โครงการ “10×1000 Tech for Inclusion” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านฟินเทค เดินหน้าสานต่อโปรแกรมเรียนรู้ด้านฟินเทค เพื่อลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลทั่วโลก

10x1000 Tech for Inclusion

โครงการ “10x1000 Tech for Inclusion” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้านฟินเทค เดินหน้าสานต่อโปรแกรมเรียนรู้ด้านฟินเทค เพื่อลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลทั่วโลก

ด้วยความร่วมมือที่แข็งแกร่งจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ 17 คน และองค์กรชั้นนำระดับโลก 31 แห่ง รวมทั้งนักลงทุนด้านเทคโนโลยี และองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 1,000 คน สำเร็จหลักสูตร Fintech Foundation Program และ Fintech Leadership Program ในปี 2564

โครงการ “10×1000 Tech for Inclusion (10×1000)” แพลตฟอร์มการอบรมและการเรียนรู้ด้านฟินเทค ประกาศความสำเร็จของโครงการในปี 2564 ที่ผ่านมา ด้วยวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการฝึกอบรมบุคลากรที่มีความสามารถ และผู้นำด้านเทคโนโลยี 1,000 คนในแต่ละปี เป็นระยะเวลา 10 ปี ในปี 2564 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์มดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 1,067 คนจาก 66 ประเทศที่สำเร็จโครงการ Fintech Foundation และ Fintech Leadership Program โดยได้รับประกาศนียบัตรรับรองจาก 10×1000 และ International Finance Corporation (IFC) ซึ่งผู้เรียนเกือบ 80% มาจากเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีบังคลาเทศ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เป็นสามประเทศแรกที่มีผู้เข้าร่วมมากสุด

เจสัน พาว, หัวหน้าโครงการ 10×1000 กล่าวว่า “การเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับแอปพลิเคชันเทคโนโลยีเกิดใหม่ การแบ่งปันความรู้ข้ามภูมิภาค และเครือข่ายธุรกิจในแต่ละประเทศคือสิ่งสำคัญสามอันดับแรกที่ผู้เข้าอบรมสนใจในโครงการ 10×1000 ด้วยตระหนักถึงศักยภาพและความต้องการในการแบ่งปันความรู้ข้ามประเทศและข้ามภูมิภาค โครงการ 10×1000 จึงมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อและส่งเสริมคอมมูนิตี้ฟินเทคระดับโลกที่มีความกระตือรือร้นของผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญ และพันธมิตรเพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ ในปี 2564 เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ 17 คน องค์กรชั้นนำระดับโลก 31 แห่ง นักลงทุนด้านเทค และองค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ ในฐานะพันธมิตรที่ใกล้ชิดของเราเพื่อคัดสรรผู้เข้าอบรมในโครงการ 10×1000”

“เราส่งเสริมทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็มของธุรกิจการเงินการธนาคาร รวมถึง ฟินเทค และหน่วยงานที่กำกับดูแล ในการหาช่องทางในการพัฒนา และโอกาสทางการตลาดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและดิจิทัลที่รวดเร็วในปัจจุบัน โดยจะส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลมุ่งเน้นการบริการด้านการเงินทั้งหมด การคุ้มครองผู้บริโภค ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และความรู้ด้านการเงินดิจิทัล” ฮานส์ โคนิง, หัวหน้ายุทธศาสตร์การเงินดิจิทัลระดับโลกของ IFC กล่าว “โครงการ 10X1000 Tech for Inclusion ถือว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของโลกดิจิทัล และเสริมศักยภาพของผู้นำด้านเทคโนโลยีจากการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ เพื่อเป็นผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ยั่งยืนในตลาดเกิดใหม่ต่อไป”

โครงการ 10×1000 ยังได้ประกาศหลักสูตรการเรียนรู้ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับปี 2022 ดังนี้:

    1. Fintech Expert Program
      • Fintech Expert Program เป็น learning journey ต่อไปสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีฟินเทค
      • โปรแกรมออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หัวข้อต่าง ๆ ในเชิงลึก ตั้งแต่ AI, Blockchain ไปจนถึง Cloud เพื่อนำความรู้ไปใช้ได้จริงพร้อมทักษะเชิงปฎิบัติผ่านวิดีโอที่บันทึกไว้ 8 เซสขั่น
    1. Green Fintech Miniseries
      • เพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับ ESG และฟินเทคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มินิซีรีส์นี้จะนำเสนอในรูปแบบวิดีโอที่บันทึกไว้ 3 เซสชั่นเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง และ best practices

3.  โปรแกรม Fintech Foundation ในภาษาฝรั่งเศส

      • เพื่อรองรับความต้องการและเข้าถึงผู้เรียนมากขึ้นทั่วโลก โครงการ 10×1000 จะจัดทำโปรแกรม Fintech Foundation Program เป็นภาษาฝรั่งเศส

“เรามุ่งมั่นที่จะขยายหลักสูตรเพื่อสร้าง journey การเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคและเทคโนโลยีจากทั่วโลก เรายินดีต้อนรับผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้เพื่อลดช่องว่างทักษะดิจิทัลและขับเคลื่อนธุรกิจการเงินทั้งหมดไปกับเรา” เจสัน พาว กล่าว

เนื้อหาการฝึกอบรมที่จัดทำโดยโครงการ 10×1000 ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการกำกับหลักสูตร (CSC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาที่รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร คณะกรรมการชุดปัจจุบันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจากภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

ดาต้าเบส: คิดใหม่-ทำใหม่ เหตุผลห้าประการที่ทำให้ DBaaS เป็นหัวใจของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ดาต้าเบส: คิดใหม่-ทำใหม่

ดาต้าเบส: คิดใหม่-ทำใหม่ เหตุผลห้าประการที่ทำให้ DBaaS เป็นหัวใจของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ข้อมูลปริมาณมากที่องค์กรสร้างขึ้นเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ในอดีตข้อมูลหนึ่งเพตาไบต์ถือเป็นข้อมูลปริมาณที่สูงมาก และก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ เพราะเทียบเท่ากับตู้เก็บเอกสารทรงสูงราว 20 ล้านตู้ หรือข้อความที่พิมพ์บนหน้าเอกสารขนาดมาตรฐาน 500,000 ล้านหน้า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่องค์กรจะต้องบริหารจัดการข้อมูลหลายสิบหรือหลายร้อยเพตาไบต์ ซึ่งอยู่ในดาต้าเบสที่หลากหลาย ทำให้ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ จำนวนมาก

เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ปริมาณข้อมูลก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากยังนำระบบแบบดั้งเดิมมาใช้บริหารจัดการดาต้าเบสก็ย่อมจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากมากขึ้น เพราะระบบรุ่นเก่าให้การตอบสนองช้า ประสิทธิภาพการทำงานไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้การดำเนินงานโดยรวมขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากดาต้าเบสมีบทบาทสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ จึงต้องมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อใช้จัดการดาต้าเบสได้อย่างเหมาะสม

ความเรียบง่ายของดาต้าเบส

รายงานวิจัยของไอดีซีระบุว่า ในการใช้งานดาต้าเบสนั้น เป็นการใช้ดาต้าเบสที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กรราว 75 เปอร์เซ็นต์[1] ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่น่าประหลาดใจ เพราะข้อมูลเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กร และองค์กรต่าง ๆ ย่อมต้องการที่จะเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญที่สุดไว้ใกล้ตัว แต่หากธุรกิจให้ความสำคัญกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแล้ว การใช้บริการด้านดาต้าเบส (Database-as-a-Service: DBaaS) จะช่วยให้องค์กรสามารถตั้งค่าและจัดการดูแลดาต้าเบสของตนได้อย่างไม่ยุ่งยาก DBaaS สามารถรองรับระบบงานอัตโนมัติและการจัดการตนเองได้ ไม่ว่าดาต้าเบสนั้นจะทำงานอยู่บนระบบใดก็ตาม

ห้าเหตุผลสำคัญที่องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นควรจะพิจารณาใช้ DBaaS

1) ลดปัญหาการหยุดทำงานของระบบ

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมาก ทำให้การสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นความท้าทายต่อธุรกิจมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน การติดตั้งแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมไอทีแบบเดิม อาจทำให้ระบบต้องหยุดทำงานเป็นเวลานาน รายงานวิจัยของฟอเรสเตอร์คอนซัลติ้งที่สนับสนุนโดยนูทานิคซ์ประเมินว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายราว 35,000 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมงอันเนื่องมาจากการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน การสูญเสียรายได้ และผลกระทบในด้านอื่น ๆ ที่ตามมา[2] เช่น การติดตั้งแพตช์ด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาระบบของสายการบินแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ทำให้ระบบหยุดทำงานและตัดการเชื่อมต่อนานถึง 14 ชั่วโมงต่อการอัปเดตแต่ละครั้ง และนั่นหมายถึงไม่สามารถจำหน่ายตั๋วเครื่องบินได้ในช่วงเวลานั้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อรายได้

reduce-downtime

การใช้ DBaaS จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถดูแลจัดการดาต้าเบสหลากหลายได้แบบรวมศูนย์ ซึ่งสามารถกระจายแพตช์ไปยังดาต้าเบสทั้งหมดได้โดยอัตโนมัติ และรวดเร็วขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ซึ่งในหลาย ๆ กรณี สามารถติดตั้งแพตช์ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และหากเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ การใช้งาน DBaaS จะช่วยให้องค์กรสามารถกู้คืนดาต้าเบสได้ทันที และช่วยให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้เป็นปกติ

2) ลดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร

รายงานวิจัยของไอดีซีชี้ว่า องค์กรเกือบสามในสี่ (73 เปอร์เซ็นต์) ใช้เครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อจัดการกับดาต้าเบสที่อยู่ในองค์กรและดาต้าเบสที่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานไอที และคลาวด์แตกต่างกัน[3] ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้บริษัทต้องจัดซื้อเครื่องมือที่ซ้ำซ้อนและต้องคอยให้การดูแลรักษาเครื่องมือเหล่านั้น แต่ยังลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้วย เช่น ผู้จัดการด้านดาต้าเบสต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพื่อสร้างและดูแลดาต้าเบสต่าง ๆ ทั้งนี้ฟอเรสเตอร์ได้รายงานว่า ทีมผู้ดูแลดาต้าเบส (Database Administrator – DBA) มักจะต้องทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ทันเวลา

รายงาน Forrester’s Total Economic ImpactTM of Nutanix Era ระบุว่าองค์กรจะสามารถลดการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวได้ 50 เปอร์เซ็นต์ เพียงแค่เปลี่ยนไปใช้โซลูชันการบริหารจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายกว่า[4] นอกจากนี้ผู้ดูแลดาต้าเบสมักจะจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณด้านฮาร์ดแวร์สำหรับดาต้าเบสมากเกินจำเป็น เพื่อเผื่อไว้สำหรับการขยายตัวของดาต้าเบสในอนาคต แต่หากใช้ระบบ DBaaS ซึ่งสามารถปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการและในเวลาที่ต้องการแล้ว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมดไป

ฟอเรสเตอร์ประเมินว่า องค์กรจะได้รับผลตอบแทนการลงทุน (ROI) โดยรวม 291 เปอร์เซ็นต์ หากเปลี่ยนไปใช้ Nutanix Database Service[5]

3) จัดหาบุคลากรที่มีความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

รายงานวิจัยของฟอเรสเตอร์ชี้ว่า บริษัทต่าง ๆ พบว่าบริษัทฯ มีความท้าทายในการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีชุดทักษะด้านการจัดการดูแลดาต้าเบสระบบเก่า[6] เพราะเมื่อใดก็ตามที่พนักงานที่มีประสบการณ์ลาออกหรือเกษียณ ความรู้ความสามารถของเขาเหล่านั้นก็จะหายไปจากองค์กรด้วยทันที เกิดช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง และตามมาด้วยปัญหาด้านคุณภาพของบุคลากร ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Gen Z เริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน คนรุ่นนี้เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลและคาดหวังว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ดังนั้นองค์กรจึงต้องนำเทคโนโลยีที่ทำงานบนคลาวด์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นและใช้งานง่ายที่สุดมาใช้ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรกลุ่มนี้ไว้กับบริษัท

work-force

4) ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

การที่องค์กรต่าง ๆ ตั้งเป้าที่จะก้าวนำหน้าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามีความสำคัญต่อการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ มากขึ้น ดาต้าเบสต่าง ๆ คือขุมทองของข้อมูลลูกค้า และเทคโนโลยีใหม่ต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจข้อมูลนี้ เช่น ช่วยให้สามารถตรวจสอบรูปแบบของข้อมูล ตรวจสอบได้ว่าข้อมูลมีลักษณะผิดปกติอย่างไรหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการทำงานแบบแมนนวล

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี AI และ ML ทำงานได้ดีที่สุดบนคลาวด์ การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับดาต้าเบสที่ติดตั้งภายในองค์กรจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป การย้ายดาต้าเบสไปไว้บนคลาวด์และใช้ DBaaS ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจที่ต้องการติดตามพฤติกรรมของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ และตามติดทันเทรนด์ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่ทรงคุณค่า

insight-data

5) เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

รายงานการคาดการณ์ของ IDC ประจำปี 2565 ระบุว่า ภายในปีนี้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิกจะพึ่งพาหรือได้รับอิทธิพลจากดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลโดยตรงจะเร่งให้เกิดอัตราการเติบโตต่อปีที่ 18 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2565-2567 ซึ่งคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งหมด ภายในสิ้นปี 2567[7]

การนำ DBaaS มาใช้ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงงานด้านอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นดิจิทัลด้วย ทีมพัฒนาแอปพลิเคชันของบริษัทที่ดูแลการสร้างระบบและกระบวนการใหม่ ๆ ต้องทำงานกับดาต้าเบสที่เป็นปัจจุบันและสดใหม่ ไม่ใช่ข้อมูลที่ทำซ้ำไว้ซึ่งมักจะไม่เป็นปัจจุบัน การใช้ DBaaS เป็นการปูทางให้หน่วยงานทั่วทั้งองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

สำหรับประเทศไทย องค์กรด้านเทเลคอม และเซอร์วิสโพรไวเดอร์นำโซลูชัน DBaaS ของนูทานิคซ์ไปใช้กับสภาพแวดล้อมดาต้าเบสขององค์กร เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานดาต้าเบสที่เพิ่มสูงขึ้นขององค์กรทั้งในแง่มุมของขนาด ความต้องการใช้งาน ความหลากหลายของดาต้าเบส การป้องกันและกู้คืนดาต้าเบส ซึ่งหลังจากได้มีการนำโซลูชัน DBaaS มาใช้งานทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับดาต้าเบสมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

      • การติดตั้งดาต้าเบสเมื่อมีการร้องขอจากยูสเซอร์ และหน่วยงานต่าง ๆ เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
      • การร้องขอสำเนา และการโคลนดาต้าเบสเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบ นำไปประมวลผล และออกรายงานต่าง ๆ ใช้เวลาลดลงเหลือ 30 นาที และลดการใช้พื้นที่สตอเรจที่จัดเก็บสำเนาข้อมูลดาต้าเบสเหล่านั้น
      • สามารถกู้คืนดาต้าเบสกลับไปยังช่วงเวลาที่ต้องการได้โดยใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีกับข้อมูลขนาดมากกว่า 60 TB
      • การดูแลจัดการดาต้าเบสหลายประเภทเช่น Oracle, PostgreSQL และอื่น ๆ สามารถทำผ่านเครื่องมือเดียวกัน ซึ่งช่วยลดความยุ่งยาก และลดค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน

ดาต้าเบสแห่งอนาคต

ดาต้าเบสเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นวันนี้และในอนาคตปริมาณข้อมูลมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณจะเป็นปัจจัยบังคับให้องค์กรต่าง ๆ ปรับปรุงระบบจัดการดาต้าเบสของตนให้ทันสมัยและใช้งานง่าย ไม่ว่าดาต้าเบสนั้นจะอยู่บนระบบภายในองค์กร บนไพรเวทคลาวด์ หรือบนไฮบริดคลาวด์ องค์กรจำเป็นต้องหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานของตน

พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ในปี 2565

พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ในปี 2565

พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ในปี 2565

สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย

โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย

หลายคนอาจมีจินตนาการว่าเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) น่าจะเหมือนกับในภาพยนตร์แนวไซ-ไฟที่มียานพาหนะลอยฟ้ารับส่งผู้คน หรือมีหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หมอประจำบ้าน

เราพูดถึงกันมานานเกี่ยวกับเมืองที่มีความเป็น ‘อัจฉริยะ’ แต่คำนิยามของความเป็นอัจฉริยะที่ว่านี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเรามีการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เราจะมาสำรวจกันว่าพัฒนาการของ ‘สมาร์ทซิตี้’ ในปี 2565 ก้าวล้ำไปถึงไหนแล้ว

ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์ล่าสุดของสมาร์ทซิตี้ยังคงห่างไกลจากภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), 5G, เทคโนโลยีคลาวด์, บิ๊กดาต้า และ Internet of Things (IoT) ที่ถูกนำมาใช้ในเมืองอย่างต่อเนื่องทำให้พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ได้ก้าวหน้าไปตามความคาดหวังของผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของสมาร์ทซิตี้ในวันนี้ งาน Expo 2020 Dubai* น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในโลกสำหรับสภาพแวดล้อมเมืองที่มีการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึงและได้รับการออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

(*ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”)

ด้วยอาคารกว่า 130 หลังเชื่อมต่อถึงกันในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของประเทศโมนาโก งาน Expo 2020 Dubai ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติที่ปลอดภัย ยั่งยืน และบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 170 ปี ของการจัดนิทรรศการระดับโลกนี้

Expo 2020 Dubai มีความเป็นอัจฉริยะมากแค่ไหน

หัวข้อหลักของการจัดงาน Expo 2020 คือ “การเชื่อมโยงความคิดและการสร้างสรรค์อนาคต”  งานนิทรรศการนี้อาศัยการขับเคลื่อนด้วย AI และมีแพลตฟอร์มที่แยกต่างหากสำหรับการจัดการพลังงาน  นอกจากนี้ อาคารอัจฉริยะและระบบรักษาความปลอดภัยถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและทำงานอย่างสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้จัดการอาคารสามารถควบคุมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น การทำความเย็น คุณภาพของอากาศ การผ่านเข้า-ออกอาคาร และสัญญาณเตือนอัคคีภัย

Expo 2020 เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งงานกว่า 210,000 จุด รวมไปถึงประตูเข้า-ออก 5,500 จุด และกล้องกว่า 15,000 ตัว เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าชมงาน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างราบรื่นและไร้รอยต่อ  นอกจากนั้น ยังมีการประหยัดพลังงาน ปรับสมดุลในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดโดยนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ และใช้พลังงานที่กักเก็บในแบตเตอรี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการชาร์จไฟให้กับยานยนต์ไฟฟ้า

ความชาญฉลาดของงาน Expo 2020 อยู่บนระบบปฏิบัติการ MindSphere ที่ทำงานบนคลาวด์ของซีเมนส์ (Siemens) โดยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์โดยสาร ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ โคมไฟส่องสว่างและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ถูกเชื่อมโยงในลักษณะที่สัมพันธ์กันและถูกกลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ปรับสภาพความเป็นอยู่ภายในเมือง โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ถูกออกแบบและรวมไว้ตั้งแต่ระดับรากฐานของ MindSphere

งาน Expo 2020 ตอกย้ำถึงศักยภาพของสมาร์ทซิตี้อย่างรอบด้าน กล่าวคือ ระบบอัจฉริยะจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อมิติต่างๆ ของเมือง เช่น การบริหารจัดการ การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณสุข และการดูแลความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกรวมมูลค่าราว 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯจนถึงปี พ.ศ. 2569

ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าการลงทุนเพื่อปรับปรุงเมืองให้ฉลาดขึ้นจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2573 โดยจะเป็นการลงทุนทั้งในส่วนของภาคเอกชน เช่น การสร้างอาคารอัจฉริยะ และระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Microgrid) รวมถึงภาครัฐ และทุกคนจะได้รับประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยให้เมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีความยืดหยุ่นและปลอดภัยมากขึ้น

ต่อยอดจาก Expo 2020 Dubai สู่เมืองที่แท้จริง

หลังจากที่งาน Expo 2020 สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม พื้นที่ในบริเวณนี้จะถูกพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองแห่งอนาคตที่มีชื่อว่า District 2020 ภายใต้โครงการของรัฐบาลดูไบ

ด้วยการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานและการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่มีการก่อสร้างแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ให้กลายเป็นชุมชนเมืองเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัย องค์กรธุรกิจ และนักท่องเที่ยว District 2020 จะยังคงเก็บรักษาสินทรัพย์และสิ่งก่อสร้างภายในพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ที่เป็นไปตามมาตรฐานอาคารสีเขียวทั้ง LEED และ CEEQUAL โดยจะพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมืองอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์และรองรับการใช้งานที่หลากหลายและยั่งยืน มีทั้งพื้นที่สำนักงาน พื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน ชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นและเงียบสงบ สถานที่ท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ศูนย์นิทรรศการ Dubai Exhibition Center และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อธุรกิจและการพักผ่อน โดยคาดว่า District 2020 จะสามารถรองรับได้ประชากรสูงสุดถึง 145,000 คน

District 2020

ซีเมนส์จะมีบทบาทสำคัญในการแปลงโฉมพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ให้กลายเป็น District 2020 และจะกลายเป็นผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ระดับโลกในส่วนของธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก และทางเรือ จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี มาที่ District 2020 และคาดว่าพนักงานของซีเมนส์ประมาณ 1,000 คนจะทำงานอยู่ในอาคารสองหลังที่ใช้เทคโนโลยีการจัดการอาคารที่ถูกติดตั้งไว้เดิมสำหรับงาน Expo 2020 เช่น เซ็นเซอร์อัจฉริยะ และแพลตฟอร์ม IoT ที่รองรับ ‘ระบบตรวจจับ’ ทั่วทุกจุดภายในอาคาร เพื่อจัดหาข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะใช้งานของอาคาร รวมไปถึงการให้บริการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งสำหรับบุคคลและอุปกรณ์ต่าง ๆ

ถอดบทเรียน Expo 2020 Dubai กับการพัฒนา Smart City ของประเทศไทย

สถานการณ์การแพร่ระบาดก่อให้เกิดปัญหาท้าทายมากมายสำหรับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งยังทำให้รูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และการพบปะสังสรรค์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  นอกจากนั้น ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนสำหรับเมืองต่าง ๆ เนื่องจากมีข้อมูลว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 60% มาจากพื้นที่เมือง  ความท้าทายที่สำคัญสองประการนี้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้บริหารเมืองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคิดทบทวนเกี่ยวกับอนาคตของเมืองที่ตนเองดูแล ประเทศไทยก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่างจากกัน

เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ไฟฟ้า ประปา และเครือข่ายการสื่อสาร จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน

แนวทางการสร้างสมาร์ทซิตี้จากงาน Expo 2020 ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้:

  • เมืองจะเป็นเมืองก็ต่อเมื่อมีคนอาศัยอยู่ ดังนั้นการออกแบบสมาร์ทซิตี้ที่ประสบความสำเร็จจะต้องมุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก (Human-Centered)
  • เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างมาก แต่ในระดับที่แตกต่างกันสำหรับเทคโนโลยีแต่ละอย่างและเมืองแต่ละแห่ง ดังนั้นจึงไม่มีโซลูชันแบบครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกเมือง การผสมผสานเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม การติดตั้งใช้งานที่ยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ จะช่วยให้เมืองมีความเป็นอัจฉริยะและรองรับการใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมืองจะต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไลฟ์สไตล์ของผู้คน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากส่วนต่างๆ ของเมืองซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนห้องแล็บมีชีวิต เพื่อพัฒนาปรับปรุงเมืองให้มีความฉลาดอยู่เสมอ โดยสิ่งสำคัญคือจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างฯ ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับขนาดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม
  • การพัฒนาที่ยั่งยืนถือเป็นภารกิจสำคัญสำหรับเมืองต่าง ๆ เพราะในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน เราจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่เมือง การปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI, IoT, Blockchain, Big Data ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ขณะที่เมืองต่าง ๆ เปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังจากที่การเดินทางระหว่างประเทศและกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเริ่มกลายเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวพักผ่อน การเดินทางเพื่อทำธุรกิจ หรือจุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุน เราสามารถเร่งการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ได้ด้วยการเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และสร้างโซลูชั่นที่เหมาะกับวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของเรา โดยจุดมุ่งหมายคือการสร้างเมืองแห่งอนาคตที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น และมีความยั่งยืนสำหรับทั้งคนไทยและผู้มาเยือน

ตื่นตัวไม่ตื่นตูม “เงินเฟ้อไม่แผ่ว-โรคระบาด-ผลกระทบความไม่สงบ” อยากมีบ้านช่วงนี้ดีหรือไม่?

ตื่นตัวไม่ตื่นตูม “เงินเฟ้อไม่แผ่ว-โรคระบาด-ผลกระทบความไม่สงบ”

ตื่นตัวไม่ตื่นตูม “เงินเฟ้อไม่แผ่ว-โรคระบาด-ผลกระทบความไม่สงบ” อยากมีบ้านช่วงนี้ดีหรือไม่?

ปี 2565 เป็นอีกปีที่หลายภาคส่วนต้องเผชิญความท้าทายหลายรูปแบบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบางต่อเนื่องนับจากวิกฤติโควิด-19 มาอย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ผู้บริโภคต่างได้รับผลกระทบถ้วนหน้าทั้งทางตรงและทางอ้อม แล้วยังมีผลกระทบจากสงครามในยูเครนที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นจนกระทบต่อต้นทุนการผลิตและขนส่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคก็ปรับตัวตามต้นทุนที่สูงขึ้น ผนวกกับสถานการณ์เงินเฟ้อโลกที่จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อในไทยสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 104.10 สูงขึ้น 5.28% เทียบเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และสูงขึ้น 1.06% จากเดือนมกราคม 2565 โดยถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551 เลยทีเดียว

ภาวะเงินเฟ้อกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยอย่างไร

ภาวะเงินเฟ้อกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยอย่างไร 

ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่แปรผันตามสภาพเศรษฐกิจนั้น แม้จะมีการรุกตลาดอย่างต่อเนื่องของผู้พัฒนาอสังหาฯ ตั้งแต่ต้นปีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ แต่ภาวะเงินเฟ้อเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ เนื่องจากมีผลกระทบเกี่ยวพันทั้งระบบนิเวศทางธุรกิจในทุกมิติตั้งแต่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ไปจนถึงระดับประเทศ 

    • สินค้าทยอยปรับราคา ค่าครองชีพพุ่ง เมื่อมีภาวะเงินเฟ้อผนวกกับต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มต่อเนื่อง ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนตามความเป็นจริง หลังผู้ประกอบการและผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนมาอย่างยาวนานในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดฯ แม้กำลังซื้อผู้บริโภคจะยังชะลอตัวอยู่ แต่ผู้ผลิตก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับราคาสินค้าเพิ่ม นอกจากนี้อัตราค่าแรงที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีพในปัจจุบันเป็นอีกต้นทุนสำคัญเช่นกัน ที่ผู้บริโภคต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเดิม นั่นคืออำนาจซื้อของผู้บริโภคก็น้อยลงตามไปด้วย 

ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจ ค่าครองชีพเติบโตสวนทางกัน ทว่าความสามารถในการชำระหนี้ลดลง เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อเป็นระยะเวลายาวนาน ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัด หรือชะลอการใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป และเมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นขณะที่รายได้เท่าเดิม ย่อมทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงซบเซาเนื่องจากไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต 

    • ต้นทุนการก่อสร้างแปรผันตามสถานการณ์โลก ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนจากการปรับราคาเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาดฯ ในจีนที่เป็นประเทศส่งออกเหล็กอันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนคือการปรับตัวของราคาน้ำมันที่กระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่งโดยตรง โดยเฉพาะวัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งรัสเซียและยูเครนถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญกับภาคอสังหาฯ ไม่น้อย เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก ข้อมูลจากสมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) เผยว่า รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกเหล็กรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ในขณะที่ยูเครนติดอันดับ 8 ดังนั้น ภาพรวมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยปีนี้จึงมีทิศทางปรับราคาขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

คนซื้อบ้านต้องรู้ อยากมีบ้านท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อควรทำอย่างไร?

จากปัจจัยต่าง ๆ ที่รุมเร้าตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย แนะแนวทางให้คนอยากมีบ้านตรวจสอบความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในนาทีนี้ หากซื้อบ้านช่วงนี้ควรเตรียมตัวอย่างไร 

    • ค่าเงินลดลง คนซื้อบ้านต้องเตรียมเงินเพิ่ม ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านควรพิจารณาถึงความพร้อมของการซื้ออสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางรายได้ทั้งหมดที่มี รวมไปถึงเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ในอนาคตด้วย นอกจากนี้การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมโปรโมชั่นส่วนลด ของแถม หรือเฟอร์นิเจอร์ครบชุด จะเป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มความคุ้มค่ามากขึ้นหากต้องซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในเวลานี้ ช่วยลดรายจ่ายบางส่วนของคนซื้อบ้านลงไปได้ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทำให้มูลค่าของเงินลดลง ผู้บริโภคจำเป็นต้องซื้อสินค้าแบบเดิมในราคาที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้หรือรายรับยังคงเท่าเดิมหรือลดลง ดังนั้น แม้จะมีจำนวนเงินเท่าเดิมแต่จะซื้อสินค้าได้น้อยลง การวางแผนการเงินที่รอบคอบเพื่อรักษาสภาพคล่องในครอบครัวจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ
    • ที่อยู่อาศัยในตลาดยังมีราคาเหมาะสม ต้นทุนการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวต่อเนื่องทั้งจากแรงงานที่ขาดแคลนและต้นทุนวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ทำให้ปีนี้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ได้ประกาศถึงทิศทางการปรับขึ้นราคาโครงการใหม่ให้สอดคล้องต้นทุนจริงมากขึ้น ด้านบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยต่างมีแผนปรับขึ้นราคาก่อสร้างอ้างอิงตามราคาวัสดุต่าง ๆ ที่ขึ้นราคาเช่นกัน อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 84 จุด หรือลดลงประมาณ 1% จากไตรมาสก่อน เป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ซื้อหรือนักลงทุนที่มีความพร้อมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออยู่เองหรือลงทุนระยะยาว เนื่องจากยังมีสินค้าคงค้างที่คำนวณราคาจากต้นทุนเดิมในตลาดให้เลือกพอสมควร 
    • ลงทุนอสังหาฯ มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออกหรือ “อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง” มีค่าลดลงไป ทำให้ดอกเบี้ยที่จะได้รับและเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลงตามไปด้วย การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์จึงอาจไม่ใช่วิธีที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในยุคที่เงินเฟ้อสูง การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้นแม้จะเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง แต่น่าสนใจตรงที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากผู้ซื้อจะใช้เพื่ออยู่อาศัยเองแล้วยังสามารถนำไปปล่อยเช่าสร้างรายได้ในระยะยาว ก่อนประกาศขายในช่วงที่สามารถทำกำไรในตลาดได้ อย่างไรก็ดี การลงทุนในอสังหาฯ ช่วงเงินเฟ้อนั้น ผู้ซื้อควรซื้อด้วยการยื่นกู้ธนาคารมากกว่าใช้เงินสด และควรใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว เพราะในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อนั้นจะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน
    • ทำเลที่มีศักยภาพสร้างโอกาสเติบโต การเลือกซื้ออสังหาฯ ในทำเลที่มีศักยภาพสามารถเติบโตได้ในอนาคตถือเป็นการวางแผนที่ดีเช่นกัน เพราะหากมีความจำเป็นต้องขาย อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพจะเพิ่มโอกาสให้ได้รับมูลค่าเพิ่มที่คุ้มค่าหรือทำกำไรได้ดีกว่า โดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้งโครงการที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ใกล้แหล่งงาน/ห้างสรรพสินค้า เป็นทำเลที่มีรถไฟฟ้าผ่านหรือมีแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าในอนาคต ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่าเกือบครึ่งของคนหาบ้าน (46%) สนใจซื้อที่อยู่อาศัยในทำเลชานเมืองมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันรถไฟฟ้ามีการขยายเส้นทางไปยังแถบชานเมืองมากขึ้น จึงทำให้การเดินทางสะดวกกว่าที่เคย นอกจากนี้ โครงการที่อยู่อาศัยในแถบชานเมืองยังมีราคาย่อมเยากว่า จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่าสำหรับคนหาบ้าน

การวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคน ยิ่งมีการเตรียมความพร้อมมากเท่าไรก็เป็นผลดีเมื่อต้องตัดสินใจซื้อมากเท่านั้น แม้กำลังซื้อจะชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ แต่การวางแผนทางการเงินที่ดีจะช่วยให้สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจตามแผนที่กำหนดไว้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การศึกษาข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (https://www.ddproperty.com) อัปเดตข้อมูลข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ และความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการซื้อ/ขาย/เช่า รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/เช่าในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแวดวงอสังหาฯ ก็สามารถเข้าไปฝากคำถามได้ที่หน้าถามกูรู (AskGuru) ที่มีเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญตัวจริงพร้อมไขข้อสงสัยที่คุณอยากรู้ให้กระจ่าง เพื่อช่วยให้ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสามารถวางแผนเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวลมากขึ้น

คลาวด์ สร้างความต่าง ให้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้อย่างไร

คลาวด์ สร้างความต่าง ให้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้อย่างไร

คลาวด์ สร้างความต่าง ให้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้อย่างไร

ไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์

บทความโดย ไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์

ประเด็นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อการกำหนดคุณค่าของแบรนด์ของแต่ละบริษัท องค์กรต่าง ๆ กำลังพบกับความท้าทายอย่างมากในการออกแบบแผนงานเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมทางเทคโนโลยีนับเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากขึ้นต่อความสำเร็จของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทต่าง ๆ

การเปลี่ยนจากโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบดั้งเดิมไปใช้คลาวด์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นมากกว่าเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และเป็นก้าวสำคัญในการปรับเปลี่ยนการทำงานด้านไอทีขององค์กรให้ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานโดยรวม และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลง ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของแอคเซนเจอร์* ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่ย้ายการทำงานจากโครงสร้างพื้นฐานไอทีภายในองค์กรไปใช้การประมวลผลบนคลาวด์ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้โดยเฉลี่ย 84% กล่าวโดยรวมคือ การย้ายไปใช้คลาวด์เป็นเทรนด์ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยการ์ทเนอร์** ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 องค์กรมากกว่า 85% จะมีหลักเกณฑ์ในการใช้คลาวด์เป็นอันดับต้น ๆ และมากกว่า 95% ของเวิร์กโหลดดิจิทัลใหม่ ๆ จะทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์-เนทีฟ

การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นที่ดี และเป็นการบ่งชี้ถึงทิศทางที่จำเป็นสำหรับองค์กร การส่งเสริมให้เปลี่ยนไปใช้คลาวด์จึงเป็นมาตรการสำคัญมากมาตรการหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มผลประกอบการของบริษัท ยกระดับคุณค่าของแบรนด์ และช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินการตามคำมั่นสัญญาในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้คลาวด์ยังไม่เพียงพอ เพราะยังมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์มีความยั่งยืนมากขึ้น ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการการใช้พลังงานได้ดีกว่าเดิม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ครอบคลุมทุกส่วนของซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้มากขึ้น ทั้งนี้จุดเริ่มต้นที่ดีก็คือ การสร้างรายการตรวจสอบปัญหาสำคัญ ๆ ที่จะต้องแก้ไขในขั้นตอนของการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ถ้าวลีที่ว่า “Data is the new oil” เป็นเรื่องจริง ศูนย์ข้อมูลก็จัดว่าเป็น “คลังเก็บทรัพยากร” เพราะศูนย์ข้อมูลเป็นส่วนรากฐานที่ใช้เก็บและรับส่งข้อมูลอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลที่ช่วยเสริมความแกร่งให้กับเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากที่องค์กรต้องย้ายไปใช้ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นหัวใจหลักของกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างยั่งยืน รวมถึงการย้ายไปสู่สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศอย่างมาก จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้

นอกจากรากฐานที่แข็งแกร่งแล้ว เทคโนโลยีล่าสุดด้านการประมวลผลบนคลาวด์ ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลมีประสิทธิภาพโดดเด่น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันชิปที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ทรง ประสิทธิภาพแต่ละชิปสามารถรองรับทรานซิสเตอร์ได้ถึง 60,000 ล้านตัว แม้ประสิทธิภาพของชิปเหล่านั้นสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมราว 20% แต่สามารถทำให้อัตราการประหยัดพลังงานที่สำคัญเพิ่มขึ้น 50% นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังได้รับการออกแบบให้รองรับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์-เนทีฟได้มีประสิทธิภาพกว่า เช่น ซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบที่จับต้องได้ ช่วยให้สามารถปรับเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับการประมวลผลโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้คุ้มค่าใช้จ่ายมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ระบบปฏิบัติการคลาวด์ในปัจจุบันได้รับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้วยอัลกอริธึมอัจฉริยะ จึงเป็นการยกระดับให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเซิร์ฟเวอร์หลายหมื่นเครื่องทั่วโลกให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นในรูปแบบของซูเปอร์คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลแบบเรียลไทม์สูงสุด 3.63 TB ต่อวินาที จึงช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ได้ราว 10% ถึง 40% และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงไม่จำเป็นต้องลดทอนประสิทธิภาพ เสถียรภาพ หรือความปลอดภัย เพื่อที่ จะบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานที่ยั่งยืนมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน เราสามารถนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูล โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญก็คือ การนำความร้อนจำนวนมากที่ระบายออกจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบางแห่งยังใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำมาก โดยครอบคลุม 90% ของเวลาดำเนินงานทั้งหมดของศูนย์ข้อมูล วิธีนี้ช่วยลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 80% เมื่อเทียบกับการระบายความร้อนโดยใช้อุปกรณ์ที่ตองใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ อีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีประโยชน์ก็คือ เทคโนโลยีการระบายความร้อนแบบ ‘Soaking Server’ ซึ่งเป็นการวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ในสารหล่อเย็นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน และความร้อนที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซับโดยตรงด้วยสารหล่อเย็นที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา  ระบบระบายความร้อนดังกล่าวจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 70% เมื่อเทียบกับระบบระบายความร้อนแบบเก่าที่พึ่งพาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ศูนย์ข้อมูลอาจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฮีทปั๊ม (Heat Pump) ที่ทันสมัย เพื่อจัดส่งความร้อนเข้าสู่เครือข่ายท่อความร้อนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบทำความร้อนภายในอาคารที่พักอาศัยและองค์กรต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีและเครื่องมือด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ บริหารจัดการ และคาดการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารสถานที่และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ การลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราไม่ควรมองข้ามเทคโนโลยีก้าวล้ำที่จะช่วยแก้ไขความท้าทายในวงกว้าง หรือช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ  โดยประการแรก เราควรพิจารณาถึงจุดร่วมระหว่างการทำการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับการปรับปรุงด้านพลังงาน โดยอาจมีการนำเทคโนโลยีเสริมที่ช่วยในการจัดการพลังงานหมุนเวียนมาใช้ การตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอน ระบบบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบรับรอง เทคโนโลยีสำหรับอาคารอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ประการที่สอง เราจะต้องพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในจุดสำคัญ ๆ ในระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการบินที่มีความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอน ซึ่งอาจได้แก่โซลูชันที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนในดิน และเทคโนโลยีบลูคาร์บอน (Blue Carbon) รวมถึงเทคโนโลยีคาร์บอนติดลบ (Negative Carbon) เช่น การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง องค์กรบางแห่งกำลังเป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว และตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน Scope 3 ภายในปี 2573 องค์กรบางแห่งก็มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบการประมวลผลบนคลาวด์ด้วยพลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2573 การกำหนดเป้าหมายเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและควรได้รับการส่งเสริม แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรมองข้ามบทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

นอกจากรากฐานที่แข็งแกร่งแล้ว เทคโนโลยีล่าสุดด้านการประมวลผลบนคลาวด์ ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลมีประสิทธิภาพโดดเด่น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันชิปที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ทรงประสิทธิภาพแต่ละชิปสามารถรองรับทรานซิสเตอร์ได้ถึง 60,000 ล้านตัว แม้ประสิทธิภาพของชิปเหล่านั้นสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมราว 20% แต่สามารถทำให้อัตราการประหยัดพลังงานที่สำคัญเพิ่มขึ้น 50% นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังได้รับการออกแบบให้รองรับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์-เนทีฟได้มีประสิทธิภาพกว่า เช่น ซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบที่จับต้องได้ ช่วยให้สามารถปรับเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับการประมวลผลโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้คุ้มค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ระบบปฏิบัติการคลาวด์ในปัจจุบันได้รับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้วยอัลกอริธึมอัจฉริยะ จึงเป็นการยกระดับให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเซิร์ฟเวอร์หลายหมื่นเครื่องทั่วโลกให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นในรูปแบบของซูเปอร์คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลแบบเรียลไทม์สูงสุด 3.63 TB ต่อวินาที จึงช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ได้ราว 10% ถึง 40% และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงไม่จำเป็นต้องลดทอนประสิทธิภาพ เสถียรภาพ หรือความปลอดภัย เพื่อที่
จะบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานที่ยั่งยืนมากขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน

เราสามารถนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูล โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญก็คือ การนำความร้อนจำนวนมากที่ระบายออกจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบางแห่งยังใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำมาก โดยครอบคลุม 90% ของเวลาดำเนินงานทั้งหมดของศูนย์ข้อมูล วิธีนี้ช่วยลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 80% เมื่อเทียบกับการระบายความร้อนโดยใช้อุปกรณ์ที่ตองใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น พัดลมและเครื่องปรับอากาศ

อีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีประโยชน์ก็คือ เทคโนโลยีการระบายความร้อนแบบ ‘Soaking Server’ ซึ่งเป็นการวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ในสารหล่อเย็นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน และความร้อนที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซับโดยตรงด้วยสารหล่อเย็นที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา  ระบบระบายความร้อนดังกล่าวจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 70% เมื่อเทียบกับระบบระบายความร้อนแบบเก่าที่พึ่งพาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

ศูนย์ข้อมูลอาจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีฮีทปั๊ม (Heat Pump) ที่ทันสมัย เพื่อจัดส่งความร้อนเข้าสู่เครือข่ายท่อความร้อนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบทำความร้อนภายในอาคารที่พักอาศัยและองค์กรต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีและเครื่องมือด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ บริหารจัดการ และคาดการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารสถานที่และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ

การลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เราไม่ควรมองข้ามเทคโนโลยีก้าวล้ำที่จะช่วยแก้ไขความท้าทายในวงกว้าง หรือช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ  โดยประการแรก เราควรพิจารณาถึงจุดร่วมระหว่างการทำการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับการปรับปรุงด้านพลังงาน โดยอาจมีการนำเทคโนโลยีเสริมที่ช่วยในการจัดการพลังงานหมุนเวียนมาใช้ การตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอน ระบบบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบรับรอง เทคโนโลยีสำหรับอาคารอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประการที่สอง เราจะต้องพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในจุดสำคัญ ๆ ในระบบซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการบินที่มีความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอน ซึ่งอาจได้แก่โซลูชันที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนในดิน และเทคโนโลยีบลูคาร์บอน (Blue Carbon) รวมถึงเทคโนโลยีคาร์บอนติดลบ (Negative Carbon) เช่น การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง

องค์กรบางแห่งกำลังเป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว และตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน Scope 3 ภายในปี 2573 องค์กรบางแห่งก็มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบการประมวลผลบนคลาวด์ด้วยพลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2573 การกำหนดเป้าหมายเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและควรได้รับการส่งเสริม แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรมองข้ามบทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ด้วยเช่นกัน