จากดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

From Digital to Continuous Transformation

จากดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การพูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้กลายเป็นหัวข้อในการประชุมผู้บริหารไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนวิธีการทำงานที่ทันสมัย รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการสำหรับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้เร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมากมาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความจำเป็นเร่งด่วนในการเปิดรับรูปแบบการทำงานจากทุกสถานที่ และจัดการกับความต้องการที่ผันผวนไปอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตระหนักถึงคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ มีการลงทุนที่สมเหตุสมผลมากขึ้น และจำนวนผู้บริหารที่สนับสนุนความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เพิ่มจำนวนขึ้น  ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปรับใช้คลาวด์ควบคู่ไปกับความสามารถในการผสานรวมด้วย API ที่ทันสมัย ช่วยขับเคลื่อนขั้นตอนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นไปได้  ระบบคลาวด์ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด การรักษาความปลอดภัย และศักยภาพของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยรวบรวมข้อมูลทั่วทั้งองค์กรตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงแบบไดนามิก  การนำมาปรับใช้เช่นนี้เป็นการนำศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินธุรกิจบรรจบเข้าด้วยกัน และเพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการทำงานมากขึ้น ทว่า ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ก็ยังคงมีข้อบกพร่อง         

หรือจะเป็นคำจำกัดความที่ผิดพลาด?

เพราะอย่างน้อยในสถานการณ์ส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงมักจะหมายความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง ในขณะที่พจนานุกรมออกซฟอร์ดหมายถึง “การเปลี่ยนแปลงโดยสมบูรณ์สำหรับบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง” โดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงจะเกิดกับหนึ่งเหตุการณ์หรือชุดเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงไปสู่จุดประสงค์เดียวกัน

สำหรับความหมายด้านดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มักจะอยู่ในรูปแบบของโครงการเดียว เช่น ซอฟต์แวร์ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร (ERP) แบบใหม่ หรือกลุ่มโครงการต่อเนื่องเพื่อสร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมมากขึ้น มุ่งเน้นที่การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลการเป็นวิธีสำคัญในการปรับปรุงให้ทันสมัย เร่งการตัดสินใจ รวมถึงการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับทั้งในด้านประสบการณ์และประสิทธิภาพทางเงิน แต่หากการเปลี่ยนแปลงนี้สิ้นสุดลงหลังการใช้งานจริงของเทคโนโลยีที่รองรับ ข้อดีต่าง ๆ ก็จะลดลงไปตามเวลาที่
ผันผ่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สภาพแวดล้อมดิจิทัลที่แท้จริง

วินสตัน เชอร์ชิล เคยกล่าวไว้ว่า “การปรับปรุงคือการเปลี่ยนแปลง จะสมบูรณ์แบบได้ต้องหมั่นปรับเปลี่ยน” แม้ว่าความสมบูรณ์แบบในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในปี 2565 นี้ แต่สำหรับธุรกิจต่าง ๆ กลับไม่เคยรู้สึกจริงจังมากขึ้นขนาดนี้มาก่อน

การรักษาสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่แท้จริง ซึ่งสามารถฟื้นคืนเป็นปกติ ปรับขนาด และยืดหยุ่นได้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ลดความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของตลาดนั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงครั้งเดียวย่อมไม่สามารถทำได้  เราดำเนินงานอยู่ในสภาพที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนเกิดอุตสาหกรรมและหน้าที่ความรับผิดชอบของงานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อตามให้ทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น ภายใต้เรื่องนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสำรวจโมเดลธุรกิจและช่องทางใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ต้องสร้างวิธีการใหม่ให้อยู่ใน DNA ของธุรกิจ และพร้อมที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ในเรื่องใหม่ ๆ หรือความท้าทายต่าง ๆ ที่ใช้การกดปุ่มเพียงแค่คลิกเดียว

ธุรกิจจำนวนมากจะยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เรื่องนี้ถือเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการวางแผน ทว่า การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลที่จำเป็นต่อการเติบโตในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงจำต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  แม้ว่าเรื่องนี้จะดูคล้ายกัน แต่ก็เป็นแนวทางพื้นฐานในการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสม มากกว่าจะมุ่งเน้นไปที่การคัดเลือกเทคโนโลยี  การเปลี่ยนจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานไปเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนนั้น จะต้องใช้แนวทางในการบริหารจัดการบุคคลที่มีความสามารถมีทักษะ การลงทุนเฉพาะด้าน ตลอดจนวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงในระยะยาวด้วย

Amazon มักได้รับการกล่าวถึงในฐานะเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ดีที่ใช้แนวทางเฉพาะนี้อย่างเป็นรูปธรรม บริษัทฯ ระบุว่า นวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในช่วงเวลาหนึ่งเหมือนแฮกกาธอน หรือศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจที่แข่งขันเพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ หากแต่เกิดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของงานในแต่ละวัน ในทางปฏิบัติทุกการประชุมและการตัดสินใจที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นไปเพื่อแน่ใจว่า ลูกค้าจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทฯ ในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งส่วนหนึ่งของเป้าหมายนี้หมายถึงการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเพื่อลูกค้า การตระหนักรู้จากภายนอก รวมถึงการมองหาไอเดียใหม่ ๆ นอกองค์กร โดยจะต้องไม่ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนด “ห้ามรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น”  ผู้สร้างนวัตกรรมจะแก้ไขและปรับปรุงข้อเสนออย่างต่อเนื่องตามความคิดเห็นของลูกค้าเป็นหลัก ภายใต้การวางแผนระยะยาวที่กำหนดอยู่ในกรอบค่านิยมหลักที่ฝังแน่นอยู่ใน Amazon มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง 

การเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด

โดยทั่วไป โครงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เราเคยเห็นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสำหรับองค์กรส่วนใหญ่  แต่สำหรับบริษัทที่เชี่ยวชาญและมองการณ์ไกลกำลังสร้างแนวทางในการพัฒนา ตรวจสอบ และลงทุนในกระบวนการ แนวทางปฏิบัติ ตลอดจนระบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้แน่ใจว่าความสามารถที่มีอยู่จะได้รับการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความต้องการและความแตกต่างที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจนั้น ๆ เมื่อเติบโตขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปของตลาดปัจจุบันที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทได้ตามความจำเป็น

การแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ผลสำรวจของผู้ผลิตเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับว่า อุตสาหกรรมการผลิตจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมก่อนเกิดการแพร่ระบาดอีกต่อไป  ในขณะที่รายงานเน้นว่า 95% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความกังวลเกี่ยวกับซัพพลายเชนของตนในปัจจุบัน อีก 91% ได้เพิ่มการลงทุนในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลด้วยวิธีการตอบสนอง และคาดหวังถึงอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

อยู่หัวแถวเข้าไว้

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคคอย่างแน่นอน และเพื่อให้ก้าวล้ำไปข้างหน้า จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก  องค์กรจะสร้างรูปแบบการทำงานที่เน้นความคล่องตัว ความเร็ว การปรับขนาด และความยืดหยุ่น ผ่านสภาพท้าทายที่เป็นอยู่เพื่อทบทวนและปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า ประเมินทั้งรูปแบบการดำเนินงานและข้อมูลที่มีอยู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอาจเป็นคำศัพท์ที่เราใช้ร่วมกับการปฏิวัติทางดิจิทัลที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้  อย่างไรก็ตาม ผู้ชนะด้านดิจิทัลที่แท้จริงคือผู้ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นวิถีในการรักษาความเกี่ยวข้องในตลาด ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้เร็วและชัดเจนกว่าคู่แข่ง

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวโซลูชัน Energy Expert เพื่อบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Alibaba Cloud Launches Carbon Management Solution

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวโซลูชัน Energy Expert เพื่อบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แพลตฟอร์มเพื่อความยั่งยืนนี้ เปิดให้ลูกค้าทั่วโลกได้ใช้เพื่อวัด วิเคราะห์ และบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศเปิดตัว Energy Expert ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นด้านความยั่งยืน ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกทำการวัดปริมาณ วิเคราะห์ และบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมทางธุรกิจและจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตน แพลตฟอร์มที่เป็น software-as-a-service นี้ยังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เพื่อช่วยกระบวนการทำให้การทำธุรกิจบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนเกิดได้เร็วขึ้น

ความคิดริเริ่มนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกับคำมั่นสัญญาว่าด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอนของอาลีบาบาที่ได้เปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทฯ เป็นผู้บุกเบิกแนวคิด “Scope 3 +” และได้ให้คำมั่นที่จะแบ่งปันเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ ผ่านการรวมพลังแห่งความพยายามต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด

นายเฉิน ลี่จวน ผู้จัดการทั่วไปด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชัน อาลีบาบา คลาวด์ กล่าวว่า “Energy Expert ออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการใช้เทคโนโลยีและโซลูชันที่ทันสมัยทรงประสิทธิภาพ เราหวังว่าลูกค้าทั่วโลกของเราจะได้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ได้รับการพิสูจน์แล้วนี้ ซึ่งวิธีการดำเนินการที่ชาญฉลาด และแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนต่าง ๆ ที่โซลูชันนี้มีให้จะช่วยให้ลูกค้าของเราบรรลุเป้าหมาย net zero”

โซลูชัน Energy Expert ช่วยให้ลูกค้าจัดทำบัญชีก๊าซคาร์บอน (carbon accounting) และกระบวนการทำรายงานได้อย่างอัตโนมัติทั้งในส่วนขององค์กร และผลิตภัณฑ์ พร้อมให้สถิติต่าง ๆ ที่กระทบต่อความยั่งยืนแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกค้าระบุแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมทางธุรกิจในแต่ละวัน รวมถึงที่เกิดจากไลฟ์ไซเคิลทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยอิงตามมาตรฐาน PAS 2060 และ ISO 14064 เกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งนี้ลูกค้าสามารถวัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านโมเดลการคำนวณที่เตรียมไว้ล่วงหน้า โดยใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ใช้กันเป็นสาธารณะ โซลูชันนี้ยังช่วยให้ลูกค้ารับรู้และมองเห็นรูปแบบของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการดำเนินงานของตนได้แบบเรียลไทม์ และแจ้งความก้าวหน้าของประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนขององค์กรผ่านการแสดงภาพบนแดชบอร์ดและรายงานออนไลน์ต่าง ๆ

Energy Expert จัดทำบัญชีคาร์บอนและสร้างรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนแบบออนไลน์โดยอัตโนมัติ
Energy Expert จัดทำบัญชีคาร์บอนและสร้างรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนแบบออนไลน์โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ โซลูชันนี้ยังมอบการวิเคราะห์ที่ล้ำสมัยต่าง ๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้พลังงานและคาดการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้โดยอัตโนมัติผ่านการเลียนแบบการทำงานของระบบโครงข่ายประสาทในสมองมนุษย์ (deep learning-based AI) ต่าง ๆที่โฮสต์อยู่บนอาลีบาบา คลาวด์ Energy Expert ยังนำเสนอแผนการเพิ่มประสิทธิภาพที่นำไปใช้งานได้จริง เพื่อช่วยลูกค้าลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวมให้ได้มากที่สุด แผนนี้จะมีคำแนะนำที่สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องของการนำพลังงานสะอาดมาใช้มากขึ้น การลดการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไปในช่วงที่มีความต้องการใช้สูง และการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชนตั้งแต่การจัดหาวัสดุหรือวัตถุดิบไปจนถึงการจัดส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์

Energy Expert ทำงานกับองค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เช่น TÜV Rheinland เพื่อจัดทำบบัญชีและให้การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ออนไลน์ที่เชื่อถือได้ เป็นการช่วยลูกค้าให้ตรวจสอบและสื่อสารความก้าวหน้าในการประหยัดพลังงานของลูกค้าไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างเรียบง่าย

มีการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในประเทศจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ และปัจจุบันได้ให้บริการกับบริษัทมากกว่า 2,000 แห่งในประเทศจีน ช่วยประหยัดพลังงานมากกว่า 2 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน หรือเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 400,000 ตันจากช่วงเวลาเดียวกัน

Energy Expert มีบทบาทสำคัญกับมาตรการด้านความยั่งยืนที่ใช้ที่สำนักงานใหญ่ XiXi ของอาลีบาบา ณ เมืองหางโจว แนวคิดการประหยัดพลังงานที่โซลูชันนี้นำเสนอ เช่น การควบคุมระบบปรับอากาศที่ชาญฉลาด และการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 1.2 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานที่สำนักงานใหญ่ของอาลีบาบา ลดการใช้พลังงานลง 30% ในช่วงที่ไม่มีความต้องการใช้สูง และประหยัดพลังงานจากการใช้ระบบปรับอากาศในฤดูร้อนลงได้ 17%

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปีนี้ยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

    • ปริมาณการใช้งานดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2570 จะมียอดผู้ใช้บริการ 5G สูงถึง 4.4 พันล้านบัญชี  
    • คาดว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้งานดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเติบโตพุ่งสูงแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี
    • ในปี 2570 60% ของการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกจะอยู่บนเครือข่าย 5G

ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564  ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึงหนึ่งพันล้านบัญชี

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570

ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและคาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570

Igor Maurell, Head of Ericsson Thailand

มร. อิกอร์ มอเรล  ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยมีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”

“อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและเรายังมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพให้แก่ประเทศไทย เราพร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก 5G ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี XR/AR การเล่นเกมบนคลาวด์ และช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำเสนอคลื่น 5G ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ในประเทศไทย ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เต็มไปด้วยสมรรถนะของสัญญาณ ความครอบคลุม และความเร็วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ 5G ในประเทศไทย”

คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย

จากไทม์ไลน์ปี 2570  มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ  อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ 

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่าปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา 

การเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล สถิติและการคาดการณ์ล่าสุดยังสะท้อนถึงความต้องการเชื่อมต่อข้อมูลและบริการดิจิทัลอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของภูมิศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็มีผู้คนหลายร้อยล้านคนสมัครใช้งานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือใหม่ทุกปี

รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้หนึ่งในสี่ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลกสามในสี่จะสามารถเข้าถึง 5G ได้ 

ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดยอีริคสันคาดการณ์ว่า ในปี 2565 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2570 แตะระดับ 230 ล้านจุด

ในส่วนของ Internet of Thing  (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด

เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566 

อีริคสันจับมือเร้ดแฮท เสริมศักยภาพผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร เพื่อสร้างเครือข่ายมัลติเวนเดอร์

อีริคสันจับมือเร้ดแฮท เสริมศักยภาพผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร เพื่อสร้างเครือข่ายมัลติเวนเดอร์

อีริคสันจับมือเร้ดแฮท เสริมศักยภาพผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร เพื่อสร้างเครือข่ายมัลติเวนเดอร์

บทความโดย: มานส์ เบอร์แมน หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือและพันธมิตร กลุ่มซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ภาคธุรกิจของอีริคสัน และ แมกนัส แกล ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าทั่วโลกของเร้ดแฮท

ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีศักยภาพที่จะรองรับประสบการณ์เสมือนจริงแบบเฉพาะบุคคล รวมถึงแอปพลิเคชันและโซลูชันรุ่นใหม่ที่มีเสถียรภาพสูง ด้วยเหตุนี้ อีริคสันและเร้ดแฮทจึงขยายความร่วมมือด้านการตรวจสอบรับรองฟังก์ชันเครือข่ายและแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้นภายใต้แนวทางที่มีผู้ให้บริการหลายราย (Multi-Vendor: มัลติเวนเดอร์)

แผนปฏิบัติการที่แตกต่างเพื่อรองรับมัลติเวนเดอร์

ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารใช้ 5G เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำธุรกิจมีความคล่องตัว และได้ใช้วิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเร็วขึ้น ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารต้องหาสมดุลระหว่างค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง และระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์/บริการออกสู่ตลาด ให้ได้อย่างเหมาะสม 

อีริคสันและเร้ดแฮทตระหนักว่าแนวทางแบบมัลติเวนเดอร์ต้องใช้แผนปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับการเลือกใช้แนวทางแบบผู้ให้บริการรายเดียว (Single-Vendor: ซิงเกิลเวนเดอร์) ซึ่งใช้โซลูชันและการจัดการวงจรการใช้งานที่มีการบูรณาการในแบบแนวตั้ง การสร้างเครือข่ายแบบมัลติเวนเดอร์ต้องอาศัยความสามารถในการใช้งานร่วมกันที่แน่นอน จึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดในด้านของความยืดหยุ่นและทางเลือกที่หลากหลาย นอกเหนือจากการทำงานร่วมกันของอีริคสันและเร้ดแฮทแล้ว เรายังมีความร่วมมือภายในระบบนิเวศที่กว้างขวาง ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนในการผสานรวมเทคโนโลยีและซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกัน

อีริคสันและเร้ดแฮทต้องการที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีอิสระที่จะโฟกัสเรื่องการสร้างความแตกต่างให้กับบริการ 5G ที่นำเสนอ รวมถึงการเพิ่มคุณประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เราทำงานร่วมกันมาเป็นเวลาหลายเดือนเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรูปแบบมัลติเวนเดอร์ เพื่อเป็นแนวทางแก่ลูกค้าในเพื่อการปรับใช้และปรับแต่งการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีของอีริคสันและเร้ดแฮท ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรได้อย่างมาก

การทำงานของฟังก์ชันด้านเครือข่ายต่าง ๆ ของอีริคสัน บนแพลตฟอร์มของเร้ดแฮท

ความร่วมมือของอีริคสันและเร้ดแฮทช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนเครือข่ายอย่างรวดเร็ว และลดความเสี่ยงในการดำเนินกลยุทธ์แบบมัลติเวนเดอร์ แพลตฟอร์มโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮทได้รับการทดสอบกับการรันฟังก์ชันเครือข่ายของอีริคสัน ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันเป็นคอนฟิกูเรชั่นสำหรับการอ้างอิงที่จะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการปรับใช้เครือข่ายแบบกระจาย เราลงทุนอย่างจริงจังในด้านงานวิศวกรรมที่สำคัญ เพื่อให้เทคโนโลยีที่ประกอบรวมเข้าด้วยกันนี้พร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์ในสภาพแวดล้อมเครือข่ายของผู้ให้บริการที่มีความต้องการสูง

ปัจจุบัน อีริคสันและเร้ดแฮทมีโซลูชันที่ผ่านการตรวจสอบรับรอง ซึ่งพร้อมให้ติดตั้งใช้งานได้ทันที โดยจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ด้วยโอเพ่นแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมเครือข่ายสำหรับ vEPC, 5G Core, IMS, OSS และ BSS  นอกจากนี้ ทีมงานของเราได้บูรณาการโซลูชันฟังก์ชันเครือข่ายของอีริคสันเข้ากับ Red Hat OpenShift และ Red Hat OpenStack Platform โดยเราได้ทดสอบ การใช้งานจริงร่วมกับผู้ให้บริการหลายรายทั่วโลก และดำเนินการปรับใช้ระบบ 5G Core เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก

อีริคสันและเร้ดแฮทเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือทางเทคนิคหลายโครงการ ทั้งที่อยู่ในระดับขั้นของการพัฒนาและที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เช่น การทำงานร่วมกันสำหรับ Cloud RAN ซึ่งเร้ดแฮทได้เข้าร่วม Open Lab ของอีริคสัน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมอินเทอร์แอคทีฟร่วมกับลูกค้าที่ใช้ Cloud RAN ของอีริคสัน และระบบนิเวศด้านพันธมิตรทั่วโลก ความเชื่อมโยงที่สำคัญของโครงการความร่วมมือทาง  เทคนิคทั้งหมดนี้ก็คือทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์จากวิธีการที่ได้ผล และใช้ร่วมกันได้

การกำหนดกระบวนการสำหรับความร่วมมือทางเทคนิค

โครงการความร่วมมือทางเทคนิคของเราเริ่มต้นด้วยการจัดการกับข้อกำหนดของฟังก์ชันเครือข่ายของอีริคสันเพื่อทำงานร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานของเร้ดแฮท ควบคู่กับการจัดทำพิมพ์เขียวของระบบเครือข่ายเครือข่าย และข้อกำหนดด้านการประมวลผล ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มจะสามารถรองรับและโฮสต์ฟังก์ชันด้านเครือข่ายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งกำหนดคอนฟิกูเรชั่นอ้างอิงให้กับเป้าหมายเบื้องต้น

หลังจากนั้นเป็นการดำเนินกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดและทั่วถึง โดยมีการปรับใช้คอนฟิกูเรชั่น อ้างอิงตามเป้าหมายภายในสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม และเป็นไปตามกรณีการทดสอบหลาย ๆ กรณี (เช่น การเริ่มต้นใช้งาน การรักษาความปลอดภัย ความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น การทำงานแบบอัตโนมัติ เป็นต้น)  ในระหว่างการทดสอบ วิศวกรได้ทำการปรับเปลี่ยนคอนฟิกูเรชั่นอ้างอิงตามความจำเป็น เพื่อให้ได้คอนฟิกูเรชั่นอ้างอิงที่ผ่านการตรวจสอบรับรองในขั้นตอนสุดท้าย  ผู้ให้บริการที่ใช้คอนฟิกูเรชั่นอ้างอิงจะได้รับความสะดวกและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในการติดตั้งการเริ่มต้นใช้งาน และการโฮสต์ฟังก์ชันเครือข่าย และยังสามารถปรับเพิ่มขนาดได้อย่างมั่นใจ

เบสไลน์สำหรับซอฟต์แวร์ คู่มือการปรับใช้ และพิมพ์เขียวสำหรับคอนฟิกูเรชั่นอ้างอิงที่ผ่านการตรวจสอบของฟังก์ชันเครือข่ายและแพลตฟอร์ม ได้รับการจัดทำเป็นเอกสารอย่างครบถ้วน รวมถึงผลการทดสอบในแต่ละกรณีข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้ให้บริการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวมระบบหลัก สามารถเร่งการติดตั้ง ลดความเสี่ยง และลดปริมาณงานสำหรับการบูรณาการระบบ

5G Core และ Cloud RAN

โปรเจกต์คลาวด์เนทีฟด้าน dual-mode 5G Core ของอีริคสัน และ Cloud RAN ของอีริคสัน ที่รันบน Red Hat OpenShift Container Platform ได้รับความสนใจจากตลาดเป็นอย่างมาก ส่วนโครงการความร่วมมือด้าน Cloud RAN ที่โฮสต์อยู่บน OpenShift อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ โดยหัวใจหลักอยู่ที่ทีมวิศวกรรมร่วมของเรา ซึ่งจัดเตรียม OpenShift ให้พร้อมสำหรับการรองรับข้อกำหนดแบบคลาวด์ เนทีฟของ Cloud RAN ของอีริคสัน ส่วน dual-mode 5G Core ของอีริคสันที่โฮสต์อยู่บน OpenShift กำลังถูกใช้งานเชิงพาณิชย์ในระยะแรก โดยทำหน้าที่รับส่งข้อมูลไลฟ์แทรฟฟิก และตั้งเป้าว่าจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2565 แม้ว่าขอบเขตและความท้าทาย ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ 5G Core และสำหรับ Cloud RAN จะแตกต่างกัน แต่การทำงานร่วมกันของอีริคสันและ เร้ดแฮทยังคงใช้ระเบียบวิธีและความร่วมมือทางวิศวกรรมแบบเดียวกัน

Dual-mode 5G Core, Cloud RAN และฟังก์ชันเครือข่ายคลาวด์เนทีฟ (Cloud-native Network Function – CNF) อื่น ๆ ทั้งหมดของอีริคสัน ถูกสร้างขึ้นบนหลักการคลาวด์ เนทีฟ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) เช่นเดียวกับ Red Hat OpenShift

Dual-mode 5G Core ของอีริคสัน ถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบคลาวด์เนทีฟที่ใช้ไมโครเซอร์วิส และผสานรวมฟังก์ชันเครือข่าย Evolved Packet Core (EPC) และ 5G Core (5GC) ไว้บนแพลตฟอร์มร่วมแบบคลาวด์เนทีฟที่เข้าถึงได้หลายทาง ซึ่งรองรับ 5G และ Mobile Packet Core รุ่นก่อนหน้า นับป็น วิวัฒนาการของกลุ่มผลิตภัณฑ์แบบเวอร์ชวลไลซ์ที่แข็งแกร่งของอีริคสัน ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนคลาวด์ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ Cloud Packet Core, Cloud Unified Data Management (UDM) และ Policy and Signaling Controller

Ericsson Cloud RAN เป็นซอฟต์แวร์โซลูชันแบบคลาวด์เนทีฟที่มีฟังก์ชัน RAN แบบแยกส่วน Cloud RAN เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ให้บริการในการเพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับขนาดการทำงานของเครือข่ายต่าง ๆ

สรุปความร่วมมือ

    • ความร่วมมือระหว่างอีริคสันและเร้ดแฮทอยู่บนพื้นฐานของชุดโครงการความร่วมมือทางเทคนิคต่าง ๆ
    • ลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากการผสานรวมเทคโนโลยีของอีริคสันและเร้ดแฮทที่ผ่านการคัดสรรอย่างเหมาะสม โดยมีการทดสอบ ปรับแต่ง และจัดทำเอกสารอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนติดตั้ง
      ใช้งานในเครือข่ายของผู้ให้บริการ
    • สำหรับผู้ให้บริการที่ยึดถือตามคอนฟิกูเรชั่นอ้างอิงที่ผ่านการทดสอบอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดภาระงานในการบูรณาการระบบ ลดความเสี่ยงของโครงการ และเพิ่มความรวดเร็วในการนำเสนอบริการใหม่ออกสู่ตลาด
    • อีริคสันและเร้ดแฮทรับผิดชอบการเสนอขายในส่วนของตนเอง

การผสานรวมจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเข้าด้วยกัน เราจะร่วมกันทำงานอย่างต่อเนื่องในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้สำหรับผู้ให้บริการที่ต้องการสร้างเครือข่ายมัลติเวนเดอร์ที่ยืดหยุ่นและเปิดกว้าง  ไม่มีบริษัทอื่นใดที่มีความร่วมมือแบบเดียวกันนี้ และเราพร้อมที่จะนำเสนอสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมอบทางเลือกที่หลากหลายและความคล่องตัวแก่ผู้ให้บริการ เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ทุกรูปแบบของผู้ให้บริการ

เกาะติดวิถีคนหาบ้านกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมมีบ้านแค่ไหนในยุคเงินเฟ้อ

เกาะติดวิถีคนหาบ้านกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมมีบ้านแค่ไหนในยุคเงินเฟ้อ

เกาะติดวิถีคนหาบ้านกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมมีบ้านแค่ไหนในยุคเงินเฟ้อ

ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) หรือ Gen Y (ผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527–2539) เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยข้อมูลจาก MSCI เผยว่าปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรกลุ่มนี้กว่า 1.8 พันล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรทั่วโลก โดยในทวีปเอเชียมีประมาณ 1.1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 24% ของประชากรในภูมิภาค ขณะที่ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือนพฤษภาคม 2565 รายงานว่ามีประชากรไทยในช่วงวัยดังกล่าวกว่า 12 ล้านคนจากประชากรในประเทศกว่า 64 ล้านคน (แยกตามจำนวนประชากรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและมีสัญชาติไทย) ซึ่งน่าจับตามองในด้านบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทั้งจากการเป็นวัยทำงาน มีความต้องการและมีกำลังซื้อสูง รวมทั้งเป็นช่วงวัยที่เริ่มเป็นเจ้าของทรัพย์สินมูลค่าสูงอย่างเช่น รถยนต์ คอนโดมิเนียม หรือบ้าน 

ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เผยว่า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลถือเป็นกลุ่มที่มีหนี้สะสมและหนี้เสียสูงที่สุด โดยมียอดหนี้รวมทั้งประเทศจากกลุ่มนี้ถึง 4.5 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเป็นหนี้เสียสะสม 3 แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีกำลังซื้อสูง แต่ภาระหนี้สินก็สูงตามไปด้วย ท่ามกลางความท้าทายทางการเงินจากปัจจัยแวดล้อมที่รุมเร้าในขณะนี้ ส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลต้องปรับแผนการเงินในยุคเงินเฟ้อให้รัดกุมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงวางแผนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบ แม้ตอนนี้จะถือเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยจากภาครัฐ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งราคาวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ยังเป็นปัจจัยสำคัญหลัก ๆ ที่กลุ่มมิลเลนเนียลต้องพิจารณา

เจาะไลฟ์สไตล์กลุ่มมิลเลนเนียล บ้านแบบไหนตอบโจทย์ให้พร้อมเปย์

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย อัปเดตเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในยุคนี้ เผยข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและแนวคิดแผนการเงินที่เปลี่ยนไป เมื่อเผชิญภาวะเศรษฐกิจเปราะบางและเงินเฟ้อยังพุ่งสูง ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลยังพร้อมมีบ้านเป็นของตนเองมากแค่ไหน

    • โฟกัสเงินสำรองฉุกเฉิน หวังสร้างความมั่นคงทางการเงิน สถานะทางการเงินของผู้บริโภคยังคงสั่นคลอนอย่างต่อเนื่อง นอกจากโควิด-19 จะส่งผลให้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้ เมื่อผนวกกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้ราคาสินค้าและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น พร้อมกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงต่อเนื่อง จึงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเตรียมแผนการเงินให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มมิลเลนเนียลซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ทำให้การวางแผนใช้จ่ายในช่วง 1 ปีข้างหน้าของกลุ่มมิลเลนเนียลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่การสร้างความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด โดยมากกว่าครึ่ง (57%) ต้องการเก็บเงินไว้เป็นกองทุนเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต ตามมาด้วยนำไปใช้จ่ายภายในครอบครัว (47%) และออมเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ที่ค้างอยู่ (45%) ด้านการออมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยนั้นได้รับความสนใจมาเป็นอันดับสี่ (39%) สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มมิลเลนเนียลยังต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เพียงจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายและรอให้มีความพร้อมทางการเงินมากพอเสียก่อน 
    • “ห่วงพ่อแม่–ขาดสภาพคล่อง-ครองความโสด” เหตุผลหลักที่ไม่ย้ายออก เมื่อพูดถึงความพร้อมในการย้ายออกไปซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองนั้น พบว่าภายในหนึ่งปีข้างหน้ามากกว่าครึ่งของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลยังไม่พร้อมย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ (54%) เช่นเดียวกับข้อมูลจากแบบสอบถามฯ รอบก่อน โดยมีเหตุผลสำคัญคือต้องการดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด (36%) สะท้อนให้เห็นว่าแม้คนรุ่นใหม่จะมีแนวคิดสมัยใหม่ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่การปลูกฝังความกตัญญูในสังคมไทยยังคงอยู่ นอกจากนี้เป็นประเด็นมีเงินเก็บไม่มากพอที่จะเช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัยที่ต้องการได้ (34%) เนื่องจากความท้าทายทางเศรษฐกิจและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการเงินโดยตรง ตามมาด้วยยังไม่ได้แต่งงาน (30%) จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ ซึ่งเทรนด์การครองตัวเป็นโสดนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เห็นได้จากข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองเผยว่า ในปี 2564 มีสถิติการจดทะเบียนสมรสทั่วประเทศเพียง 240,979 คู่ ลดลงจากปี 2563 ที่มีการจดทะเบียนสมรสถึง 271,352 คู่ และ 328,875 คู่ในปี 2562
    • หวังภาครัฐลดหย่อนภาษี กระตุ้นคนซื้อบ้าน มาตรการจากภาครัฐ 3 อันดับแรกที่กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการคือ มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้าน ตามมาด้วยการปรับระเบียบข้อบังคับภาครัฐที่ช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น และมาตรการควบคุมราคาที่อยู่อาศัยที่บังคับใช้โดยภาครัฐ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยส่งเสริมให้กลุ่มมิลเลนเนียลที่อยากมีบ้าน/คอนโดฯ ได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสมใจแล้ว ยังกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง นอกจากนี้ เมื่อเจาะลึกถึงรูปแบบอสังหาฯ ที่กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการซื้อนั้นมีความคล้ายคลึงกับผู้บริโภคช่วงวัยอื่น โดยบ้านเดี่ยวได้รับความนิยมมากที่สุด ตามมาด้วยคอนโดฯ ส่วนอันดับ 3 เป็นที่ดิน ต่างจากช่วงวัยอื่นที่สนใจซื้อทาวน์เฮ้าส์ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มมิลเลนเนียลได้ศึกษาข้อมูลการลงทุนอสังหาฯ มากขึ้น เนื่องจากที่ดินเปล่านั้นมีจุดเด่นตรงที่ความเสี่ยงต่ำและมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในยุคเงินเฟ้อ
    • ร่วมลดมลพิษด้วยรถยนต์ไฟฟ้า มาตรการสนับสนุนให้มีการใช้และผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น นอกจากจะช่วยลดมลพิษในอากาศแล้วยังช่วยประหยัดค่าน้ำมันในช่วงที่ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นอกจากที่อยู่อาศัยในฝันจะมาพร้อมฟังก์ชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว กลุ่มมิลเลนเนียลยังคำนึงถึงความพร้อมหากต้องการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตอีกด้วย โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มมิลเลนเนียลเผยว่า ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในกลุ่มที่มีรายได้สูง นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าที่คาดหวังจากภาครัฐและผู้พัฒนาอสังหาฯ คือ การเข้าถึงจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและห้างสรรพสินค้าใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงเพิ่มความพร้อมในการให้บริการจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในที่จอดรถสาธารณะและที่จอดรถส่วนตัว ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าราบรื่นและสะดวกยิ่งขึ้น ลดอุปสรรคเมื่อต้องการชาร์จไฟระหว่างเดินทาง

แม้ความท้าทายทางเศรษฐกิจปัจจุบันจะกระทบเสถียรภาพทางการเงิน และทำให้แผนการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มมิลเลนเนียลต้องสะดุดลงไปบ้าง แต่เชื่อว่าความพร้อมในการปรับตัวและจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายจะช่วยให้เข้าใกล้การเป็นเจ้าของบ้าน/คอนโดฯ ในฝันได้ง่ายขึ้น เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ ของไทย อย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.comได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารและคลังความรู้ในแวดวงอสังหาฯ ช่วยเตรียมความพร้อมให้ทุกคนเป็นเจ้าของบ้านได้อย่างมั่นใจ พร้อมเชิญชวนผู้บริโภคมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย เพื่อสะท้อนความต้องการที่อยู่อาศัยและมุมมองคนหาบ้านชาวไทยยุคใหม่ พร้อมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษได้ตั้งแต่วันนี้-10 กรกฎาคม 2565 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง DDproperty Facebook Fanpage