ทำไมต้องใช้ระบบอัตโนมัติ

Red Hat

ทำไมต้องใช้ระบบอัตโนมัติ

บทความโดย สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

ระบบอัตโนมัติช่วยธุรกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ องค์กรในปัจจุบันกำลังรับมือกับแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจเดิมจากหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น Airbnb และ Amazon นอกจากนี้ทุกธุรกิจยังเผชิญกับความท้าทายในการสนับสนุนพนักงานและพาร์ทเนอร์ ในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ รวมถึงทำอย่างไรจึงจะสามารถมอบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และบริการที่รวดเร็วมากขึ้นให้ลูกค้าได้

ดังนั้นทุกธุรกิจจึงต้องการและจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานครั้งใหญ่นี้ด้วยตนเอง

ระบบอัตโนมัติจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากต่อการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง และการปรับตัว และไม่ได้สำคัญเฉพาะกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรผ่านกระบวนการต่าง ๆ อีกด้วย และด้วยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงนี้ ช่วยให้องค์กรมีเวลาและใช้กำลังความสามารถเน้นไปที่การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้นทำงานสำเร็จได้เร็วขึ้น เจ้าหน้าที่ไอทีก็จะมีเวลาไปจัดการแก้ไขปัญหาที่ใหญ่กว่าได้มากขึ้น ทำให้ปัญหาเหล่านั้นเป็นเหมือนงานประจำ และปรับให้สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นผ่านระบบอัตโนมัติได้ในที่สุด

ความได้เปรียบของระบบอัตโนมัติ

ระบบอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมาแทนที่คน เราได้เห็นแนวคิดลักษณะนี้จากการที่ระบบอัตโนมัติช่วยขจัดขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องใช้คนทำ แต่เราพบความสำคัญและข้อได้เปรียบของระบบอัตโนมัติได้จาก ความสามารถในการผลิตที่ดีขึ้น ความสม่ำเสมอ และประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น เมื่อองค์กรใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การมีส่วนร่วมของคนจะมีความสำคัญมากขึ้นแต่ด้วยความถี่ที่น้อยลง

แทนที่เราจะมองว่าระบบอัตโนมัติเป็นเครื่องมือที่ลดการจ้างงาน แต่เราควรมองความเป็นจริงที่ว่า ระบบอัตโนมัติช่วยให้พนักงานไอทีมีประสบการณ์มากขึ้นในการให้ความสำคัญและหาทางแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่า มากกว่าที่จะต้องทำงานเดิม ๆ ทุกวันซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ข้อได้เปรียบของระบบอัตโนมัติ

     ● ผลผลิตมากขึ้น พนักงานขององค์กรสามารถใช้เวลาไปทำงานที่จะส่งผลสำคัญต่อธุรกิจได้มากขึ้น ปล่อยให้การทำงานซ้ำ ๆ เป็นหน้าที่ของซอฟต์แวร์

     ● เชื่อถือได้มากขึ้น เมื่อลดเวลาในการทำงานของคนลงก็จะช่วยให้การควบคุมปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นเหมือนเดิมตลอดเวลาลดลง การใช้ระบบอัตโนมัติจะทำให้องค์กรทราบอย่างแน่นอนว่ากระบวนการต่าง ๆ การทดสอบ การอัปเดท เวิร์กโฟลว์ หรืองานอื่น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด ใช้เวลานานเท่าไร และองค์กรก็จะสามารถเชื่อมั่นในผลลัพธ์ที่จะออกมาได้

     ● กำกับดูแลง่ายขึ้น การใช้คนจำนวนมากอาจทำให้เกิดช่องว่างทางความรู้มากขึ้น และนั่นหมายถึงว่าแต่ละฝ่ายที่ทำงานร่วมกันในองค์กรอาจไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือมีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่รับผิดชอบอยู่นี้ ดังนั้น ความสามารถในการตรวจสอบทุกกระบวนการการทำงานหมายถึงการควบคุมที่ดีขึ้น 

ความท้าทายในการใช้ระบบอัตโนมัติ

     ● ค่าใช้จ่าย การสร้างโซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพต้องใช้เวลาและกำลังความสามารถมาก การทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เชื่อถือได้เช่น เร้ดแฮท ที่จะเป็นผู้ช่วยจัดการกับงานหนักนี้แทนองค์กร เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและทำงานได้เร็วขึ้น

     ● ขอบเขตการใช้งาน ระบบอัตโนมัติไม่ได้ชาญฉลาดได้ด้วยตัวเอง แต่ขึ้นอยู่กับองค์กรจะใช้ระบบอัตโนมัติทำอะไรบ้าง และจะสร้างขึ้นด้วยวิธีการใด ซึ่งบางส่วนอาจอยู่นอกเหนือขอบเขตนั้น ดังนั้นการจำกัดการใช้ระบบอัตโนมัติในบางแง่มุม หรือบางฟังก์ชันสามารถบรรเทาความกังวลนี้ได้ องค์กรควรระลึกไว้เสมอว่า ระบบอัตโนมัติขององค์กรจะฉลาดและปลอดภัยพอ ๆ กับวิธีการที่องค์กรใช้งานเท่านั้น

ทีมทำงานด้านไอทีได้รับการร้องขอให้ดำเนินการให้เร็วขึ้น จัดการกับสภาพแวดล้อมไอทีที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น และนำแนวทางการพัฒนาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อรับมือกับความต้องการใหม่เหล่านี้ องค์กรจำนวนมากได้ใช้ระบบอัตโนมัติกับงานด้านไอทีบางอย่างในวงจำกัดในบริบทที่แตกต่างกันอย่างไม่ยืดหยุ่น มีสคริปต์เฉพาะเรื่องมากมาย รวมถึงใช้เครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์ดั้งเดิมที่ใช้เฉพาะทางและมีข้อจำกัดทางกรรมสิทธิ์ แม้ว่าวิธีการแบบนี้จะช่วยให้ฟังก์ชั่นที่ใช้ทำงานเร็วขึ้น แต่ก็ไม่สามารถขยายการทำงานไปยังทรัพยากรที่หลากหลาย และอาจทำให้การกระจายระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพไปทั่วองค์กรทำได้ยาก

องค์กรไม่ได้ต้องการแค่ความสามารถในการสร้างระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดายเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องกระจายการใช้และนำระบบอัตโนมัติมาใช้ซ้ำกับโปรเจคและทีมงานทั้งหมดได้ ในระดับการกำกับดูแลและการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม องค์กรบางแห่งอาจใช้ระบบอัตโนมัติอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการความช่วยเหลือในการขยายการทำงานของระบบออกไปเท่านั้น

ไม่ว่าสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรจะซับซ้อนเพียงใด ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ในขั้นตอนไหนของการทำให้ระบบไอทีทันสมัยก็ตาม การสร้างระบบอัตโนมัติที่นำไปใช้ได้ทั้งองค์กร ไม่เพียงช่วยให้องค์กรสามารถทำให้กระบวนการด้านไอทีเป็นอัตโนมัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยี ทีมงานที่มีอยู่ และองค์กรเองด้วย

การนำโซลูชันระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมมาใช้ ช่วยให้องค์กรใช้แอปพลิเคชันและบริการใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรับรู้ได้ว่ามีความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชันมากขึ้น องค์กรสามารถใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเตรียมระบบ จัดการการตั้งค่า การแพตช์ การทำงานผสานกันของแอป รวมถึงความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

เร้ดแฮทเชื่อว่าระบบอัตโนมัติเป็นองค์ประกอบเชิงกลยุทธ์และพื้นฐานของระบบไอทีที่ทันสมัยและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โซลูชัน บริการ และการฝึกอบรมต่าง ๆ ของบริษัทช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมความต้องการในการทำให้ธุรกิจเป็นอัตโนมัติ ดังนั้นองค์กรสามารถเน้นไปที่การสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ และก้าวไปข้างหน้า

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นใช้ระบบอัตโนมัติหรือองค์กรที่ต้องการขยายการใช้งานให้ครอบคลุมงานใหม่ ๆ เร้ดแฮทมีโซลูชันที่สามารถช่วยให้คุณปรับขยายการทำงานระบบอัตโนมัติให้ใช้กับทุกส่วนของธุรกิจขององค์กรได้

เร้ดแฮททำงานด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนโอเพ่นซอร์สขนาดใหญ่ วิศวกรของเร้ดแฮทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฟีเจอร์ต่าง ๆ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจและไอทีดำเนินการได้อย่างมั่นคง คงความเสถียรและปลอดภัย

Red Hat Ansible Automation Platform ช่วยให้องค์กรปรับขยายระบบอัตโนมัติด้านไอที บริหารจัดการการทำงานที่ซับซ้อนต่าง ๆ และควบคุมระบบอัตโนมัติ แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากศูนย์กลางผ่านเวอร์ชวลแดชบอร์ด ควบคุมการเข้าใช้งานที่กำหนดไว้ตามบทบาทของผู้ใช้ และอื่น ๆ อีกมากเพื่อลดความซับซ้อนในการทำงาน

Ansible Automation Platform ใช้ภาษาอัตโนมัติที่ง่าย จึงช่วยให้ผู้ใช้งานประสานการทำงานระหว่างทีมหลาย ๆ ทีมและบุคคลต่าง ๆ เพื่อแชร์ ตรวจสอบ และจัดการระบบอัตโนมัติได้อย่างสะดวก

Ansible Automation Platform มีโครงสร้างของคำสั่งการทำงานที่ง่ายในการทำความเข้าใจ ทำให้สามารถผสานการตั้งค่าและการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ ให้เข้ากับงานด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจได้ว่างานต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องใช้และเกิดขึ้นตามลำดับที่ถูกต้อง

กฎหมายต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน เสริมเกราะความมั่นใจ ไม่ต้องกลัวโดนเท

กฎหมายต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน เสริมเกราะความมั่นใจ ไม่ต้องกลัวโดนเท

การซื้อที่อยู่อาศัยมีปัจจัยหลายประการที่ผู้บริโภคจะพิจารณาไม่ว่าจะเป็นทำเล พื้นที่ใช้สอย การออกแบบรวมไปถึงความคุ้มค่าด้านราคา และยังมีปัจจัยสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือข้อกฎหมาย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการก่อสร้างโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมโดยตรง ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องศึกษาและตรวจสอบความถูกต้องให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ขอแนะนำข้อกฎหมายหลัก ๆ เกี่ยวกับบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่ผู้บริโภคควรรู้ เพื่อวางแผนและสร้างความมั่นใจก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน รวมทั้งช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดข้อพิพาทในภายหลังโดยไม่คาดคิด

กฎหมายจัดสรร และกฎหมายควบคุมอาคาร” เรื่องที่คนซื้อบ้านห้ามมองข้าม

ในการซื้อบ้านสักหลัง ผู้ซื้อจำเป็นต้องมีข้อมูลและความเข้าใจข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาภายหลัง โดยกฎหมายหลัก ๆ ที่น่าสนใจจะมี พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน หรือกฎหมายจัดสรรเพื่อควบคุมและจำกัดสิทธิของการจัดสรรที่ดินประเภทต่าง ๆ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับสาธารณูปโภคตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 (ปว.286) มีใจความสำคัญว่า “สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินจัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไป ที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้”

ภายหลังมีการแก้ไขปรับปรุงตราพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ออกใช้บังคับแทน โดยมีใจความสำคัญเดิมที่ยังคงกำหนดให้สาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นในโครงการจัดสรรต้องคงสภาพเดิมตลอดไป ซึ่งประเด็นนี้โครงการอสังหาฯ ส่วนใหญ่จะไม่ได้แจ้งผู้ซื้อถึงความเป็นมาของที่ดินว่าเคยเป็นที่ดินจัดสรรเก่าตามกฎหมายที่ไม่สามารถนำมาใช้เชิงพาณิชย์หรือไม่ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อบ้านจัดสรร ผู้ซื้อจึงควรตรวจสอบหาข้อมูลกับสำนักงานที่ดินในท้องที่นั้น ๆ ก่อน ว่าที่ดินในโครงการดังกล่าวทำถูกกฎหมายจัดสรรหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

นอกจากนี้ยังมี พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ที่ผู้ซื้อแม้จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านนั้นโดยตรง แต่การต่อเติมเพิ่มนั้นจะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างและดัดแปลงอาคาร โดยหลัก ๆ แล้วเจ้าของบ้านไม่สามารถต่อเติมบ้านจนเต็มพื้นที่ได้ เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดระยะร่นและที่เว้นว่างสำหรับอาคารและเขตที่ดินไว้ ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน พร้อมแนบแบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างมาประกอบ นอกจากนี้การต่อเติมหรือขยายรั้วโครงการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของโครงการ ยังถือว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากรั้วโครงการสร้างขึ้นมากำหนดขอบเขตแยกระหว่างพื้นที่ส่วนตัวของบ้านและพื้นที่ของโครงการ จึงถือเป็นทรัพย์สินส่วนกลางและกรรมสิทธิ์ของเจ้าของโครงการโดยตรงเช่นกัน

อยากเป็นเจ้าของคอนโดฯ ควรศึกษากฎหมายอะไรบ้าง

คอนโดมิเนียมเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความนิยมทั้งในกลุ่มผู้บริโภคที่เพิ่งมีบ้านหลังแรกหรือนักลงทุน มีโครงการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ที่เปิดให้จองห้องก่อนที่จะมีการก่อสร้างเกิดขึ้นจริง ถือเป็นช่วงโอกาสทองที่ผู้บริโภคจะได้จองห้องที่มีราคาถูก โปรโมชั่นที่คุ้มค่า และยังเลือกตำแหน่งห้องได้มากกว่า อย่างไรก็ตามการจองจากกระดาษมีความเสี่ยงกว่าการซื้อโครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิดที่ทำให้การก่อสร้างถูกระงับหรือต้องเลื่อนเวลาส่งมอบออกไป ก่อนตัดสินใจจองหรือซื้อคอนโดฯ ผู้บริโภคจึงควรศึกษาว่าโครงการนั้น ๆ ปฏิบัติตามข้อบังคับของพระราชบัญญัติอาคารชุด และพระราชบัญญัติควบคุมอาคารครบถ้วนหรือไม่ โดยมีข้อควรพิจารณาหลัก ๆ ดังนี้

      ●  ใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ ส่วนใหญ่โครงการฯ จะต้องได้รับการอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก่อนจึงจะยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ ได้ โดยผู้สนใจสามารถสอบถามได้จากฝ่ายขายโครงการฯ นั้น

      ●  การจดทะเบียนเป็นอาคารชุด มีผลในด้านกรรมสิทธิ์ในห้องชุด การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การตั้งนิติบุคคลอาคารชุด ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คอนโดฯ มีความแตกต่างจากอะพาร์ตเมนต์ และทำให้ผู้ซื้อสามารถถือครองกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วมในโครงการฯ นั้น ๆ ได้

      ●  กฎหมายควบคุมอาคารด้านความปลอดภัย นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ยังแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการที่มีต่อชุมชนข้างเคียง โดยโครงการจะต้องมีรายละเอียดแผนการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารด้านความปลอดภัย อาทิ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบระบายอากาศ ระยะร่นของอาคาร ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ เป็นต้น

      ●  การกำหนดแนวร่นอาคารวัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ โครงการที่มีอาคารติดกับถนนสาธารณะต้องมีระยะร่นของอาคารจากกึ่งกลางของถนนสาธารณะนั้นตามความกว้างที่กำหนด โดยแตกต่างกันไปตามความกว้างของถนนที่โครงการตั้งอยู่

นอกจากนี้ เมื่อแบ่งตามประเภทคอนโดฯ แบบไฮไรส์ (High Rise) และคอนโดฯ แบบโลว์ไรส์ (Low Rise) ยังมีข้อกฎหมายควบคุมที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

คอนโดฯ โลว์ไรส์ (Low Rise)

      ●  การกำหนดที่ว่างภายนอกอาคาร โครงการที่สูงไม่เกิน 8 ชั้น ต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร

      ●  ระยะร่น กำหนดไว้ว่าโครงการฯ ที่มีความสูงไม่เกิน 8 ชั้น ด้านที่ชิดกับที่ดินอื่นจะต้องทำช่องเปิด ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือที่ริมระเบียงชั้น 2 ลงมา หรือคอนโดฯ ที่สูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องมีระยะห่างจากเขตที่ดินอื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำหรับชั้นที่ 3 ขึ้นไปหรือสูงเกินกว่า 9 เมตรแต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร

คอนโดฯ ไฮไรส์ (High Rise)

      ●  การกำหนดที่ว่างภายนอกอาคาร กฎหมายกำหนดไว้ว่าคอนโดฯ ที่เป็นอาคารขนาดใหญ่หรือสูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป หรือที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคาร

      ●  ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการก่อสร้าง ในการกำหนดระยะร่นของโครงการที่มีความสูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทั้งหมดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีระยะห่างจากที่ดินผู้อื่นมากกว่า 6 เมตรขึ้นไป

      ●  ความกว้างของที่ดินด้านหน้าอาคารและขนาดถนน ที่ดินด้านหน้าโครงการจะต้องมีความกว้างของที่ดินหน้าอาคารและมีขนาดของถนน ดังนี้

            ○  อาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร จะต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่กว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร

            ○  อาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นมากกว่า 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร

            ○  ที่ดินด้านที่ติดถนนสาธารณะของที่ดินทั้งสองกรณี จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนถึงบริเวณที่ตั้งของอาคาร และที่ดินนั้นจะต้องว่างไว้เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกของรถดับเพลิงได้สะดวกด้วย

โครงการผ่าน “EIA” การันตีไม่กระทบสิ่งแวดล้อม

นอกจากกฎหมายควบคุมที่แตกต่างกันไปของโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดฯ แล้ว โครงการทั้งสองประเภทจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment Report หรือ EIA) ซึ่งเป็นรายงานที่ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องจัดทำขึ้นก่อนการก่อสร้างบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่แทบทุกประเภท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการก่อสร้างดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัยของชุมชนโดยรอบในระยะยาว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระหว่างทำการก่อสร้าง และหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ว่า โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เมื่อผ่านการอนุมัติ EIA แล้วเท่านั้น ผู้พัฒนาอสังหาฯ จึงมักนำผลการอนุมัติ EIA นี้มาเป็นอีกจุดขายเพื่อดึงดูดความสนใจและเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อตั้งแต่ก่อนจองซื้อ ว่าโครงการนี้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้จริงแน่นอน ในขณะที่โครงการอสังหาฯ ใดที่ทำ EIA ไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อได้ แม้จะเปิดให้ผู้ซื้อจองไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม จึงถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้ซื้อต้องแบกรับไว้หากตัดสินใจเลือกจองและผ่อนดาวน์โครงการที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ EIA ซึ่งพร้อมที่จะถูกยกเลิกการก่อสร้างได้ทุกเมื่อ

สำหรับโครงการที่อยู่อาศัยที่กฎหมายกำหนดให้ต้องผ่านการอนุมัติ EIA นั้น หากเป็นโครงการบ้านจัดสรรจะต้องมีพื้นที่ในโครงการมากกว่า 100 ไร่ หรือแบ่งแปลงที่ดินตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป ในขณะที่โครงการคอนโดมิเนียมที่ต้องทำ EIA จะต้องเป็นโครงการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือมีจำนวนห้องชุดตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป ทำให้โครงการคอนโดฯ แบบไฮไรส์ (High Rise) ส่วนใหญ่จะต้องทำ EIA เพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ในขณะที่โครงการคอนโดฯ แบบโลว์ไรส์ (Low Rise) บางโครงการอาจไม่ต้องทำ EIA เลย

อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อบ้านเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและมีระยะเวลาผ่อนชำระที่ยาวนาน การศึกษาข้อกฎหมายเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนตัดสินใจซื้อ จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะในช่วงชีวิตของผู้บริโภคอาจไม่ได้ทำการซื้อที่อยู่อาศัยบ่อยนัก เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) ได้รวบรวมบทความที่น่าสนใจเพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้สำหรับคนอยากมีบ้าน พร้อมอัปเดตข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ และรวบรวมประกาศซื้อ/ขาย/เช่าครอบคลุมหลากหลายทำเลทั่วประเทศ รวมทั้งรีวิวโครงการใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อช่วยให้ผู้ที่อยากมีบ้าน/คอนโดฯ เป็นของตัวเอง สามารถเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้ตรงใจมากที่สุด

สมาคมฟินเทคประเทศไทย จับมือ 10×1000 นำเสนอหลักสูตรด้านฟินเทคระดับโลก ให้กับผู้ประกอบการไทย

10x1000 Flex for Inclusion

สมาคมฟินเทคประเทศไทย จับมือ 10x1000 นำเสนอหลักสูตรด้านฟินเทคระดับโลก ให้กับผู้ประกอบการไทย

10X1000 Tech for Inclusion แพลตฟอร์มที่รวบรวมการอบรมและการเรียนรู้ด้านฟินเทค ได้ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรผู้นำด้านฟินเทค นักลงทุน และอุตสาหกรรมด้านการเงินการลงทุนจากทั่วโลก เพื่อนำเสนอหลักสูตรที่จะให้องค์ความรู้ ให้แนวคิดเกี่ยวกับฟินเทคและได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้นำองค์กรระดับนานาชาติ

10X1000 ได้รับความร่วมมือจาก IFC หรือ International Finance Corporation หนึ่งในสมาชิกของ World Bank Group และ Alipay ในปี 2018 ร่วมนำเสนอหลักสูตรที่มีชื่อว่า “Flex” ตั้งเป้ารับสมัครผู้อบรมที่มีคุณสมบัติและผ่านการคัดเลือกเข้าจำนวน 1,000 รายจากทั่วโลก ซึ่งเตรียมเปิดการอบรมในเดือนตุลาคม 64 โดยหลักสูตรดังกล่าวนี้จะเป็นการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ

ผู้เข้าอบรม 1,000 รายชื่อจากทั่วโลกในหลักสูตร Flex จะมาจากการคัดเลือกของกลุ่มพันธมิตร เช่น IFC, United Nations Development Programme, United Nations Economic Commission of Africa, SME Final Forum, Dubai International Financial Centre, Malaysia Digital Economy Corporation, KPMG และสมาคมฟินเทค แห่งฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ประเทศไทย

10x1000 Flex for Inclusion
10x1000 Flex for Inclusion

นายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย (TFA) กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรจากทั่วโลก ในการนำเสนอหลักสูตรของ 10X1000 และเชื่อว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคในประเทศไทย จะสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีบุคลากรด้านฟินเทคอยู่ในวงที่จำกัดมาก ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีในการสร้างรากฐานความรู้ด้านฟินเทคให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ผ่านการเรียนรูปแบบออนไลน์โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคระดับสากล ซึ่งเป้าหมายของ 10×1000 นั้น ตรงกับเป้าหมายและแผนงานที่ TFA ได้วางไว้ ในเรื่องการเสริมความรู้ด้านฟินเทค ทั้งในระดับพื้นฐาน และเชิงลึกให้ครอบคลุมมากที่สุด จึงถือได้ว่าการร่วมมือในครั้งนี้เป็นการนำร่องในการพัฒนาความรู้ด้านฟินเทคให้แก่คนไทย ก่อนที่จะก้าวไปเรียนรู้ด้านฟินเทคในเชิงปฏิบัติการจากประสบการณ์จริง ซึ่ง TFA มีแผนที่จะเปิดตัวหลักสูตรในช่วงต้นปี 2565 หากสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

10x1000 Flex for Inclusion

หลักสูตร Flex เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานด้านฟินเทค หรืออยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ความพิเศษของหลักสูตรนี้คือการได้เรียนกับตัวจริงระดับโลก เน้นสอนผ่าน Case Study ด้วยการเชิญผู้นำในองค์กรด้านการเงินและเทคโนโลยี ที่ประสบความสำเร็จมาแบ่งปันความรู้ด้านฟินเทค ผ่านการเรียนที่ค่อนข้างยืดหยุ่นต่อผู้เรียน เพราะเป็นการเรียนรูปแบบออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่าต้องการเริ่มเรียนในช่วงไหน ระหว่าง 11 ตุลาคม, 25 ตุลาคม, 1 พฤศจิกายน  หรือ 8 พฤศจิกายน โดยจะเรียนในวันเวลาไหนก็ได้ แต่ต้องเรียนผ่านวีดีโอ 8 บทเรียน และทำแบบทดสอบ 3 ชุด ให้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์ เพื่อรับ Certificate ของหลักสูตร ซึ่งในโปรแกรมจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ และภายในเนื้อหาจะครอบคลุมทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและการเงิน รวมไปถึงกลยุทธ์การต่อยอดและขยายธุรกิจด้วย โดยการเรียนจะเน้นให้ผู้เรียนมี Mindset ที่ถูกต้อง มีความรู้ และได้ฝึกทักษะที่จำเป็นด้านฟินเทค เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดกับธุรกิจของตนเองได้

Eric Jing ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ant Group เจ้าของแพลตฟอร์มด้านการเงิน Alipay กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับสมาคมฟินเทคประเทศไทย เพื่อให้ 10×1000 เติบโตไปอีกก้าวนึงผ่านการร่วมมือกันในครั้งนี้ โดยเราตั้งเป้าหมายร่วมกันลดช่องว่างทางความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Skills Gap ในประเทศไทย โดย 10×1000 นั้นมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรและผู้นำด้านเทคโนโลยีและการเงิน ปีละ 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายด้าน SDGs หรือการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN) ทั้งในเรื่องการศึกษา การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการลดความเหลื่อมล้ำ โดยเรามั่นใจว่าผู้ที่จบหลักสูตร Flex ของ 10×1000 จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และพัฒนาระบบนิเวศน์ด้านการเงิน และฟินเทคในประเทศของตนเองได้ ซึ่งถ้าทำได้ดังนี้จริงก็จะช่วยให้ 10×1000 สามารถเข้าใกล้เป้าหมายด้าน SDGs ได้มากขึ้นเช่นกัน

ชลเดช ทิ้งท้ายว่า สมาคมฟินเทคประเทศไทย จะคัดเลือกผู้เรียนจากผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด 100 ที่นั่ง ซึ่งจะเลือกจากรายชื่อผู้สมัครที่เป็นสมาชิกของ สมาคมฟินเทคประเทศไทย และต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับฟินเทคหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยวางแผนเปิดรับสมัครในวันที่ 20 กันยายน – 4 ตุลาคม 2564 ผ่านทาง www.thaifintech.org และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนในวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ผ่านทางอีเมลที่สมัครมา ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thaifintech.org

ศึกษาและเรียนรู้วิธีการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากคลาวด์

ศึกษาและเรียนรู้วิธีการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากคลาวด์

วิธีการที่ช่วยให้แม้แต่องค์กรแบบดั้งเดิม ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการวางกลยุทธ์ระยะยาวของการใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์

บทความโดยนายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ในแวดวงเทคโนโลยี เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าต้องขยับปรับให้เร็ว ไม่เช่นนั้นจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังแบบไม่เห็นฝุ่น ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ดีและสมเหตุสมผล แต่บางครั้งการถอยออกมา หยุดคิดสักนิด และเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นก็ส่งผลดีเช่นกัน ท่ามกลางการแข่งขันกันนำคลาวด์มาใช้ทั่วโลก องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกก็เพิ่งทำเช่นเดียวกันและทำให้องค์กรเหล่านี้มีสถานะแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปในทำนอง “ทำทีหลังดีกว่า”

เทคโนโลยีคลาวด์เป็นองค์ประกอบหลักของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน แต่มีความเข้าใจผิดที่พบบ่อยทั่วโลกคือ “คลาวด์” เท่ากับ พับลิคคลาวด์ การที่ผู้นำจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเลิกใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ และรีบเร่งตัดสินใจด้วยความคิดที่มีเพียงสองทางเลือกคือ “จะยังใช้อยู่ทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย” ได้เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น และต้องแลกกับค่าใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะถูกล็อคอยู่กับโซลูชันเดียว  ปัจจุบันความกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กระบวนการทำงาน และค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการพิจารณาเรื่องการใช้เทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง

ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกกลับมีความระมัดระวังในการนำคลาวด์ไปใช้งานมากกว่าในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยไม่ต้องรับภาระจากการลงทุนกับพับลิคคลาวด์ขนาดใหญ่เป็นหลัก และกำลังหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อเดินหน้าต่อไป ธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นจากผู้ใช้คลาวด์จำนวนมากที่เข้าสู่ตลาดก่อนหน้า รวมถึงมีความได้เปรียบในการเจรจาที่ดีกว่าในแง่ของราคา

ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสำเร็จในการบรรลุความสมดุลทั้งเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานกลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ที่สมดุลเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้ชัดเจน ซึ่งคือการกำหนดว่างานส่วนใดของธุรกิจจะให้บริการได้ดีที่สุดบนคลาวด์ประเภทใด พับลิค หรือไพรเวทคลาวด์ และนี่คือการสร้างสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ชาญฉลาดและปลอดภัย ทั้งนี้ IDC ได้อธิบายว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือ “กลยุทธ์การใช้โซลูชันที่ ‘ดีที่สุดของคลาวด์ทั้งสองประเภท'”และเราได้เห็นแล้วว่ากลยุทธ์มัลติคลาวด์กลายเป็น “บรรทัดฐานขององค์กร” ไปแล้ว

การใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากเลยสำหรับสตาร์ทอัพที่ไม่ได้ใช้ระบบไอทีแบบดั้งเดิม บริษัทให้คำปรึกษาเอคเซนเชอร์ มองว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาแอปพลิเคชันคลาวด์-เนทีฟโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการคลาวด์รายใดรายหนึ่งหรือพึ่งพาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การที่องค์กรที่ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กร (on-premise) มีแอปพลิเคชันจำนวนมาก และมีเวิร์กโหลดหลายประเภทจะนำคลาวด์มาใช้นั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น ตัวอย่างธนาคารเพื่อการลงทุนข้ามชาติของสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งใช้แอปพลิเคชันเกือบ 3,900 แอปฯ ที่ไม่สามารถโยกย้ายไปทำงานบนคลาวด์ได้

สิ่งแรกที่องค์กรต้องทำ คือ การจัดระเบียบการใช้ไอทีทั้งด้านระบบและด้านบุคลากร เปลี่ยนความคิดจากยึดมั่นกับกระบวนการที่กำหนดไว้ ให้เป็นยึดเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก และรื้อระบบที่ต่างคนต่างทำ (siloes) ออกเสีย ทันทีที่ขั้นตอนพื้นฐานและกระบวนการคิดเป็นที่เป็นทางแล้วก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำสู่ความสำเร็จในระยะยาว เช่น ลดเวลาในการเปิดใช้งานการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น

แน่นอนว่าแรงจูงใจแรก ๆ อย่างหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ดำเนินกิจการมาอย่างยาวนาน เช่น บริการด้านการเงิน ให้หันมาใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์ คือการต้องต่อกรกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องการความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้ แต่ความเคลื่อนไหวในการดำเนินการของพวกเขามีจุดประสงค์มากกว่าการรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเท่านั้น ธุรกิจในภาคส่วนอื่น ๆ มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันนี้มากขึ้น เช่น ภาคการผลิต ภาคสาธารณสุข และบริการสาธารณะต่าง ๆ  เช่น บริษัทโตโย ไซกัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทในภาคการผลิต ได้ใช้คลาวด์แพลตฟอร์มของนูทานิคซ์เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานจากระยะไกล และเพิ่มความมั่นคงด้านการสำรองข้อมูล สามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ นูทานิคซ์ได้ช่วยให้ NTUC Enterprise ซึ่งเป็นกลุ่มโฮลดิ้งขององค์กรเพื่อสังคมในสิงคโปร์ทรานฟอร์มโดยการนำไฮบริดคลาวด์ไปใช้ ในประเทศนิวซีแลนด์ นูทานิคซ์ได้ทำงานกับซันคอร์ปเพื่ออัปเกรดความสามารถให้กับพนักงานผ่านเทคโนโลยีที่เป็นไฮบริดคลาวด์และพัฒนากลยุทธ์ระยะยาวด้านการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก

องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ยอมรับว่า รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดจะยังคงอยู่ และการทำงานแบบไฮบริดจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานกับระบบที่ติดตั้งในองค์กรและบนคลาวด์ รายจ่ายด้านการเงินและเวลาที่ลดลงก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การนำสถาปัตยกรรมไฮบริดมัลติคลาวด์มาใช้จะช่วยให้พนักงานที่เคยใช้เวลาทำงานไปตามขั้นตอนการทำงานประจำต่าง ๆ สามารถทำงานที่มีส่วนขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะด้านไอทีอย่างรุนแรงได้ เมื่อเวลาที่ใช้ในการบำรุงรักษากระชับขึ้นแอปพลิเคชันก็จะมีเวลาทำงานมากขึ้น รายได้ก็ไม่หดหายไปจากการต้องใช้เวลาบำรุงรักษานาน นอกจากนี้การที่สามารถรู้ได้แน่นอนว่าจะใช้เวลานานเท่าไรกว่าระบบจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหลังเกิดวิกฤติหนึ่ง ๆ ยังช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสบายใจมากขึ้น

แม้จะมองเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน แต่การเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด สิ่งสำคัญคือ ไม่ว่าองค์กรจะใช้คลาวด์ประเภทใดก็ตาม คลาวด์นั้น ๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของเป้าหมาย การสร้างสมดุลที่ถูกต้องต้องผ่านการทดสอบเสียก่อน และเมื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นย่อมทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลตามมา นูทานิคซ์มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการทำให้การทำงานง่ายขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นเพียงแพลตฟอร์มเดียวที่มาพร้อมระบบการปกป้องข้อมูลที่ติดตั้งมาเบ็ดเสร็จ นูทานิคซ์มองเห็นอนาคตที่องค์กรต่าง ๆ สามารถทำงานบนคลาวด์ประเภทใดก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมากะเกณฑ์ว่าองค์กรนั้น ๆ ควรดำเนินธุรกิจอย่างไร

เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้น เราอาจจะได้เห็นกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะทางต่าง ๆ สร้างระบบคลาวด์ของตัวเองขึ้นมา เช่น กลุ่มบริษัทในภาคการผลิตที่ร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการสร้างระบบที่ปรับอย่างเจาะจงให้เหมาะกับความต้องการโดยรวมของบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม เป็นต้น หรืออาจเป็นการที่บริษัทเหล่านั้นต่างคนต่างสร้างคลาวด์ของตัวเองขึ้นมา และไม่ว่าจะเลือกวิธีใดก็ตาม คลาวด์มีบทบาทสำคัญยิ่ง ดังนั้นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจต่าง ๆ คือการสร้างกลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ตอบความต้องการของตนเองและสามารถช่วยให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่และเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” ช่วยสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” ช่วยสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงวันนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปยังทุกภาคส่วน ภาครัฐและเอกชนต่างมุ่งจัดการปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ล้วนเป็นเรื่องเร่งด่วนในทุก ๆ ด้าน อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและสิ่งแวดล้อม” เป็นอีกปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วนเช่นกัน จากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยและมีความรุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลจากสภาวะโลกร้อนในหลายประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก

แท้จริงแล้วภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อประเด็นนี้ เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานมากถึงหนึ่งในสามของการใช้พลังงานทั้งหมดในโลก ซึ่งเทคโนโลยีการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบันช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญช่วยลดสภาวะโลกร้อนโดยอาศัยการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยี
ดังกล่าว

การจัดการพลังงานไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมมีส่วนช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

เรามาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญซึ่งทุกภาคส่วนเห็นร่วมกันชัดเจนถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ อาทิ การผลิตพลังงานไฟฟ้า การเกษตร และการบริโภคในครัวเรือน ได้เริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาระดับหนึ่งแล้ว แต่ภาคอุตสาหกรรมนั้นแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย แม้แต่ในประเทศเยอรมนีที่เป็นผู้นำในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่เองก็ตาม

เพื่อจัดการปัญหานี้ ซีเมนส์เห็นแนวทางขับเคลื่อนสำคัญ 3 ประการที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. การสร้างความยืดหยุ่นในการนำพลังงานมาใช้ เช่น การใช้โซลูชั่นการกักเก็บพลังงานและการใช้ระบบโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plants : VPP)

  2. การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ควบคุม

  3. การนำการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrification) มาใช้ ในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงาน

จากสามแนวทางข้างต้น “การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งยังสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากปัจจัยการขับเคลื่อนที่เหลือ

ในการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะนั้น มี 2 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ หนึ่ง – ความเป็นไปได้ที่จะนำพลังงานสะอาด ซึ่งไม่มีการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมมาป้อนเข้าสู่สถานประกอบการอุตสาหกรรม อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ สอง – การจัดการพลังงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การจัดการความต้องการใช้พลังงานด้วยซอฟต์แวร์ เป็นต้น

เหตุผลที่การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะมีผลอย่างมากต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็คือ เมื่อจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อมลภาวะ แทนที่การผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีแบบเดิม เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซลที่มีการก่อมลภาวะสูง

การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพคือ “หัวใจสำคัญ” ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม
กรณีศึกษาจากบริษัท Gestamp ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะยานยนต์ในสเปนซึ่งมีหลายกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากแต่ขาดข้อมูลการใช้พลังงานที่ชัดเจนทำให้โรงงานต้องเผชิญกับค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

แต่ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์มาตรวัดพลังงานและการใช้โซลูชันการสื่อสารรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่จากโรงงาน 15 แห่งใน 6 ประเทศแล้วนำมาวิเคราะห์ Gestamp สามารถระบุ
จุดที่เป็นปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงาน ทำให้สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 14,000 ตันต่อปี

การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะช่วยให้การผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยในบริหารรอบการทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกเหนือจากนั้น
ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรม พร้อมเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการนำพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันการจัดการพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการปรับกระบวนการจัดการให้เป็นระบบดิจิทัล (Digitalization) และนำการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrification) มาใช้ ผลที่ตามมาไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แต่ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น การปรับกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล (Digitalization) ทำให้เราสามารถพัฒนาระบบดิจิทัลทวิน (Digital Twin) สำหรับระบบไฟฟ้าของโรงงานได้
และเมื่อควบรวมกับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ผู้วางระบบงานสามารถทดสอบการจำลองสถานการณ์การทำงานต่าง ๆ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุดในการวางระบบงาน
เพื่อลดความผิดพลาดและลดต้นทุนในการวางแผนงาน การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา

วิกฤติการณ์การแพร่ระบาดทำให้เราต้องพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานทางธุรกิจของเรา สำหรับอุตสาหกรรม ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างรากฐานธุรกิจในอนาคตด้วยการผสมผสานการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเข้ากับแผนงานของกิจการ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ใช่แค่ตัวเลขทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน ครอบคลุม ตั้งแต่ลูกค้า ชุมชน ประเทศ ไปจนถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมในโลกของเราด้วย

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
     ●  Gestamp reference:
     ●  Siemens DEGREE sustainability framework: