อาลีบาบา คลาวด์ เผยนวัตกรรมที่ใช้ในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 เน้นการทำธุรกรรมซื้อขายอย่างยั่งยืน และ เข้าถึงคนทุกกลุ่ม

Alibaba Cloud

อาลีบาบา คลาวด์ เผยนวัตกรรมที่ใช้ในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 เน้นการทำธุรกรรมซื้อขายอย่างยั่งยืน และ เข้าถึงคนทุกกลุ่ม

    • เป็นครั้งแรกที่ธุรกรรมในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลกใช้งานบนระบบคลาวด์ 100%
    • ลดการใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลลงครึ่งหนึ่งในการทำธุรกรรมทุก ๆ 10,000 รายการเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
    • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 26,000 ตัน ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน
Alibaba Cloud2

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้ยกระดับระบบและการดำเนินงานทั้งหมดของอาลีบาบา กรุ๊ป ขึ้นไปทำงานบนระบบคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ ก่อนมหกรรมช้อปปิ้งครั้งใหญ่ที่สุดในโลกจะเริ่มขึ้น ได้มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์-เนทีฟ (Cloud Native) ต่าง ๆ มาใช้ในช่วง 11.11 ซึ่งเป็นมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก ซึ่งช่วยลดการใช้ทรัพยากรด้านการประมวลผลลงได้ 50% ต่อธุรกรรมทุก ๆ 10,000 รายการเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การประมวลผลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยที่ประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 20% และการใช้ทรัพยากรที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 30%

หลี่ เจิ้ง หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี อาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวว่า “เรามีพันธะสัญญาในการนำเสนอ ‘สมรรถนะด้านการประมวลผลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ที่ต้องการใช้ระบบดิจิทัลที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ และเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนทั่วถึงและครบทุกด้าน มหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ของอาลีบาบา กรุ๊ป นับเป็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนการให้บริการต่าง ๆ ของเราอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมที่ทำงานอย่างอัจฉริยะ เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สามารถให้บริการลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนได้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยีเหนือชั้นที่ได้รับการทดสอบแล้วเหล่านี้

ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมคลาวด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับจ่ายใช้สอยที่ยั่งยืน

อาลีบาบา คลาวด์ ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green technology) เช่น ไฮเปอร์-สเกล ดาต้าเซ็นเตอร์ (Hyperscale Data center) ของอาลีบาบา คลาวด์ มีการใช้ระบบระบายความร้อนด้วยสารเหลวและพลังงานลม เพื่อให้ 11.11 เป็นมหกรรมช้อปปิ้งที่มาพร้อมกับความยั่งยืนมากขึ้น และในปีนี้ การใช้พลังงานหมุนเวียนในดาต้าเซ็นเตอร์ของอาลีบาบาที่เมืองจางเป่ย ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่า 26,000 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ต้นไม้จำนวนหนึ่งล้านต้นดูดซับต่อปี

การนำ Hanguang 800 ซึ่งเป็นชิป AI inference ตัวแรกที่อาลีบาบา คลาวด์ ทำขึ้นเองและเปิดตัวเมื่อปี 2562 มาใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผลิตภัณฑ์และการแนะนำสินค้าต่าง ๆ ระหว่างมหกรรม 11.11 เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ประสิทธิภาพของอัลกอริธึมในฟังก์ชันการค้นหาบนตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์หรือ e-Marketplace Taobao เพิ่มขึ้นถึง 200% และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 58%

นอกจากนี้ ได้มีการนำ M6 ซึ่งเป็นโมเดล AI ขนาดใหญ่ของอาลีบาบาคลาวด์ มาใช้งานเป็นครั้งแรกในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งปีนี้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการที่ต้องใช้ AI ได้อย่างมาก เช่น การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาศัย AI และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสายการผลิต โดย M6 ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าใหม่ ๆ จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายเดือน เหลือเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ จึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่างานออกแบบที่ใช้ M6 ควบคู่กับการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตเสื้อยืดได้กว่า 30% เลยทีเดียว

เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการช้อปปิ้ง

อาลีบาบาคลาวด์มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ร้านค้าสามารถนำเสนอประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ดึงดูดใจและเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มมากขึ้น โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

มีการนำเทคโนโลยีการจดจำเสียงพูด (speech recognition) ที่พัฒนาโดย Alibaba DAMO Academy มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโหมดการใช้งานสำหรับผู้สูงวัย หรือ ‘senior mode’ ในแอปพลิเคชัน Taobao เทคโนโลยีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้สูงวัยในจีนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวใช้รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบดิจิทัลได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ได้มีการติดตั้ง Taoxiaobao ซึ่งเป็นผู้ช่วยอัจริยะที่สั่งงานด้วยเสียงที่ใช้อัลกอลิธึมของ DAMO ในการจดจำเสียงพูดไว้ใน ‘senior mode’ ของ Taobao เพื่อรองรับการค้นหาด้วยเสียงพูด ทั้งนี้ Taoxiaobao สามารถจดจำคำสั่งเสียงที่เป็นภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นได้หลากหลาย มีความแม่นยำสูง แม้กระทั่งในกรณีที่มีเสียงรบกวนรอบข้างที่ซับซ้อน ทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องพิมพ์ป้อนข้อความด้วยตนเอง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ติดขัดด้านการพิมพ์ข้อความบนอุปกรณ์มือถือเป็นอย่างมาก

ในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งปีนี้ ยังมีการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “การค้นหายาด้วยภาพ” ในแอปพลิเคชัน Taobao ซึ่งนับว่ามีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้ใช้จะสามารถค้นหายาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ด้วยการถ่ายหรือสแกนภาพบรรจุภัณฑ์หรือขวดยาโดยใช้ Pailitao ซึ่งเป็นเอนจิ้น การค้นหาภาพของแอป Taobao การค้นหาสินค้าโดยใช้ภาพถ่ายช่วยให้ผู้สูงวัยไม่ต้องพิมพ์ชื่อยาที่ยาวหรือซับซ้อน ผลลัพธ์การค้นหาจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับยาและสรรพคุณ การค้นหาสินค้าในระบบที่ใหญ่และซับซ้อนนี้ โดยอาศัยเทคโนโลยี AI แบบ Multi-modal ซึ่งบูรณาการเทคโนโลยี Optical Character Recognition (OCR) สำหรับการจดจำข้อความในรูปภาพ และช่วยเพิ่มความแม่นยำในการประมวลผลภาพถ่ายยา Taobao ได้ผนวกรวมเทคโนโลยี OCR เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561 โดยทำหน้าที่ประมวลผลรูปภาพหลายล้านรูป เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ช้อปปิ้งให้กับผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

ประยุกต์ใช้งานนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม

มีการนำหุ่นยนต์ขนส่งสินค้า “Xiaomanlv” ของอาลีบาบาไปใช้งานในกว่า 200 เขตพื้นที่ทั่วประเทศจีน เพื่อรองรับการจัดส่งสินค้าในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งของปีนี้ โดยยานพาหนะหุ่นยนต์ขนส่ง Xiaomanlv จำนวน 350 คันได้นำส่งสินค้ากว่า 1 ล้านชิ้นถึงมือผู้รับในช่วง 10 วันแรกของมหกรรม ช้อปปิ้งนี้ แซงหน้าปริมาณการจัดส่งสินค้าทั้งหมดในช่วง 12 เดือนนับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวหุ่นยนต์ขนส่งเมื่อเดือนกันยายน 2563

เครื่องมือต่าง ๆ ที่พัฒนาโดย DAMO ทำหน้าที่แปลภาษาของข้อมูลสินค้าหลายสิบล้านรายการเพื่อรองรับการซื้อขายระหว่างประเทศในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งครั้งนี้ และในขณะเดียวกัน DingTalkซึ่งเป็นแพลตฟอร์การทำงานร่วมกันผ่านระบบดิจิทัลของอาลีบาบา ได้ทำการประมวลผลข้อความมากถึง 606,900 ข้อความต่อวินาทีในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุดระหว่างที่จัดมหกรรมช้อปปิ้งในปีนี้โดยเป็นการรองรับการติดต่อสื่อสารอย่างฉับไวและราบรื่นให้กับผู้ใช้บนแอปต่าง ๆ มากกว่า 30 แอปในระบบนิเวศ (ecosystem) ของอาลีบาบา

ทรูมันนี่เปิดแคมเปญ “ชีวิตสนุกแน่ แค่ลดหย่อนภาษี” รับโค้งสุดท้ายของปี

TrueMoney_Tax campaign

ทรูมันนี่เปิดแคมเปญ “ชีวิตสนุกแน่ แค่ลดหย่อนภาษี” รับโค้งสุดท้ายของปี

ทรูมันนี่เปิดแคมเปญ “ชีวิตสนุกแน่ แค่ลดหย่อนภาษี” รับโค้งสุดท้ายของปี

ทรูมันนี่ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือพันธมิตร เปิดแคมเปญ “ชีวิตสนุกแน่ แค่ลดหย่อนภาษี” (Tax Refund to Me Fun) ชวนลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีรับโค้งสุดท้ายปี 64 แบบ Cashless ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet อาทิ บริการลงทุนกองทุนรวมทั้ง SSF หรือ RMF และแผนประกันรูปแบบต่าง ๆ พร้อมฟีเจอร์ช่วยคำนวณวางแผนลดหย่อนภาษี รวมถึงแนะนำการเลือกซื้อประกันฯ/กองทุนรวมที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับเงินในกระเป๋า ตบท้ายด้วยการมอบโปรคุ้มเพื่อให้มีเงินเหลือไปใช้ชีวิตสนุกสุด FUN ต้อนรับมาตรการคลายล็อกเปิดประเทศ

เพียงเข้าไปที่แอปฯ TrueMoney Wallet และไปที่แถบเมนู “บริการทางการเงิน” และเลือกไอคอน “ลดหย่อนภาษี” ก็สามารถเข้าถึงระบบคำนวณและวางแผนลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ พร้อมเลือกบริการที่จะช่วยคุณลดหย่อนภาษีแบบครบจบในที่เดียว 2 กลุ่มบริการที่จะมอบชีวิตสนุกสุด FUN ให้คุณ 5 สไตล์ ดังนี้

1) กองทุนรวม SSF หรือ RMF
ทรูมันนี่ จับมือ บลน. แอสเซนด์ เวลธ์ เปิดโอกาสให้คุณลงทุนในกองทุนรวม SFF หรือ RMF สำหรับลงทุนและลดหย่อนภาษีง่าย ๆ แถมไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าออกมาใช้ก่อน เพราะสามารถจ่ายด้วยบัตร Mastercard ของทุกธนาคาร ผ่าน TrueMoney Wallet เมื่อซื้อหน่วยลงทุน SSF หรือ RMF ของ บลจ. ยูโอบี, บลจ. พรินซิเพิล และ บลจ. เอ็มเอฟซี และชำระตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป

1.1 FUN แบบได้เงินก้อน กับกองทุนเพื่อการออม (Super Saving Fund หรือ SSF) ที่ไม่ต้องซื้อทุกปี แต่ถืออย่างน้อย 10 ปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

1.2 FUN หลังเกษียณ กับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) ที่มีให้ซื้อต่อเนื่อง ถือยาว ๆ ถึงอายุ 55 ปี นำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

พิเศษ! ชำระเพื่อซื้อกองทุน SFF หรือ RMF ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปกับ บลน. แอสเซนด์ เวลธ์ ผ่านแอปฯ TrueMoney Wallet ตั้งแต่วันนี้ – 30 ธ.ค. ศกนี้ รับหน่วยลงทุนหรือเงินคืนมูลค่า 0.2%* ของเงินลงทุน

2) ประกันฯ ที่ให้ทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนในอนาคต
ทรูมันนี่ วอลเล็ท จับมือพันธมิตรนำเสนอแผนประกันที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตสุด FUN และช่วยลดหย่อนภาษี พร้อมจัดเต็มโปรโมชั่นต่าง ๆ ดังนี้

2.1 FUN แบบชัวร์ไม่กลัวมะเร็ง : ประกันมะเร็งแบบ เจอ จ่าย จบ จาก MSIG เบี้ยเริ่มต้นเพียง 625 บาท/ปี จะช่วยให้การใช้ชีวิตนิวนอร์มัลได้อย่างเต็มที่ ค่าเบี้ยคงที่ตลอดชีพ ให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มที่ พิเศษ! รับ E-Voucher จาก Starbuck สูงสุด 300 บาท เมื่อชำระเบี้ยเพื่อซื้อแผนประกันมูลค่ามากกว่า 10,000 บาท ขึ้นไป

2.2 FUN แบบไม่เป็นภาระในปีถัดไป : ประกันสะสมทรัพย์จากเมืองไทยประกันภัย จ่ายครั้งเดียวในปีแรก คุ้มครองนาน 11 ปี ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท สำหรับใครที่ไม่ต้องการความยุ่งยากและไม่ต้องการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายรายปี ในปีถัด ๆ ไปจะได้จัดสรรเงินไปใช้ชีวิตสุด FUN ได้ พิเศษ! ชำระเพื่อซื้อแผนประกันสะสมทรัพย์จากเมืองไทยประกันภัยผ่าน TrueMoney Wallet วันนี้ รับเงินคืนสูงสุดถึง 1,000 บาท*

2.3 FUN ได้เต็มที่เมื่อมีประกันสุขภาพ : ประกันสุขภาพ Top-up สำหรับพนักงานบริษัทเติมเต็มสุขภาพดีไม่กลัวโรคภัยจาก Generali คุ้มครองครบ OPD & IPD ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด อีก 25,000 บาท เพิ่มความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลและเหตุฉุกเฉินตามจริง เบี้ยประหยัดถึง 13.4%* เมื่อมีประกันกลุ่ม ท่ามกลางภาวะโรคระบาดมีไว้อุ่นใจกว่า พิเศษ! ชำระเพื่อซื้อประกันสุขภาพ Top-Up จากเจนเนอราลี่ (Generali) ผ่านแอปฯ TrueMoney Wallet รับเงินคืนสูงสุดถึง 900 บาท*

คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.truemoney.com/taxsaving/

หมายเหตุ*

    • เงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์เป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
    • เงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตจะเป็นไปตามที่บริษัทฯ และบริษัทบัตรเครดิตกำหนด

IDC จัดให้ Infor เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape ด้านการให้บริการ SaaS และโซลูชัน ERP ที่ใช้งานบนคลาวด์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในเอเชียแปซิฟิก 2021

infor

IDC จัดให้ Infor เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape ด้านการให้บริการ SaaS และโซลูชัน ERP ที่ใช้งานบนคลาวด์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในเอเชียแปซิฟิก 2021

Infor ได้รับการยอมรับด้าน SaaS และโซลูชันคลาวด์ ERP เฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท

อินฟอร์ (Infor) บริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ประกาศว่าบริษัทได้รับการจัดให้เป็นผู้นำในรายงาน IDC MarketScape: Asia/Pacific Manufacturing Cloud Enterprise Resource Planning 2021 Vendor Assessment report (doc #AP46741021, July 2021) รายงาน IDC MarketScape เป็นการประเมินผู้ขายเทคโนโลยีด้วยกรอบการประเมินที่ครอบคลุมและเข้มงวด ซึ่งจะพิจารณาถึงเกณฑ์การประเมินที่สำคัญ เช่น ความสามารถในการใช้งานข้ามแอปพลิเคชันและการรวมการทำงานเข้าไว้ด้วยกัน การอยู่ในตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ ราคาและรูปแบบของการปรับใช้งาน รวมถึงการให้บริการลูกค้า เกณฑ์ในการพิจารณาเจ้าของเทคโนโลยีแต่ละรายยังรวมถึงครอบคลุมอุตสาหกรรมใดบ้าง เริ่มตั้งแต่ขอบเขตของการให้บริการ ฟังก์ชันการใช้งาน ความสามารถด้านนวัตกรรม และความพึงพอใจของลูกค้า

คุณสเตฟานี คริชนัน Associate Vice President IDC Asia/Pacific กล่าวว่า “รายงาน IDC MarketScape for Asia/Pacific Manufacturing Cloud ERP ตอบคำถามเกี่ยวกับขีดความสามารถของผู้จำหน่ายเทคโนโลยีในภูมิภาค เพื่อสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตให้เติบโตไปตามเส้นทางอุตสาหกรรม 4.0 จากข้อมูลของเรา การลงทุนด้าน ERP ถือเป็นเทคโนโลยีตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิก เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมายสำคัญด้านประสิทธิภาพและนวัตกรรม ตลอดจนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ดังนั้น ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกจึงต้องการการบูรณาการ ระบบอัตโนมัติ และการเชื่อมต่อระบบให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ส่งผลให้ระบบ ERP บนคลาวด์ที่รวมปัญญาประดิษฐ์ (AI), อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) และการวิเคราะห์ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแรงกดดันที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ที่ทำให้ผู้ผลิตมองหาเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่สำคัญเหล่านี้ได้ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของตน

คุณเชมา อรัมบูรู รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัทอินฟอร์ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นตัวเร่งให้บริษัทต้องเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ การทำให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม และขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ โซลูชัน ERP สำหรับใช้งานบนคลาวด์แบบ Multi-Tenant (MT) ที่รองรับผู้ใช้งานหลายรายในหลากหลายรูปแบบของอินฟอร์ (CloudSuites) ช่วยให้ธุรกิจเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ก้าวไปสู่โครงการต่าง ๆ ของอุตสาหกรรม 4.0 โดยช่วยรวมศูนย์การตัดสินใจ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน การที่อินฟอร์ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำยิ่งตอกย้ำถึงตำแหน่งของเราในตลาดนี้ เราเข้าใจถึงความแตกต่างของอุตสาหกรรมที่ลูกค้าดำเนินการอยู่ และเราภูมิใจที่จะนำเสนอโซลูชันเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์และพร้อมใช้งานทันที ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาจัดการกับความท้าทายที่ไม่เหมือนใคร และปลดล็อกช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นให้กับธุรกิจของตน”

โซลูชัน Infor CloudSuite เป็นโซลูชันเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท และเป็นบริการคลาวด์บนโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย และปรับขนาดได้ของ Amazon Web Services (AWS) โซลูชัน Infor CloudSuite ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีชั้นนำของอินฟอร์เช่น Infor OS เพื่อขับเคลื่อนประสบการณ์ผู้ใช้ยุคใหม่พร้อมการผสานรวมและเวิร์กโฟลว์ ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน Infor ERP สำหรับอุตสาหกรรม: https://www.infor.com/solutions/erp/industry-erp

ถึงเวลาสร้างระบบพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อรองรับการทำธุรกิจในอนาคต

์ีNutanix

ถึงเวลาสร้างระบบพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อรองรับการทำธุรกิจในอนาคต

Nutanix

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ไม่ว่าเศรษฐกิจมหภาคจะมีอิทธิพลต่อความเป็นไปในโลกนี้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่คือปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลและวิธีการบริหารจัดการข้อมูลจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว และช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีขึ้น องค์กรจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ทันเวลาที่ต้องการได้เลย หากไม่มีการใช้หลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้อง

IDC คาดการณ์ว่าจะมีการสร้าง, การเข้าถึง, การทำสำเนา และการใช้ข้อมูลเป็นปริมาณมากถึง 143 เซตตะไบต์ (zettabytes) ในปี 2567 แสดงให้เห็นว่ากำลังมีการสร้างข้อมูลในอัตราความเร็วสูงมาก และในปริมาณมหาศาล องค์กรต่าง ๆ กำลังนำแนวทางการทำงานที่ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติงานทำงานร่วมกัน (DevOps) มาใช้ นำซอฟต์แวรที่ใช้กับระบบคลาวด์มาใช้ให้เป็นประโยขน์ รวมถึงใช้ AI และระบบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้กำลังเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และมอบประสบการณ์เฉพาะตัวที่ตรงความต้องการของพนักงานและลูกค้าแต่ละคน แต่เมื่อปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ยังเป็นปัจจัยผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ พิจารณาเรื่องพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลของตนเสียใหม่ รวมถึงวิธีการที่องค์กรเหล่านี้จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านั้นเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าต่อองค์กร

เมื่อไม่นานมานี้ นูทานิคซ์ได้นำข้อมูล IDC InfoBriefs มาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และบทบาทของผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ ในการช่วยกำหนดรูปแบบของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ใช้ข้อมูลเป็นพลังขับเคลื่อน ซึ่งนับเป็นคลื่นลูกใหม่ของการทรานส์ฟอร์มนี้ ทั้งนี้ IDC พบว่ากลุ่มผู้บริหารระดับ c-suite มุ่งมั่นลงทุนโครงการด้านข้อมูลอย่างมาก ทั้งนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ของ CEOs มีความต้องการอย่างชัดเจนที่จะทำให้องค์กรของตนใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการดำเนินงานมากขึ้น

การเชื่อมโยงการทำงานจากทุกจุดในองค์กรเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งจำเป็นต่อเป้าหมายในการใช้ข้อมูลขับเคลื่อนองค์กร ผู้นำทางเทคโนโลยีล้วนมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรที่อยู่กระจัดกระจาย เพื่อดึงคุณประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นออกมา โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจำนวนมาก

การสร้างชั้นข้อมูลที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ปัจจุบัน ข้อมูลที่กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ เช่น อยู่ที่สถานประกอบการหลักขององค์กร อยู่ที่เอดจ์ คลาวด์ และไซต์สำรอง ส่งผลต่อระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ ทั้งยังเพิ่มช่องโหว่และความซับซ้อนต่าง ๆ องค์กรจำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านปริมาณของข้อมูล ความหลากหลายและคุณภาพของข้อมูล ระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ กฎระเบียบของข้อมูล การบริหารจัดการการเพิ่มขึ้นของข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการเรียกใช้ข้อมูล (egress costs) รวมถึงฐานข้อมูลเก่าที่เก็บมานาน ผนวกกับความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ต้องป้องกันการโจมตีจากแรนซัมแวร์ต่าง ๆ ซึ่ง IDC ระบุว่าเป็นสิ่งท้าทายที่สุดในการปกป้องข้อมูล

แพลตฟอร์มไอทีแบบเก่าไม่สามารถใช้บริหารจัดการความท้าทายเหล่านี้ได้ องค์กรจำเป็นต้องใช้ชั้นข้อมูล (data layer) ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถเข้าใจและรู้เท่าทันภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ ได้ ชั้นข้อมูลนั้นจะต้องมีเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยและมีความยืดหยุ่น ติดตั้งมาเป็นมาตรฐานตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ทั้งนี้การนำหลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้กับสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และนำไปใช้ได้ทุกส่วนขององค์กร

IDC ระบุว่า ไฮบริด มัลติคลาวด์ ยังคงเป็นกลยุทธ์ “ที่ดีที่สุดในการใช้คลาวด์ทั้งสองระบบ” องค์กรต่าง ๆ ทราบดีว่าหากต้องการสร้างองค์กรที่ชาญฉลาดและรองรับอนาคตในวันนี้ พวกเขาจะต้องใช้คลาวด์หลายระบบพร้อมกัน เพื่อรองรับฟังก์ชันการทำงานที่เฉพาะเจาะจงมากมาย และใช้ดิสทริบิวเต็ดคลาวด์เพื่อการประมวลผลที่เอดจ์ด้วยฟังก์ชันไฮเปอร์สเกลต่าง ๆ ดังนั้นหลักการพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูล จะต้องสามารถทำงานร่วมกันกับไฮบริด มัลติคลาวด์ได้ เช่น รวบรวมเวิร์กโหลดต่าง ๆ ไว้เป็นหนึ่งเดียว สามารถผสานรวมข้อมูล วิเคราะห์ และทำงานกับข้อมูลได้ ไม่ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นไว้ ณ ที่ใดก็ตาม

ดึงคุณประโยชน์ของข้อมูลออกมาใช้ด้วยระบบอัตโนมัติ
ในการรวมข้อมูลและดึงข้อมูลเชิงลึกจากทุกจุดขององค์กรมาไว้ภายในเลเยอร์พื้นฐาน ผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ต้องทบทวนและคิดหาวิธีที่จะใช้บริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างขององค์กร หลายปีที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการจัดเตรียมฐานข้อมูล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลก็ติดขัดอยู่กับการรอเวลาเพื่อเตรียมสตอเรจที่ซับซ้อน ซึ่งต้องการดิสก์จำนวนมาก เพื่อเก็บข้อมูลที่มีประเภทต่างกัน รวมถึงความยุ่งยากในการโคลนและกระบวนการรีเฟรชข้อมูล

สถาปัตยกรรมไฮบริด มัลติคลาวด์ ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้ฐานข้อมูลที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กรให้เหมือนกับฐานข้อมูลนั้นอยู่บนสภาพแวดล้อมคลาวด์ได้ ระบบอัตโนมัติและ one-click ฟีเจอร์การบริหารจัดการฐานข้อมูลหลายรายการ รวมถึงการกำกับดูแลบริการมัลติเพิลพับลิคคลาวด์ทั้งหมด และศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในองค์กร ช่วยให้ใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้าง นูทานิคซ์นำเสนอโซลูชัน Database as a Service ที่มีแดชบอร์ดเดียว พร้อมความเรียบง่ายด้วยการใช้ one-click และระบบอัตโนมัติสำหรับฐานข้อมูลสำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะได้รับการจัดเก็บอยู่ ณ จุดใดก็ตาม

การใช้หลักการพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมากในการบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง การจะนำเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น Splunk หรือ Tableau มาใช้ต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสเกลและรองรับฟังก์ชันการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงได้ และแน่นอนว่าสถาปัตยกรรมแบบไฮบริด มัลติคลาวด์ช่วยให้การดำเนินงานนี้สำเร็จได้

องค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการด้านข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์และหรือระบบนิเวศ IDC ระบุว่า ในเอเชียแปซิฟิกมีตัวเลขการลงทุนในโครงการดังกล่าวนี้ถึง 54 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าอเมริกาเหนือที่อยู่ที่ 33 เปอร์เซ็นต์ และมากกว่ายุโรปที่เป็น 30 เปอร์เซ็นต์1 นับว่าเป็นการเน้นให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ มีโอกาสมากมายในการบริหารจัดการข้อมูลของตนในแนวทางที่เป็นการขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ และได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีมากขึ้น

นวัตกรรมการจัดการคลังสินค้า ได้รับแรงกระตุ้นจาก ความคาดหวังของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาตรฐานสูงขึ้น

ฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

นวัตกรรมการจัดการคลังสินค้า ได้รับแรงกระตุ้นจากความคาดหวังของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาตรฐานสูงขึ้น

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน ประจำภูมิภาคอาเชียน บริษัท อินฟอร์

ความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ธุรกิจระดับโลก และการค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้้งแต่การผลิตอาหารไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้องค์กรต้องปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานด้านซัพพลายเชน ลดค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในแต่ละวัน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้เกิดจากแรงกดดันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องตอบสนองต่อความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่ง
เคยชินกับการได้รับประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการเฉพาะตัวของตนและที่ไหนเมื่อไรก็ได้

ความกดดันนี้ค่อย ๆ กระจายมายังวงการคลังสินค้า แม้ว่าที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างจำกัดเพื่อประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ เช่น ระบบป้ายรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Radio Frequency Identification: RFID) หรือบาร์โค้ด แต่ความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่านี้กำลังจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ สำหรับผู้เพิ่งเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ IDC รายงานว่า ในปี 2566 งานต่าง ๆ ในคลังสินค้าจะมีการใช้หุ่นยนต์ และการจัดการด้านต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากถึง 65% ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้กว่า 20% และลดเวลาในการประมวลผลคำสั่งลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง แม้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงให้คลังสินค้าเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดอาจจะยังต้องใช้เวลาอีกมาก แต่เทคโนโลยีก็เป็นประโยชน์ต่องานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย

ระบบคลังสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจที่กระบวนการทำงานพื้นฐานของธุรกิจคลังสินค้าในภูมิภาคนี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าที่ผ่านมา งานด้านโลจิสติกส์และระบบคลังสินค้าจะไม่ได้รับการจัดให้มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ก็ตาม ทั้งนี้ การทำงานแบบดั้งเดิมซึ่งต้องพึ่งพาคนมากกว่าการนำระบบต่าง ๆ มาใช้ ทำให้องค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การจ้างพนักงานเพิ่ม เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นจัดการกับความท้าทายหรือข้อติดขัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในคลังสินค้านั้น

อย่างไรก็ตาม คลังสินค้ายุคใหม่มีจำนวนประเภทของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และต้องการเวลาในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสมบูรณ์ครบวงจรที่สั้นลง ก็กำลังท้าทายรูปแบบการทำงานดังกล่าวข้างต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น มักทำให้ระบบโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดมากขึ้นตามไปด้วย และอาจเป็นข้อผิดพลาดที่มีราคาแพงเกินที่จะแก้ไข ปริมาณการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกินความสามารถของพนักงานที่จะรับมือกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต่างตื่นตัวกับความจริงที่ว่า ถึงเวลาที่องค์กรจำเป็นต้องแสวงหาทางเลือกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ทันต่อความต้องการที่เข้ามายังคลังสินค้าต่าง ๆ ของตนได้

นอกจากนี้ความกดดันที่เกิดจากธุรกรรมอีคอมเมิร์ซบนช่องทางโซเชียลต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน การเพิ่มขึ้นของการซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซ ทำให้ความต้องการต่าง ๆ เกิดมาจากลูกค้าโดยตรง ลูกค้าที่คาดหวังว่าจะสามารถเห็นความเป็นไปและสถานะคำสั่งซื้อของตนเองได้ทันที รายละเอียดต่าง ๆ เช่น เส้นทางการขนส่ง การบรรจุหีบห่อ และการรับประกันว่าได้จัดส่งสินค้าที่ถูกต้องตามคำสั่งซื้อนั้น มีความสำคัญมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังต้องมีระบบรองรับความผิดพลาดใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแก้ไขให้สิ่งต่าง ๆ กลับมาถูกต้อง การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น บริษัทต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ต้องเริ่มใช้แนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ มิฉะนั้นจะพบว่า การปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องเผชิญกับความคาดหวังและปริมาณงานที่เปลี่ยนไป จะทำให้ธุรกิจตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบอย่างมาก

โลจิสติกส์ในฐานะผู้สร้างความแตกต่าง
เมื่อโลจิสติกส์กลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจได้ ธุรกิจต่าง ๆ ควรปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบคลังสินค้าอย่างไร แนวคิดแบบเดิมประการหนึ่ง คือ การบริหารจัดการคลังสินค้าให้เป็นหน่วยงานเอกเทศและให้รองรับการ “อัปเกรด” ซึ่งแนวทางนี้อาจทำให้เกิดการฝึกอบรมพนักงานได้ดีขึ้น หรือแนวทางการใช้ระบบใหม่สักระบบที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการติดตามด้านโลจิสติกส์ แต่วิธีการนี้มักช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในแนวระนาบ และอาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดไว้

ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนไปใช้ป้ายรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (RFID) แทนบาร์โค้ดโดยตรงนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และส่งผลให้ต้องสแกนสินค้าเองเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้กำไรเพิ่มเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน การนำ RFID ไปติดไว้ที่บรรจุภัณฑ์ในขั้นตอนจัดเก็บบนแท่นวางสินค้าสำหรับลากเก็บหรือลำเลียง (pallet) ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการใหม่ จะสามารถเพิ่มความแม่นยำได้โดยใช้แรงงานน้อยที่สุด ในขณะที่การใช้บีคอน (beacons) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี IoT ส่งผ่านสัญญาณบลูทูธ เพื่อสนับสนุนระบบการบริหารจัดการทรัพยากรจะช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมาก

องค์กรที่จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างแท้จริง ต้องไม่มองงานด้านโลจิสติกส์ว่าเป็นเอกเทศแยกจากงานอื่น การที่โลจิสติกส์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทำให้งานด้านคลังสินค้าต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมทำประโยชน์ให้กับธุรกิจมากขึ้น เช่น งานประกอบสำเร็จบางประเภทสามารถทำที่คลังสินค้าได้ ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์สามมิติ (3D printing) ส่งผลให้คลังสินค้าแทบจะไม่ต้องผลิตงานจากการร้องขอเป็นครั้งคราวเลย

ก้าวต่อไปข้างหน้า
ตัวอย่างข้างต้น อาจจะต้องมีการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างการผลิตกับระบบคลังสินค้ากันใหม่ และอาจจำเป็นต้องปรับปรุงโมดูลด้านโลจิสติกส์ที่ใช้อยู่ในระบบ ERP ปัจจุบันด้วยเช่นกัน หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ต้องปรับใช้ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) แบบพิเศษ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น ทั้งนี้ WMS เป็นระบบบริหารจัดการที่สร้างจากวิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตั้งแต่ต้น สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น พร้อมการทำงานอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

โดยสรุป คลังสินค้าที่ทันสมัยสามารถทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมาก นอกจากเพิ่มประสิทธิภาพและเวลาในการตอบสนองที่รวดเร็วขึ้น การมีทรัพยากรมากขึ้น มุ่งพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานด้านต่าง ๆ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ ที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้า ประสบการณ์ที่จะทำให้ลูกค้าประหลาดใจและชื่นชอบ และหากทำได้สำเร็จจะช่วยให้ธุรกิจนำหน้าคู่แข่งได้

ธุรกิจมีความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการด้านโลจิสติกส์ มากกว่าการตั้งความหวังว่าจะมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากวิธีการแบบเดิม ๆ หากพิจารณาในแง่บวกจะพบว่า ค่าใช้จ่ายของระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความสามารถของเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาที่องค์กรต้องถามตัวเองว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว และเราพร้อมหรือยัง