่อยครั้ง คุณก็จะจบลงด้วยการได้รับอีเมลที่ยาวเหยียด พร้อมรายชื่อผู้รับอีเมลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  หากคุณไม่มีระบบศูนย์กลาง ที่เป็นระบบคลาวด์พอร์ทัลสำหรับสื่อสารกับผู้ขายอื่น ๆ คุณจะต้องเสียเวลามหาศาลในการกระทบยอดใบแจ้งหนี้  แต่สำหรับบริษัทเราใช้เจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวในการตรวจสอบใบแจ้งหนี้จำนวนมาก และใช้เวลาเพียง 30 นาทีต่อวันเท่านั้น  บริษัทฯ ใช้เวลาวันทำงานเพียงเล็กน้อยในการจัดการบัญชีเจ้าหนี้โดยมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 1%”

Infor_อินฟอร์_supply chain 2
Photo by Karolina Grabowska from Pexels

ล่าสุดแฟรงค์ เวทเตอร์ ผู้ดูแลด้านการเงินของพูม่า ได้อธิบายถึงวิธีที่พูม่าซึ่งเป็นผู้นำด้านสนีกเกอร์จัดการกับการขยายเวลาชำระเงินของผู้ค้าปลีกรายย่อยในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19  โดยพูม่าได้จัดเตรียมหาเงินทุนของบุคคลที่สามให้กับซัพพลายเออร์ของตน (ตามเครดิตที่มีกับพูม่า) แทนการยอมรับผลกระทบจากการชำระล่าช้าไว้เอง หรือผลักภาระความล่าช้านี้ให้กับซัพพลายเออร์ ช่วยให้พูม่าถือเงินสดไว้ในมือได้นานขึ้น และสามารถชำระเงินซัพพลายเออร์ได้ก่อนกำหนด  ทั้งนี้ซัพพลายเออร์ไม่จำเป็นต้องหาเงินทุนที่ดอกเบี้ยแพงสำหรับตลาดท้องถิ่น โดยต้องผูกติดกับเครดิตของตน  การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล   ซัพพลายเชนของพูม่าที่เชื่อมโยงข้อมูล สต็อคสินค้า และเงินทุนทั่วระบบซัพพลายเชน ได้ช่วยให้ความยากลำบากที่เกิดจากการแพร่ระบาดบรรเทาเบาบางลงได้ 

ผู้ค้าปลีกหลายรายกำลังมองหากลยุทธ์ในการควบคุมต้นทุนด้านซัพพลายเชนของตนมากขึ้น หรือช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในการจัดหาเงินทุนสำหรับซื้อวัตถุดิบ เพื่อลดการพึ่งพาตัวแทน และปรับแบรนด์ของตนให้เติบโตได้ ในตัวอย่างที่ยกมานี้ เริ่มต้นจากความสามารถในการดำเนินการจัดการคำสั่งซื้อ พาร์ทเนอร์คู่ค้า สินค้าคงคลัง และเงินทุน  ซึ่งเครือข่ายซัพพลายเชนแบบหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยกัน จะเป็นระบบสำคัญต่อภารกิจในการดำเนินงาน หากปราศจากซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตจะต้องสาละวนอยู่กับการวิ่งไล่ตามคำสั่งซื้อและสต็อคสินค้าคงคลัง รวมถึงต้องคอยป้องกันทั้งเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และผลกำไรที่ค่อย ๆ ลดน้อยลงอีกด้วย

เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพลิกฟื้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ให้อยู่รอดหลังการแพร่ระบาดอย่างไร

เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพลิกฟื้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ให้อยู่รอดหลังการแพร่ระบาดอย่างไร

กลยุทธ์ดิจิทัลไม่เพียงช่วยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้ไปต่อ แต่ยังช่วยให้เติบโตต่อไปแม้ยังมีการแพร่ระบาด

โดย เชอรี่ หวง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความร่วมมือกับผู้ค้าทั่วโลกของอาลีเพย์ ประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาลีเพย์_Alipay

เราไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของอาหารที่นอกจากจะทำให้เราอิ่มท้องแล้ว ยังช่วยให้เรารู้สึกสบายใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของ Social distancing ที่ไม่ว่าจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่คุณสั่งมาตอนเที่ยง การตั้งโต๊ะกินชาบูกับเพื่อนๆ หรือการลิ้มลองครัวซองต์แสนอร่อยจากร้านเบเกอรี่ใกล้บ้านช่วงที่คุณต้อง WFH นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว รสชาติที่คุ้นเคยยังช่วยให้คุณผ่อนคลาย เสริมสร้างกำลังใจในยามที่โลกกำลังมองหาหนทางในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

ในความเป็นจริง ธุรกิจบริการด้านอาหารกำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายย่อยที่มีความเปราะบาง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ขณะที่การแพร่ระบาดส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร

แนวโน้มสำคัญที่เราพบเห็นคือ ผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ในเอเชีย ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกแง่มุมของชีวิตประจำวัน  ข้อมูลจาก Deloitte ชี้ว่า ผู้ใหญ่วัย 21-40 ปีเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์ (Digital Life) อย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดย 78% ระบุว่าใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาด

สำหรับธุรกิจ F&B แบบเดิม ๆ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในเอเชีย แพลตฟอร์มบริการส่งอาหาร Fly-Food ในไทย ได้นำเสนอโซลูชั่นภายใต้ความร่วมมือกับอาลีเพย์ (Alipay) เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในไทย โดยมุ่งเน้นบริการส่งอาหารจีนให้กับชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

ตั้งแต่ต้นปี 2563 แพลตฟอร์ม Fly-Food ที่มีฐานธุรกิจหลักอยู่ในไทย มุ่งเน้นการให้บริการแก่ชาวจีนที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัวมินิโปรแกรมบน Alipay โดยบริษัทฯ คาดการณ์ว่าน่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้ชาวจีนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก และอาหารท้องถิ่นของจีนน่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการบรรเทาจิตใจชาวจีนให้หายคิดถึงบ้านเกิดได้

การดำเนินการที่รวดเร็วของธุรกิจสตาร์ทอัพรายนี้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่า แม้สถานการณ์แพร่ระบาดจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบัน Fly-food มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยสูงถึง 700 รายการต่อวัน และมีร้านอาหารเข้าร่วมแพลตฟอร์มมากขึ้น โดย 40 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหารทั้งหมด (ประมาณ 1,500 ร้าน) เข้าร่วมแพลตฟอร์มหลังเกิดการแพร่ระบาด และหลายร้านมีรายได้ที่มากกว่าครึ่งมาจากออเดอร์ที่สั่งผ่าน Fly-Food เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าในการกำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิทัล ธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก

แนวคิดที่ว่า “ทำเลคือสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ” ยังคงเป็นความจริงแม้กระทั่งในยุคดิจิทัล กล่าวคือ ธุรกิจจำเป็นที่ต้องอยู่ในจุดที่ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก โดยนอกจากจะมีหน้าร้านบนระบบดิจิทัลแล้ว ยังต้องทำประชาสัมพันธ์ และทำให้ลูกค้าสามารถค้นหาธุรกิจของคุณได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะผ่านแอพส่งอาหาร แพลตฟอร์มบริการดิจิทัลไลฟ์ หรือเว็บไซต์ของคุณเอง

ตัวอย่างเช่น ทรูมันนี่ (TrueMoney) บริการดิจิทัลวอลเล็ท ได้เปิดตัวฟีเจอร์ “ร้านค้าใกล้คุณ” ในช่วงการแพร่ระบาด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาร้านค้าในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงร้านอาหารข้างทางและร้านสาขา ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารโดยไม่ต้องเดินทางไกล  ขณะเดียวกันฟีเจอร์นี้ก็มีประโยชน์ต่อร้านค้า เพราะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เทรนด์การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเริ่มก่อตัวขึ้นในธุรกิจ F&B เห็นได้จากธุรกิจที่มีหน้าร้านตามปกติก็เริ่มหันไปใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขายสินค้าในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรกำนัลสำหรับรับประทานอาหาร เพื่อดึงดูดนักช้อปออนไลน์ให้เข้ามารับประทานอาหารที่ร้านในแบบออฟไลน์

ปัจจุบัน ผู้บริโภคใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และมองหาหนทางในการลดการสัมผัส โดยหันไปใช้บริการที่ไว้ใจได้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง  ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน  ความสามารถในการจองผ่านระบบออนไลน์ การชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล เครือข่ายการจัดส่งสินค้าที่มีความคล่องตัวสูง ทั้งหมดนี้คือแง่มุมสำคัญในการพิจารณาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางด้านดิจิทัล ควบคู่กับการดำเนินงานที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ

รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังแก่ธุรกิจในแต่ละประเทศ เช่น สำหรับงบประมาณปี 2564 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศแผนการจัดสรรงบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับโครงการใหม่ ๆ รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนสนับสนุนบางส่วนแก่องค์กรต่าง ๆ ในการปรับใช้โซลูชั่นดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โครงการ Hawkers Go Digital ของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ได้รับการตอบรับที่ดี โดยจากตัวเลขการลงทะเบียนจนถึงเดือนสิงหาคม 2563 พบว่าเกือบหนึ่งในสามของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยราว 18,000 รายทั่วประเทศสิงคโปร์ได้เข้าร่วมโครงการนี้

แพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วโลกสามารถร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี เพื่อมองหาหนทางใหม่ ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจท้องถิ่นเพื่อการเข้าถึงลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งอาหาร การสั่งซื้อทางออนไลน์แล้วไปรับสินค้าที่ร้าน การสำรองที่นั่ง หรือการเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการส่งเสริมการขายและการทำตลาด  ด้วยการทำงานและผนึกกำลังร่วมกัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ ธุรกิจ F&B จะสามารถฟันฝ่าวิกฤติและสร้างอนาคตใหม่ที่สดใสได้อย่างแน่นอน