ทำไมสถาปัตยกรรมแบบ multi-tenant จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง

infor

ทำไมสถาปัตยกรรมแบบ multi-tenant จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

องค์กรธุรกิจที่ตัดสินใจย้ายการทำงานไปยังระบบคลาวด์ มีทางเลือกที่เป็นโซลูชันตามรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันสองประเภท คือ แบบ Single-Tenant (ST) ที่รองรับผู้ใช้งานรายเดียวรูปแบบเดียว ซึ่งไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการใช้งานโซลูชันภายในองค์กรบนเทคโนโลยีของคนอื่น (ที่เรียกว่า โฮสต์ติ้ง) หรือแบบ Multi-Tenant (MT) ที่รองรับผู้ใช้งานหลายรายในหลากหลายรูปแบบ และสร้างขึ้นบนเทคโนโลยีคลาวด์ที่แท้จริงที่สามารถปรับขนาดการใช้งานเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก

การตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบใดไม่ว่า ST หรือ MT เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ควรพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ  การพิจารณาเพียงอย่างเดียวว่าจะเลือกพับลิคหรือไพรเวทคลาวด์ หรือไม่ก็อาจคาดว่าไพรเวทคลาวด์ปลอดภัยกว่า  แนวความคิดเช่นนี้อาจทำให้องค์กรเริ่มต้นเส้นทางปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในทิศทางที่ผิด จนนำไปสู่ความล้มเหลว  ประโยชน์เบื้องต้นจำนวนมากที่จะได้รับจากการใช้ MT cloud จะช่วยให้ผู้บริหารด้านไอทีและเพื่อนร่วมงานเข้าใจว่า เพราะเหตุใด MT cloud จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง

ระบบคลาวด์สำคัญอย่างไร

แนวทางการดำเนินงานที่องค์กรเลือกนั้นถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโซลูชันที่เลือกจะกำหนดพารามิเตอร์ในการอัปเกรด และชี้ให้เห็นความสามารถในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กร  หากองค์กรตัดสินใจผิดพลาดอาจส่งผลให้สูญเสียทรัพยากร รวมถึงเวลาและความพยายามของทีมที่ทุ่มเทไป  การที่องค์กรเปลี่ยนไปใช้โซลูชันแบบ ST อาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้ทีมไอทีต้องรับผิดชอบมากขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการนำความสามารถขั้นสูงที่ต้องใช้กับเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้งาน  น่าเสียดายที่องค์กรบางแห่งไม่ทราบถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในการย้ายไปใช้ ST จนถึงวันที่ต้องประสบกับปัญหาที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่าองค์กรกำลังย้ายปัญหาเดิม ๆ ที่มีอยู่ไปยังฮาร์ดแวร์ใหม่ในจุดที่ที่พวกเขาไม่เข้าใจและไม่สามารถเข้าถึงได้

ยึดโยงอยู่กับปัญหาเดิม ๆ หรือขจัดให้หมดไป

หนึ่งในเหตุผลที่น่าสนใจที่สุดว่าเพราะเหตุใดการเลือกใช้โซลูชันแบบ ST และ MT จึงสำคัญ คือ การอัปเกรดจะเป็นโอกาสให้องค์กรได้คิดค้นสิ่งใหม่ นำกระบวนการใหม่ ๆ มาใช้งาน จนกลายเป็นความคล่องตัวอย่างแท้จริง  ทั้งยังเป็นโอกาสให้องค์กรบอกลาการปรับเปลี่ยนที่มากจนเกินไป จนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการอัปเกรดและการนำกลยุทธ์ใหม่ ๆ มาใช้ในอนาคต  การย้ายโซลูชันดั้งเดิมขององค์กรไปยังคลาวด์จะทำให้ความไร้ประสิทธิภาพแบบเดิม ๆ หายไปและเกิดสิ่งใหม่แทนที่

ความแตกต่างของ Single tenant (ST) และ Multi-tenant (MT)

สถาปัตยกรรมแบบ Single tenant ลูกค้าแต่ละรายจะได้ใช้ซอฟต์แวร์ในโครงสร้างพื้นฐานเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากเหมือนกับที่ติดตั้งไว้ในองค์กร ช่วยให้องค์กรควบคุมการทำงานได้มากขึ้น แต่ก็ต้องลงแรงและลงทุนมากขึ้นเช่นกัน  องค์กรสามารถย้ายระบบดั้งเดิมทั้งหมด ที่มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนติดไปด้วยไปไว้บนคลาวด์  โดยที่จะยังคงสามารถดูแลฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม เช่น การรักษาความปลอดภัยและการสำรองข้อมูล หรือมอบความรับผิดชอบเหล่านั้นให้กับผู้ให้บริการโฮสต์โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาโซลูชัน

สภาพแวดล้อมแบบ multi-tenancy ช่วยให้ลูกค้าจำนวนมากสามารถใช้แอปพลิเคชันภายในสภาพ แวดล้อมการทำงานเดียวกันบนฮาร์ดแวร์และทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน  ซึ่งโมเดลแบบแชร์ค่าใช้จ่ายนี้จะช่วยลดต้นทุน ทำให้องค์กรได้ประโยชน์ในการดำเนินงานจากการใช้กระบวนการ การบำรุงรักษา และการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน  โซลูชัน MT ใช้ความสามารถในการปรับขยายและการตั้งค่าที่สามารถอัปเกรดให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ในขณะที่โซลูชันแบบที่ต้องปรับแต่งเองไม่สามารถทำได้

ความแตกต่างระหว่าง single tenant กับ multi-tenant ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของจำนวนบริษัทที่อยู่บนคลาวด์เหล่านี้เท่านั้น ความรับผิดชอบต่องานส่วนต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่ได้ก็แตกต่างกันด้วย

ข้อดีของการใช้ multi-tenant (MT)

ความสามารถที่ล้ำหน้า ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลาวด์ขนาดใหญ่ พร้อมความสามารถขั้นสูงต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoTs), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ฯลฯ

Platform as a Service สถาปัตยกรรมแบบ MT มีเครื่องมือแบบ no code/low code ดังนั้น ผู้ใช้ทางธุรกิจจึงสามารถสร้างรายงาน ปรับแต่งแบบฟอร์ม และอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการเขียนโค้ด

เครื่องมือสำหรับผู้ใช้งาน โซลูชัน MT สมัยใหม่มีเครื่องมือรองรับการปรับขยาย ปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบจากการแก้ไขที่ยุ่งยาก

โซลูชันคุณภาพสูงและล้ำสมัย  มั่นใจได้ในคุณภาพของโซลูชัน เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้งานกับ MT จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบและการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด

เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานแนวปฏิบัติดีที่สุดในอุตสาหกรรมจะถูกนำมาติดตั้งไว้เบ็ดเสร็จในโซลูชัน เช่น เวิร์กโฟลว์ประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากผู้ใช้งานรุ่นแรก ๆ 

เลี่ยงความยุ่งยากในการปรับแก้ – ไม่ต้องกังวลกับการอัปเกรด และวิธีปรับเปลี่ยนแก้ไขใด ๆ อีกต่อไป พราะเป้าหมายในการ “ไม่ต้องปรับแก้” จะช่วยให้ทีมจดจ่อไปที่ความสำเร็จใหม่ ๆ แทนที่จะยึดติดอยู่กับวิธีการเดิม ๆ ที่คุ้นเคย

เปลี่ยนเป็นดิจิทัล การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันต้องอาศัยคุณประโยชน์ต่าง ๆ จากคลาวด์แบบ MT ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดทำกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการระยะยาว  การใช้ multi-tenant ทำให้วิสัยทัศน์ในด้านนี้เป็นจริงขึ้นมาได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยได้รับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยและการโจมตีรูปแบบใหม่ ๆ อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ

สำรองข้อมูลและทำสำเนาข้อมูลเต็มรูปแบบอย่างอัตโนมัติ ในโซลูชันคลาวด์แบบ MT การสำรองข้อมูลอัตโนมัติจะดำเนินการแบบ full redundancy ในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักอย่างเฉียบพลันเนื่องจากพายุหรือภัยพิบัติ

ตอบสนองความต้องการใช้งานสูงสุด   โซลูชันคลาวด์แบบ MT ปรับขนาดการทำงานได้ง่ายเพื่อรองรับช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้งานสูงสุด

อัปเกรดอย่างต่อเนื่อง ทันสมัยอยู่เสมอด้วยการอัปเดตทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องเสี่ยงกับความล้าหลังอีกต่อไป

ควบคุมค่าใช้จ่าย ช่วยประหยัดทรัพยากรต่าง ๆ เช่น พนักงาน การรักษาความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุด รวมถึงพื้นที่สำหรับสำรองข้อมูลและการทำสำเนาข้อมูลเต็มรูปแบบ

คล่องตัว – ปรับกำลังความสามารถตามความจำเป็นเมื่อมีการควบรวมกิจการหรือขยายสาขา มีการอัปเดทอยู่สม่ำเสมอ ทำให้องค์กรขยายไปยังภูมิภาคใหม่ ๆ ได้โดยไม่ยุ่งยาก

นวัตกรรมทีมไอทีไม่ต้องใช้เวลากับการบำรุงรักษา จึงหันมาให้ความสำคัญกับงานด้านกลยุทธ์และการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น

บทสรุป

ในขณะที่ธุรกิจทั่วโลกในทุกอุตสาหกรรมพยายามอัปเกรดและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้ทันสมัยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ล้วนตระหนักถึงข้อดีในการปรับใช้คลาวด์  อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยน ไปใช้โซลูชันบนคลาวด์เป็นเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น  เพราะการปรับใช้คลาวด์แบบ multi-tenant ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ทำให้การประมวลผลบนคลาวด์เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความคล่องตัว ความปลอดภัย และฟังก์ชันการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขั้นสูง

On-demand office วิถีการทำงานแห่งอนาคต ที่เริ่มส่งสัญญาณมาจากอุตสาหกรรมบันเทิง

On-demand office วิถีการทำงานแห่งอนาคต ที่เริ่มส่งสัญญาณมาจากอุตสาหกรรมบันเทิง

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

หลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแวดวงเกมและสื่อ เช่น การเปลี่ยนจากฮาร์ดแวร์และเกมคอนโซลที่มีขนาดใหญ่ ไปเป็นการใช้ซอฟต์แวร์และการส่งเนื้อหาผ่านคลาวด์ ปัจจุบันมีผู้คนมากกว่า 400 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นใช้บริการสตรีมวิดีโอและสตรีมมิ่งอื่น ๆ เช่น Netflix

ระบบดิจิทัลแบบ on-demand จะมอบประสบการณ์ที่ผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับความบันเทิงที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา แทนที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์หรือศูนย์การค้าเพื่อความบันเทิงหรือเล่นเกมที่ต้องการ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสำคัญหลายประการ ความสามารถในการเสพเนื้อหาต่าง ๆ ที่พบได้เป็นเรื่องปกติ ทำให้ระบบการจัดจำหน่ายและการบริการแบบเก่าล้าสมัย เช่น การให้บริการภาพยนตร์ในห้องพักของโรงแรม ทั้งยังเปลี่ยนความคาดหวังต่าง ๆ ของเราด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดจำหน่ายหรือให้บริการจากต้นทางที่ทำกันมานาน และส่งผลให้อุตสาหกรรมทั้งหมดต้องปรับตัวหรือไม่ก็ต้องเผชิญกับผลกระทบอย่างรุนแรง

ในโลกของการทำธุรกิจ เราเห็นวิวัฒนาการทางความคิดที่คล้าย ๆ กัน เกี่ยวกับสถานที่และวิธีการทำงานที่เหมาะสม แม้ว่า remote work หรือการทำงานจากระยะไกล ซึ่งเดิมเรียกกันว่า telecommuting หรือการทำงานโดยใช้การสื่อสารโทรคมนาคมช่วยโดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังสำนักงาน จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีหลัก จนกระทั่งเกิดการระบาดของโควิด-19 เรื่องนี้จึงอยู่ในความสนใจของผู้บริหาร พนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ และบริษัทต่าง ๆ ที่มีแนวคิดก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม หลังจากความเร่งรีบนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ผ่านไป ก็ถึงเวลาที่อุตสาหกรรมทั้งหลาย ธุรกิจ และผู้นำทางเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวต่อรูปแบบการทำงานในอนาคต

เราอาจเรียกการเปลี่ยนลักษณะการจัดการงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนี้ว่า ‘on-demand office’ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนลักษณะของการทำงานจากเดิมที่ต้องอยู่ ณ สถานที่ตั้งหนึ่ง ๆ ไปเป็นกิจกรรมที่สามารถทำเมื่อไรก็ได้ และเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการปรับกระบวนการต่าง ๆ ของตน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ธุรกิจบันเทิงกำลังลุยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายมากขึ้น และมอบกรอบการทำงานในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นแก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ 

เพียงแค่มีหน้าจอและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถสตรีมวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันเราพบความยืดหยุ่นในทำนองเดียวกันนี้ในรูปแบบของเวอร์ชวล เช่น การจัดเตรียมการทำงานแบบเวอร์ชวล การทำงานร่วมกันและการปฏิบัติงานแบบเวอร์ชวลที่คล่องตัว ได้กลายเป็นมาตรฐานปกติไปแล้ว โดยมีต้นแบบจากรูปแบบต่าง ๆ ที่อุตสาหกรรมบันเทิงเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าอนาคตของการทำงานจะเป็นอย่างไร และเรายังสามารถคาดหวังได้เช่นเดียวกับความคาดหวังของธุรกิจในภาคบันเทิง ว่าผลของการเปลี่ยนแปลงนี้จะขยายไปไกลกว่าเรื่องของการพิจารณาเกี่ยวกับพื้นที่สำนักงานและชั่วโมงการทำงาน

ความต้องการความสะดวก ฉับไว และความยืดหยุ่น เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนความคาดหวังของทุกคน เราเคยชินกับโลกที่ทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาหาเรามากกว่าต้องเป็นฝ่ายออกไปหาสิ่งเหล่านั้น อีกเพียงไม่นานความต้องการและความเคยชินเหล่านี้จะเข้ามาสู่โลกของการทำงานอย่างแน่นอน และพนักงานเริ่มคาดหวังการจัดรูปแบบการทำงานให้เป็นเวอร์ชวล สำหรับคนรุ่นที่เกิดมาในยุคดิจิทัล การที่ต้องออกไปชมภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์ให้ทันเวลาที่หนังเริ่มฉาย ดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ล้าสมัยอย่างสิ้นเชิง และเมื่อคนรุ่นดิจิทัลเริ่มเข้ามาอยู่ในสถานที่ทำงาน ความคาดหวังของพวกเขาเกี่ยวกับระบบไอทีในองค์กร เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เทคโนโลยีจะเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานรูปแบบใหม่นี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดก็ตาม บริษัทต่าง ๆ ที่สามารถนำคุณประโยชน์ของการทำงานจากที่ใดก็ได้และคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ที่คุ้มค่าได้จากนวัตกรรมและการเติบโตที่รวดเร็วมากขึ้นเราสามารถจินตนาการได้เลยว่าคนที่มีความสามารถรุ่นต่อไปจะประเมินนายจ้างในอนาคตโดยพิจารณาจากความรอบรู้และเชี่ยวชาญด้านเทคนิค รวมถึงความสามารถในการปรับระบบการทำงานให้ทันกับความคาดหวังที่ทันสมัยของคนรุ่นใหม่ได้มากน้อยเพียงใด

ในปีที่ผ่านมา แม้แต่อุตสาหกรรมเก่าแก่ที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนานที่สุด เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และบริการด้านการเงิน ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานจากระยะไกลได้ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรมเหล่านี้

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้แอปพลิเคชันจากระยะไกล ทำให้เกิดข้อจำกัดกับบริษัทหลายแห่ง เช่น โตโยต้าไม่อนุญาตให้พนักงานทำงานจากภายนอกสำนักงาน เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดอย่างน่าทึ่ง และเกิดการประเมินความยืดหยุ่นที่เทคโนโลยีมีให้ใหม่อีกครั้ง ในที่สุดโตโยต้าได้ตัดสินใจใช้ Nutanix cloud platform เป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลเดสก์ท็อปเพื่อสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และก็ได้ตระหนักถึงแนวทางการทำงานแบบใหม่ แนวทางการทำงานแบบเวอร์ชวลเป็นหลักนี้ได้ช่วยให้การบริหารจัดการไอทีทำได้ง่าย และสนับสนุนให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการเลิกใช้กระดาษเขียนแบบ และสามารถดูโมเดลการออกแบบสามมิติได้พร้อมกัน ทำให้การปรึกษาหารือต่าง ๆ เป็นไปอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับธุรกิจบริการด้านการเงิน Suncorp New Zealand หนึ่งในกลุ่มบริการด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทุ่มเทความพยายามเป็นสองเท่าในการพัฒนาบุคลากรให้มีการใช้เทคโนโลยี และประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่การทำงานจากระยะไกลเต็มรูปแบบระหว่างการล็อกดาวน์ในปี 2563 การทำงานของอุตสาหกรรมประกันภัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และก็ยังไม่เคยมีพนักงานขายประกันทำงานจากบ้าน แต่โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (Virtual Desktop Infrastructure: VDI) ช่วยทลายอุปสรรคนี้และทำให้เป็นไปได้ ด้วยการมีระบบรักษาความปลอดภัยติดตั้งมาในตัวเรียบร้อย จึงช่วยให้มีความยืดหยุ่นและไม่ต้องกังวลใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนกลยุทธ์ระยะยาวด้านการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมผ่านระบบดิจิทัลเป็นหลักของบริษัทประกันอีกด้วย

พนักงานจะได้รับประโยชน์จาก VDI หรือโซลูชันอื่น ๆ เช่น Desktop as a Service (DaaS) อย่างแน่นอน ในส่วนของบริษัท โซลูชันต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะกระตุ้นความสนใจและรักษาผู้มีความสามารถที่เหมาะสมที่สุดไว้ได้ คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถมีความต้องการรูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลจากที่ใดก็ได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ผลการศึกษาโดย LinkedIn Talent Solutions พบว่า คนกลุ่มนี้ไม่สนใจทำงานกับบริษัทที่ไม่มีข้อเสนอในการทำงานจากระยะไกลหลังการระบาดของโควิด-19 จำนวนผู้ค้นหางานทั่วโลกใช้ตัวกรองว่า “remote” บน LinkedIn เพิ่มขึ้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2563 นอกจากนี้ในเอเชียแปซิฟิก แอปพลิเคชันสำหรับงานจากระยะไกลก็กำลังเติบโตเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ เองก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถได้ในวงกว้างมากขึ้นด้วยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่น้อยลง

รูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้จะเป็นหัวใจของวิธีการทำงานของทีมและบริษัทในยุคสถานที่ทำงานแบบออนดีมานด์ (on-demand office) การทำงานจากระยะไกลยังคงอยู่ไปอีกนาน บริษัทต่าง ๆ ที่ไม่ได้นำโซลูชันใดโซลูชันหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น VDI, DaaS หรือโซลูชันการทำงานจากระยะไกลอื่น ๆ ไปใช้อย่างจริงจัง จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานน้อยกว่าคู่แข่งที่รุดหน้ากว่า และจะไม่สามารถว่าจ้างพนักงานที่มีความสามารถที่เหมาะสมได้ การเปลี่ยนไปใช้ ‘on-demand office’ จะเป็นกุญแจสำคัญ ในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคตในทุกด้าน นับจากการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ ไปจนถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ*”

ซีเมนส์

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ*”

* ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นในปี 2021 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”

    • งาน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ” ใช้เทคโนโลยีด้านอาคารอัจฉริยะจากซีเมนส์ซึ่งถูกขับเคลื่อนและรวมไว้บนแพลตฟอร์มการบริการ IoT ภาคอุตสาหกรรม MindSphere 
    • อาคารมากกว่า 130 แห่งจะเชื่อมต่อและสื่อสารกันผ่าน Siemens Navigator แพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร
    • อาคารต่าง ๆ ในสามโซนหลัก (Thematic Districts) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะ Desigo CC โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายครอบคลุมในด้านความยั่งยืน ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการรักษา ความปลอดภัย

เป็นเวลากว่า 170 ปีที่งาน World Expo ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะสานต่อความยิ่งใหญ่ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจากทั่วทุกมุมโลก ซีเมนส์ได้มีส่วนร่วมในงาน World Expo ตั้งแต่การจัดแสดงโทรเลขไฟฟ้าแบบเข็ม (Pointer Telegraph) ในงานครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1851 และในงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ครั้งนี้ ซีเมนส์ได้แสดงนวัตกรรมต้นแบบ (Blueprint) สำหรับเมืองอัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการจัดการงาน World Expo 2020 Dubai

งานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จะเป็นหนึ่งในงานเอ็กซ์โปที่มีการเชื่อมต่อที่เน้นเรื่องความยั่งยืนหรือนวัตกรรมสีเขียวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในงานที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีทางอาคารของซีเมนส์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก อาทิ ดิจิทัลโซลูชั่นเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อ ตรวจสอบ และควบคุมอาคารผ่าน MindSphere ระบบปฏิบัติการบนคลาวด์สำหรับ IoT ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและปฏิบัติงานได้อย่างชาญฉลาด โดยเทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยของผู้ร่วมชมงานและควบคุมดูแลรักษาระบบความปลอดภัย

ซีเมนส์ เป็นพาร์ทเนอร์ระดับพรีเมียร์ของงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นดิจิทัลโดยการนำระบบการจัดการอาคารดิจิทัล Desigo CC มาติดตั้งใช้งานทั่วทั้งงาน โดยครอบคลุมในแต่ละโซนการจัดงาน (ได้แก่ โซน Mobility โซน Opportunity และโซน Sustainability) รวมถึงศูนย์การจัดแสดงนวัตกรรมของประเทศต่าง ๆ และ Dubai Exhibition Centre โดยระบบจะใช้เซนเซอร์และการวิเคราะห์หลากหลายเพื่อตรวจสอบและควบคุมฟังก์ชันของอาคาร อาทิเช่น ระบบปรับอากาศ การใช้พลังงาน การควบคุมความสว่าง ลิฟต์ คุณภาพอากาศและระบบส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัย

ข้อมูลจากระบบเหล่านี้จะถูกนำมาจัดการและประมวลโดยศูนย์บัญชาการและควบคุมในแต่ละโซนการจัดงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน พร้อมอำนวยความสะดวกและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ผู้ร่วมงาน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกป้อนเข้าสู่ Siemens Navigator แพลตฟอร์มศูนย์กลางการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อเชื่อมต่อกับอาคารต่าง ๆ มากกว่า 130 แห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวซึ่งถือเป็นหนึ่งในการติดตั้งระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อให้ผู้ให้บริการต่าง ๆ สามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดและนำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบการใช้พลังงานระหว่างการจัดงานเอ็กซ์โปในครั้งนี้ ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์ม MindSphere ที่้ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในงาน ข้อมูลจากเซนเซอร์ เกตเวย์ ระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งเชื่อมต่อกันจะถูกวิเคราะห์และแสดงผลให้ผู้จัดงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกรวมไว้ในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของงานเอ็กซ์โปโดยมีระบบย่อยมากกว่า 20 ระบบ อาทิ ระบบการควบคุมการเข้า-ออกอาคาร ระบบการจัดการอาคาร และระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งจะถูกรวมไว้ในแพลตฟอร์มที่ป้อนคำสั่งและควบคุมจากส่วนกลาง ทำให้ผู้ดูแลทราบถึงสถานการณ์ภาพรวมและทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะที่ใช้ในงาน World Expo 2020 Dubai เป็นตัวอย่างการใช้งานจริงของหลากหลายโซลูชันเมืองอัจฉริยะที่ถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างเมืองที่มีความยั่งยืน และให้ความสะดวกสบายกับผู้อยู่อาศัย โดยสามารถนำมาต่อยอดหรือเป็นนวัตกรรมต้นแบบสำหรับการวางแผนงานเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย”

ซีเมนส์มีประสบการณ์ในด้านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของสถานที่สำคัญให้เป็นดิจิทัลมาอย่างยาวนานทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ท่าอากาศยานนานชาติดูไบ โรงละครโอเปราดูไบ และมัสยิด Sheikh Zayed ของอาบูดาบี ที่เลือกใช้เทคโนโลยีจากซีเมนส์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

มาเลเซียเลือกอีริคสันให้เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อนำประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

Ericsson_อีริคสัน

มาเลเซียเลือกอีริคสันให้เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อนำประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

    • อีริคสันเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Digital Nasional Berhad (DNB) ในกรอบเวลา 10 ปีเพื่อพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วประเทศมาเลเซีย
    • 5G จะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและอุตสาหกรรมของมาเลเซีย
    • อีริคสันนำเสนอโซลูชั5G แบบต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-to-End) ซึ่งประกอบไปด้วยโครงข่ายหลัก (Core), โครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (RAN) และการขนส่ง การดำเนินงานและระบบสนับสนุนธุรกิจ (OSS/BSS) และการบริหารจัดการเครือข่าย

ประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ จะได้รับประโยชน์จากสัญญาร่วมมือด้าน 5G เป็นระยะเวลา 10 ปี ระหว่างอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) และหน่วยงานดิจิทัลแห่งชาติของมาเลเซีย Digital Nasional Berhad (DNB) เพื่อขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีไร้สายยุคถัดไปของประเทศมาเลเซีย

ความเร็ว ความหน่วงต่ำและความสามารถในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลให้กับประเทศ ในขณะที่การสร้างระบบนิเวศ 5G จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงเทคโนโลยีโลกเสมือนต่าง ๆ อาทิ Augmented Reality (AR) หรือ Virtual Reality (VR) และระบบอัตโนมัติทั่วทั้งองค์กร อุตสาหกรรม และการใช้งาน Internet of Things (IoT) ในหลายภาคส่วน

ด้วยการนำสมรรถนะของ 5G มาใช้และเร่งติดตั้งเครือข่ายและระบบนิเวศ 5G ทั่วประเทศมาเลเซียจะทำให้ DNB จัดสรรการเข้าถึงและบริการแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รวมถึงผู้ที่ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการในรูปแบบอื่นจากภาครัฐ เพื่อทำให้ได้รับประสบการณ์ 5G ระดับโลกและทำให้อุตสาหกรรม 4.0 เป็นจริงในมาเลเซีย

มร. ราล์ฟ มาร์แชล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ DNB กล่าวว่า “DNB มุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีที่สุดแก่ประชาชนชาวมาเลเซีย ธุรกิจและรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่ามาเลเซียจะอยู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก เราเจาะจงให้อีริคสันนำเสนอเทคโนโลยี 5G อันล้ำยุคที่ดีที่สุดและบริการระดับมืออาชีพที่พร้อมใช้งานตรงกับความต้องการของ DNB ที่มีความเฉพาะเจาะจงและไม่เหมือนใคร”

การมีส่วนร่วมของอีริคสันในโครงการ 5G ระดับชาติจะทำให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การสร้างงาน การเป็นพันธมิตรกับประชากรกลุ่มภูมิบุตร (ชาวมลายูดั้งเดิม) และผู้รับเหมาท้องถิ่นอื่นและผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ไปจนถึงการสร้างองค์ความรู้และประสิทธิภาพในประเทศมาเลเซีย

มร. เดวิด เฮเกอร์บรอ ประธานกรรมการ บริษัทอีริคสัน (มาเลเซีย ศรีลังกาและบังกลาเทศ) กล่าวว่า “5G เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเปิดนวัตกรรมและกลายเป็นหลักสำคัญที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นเรื่องน่ายินดีกับความมุ่งมั่นในการเร่งนำ 5G มาใช้ทั่วประเทศ แก้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลให้กับประเทศ 5G จะเป็นตัวส่งเสริมความตั้งใจของรัฐบาลในการสนับสนุนชาวมาเลเซียให้เป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชันและการใช้งาน 5G“

“ด้วยระยะเวลาและการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศมาเลเซียมายาวนานถึง 56 ปี เราตื่นเต้นที่จะได้ขยายความมุ่งมั่นของเรามาสู่ประเทศนี้ อีริคสันมั่นใจด้วยความเป็นผู้นำ 5G ระดับโลกและความสามารถในการปรับใช้ที่แข็งแกร่ง จะทำให้เราทำได้ตามเป้าหมายของ DNB” มร. เดวิดกล่าวเพิ่มเติม

ความร่วมมือระหว่าง DNB และอีริคสันครั้งนี้ครอบคลุมไปถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์และและโซลูชันระบบวิทยุของอีริคสัน (Ericsson Radio System) ที่ประหยัดพลังงาน รวมไปถึงระบบการจัดสรรช่วงคลื่นความถี่ Ericsson Spectrum Sharing ที่เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งาน 5G ในขอบเขตที่กว้างใหญ่

นอกจากนั้นความร่วมมือนี้ยังรวมถึงโครงข่าย 5G หลักแบบคลาวด์ (Cloud-native 5G Core) และโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ 5G (RAN) อีริคสันจะบริหารความต้องการเฉพาะสำหรับของเครือข่ายด้วยการบริหารจัดการเครือข่ายชั้นนำด้วย Ericsson Operations Engine โซลูชันดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่าย DNB โดยใช้ AI ระบบอัตโนมัติและ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ Cognitive Software เพื่อคาดการณ์และป้องกันปัญหา

สิ่งที่อีริคสันจัดหาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำยังรวมถึงโซลูชันระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (OSS) และระบบสนับสนุนธุรกิจ (BSS)

DNB ได้รับมอบหมายในการนำประเทศมาเลเซียให้บรรลุแรงปณิธานด้านดิจิทัลตามแผนพิมพ์เขียวเศรษฐกิจดิจิทัลมาเลเซีย หรือ MyDIGITAL ของรัฐบาลซึ่งจะเปลี่ยนโฉมประเทศไปสู่การขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล เป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป็นผู้นำในด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ความปลอดภัยในไซเบอร์และเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

DNB ยังคงสนับสนุนความทันสมัยของเครือข่ายมือถือของประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งในแผนปรับโครงสร้างดิจิทัลแห่งชาติ Jalinan Digital Negara (Jendela) เพื่อให้ชาวมาเลเซียทุกคนได้รับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ

ในระยะเริ่มต้น DNB มุ่งหมายที่จะเปิดตัวเครือข่าย 5G แรกของมาเลเซียในกัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายาและไซเบอร์จายา ธุรกิจของอีริคสันและการนำประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาปรับใช้ในมาเลเซียเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บรรลุเป้าหมายของ DNB ที่กำหนดให้มีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศภายในปี 2567

อีริคสันคือผู้นำ 5G ระดับโลกด้วย 97 เครือข่าย 5G ที่เปิดให้บริการแล้วใน 46 ประเทศทั่วโลก

“เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น” อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน

DDProperty

"เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น" อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน

ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อด้านสาธารณสุขแล้วยังฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้จะมีการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากร พร้อมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุดก็ตาม เห็นได้จากรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด (World Economic Outlook) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และเวียดนาม) ว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 4.3% ลดลง 0.6% จากการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว

นอกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและภายในประเทศจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ภาคอสังหาฯ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน แม้มีความต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในช่วงนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคในอาเซียน (สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) จากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) เผยว่าคะแนนความพึงพอใจต่อบรรยากาศตลาดที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอาเซียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 อันเป็นผลมาจากโควิด-19 กลายพันธุ์ที่กระจายเร็วและส่งผลรุนแรง โดยคะแนนความพึงพอใจในรอบล่าสุดของชาวอินโดนีเซียลดลงจาก 73% มาอยู่ที่ 69% ส่วนชาวสิงคโปร์ลดลงจาก 48% เหลือเพียง 41% ด้านชาวไทยลดลงจาก 48% เหลือ 43% มีเพียงชาวมาเลเซียที่ให้คะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 46% อันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการมากมายเพื่อควบคุมการเก็งกำไรและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ มีเพียงผู้บริโภคในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันมีความเหมาะสม (41% และ 45% ตามลำดับ) ในขณะที่ชาวอินโดนีเซีย (44%) และชาวไทย (39%) มองว่าการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีอัตราดอกเบี้ยสูง โดยแค่ 19% ของผู้บริโภคไทยคิดว่าอัตราดอกเบี้ยสมเหตุสมผลแล้ว ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคในประเทศอื่นในอาเซียน

สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่คนอยากมีบ้านต้องเผชิญซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ ที่จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ให้กลับมาดังเดิม

จับตากำลังซื้อชาวมิลเลนเนียล หันลงทุนสร้างความมั่นคงก่อนมีบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เจาะลึกมุมมองความต้องการที่อยู่อาศัยและการวางแผนการเงินของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลหรือ Gen Y ในแถบอาเซียนที่อยู่ในช่วงวัยทำงานและเริ่มซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในตลาดอสังหาฯ ท่ามกลางความท้าทายและอุปสรรครอบด้าน ทั้งจากโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้

     ●  หนี้ครัวเรือนฉุดชาวไทยไม่พร้อมย้ายออก สวนทางเพื่อนบ้าน ผลสำรวจพบว่า ชาวมิลเลนเนียลอาเซียนส่วนใหญ่มีความพร้อมและวางแผนที่จะย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ โดยชาวอินโดนีเซียมีความพร้อมมากที่สุด กว่า 4 ใน 5 (84%) ตั้งใจย้ายออกเพื่อไปหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ในขณะที่กว่า 3 ใน 4 ของชาวมาเลเซียและชาวสิงคโปร์ต่างมีแนวโน้มจะย้ายออกจากบ้านเช่นกัน (79% และ 77% ตามลำดับ) สวนทางกับกลุ่มมิลเลนเนียลชาวไทยที่มากกว่าครึ่ง (58%) เผยว่ายังไม่มีแผนจะย้ายออกในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ สาเหตุมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น สอดคล้องกับศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ที่คาดการณ์ว่าระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 93% ในสิ้นปี 2564 โดยพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1 ของปี 2564 ใช้เพื่อซื้ออสังหาฯ สูงที่สุดถึง 34% นอกจากนี้ ลูกหนี้ที่เข้าโครงการรับการช่วยเหลือในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ยังมาจากหนี้ที่อยู่อาศัยเป็นหลัก มียอดขอความช่วยเหลือรวมสูงถึง 4.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เทียบกับยอดหนี้เสีย (Non-Performing Loan: NPL) ที่ 0.6% ของ GDP

     ●  “ปัญหาการเงิน-ไม่ได้แต่งงาน” อุปสรรคใหญ่เมื่อคิดมีบ้าน กลุ่มมิลเลนเนียลชาวอาเซียนที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่เผยว่าสภาพคล่องทางการเงินและการครองตัวเป็นโสดเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยังไม่ย้ายออก รวมทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ปัญหาหลักที่ทำให้ชาวมาเลเซียไม่ย้ายออกไปซื้อบ้านของตัวเอง โดย 62% ของชาวมาเลเซียที่ทำแบบสอบถามฯ เผยว่ามีเงินเก็บไม่เพียงพอที่จะซื้อหรือเช่าบ้าน ตามมาด้วยไม่ย้ายออกเนื่องจากยังไม่ได้แต่งงาน (48%) และมองว่าราคาอสังหาฯ ยังมีราคาแพงเกินไป จึงขอเก็บเงินไว้ดีกว่าจะนำไปซื้อบ้าน (31%) ในขณะที่ชาวอินโดนีเซียมีมุมมองคล้ายกับชาวมาเลเซีย คือมีเงินไม่พอที่จะซื้อหรือเช่าที่อยู่ใหม่ของตัวเองทำให้ไม่ตัดสินใจย้ายออก (55%) ตามมาด้วยยังไม่ได้แต่งงาน (45%) ในขณะที่อันดับสามเผยว่าอยากอยู่ดูแลพ่อแม่ (31%)

         แตกต่างจากชาวสิงคโปร์และชาวไทยอย่างเห็นได้ชัด โดยชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มองว่าการที่ยังไม่แต่งงานและโครงการที่อยู่อาศัยแบบ BTO (Build-to-Order) มีความล่าช้าเป็นอุปสรรคใหญ่ในสัดส่วนเท่ากันที่ 41% ตามมาด้วยปัญหาการเงิน (24%) ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวไทยไม่ย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ เกือบครึ่ง (49%) เผยว่าต้องการอยู่กับครอบครัวและคอยดูแลพ่อแม่ ตามมาด้วยไม่มีเงินเพียงพอในการหาที่อยู่อาศัยใหม่ (43%) และตั้งใจที่จะรับช่วงต่อบ้านจากพ่อแม่อยู่แล้ว (22%) สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตแบบครอบครัวขยายที่หล่อหลอมความผูกพันและคุ้นเคยกับการอยู่ร่วมบ้านเป็นครอบครัวใหญ่มากกว่า

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้

     ●  ความมั่นคงคือคำตอบ ดันเทรนด์เงินฉุกเฉินมาแรง เมื่อพูดถึงการวางแผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของกลุ่มมิลเลนเนียลในอาเซียน พบว่าเทรนด์เงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงหรือกองทุนมาแรงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นว่าชาวมิลเลนเนียลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ต้องเผชิญการแพร่ระบาดฯ ทำให้หันมาสนใจวางแผนการเงินเพื่อเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินในอนาคตมากขึ้น กว่า 3 ใน 4 ของชาวสิงคโปร์ 76% วางแผนเก็บเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ตามมาด้วยเก็บเงินไว้ชำระหนี้ (39%) และนำไปใช้เพื่อท่องเที่ยวในวันหยุด (35%) ด้านชาวมาเลเซีย 65% ให้ความสนใจในการเก็บเงินเพื่อสร้างกองทุนฉุกเฉินมาเป็นอันดับแรกเช่นกัน อย่างไรก็ดี ครึ่งหนึ่ง (50%) เผยว่าจะนำเงินไปซื้อที่อยู่อาศัย และ 40% ต้องการนำเงินไปใช้หนี้ที่ค้างอยู่ ในขณะที่แผนการใช้จ่ายของชาวไทยยังคงให้ความสนใจไปที่การบริหารจัดการเงินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการสร้างกองทุนฉุกเฉิน 61% ตามมาด้วยนำเงินไปใช้จ่ายภายในครอบครัวในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 60% และเลือกเก็บเงินไว้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ 54% สะท้อนให้เห็นภาระหน้าที่ของผู้บริโภคในช่วงวัยนี้ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินของครอบครัวและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนอื่นมากขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_DDproperty_ตลาดที่อยู่อาศัยซบเซา