เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

เปิดตัว ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale Bank ใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์

ลงนามเอ็มโอยูกับ Proxtera เพื่อเพื่อสร้างกรอบโครงสร้างแบบเปิดสำหรับสถาบันการเงินที่เข้าร่วม พร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านสินเชื่อของเอสเอ็มอี ในฐานะธนาคารดิจิทัล Wholesale แห่งแรกที่เข้าร่วมกับ Proxtera ในสิงคโปร์

ANEXT Bank ธนาคารดิจิทัล Wholesale ที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์ และเป็นบริษัทในเครือที่แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) ถือครองหุ้นทั้งหมด ได้เปิดตัว (Soft Launch) ในวันนี้ โดยได้รับการรับรองจากธนาคารกลางสิงคโปร์ให้เริ่มธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ธนาคารดิจิทัลแห่งนี้จะมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ดำเนินงานระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจให้เติบโตในตลาดโลก

โต ซู เหม่ย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ ANEXT Bank ซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจธนาคารมายาวนานกว่า 20 ปี กล่าวว่า “เราเชื่อว่าถึงเวลาแล้วสำหรับการนำเสนอบริการด้านการเงินยุคใหม่ที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโต  ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โมเดลธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น หรือเป็นโมเดลแบบไฮบริด บริการด้านการเงินก็ต้องมีการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเอสเอ็มอีในการดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัล”

“เรามีความพร้อมที่จะดำเนินการตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ความเชี่ยวชาญของแอนท์กรุ๊ป รวมไปถึงความมุ่งมั่นของทีมงานในท้องถิ่นที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีอย่างเต็มความสามารถ เราปรับใช้แนวทางที่เปิดกว้างสำหรับการทำงานร่วมกัน เพราะเราเชื่อมั่นในความร่วมมือของพันธมิตรภาคธุรกิจและภาครัฐในการจัดหาบริการด้านการเงินที่สะดวก ปลอดภัย และคุ้มค่ามากขึ้นให้แก่เอสเอ็มอี” โต ซู เหม่ย กล่าว

งานเปิดตัวธนาคารในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก โซปเนนดู โมหันตี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายฟินเทคของธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore MAS) โดยเขากล่าวว่า “การเปิดตัวในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญในการพัฒนาธนาคารดิจิทัลของสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจธนาคารมีความก้าวหน้า และมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและความสามารถใหม่ ๆ ของธนาคารดิจิทัลจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตให้กับภาคธุรกิจการเงินของสิงคโปร์  ธนาคารกลางฯ คาดหวังว่าธนาคารดิจิทัลจะผนึกกำลังร่วมกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับภาคธุรกิจการเงินของสิงคโปร์เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีในสิงคโปร์ รวมถึงในภูมิภาคนี้และตลาดใหม่ ๆ”

นอกจากนี้ ANEXT Bank ยังได้ทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) 2 ปี กับ Proxtera ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ และหน่วยงาน Infocomm Media Development Authority (IMDA) เพื่อพลิกโฉมการค้าระหว่างประเทศ และทำให้การค้าระหว่างเอสเอ็มอีและหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ สมบูรณ์ผ่านมาร์เก็ตเพลสที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก ด้วยบริการด้านการเงินที่ให้บริการอย่างสมบูรณ์ และการส่งเสริมเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว ทั้งสององค์กรจะร่วมกันสร้างกรอบโครงสร้างแบบเปิดสำหรับสถาบันการเงินทั้งหมดที่เข้าร่วม และให้การสนับสนุนด้านการเงินและการลดความเสี่ยงสำหรับเอสเอ็มอีและแพลตฟอร์มในการค้าระดับโลก ANEXT Bank จะเป็นธนาคารดิจิทัล Wholesale แห่งแรกที่เข้าร่วมกับ Proxtera ในการนำเสนอโซลูชั่นด้านการเงินให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายบนเครือข่ายของ Proxtera 

โซราฟ บัททาชารียา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ Proxtera กล่าวว่า “Proxtera มุ่งมั่นในการอำนวยความสะดวกให้แก่เอสเอ็มอีในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถของเอสเอ็มอีโดยอาศัยเครือข่ายที่กว้างขวาง และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการให้บริการดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงได้ง่าย มีความพร้อมใช้งานสูง และประหยัดค่าใช้จ่าย การเข้าถึงอย่างราบรื่นและความพร้อมใช้งานของโซลูชันทางการเงินเพื่อการค้าจะช่วยขยายการเติบโตของธุรกิจและเร่งการขยายตัวของเอสเอ็มอี ภารกิจนี้สอดคล้องกับการให้ความสำคัญในการให้บริการแก่เอสเอ็มอีเพื่อทำการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือกับ ANEXT Bank ซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบที่ให้บริการด้านดิจิทัลเป็นหลัก เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถปรับปรุงระบบการค้าให้สะดวกง่ายดาย ไร้รอยต่อ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับเอสเอ็มอี”

พร้อมกับการเปิดตัวในครั้งนี้ ANEXT Bank ได้เผยโฉม ANEXT Business Account ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากแบบสองสกุลเงิน (Dual-Currency) ที่มีการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูง เช่น การยืนยันตัวตนแบบสามขั้นตอน (Three-Factor Authentication) รวมถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์แบบรีโมท และการคิดดอกเบี้ยรายวัน  นอกจากนั้น ANEXT Bank ยังเปิดรับฟังความเห็นจากเอสเอ็มอีเกี่ยวกับความต้องการในเรื่องบริการด้านการเงิน ทั้งนี้เพราะธนาคารฯ ตระหนักว่าบริการด้านการเงินที่ดีจะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง ลูกค้าที่สนใจสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารฯ ได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ ANEXT.com.sg  ส่วนบัญชี ANEXT Business Account จะเริ่มเปิดให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

แนวทางปกป้องข้อมูลขององค์กร สำหรับผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ

การปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย และสามารถดึงคุณค่าของข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสำคัญของความต่อเนื่องทางธุรกิจและความสำเร็จขององค์กร

Thawipong Anotaisinthawee, Country Manager, Nutanix

การที่โลกต้องพึ่งพาและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า ในช่วงที่ผ่านมาเราเห็นหลากหลายกรณีศึกษาที่มีการนำข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กรอย่างมาก 

เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกมิติ ทว่ายังมีความท้าทายที่องค์กรต่าง ๆ ต้องรับมือกับการปฏิบัติตามข้อกำหนด ทั้งการฝึกอบรม และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร การหาเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วย การตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงการมีที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้องค์กรของตนเองปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPA ได้ 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ชี้แจงว่า กฎหมายดังกล่าวออกมาเพื่อให้การประมวลผลข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย มีความเป็นธรรมและโปร่งใสกับเจ้าของข้อมูล ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ รวมถึงความจำเป็นของไทยในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าข้อมูลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดทางการค้าหรือทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน หรือผลจากการไม่พร้อมใช้บังคับพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัตินี้จะบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว และในขณะที่กฎหมายลูกยังไม่ครบสมบูรณ์ ผู้นำองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลขององค์กรด้วยตนเองด้วยโดยเฉพาะ ข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย รวมถึงการมีโซลูชันที่ช่วยสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล, Microsegmentation, การควบคุมการเข้าถึงตามบทบาท หรือการเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และการป้องกันการโจมตีของภัยคุกคาม เช่น Ransomeware ได้เป็นต้น

นิยามง่าย ๆ ของการปกป้องข้อมูล คือการกระทำเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่การทำให้สัมฤทธิผลนั้นไม่ง่ายเลย กรอบความคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวจะต้องได้รับการระบุไว้ในเป้าหมายและขอบเขตด้านการปกป้องข้อมูลอย่างครบถ้วนชัดเจน เพราะหากมีการกำหนดค่าอุปกรณ์ผิดพลาดเพียงอุปกรณ์เดียว หรือการกดแป้นพิมพ์เพียงสองสามครั้ง ที่ทำให้ข้อมูลไปแสดงบนหน้าจอที่เปิดเผยต่อสาธารณะ อาจส่งผลให้องค์กรเสียชื่อเสียงและตกต่ำได้

โดยปกติองค์กรต่างใช้ระบบป้องกันที่แข็งแกร่งเพื่อสกัดกั้นการละเมิดข้อมูลต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนข้อมูลที่ถูกละเมิด 1,862 รายการในปี 2564 นั้นเพิ่มขึ้น 68% จากปี 2563 รวมถึงภัยคุกคามต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม การแชร์ข้อมูลขององค์กรไปในวงกว้าง เช่น การแชร์ข้อมูลกับเวนเดอร์ ลูกค้า ซัพพลาย-เออร์ หน่วยธุรกิจ องค์กรของพันธมิตร บริษัทที่ปรึกษา รวมถึงพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล ก็ทำให้ความปลอดภัยที่ว่าแข็งแกร่งที่สุดแล้วในบริเวณที่องค์กรต้องต่อเชื่อมกับภายนอกไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป กล่าวได้ว่าคนนอกก็กลายเป็นคนในไปเสียแล้ว เพราะเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้

องค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูลแบบครบวงจรที่สมบูรณ์แบบ ที่สามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้ทุกที่ ตลอดเวลา ไม่ว่าข้อมูลนั้นกำลังถูกใช้งานอยู่กับแอปพลิเคชัน หรือเป็นข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ บนเน็ตเวิร์ก บนอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน เก็บอยู่ในฐานข้อมูล และบนคลาวด์ ครอบคลุมตั้งแต่แกนหลักไปจนถึงเอดจ์ และปกป้องทั้งข้อมูลที่ไม่มีการใช้งาน ข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว หรือกำลังถูกใช้งานอยู่

ข้อมูลของ “องค์กร” คืออะไร และข้อมูลใดบ้างที่ต้องได้รับการปกป้อง

ก่อนที่จะเริ่มจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่อยู่ตามสภาพแวดล้อมที่หลากหลายในองค์กร ผู้รับผิดชอบด้านนี้ต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลประเภทใด อยู่ในรูปแบบใด และลักษณะอื่น ๆ ของข้อมูลเป็นอย่างไร ทั้งยังต้องเข้าใจตัวแปรต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้งาน จัดเก็บ และโยกย้ายข้อมูลไปยังสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งการพิจารณาว่าข้อมูลใดสำคัญมากพอที่จำเป็นต้องปกป้องไว้เป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ มานานแล้ว

ปัจจุบันอัลกอริธึมของแมชชีนเลิร์นนิ่งช่วยให้แยกแยะข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น อัลกอริธึมนี้จะจัดประเภทข้อมูลสำคัญโดยอัตโนมัติ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลนั้นตามเนื้อหา วิธีการนี้ช่วยให้ปรับขนาดการทำงานได้มากกว่าวิธีการทำงานแบบแมนนวลมาก

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลหลากหลายที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบประหยัดเวลาได้มาก ด้วยการค้นหาข้อมูลทั้งที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างในระบบเน็ตเวิร์กขององค์กร

การจัดประเภทข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่าย

เมื่อระบุและแยกแยะข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่ายทั้งหมดออกมาได้แล้ว ผู้ดูแลระบบไอทีจำเป็นต้องกำหนดระดับชั้นความลับต่าง ๆ ขึ้นมา และทำการตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลแต่ละหน่วยไว้ที่ใด จะอนุญาตให้ผู้ใช้หรือผู้มีบทบาทใดเข้าถึงข้อมูลนั้นได้บ้าง และเข้าถึงได้ในขอบเขตมากน้อยเพียงใด

แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่มีหมวดหมู่ของข้อมูลที่เป็นการเฉพาะของตนอยู่แล้ว แต่โดยทั่วไปข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่ายจะได้รับการจัดเป็นสี่กลุ่มดังนี้

    • ข้อมูลสาธารณะ: ข้อมูลที่ทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาอย่างอิสระ เช่น ข้อมูลการติดต่อ สื่อทางการตลาด ราคาของสินค้าและบริการต่าง ๆ
    • ข้อมูลภายใน: ข้อมูลที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือคู่แข่งทางธุรกิจ แต่สามารถแชร์กันภายในองค์กรได้อย่างอิสระ เช่น แผนผังองค์กร และคู่มือการขายต่าง ๆ
    • ข้อมูลลับ: ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวง่าย ซึ่งหากหลุดไปยังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต จะสามารถส่งผลในทางลบแก่องค์กร เช่น สัญญาการจัดซื้อจัดหาต่าง ๆ และเงินเดือนของพนักงาน
    • ข้อมูลที่จำกัดการเข้าถึง: ข้อมูลองค์กรที่มีความอ่อนไหวง่ายในระดับสูง ซึ่งหากรั่วไหลออกไป จะนำความเสี่ยงทางกฎหมาย การเงิน ชื่อเสียง หรือกฎระเบียบมาสู่องค์กร เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ของลูกค้า และรายละเอียดบัตรเครดิต เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูล

เมื่อกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสมแล้ว นโยบายด้านความปลอดภัยจะปกป้องไม่ให้ข้อมูลสูญหาย และป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตให้กับอุปกรณ์ ระบบ และเครือข่ายทั้งหมด ทั้งยังให้บริการ ตรวจสอบ และบริหารจัดการ ผ่านการทำงานร่วมกันของกระบวนการและเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ไฟร์วอลล์ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส และเครื่องมืออื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้มาตรฐานและกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันตามการใช้งาน ความสำคัญของข้อมูล รวมถึงกฎระเบียบที่กำหนดไว้

ผู้ดูแลระบบความปลอดภัยจำเป็นต้องตระหนักรู้และเข้าใจวิวัฒนาการในการจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลจากทั้งมุมของเทคโนโลยีและลักษณะงาน การเปลี่ยนแปลงบางประการที่กระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลโดยตรง ได้แก่

    • บิ๊กดาต้า: มีการสร้างข้อมูลในปริมาณที่สูงมากทุกวัน โดยบริษัทวิจัย IDC ได้คาดการณ์ว่าขนาดของปริมาณการใช้ข้อมูลทั่วโลก (global datasphere) จะสูงถึง 175 เซตตะไบท์ (ZB) ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนใหญ่นี้ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ได้ถูกนำไปใช้ตรงตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้อย่างคุ้มค่า

      นอกจากนี้ ข้อมูลนี้ยังมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย ยากต่อการจัดหมวดหมู่หรือประมวลผล  ข้อมูลจากการวิจัยของ MIT พบว่าปัจจุบัน 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีโครงสร้าง อยู่ในรูปแบบของ เสียง/วิดีโอ-ข้อความที่ปนกัน, ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดของบุคคลในองค์กร (server logs), โพสต์บนโซเชียลมีเดีย และอื่นๆ

    • คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ปลายทาง (End User Computing: EUC): อุปกรณ์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้ามายังเน็ตเวิร์กขององค์กร (เป็นรายบุคคล และ ผ่านอินเทอร์เน็ต) มีความหลากหลาย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ อุปกรณ์เหล่านั้นรวมถึง อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT), อุปกรณ์สำหรับสวมใส่, เซ็นเซอร์, และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่าง ๆ

      การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานี้ ทำให้ข้อมูลขององค์กรไม่ได้มีตัวตนอยู่เฉพาะในโลเคชั่นที่มีการควบคุมและมีการกำหนดอย่างชัดเจนเท่านั้นอีกต่อไป แต่ยังทอดข้ามไปอยู่ในทุกอุปกรณ์และทุกแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้เข้าถึง สถานการณ์เหล่านี้ทำให้การรักษาความปลอดภัยข้อมูลมีความซับซ้อนขึ้น แม้ว่าองค์กรต่าง ๆ จะพยายามใช้ดาต้าเวอร์ชวลไลเซชันมาช่วยทำให้การทำงานต่าง ๆ ง่ายขึ้นก็ตาม

    • สภาพแวดล้อมแบบไฮบริด: องค์กรกำลังมุ่งย้ายโครงสร้างพื้นฐานไอทีจากดาต้าเซ็นเตอร์ไปอยู่บนสภาพแวดล้อมคลาวด์มากขึ้น และไฮบริดคลาวด์คือเทคโนโลยีที่ช่วยองค์กรจัดการกับเรื่องนี้ และนั่นเป็นการทำให้เรื่องของความปลอดภัย (อย่างน้อยที่สุดบนพับลิคคลาวด์) เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ขายเทคโนโลยีและลูกค้า

    • การทำงานจากที่ใดก็ได้: การระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ต้องใช้รูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้ และการทำงานจากบ้านภายในชั่วข้ามคืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และองค์กรจำนวนมากต้องหาทางให้พนักงานของตนเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและไฟล์งานสำคัญทางธุรกิจได้จากบ้านของพนักงานแต่ละคน การทำงานจากที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่องค์กรจะสามารถประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ และนำขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอมาใช้เสียอีก

ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เหล่านี้ ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIOs) ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTOs) ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (CISOs) และผู้ดูแลระบบความปลอดภัยจำเป็นต้องใช้มาตรการและขั้นตอนที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องข้อมูลของบริษัท และของลูกค้าให้ได้ตลอดเวลา

มาตรการด้านความปลอดภัยที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้

ไม่มีภัยคุกคามใดที่มีลักษณะเหมือนกัน ผู้ดูแลด้านไอทีจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงประเภทของภัยคุกคามที่แตกต่างกันเหล่านั้นที่จะกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร และต้องแน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ขององค์กรได้รับการติดตามตรวจสอบการบุกรุกต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุม

มาตรการด้านความปลอดภัยที่องค์กรสามารถนำมาใช้ได้

ไม่มีภัยคุกคามใดที่มีลักษณะเหมือนกัน ผู้ดูแลด้านไอทีจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงประเภทของภัยคุกคามที่แตกต่างกันเหล่านั้นที่จะกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร และต้องแน่ใจว่าระบบต่าง ๆ ขององค์กรได้รับการติดตามตรวจสอบการบุกรุกต่าง ๆ อย่างรอบคอบรัดกุม

ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุดแก่พนักงาน: พนักงานทุกคนต้องเข้าใจว่าข้อมูลสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร และหากข้อมูลถูกบุกรุกจะเกิดผลลัพธ์อย่างไร และองค์กรต้องมั่นใจว่าพนักงานให้ความสนใจอีเมลที่เข้ามาในแต่ละวันว่าเป็นอีเมลที่ส่งมาจากไหน เปิดอีเมลจากผู้ส่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น และไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบใด ๆ ที่ไม่แน่ใจที่มาและผู้ส่งว่าเป็นใคร การใช้เบราว์เซอร์ก็เช่นเดียวกัน พนักงานทุกคนควรรู้ความหมายของสัญญาณเตือนต่าง ๆ บนหน้าเว็บ และต้องสามารถแยกแยะว่าไซต์ใดเป็นไซต์ที่หลอกลวงและไซต์ใดเชื่อถือได้

องค์กรควรใส่ใจการบริหารจัดการรหัสผ่านเป็นพิเศษ รหัสผ่านที่ละเมิดได้ง่ายและรหัสผ่านที่ใช้ร่วมกันยังคงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้องค์กรมีความกังวล เมื่อสิบปีที่ผ่านมาการสร้าง รายการรหัสผ่านนับพันล้านรายการเพื่อแฮ็กบัญชีผู้ใช้งานสักบัญชีหนึ่ง ต้องใช้เวลาและการประมวลผลที่นานมาก ๆ แต่ปัจจุบันกลายเป็นงานเล็ก ๆ เท่านั้น

ใช้การควบคุมที่ลงลึกถึงรายละเอียด: ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำให้ใช้โมเดล zero trust ซึ่งเป็นการให้ผู้ใช้งานและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าถึงทรัพยากรเท่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น โมเดลนี้เกี่ยวโยงกับ microsegmentation ของเน็ตเวิร์กและการสร้างนโยบายที่เจาะจงอย่างมากให้กับเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลแมชชีน แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน และบริการต่าง ๆ ที่ใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลแบบให้สิทธิน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น (least privileged) แก่ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลประเภทที่อ่อนไหวง่าย

การใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการจัดการด้านอัตลักษณ์และการเข้าถึง (Identity and Access Management: IAM) คู่กับรูปแบบการใช้ปัจจัยหลายอย่างในการตรวจสอบและยืนยันตัวตน (Multi-Factor Authentication: MFA) เป็นกุญแจสำคัญในการนำระบบรักษาความปลอดภัยแบบ zero trust มาใช้ในองค์กร

เข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด: การเข้ารหัสเป็นกระบวนการของการทำให้อ่าน แกะ หรือทำสำเนาข้อมูลได้ยาก โดยการใช้อัลกอริธึมทำการรบกวนข้อมูลให้สับสน  ผู้ใช้งานที่มีคีย์หรือระดับการเข้าถึงที่ถูกต้องเท่านั้นที่สามารถถอดรหัส ดู หรือประมวลผลข้อมูลนั้นได้ วิธีนี้สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรับส่งด้วย ทั้งนี้ การเข้ารหัสมีสี่ลักษณะดังนี้

      • ระดับเน็ตเวิร์ก
      • ระดับแอปพลิเคชัน
      • ระดับดาต้าเบส
      • ระดับจัดเก็บข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยข้อมูลจากแกนกลางสู่ส่วนที่ติดต่อกับภายนอก

ข้อมูลคือสกุลเงินที่ขับเคลื่อนองค์กรทุกแห่งไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ไม่มีอะไรสำคัญต่อองค์กรมากกว่าการปกป้องข้อมูลขององค์กรจากการสูญหาย การทุจริต และการโจรกรรม

การเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นพร้อมกันระหว่างลูกค้า ผู้ขายเทคโนโลยี พันธมิตร และพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ ทำให้เส้นแบ่งระหว่างคนนอกและคนในองค์กรไม่ชัดเจนอีกต่อไป ส่งผลให้การป้องกันอาณาเขตของข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่งมีการขยายจากแกนกลางซึ่งเป็นสถานที่หลักในการเก็บข้อมูล ไปยังขอบของเน็ตเวิร์กหรือ edge ซึ่งเป็นที่ที่มีการรวบรวมและใช้ข้อมูล ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการกระจายตัวของข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยนี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการรวบรวม รับส่ง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลก็ตาม

 

อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับสามของโลก เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับสามของโลก เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับสามของโลก เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

รักษาส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในเอเชีย-แปซิฟิกเป็นปีที่สี่

นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่อาลีบาบาครองตำแหน่งผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure-as-a-Service (IaaS) รายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และเป็นรายใหญ่สุดในเอเชีย-แปซิฟิกในด้านรายได้ในช่วงปี 2564  ข้อมูลจากรายงาน Market Share: IT Services, 2021 ฉบับล่าสุดของการ์ทเนอร์ (Gartner®) ระบุว่า อาลีบาบาครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 9.55%  ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิก บริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 25.5%

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ให้บริการด้านไอทีแก่ลูกค้าทั่วโลกหลายล้านรายใน 84 โซน 27 ภูมิภาค ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2564 ระบุว่า บริษัทฯ สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ธุรกิจด้านการคมนาคมขนส่ง บริการด้านธนาคารและการลงทุน ประกันภัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติ และธุรกิจค้าส่ง โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 49-67.5% ในกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

Jeff Zhang ประธาน อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “IaaS เป็นองค์ประกอบหลักในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันขององค์กรต่าง ๆ ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และนับเป็นบริการที่สำคัญสำหรับธุรกิจของเรา เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดอันดับในครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องในธุรกิจส่วนนี้ ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ลูกค้าของเราเร่งดำเนินการโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก เรามองว่าการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไปสู่คลาวด์นี้เป็นมาตรการที่จำเป็นต่อการเติบโตของธุรกิจ ความมุ่งมั่นของเราในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าทั่วโลกในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ทำให้เราสามารถรักษาฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งในตลาด และเราจะยังคงนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล”

ตลาด IaaS ทั่วโลกเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงปี 2564  รายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่า ตลาด IaaS ขยายตัวจนแตะระดับ 90.89 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจาก 64.29 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2563 นอกจากนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตรวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 33.16 พันล้านเหรียญฯ

อาลีบาบา คลาวด์ ได้เพิ่มทรัพยากรในตลาดสำคัญ ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เริ่มต้นดำเนินงานดาต้าเซ็นเตอร์ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และได้ประกาศจัดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคม 2565

อาลีบาบา คลาวด์ ได้ริเริ่มโครงการ AsiaForward เมื่อปี 2564 โดยในเบื้องต้นมีแผนที่จะให้เงินทุนสนับสนุนและทรัพยากรมูลค่า 1 พันล้านเหรียญฯ เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 1 ล้านคน พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักพัฒนา 100,000 คน และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี 100,000 รายในเอเชียแปซิฟิก

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านผลิตภัณฑ์ อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้นำเสนอนวัตกรรมโซลูชันต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม ApsaraCompute Shenlong เจนเนอเรชั่นที่ 4 ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2564 มีความสามารถที่เหนือชั้นในด้านความยืดหยุ่นของคอนเทนเนอร์ การจัดเก็บข้อมูล ประสิทธิภาพของอินพุต/เอาต์พุต (IO) การหน่วงเวลาต่ำ และฟีเจอร์การเสริมความแข็งแกร่งในระดับชิป  นอกจากนี้ยังประกอบด้วย Remote Direct Memory Access (RDMA) แบบ large-scale เพียงหนึ่งเดียวของอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดการหน่วงเวลาของเครือข่ายให้เหลือเพียง 5 มิลลิวินาที

เมื่อปีที่ผ่านมา Alibaba Cloud International IaaS & PaaS ของอาลีบาบา คลาวด์ ก็ได้รับการประเมินในรายงาน Gartner® Solution Scorecard ประจำปี 2564 ด้วยเช่นกัน

GARTNER is a registered trademark and service mark of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved.

เร้ดแฮทขยายพอร์ตโฟลิโอบริการคลาวด์ สร้างประสบการณ์ที่สอดคล้อง และปรับขนาดได้ เพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่

เร้ดแฮทขยายพอร์ตโฟลิโอบริการคลาวด์

เร้ดแฮทขยายพอร์ตโฟลิโอบริการคลาวด์ สร้างประสบการณ์ที่สอดคล้องและปรับขนาดได้ เพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่

บริการคลาวด์ของเร้ดแฮทลดความซับซ้อนในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดขับเคลื่อนมูลค่าและความเร็วทางธุรกิจสำหรับนวัตกรรมไอทีระดับองค์กร

ณ งาน Red Hat Summit 2022 เร้ดแฮท อิงค์ (Red Hat) ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก ประกาศความก้าวหน้าใหม่ในพอร์ทโฟลิโอของ Red Hat Cloud Services โดยมอบประสบการณ์ผู้ใช้งานที่มีการจัดการพร้อมประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ ทำให้องค์กรสามารถสร้างปรับใช้จัดการและปรับขนาดคลาวด์เนทีฟแอปพลิเคชันในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด

สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดยังคงเป็นสาระสำคัญในการดำเนินงานขององค์กรส่วนใหญ่  จากรายงานของ IDC บริษัทวิจัยด้านอุตสาหกรรมระบุว่า “ภายในปี 2567, องค์กร 50% จะใช้ แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นจากแนวคิดการให้บริการคลาวด์ รวมทั้งเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟ ช่วยให้เกิด ความสอดคล้องในการทำงานจากทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม” [1]จากการที่องค์กรต่าง ๆ ต้องพยายามอย่างหนักในการสร้างประสบการณ์เชิงนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้องค์กรจำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริด เพื่อช่วยบรรเทาความซับซ้อนที่มาพร้อมกับความต้องการปรับขยายได้

Red Hat Cloud Services ออกแบบมาเพื่อจัดการกับความซับซ้อนของไฮบริดคลาวด์ ขณะนี้องค์กรต่าง ๆ กำลังเผชิญกับความท้าทาย เช่น การแพร่กระจายของแอปพลิเคชัน (application sprawl)  และการรองรับแอปพลิเคชันที่อินเทอร์เฟซผู้ใช้และรหัสการเข้าถึงข้อมูลถูกรวมเอาไว้ในสภาพแวดล้อมและใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน (monolitic application support)  ดังนั้น หากต้องการจะประสบความสำเร็จ องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ลดเวลา การส่งมอบและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ด้วย

ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนความพยายามขององค์กรในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ เร้ดแฮทจึงได้ประกาศถึงบริการด้านคลาวด์ใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

    • Red Hat OpenShift Service Registry ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทีมพัฒนาเผยแพร่ ค้นหา ตลอดจนนำ application programming interfaces (APIs) และแบบแผนจำลองมาใช้ซ้ำ
    • Red Hat OpenShift Connectorsที่ให้การเชื่อมต่อที่สร้างไว้ล่วงหน้า ไปยังระบบต่าง ๆ ของบุคคลที่สาม และเปิดใช้การผสานการทำงานแบบไม่มีโค้ดกับ Red Hat OpenShift Streams สำหรับ Apache Kafka
    • Red Hat OpenShift Database Access ที่มอบประสบการณ์การใช้ Database as a Service (DBaaS) ที่สอดคล้องกันในทุกสภาพแวดล้อม ไฮบริดคลาวด์ ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ OpenShiftสามารถจัดเตรียมและจัดการการเข้าถึงบริการฐานข้อมูลบุคคลที่สามได้อย่างง่ายดาย และทำให้นักพัฒนา สามารถจัดเตรียมและเข้าถึงฐานข้อมูลบนคลาวด์ได้ง่ายขึ้น

พอร์ตโฟลิโอ Red Hat Cloud Services ได้รับการผสานรวมอย่างแนบแน่นกับ Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Kubernetes ระดับองค์กรชั้นนำของอุตสาหกรรม เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุง แอปพลิเคชัน ที่มีอยู่ให้ทันสมัย, สร้างคลาวด์เนทีฟแอปพลิเคชัน, ให้การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการเพิ่มความชาญฉลาดให้กับแอปพลิเคชัน และการผสานรวมกับบริการต่าง ๆ ของบริษัทอื่น ๆ

นอกจากนี้ เร้ดแฮทยังได้ประกาศการปรับปรุงบริการ Cloud Services ที่มีอยู่ ดังต่อไปนี้

    • Red Hat OpenShift Data Science เป็นบริการระบบคลาวด์ที่มีการ บริหารจัดการสำหรับ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและนักพัฒนา ซึ่งมีแซนด์บ็อกซ์ที่ได้รับ การรองรับอย่างเต็มรูปแบบในการพัฒนา ฝึกฝนและทดสอบโมเดล แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้พร้อมให้บริการเป็นส่วนเสริมสำหรับ OpenShift Dedicated และ Red Hat OpenShift Service สำหรับลูกค้า AWS แล้ว นอกจากนี้ ยังได้เพิ่ม การอัปเดตเพื่อปรับปรุงการรองรับการปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งรวมถึง PCI ที่เชื่อม ต่ออุปกรณ์ ต่อพ่วงภายในเครื่องกับระบบประมวลผลกลางของ คอมพิวเตอร์ด้วย ทั้งนี้ ลูกค้าจะสามารถ ใช้ประโยชน์จากโซลูชัน ISV ที่มีการ บริหารจัดการจาก Starburst ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข้อมูล ชั้นนำได้ภายในปีนี้
    • Red Hat OpenShift Streams for Apache Kafka เป็นบริการ Kafka ที่มีการบริหาร จัดการและโฮสต์อย่างเต็มรูปแบบ รองรับการจัดการข้อมูล ประจำตัว และการเข้าถึงอย่างละเอียด ตลอดจนการเข้าถึงตัวชี้วัดและการตรวจสอบ แดชบอร์ด นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มการรับรองต่าง ๆ ด้าน PCI เพื่อให้ปฏิบัติตาม ข้อกำหนดได้ดียิ่งขึ้น
    • Red Hat OpenShift API Managementทำให้สามารถพัฒนาและปรับใช้ แอปพลิเคชัน ที่เน้น API ได้อย่างรวดเร็วผ่านบริการที่โฮสต์และจัดการ OpenShift API Management ที่อยู่ใน Developer Sandbox for Red Hat OpenShift สำหรับการทดลองใช้งาน นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มการอัปเดตเพื่อปรับปรุงการรองรับ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมถึง การรับรอง PCI, ISO และ SOC2 ตลอดจนการพรีวิวของผู้ออกแบบ API อีกด้วย

องค์กรชั้นนำ เช่น BITMARCK, Boston University และ electrical training ALLIANCE ใช้ประโยชน์จากบริการคลาวด์ของเร้ดแฮทในการออกแบบ, ปรับใช้, บริหารจัดการ และปรับขนาด คลาวด์เนทีฟแอปพลิเคชัน  บริการเหล่านี้ทำให้ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและการรองรับเปลี่ยน ไปยังเร้ดแฮทที่โฮสต์และให้การบริหารจัดการคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ ช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อน นวัตกรรมใหม่ ๆ และมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่

เนื่องจากความต้องการด้านไอทีและธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เร้ดแฮทจึงได้สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยบริษัทต่าง ๆ ที่พยายามปรับปรุงการพัฒนา และส่งมอบแอปพลิเคชันให้ทันสมัยมากขึ้น

คำกล่าวสนับสนุน

อาชีช แบดานี, รองประธานอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์, Red Hat

“ลูกค้าต้องการโซลูชันที่ขจัดความซับซ้อนในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดของตน ช่วยให้โครงสร้าง พื้นฐานและแอปพลิเคชันมีความยืดหยุ่น, ควบคุมได้ และมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เร้ดแฮทกำลังช่วย ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ด้วยบริการคลาวด์ใหม่และที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับยุคแห่งนวัตกรรมไฮบริด และปรับให้เหมาะสมสำหรับประสิทธิภาพของนักพัฒนา และผู้ปฏิบัติงาน  การพัฒนาเหล่านี้ช่วยให้ผู้นำสามารถมุ่งเน้นไปที่การนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น พร้อมกับขับเคลื่อนมูลค่าทางธุรกิจให้กับองค์กร”

สตีเฟน บอยด์, สถาปนิกไอที, electrical training ALLIANCE

“การเป็นพันธมิตกับเร้ดแฮทได้เปลี่ยนโฉมความสามารถของ ETA ในการนำเสนอการฝึกอบรม และการจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับช่างไฟฟ้ารุ่นต่อไป ตลอดจนปรับปรุงเส้นทางในการเปลี่ยน ผ่านสู่ดิจิทัลของเราโดยรวม ในฐานะที่เป็นทีมเล็ก ๆ การสนับสนุนที่เราได้รับผ่านบริการที่มีการจัดการ ของ Red Hat OpenShift API Management ช่วยให้เรามุ่งความสนใจไปที่การสร้างประโยชน์ที่ดีให้ กับธุรกิจได้มากขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าของเรา”

เดิร์ก เชฟเฟอร์ส, หัวหน้าสถาปนิกองค์กร, BITMARCK

“เร้ดแฮทให้การสนับสนุนที่ยอดเยี่ยมเมื่อเปิดตัวโซลูชันของเราบนระบบคลาวด์  เราสามารถปรับปรุง ข้อเสนอทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วยความยืดหยุ่นที่ Red Hat Integration มอบให้ พร้อมกับการสนับสนุนด้วยรากฐานของ Red Hat OpenShift  แอปพลิเคชันนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยน สถานการณ์ธุรกิจของเราในระดับที่เห็นได้ชัดเจนเท่านั้น แต่ยังทำให้เราสามารถช่วยเหลือลูกค้าด้าน การดูแลสุขภาพ ในเวลาที่พวกเขาต้องการการเข้าถึงผู้ป่วยและแพทย์ตลอดเส้นทางด้านสุขภาพ ของพวกเขาอีกด้วย”

แฮริสัน จอห์นสัน, หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรด้านเทคโนโลยี, Starburst

“Starburst และ Red Hat กำลังร่วมมือกันเพื่อจัดการกับการแผ่ขยายของข้อมูลและความซับซ้อนของ แอปพลิเคชัน AI/ML ที่เพิ่มขึ้นด้วยข้อเสนอสองข้อ คือ Starburst Enterprise และ Starburst Galaxy ซึ่งเป็นข้อเสนอที่มีการจัดการเต็มรูปแบบบน Red Hat OpenShift Data Science ด้วยความร่วมมืออย่าง ต่อเนื่องของพวกเรา เราจะมุ่งเน้นไปที่การให้การเข้าถึงข้อมูลที่ยืดหยุ่นบนแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ และปรับขนาดได้ ซึ่งเป็นรากฐานของวงจรชีวิตด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเร่งความพยายามของพวกเขาได้”

Red Hat Enterprise Linux 9 สร้างนิยามใหม่ให้กับเทคโนโลยีที่เป็นจุดศูนย์กลางของนวัตกรรม

Red Hat Enterprise Linux 9 สร้างนิยามใหม่ให้กับเทคโนโลยีที่เป็นจุดศูนย์กลางของนวัตกรรม

Red Hat Enterprise Linux 9 สร้างนิยามใหม่ให้กับเทคโนโลยีที่เป็นจุดศูนย์กลางของนวัตกรรม

    • แพลตฟอร์ม Linux ชั้นนำของโลกที่ใช้ในองค์กรจับคู่กับโค้ดที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ด้วยบริการต่าง ๆ บนคลาวด์ เป็นพลังขับเคลื่อนเวิร์กโหลดในสภาพแวดล้อมการผลิตทั้งแบบดั้งเดิมและรุ่นใหม่
    • Red Hat Enterprise Linux 9 ได้รับการออกแบบสำหรับการประมวลผลที่ edge และมัลติคลาวด์ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและบริหารจัดการได้ทุกที่ที่ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในดาต้าเซ็นเตอร์ บนคลาวด์ หรือที่ edge
    • Red Hat Enterprise Linux ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากการคาดการณ์ว่ามูลค่าการใช้ Red Hat Enterprise Linux ในภาพรวมจะแตะระดับที่สูงกว่า 13 ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2565

เร้ดแฮท อิงค์ (Red Hat) ผู้ให้บริการด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับ แนวหน้าของโลก แนะนำ Red Hat Enterprise Linux 9 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Linux ออกแบบมาเพื่อ ขับเคลื่อนนวัตกรรมบนโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ทุกระบบอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งอยู่ใน องค์กร ผู้ให้บริการคลาวด์ต่าง ๆ และ ณ edge ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงที่อยู่นอกสุดของเน็ตเวิร์กขององค์กร Red Hat Enterprise Linux 9 ออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มขององค์กร ควบคู่กับการพัฒนา ของกลไกตลาด และความต้องการของลูกค้าในโลกของไอทีแบบอัตโนมัติและแบบจัดสรรปันส่วนไปตาม ที่ต่าง ๆ (distributed IT)

Red Hat Enterprise Linux ทำหน้าที่เป็นแกนหลักให้กับระบบไอทีขององค์กรทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์และบนคลาวด์มาเป็นเวลาสองทศวรรษแล้ว โดยเน้นให้ลูกค้ามีทางเลือกและมีความยืดหยุ่น แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ นี้ ช่วยให้ลูกค้าของ Red Hat เลือกสถาปัตยกรรมพื้นฐาน เลือกผู้ให้บริการแอปพลิเคชันและผู้ให้บริการคลาวด์ ที่มีสมรรถนะและมีโซลูชันที่ทำงานร่วมกับระบบไอทีที่ทันสมัยได้ตามต้องการ การทำงานร่วมกันนี้ ส่งผลให้ Red Hat Enterprise Linux กลายเป็นจุดศูนย์กลางของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ข้อมูลจากการศึกษาของ IDC ที่สนับสนุนโดย Red Hat[1] คาดการณ์ว่ามูลค่าการใช้ Red Hat Enterprise Linux ทั่วโลกจะสูงกว่า 13 ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2565 โดยรวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ให้กับลูกค้าของ Red Hat ซึ่งคาดว่าจะให้ผลประโยชน์ทางการเงินรวม 1.7 ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2565

แพลตฟอร์ม Linux ระดับองค์กรซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชั้นแนวหน้าของโลกเวอร์ชันล่าสุดนี้ สร้างจากนวัตกรรมที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งมาหลายทศวรรษ และเป็นเวอร์ชันที่นำออกใช้จริงรุ่นแรกที่สร้างจาก CentOS Stream ซึ่งเป็นการพัฒนาล้ำหน้าอย่างต่อเนื่องของ Red Hat Enterprise Linux แนวทางนี้ช่วยให้ระบบนิเวศของ Red Hat Enterprise Linux กว้างขวางมากขึ้น จากพันธมิตร ลูกค้า ไปจนถึงผู้ใช้ทั่วไป รวมถึง การให้ข้อมูลป้อนกลับ การอัปเดทโค้ดและฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้กับแพลตฟอร์ม Linux ระดับองค์กรที่มีประสิทธิภาพชั้นนำของโลก

IDC[2] คาดการณ์ว่า “ภายในปี 2566, 40% ของบริษัทในกลุ่ม G2000 จะเปลี่ยนกระบวนการคัดเลือกคลาวด์เสียใหม่ เพื่อเน้นผลลัพธ์ทางธุรกิจ มากกว่าความต้องการด้านไอที โดยให้ความสำคัญกับการเข้าถึงพอร์ตโฟลิโอของผู้ให้บริการตั้งแต่อุปกรณ์ไปจนถึง edge และตั้งแต่ข้อมูลไปจนถึงระบบนิเวศ”  สำหรับ Red Hat ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มมาตรฐานที่สามารถเข้าถึงฟุตพริ้นท์เหล่านี้ทั้งหมดได้ และมอบประสบการณ์ที่ปรับให้เหมาะสมกับทั้งนวัตกรรม และความคงเส้นคงวาในการสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างของ Red Hat Enterprise Linux 9 ได้รับการสร้างสรรค์มาเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้และความต้องการอื่น ๆ แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ทีมปฏิบัติการและนักพัฒนาได้ใช้ความคิดริเริ่มหรือโครงการใหม่ ๆ โดยไม่ต้องยกเลิกเวิร์กโหลดหรือระบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่

แพลตฟอร์มที่แพร่หลายสำหรับการสร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้ต่อเนื่อง ทั้งกับดาต้าเซ็นเตอร์ ผู้ให้ บริการคลาวด์ และ edge

Red Hat Enterprise Linux มีความพร้อมใช้งานสูงและมีทางเลือกในการใช้งานมากมายในตลาดคลาวด์ชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ Red Hat Enterprise Linux ได้ทุกที่ทุกวิธีที่เหมาะกับความต้องการในการทำงานที่เฉพาะของลูกค้าแต่ละราย  ลูกค้าปัจจุบันสามารถโยกย้ายสิทธิ์การเป็นสมาชิก Red Hat Enterprise Linux ไปใช้งานบนระบบคลาวด์ที่เลือกได้ด้วย Red Hat Cloud Access ลูกค้ารายใดที่กำลังต้องการปรับขนาดการใช้งาน และมองหาคลาวด์ที่ตรงตามความต้องการ จะสามารถใช้แพลตฟอร์ม ออน-ดีมานด์จากผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ในตลาดได้ เช่น Amazon Web Services (AWS), Google Cloud, IBM Cloud และ Microsoft Azure

องค์กรให้ความสนใจกับการประมวลผลที่ edge มากขึ้น และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดมากกว่าหนึ่งในสี่ล้านล้านเหรียญฯ ภายในปี 2568[3] และแพลตฟอร์มที่มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วไปนี้ก็ขยายการใช้งานไปถึง edge โดยประสิทธิภาพสำคัญที่เพิ่มขึ้นของ Red Hat Enterprise Linux 9 นี้เป็นความสามารถที่ออกแบบมาอย่างเจาะจงตอบโจทย์ความต้องการด้านไอทีที่ edge ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาความสามารถเหล่านี้ประกอบด้วย

    • การบริหารจัดการ edge ที่ครอบคลุม ส่งมอบในลักษณะ as a service เพื่อควบคุมตรวจสอบและปรับขนาดการใช้งานจากระยะไกลด้วยฟังก์ชันด้านการควบคุมและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครบครันด้วยการจัดเตรียมงานแบบไร้สัมผัส สามารถเห็นความสมบูรณ์ของระบบ และเพิ่มการตอบสนองการลดความเสียหายจากช่องโหว่ทั้งหมดจากอินเทอร์เฟซเดียวมากขึ้น
    • การกู้คืน (roll-back) คอนเทนเนอร์ไปยังเวอร์ชันก่อนหน้าโดยอัตโนมัติ ด้วย Podman ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการบริหารจัดการคอนเทนเนอร์แบบเบ็ดเสร็จของ Red Hat Enterprise Linuxที่สามารถตรวจจับได้อย่างอัตโนมัติหากคอนเทนเนอร์ที่ได้รับการอัปเดทใหม่ไม่สามารถทำงานได้ และทำการกู้คืนคอนเทนเนอร์กลับไปยังเวอร์ชันการทำงานก่อนหน้าได้โดยอัตโนมัติ

Red Hat Enterprise Linux 9 ยังเน้นให้เห็นถึงความพยายามของ Red Hat ที่จะให้บริการฟังก์ชันระบบปฏิบัติการสำคัญต่าง ๆ ในรูปแบบการให้บริการ (as services) โดยเริ่มด้วย new image builder service. ที่ใช้ได้กับฟังก์ชันบนแพลตฟอร์มหลักที่มีอยู่แล้ว บริการนี้รองรับการสร้างอิมเมจสำหรับระบบไฟล์ที่ปรับแต่งเฉพาะ และผู้ให้บริการคลาวด์หลัก ๆ รวมถึงเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน เช่น AWS, Google Cloud, Microsoft Azure และ VMware

Red Hat ทำงานร่วมกับ AWS มากว่าทศวรรษ เพื่อสนับสนุนการเปิดตัวเวอร์ชันล่าสุดของ Red Hat Enterprise Linux บน AWS โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ลูกค้าสามารถใช้เวิร์กโหลดที่อยู่บน Red Hat Enterprise Linux บนอินสแตนซ์ของ AWS ที่ใช้ระบบประมวลผล Graviton ออกแบบโดย AWS ได้ การทำงานร่วมกันของ Red Hat Enterprise Linux 9 กับระบบประมวลผล Graviton ของ AWS ช่วยปรับประสิทธิภาพด้านราคาให้เหมาะสมสำหรับเวิร์กโหลดคลาวด์หลากหลายที่ทำงานกับ Amazon Elastic Compute Cloud (Amazon EC2)

แกนหลักเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ทุกที่ ที่แข็งแกร่งมากขึ้น

การที่ทีมไอทีนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ และขยายการใช้งานไปยังรูปแบบการปฏิบัติการใหม่ ๆ ทำให้ภัยคุกคามกลายเป็นเรื่องซับซ้อนมากขึ้นและมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา  Red Hat Enterprise Linux 9 ยังคงความมุ่งมั่นของ Red Hat ในการนำเสนอแพลตฟอร์ม Linux ที่มั่นคงปลอดภัย ซึ่งสามารถรับมือกับเวิร์กโหลดที่ละเอียดอ่อนที่สุด และจับคู่นวัตกรรมกับความสามารถด้านความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้น เมื่อสมัครใช้งาน Red Hat Enterprise Linux ลูกค้ายังสามารถเข้าใช้งาน Red Hat Insights ซึ่งเป็นบริการการวิเคราะห์เชิงรุกอย่างต่อเนื่องของ Red Hat เพื่อตรวจจับและแก้ไขปัญหาด้านการกำหนดค่าและช่องโหว่
ที่อาจเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้งานของสมาชิกบนไฮบริดคลาวด์ด้วย

สิ่งที่มีมากกว่าความแข็งแกร่ง การทดสอบ และการสแกนหาช่องโหว่ที่เป็นคุณสมบัติของ Red Hat Enterprise Linux ทุกรุ่นแล้ว Red Hat Enterprise Linux 9 ยังรวบรวมฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ช่วยแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยระดับฮาร์ดแวร์ เช่น Spectre และ Meltdown ตลอดจนความสามารถที่ช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ของผู้ใช้งาน สามารถสร้างบริเวณหน่วยความจำที่ไม่สามารถเข้าถึงโค้ดที่อาจเป็นอันตรายได้  แพลตฟอร์มนี้ยังได้เตรียมความพร้อมและตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้า และรองรับข้อกำหนดของ PCI-DSS, HIPAA และข้อกำหนดอื่น ๆ

Red Hat Enterprise Linux 9 ยังเพิ่ม Integrity Measurement Architecture (IMA) – digital hashes and signatures โดยผู้ใช้สามารถใช้ IMA เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของระบบปฏิบัติการผ่าน digital signatures and hashes ซึ่งช่วยตรวจจับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานที่ผิดปกติ ทำให้จำกัดการบุกรุกระบบได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ Red Hat Enterprise Linux 9 จะใช้งานได้กับ IBM Cloud  เพื่อเพิ่มทางเลือกด้านสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมด้านโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ต่าง ๆ ให้กับองค์กร และยังเสริมคุณสมบัติและความสามารถต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยที่สำคัญของระบบ IBM Power Systems และ IBM Z  การจับคู่ความสามารถด้านฮาร์ดแวร์ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยจากสถาปัตยกรรมของ IBM เข้ากับประสิทธิภาพความปลอดภัยของ Red Hat Enterprise Linux 9 เป็นการมอบนวัตกรรม ความแข็งแกร่ง และความสามารถด้านความปลอดภัยที่องค์กรจำนวนมากต้องการในการประมวลผลแบบไฮบริดคลาวด์

ระบบอัตโนมัติและการพัฒนาด้านไฮบริดคลาวด์อย่างต่อเนื่อง

การที่ระบบไอทีต่าง ๆ ขยายตัวเพื่อให้รับมือกับเวิร์กโหลดและฟุตพริ้นท์ที่หลากหลายได้อย่างครอบคลุมทำให้ทีมทำงานด้านไอทีนำระบบ และเครื่องมืออัตโนมัติมาใช้เป็นตัวช่วยที่ทรงพลัง Red Hat Enterprise Linux 9 ช่วยให้องค์กรด้านไอทีได้ใช้ระบบอัตโนมัติกับไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด ด้วยความสามารถต่าง ๆ ที่ปรับไว้อย่างเจาะจงในการช่วยลดความซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

แพลตฟอร์มนี้นำเสนอ Red Hat Enterprise Linux System Roles ซึ่งมอบเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติสำหรับการสร้างการกำหนดค่าระบบที่เฉพาะเจาะจง Red Hat Enterprise Linux 9 ยังสร้างตัวเลือกเพิ่มเติม คือ การเพิ่ม System Roles for Postfix ใหม่, คลัสเตอร์ที่พร้อมใช้งานสูง, ไฟร์วอลล์, Microsoft SQL Server, web console และอื่น ๆ

นอกจากนี้ Red Hat Enterprise Linux 9 ยังรองรับ kernel live patching จาก Red Hat Enterprise Linux web console ช่วยให้องค์กรด้านไอทีสามารถจัดการกับงานสำคัญได้โดยอัตโนมัติตามปริมาณที่ต้องการ ซึ่งเป็นการช่วยให้ทีมทำงานด้านไอทีสามารถทำการอัปเดทการใช้งานระบบแบบกระจายขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องเข้าใช้เครื่องมือ command line ช่วยให้จัดการปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตได้ง่ายขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นในดาต้าเซ็นเตอร์หลัก มัลติคลาวด์ หรือ edge สำหรับ Microsoft นั้น Red Hat Enterprise Linux 9 เป็นการต่อยอดความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Microsoft เมื่อปี 2558 และขณะนี้พร้อมใช้งานบน Microsoft Azure โดยมอบโครงสร้างพื้นฐานพร้อมใช้ให้กับเทคโนโลยีหลักของ Microsoft รวมถึง Microsoft SQL Server อันนับเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือด้านวิศวกรรมกับ Microsoft ซึ่งรวมถึงโมดูลนำร่องการปรับแต่งประสิทธิภาพ โปรไฟล์ที่ได้รับการปรับแต่ง บทบาทระบบ SQL Server ที่ขับเคลื่อนโดย Ansible และอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนี้ Red Hat Enterprise Linux 9 ยังสนับสนุนการพัฒนา .NET และแอปพลิเคชันอย่างเต็มรูปแบบต่อเนื่อง โดยการนำแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สร้างโดยแพลตฟอร์มการพัฒนาของ Microsoft มาสู่แพลตฟอร์ม Linux ระดับองค์กรที่มีประสิทธิภาพแนวหน้าของโลก

การวางจำหน่าย

Red Hat Enterprise Linux 9 จะพร้อมใช้งานทั่วไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ถัดจากนี้ ผ่าน the Red Hat Customer Portal และผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่  นอกจากนี้ นักพัฒนายังสามารถเข้าใช้งาน Red Hat Enterprise Linux 9 ผ่านโปรแกรม Red Hat Developer ต่าง ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถเข้าใช้ซอฟต์แวร์ วิดีโอแสดงวิธีการใช้ต่าง ๆ การสาธิต คู่มือเริ่มต้นใช้งาน เอกสารประกอบ และอื่น ๆ อีกมาก

คำกล่าวสนับสนุน

แมทธิว ฮิกส์, รองประธานบริหาร ฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี, Red Hat

“ไม่ว่าจะเป็นพับลิคคลาวด์ขนาดใหญ่และอุปกรณ์ edge ชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงคอนเทนเนอร์แอปพลิเคชันที่เรียบง่าย และเวิร์กโหลดปัญญาประดิษฐ์ที่ซับซ้อน ไอทีที่ทันสมัยล้วนเริ่มต้นด้วย Linux  ในฐานะแพลตฟอร์ม Linux ระดับองค์กรที่เป็นเทคโนโลยีชั้นนำของโลก Red Hat Enterprise Linux 9 ได้ขยายศักยภาพไปทุกแห่งหนที่ต้องการทั่วทั้งโอเพ่นไฮบริดคลาวด์และอื่น ๆ และจับคู่กับแกนหลักที่เชื่อถือได้ของ Linux ระดับองค์กรเข้ากับปัจจัยเร่งให้เกิดนวัตกรรมของชุมชนโอเพ่นซอร์ส  Linux เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และ Linux นั้นก็คือ Red Hat Enterprise Linux”

เฟรด เวอร์เดน, รองประธาน, AWS Commercial Software Services

“AWS และ Red Hat ได้รวมมือกันมอบโซลูชันการประมวลผลบนคลาวด์ที่พร้อมใช้สำหรับองค์กรให้กับลูกค้ามานานกว่าทศวรรษ ปัจจุบันเรานำ Red Hat Enterprise Linux 9 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Linux ที่เป็นนวัตกรรมที่มีความเสถียรมาทำงานร่วมกับ AWS ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเรารันเวิร์กโหลดที่สำคัญบนอินสเตนซ์ที่มีอยู่มากกว่า 500 ประเภท รวมถึงโปรเซสเซอร์ ARM-based AWS Graviton ที่ล้ำหน้าที่สุดซึ่งขับเคลื่อน Amazon EC2 instances รุ่นล่าสุด”

ฮิลเลรี ฮันเตอร์, ผู้จัดการทั่วไป, Cloud Industry Platforms and Solutions, CTO, IBM Cloud

“IBM Cloud ช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากสถาปัตยกรรมโอเพ่นคลาวด์ เพื่อเร่งแนวทางขับเคลื่อนนวัตกรรม ในขณะเดียวกันก็ยังคงความสำคัญด้านความปลอดภัยและความยืดหยุ่นไว้เป็นสำคัญ ด้วยการสนับสนุนของ Red Hat Enterprise Linux ลูกค้าของเราโดยเฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมที่เข้มงวด เช่น บริการทางการเงิน สามารถมั่นใจได้ว่าองค์กรเหล่านี้ได้ใช้สภาพแวดล้อมที่ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และมีความสามารถระดับที่ใช้ในองค์กร การที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญสูงกับระบบความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความทันสมัย สภาพแวดล้อมนี้สามารถช่วยพวกเขาบริหารจัดการเวิร์กโหลดทุกสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ที่ใช้อยู่ เพื่อมอบประสบการณ์ที่คงเส้นคงวาและสอดคล้องกัน”

โอมาร์ คานท์, ผู้จัดการทั่วไป, Azure Infrastructure, Microsoft Corporation

“เรามุ่งมั่นช่วยลูกค้าของเราในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในขณะที่พวกเขาย้ายไปยังคลาวด์การที่ธุรกิจต่าง ๆ ขยายเวิร์กโหลดไปยัง edge โซลูชันต่าง ๆ เช่น Red Hat Enterprise Linux on Microsoft Azure ที่นำเสนอประโยชน์มากมายให้กับองค์กร รวมถึงเวิร์กโหลด Red Hat Enterprise Linux อัตโนมัติผ่าน Red Hat Ansible Automation Platform on Azure.