แอนท์กรุ๊ป แต่งตั้งผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนใหม่

Jia Hang AntGroup

แอนท์กรุ๊ป แต่งตั้งผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนใหม่

เสริมศักยภาพบุคลากร พร้อมขยายขีดความสามารถ เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีอย่างเต็มที่ในภูมิภาคนี้

แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ประกาศแต่งตั้ง มร. เจีย ฮาง ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายการดำเนินงานของแอนท์กรุ๊ป เสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถให้แก่บุคลากรในภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการให้บริการแก่ลูกค้า และสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ธุรกิจระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ธุรกิจเอสเอ็มอี’ เพื่อให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

มร. เจีย ฮาง กล่าวถึงการแต่งตั้งในครั้งนี้ว่า “ขณะที่องค์กรต่างๆ พยายามที่จะฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้งโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต เราพร้อมเสมอที่จะอยู่เคียงข้างลูกค้าไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใด รวมถึงเราได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในภูมิภาคนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจท้องถิ่นประสบความสำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของทีมงานที่มีประสบการณ์ ความสามารถทางดิจิทัล และ know-how”

“ด้วยการใช้ประโยชน์จาก Alipay+ รวมถึงเครือข่ายพาร์ทเนอร์ภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการทั่วโลก รวมถึงผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคเพื่อให้บริการที่ดีกว่าแก่ผู้บริโภคมากกว่าหนึ่งพันล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเชื่อมโยงเข้ากับบริการอีวอลเล็ท และบริการชำระเงินผ่านมือถือต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคนิยมใช้ นอกจากนี้เรายังมีแผนที่จะบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีในระดับท้องถิ่นภายใต้โครงการต่าง ๆ เช่น 10×1000 Tech for Inclusion[i] เป็นต้น” มร. เจีย ฮาง กล่าว

มร. เจีย ฮาง จะประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแอนท์กรุ๊ป ในประเทศสิงคโปร์  ทั้งนี้ มร. เจีย ฮาง มีประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 20 ปีในด้านเทคโนโลยีการเงิน โดยเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญมากมายด้านการดำเนินงานระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ปตั้งแต่ปี 2558 และล่าสุดได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานทั่วโลกของ WorldFirst ผู้นำด้านระบบชำระเงินในธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งกำกับดูแลทีมงานฝ่ายโซลูชั่นด้านการชำระเงินเพื่อรองรับตลาดอีคอมเมิร์ซระดับโลกและระดับภูมิภาค

อนาคตของความยั่งยืนด้านอาหาร

อนาคตของความยั่งยืนด้านอาหาร

อนาคตของความยั่งยืนด้านอาหาร

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บริษัทต่าง ๆ จะต้องดำเนินการเชิงรุกในส่วนของตนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าจะผ่านการร่วมมือกับภาครัฐ การใช้เครื่องมืออัจฉริยะ และการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อการเติบโตและการปรับตัว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชากรที่เพิ่มขึ้น และการระบาดของโควิด-19 เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งที่กำลังมีอิทธิพลและกำลังมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบอาหารของโลก  การที่บริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต้องเผชิญกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลานั้น บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มจำเป็นต้องถอยหนึ่งก้าวเพื่อประเมินเสียใหม่ว่าบริษัทของตนอยู่ ณ สถานะใดในเรื่องของความยั่งยืน

สำหรับเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่มีโซลูชันใดโซลูชันหนึ่งที่เหมาะสมไปกับทุกธุรกิจ  ในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องให้องค์กรทบทวนเรื่องผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัสดุและกระบวนการต่าง ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงวิธีที่จะสามารถเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับการดำเนินงานทุกด้านของตน

แนวทางแรกที่ควรทำคือการให้คำจำกัดความว่า ความยั่งยืนในการดำเนินงานของบริษัทคืออะไร และจะเริ่มใช้แนวทางต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกสายงานของบริษัทอย่างไร จากนั้นทำการเชื่อมโยงเส้นทางการเปลี่ยนสู่การดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนของบริษัทเข้าด้วยกัน เช่น เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทตั้งไว้ และกรอบการดำเนินธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่วางแผนไว้ในปัจจุบัน  แนวทางสุดท้ายคือการกำหนดและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเป้าหมายต่าง ๆ และวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้เร่งกระบวนการต่าง ๆ

ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน

ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญมากในสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน วิธีการทำงานแบบสองประสานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดหมายด้านความยั่งยืนนี้ เป็นแนวทางสำคัญที่จะมั่นใจได้ว่าสามารถแก้ปัญหาที่ยืดเยื้อได้จริง

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนเสียตั้งแต่ต้นทางของการเกิดปัญหา เป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะมีนโยบายและโครงการที่สนับสนุนการทำงานด้านความยั่งยืนให้กับธุรกิจต่าง ๆ และลดความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ธุรกิจยังต้องตระหนักว่าตนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อลูกค้า ซึ่งพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าล้วนต้องการความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ การศึกษาจึงเป็นหัวใจหลักทั้งกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่แบบองค์รวม การสนับสนุนจากภาครัฐจะช่วยให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่มระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรรมนี้ สามารถรวมตัวกันเพื่อจำแนกความท้าทายต่าง ๆ และหารือเกี่ยวกับโอกาสต่าง ๆ ในหลายแง่มุม เช่น การผลิตผลิตผลด้านอาหาร การผลิตในโรงงาน และบรรจุภัณฑ์ รวมถึงสามารถรวบรวมนวัตกรรมการวิจัย และความพยายามต่าง ๆ ในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ด้วยกัน

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นกรณีศึกษาด้านความพยายามด้านความยั่งยืนที่เน้นความร่วมมือแบบองค์รวมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ  เอเชียแปซิฟิกมีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายขององค์กรทุกขนาดต่างตระหนักถึงหน้าที่ของตนที่มีต่อส่วนรวม เช่น มาตรการด้านความยั่งยืนในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในบางรัฐของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ตลอดจนการนำการผลิตอาหารท้องถิ่นมาใช้ในสิงคโปร์

ถึงแม้ว่าผู้บริโภคต่างพยายามเต็มที่เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำกลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล แต่ไม่มีอะไรดีไปกว่าการยับยั้งไม่ให้พลาสติกและความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์หลุดลอดเข้ามาใน value chain เสียตั้งแต่เริ่มต้น และนี่เองที่นวัตกรรมและความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ ด้วยการใช้นโยบายและผลิตภัณฑ์ทำการแทรกแซงเสียตั้งแต่ต้นทางเพื่อสร้างความยั่งยืน

เป็นอีกครั้งที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยบริษัทต่าง ๆ คำนวณต้นทุนการดำเนินการของทางเลือกในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ใช้ซ้ำได้หรือย่อยสลายได้  ข้อมูลที่รวบรวมจากการวิเคราะห์เหล่านี้ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) จะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ทรัพยากรทางเลือกและกระบวนการผลิต หรือกระบวนการผลิตใด ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง

ขนาดธุรกิจไม่ใช่ปัญหา

กรณีเรื่องขนาดของผู้ประกอบการนี้ แม้แต่เกษตรกรรายย่อยก็อาจพบว่าตนอยู่บนทางแยกระหว่างความยั่งยืนและความอยู่รอด เครื่องมือที่ชาญฉลาด เช่น การใช้เซ็นเซอร์ที่ใช้ความสามารถของอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ทำการติดตามสภาพการเจริญเติบโตของผลผลิต ลดการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง และเพิ่มผลผลิต ควบคู่กับการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ของผลผลิตที่คาดหวังไว้ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค จะช่วยให้เกษตรกรมีความคล่องตัวและตอบสนองต่อเงื่อนไขต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศกับองค์กรขนาดใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เกษตรกรรายย่อยสามารถใช้ทรัพยากรจากองค์กรใหญ่ ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงาน และความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายนี้จะสามารถเร่งให้เกิดนวัตกรรมที่คล่องตัวในองค์กรขนาดใหญ่ได้เช่นกัน ความร่วมมือต่าง ๆ จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้อย่างสะดวก และได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

สำหรับผู้ที่กังวลเกี่ยวกับ “greenwashing” ซึ่งหมายถึงการที่บริษัทใช้ประโยชน์เรื่องความยั่งยืนมาเป็นเทรนด์ในการสร้างกำไรนั้น  มีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้  ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้วางแนวทางและข้อจำกัดในการยับยั้งการกระทำดังกล่าว ไม่ว่าจะผ่านรูปแบบการจัดการฉลากและการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือการตรวจสอบย้อนกลับที่มากขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท ซึ่งทั้งระดับความรับผิดชอบและความโปร่งใสที่สูงขึ้นล้วนเป็นผลลัพธ์และวิธีป้องกันที่ต้องการให้เกิดขึ้น

โลกที่กำลังเปลี่ยนไป

หากถามว่าโควิด-19 เผยให้เห็นความไม่มีประสิทธิภาพของระบบอาหารของโลกอย่างไรทั้งในเรื่องของการจัดหาอาหาร ความขาดแคลน และความสูญเปล่า ผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบที่ธุรกิจได้รับ คือ ธุรกิจที่มีการพัฒนาและปรับกระบวนการดำเนินงานจะก้าวหน้าและประสบความสำเร็จกว่าธุรกิจอื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

บริษัทที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ต่างแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อสร้างความเติบโต ด้วยการบูรณาการความยั่งยืนของธุรกิจหลักทั้งหมดเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร ไม่ว่าจะผ่านการลดบรรจุภัณฑ์ ลดการสูญเปล่าในระบบซัพพลายเชน หรือการฟื้นฟูส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบนิเวศ

สิ่งสำคัญกว่านั้น คือบริษัทเหล่านี้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยให้เปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกำลังมองไปข้างหน้าหลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเทคโนโลยีจะยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือและนวัตกรรมที่ทันสมัย ยั่งยืน และยืดหยุ่นให้กับทุกภาคส่วน และนำพาบริษัทต่าง ๆสู่อนาคตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

PropertyGuru Successfully Completes Business Combination with Bridgetown 2 Holdings

PropertyGuru

PropertyGuru Successfully Completes Business Combination with Bridgetown 2 Holdings

    • Proceeds of ~US$254 million will be used to further accelerate organic growth and pursue M&A opportunities to capture the growth momentum of a recovering Southeast Asia property market driven by long-term macro tailwinds of increasing affluence, digitalization and urbanization
    • Transaction values PropertyGuru at an enterprise value of ~US$1.36 billion and an equity value of ~US$1.61 billion
    • PropertyGuru will ring the NYSE’s opening bell on March 18 and begin trading under the ticker “PGRU”
PropertyGuru

PropertyGuru Pte. Ltd. (“PropertyGuru” or “the Company”), Southeast Asia’s leading1 property technology (“PropTech”) company, today completed its previously announced business combination with Bridgetown 2 Holdings Limited (“Bridgetown 2”) (NASDAQ: BTNB), a special purpose acquisition company formed by Pacific Century Group (“Pacific Century”) and Thiel Capital LLC (“Thiel Capital”). The business combination was approved by Bridgetown 2 stockholders in an Extraordinary General Meeting of Company Shareholders held on March 15, 2022.

PropertyGuru Group Limited’s (“PubCo”) ordinary shares are expected to begin trading on the New York Stock Exchange (“NYSE”) on March 18, 2022 under the ticker symbol “PGRU”.

“We are thrilled to have successfully completed our business combination with Bridgetown 2, which provides additional capital to pursue organic and strategic growth, and will accelerate our ability to access capital markets in pursuit of delivering world-class solutions for our customers,” said Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group. “Over the past 15 years PropertyGuru has helped shape the PropTech industry in Southeast Asia and introduced many first solutions for property seekers, agents, and developers that enabled digitalization of the property industry. As evidenced by the 23% increase in our 2021 revenue – we are entering our next post-Covid phase of growth with significant momentum.

Hari V. Krishnan

“As we look ahead, we will continue to invest in technology and expand our services and offerings to build on our leading positions in Singapore, Vietnam, Malaysia and Thailand.[1] Southeast Asia’s real estate market is beginning to recover from the pandemic and as the region’s increasingly affluent and digitally enabled population moves to urban centers, PropertyGuru is well-positioned to benefit from these long-term trends.” 

Southeast Asia is estimated to be the world’s fourth largest economy by 2030[2], driven by favourable long-term macroeconomic dynamics, creating significant opportunities for PropertyGuru – which has an addressable market of US$8.1 billion according to Frost & Sullivan. Through its continued investments, the Company is positioned to stay ahead of the evolving market demand and extend its leadership position as the region’s property markets recover from the pandemic.

“PropertyGuru is digitally transforming a traditional real estate market in Southeast Asia to create a trusted and transparent online property marketplace,” said Matt Danzeisen, Chairman, Bridgetown 2. “We believe PropertyGuru is just scratching the surface in the world’s most dynamic and fastest growing region, and we are excited to partner with Hari and his talented team to create lasting value for our shareholders, employees, customers and partners.” 

Transaction Details

The completion of the business combination values PropertyGuru at an enterprise value of ~US$1.36 billion and an equity value of ~US$1.61 billion.

PropertyGuru received ~US$254 million in gross proceeds through the contribution of US$122 million of cash held in Bridgetown 2’s trust account, a concurrent US$100 million private placement (“PIPE”) of common stock anchored by Baillie Gifford, Naya, REA Group, Akaris Global Partners, and one of Malaysia’s largest asset managers, priced at US$10.00 per share. REA Group also invested an additional US$32 million. In addition, KKR, TPG Group and REA Group rolled 100% of their equity into PropertyGuru, demonstrating their continued commitment to the Company’s growth strategy. 

Advisors

Merrill Lynch (Singapore) Pte. Ltd. served as exclusive financial advisor to PropertyGuru. Latham & Watkins LLP and Allen & Gledhill LLP served as legal advisors to PropertyGuru.

Merrill Lynch (Singapore) Pte. Ltd., Citigroup Global Markets Inc., KKR Capital Markets Asia Limited and TPG Capital BD, LLC served as placement agents to Bridgetown 2. Skadden, Arps, Slate, Meagher & Flom LLP and Rajah & Tann Singapore LLP served as legal advisors to Bridgetown 2.

Ringing the Bell at the NYSE

On March 18, PropertyGuru’s Chief Executive Officer and Managing Director Hari V. Krishnan will ring the NYSE opening bell at 9:30 a.m. Eastern Time (9:30 p.m. Singapore Time). He will be joined on stage by PropertyGuru’s Leadership team, Founders, Board and Bridgetown 2’s Chairman and CEO. The bell-ringing ceremony will be livestreamed to its gala listing event in Singapore and available on NYSE’s website here: https://www.nyse.com/bell.

PropertyGuru will commemorate its listing by opening the doors to the Company’s five Southeast Asian markets through live-stream door installations between New York and its home markets, that will be set up at the NYSE’s Experience Square. The event will take place at 10:15a.m. Eastern Time. 

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3 จาก Gartner Solution Scorecard ประจำปี 2021

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3 จาก Gartner® Solution Scorecard ประจำปี 2021

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้รับการยอมรับจากรายงานล่าสุดประจำปี 2021 Gartner® Solution Scorecard ให้เป็นผู้นำของกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ทั่วโลก ของ Alibaba Cloud International IaaS&PaaS ในด้านความสามารถที่สำคัญของระบบคลาวด์ในด้านการประมวลผลการจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์

บริการโครงสร้างพื้นฐานไอที (Infrastructure as a service: IaaS) และ บริการแพลตฟอร์มไอที (Platform as a service: PaaS) ของอาลีบาบา คลาวด์ ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 3 โดยได้คะแนนสูงสุดรวม 81% ในกลุ่มผู้ให้บริการนานาชาติที่ได้รับการประเมินในตลาดนี้

อาลีบาบา คลาวด์ ได้คะแนน 86% ของเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในดัชนีชี้วัดปี 2021 นอกจากนี้ยังได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่ 74% ของข้อกำหนดความสามารถ และผ่านเกณฑ์ที่ 58% ของเกณฑ์ข้อกำหนดทางเลือกตามลำดับ การจัดลำดับนี้เป็นการประเมินค่าในอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก และเป็นการประเมินผู้ให้บริการที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งหมด 9 หมวดหมู่สำหรับโซลูชันล่าสุดด้าน IaaS และ PaaS ซึ่งรวมถึง การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยตามข้อกำหนดทั้งหมด 270 ข้อ

ปีนี้เป็นปีที่สามติดต่อกันที่อาลีบาบา คลาวด์ ติดอยู่ในการจัดอันดับ Solution Scorecard ของ Gartner อาลีบาบา คลาวด์ เชื่อมั่นว่าคะแนนที่ได้รับการประเมินในปีนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการปรับใช้งานระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที รวมถึงการส่งผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดนอกประเทศจีนมากขึ้น และยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อื่นในระดับโลก

นายเจฟ ชาง ประธาน อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “เราได้รับการยอมรับจาก Gartner® Solution Scorecard อย่างต่อเนื่องใน 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และทางเลือกด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ขยายออกไปยังนานาชาติ เรามีความเห็นว่าความพยายามเหล่านี้ได้สะท้อนออกมาให้เห็นจากคะแนนที่เราได้รับ และช่วยให้เรามีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าผู้ให้บริการในระดับโลกรายอื่น ๆ สำหรับก้าวต่อไป เราจะเสริมความแกร่งให้กับคุณสมบัติหลักด้าน IaaS+PaaS ของเรา และก้าวสู่การเปิดตัวบริการและคุณสมบัติใหม่ ๆ ในทุกภูมิภาคให้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ การส่งมอบประสบการณ์การใช้งานบนระบบคลาวด์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทั่วโลก”

ปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ มีการดำเนินธุรกิจอยู่ทั้งหมด 80 โซน 25 ภูมิภาคสำหรับการให้บริการกับลูกค้าหลายล้านรายทั่วโลก และได้เสริมความแกร่งให้กับความสามารถด้านการประมวลผลพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัท สำหรับ ApsaraCompute Shenlong Architecture รุ่นที่ 4 ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2564 มีความสามารถในระดับผู้นำด้านความยืดหยุ่นของคอนเทนเนอร์ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพของ input/output (IO) ระยะเวลาในการตอบสนอง และคุณสมบัติด้านความปลอดภัยในระดับ chip-level และยังเป็นสถาปัตยกรรมเดียวในอุตสาหกรรมที่มีการติดตั้ง Remote Direct Memory Access (RDMA) ขนาดใหญ่ที่สามารถลดความหน่วงในการตอบสนองของเครือข่ายได้ต่ำถึง 5 ไมโครวินาที

สำหรับโซลูชันพื้นที่จัดเก็บข้อมูล อาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอ Pangu ซึ่งเป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบการกระจายที่เป็นเอกสิทธิ์ของอาลีบาบา คลาวด์ มอบความสามารถในการปรับขนาดการทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ปรับใช้งานโหลดบาลานซ์ได้โดยอัตโนมัติ และยังมีความพร้อมใช้งานของข้อมูลที่สูง ทั้งยังได้สร้าง Luoshen ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายระบบคลาวด์ที่เป็นนวัตกรรมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายระบบคลาวด์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อรองรับการใช้งานให้กับลูกค้าหลายล้านคน

อาลีบาบา คลาวด์ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบกว่า 80 รายการ รวมถึง การปกป้อง DDoS, เว็บแอปพลิเคชันไฟร์วอลล์, ความปลอดภัยในการใช้งานระบบคลาวด์ และการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจให้กับธุรกิจทั่วโลก

เข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานของ Gartner คลิกที่นี่

“ความต้องการที่อยู่อาศัยกับวิถีชีวิตดิจิทัล” มีความท้าทายมากน้อยแค่ไหน เมื่อ COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค

“ความต้องการที่อยู่อาศัยกับวิถีชีวิตดิจิทัล” มีความท้าทายมากน้อยแค่ไหน

“ความต้องการที่อยู่อาศัยกับวิถีชีวิตดิจิทัล” มีความท้าทายมากน้อยแค่ไหน เมื่อ COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค

วิถีชีวิตดิจิทัลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตปัจจุบัน โดยมีตัวแปรสำคัญอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต รวมถึงรูปแบบธุรกิจไปสู่บริบทใหม่ที่ทุกคนต้องปรับตัวเข้าหา ซึ่งทำให้ผู้คนปรับตัวให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างและดูแลสุขอนามัยมากขึ้น และยังทำให้ทัศนคติบางอย่างเปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้จากแบบสอบถาม DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ที่เผยให้เห็นทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบของโควิด-19 โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภค (66%) หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัดมากขึ้น ตามมาด้วยเกือบครึ่ง (42%) เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการไปรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อย ๆ โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้บริโภค (31%) ยังคงกังวลใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดฯ เนื่องจากผู้ใกล้ชิดได้รับผลกระทบ ในขณะที่มีผู้บริโภคเพียง 1% เท่านั้นที่มองว่าโควิด-19 ไม่ได้มีผลต่อการดำเนินชีวิตเลย

โควิด-19 ปัจจัยเร่งคนหาบ้านก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตดิจิทัล?

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด สะท้อนผลกระทบของโควิด-19 ที่กลายมาเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยไปจากก่อนยุค New Normal โดยมองหาบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคใหม่ด้วยเช่นกัน  

    • Work from Home ทำให้เกิดการลาออกระลอกใหญ่ (The Great Resignation) มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้การ Work from Home เป็นภารกิจประจำวันและแม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายและมีการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศตามปกติแล้วก็ตาม ผู้บริโภคจำนวนมากได้ทบทวนรูปแบบการทำงานและวิถีชีวิตที่ต้องการมากขึ้น จนเกิดกระแสการลาออกระลอกใหญ่ของมนุษย์เงินเดือน (The Great Resignation) ในสหรัฐฯ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ในประเทศไทย เห็นได้จากผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (59%) เผยว่าตั้งใจหางานที่อนุญาตให้ Work from Home ได้มากขึ้น เนื่องจากเห็นความสำคัญของการได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวและต้องการรักษาระยะห่างในสังคม นอกจากนี้ในช่วง Work from Home ที่ผ่านมา ผู้บริโภคต่างได้ปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยเพื่อสร้างบรรยากาศที่บ้านให้รองรับการทำงานออนไลน์ไปแล้ว จึงอาจยังไม่เห็นความจำเป็นในการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ
    • โลกออนไลน์มีบทบาทในการซื้อขายอสังหาฯ มากขึ้น จากเดิมที่ช่องทางออนไลน์เคยเป็นเพียงแหล่งค้นหาข้อมูลโครงการที่อยู่อาศัย แต่การแพร่ระบาดฯ เป็นอุปสรรคสำคัญในการออกไปเยี่ยมชมโครงการฯ ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต้องปรับกลยุทธ์ในการเชื่อมต่อโลกออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคและนักลงทุนต้องเรียนรู้และปรับตัวตามไปด้วย โดยมากกว่าครึ่งของผู้บริโภคเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ในการคัดเลือกโครงการที่อยู่อาศัยที่สนใจ (54%) และเยี่ยมชมโครงการเสมือนจริง (52%) นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 5 ของผู้บริโภค (20%) มีการเซ็นสัญญาซื้อขายผ่านออนไลน์ สะท้อนให้เห็นการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากโลกออนไลน์ทั้งในฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายได้เป็นอย่างดี
Thailand Consumer Sentiment Study1
    • Cryptocurrency เพิ่มโอกาสให้คนรุ่นใหม่ซื้อบ้าน การเข้ามามีบทบาทของสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ที่นอกจากจะเป็นการลงทุนที่เห็นผลตอบแทนเร็วแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนในสกุลเงินนี้ยังถือเป็นช่องทางที่สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มีราคาสูงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย จากแบบสอบถามฯ พบว่า มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (57%) สนใจที่จะใช้สกุลเงินดิจิทัลในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งเปิดรับเทคโนโลยีและเรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วนั้น มีแนวโน้มสนใจซื้อบ้านด้วยสกุลเงินดิจิทัลสูงตามไปด้วย โดยกลุ่มช่วงอายุ 22-29 ปี ให้ความสนใจถึง 71% ในขณะที่ช่วงอายุ 30-39 ปี สนใจถึง 61% 

ดีมานด์อสังหาฯ ยังโต ปัจจัยสนับสนุนเพียบ

ข้อมูลจากแบบสอบถาม DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยให้เห็นว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังคงมีแนวโน้มเติบโตถึงแม้จะมีผลกระทบจากโควิด-19 ผู้บริโภคที่มีความพร้อมด้านการเงินเริ่มมีการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงแผนการใช้ชีวิตในระยะยาวมากขึ้น

    • “มาตรการภาครัฐ” ปัจจัยบวกดันความต้องการซื้อบ้าน จากสภาพเศรษฐกิจยังคงไม่ฟื้นตัว ผู้บริโภคจึงเลือกที่จะวางแผนการเงินอย่างรัดกุมและชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน เนื่องจากต้องการรักษากระแสเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ดี มาตรการจากภาครัฐที่ออกมาสนับสนุนการซื้อขายในตลาดอสังหาฯ อาทิ การลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง การผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ชั่วคราวของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กลายเป็นปัจจัยบวกที่มีแนวโน้มจะส่งผลให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคเติบโต โดย 7 ใน 10 ของผู้บริโภคเผยว่าตั้งใจจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคต หลังจากที่ผู้บริโภคได้มีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19 ได้ดีขึ้น ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และผู้พัฒนาอสังหาฯ มีแนวโน้มปรับราคาขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมไปถึงผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งนอกประเทศที่อาจส่งผลให้แนวโน้มราคาสินค้าและภาวะเงินเฟ้อในไทยปรับตัวสูงขึ้น ได้กลายเป็นอีกปัจจัยเร่งให้เกิดการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย เห็นได้จากการที่ผู้บริโภควางแผนซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 2 ปีมีถึง 45% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจรอบที่แล้ว (39%) สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการซื้อบ้านที่มีแนวโน้มสูงขึ้น 
    • คนวางแผนซื้อบ้านเพิ่ม รองรับแผนเกษียณ พบผู้บริโภคมากกว่า 3 ใน 4 (78%) ที่เป็นเจ้าของบ้านอยู่แล้วยังคงต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่ม โดยมองว่าการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มนั้นไม่ได้ตอบโจทย์การอยู่อาศัยเท่านั้น แต่วางแผนต่อยอดการใช้ชีวิตเพื่อความมั่นคงในอนาคตด้วย โดยเป้าหมายยอดนิยมของการซื้อบ้านเพิ่มอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภค คือ ซื้อไว้รองรับแผนเกษียณอายุในอนาคต (31%) ตามมาด้วยการซื้อให้ญาติหรือพี่น้อง (28%) และซื้อปล่อยเช่าสร้างรายได้ระยะยาว (26%) นอกจากนี้ ยังพบว่า 46% ของผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของบ้านปัจจุบันนั้นยังมีแผนที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มภายในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและมีความพร้อมทางการเงินกลับมามีความมั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
Thailand Consumer Sentiment Study
    • “สุขภาพ” ยังคงมีบทบาทสำคัญเมื่อมองหาที่อยู่อาศัย การแพร่ระบาดฯ ที่ยาวนานส่งผลให้เกือบ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคปัจจุบัน (63%) หันมาให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากมองว่าการมีร่างกายที่แข็งแรงและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส นอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของการมีสถานบริการสุขภาพอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยแม้ว่าการแพร่ระบาดฯ จะหมดไปก็ตาม โดยแผนการดูแลสุขภาพในอนาคตของผู้บริโภคถึง 88% เผยว่าต้องการเช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลมากที่สุด ตามมาด้วย 45% มองหาที่อยู่อาศัยใกล้ร้านขายยา และ 37% มองหาที่อยู่อาศัยใกล้ศูนย์บริการด้านสุขภาพเฉพาะทาง เพื่อวางแผนรองรับการใช้ชีวิตระยะยาวที่ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางไปพบแพทย์หรือตรวจเช็กสุขภาพ   
    • รถยนต์ไฟฟ้ายังมาแรง ตัวแปรสำคัญเมื่อคิดซื้อบ้าน เมื่อภาครัฐมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรการสนับสนุนฯ รถยนต์ไฟฟ้าที่ชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้กระแสความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในไทยกลับมาอีกครั้ง โดย 2 ใน 3 ของคนหาบ้าน (67%) เผยว่ายินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารองรับ เนื่องจากผู้บริโภคคำนึงถึงความยั่งยืนของการใช้ชีวิตในอนาคต การซื้อที่อยู่อาศัยแต่ละครั้งถือเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องคิดอย่างรอบคอบ มองไปถึงฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในระยะยาวให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง