On-demand office วิถีการทำงานแห่งอนาคต ที่เริ่มส่งสัญญาณมาจากอุตสาหกรรมบันเทิง

On-demand office วิถีการทำงานแห่งอนาคต ที่เริ่มส่งสัญญาณมาจากอุตสาหกรรมบันเทิง

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

หลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแวดวงเกมและสื่อ เช่น การเปลี่ยนจากฮาร์ดแวร์และเกมคอนโซลที่มีขนาดใหญ่ ไปเป็นการใช้ซอฟต์แวร์และการส่งเนื้อหาผ่านคลาวด์ ปัจจุบันมีผู้คนมากกว่า 400 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นใช้บริการสตรีมวิดีโอและสตรีมมิ่งอื่น ๆ เช่น Netflix

ระบบดิจิทัลแบบ on-demand จะมอบประสบการณ์ที่ผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับความบันเทิงที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา แทนที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์หรือศูนย์การค้าเพื่อความบันเทิงหรือเล่นเกมที่ต้องการ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสำคัญหลายประการ ความสามารถในการเสพเนื้อหาต่าง ๆ ที่พบได้เป็นเรื่องปกติ ทำให้ระบบการจัดจำหน่ายและการบริการแบบเก่าล้าสมัย เช่น การให้บริการภาพยนตร์ในห้องพักของโรงแรม ทั้งยังเปลี่ยนความคาดหวังต่าง ๆ ของเราด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดจำหน่ายหรือให้บริการจากต้นทางที่ทำกันมานาน และส่งผลให้อุตสาหกรรมทั้งหมดต้องปรับตัวหรือไม่ก็ต้องเผชิญกับผลกระทบอย่างรุนแรง

ในโลกของการทำธุรกิจ เราเห็นวิวัฒนาการทางความคิดที่คล้าย ๆ กัน เกี่ยวกับสถานที่และวิธีการทำงานที่เหมาะสม แม้ว่า remote work หรือการทำงานจากระยะไกล ซึ่งเดิมเรียกกันว่า telecommuting หรือการทำงานโดยใช้การสื่อสารโทรคมนาคมช่วยโดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังสำนักงาน จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีหลัก จนกระทั่งเกิดการระบาดของโควิด-19 เรื่องนี้จึงอยู่ในความสนใจของผู้บริหาร พนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ และบริษัทต่าง ๆ ที่มีแนวคิดก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม หลังจากความเร่งรีบนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ผ่านไป ก็ถึงเวลาที่อุตสาหกรรมทั้งหลาย ธุรกิจ และผู้นำทางเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวต่อรูปแบบการทำงานในอนาคต

เราอาจเรียกการเปลี่ยนลักษณะการจัดการงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนี้ว่า ‘on-demand office’ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนลักษณะของการทำงานจากเดิมที่ต้องอยู่ ณ สถานที่ตั้งหนึ่ง ๆ ไปเป็นกิจกรรมที่สามารถทำเมื่อไรก็ได้ และเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการปรับกระบวนการต่าง ๆ ของตน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ธุรกิจบันเทิงกำลังลุยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายมากขึ้น และมอบกรอบการทำงานในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นแก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ 

เพียงแค่มีหน้าจอและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถสตรีมวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันเราพบความยืดหยุ่นในทำนองเดียวกันนี้ในรูปแบบของเวอร์ชวล เช่น การจัดเตรียมการทำงานแบบเวอร์ชวล การทำงานร่วมกันและการปฏิบัติงานแบบเวอร์ชวลที่คล่องตัว ได้กลายเป็นมาตรฐานปกติไปแล้ว โดยมีต้นแบบจากรูปแบบต่าง ๆ ที่อุตสาหกรรมบันเทิงเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าอนาคตของการทำงานจะเป็นอย่างไร และเรายังสามารถคาดหวังได้เช่นเดียวกับความคาดหวังของธุรกิจในภาคบันเทิง ว่าผลของการเปลี่ยนแปลงนี้จะขยายไปไกลกว่าเรื่องของการพิจารณาเกี่ยวกับพื้นที่สำนักงานและชั่วโมงการทำงาน

ความต้องการความสะดวก ฉับไว และความยืดหยุ่น เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนความคาดหวังของทุกคน เราเคยชินกับโลกที่ทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาหาเรามากกว่าต้องเป็นฝ่ายออกไปหาสิ่งเหล่านั้น อีกเพียงไม่นานความต้องการและความเคยชินเหล่านี้จะเข้ามาสู่โลกของการทำงานอย่างแน่นอน และพนักงานเริ่มคาดหวังการจัดรูปแบบการทำงานให้เป็นเวอร์ชวล สำหรับคนรุ่นที่เกิดมาในยุคดิจิทัล การที่ต้องออกไปชมภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์ให้ทันเวลาที่หนังเริ่มฉาย ดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ล้าสมัยอย่างสิ้นเชิง และเมื่อคนรุ่นดิจิทัลเริ่มเข้ามาอยู่ในสถานที่ทำงาน ความคาดหวังของพวกเขาเกี่ยวกับระบบไอทีในองค์กร เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เทคโนโลยีจะเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานรูปแบบใหม่นี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดก็ตาม บริษัทต่าง ๆ ที่สามารถนำคุณประโยชน์ของการทำงานจากที่ใดก็ได้และคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ที่คุ้มค่าได้จากนวัตกรรมและการเติบโตที่รวดเร็วมากขึ้นเราสามารถจินตนาการได้เลยว่าคนที่มีความสามารถรุ่นต่อไปจะประเมินนายจ้างในอนาคตโดยพิจารณาจากความรอบรู้และเชี่ยวชาญด้านเทคนิค รวมถึงความสามารถในการปรับระบบการทำงานให้ทันกับความคาดหวังที่ทันสมัยของคนรุ่นใหม่ได้มากน้อยเพียงใด

ในปีที่ผ่านมา แม้แต่อุตสาหกรรมเก่าแก่ที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนานที่สุด เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และบริการด้านการเงิน ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานจากระยะไกลได้ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรมเหล่านี้

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้แอปพลิเคชันจากระยะไกล ทำให้เกิดข้อจำกัดกับบริษัทหลายแห่ง เช่น โตโยต้าไม่อนุญาตให้พนักงานทำงานจากภายนอกสำนักงาน เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดอย่างน่าทึ่ง และเกิดการประเมินความยืดหยุ่นที่เทคโนโลยีมีให้ใหม่อีกครั้ง ในที่สุดโตโยต้าได้ตัดสินใจใช้ Nutanix cloud platform เป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลเดสก์ท็อปเพื่อสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และก็ได้ตระหนักถึงแนวทางการทำงานแบบใหม่ แนวทางการทำงานแบบเวอร์ชวลเป็นหลักนี้ได้ช่วยให้การบริหารจัดการไอทีทำได้ง่าย และสนับสนุนให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการเลิกใช้กระดาษเขียนแบบ และสามารถดูโมเดลการออกแบบสามมิติได้พร้อมกัน ทำให้การปรึกษาหารือต่าง ๆ เป็นไปอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับธุรกิจบริการด้านการเงิน Suncorp New Zealand หนึ่งในกลุ่มบริการด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทุ่มเทความพยายามเป็นสองเท่าในการพัฒนาบุคลากรให้มีการใช้เทคโนโลยี และประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่การทำงานจากระยะไกลเต็มรูปแบบระหว่างการล็อกดาวน์ในปี 2563 การทำงานของอุตสาหกรรมประกันภัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และก็ยังไม่เคยมีพนักงานขายประกันทำงานจากบ้าน แต่โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (Virtual Desktop Infrastructure: VDI) ช่วยทลายอุปสรรคนี้และทำให้เป็นไปได้ ด้วยการมีระบบรักษาความปลอดภัยติดตั้งมาในตัวเรียบร้อย จึงช่วยให้มีความยืดหยุ่นและไม่ต้องกังวลใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนกลยุทธ์ระยะยาวด้านการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมผ่านระบบดิจิทัลเป็นหลักของบริษัทประกันอีกด้วย

พนักงานจะได้รับประโยชน์จาก VDI หรือโซลูชันอื่น ๆ เช่น Desktop as a Service (DaaS) อย่างแน่นอน ในส่วนของบริษัท โซลูชันต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะกระตุ้นความสนใจและรักษาผู้มีความสามารถที่เหมาะสมที่สุดไว้ได้ คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถมีความต้องการรูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลจากที่ใดก็ได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ผลการศึกษาโดย LinkedIn Talent Solutions พบว่า คนกลุ่มนี้ไม่สนใจทำงานกับบริษัทที่ไม่มีข้อเสนอในการทำงานจากระยะไกลหลังการระบาดของโควิด-19 จำนวนผู้ค้นหางานทั่วโลกใช้ตัวกรองว่า “remote” บน LinkedIn เพิ่มขึ้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2563 นอกจากนี้ในเอเชียแปซิฟิก แอปพลิเคชันสำหรับงานจากระยะไกลก็กำลังเติบโตเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ เองก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถได้ในวงกว้างมากขึ้นด้วยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่น้อยลง

รูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้จะเป็นหัวใจของวิธีการทำงานของทีมและบริษัทในยุคสถานที่ทำงานแบบออนดีมานด์ (on-demand office) การทำงานจากระยะไกลยังคงอยู่ไปอีกนาน บริษัทต่าง ๆ ที่ไม่ได้นำโซลูชันใดโซลูชันหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น VDI, DaaS หรือโซลูชันการทำงานจากระยะไกลอื่น ๆ ไปใช้อย่างจริงจัง จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานน้อยกว่าคู่แข่งที่รุดหน้ากว่า และจะไม่สามารถว่าจ้างพนักงานที่มีความสามารถที่เหมาะสมได้ การเปลี่ยนไปใช้ ‘on-demand office’ จะเป็นกุญแจสำคัญ ในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคตในทุกด้าน นับจากการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ ไปจนถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ*”

ซีเมนส์

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ*”

* ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นในปี 2021 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”

    • งาน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ” ใช้เทคโนโลยีด้านอาคารอัจฉริยะจากซีเมนส์ซึ่งถูกขับเคลื่อนและรวมไว้บนแพลตฟอร์มการบริการ IoT ภาคอุตสาหกรรม MindSphere 
    • อาคารมากกว่า 130 แห่งจะเชื่อมต่อและสื่อสารกันผ่าน Siemens Navigator แพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร
    • อาคารต่าง ๆ ในสามโซนหลัก (Thematic Districts) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะ Desigo CC โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายครอบคลุมในด้านความยั่งยืน ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการรักษา ความปลอดภัย

เป็นเวลากว่า 170 ปีที่งาน World Expo ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะสานต่อความยิ่งใหญ่ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจากทั่วทุกมุมโลก ซีเมนส์ได้มีส่วนร่วมในงาน World Expo ตั้งแต่การจัดแสดงโทรเลขไฟฟ้าแบบเข็ม (Pointer Telegraph) ในงานครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1851 และในงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ครั้งนี้ ซีเมนส์ได้แสดงนวัตกรรมต้นแบบ (Blueprint) สำหรับเมืองอัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการจัดการงาน World Expo 2020 Dubai

งานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จะเป็นหนึ่งในงานเอ็กซ์โปที่มีการเชื่อมต่อที่เน้นเรื่องความยั่งยืนหรือนวัตกรรมสีเขียวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในงานที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีทางอาคารของซีเมนส์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก อาทิ ดิจิทัลโซลูชั่นเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อ ตรวจสอบ และควบคุมอาคารผ่าน MindSphere ระบบปฏิบัติการบนคลาวด์สำหรับ IoT ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและปฏิบัติงานได้อย่างชาญฉลาด โดยเทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยของผู้ร่วมชมงานและควบคุมดูแลรักษาระบบความปลอดภัย

ซีเมนส์ เป็นพาร์ทเนอร์ระดับพรีเมียร์ของงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นดิจิทัลโดยการนำระบบการจัดการอาคารดิจิทัล Desigo CC มาติดตั้งใช้งานทั่วทั้งงาน โดยครอบคลุมในแต่ละโซนการจัดงาน (ได้แก่ โซน Mobility โซน Opportunity และโซน Sustainability) รวมถึงศูนย์การจัดแสดงนวัตกรรมของประเทศต่าง ๆ และ Dubai Exhibition Centre โดยระบบจะใช้เซนเซอร์และการวิเคราะห์หลากหลายเพื่อตรวจสอบและควบคุมฟังก์ชันของอาคาร อาทิเช่น ระบบปรับอากาศ การใช้พลังงาน การควบคุมความสว่าง ลิฟต์ คุณภาพอากาศและระบบส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัย

ข้อมูลจากระบบเหล่านี้จะถูกนำมาจัดการและประมวลโดยศูนย์บัญชาการและควบคุมในแต่ละโซนการจัดงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน พร้อมอำนวยความสะดวกและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ผู้ร่วมงาน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกป้อนเข้าสู่ Siemens Navigator แพลตฟอร์มศูนย์กลางการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อเชื่อมต่อกับอาคารต่าง ๆ มากกว่า 130 แห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวซึ่งถือเป็นหนึ่งในการติดตั้งระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อให้ผู้ให้บริการต่าง ๆ สามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดและนำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบการใช้พลังงานระหว่างการจัดงานเอ็กซ์โปในครั้งนี้ ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์ม MindSphere ที่้ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในงาน ข้อมูลจากเซนเซอร์ เกตเวย์ ระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งเชื่อมต่อกันจะถูกวิเคราะห์และแสดงผลให้ผู้จัดงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกรวมไว้ในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของงานเอ็กซ์โปโดยมีระบบย่อยมากกว่า 20 ระบบ อาทิ ระบบการควบคุมการเข้า-ออกอาคาร ระบบการจัดการอาคาร และระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งจะถูกรวมไว้ในแพลตฟอร์มที่ป้อนคำสั่งและควบคุมจากส่วนกลาง ทำให้ผู้ดูแลทราบถึงสถานการณ์ภาพรวมและทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะที่ใช้ในงาน World Expo 2020 Dubai เป็นตัวอย่างการใช้งานจริงของหลากหลายโซลูชันเมืองอัจฉริยะที่ถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างเมืองที่มีความยั่งยืน และให้ความสะดวกสบายกับผู้อยู่อาศัย โดยสามารถนำมาต่อยอดหรือเป็นนวัตกรรมต้นแบบสำหรับการวางแผนงานเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย”

ซีเมนส์มีประสบการณ์ในด้านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของสถานที่สำคัญให้เป็นดิจิทัลมาอย่างยาวนานทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ท่าอากาศยานนานชาติดูไบ โรงละครโอเปราดูไบ และมัสยิด Sheikh Zayed ของอาบูดาบี ที่เลือกใช้เทคโนโลยีจากซีเมนส์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

มาเลเซียเลือกอีริคสันให้เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อนำประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

Ericsson_อีริคสัน

มาเลเซียเลือกอีริคสันให้เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี 5G เพื่อนำประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

    • อีริคสันเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Digital Nasional Berhad (DNB) ในกรอบเวลา 10 ปีเพื่อพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วประเทศมาเลเซีย
    • 5G จะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและอุตสาหกรรมของมาเลเซีย
    • อีริคสันนำเสนอโซลูชั5G แบบต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-to-End) ซึ่งประกอบไปด้วยโครงข่ายหลัก (Core), โครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (RAN) และการขนส่ง การดำเนินงานและระบบสนับสนุนธุรกิจ (OSS/BSS) และการบริหารจัดการเครือข่าย

ประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ จะได้รับประโยชน์จากสัญญาร่วมมือด้าน 5G เป็นระยะเวลา 10 ปี ระหว่างอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) และหน่วยงานดิจิทัลแห่งชาติของมาเลเซีย Digital Nasional Berhad (DNB) เพื่อขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีไร้สายยุคถัดไปของประเทศมาเลเซีย

ความเร็ว ความหน่วงต่ำและความสามารถในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลให้กับประเทศ ในขณะที่การสร้างระบบนิเวศ 5G จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึงเทคโนโลยีโลกเสมือนต่าง ๆ อาทิ Augmented Reality (AR) หรือ Virtual Reality (VR) และระบบอัตโนมัติทั่วทั้งองค์กร อุตสาหกรรม และการใช้งาน Internet of Things (IoT) ในหลายภาคส่วน

ด้วยการนำสมรรถนะของ 5G มาใช้และเร่งติดตั้งเครือข่ายและระบบนิเวศ 5G ทั่วประเทศมาเลเซียจะทำให้ DNB จัดสรรการเข้าถึงและบริการแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รวมถึงผู้ที่ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการในรูปแบบอื่นจากภาครัฐ เพื่อทำให้ได้รับประสบการณ์ 5G ระดับโลกและทำให้อุตสาหกรรม 4.0 เป็นจริงในมาเลเซีย

มร. ราล์ฟ มาร์แชล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ DNB กล่าวว่า “DNB มุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีที่สุดแก่ประชาชนชาวมาเลเซีย ธุรกิจและรัฐบาล เพื่อให้มั่นใจว่ามาเลเซียจะอยู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก เราเจาะจงให้อีริคสันนำเสนอเทคโนโลยี 5G อันล้ำยุคที่ดีที่สุดและบริการระดับมืออาชีพที่พร้อมใช้งานตรงกับความต้องการของ DNB ที่มีความเฉพาะเจาะจงและไม่เหมือนใคร”

การมีส่วนร่วมของอีริคสันในโครงการ 5G ระดับชาติจะทำให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การสร้างงาน การเป็นพันธมิตรกับประชากรกลุ่มภูมิบุตร (ชาวมลายูดั้งเดิม) และผู้รับเหมาท้องถิ่นอื่นและผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ไปจนถึงการสร้างองค์ความรู้และประสิทธิภาพในประเทศมาเลเซีย

มร. เดวิด เฮเกอร์บรอ ประธานกรรมการ บริษัทอีริคสัน (มาเลเซีย ศรีลังกาและบังกลาเทศ) กล่าวว่า “5G เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเปิดนวัตกรรมและกลายเป็นหลักสำคัญที่สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นเรื่องน่ายินดีกับความมุ่งมั่นในการเร่งนำ 5G มาใช้ทั่วประเทศ แก้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลให้กับประเทศ 5G จะเป็นตัวส่งเสริมความตั้งใจของรัฐบาลในการสนับสนุนชาวมาเลเซียให้เป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชันและการใช้งาน 5G“

“ด้วยระยะเวลาและการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศมาเลเซียมายาวนานถึง 56 ปี เราตื่นเต้นที่จะได้ขยายความมุ่งมั่นของเรามาสู่ประเทศนี้ อีริคสันมั่นใจด้วยความเป็นผู้นำ 5G ระดับโลกและความสามารถในการปรับใช้ที่แข็งแกร่ง จะทำให้เราทำได้ตามเป้าหมายของ DNB” มร. เดวิดกล่าวเพิ่มเติม

ความร่วมมือระหว่าง DNB และอีริคสันครั้งนี้ครอบคลุมไปถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์และและโซลูชันระบบวิทยุของอีริคสัน (Ericsson Radio System) ที่ประหยัดพลังงาน รวมไปถึงระบบการจัดสรรช่วงคลื่นความถี่ Ericsson Spectrum Sharing ที่เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งาน 5G ในขอบเขตที่กว้างใหญ่

นอกจากนั้นความร่วมมือนี้ยังรวมถึงโครงข่าย 5G หลักแบบคลาวด์ (Cloud-native 5G Core) และโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ 5G (RAN) อีริคสันจะบริหารความต้องการเฉพาะสำหรับของเครือข่ายด้วยการบริหารจัดการเครือข่ายชั้นนำด้วย Ericsson Operations Engine โซลูชันดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่าย DNB โดยใช้ AI ระบบอัตโนมัติและ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ Cognitive Software เพื่อคาดการณ์และป้องกันปัญหา

สิ่งที่อีริคสันจัดหาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำยังรวมถึงโซลูชันระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (OSS) และระบบสนับสนุนธุรกิจ (BSS)

DNB ได้รับมอบหมายในการนำประเทศมาเลเซียให้บรรลุแรงปณิธานด้านดิจิทัลตามแผนพิมพ์เขียวเศรษฐกิจดิจิทัลมาเลเซีย หรือ MyDIGITAL ของรัฐบาลซึ่งจะเปลี่ยนโฉมประเทศไปสู่การขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล เป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป็นผู้นำในด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ความปลอดภัยในไซเบอร์และเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

DNB ยังคงสนับสนุนความทันสมัยของเครือข่ายมือถือของประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งในแผนปรับโครงสร้างดิจิทัลแห่งชาติ Jalinan Digital Negara (Jendela) เพื่อให้ชาวมาเลเซียทุกคนได้รับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ

ในระยะเริ่มต้น DNB มุ่งหมายที่จะเปิดตัวเครือข่าย 5G แรกของมาเลเซียในกัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายาและไซเบอร์จายา ธุรกิจของอีริคสันและการนำประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาปรับใช้ในมาเลเซียเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บรรลุเป้าหมายของ DNB ที่กำหนดให้มีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศภายในปี 2567

อีริคสันคือผู้นำ 5G ระดับโลกด้วย 97 เครือข่าย 5G ที่เปิดให้บริการแล้วใน 46 ประเทศทั่วโลก

“เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น” อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน

DDProperty

"เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น" อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน

ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อด้านสาธารณสุขแล้วยังฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้จะมีการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากร พร้อมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุดก็ตาม เห็นได้จากรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด (World Economic Outlook) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และเวียดนาม) ว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 4.3% ลดลง 0.6% จากการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว

นอกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและภายในประเทศจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ภาคอสังหาฯ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน แม้มีความต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในช่วงนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคในอาเซียน (สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) จากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) เผยว่าคะแนนความพึงพอใจต่อบรรยากาศตลาดที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอาเซียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 อันเป็นผลมาจากโควิด-19 กลายพันธุ์ที่กระจายเร็วและส่งผลรุนแรง โดยคะแนนความพึงพอใจในรอบล่าสุดของชาวอินโดนีเซียลดลงจาก 73% มาอยู่ที่ 69% ส่วนชาวสิงคโปร์ลดลงจาก 48% เหลือเพียง 41% ด้านชาวไทยลดลงจาก 48% เหลือ 43% มีเพียงชาวมาเลเซียที่ให้คะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 46% อันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการมากมายเพื่อควบคุมการเก็งกำไรและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ มีเพียงผู้บริโภคในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันมีความเหมาะสม (41% และ 45% ตามลำดับ) ในขณะที่ชาวอินโดนีเซีย (44%) และชาวไทย (39%) มองว่าการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีอัตราดอกเบี้ยสูง โดยแค่ 19% ของผู้บริโภคไทยคิดว่าอัตราดอกเบี้ยสมเหตุสมผลแล้ว ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคในประเทศอื่นในอาเซียน

สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่คนอยากมีบ้านต้องเผชิญซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ ที่จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ให้กลับมาดังเดิม

จับตากำลังซื้อชาวมิลเลนเนียล หันลงทุนสร้างความมั่นคงก่อนมีบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เจาะลึกมุมมองความต้องการที่อยู่อาศัยและการวางแผนการเงินของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลหรือ Gen Y ในแถบอาเซียนที่อยู่ในช่วงวัยทำงานและเริ่มซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในตลาดอสังหาฯ ท่ามกลางความท้าทายและอุปสรรครอบด้าน ทั้งจากโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้

     ●  หนี้ครัวเรือนฉุดชาวไทยไม่พร้อมย้ายออก สวนทางเพื่อนบ้าน ผลสำรวจพบว่า ชาวมิลเลนเนียลอาเซียนส่วนใหญ่มีความพร้อมและวางแผนที่จะย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ โดยชาวอินโดนีเซียมีความพร้อมมากที่สุด กว่า 4 ใน 5 (84%) ตั้งใจย้ายออกเพื่อไปหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ในขณะที่กว่า 3 ใน 4 ของชาวมาเลเซียและชาวสิงคโปร์ต่างมีแนวโน้มจะย้ายออกจากบ้านเช่นกัน (79% และ 77% ตามลำดับ) สวนทางกับกลุ่มมิลเลนเนียลชาวไทยที่มากกว่าครึ่ง (58%) เผยว่ายังไม่มีแผนจะย้ายออกในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ สาเหตุมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น สอดคล้องกับศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ที่คาดการณ์ว่าระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 93% ในสิ้นปี 2564 โดยพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1 ของปี 2564 ใช้เพื่อซื้ออสังหาฯ สูงที่สุดถึง 34% นอกจากนี้ ลูกหนี้ที่เข้าโครงการรับการช่วยเหลือในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ยังมาจากหนี้ที่อยู่อาศัยเป็นหลัก มียอดขอความช่วยเหลือรวมสูงถึง 4.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เทียบกับยอดหนี้เสีย (Non-Performing Loan: NPL) ที่ 0.6% ของ GDP

     ●  “ปัญหาการเงิน-ไม่ได้แต่งงาน” อุปสรรคใหญ่เมื่อคิดมีบ้าน กลุ่มมิลเลนเนียลชาวอาเซียนที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่เผยว่าสภาพคล่องทางการเงินและการครองตัวเป็นโสดเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยังไม่ย้ายออก รวมทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ปัญหาหลักที่ทำให้ชาวมาเลเซียไม่ย้ายออกไปซื้อบ้านของตัวเอง โดย 62% ของชาวมาเลเซียที่ทำแบบสอบถามฯ เผยว่ามีเงินเก็บไม่เพียงพอที่จะซื้อหรือเช่าบ้าน ตามมาด้วยไม่ย้ายออกเนื่องจากยังไม่ได้แต่งงาน (48%) และมองว่าราคาอสังหาฯ ยังมีราคาแพงเกินไป จึงขอเก็บเงินไว้ดีกว่าจะนำไปซื้อบ้าน (31%) ในขณะที่ชาวอินโดนีเซียมีมุมมองคล้ายกับชาวมาเลเซีย คือมีเงินไม่พอที่จะซื้อหรือเช่าที่อยู่ใหม่ของตัวเองทำให้ไม่ตัดสินใจย้ายออก (55%) ตามมาด้วยยังไม่ได้แต่งงาน (45%) ในขณะที่อันดับสามเผยว่าอยากอยู่ดูแลพ่อแม่ (31%)

         แตกต่างจากชาวสิงคโปร์และชาวไทยอย่างเห็นได้ชัด โดยชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มองว่าการที่ยังไม่แต่งงานและโครงการที่อยู่อาศัยแบบ BTO (Build-to-Order) มีความล่าช้าเป็นอุปสรรคใหญ่ในสัดส่วนเท่ากันที่ 41% ตามมาด้วยปัญหาการเงิน (24%) ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวไทยไม่ย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ เกือบครึ่ง (49%) เผยว่าต้องการอยู่กับครอบครัวและคอยดูแลพ่อแม่ ตามมาด้วยไม่มีเงินเพียงพอในการหาที่อยู่อาศัยใหม่ (43%) และตั้งใจที่จะรับช่วงต่อบ้านจากพ่อแม่อยู่แล้ว (22%) สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตแบบครอบครัวขยายที่หล่อหลอมความผูกพันและคุ้นเคยกับการอยู่ร่วมบ้านเป็นครอบครัวใหญ่มากกว่า

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้

     ●  ความมั่นคงคือคำตอบ ดันเทรนด์เงินฉุกเฉินมาแรง เมื่อพูดถึงการวางแผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของกลุ่มมิลเลนเนียลในอาเซียน พบว่าเทรนด์เงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงหรือกองทุนมาแรงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นว่าชาวมิลเลนเนียลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ต้องเผชิญการแพร่ระบาดฯ ทำให้หันมาสนใจวางแผนการเงินเพื่อเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินในอนาคตมากขึ้น กว่า 3 ใน 4 ของชาวสิงคโปร์ 76% วางแผนเก็บเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ตามมาด้วยเก็บเงินไว้ชำระหนี้ (39%) และนำไปใช้เพื่อท่องเที่ยวในวันหยุด (35%) ด้านชาวมาเลเซีย 65% ให้ความสนใจในการเก็บเงินเพื่อสร้างกองทุนฉุกเฉินมาเป็นอันดับแรกเช่นกัน อย่างไรก็ดี ครึ่งหนึ่ง (50%) เผยว่าจะนำเงินไปซื้อที่อยู่อาศัย และ 40% ต้องการนำเงินไปใช้หนี้ที่ค้างอยู่ ในขณะที่แผนการใช้จ่ายของชาวไทยยังคงให้ความสนใจไปที่การบริหารจัดการเงินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการสร้างกองทุนฉุกเฉิน 61% ตามมาด้วยนำเงินไปใช้จ่ายภายในครอบครัวในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 60% และเลือกเก็บเงินไว้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ 54% สะท้อนให้เห็นภาระหน้าที่ของผู้บริโภคในช่วงวัยนี้ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินของครอบครัวและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนอื่นมากขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_DDproperty_ตลาดที่อยู่อาศัยซบเซา

แอสเซนด์ มันนี่ เผยมูลค่าบริษัททะยาน 1,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หลังระดมทุนครั้งล่าสุด และก้าวสู่การเป็นฟินเทคยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย

แอสเซนด์ มันนี่

แอสเซนด์ มันนี่ เผยมูลค่าบริษัททะยาน 1,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หลังระดมทุนครั้งล่าสุด และก้าวสู่การเป็นฟินเทคยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย

  • ล่าสุด นักลงทุนรายใหม่ โบว์ เวฟ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แอนท์ กรุ๊ป พาแอสเซนด์ มันนี่ สู่ทำเนียบยูนิคอร์น ในการระดมทุนรอบล่าสุดนี้
  • มุ่งขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านการขยายบริการ ทรูมันนี่ วอลเล็ท (TrueMoney Wallet) และบริการทางการเงินดิจิทัลอื่น ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมบริการทางการเงินเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น เครือเจริญโภคภัณฑ์มองการลงทุนครั้งนี้เป็นการดันธุรกิจใหม่เข้าสู่ยุค 4.0 เสริมแพลตฟอร์มแห่งโอกาสรับการเปลี่ยนแปลงหลังโควิด
  • เผยยอดการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์ม (Total Payment Volume) รวม 6 ประเทศ สูงถึง 14,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อปี 2563 
แอสเซนด์ มันนี่_ฟินเทค

แอสเซนด์ มันนี่ บริษัทฟินเทคชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยบริษัทฯ มีมูลค่าเพิ่มเป็น 1,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายหลังระดมทุนรอบล่าสุดจำนวน 150 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และก้าวสู่การเป็นบริษัทฟินเทคยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย โดย แอสเซนด์ มันนี่ มีแผนเดินหน้าขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการทางการเงินในระดับภูมิภาค เพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินมีชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านการเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ทรูมันนี่ วอลเล็ท และขยายบริการทางการเงินดิจิทัลต่าง ๆ อาทิ สินเชื่อดิจิทัล การลงทุนดิจิทัล และการโอนเงินข้ามประเทศ ให้ครอบคลุมในระดับภูมิภาค

โดยในการระดมทุนครั้งล่าสุดนี้ ยังได้บริษัท โบว์ เวฟ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ (Bow Wave Capital Management) จากสหรัฐอเมริกา มาลงทุนร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แอนท์ กรุ๊ป

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้ง และ ประธานคณะกรรมการบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “นับตั้งแต่การก่อตั้ง แอสเซนด์ มันนี่ เป็นบริษัทฟินเทคที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้คน บริษัทฯ กำลังขยายแพลตฟอร์มและบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา ดังนั้น แอสเซนด์ มันนี่ จึงจัดว่าเป็น Financial Platform of Opportunity หรือ แพลตฟอร์มทางการเงินที่มอบโอกาสให้กับผู้คนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยทั่วทั้งภูมิภาค ความสำเร็จในการระดมทุนของ แอสเซนด์ มันนี่ ยังเป็นความภาคภูมิใจในระดับชาติ เพราะสะท้อนศักยภาพของไทย ในการสนับสนุนบริษัทฟินเทคและผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศให้สามารถประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจไประดับนานาชาติได้”

ก่อนหน้านี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นองค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนของโลก UN Global Compact ระดับ LEAD การขับเคลื่อนด้านการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นการขยายแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ธุรกิจ 4.0 ของเครือฯ ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินแก่คนทุกภาคส่วน และตอบโจทย์เป้าหมายด้านความยั่งยืนระดับภูมิภาค

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ปัจจุบันเป็นฟินเทคสัญชาติไทยเพียงรายเดียวที่ให้บริการครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย เมียนมา กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ทั้งนี้ แอสเซนด์ มันนี่ คือผู้ให้บริการ ทรูมันนี่ แพลตฟอร์มดิจิทัลเพย์เมนต์และบริการทางการเงินดิจิทัลชั้นนำที่ให้บริการผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านราย ผ่านแอปพลิเคชั่น ทรูมันนี่ วอลเล็ท และเครือข่ายตัวแทนกว่า 88,000 รายทั่วภูมิภาค

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “จากการที่ แอสเซนด์ มันนี่ เป็นบริษัทฟินเทคสัญชาติไทยที่ได้เติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคนี้เปรียบเสมือนบ้านเกิดของเรา บริษัทฯ จึงต้องการช่วยให้ผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคสามารถเข้าถึงโอกาสที่มากขึ้นผ่านนวัตกรรมและบริการทางการเงินที่เรามอบให้ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา ที่ผ่านมา เราได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ถือหุ้นและนักลงทุนซึ่งมาร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ในขณะเดียวกัน การได้ก้าวขึ้นเป็นบริษัทฟินเทคยูนิคอร์น ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้เราสามารถดำเนินพันธกิจให้สำเร็จตามเป้าหมายได้มากขึ้น ต่อจากนี้ เราจะร่วมกับพันธมิตรของเราในภูมิภาคเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านแพลตฟอร์มและบริการทางการเงินอันหลากหลายของเรา”

นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “แอสเซนด์ มันนี่ กำลังขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสดและมอบบริการทางการเงินอันหลากหลายให้กับผู้ใช้ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านแอปพลิเคชั่น ทรูมันนี่ วอลเล็ท บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจและบริการครอบคลุมการเงินดิจิทัลอย่างครบครัน ได้แก่ บริการสินเชื่อดิจิทัล บริการเงินฝากดิจิทัล และบริการลงทุนแบบดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มการเงินที่ทำให้การเงินเป็นเรื่องง่าย ซึ่งช่วยให้ผู้มีรายได้น้อย ผู้ไม่มีงานประจำ รวมถึงคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินได้โดยง่าย  นอกจากนี้ แอสเซนด์ มันนี่ ยังมีบริการโอนเงินภายในประเทศและโอนเงินข้ามประเทศผ่านเครือข่ายตัวแทน และได้ช่วยตัวแทนเหล่านี้ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เราจะเดินหน้าพันธกิจของเรา ซึ่งก็คือการช่วยเหลือคนอีกหลายล้านให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านการส่งมอบนวัตกรรม ประสบการณ์การใช้งาน และแพลตฟอร์มที่ลูกค้ามอบความไว้วางใจสูงสุด”

นายอิไท เลมแบร์เกอร์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายการลงทุน บริษัท โบว์ เวฟ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ กล่าวว่า “ผลกระทบจากการระบาดใหญ่ได้เร่งการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราภูมิใจที่ได้สนับสนุน แอสเซนด์ มันนี่ ให้บรรลุพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค”

แอสเซนด์ มันนี่ เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อปี 2563 บริษัทฯ มียอดการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์ม (Total Payment Volume) รวม 6 ประเทศ อยู่ที่ 14,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของยอดการทำธุรกรรมรวมสูงสุดที่ 84% ระหว่างปี 2562 – 2563