แก้ไขปัญหาการจราจรในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านข้อมูลและระบุตำแหน่ง (Location Intelligence)

แก้ไขปัญหาการจราจรในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านข้อมูลและระบุตำแหน่ง (Location Intelligence)

แก้ไขปัญหาการจราจรในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านข้อมูลและระบุตำแหน่ง (Location Intelligence)

โดย อาบิจิต เซนกุปตา ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ประจำประเทศอินเดีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ HERE Technologies

เมืองต่าง ๆ ในปัจจุบันต่างกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่ถาโถมเพิ่มขึ้นเพื่อปรับปรุงระบบจราจรให้ลื่นไหลและเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่ต้องลดมลภาวะที่เกิดขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนไปพร้อมกัน เทคโนโลยีถนนอัจฉริยะ (Smart road technologies) มีความสามารถทำให้ถนนหนทางต่าง ๆ มีความอัจริยะและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยให้ผู้วางผังเมืองและภาครัฐมีส่วนสนับสนุนการใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในอันดับ 9 ของโลก โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบการสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับการขับรถด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น 4% ขณะที่อุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับช่วงวันหยุดต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นเรื่องเร่งด่วนและอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนให้เหลือไม่เกิน 12 ต่อประชากรแสนคนภายในปี พ.ศ.2570 และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “Vision Zero” ภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งแผนดังกล่าวจะช่วยลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และสร้างความมั่นใจให้ทุกคนสามารถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย มีสุขภาวะที่ดี และเดินทางได้อย่างเท่าเทียมกัน

อย่างไรก็ตาม การไม่มีแผนดำเนินงานที่ชัดเจนและขาดเครื่องมือติดตามผลลัพธ์การทำงาน จะส่งผลเสียมาถึงกระบวนการติดตั้งและการวิเคราะห์หาโซลูชันที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งในแง่การบริหารจัดการการจราจรให้ดียิ่งขึ้น และการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการสัญจรบนถนนที่คับคั่งได้ดียิ่งขึ้น

เอาชนะปัญหาจราจรด้วยความเข้าใจรูปแบบการสัญจร

กว่า 10 ปีมาแล้ว แบบจำลองการจราจรเผยให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพบนท้องถนนที่ต้องปรับปรุง โดยรวบรวมข้อมูลมามาจากระบบเซนเซอร์และกล้องตรวจจับบนท้องถนนเพื่อมอนิเตอร์ความเร็วและจำนวนยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายแพงและยังมีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล เช่น  ตัวกล้องที่เกิดการชำรุดเสียหายง่ายและเสี่ยงต่อการถูกก่อกวน หรือ กล้องสามารถบันทึกข้อมูลได้ในระยะเวลาไม่นานพอ ขณะที่ “ความคับคั่งของการจราจร” จะยังไม่สามารถถูกบันทึกไว้ในกล้อง เป็นต้น 

ปัจจุบัน การใช้ข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์และโซลูชันวิเคราะห์ขั้นสูงช่วยทรานฟอร์มเครื่องมือการทำงานของนักวางแผนการขนส่ง, หน่วยงานของภาครัฐ, และผู้กำหนดนโยบายไปสู่ดิจิทัล ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่หลายล้านเครื่องที่ถูกใช้ภายในยานพาหนะ รวมถึงเซนเซอร์ นับว่าเรามีข้อมูล ‘Big Data’ จำนวนมหาศาลมากพอที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ปัญหาการจราจรได้อย่างเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ข้อมูลการจราจรจะช่วยไขข้อสงสัยต่าง ๆ ได้ เช่น  เราจะบรรเทาความแออัดบนท้องถนนในชั่วโมงเร่งด่วนได้อย่างไร? หรือ โซนการก่อสร้างมีผลต่อการจราจรมากน้อยแค่ไหน? ความเร็วที่สามารถขับผ่านวงเวียนควรมีเท่าไร? หรือ อยากทราบว่ามีที่จอดรถว่างบริเวณใดบ้าง? ฯลฯ และเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดบนท้องถนน ข้อมูลระบุตำแหน่งการจราจรกว่าล้านล้านจุดจะถูกจัดเก็บและนำไปใช้งานในแต่ละวันบน Location Technology Platform ของ HERE Technologies ซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจ ภาครัฐ หรือแม้แต่ผู้ขับขี่บนท้องถนนเข้าถึงสถานการณ์การจราจรภายในเมือง และนำไปใช้วางแผนการเดินทางตามวัตถุประสงค์การเดินทางต่าง ๆ  

ระบบประมวลผลการจราจรของ HERE จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทที่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยซอฟต์แวร์การติดตามและจำลองผลลัพธ์ ช่วยให้บริษัทประกันภัย ผู้จัดการด้านการขนส่ง และผู้บริโภค ใช้สิทธิประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น เช่น อ้างอิงจากการบันทึกข้อมูลและพฤติกรรมการขับขี่ ฯลฯ นอกจากนี้ ระบบ HERE Traffic API ยังจะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดบนท้องถนนในแต่ละวัน ด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึก ได้แก่ อุบัติเหตุบนท้องถนนแบบเรียลไทม์, ระดับความคล่องตัวของการจราจรภายหลังจากเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุจราจรที่สำคัญ ๆ

ทำให้ปัญหาการจราจรกลายเป็นอดีต

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2593 70% ของจำนวนประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง  ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาความแออัด แต่นั่นเป็นเพียงส่วนยอดปัญหาบนภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ในกรณีเลวร้ายที่สุดคือชาวเมืองในกรุงเทพฯ และกรุงจาการ์ตาอพยพหนีจากเมืองเพื่อเลี่ยงความแออัดและปัญหามลพิษ

หลาย ๆ เมืองได้ดำเนินการเพื่อลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจราจรไปบ้างแล้ว อาทิ ประเทศสิงค์โปร์ที่จัดทำเครือข่ายทางด่วนและอุโมงค์ถนนที่มีระยะทางยาว 160 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งแกดเจ็ตเซ็นเซอร์ และกล้องเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจร เวลาการเดินทาง และความต้องการใช้ถนนเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้สัญจรใช้วางแผนเดินทาง พร้อมยังได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทของชาติ Smart Mobility 2030 master plan ที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะมาเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของเครือข่ายบนท้องถนนอย่างสูงสุด ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการตรวจสอบและควบคุมปริมาณการจราจร ช่วยทำให้ถนนปลอดภัยยิ่งขึ้น

หายใจได้เต็มปอด ห่างจากปัญหาจราจร

นอกจากการจราจรที่หนาแน่นและอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว ปัญหามลพิษทางอากาศยังเป็นอีกหนึ่งผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้นจากการจราจร เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในอากาศของประเทศไทยสูงกว่าค่าคุณภาพมาตรฐานที่องค์กรอนามัยโลกกำหนดถึง 4  เท่า หมายความว่าคนไทยกำลังสูดดมอากาศที่ไม่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้เมื่อปีก่อนยังมีข้อมูลบ่งชี้ที่สอดคล้องกัน คาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิต 29,000 รายในประเทศไทย มีสาเหตุมาจากคุณภาพอากาศ 

จำนวนยานพาหนะส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดและความต้องการหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยขนส่งสาธารณะที่เกิดขึ้นทั่วโลกซึ่งกลายเป็นวิถีการเดินทางปกติไปแล้ว พวกเรารู้สึกสบายใจเมื่อได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ผู้วางผังเมืองสามารถรับรู้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมการจราจร จุดที่เกิดปัญหาความคับคั่งได้อย่างเจาะจง และวิธีการแก้ไขได้ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ ข้อมูลการคาดการณ์ และข้อมูลการจราจรในอดีต

และเป็นเรื่องน่ายินดี ที่วันนี้เรากำลังก้าวไปสู่การพัฒนาและนำรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (หรือ EV) มาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดมลพิษได้อย่างชัดเจนด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ฟอสซิล เมื่อรวมเข้ากับการสมัครใช้แอปพลิเคชันแผนที่ระบุตำแหน่งในรถยนต์ จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้เลือกขับรถในเวลาที่จำนวนรถยนต์โดยรวมบนท้องถนนไม่มากได้ เพื่ออากาศที่สะอาดขึ้น ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ต่ำลง รวมถึงเมืองที่มีความยั่งยืนมากขึ้น

การคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภคในระบบขนส่ง

ผลการศึกษาจากผู้ใช้งาน HERE Technologies ทั่วโลก ระบุว่า ผู้บริโภค 80% ไม่ไว้วางใจว่าบริการต่างๆ ที่รวบรวมข้อมูลตำแหน่งของตนจะจัดการกับข้อมูลดังกล่าวได้ตามที่ควร ขณะผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามในจำนวนใกล้เคียงกันระบุว่า พวกเขารู้สึกเครียด ประหม่า ที่ต้องแชร์ข้อมูล Location ให้กับผู้อื่น เป็นที่ชัดเจนว่าองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องจัดการข้อมูลตำแหน่งอย่างระมัดระวัง และต้องสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปเปิดดำเนินกิจการ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA)

บริษัทจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อใดควรจะขอความยินยอมจากผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลของพวกเขาไปใช้ และต้องมีความโปร่งใสในการรักษาความเป็นส่วนบุคคลหรือวิธีการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั้งสองประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่บริษัทต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ การเลือกประเด็นด้านความปลอดภัยของข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่ได้เหมาะสมกับทุก ๆ สถานการณ์เสมอไป

สิ่งนี้เป็นปัญหาสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่รวบรวมข้อมูลเพื่อให้บริการที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้อมูลการจราจรไปจนถึงพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลที่สามในการสร้างบริการใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม การทำให้แน่ใจว่าประสบการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับนั้นจะต้องสอดคล้องและถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่รักษาความพึงพอใจของผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กันนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย

อนาคตจะเป็นอย่างไร?

เมืองที่มีระบบบริหารจัดการความแออัดและเมืองใดก็ตามที่กำลังวางแผนที่จะเปิดใช้งานระบบจัดการดังกล่าว จะต้องใช้ข้อมูล  Location Intelligence เพื่อให้แน่ใจว่าแผนงานจะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง (Location Technology) สามารถช่วยเมืองต่าง ๆ ระบุตำแหน่งที่แน่นอนซึ่งช่วยจัดการความแออัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ Location-Based Data ยังสามารถใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการจราจร ทำความเข้าใจความต้องการโครงสร้างพื้นฐานของเมือง รวมถึงระบบการบำรุงรักษา และการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจถึงประสิทธิภาพของโซนที่มีความคับคั่งได้ดีมากยิ่งขึ้น

อาลีบาบาครองตำแหน่งที่สามในตลาดพับลิคคลาวด์ด้าน IaaS เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อาลีบาบาครองตำแหน่งที่สามในตลาดพับลิคคลาวด์ด้าน IaaS เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อาลีบาบาครองตำแหน่งที่สามในตลาดพับลิคคลาวด์ด้าน IaaS เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

รายงาน Worldwide Semiannual Public Cloud Service Tracker ล่าสุดจัดทำโดยบริษัทวิจัยตลาดและที่ปรึกษา International Data Corporation (IDC) ระบุว่าอาลีบาบายังคงครองตำแหน่งผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) พับลิคคลาวด์ ที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสามของโลกในปี 2564

IDC Tracker เผยว่า อาลีบาบายังคงอยู่ในอันดับที่ 3 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 7.4% นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวในห้าอันดับแรกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย 

นายเจฟฟ์ จาง ประธานกรรมการ อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “ตลาดคลาวด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วสร้างโอกาสสำคัญอย่างมากต่อผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีทั่วโลก ในการพัฒนา และขยายการนำเสนอบริการด้านต่าง ๆ ของตนสู่ตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่อง ความต้องการของธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งต้องการบริการด้านคลาวด์ที่สามารถปรับขนาดการทำงานได้ เชื่อถือได้ และคุ้มค่าการลงทุน ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกัน อาลีบาบามีพันธะสัญญาที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราทั่วโลกเข้าสู่สภาพแวดล้อมดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ด้วยนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น” 

IDC tracker เผยให้เห็นข้อมูลว่าตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งด้าน IaaS ทั่วโลกได้ขยายตัวถึงระดับ 91.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 35.6% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งด้าน IaaS ที่อยู่ในสามลำดับแรกมีส่วนแบ่งตลาดโลกเกือบ 70% 

ผลที่ได้จากรายงานนี้เป็นการยืนยันความสำเร็จของกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจของอาลีบาบาไปทั่วโลกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและเน็ตเวิร์กทั่วโลก ปัจจุบัน อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ให้บริการด้านคลาวด์คอมพิวติ้งแก่ลูกค้าหลายล้านรายทั่วโลกใน 84 โซน 27 ภูมิภาค 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ อาลีบาบาได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการหลัก (major player) ในรายงาน IDC MarketScape: Worldwide Commercial Content Delivery Network Services 2022 Vendor Assessment (Doc # US47652821, March 2022) ซึ่งทำการวิเคราะห์ผู้ให้บริการด้านเน็ตเวิร์กการรับส่งเนื้อหา (Content Deliver Network: CDN) จากความสามารถในการรับส่งเนื้อหาทั่วโลกและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สร้างการเติบโตทางธุรกิจ

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม กับโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม กับโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม กับโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

การรับรู้และการเปิดกว้างของสังคมกับความหลากหลายทางเพศในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เห็นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง “Pride Month” หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งได้รับผลตอบรับและเปิดรับความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น โดยผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจต่าง ๆ ไม่น้อย ข้อมูลล่าสุดจาก LGBT Capital ณ สิ้นปี 2562 ระบุว่าผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ กว่า 371 ล้านคนทั่วโลก (อายุ 15 ปีขึ้นไป) มีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยคิดเป็นผู้บริโภค LGBTQIA+ ชาวไทย 3.6 ล้านคน มีอำนาจการใช้จ่ายอยู่ที่ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ประมาณการส่วนแบ่งความมั่งคั่งในครัวเรือนของผู้บริโภค LGBTQIA+ ชาวไทยยังมีถึง 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 จากที่เคยแตะระดับ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 สะท้อนให้เห็นกำลังซื้อของชาว LGBTQIA+ ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องและยังมีพฤติกรรมการใช้เงินในระดับดีอีกด้วย เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย กลายเป็นเป้าหมายที่น่าจับตามองของหลายธุรกิจ 

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เปิดประตูโอกาสเป็นเจ้าของบ้านของกลุ่ม LGBTQIA+ 

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ใน Pride Month ปีนี้คือความเคลื่อนไหวด้านกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในวาระที่ 1 ซึ่งจะเป็นอีกก้าวสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ ได้รับสิทธิทางกฎหมายในหลายด้าน แม้จะมีความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับความชัดเจนและความครอบคลุมของเนื้อหาในทางกฎหมายในด้านสิทธิและสวัสดิการบางอย่าง แต่นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าจับตาสำหรับผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ ที่จะมีบทบาทร่วมกันมากขึ้นในการดูแลหรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ภายใต้กฎหมายในฐานะคู่สมรส

ด้านการซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญในการเริ่มต้นสร้างครอบครัว แม้ปัจจุบันจะมีธนาคารหลายแห่งที่อนุมัติสินเชื่อบ้านการกู้ร่วมกันระหว่างคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่คาดว่าร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมนี้จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันให้ธนาคาร/สถาบันการเงินต่าง ๆ พิจารณาและเปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIA+ มีสิทธิขอกู้ร่วมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งมีมาตรการส่งเสริมเฉกเช่นคู่รักชายหญิง ซึ่งการกู้ร่วมนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIA+ ยื่นกู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในวงเงินที่สูงขึ้น และเลือกบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคาร/สถาบันการเงินหลายแห่งไม่สามารถให้สินเชื่อแก่ผู้กู้ร่วม LGBTQIA+ ได้ โดยให้เหตุผลสอดคล้องกันว่า ผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน คือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกันนั่นเอง 

ด้วยเหตุนี้คู่รัก LGBTQIA+ ต้องใช้สินเชื่อประเภทอื่นในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME โดยคู่รัก LGBTQIA+ สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวรเพื่อประกอบกิจการได้ เช่น สถานประกอบการพร้อมที่ดิน หรือที่ดินเปล่าเพื่อใช้ดำเนินกิจการ แต่การกู้โดยใช้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME นั้นจะให้ช่วงระยะเวลากู้นานสุดเพียง 10 ปีเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งให้ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30 ปี นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME นั้นยังมีอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอีกด้วย

นอกจากนี้ ปัจจุบันบางธนาคาร/สถาบันการเงินเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIA+ สามารถกู้ร่วมได้ แต่มีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างจากการกู้ร่วมของคู่รักชายหญิง เช่น กู้ได้เพียง 90% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย เป็นต้น คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ธนาคาร/สถาบันการเงินจะมีมาตรการออกมารองรับผู้กู้ร่วมที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น และมีการประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ร่วมชาว LGBTQIA+ อย่างเท่าเทียมกับคู่รักเพศชายและเพศหญิง

คู่รักชาว LGBTQIA+ กู้ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่าน
ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้คู่รักชาว LGBTQIA+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นค่อนข้างคล้ายคลึงกัน เช่น 

    • มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
    • มีรายได้มั่นคง โดยมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม (บางธนาคารกำหนดให้ผู้กู้หลักมีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป)
    • พนักงานประจำต้องมีอายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (บางธนาคารไม่มีกำหนด)
    • ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น (บางธนาคารไม่มีกำหนด)

นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามปกติ คือต้องมีภาระหนี้ไม่เกิน 30-40% ของรายได้ มีเงินออมอย่างน้อย 10% ของราคาที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีบันทึกการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน หากมีการเตรียมตัวเบื้องต้นให้พร้อมตามรายละเอียดต่าง ๆ ข้างต้น ก็จะช่วยให้การกู้ซื้อบ้านของชาว LGBTQIA+ ลุล่วงไปได้ด้วยดี

เมื่อเทรนด์ที่อยู่อาศัยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศสภาพ บ้านแบบไหนตอบโจทย์ 

ความต้องการที่อยู่อาศัยถือเป็นเทรนด์ที่ปราศจากเพศ (Genderless) และปัจจัยที่ผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ ใช้เมื่อเลือกที่อยู่อาศัยก็ไม่ต่างจากผู้บริโภคเพศชายและหญิงเลย เนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนมาอัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามอง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งรวมถึงชาว LGBTQIA+ 

    • บ้านที่ใช่ต้องมีขนาดเหมาะสม ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่า เมื่อค้นหาที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเพื่อซื้อหรือเช่า ปัจจัยภายในที่ผู้บริโภคชาวไทยเกือบครึ่ง (49%) ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ขนาดของที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากให้ความสำคัญกับการแบ่งพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับทุกกิจกรรม ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยจะต้องมาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน (46%) นอกจากนี้ ยังมองหามาตรการหรือโครงการที่จะช่วยให้มีบ้านเป็นของตัวเองง่ายขึ้น (37%) 
    • ทำเลปัง เดินทางง่าย ตอบโจทย์ Social Life ด้านปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ เมื่อผู้บริโภคชาวไทยตัดสินใจซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น มากกว่าครึ่งให้ความสำคัญไปที่ทำเลที่ตั้งโครงการ (52%) ที่จำเป็นต้องอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวก ใกล้แหล่งความเจริญ ช่วยให้การใช้ชีวิตทุกวันง่ายขึ้น ตามมาด้วยสามารถเดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (51%) เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทางเมื่อไปทำงานหรือสังสรรค์ใจกลางเมือง นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมองว่า โครงสร้างพื้นฐาน/สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ถือเป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญในการพิจารณาไม่แพ้กัน (สัดส่วนเท่ากันที่ 43%) เนื่องจากเป็นปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัย การเดินทาง รวมไปถึงรองรับการใช้ชีวิตเมื่อพบปะสังสรรค์ หรือทำกิจกรรมกับเพื่อนและครอบครัว
    • อุ่นใจเมื่ออยู่ใกล้หมอ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลในการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัยคือความสะดวกในการเดินทางไปสถานพยาบาล โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคต่างหันมาตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่เพิ่มความอุ่นใจไปอีกขั้น คือการมีที่อยู่อาศัยที่ไม่ไกลจากสถานพยาบาล เอื้อต่อการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว โดยมากกว่า 4 ใน 5 ต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลมากที่สุด (88%) ตามมาด้วยอยู่ใกล้ร้านขายยา (45%) และใกล้ศูนย์บริการสุขภาพเฉพาะทาง (37%) 
    • ดูแลบ้านง่ายแค่ปลายนิ้วด้วยระบบ Smart Home เทรนด์บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) ได้รับความสนใจมากขึ้นและเข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี จากการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยสามารถควบคุมการทำงานระบบต่าง ๆ ตั้งแต่ความปลอดภัย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านผ่านการเชื่อมต่อด้วยระบบดิจิทัลและ Internet of Things (IoT) ให้สามารถสั่งงานด้วยเสียงหรือจากแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ช่วยยกระดับความปลอดภัยให้ที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นกลอนประตูดิจิทัล (Digital Door Lock) หรือกล้องวงจรปิดที่รองรับการรับชมภาพออนไลน์ได้ตลอดเวลาบนสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านผ่านสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย

แม้ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะต้องรอติดตามความชัดเจนต่อไปในการพิจารณาวาระอื่น ๆ แต่ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของสังคมไทยกับความเสมอภาคทางเพศที่คาดว่าในอนาคตจะมีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีสถาบันการเงินหลายแห่งที่ออกมาตรการสนับสนุนการยื่นกู้สินเชื่อร่วมกันสำหรับคู่รักชาว LGBTQIA+ ที่ต้องการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้าน ทั้งนี้เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารล่าสุดและเรื่องราวน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ พร้อมเป็นแหล่งรวมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถศึกษาหาข้อมูลเรื่องที่อยากรู้ เตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อให้เป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

การใช้แนวทางแบบ Multi-Enterprise ปลดล็อกประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีบล็อกเชน

ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการประกันคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษา เมื่อใช้บล็อกเชนร่วมกับโซลูชัน ERP แบบ multi-enterprise ที่ทันสมัยบนระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนาน กับข้อกำหนดเฉพาะในการจัดการอายุการเก็บรักษา, ความซับซ้อนในการจัดตารางการผลิต ตลอดจนการตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ มากมาย นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 รวมถึงอัตราภาษี, มาตรการด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่ายิ่งทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญหาและแนวโน้มมากมายเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบไปทั่วระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่การจัดซื้อ การผลิต ตลอดไปจนถึงการส่งมอบสินค้า

เมื่อบริษัทอาหารและเครื่องดื่มต้องการสร้างรากฐานให้ดีขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เราพบว่ามีเทคโนโลยีและโซลูชันมากมายให้เลือกพิจารณา โดยบล็อกเชนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ทุกวันนี้ บริษัทต่าง ๆ กำลังใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนในการตรวจสอบและติดตามสินค้า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นทั่วทั้งระบบซัพพลายเชน สำหรับผู้บริโภค บล็อกเชนเป็นวิธีใหม่ที่ทำให้ผู้คนสามารถติดตาม “เส้นทาง” ของอาหารจากแหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค

แม้ว่าบล็อกเชนจะมีศักยภาพพร้อมในการส่งมอบประโยชน์ และนวัตกรรม และสร้างสรรค์ให้กับทั้งธุรกิจและผู้บริโภคก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าบล็อกเชนไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาแบบครอบจักรวาล แต่หากนำฟังก์ชันการทำงานไปใช้ร่วมกับโซลูชันการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ที่ทันสมัย และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ที่เชื่อมธุรกิจภายในซัพพลายเชนเดียวกันทั้งหมดเข้าด้วยกันบนระบบคลาวด์ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ที่กำลังพยายามรับรองคุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการเก็บรักษาของส่วนผสมและผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งให้กับผู้บริโภค

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยระบุว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้บริโภคต่างทวีความต้องการด้านการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของอาหารและเครื่องดื่ม (Food Traceability) เพิ่มขึ้น และกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของธุรกิจอาหารไทยในอนาคตอันใกล้  โดยมีการประเมินว่า ความท้าทายดังกล่าวจะมาในรูปแบบของมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับผู้ส่งออกไทยในระยะข้างหน้า เช่น นโยบาย Farm to Fork ของสหภาพยุโรปที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจากฟาร์มไปจนถึงมือผู้บริโภค ที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและขนส่งอาหารที่มีความโปร่งใส ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหาร โดยการบังคับติดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลสินค้า เช่น โภชนาการ แหล่งที่มา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ หรือมาตรฐานเพิ่มเติมของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาที่จะทำให้การตรวจสอบย้อนกลับของแหล่งที่มาอาหารจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเอกสารมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น 

ก้าวไปอีกขั้นกับบล็อกเชน

จากมุมของผู้ผลิต ที่ผ่านมาการแบ่งปันและติดตามข้อมูลจากซัพพลายเออร์และเกษตรกร รวมถึงการให้ข้อมูลด้านความยั่งยืนและแหล่งกำเนิดของอาหารที่สำคัญ ไม่เคยมีความสำคัญกับผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคขนาดนี้มาก่อน

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังช่วยตอบสนองความต้องการที่สำคัญนี้ โดยบล็อกเชนจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า เมื่อมีการบันทึกข้อมูลแบบรวมศูนย์หรือกระจายศูนย์แล้ว ก็จะไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้อีก สำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม คุณลักษณะเช่นนี้สำคัญต่อผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค เพราะเป็นการให้ข้อมูลแหล่งที่มาของอาหารที่น่าเชื่อถือที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ข้อมูลที่บันทึกลงในบัญชีแยกประเภทของบล็อกเชน จะสามารถขจัดโอกาสที่จะนำส่วนผสมที่ไม่ใช่ออร์แกนิกมาแสดงไว้ในผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในภายหลัง หรือเมื่อมีการอัปโหลดข้อมูลในระบบซัพพลายเชน อาจเกิดสถานการณ์ที่ข้อมูลอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยเจตนาได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว เช่น การขายเนื้อม้าแต่กลับระบุว่าเป็นเนื้อวัว เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย รายงานจากศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยได้ระบุว่า กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารของไทยที่ต้องเร่งดำเนินการเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับอย่างจริงจังมี 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ ประมง อาหารสัตว์ ตลอดจนสินค้าผักและผลไม้ โดยสินค้าเหล่านี้มักถูกจับตาในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้า และยังเป็นกลุ่มสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในระยะหลังคู่ค้าสำคัญอย่างจีนก็เข้มงวดในมาตรการด้านสุขอนามัยในสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น  ทั้งนี้สินค้า 4 กลุ่มหลักมีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 159,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 16% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยซึ่งอยู่ที่กว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี

และนี่คือจุดที่เรานำเทคโนโลยีบล็อกเชนก้าวขึ้นไปอีกขั้น เครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise และโซลูชัน ERP ที่ทันสมัย ให้ความสามารถกับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม ในการปฏิสัมพันธ์แบบไดนามิกที่จำเป็นกับหลากหลายบริษัท เพื่อนำประโยชน์จากข้อมูลและการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันมาใช้งาน  ซึ่งความสามารถเหล่านี้รวมถึงการวางแผนข้ามองค์กร การดำเนินการจากหลายบริษัท ตลอดจนการแก้ปัญหาที่คาดการณ์ไว้ร่วมกันโดยอัตโนมัติในระบบซัพพลายเชนที่ขยายตัวออกไป

โซลูชัน ERP สมัยใหม่และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise น้้นสำคัญอย่างยิ่ง ในการรับประกันว่าข้อมูลที่ถูกต้องจะบันทึกไว้ในบล็อกเชนตั้งแต่แรกเริ่ม นอกจากนี้ โซลูชัน ERP และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ยังช่วยให้มั่นใจว่า ข้อมูลที่จัดเก็บในบล็อกเชนสามารถนำไปใช้สร้างมูลค่าข้ามสายงานได้ทั่วทั้งระบบซัพพลายเชนขององค์กร อนึ่ง สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ บล็อกเชน โซลูชัน ERP และเครือข่ายการทำงานแบบ Multi-enterprise ไม่ใช่คู่แข่งกัน  ในทางกลับกันเทคโนโลยีและโซลูชันทั้งหมดต่างส่งเสริมซึ่งกันและกันมากกว่า ช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มปรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และส่งมอบผลิตภัณฑ์สุดพิเศษให้กับลูกค้าและผู้บริโภคปลายทาง

ก้าวการเติบโตของบล็อกเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในระบบซัพพลายเชน ทำให้การปรับใช้เทคโนโลยีนี้ยังคงเติบโต และได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆ ที่กำลังมองหาวิธีที่ปลอดภัยในการตรวจสอบและติดตามข้อมูลซัพพลายเชน สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม บล็อกเชนยังคงเติบโตและทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในเรื่องอาหารที่ความปลอดภัยเป็นเรื่องจำเป็น เช่น เนื้อสัตว์และปลา เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นกำลังเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลายเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ส่วนกรณีการใช้งานสำคัญอื่น ๆ ก็เริ่มเห็นได้ชัดสำหรับบล็อกเชน  ขณะนี้องค์กรและหน่วยงานทั่วโลกกำลังมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เทคโนโลยีก้าวต่อไป โดยองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้บล็อกเชนเป็นหลักก็กำลังช่วยกันกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบของข้อมูลที่ควรรวมไว้ในบล็อกเชน

หนทางสู่อนาคต

เป็นที่ชัดเจนว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นวิธีสำคัญสำหรับองค์กรในการปกป้องความถูกต้องของข้อมูลอย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรที่ตระหนักถึงคุณประโยชน์สูงสุดที่จะได้จากเทคโนโลยีในระบบซัพพลายเชน โดยโซลูชัน ERP ที่ทันสมัยบนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบเครือข่ายร่วมด้วย จะสามารถใช้วิธีแบบองค์รวมสำหรับองค์กรเพื่อใช้งานข้อมูลที่เก็บไว้ในบล็อกเชน  

แนวทางแบบองค์รวมนี้เป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม จะสามารถสร้างซัพพลายเชนด้านอาหารที่โปร่งใสมากขึ้น ปกป้องแบรนด์ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ ช่วยลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อส่งเสริมแนวคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนของวันนี้และในอนาคตต่อไป

เร้ดแฮทแนะนำความสามารถใหม่ Cross-Portfolio Edge Capabilities

เร้ดแฮทแนะนำความสามารถใหม่ Cross-Portfolio Edge Capabilities

เร้ดแฮทแนะนำความสามารถใหม่ Cross-Portfolio Edge Capabilities

เปิดฟีเจอร์ใหม่และรูปแบบการทำงานสำหรับเทคโนโลยีโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮทเน้นการใช้เอดจ์ข้ามอุตสาหกรรมที่ปรับขนาดและจัดการได้ พร้อมการควบคุมความปลอดภัยที่แข็งแกร่งขึ้น

เร้ดแฮท อิงค์ (Red Hat)ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก ประกาศเปิดตัวความสามารถใหม่และการเพิ่มประสิทธิภาพใหม่ให้กับพอร์ตโฟลิโอโซลูชันด้านโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด ณ งาน RedHat Summit โดยตั้งเป้าเร่งการนำสถาปัตยกรรมการประมวลผล ณ จุดเข้าออกของข้อมูล (edge) มาใช้ในธุรกิจผ่าน Red Hat Edge initiativeทั้งนี้ชุดฟีเจอร์ และความสามารถ cross-portfolio edge ชุดใหม่นี้จะเน้นช่วยลูกค้าและพันธมิตรให้ใช้ edge computing ได้ดียิ่งขึ้นโดยมีความซับซ้อนลดลงนำไปใช้งานได้เร็วขึ้น เพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัย และเพิ่มความมั่นใจในการจัดการระบบต่าง ๆ ได้อย่างเสถียร ตั้งแต่ระบบที่อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึง edge

Red Hat Edge แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันของเร้ดแฮทในการขับเคลื่อน edge computing บนโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด โครงการนี้ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมากมาย โดยใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShif ที่มีรากฐานและโครงสร้างร่วมกันในสภาพแวดล้อม เอดจ์ ที่หลากหลาย  Red Hat Ansible Automation Platform เพิ่มความสามารถด้านระบบอัตโนมัติเพื่อขยายการใช้งาน edge ในขณะที่ Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes ส่งมอบการจัดการระดับคลาวด์ด้วย edge storage ที่ขับเคลื่อนโดย Red Hat OpenShift Data Foundation

โครงสร้างพื้นฐานเอดจ์ที่ชาญฉลาดและคล่องตัว

Red Hat OpenShift ยังคงมุ่งเน้นในการช่วยนำแอปพลิเคชันไปไว้ให้ใกล้ผู้ใช้และข้อมูลที่ edge มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงความสามารถในการจัดการได้ตามต้องการ ทั้งนี้ zero-touch provisioning for Red Hat OpenShift 4.10 ช่วยให้การจัดเตรียมที่ edge เป็นอัตโนมัติและทำซ้ำได้ง่ายขึ้น รวมถึงเวิร์กโฟลว์สำหรับผู้รับผลิตสินค้า (OEMs) เมื่อ OEMs โหลดคลัสเตอร์ Red Hat OpenShift แบบย้ายได้ล่วงหน้าบนฮาร์ดแวร์ที่ต้องการได้แล้ว ลูกค้าก็จะสามารถรับคลัสเตอร์ OpenShift ที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าเพื่อการทำงานที่เต็มสมรรถนะ

ลูกค้าสามารถใช้ Red Hat OpenShift ที่กำหนดค่าไว้ล่วงหน้า เพื่อส่งมอบโครงข่ายอุปกรณ์สถานีฐาน (RAN) สำหรับเครือข่ายมือถือยุคต่อไป ตลอดจนการตรวจจับข้อผิดพลาดของโรงงานผลิต และแอปพลิเคชันแบบ edge computing อื่น ๆ ในจุดที่ได้จัดสรรปันส่วนไปตามที่ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ช่วยให้กระบวนการซับซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยในการรวมอุปกรณ์ edge กับแพลตฟอร์มที่มีอยู่ทำได้ง่ายขึ้น และทำให้การดำเนินงานจากทุกสถานที่ทำได้สะดวกขึ้น แม้จะมีพนักงานไอทีจำนวนจำกัดก็ตาม

บริการ Red Hat OpenShift มีความสามารถด้านเอดจ์เพิ่มเติม ดังนี้

    • การจัดการโครงสร้าง edge บน OpenShift โดย Red Hat Advanced Cluster Management รวมถึง single-node OpenShift clusters, โหนดสำหรับผู้ปฏิบัติงานจากทุกสถานที่ และคลัสเตอร์แบบกระทัดรัด 3 โหนด Red Hat Advanced Cluster Management hub cluster เพียงแห่งเดียวสามารถใช้และจัดการ single-node OpenShift clusters ได้ถึง 2,000 โหนด โดยลูกค้าสามารถใช้และจัดการบริการเหล่านี้ที่ edge ได้โดยใช้การจัดเตรียมแบบ zero touch  ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถบังคับใช้นโยบาย ปรับใช้ตามขนาด และดำเนินการแก้ไขอัตโนมัติได้ด้วย Ansible Automation Platform
    • รองรับ single-node OpenShift ด้วย OpenShift Data Foundation 4.10 ในลักษณะเป็นเทคโนโลยีพรีวิว และเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อระยะไกลผ่านระบบเครือข่าย (block storage) ด้วยการจัดเตรียมแบบไดนามิกเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเพิ่มความสอดคล้องของข้อมูลและบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ตามต้องการ

สำหรับทีมไอทีที่ต้องการสร้างสถาปัตยกรรม edge อย่างรวดเร็ว รูปแบบใหม่ของ Red Hat Edge ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจะมีโค้ดที่จำเป็นต่อการสร้าง edge stacks ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนจากแนวคิดไปสู่การพิสูจน์แนวคิดได้เร็วขึ้น รูปแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ได้แก่

    • Medical Diagnosis ซึ่งใช้ GitOps เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์นำเข้า วิเคราะห์ และดำเนินการตามภาพถ่ายและข้อมูลทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
    • Multicloud GitOps ที่ออกแบบมาอย่างเจาะจงให้กับองค์กรที่ต้องการรันเวิร์กโหลดบนคลัสเตอร์และคลาวด์ประเภทต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งพับลิคและไพรเวทคลาวด์

พื้นฐานเดียวกันตั้งแต่จุดศูนย์กลางไปจนถึง edge และบนคลาวด์

Red Hat Enterprise Linux 9 เพิ่มความสม่ำเสมอ, ความยืดหยุ่น และนวัตกรรมของแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ให้การใช้ edge โดยสร้างจากบทบาทสำคัญต่อภารกิจที่แพลตฟอร์ม Linux ระดับองค์กรของโลกให้บริการอยู่ เร้ดแฮทเปิดตัวชุดฟีเจอร์ edge management ที่ครบครัน โดยใช้การควบคุมจากส่วนกลางเพื่อกำกับดูแลและขยายการใช้ edge ตลอดจน intelligent roll-back for Podman เพื่อช่วยเพิ่มเวลาทำงานของอุปกรณ์ edge 

เร้ดแฮทเห็นว่าความหลากหลายของฮาร์ดแวร์และทางเลือกของลูกค้า มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโอเพ่นไฮบริดคลาวด์และเอดจ์  และเพื่อเสนอทางเลือกด้านสถาปัตยกรรมพื้นฐานให้กับลูกค้า พันธมิตรใหม่สองรายที่เน้นการใช้เอดจ์เป็นศูนย์กลางจึงได้เข้าร่วมในระบบนิเวศพันธมิตรของเร้ดแฮท ได้แก่

    • OnLogic บริษัทผู้นำระบบที่ได้รับการรับรองจากเร้ดแฮทมาใช้กับอุปกรณ์อุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่มีพัดลม ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่ทนทาน ที่มีความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิง (AI/ML)
    • IntelNUCs ที่ได้กลายเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานข้ามอุตสาหกรรม โดยโมดูล NUC Element ล่าสุดได้รับการรับรองสำหรับใช้งานใน Red Hat Enterprise Linux 8 และ 9 ทำให้องค์กรที่ใช้ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift มีตัวเลือกที่ทรงพลังในการใช้งาน edge

ระบบอัตโนมัติที่ปรับขยายได้จากไฮบริดคลาวด์ไปจนถึงเอดจ์

Red Hat Ansible Automation Platform ช่วยแก้ปัญหาด้านการจัดการและระบบอัตโนมัติ ที่จำเป็นต่อการมองเห็นและความสอดคล้องในการใช้ edge ขององค์กร สถาปัตยกรรมที่ปรับใหม่ของ Ansible Automation Platform ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนในการปรับใช้ระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่ในระบบไฮบริดคลาวด์และ edge การเปิดตัว automation mesh ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารระหว่างระบบอัตโนมัติเมื่อเร็ว ๆ นี้ ควบคู่กับการแสดงภาพเสมือนจริงของ automation mesh ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการทำงานของระบบอัตโนมัติ ช่วยให้ทีมไอทีปรับขนาดการทำงานอัตโนมัติได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้นในทุกจุดที่ต้องการ พร้อมความสามารถในการขยายสูงสุดเมื่อสภาพแวดล้อมของ edge พัฒนาขึ้น  ช่วยให้ระบบอัตโนมัติเข้าใกล้เวิร์กโฟลว์ของ edge ได้มากขึ้น

คำกล่าวสนับสนุน

ฟรานซิส โจว, รองประธานและผู้จัดการทั่วไป, ระบบปฏิบัติการและเอดจ์ในยานพาหนะ, Red Hat

“เอดจ์คอมพิวติ้งไม่ใช่แนวคิดใหม่สำหรับธุรกิจอีกต่อไป เนื่องจากทีมไอทีและทีมดำเนินงานต้องการย้ายการใช้เอดจ์จากโครงการไปสู่สายการผลิต แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับความท้าทายชุดใหม่ทั้งหมดด้วย  การปรับปรุงโครงการ Red Hat Edge จากการบริหารจัดการเอดจ์ที่ครบครันของ Red Hat Enterprise Linux 9, ความสามารถแบบองค์รวมและปรับขนาดได้ของ Ansible Automation Platform และความสามารถแบบ zero-touch ที่นำไปเชื่อมต่อขึ้นระบบได้ทันทีของทั้ง Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes และ Red Hat OpenShift  ทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเอาชนะอุุปสรรคในการผลิตเหล่านี้ และผลักดันการนำเอดจ์คอมพิวติ้งไปใช้ในวงกว้างทั่วทั้งโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ 

Israel Defense Forces (IDF) lieutenant colonel, head of Edge Cloud Platform R&D, Center of Computing and Information Systems (Mamram), J6 and Cyber Defense Directorate

“เร้ดแฮทมอบการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างผู้คนและผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดการกับความท้าทายทางธุรกิจและเทคโนโลยีของเรา ซึ่งรวมถึงโรดแมปสำหรับเอดจ์คอมพิวติ้ง ด้วยเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮทที่สนับสนุนความพยายามด้านเอดจ์คอมพิวติ้ง ทำให้ขณะนี้เราสามารถผลักดันแอปพลิเคชันและบริการไปสู่การปรับใช้งานเอดจ์ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแทนที่จะเป็นหลายสัปดาห์เหมือนแต่ก่อน
โดยไม่ต้องสูญเสียความเสถียรของแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อภารกิจเลย” 

เจฟฟ์ วินเทอร์ริค, DoD chief account technologist, HPE

“HPE มีความร่วมมือมาอย่างยาวนานกับเร้ดแฮท และเรากำลังรอที่จะดำเนินการต่อด้วยการปรับปรุงโซลูชันเอดจ์เพื่อเร่งให้ลูกค้านำไปใช้งาน  ด้วยการรวมระบบ HPE Edgeline Coverged Edge ซึ่งมีขนาดกระทัดรัด ทนทาน และปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เข้ากับความสามารถในการจัดเตรียมแบบ zero-touch ใหม่ของ Red Hat OpenShift ส่งผลให้เราสามารถดำเนินการด้านโซลูชันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าสามารถเรียกใช้งานและจัดการกับเอดจ์แอปพลิเคชันได้ทั่วเครือข่าย รวมถึงเป็นพลังผลักดันให้กับประสบการณ์เชิงนวัตกรรมที่นำข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วยเอดจ์แบบเรียลไทม์มาใช้งาน”

เดฟ แมคคาร์ธี, รองประธานฝ่ายวิจัย, บริการระบบคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐาน, IDC

“ในขณะที่เอดจ์คอมพิวติ้งยังคงเป็นกระแสหลักในธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ เร้ดแฮทจึงอยู่ในจังหวะที่เหมาสม ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้จำหน่ายชั้นนำในด้านนี้ จากการสำรวจแนวโน้มผู้ซื้อทั่วโลกของ EdgeView 2022 ของ IDC พบว่า อัตราการปรับใช้เอดจ์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย 74% ของธุรกิจกำลังวางแผนที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านโซลูชันเอดจ์ขึ้นอีกในสองปีข้างหน้า กลยุทธ์ของเร้ดแฮทในการสร้างฟีเจอร์เฉพาะของเอดจ์ลงในกลุ่มเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงการปรับใช้เอดจ์เป็นส่วนเสริมของดาต้าเซ็นเตอร์ ลดความซับซ้อนและคงความเสถียรได้ไม่ว่าโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ที่ใดก็ตาม”

ไมเคิล ไคลเนอร์, รองประธานฝ่ายวิศวกรรมและการจัดการผลิตภัณฑ์, OnLogic

“คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่ออนาคตของโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ เนื่องจากลูกค้าตั้งเป้า
ที่จะปรับใช้กับเวิร์กโหลดต่าง ๆ ให้ใกล้กับผู้ใช้ปลายทางและจุดข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีที่สุด อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ของ OnLogic ที่ผ่านการรับรองสำหรับใช้งานปลายทางบน Red Hat Enterprise Linux 9 จะช่วยให้ลูกค้ามีวิธีที่คล่องตัวมากขึ้นในการขยายขีดความสามารถของไฮบริดคลาวด์ด้วยอุปกรณ์เอดจ์ที่เชื่อถือได้”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม