ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ความท้าทายที่พนักงานต้องเผชิญในสถานที่ทำงานในอนาคต

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 เปิดศักราชใหม่ให้กับสถานที่ทำงาน และการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่และทันสมัยขึ้น บุคลากรในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน และเลือกสถานที่ทำงานมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่ในโลกวิถีใหม่นี้ ทั้งบุคลากรและองค์กรต้องรับมือกับความท้าทายและความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่มนุษย์เราต้องการในที่ทำงาน นั่นคือ การติดต่อสื่อสารและการประสานงานร่วมกันในทางกายภาพ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่เห็นความสำคัญ ของบุคลากร

นูทานิคซ์ได้มอบหมายให้ IDC InfoBriefs ทำการสำรวจเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน และการทำงานผ่านเครื่องมือดิจิทัล (digital workspaces) ผลสำรวจพบว่า ความท้าทายหลัก ๆ ที่องค์กรเผชิญนั้นเกิดจากการระบาดของโควิด-19 และรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ผลสำรวจยังพบว่าการระบาดนี้ทำให้บริษัททั่วโลก 42 เปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน และผู้บริหารระดับสูงมุ่งเน้นการสร้าง digital workplace ที่พร้อมรองรับอนาคต และมีความยั่งยืนในระยะยาวในช่วงหลายปีนับจากนี้[i]

IDC เสนอแนะว่า ในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดึงดูดพนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องนำแนวทางในการบริหารจัดการบุคลากรแบบใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานทั้งหมด ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพจิตใจที่ดี ส่งเสริมให้เกิดการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใหับุคลากรทำกิจกรรมข้ามทีมกัน และเพิ่มแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปแบบอื่น ๆ การดำเนินการในลักษณะนี้ได้นั้น องค์กรต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานจากระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานในสำนักงาน

คำถามสำคัญที่พนักงานควรถามนายจ้าง

สิ่งสำคัญที่พนักงานควรรู้คือ นายจ้างมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานในรูปแบบไฮบริด และมีแบบแผนในการสนับสนุนการพัฒนา และการเติบโตในอาชีพการงานอย่างไรบ้าง หากองค์กรนำรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (ไฮบริด) มาใช้หรือต้องการให้พนักงานทำงานจากระยะไกลเท่านั้น พนักงานก็ควรสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานตามรูปแบบนั้น ๆ และถามถึงวิธีการที่บริษัทจะให้การอบรมการทำงานและโอกาสในการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานไอทีประเภทใดให้ ปัจจุบันการใช้แล็ปท็อป, โครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (VDI), เวอร์ชวลไพรเวทเน็ตเวิร์ก (VPN) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะช่วยให้พนักงานทำงานได้เกือบทุกที่

สำหรับการฝึกอบรมระหว่างทำงาน ให้สอบถามว่านายจ้างว่ามีแนวทางในเรื่องนี้อย่างไร และใช้เครื่องมืออะไรเชื่อมต่อให้พนักงานสามารถสอบถามข้อมูลจากทีมงานและผู้บริหารได้ บริษัทให้การอบรมการใช้ระบบต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่สามารถช่วยให้พนักงานหาคำตอบต่อคำถามต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองหรือไม่ พนักงานสามารถติดต่อกับสมาชิกในทีมที่มีประสบการณ์เพื่อถามคำถามต่าง ๆ ได้โดยตรงหรือไม่ หรือจะต้องผ่านผู้ดูแลตามสายงานของพนักงานนั้น ๆ

เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารแบบครบวงจร และวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เช่น Zoom และ Microsoft Teams ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ เครื่องมือเหล่านี้รันอยู่บนระบบคลาวด์ ดังนั้นจึงสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ องค์กรที่ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากอาจเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลแบบ Database as a Service (DBaaS) ดังนั้นพนักงานจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน ไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม องค์กรที่รองรับการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากระยะไกลจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือดิจิทัลที่จำเป็นในการทำงาน อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ใดก็ตาม

สุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

ภายในปี 2568 IDC คาดการณ์ว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทชั้นนำที่ติดอันดับ Global 2000 จะดำเนินการปรับรูปแบบการทำงาน ย้ายสถานที่หรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงาน เพื่อให้สามารถคุ้มครองสุขภาพและรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้นi ซึ่งที่จริงแล้วควรใช้หลักปรัชญาเดียวกันนี้เพื่อปรับปรุงการส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานด้วยเช่นกัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้นในขณะนี้องค์กรต่าง ๆ จึงต้องรับมือกับภารกิจในการช่วยให้พนักงานเอาชนะความเหนื่อยล้าและภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งหากทำงานอยู่ในสำนักงานก็จะสามารถระบุปัญหาและให้ความช่วยเหลือได้ง่ายกว่าแต่อย่างไรก็ตามก็สามารถทำเช่นนั้นกับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้านได้เช่นกัน

องค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล เพื่อจำลองการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ของพนักงานในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในสำนักงานได้ เช่น การพบปะสังสรรค์ในช่วงบ่ายทุก ๆ ไตรมาส พร้อมกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของทีมงาน หรือการพูดคุยและดื่มกาแฟร่วมกันผ่านวิดีโอเป็นประจำทุกเดือน  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองได้รับการสนับสนุนจากที่ทำงาน

ให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

อีกหนึ่งความท้าทายและโอกาสที่มาพร้อมกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคตก็คือ การแนะนำให้พนักงานสูงวัยได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งอาจเป็นเรื่องน่าหวาดหวั่นสำหรับคนรุ่นเก่าที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นองค์กรจึงต้องดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบและเอาใจเขามาใส่ใจเรา การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการจัดพื้นที่พิเศษเพื่อให้พนักงานได้ซักถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเทคโนโลยีนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานอาวุโสเหล่านี้

นูทานิคซ์จัดโครงการฝึกอบรมหลายโครงการ เพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความคุ้นเคยและมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีของบริษัท นอกจากนี้ ใบรับรองจาก Nutanix University จะช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยีของนูทานิคซ์มีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการจัดการและติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีของนูทานิคซ์ โครงการ ออกใบรับรองแบบหลายระดับของบริษัทฯ มอบเส้นทางการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการเพิ่มพูนประสบการณ์ในระยะยาว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของความหลากหลาย โดยการว่าจ้างพนักงานหลากหลายกลุ่มในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

สถานที่ทำงานแห่งอนาคตเป็นสิ่งที่จับต้องได้แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมต่อถึงกัน การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

อีริคสัน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือกันเตรียมความพร้อมบุคลากรรับ 5G ในประเทศไทย

อีริคสัน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือกันเตรียมความพร้อมบุคลากรรับ 5G ในประเทศไทย

อีริคสัน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จับมือกันเตรียมความพร้อมบุคลากรรับ 5G ในประเทศไทย

    • มุ่งเพิ่มทักษะด้านไอซีทีแก่นักศึกษาไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีระดับโลกและความเป็นผู้นำด้าน 5G ของอีริคสันมาใช้เรียนรู้
    • พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ตามนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการสร้างบุคลากรรับ 5G

อีริคสัน (NASDAQ : ERIC) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผนึกกำลังร่วมกันมอบความรู้เทคโนโลยี 5G ให้แก่นักศึกษาไทย โดยนักศึกษาของ มจธ. จะสามารถเข้าถึง ‘Ericsson Educate’ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มด้านการศึกษาออนไลน์ของอีริคสัน เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาบุคลากรรองรับการขับเคลื่อนไปสู่ Industry 4.0 และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ซึ่งแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ‘Ericsson Educate’ จะช่วยส่งเสริมการเรียนทางเทคนิคของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรต่าง ๆ ที่เพิ่มพูลทักษะด้านไอซีที และเตรียมพร้อมนักศึกษาสำหรับการไปทำงานในภาคโทรคมนาคม

‘Ericsson Educate’ เป็นพอร์ทัลทักษะดิจิทัลที่ให้บริการสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหลัก ๆ รวมถึง 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ระบบอัตโนมัติ (Automation), บล็อกเชน (Blockchain), คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science), อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT) และ โทรคมนาคม (Telecommunication) ซึ่งเนื้อหาการเรียนรู้จากพอร์ทัล ‘Ericsson Educate’ จะช่วยให้นักศึกษาและคณาจารย์เข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีคุณภาพผ่านประสบการณ์ 145 ปีด้านโทรคมนาคมและไอซีทีของอีริคสัน

อีริคสันจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษาของ มจธ. ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม โดย มจธ.จะผนวกหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพอร์ทัลของ Ericsson Educate เข้ากับหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ให้นักศึกษาสามารถใช้เป็นรายวิชาเรียนรู้เก็บหน่วยกิต เพื่อรับวุฒิการศึกษาและใบรับรองหลักสูตร นอกจากนี้อีริคสันจะจัดวิทยากรรับเชิญที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการคัดเลือกจาก มจธ. ล่วงหน้า และคาดว่าในปีแรกเพียงปีเดียวจะมีนักศึกษาประมาณ 2,000 คนจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “การร่วมมือกับ มจธ. ถือเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของความร่วมมือทางวิชาการในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ 5G ในประเทศไทย ซึ่งการเสริมเนื้อหาการศึกษาของ Ericsson Educate อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญของอีริคสัน จะเสริมสร้างทักษะและความรู้ด้านไอซีทีแก่นักศึกษาได้อย่างแข็งแกร่ง”

“ด้วยความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการเร่งผลักดันประเทศเดินหน้าไปสู่ยุค Industry 4.0 ผ่านการเพิ่มพูลทักษะและเตรียมความพร้อม 5G ให้แก่บุคลากรที่มีความสามารถ” มร.อิกอร์ กล่าวเสริม

รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า “การเติมเต็มช่องว่างระหว่างทักษะของพนักงานด้านไอซีทีกับทักษะที่บริษัทไอซีทีต้องการมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อตอบสนองความต้องการทักษะแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับอีริคสันเพื่อจัดการกับช่องว่างของทักษะที่ยังขาดอยู่ และเตรียมพร้อมนักศึกษาในเรื่อง 5G เพื่อให้พวกเขาสามารถมีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล”

มจธ. จะมอบหมายคณาจารย์และทีมงานผู้สอนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ และส่งเสริมการมอบปริญญาออนไลน์ให้กับนักศึกษาของเรา รวมถึงนักศึกษาที่เป็นบุคคลทั่วไปในประเทศไทย อีริคสันจะร่วมมือกับ มจธ. บูรณาการหลักสูตรและสื่อการสอนที่มีอยู่แล้วใน Ericsson Educate เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ สำหรับหลักสูตรออนไลน์ที่ไม่ใช่ปริญญา หลักสูตร Micro Credential และหลักสูตรปริญญา โดยอีริคสันจะอบรมคณาจารย์ของ มจธ. ผ่านเว็บบินาร์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนและเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาที่สอน

อีริคสัน ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยมายาวนานถึง 116 ปี สนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศผ่านโมบายล์เจนเนอเรชั่นหลากหลาย ตั้งแต่ 2G ,3G ,4G และ 5G ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในทุก ๆ ด้านของวงการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศ

ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

Explaining artificial intelligence governance

ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

บทความโดยฟาดซี อูเชโวคุนซ์, สถาปนิกด้านบริการทางการเงิน, เร้ดแฮท

บริการทางการเงินเป็นภาคธุรกิจที่มีความท้าทายสูงมากจากการที่ผู้ทำธุรกิจด้านนี้ต่างแสวงหาความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และแนวทางในการทำธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการนำวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้ร่วมกัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญ
ที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำในการทำนายและคาดการณ์ และให้บริการแก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดีสถาบันการเงินจำเป็นต้องกำหนดกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมเพื่อขับเคลื่อนการใช้งาน AI ในทุกแง่มุมให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ

บทบาทของการกำกับดูแลการใช้ AI

การกำกับดูแล AI ประกอบด้วยกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และกระบวนการที่ใช้ในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน การกำกับดูแลการใช้ AI มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากภาคธุรกิจการเงินมีกฎระเบียบที่เข้มงวด ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุม เพื่อให้สามารถกำกับดูแลกลยุทธ์ด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น กรอบการทำงานดังกล่าวควรประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการใช้ AI และมีคู่มือหรือแนวนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูล นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องระบุและป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อคุ้มครองข้อมูลอย่างเข้มงวด และเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

คุณประโยชน์สำคัญที่ได้จากการลงทุนด้านกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ได้อย่างเหมาะสม มีดังนี้

    • เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ — เข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น และคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น
    • เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย — งานประจำ และกระบวนการด้านต่าง ๆ ทำได้แบบอัตโนมัติ
    • บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น — แชทบ็อท หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

การลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์เหล่านี้อาจหมายรวมถึงการว่าจ้างบุคลากรที่มีหน้าที่กำกับดูแลกรอบการทำงาน กำหนดแนวทางและมาตรการที่ชัดเจน และจัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล

กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ต้องเกิดจากความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

ปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ที่สถาบันการเงินจะต้องจัดการดูแลในสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมที่จะช่วยตรวจวัด และจัดการเป้าหมายของโมเดลต่าง ๆ รวมถึงความต้องการข้อมูลระดับประสิทธิภาพที่ต้องการ และความน่าเชื่อถือโดยสอดรับกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กร

การปรับเปลี่ยนตามแนวทางของกรอบการกำกับดูแลที่กำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน รอบด้าน และครบถ้วนสมบูรณ์ จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถพัฒนาและควบคุมวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วก็จะสามารถปกป้ององค์กร และลูกค้าให้ปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ในขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นให้กับลูกค้า

ปัจจัยสำคัญที่สถาบันการเงินจะต้องคำนึงถึงในการดำเนินแนวทางปฏิบัติตามกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมและชัดเจน ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและความปลอดภัย รวมถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

    • ความน่าเชื่อถือ— เป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและองค์ประกอบทางจริยธรรมของโมเดล AI เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อคนบางกลุ่ม  ความรับผิดชอบและความโปร่งใสจะช่วยรับรองยืนยันการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมถึงผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจที่นำไปสู่ผลลัพธ์ และเปิดโอกาสให้มีช่องทางสำหรับการสอบถามหรือตั้งคำถามในกรณีที่จำเป็น
    • ความยืดหยุ่น— โมเดล AI จะต้องได้รับการปรับปรุงและทบทวนแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความเสี่ยงใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และความท้าทายอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสอดคล้องกัน กรอบการกำกับดูแลที่รัดกุมจะช่วยให้สถาบันการเงินบรรลุเป้าหมายในการประเมิน ตรวจสอบ และตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ความปลอดภัย— โมเดล AI อาจเผยให้สถาบันการเงินเห็นความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงัก เช่น ระบบไอทีล่ม ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (เช่น การโจมตีแบบ Data Poisoning) และปัญหาเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ความท้าทายในการปรับใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI

  องค์กรจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายสำคัญ ๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI เป็นประโยชน์ในระยะยาว

    • การดำเนินการเก็บรวบรวม ทำความสะอาดข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เชื่อถือได้ และสอดคล้องกันมากขึ้น รวมถึงความเที่ยงตรงของฟังก์ชั่นการป้อนข้อมูล
    • การจัดการปัญหาเรื่องอคติในโมเดล AI ที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นธรรมและมีการเลือกปฏิบัติ
    • การยึดมั่นในความรับผิดชอบและความโปร่งใสในระบบ AI ช่วยให้ผู้ดูแลด้านการใช้ AI ในองค์กร เข้าใจว่าองค์กรใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในลักษณะใดบ้าง ทั้งยังเอื้อให้มีการทบทวนหรือปรับเปลี่ยนการตัดสินใจในกรณีที่จำเป็น
    • การปฏิบัติตามกฎระเบียบ นโยบายองค์กร มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงข้อบังคับภายนอกและภายในองค์กร เป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคธุรกิจที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเช่นภาคการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ บทลงโทษ และความเสียหายต่อชื่อเสียง
    • การจัดการและตรวจติดตามการทำงานของระบบ AI เชิงรุก ด้วยการระบุและวินิจฉัยปัญหา และอนุญาตให้มีการดำเนินการแก้ไข

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เปิดกว้างของเร้ดแฮทเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน หรือการพัฒนาโซลูชันที่มีการนำ AI มาใช้ร่วมด้วย

 

DDproperty เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลน่าจับตามองในรอบครึ่งแรกปี 65

“MRT พระราม 9” ทำเลสุดฮอตแนวรถไฟฟ้า คนกรุงเลือกซื้อย่าน “สวนหลวง” ตลาดเช่า “บางนา” มาแรง

DDproperty-Info_Best-of-H1-2022

ท่ามกลางบททดสอบที่ท้าทาย ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง ภาวะเงินเฟ้อ ผนวกกับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยยังคงมีอยู่ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.ddproperty.com ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 (ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565) สะท้อนเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยยอดนิยมของผู้ซื้อและผู้เช่าทั่วประเทศ พบว่าการเข้าชมประกาศขายอสังหาฯ ลดลงประมาณ 14% จากช่วง 6 เดือนก่อนหน้า สืบเนื่องจากปัจจัยรุมล้อมข้างต้นที่ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อเปลี่ยนมาเป็นการเช่าแทน ส่งผลให้ความต้องการเช่าในบางทำเลมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ที่เผยว่ามีผู้บริโภคเพียง 16% เท่านั้นที่พร้อมจะซื้อบ้านภายใน 1 ปีข้างหน้านี้

โดยพฤติกรรมการค้นหาที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางออนไลน์ของคนหาบ้านยุคนี้ 50% จะพิมพ์คำค้นหาตามสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือสนใจ (Free Text) ขณะที่อีกกลุ่มจะใช้คำค้นหา (Keyword) เกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของอสังหาฯ แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ค้นหาด้วยจังหวัด, เขต/อำเภอ, แขวง/ตำบล คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการค้นหาทั้งหมด 

ขณะที่ “สถานีรถไฟฟ้า” ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคำค้นหายอดนิยมและมาแรงในยุคนี้ มีสัดส่วน 10% ของการค้นหาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าทำเลแนวรถไฟฟ้ายังเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการค้นหาที่อยู่อาศัยของคนหาบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหารถติด จึงเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่สะดวกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าแทน

“กรุงเทพฯ” ยืนหนึ่งจังหวัดที่มีการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุด 

กรุงเทพมหานครครองความนิยมเป็นจังหวัดที่มีการค้นหาอสังหาฯ มากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่อันดับ 2 ได้แก่ เชียงใหม่, อันดับ 3 นนทบุรี, อันดับ 4 ชลบุรี, อันดับ 5 สมุทรปราการ, อันดับ 6 ปทุมธานี, อันดับ 7 ภูเก็ต, อันดับ 8 ประจวบคีรีขันธ์, อันดับ 9 เมืองพัทยา และอันดับ 10 นครราชสีมา จะเห็นได้ว่าการค้นหาที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับอานิสงส์ความเจริญจากเมืองหลวง รวมทั้งหัวเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นผลจากเทรนด์ Workcation ได้รับความนิยมในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ รูปแบบการทำงานที่ได้ท่องเที่ยวและพักผ่อนในเวลาเดียวกัน กลายเป็นอีกปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคมองหาบ้านพักตากอากาศในหัวเมืองท่องเที่ยวมากขึ้น 

“MRT พระราม 9” สุดยอดทำเลยอดนิยมแนวรถไฟฟ้า

ทำเลแนวรถไฟฟ้าเป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเมื่อค้นหาที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผยว่าผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (51%) มองว่าโครงการที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เป็นปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ โดยทำเลแนวรถไฟฟ้าที่มีการค้นหามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก 2565 ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตวิถีคนเมือง 

โดย 10 สถานีรถไฟฟ้าที่เป็นทำเลยอดนิยมในกลุ่มคนค้นหาอสังหาฯ ช่วงครึ่งปีแรก 2565 อันดับ 1 ได้แก่ MRT พระราม 9 อีกหนึ่งทำเลศักยภาพของกรุงเทพฯ ตามมาด้วยอันดับ 2 BTS อ่อนนุช, อันดับ 3 BTS อารีย์, อันดับ 4 BTS อโศก, อันดับ 5 BTS พร้อมพงษ์, อันดับ 6 BTS เอกมัย, อันดับ 7 MRT ห้วยขวาง, อันดับ 8 BTS อุดมสุข, อันดับ 9 BTS ทองหล่อ และอันดับ 10 BTS สะพานควาย 

“สวนหลวง” ครองใจคนซื้อชาวกรุง “บางนา” มาแรงในตลาดเช่า

ด้านตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีความเคลื่อนไหวน่าจับตามองและมีโครงการใหม่เปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เห็นได้ชัดจากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า  “สวนหลวง” กลายเป็นทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงระดับบนที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 

ขณะที่จำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ ให้เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า “บางนา” เป็นทำเลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยปัจจัยบวกที่สนับสนุนการเติบโตจากโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเมืองระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ ใกล้แหล่งงาน ประกอบกับการพัฒนาโครงการเมกะโปรเจค (Mega Project) และโครงการที่อยู่อาศัยอีกหลายโครงการ

โดย 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
อันดับ 3 แขวงบางนา เขตบางนา
อันดับ 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
อันดับ 5 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา 

ด้าน 5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 แขวงบางนา เขตบางนา
อันดับ 2 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
อันดับ 3 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
อันดับ 4 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
อันดับ 5 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย

ราคาขาย-เช่าอสังหาฯ เมืองกรุงยังไม่ฟื้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาขายที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกนี้ยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีราคากลางเฉลี่ยอยู่ที่ 106,000 บาท/ตารางเมตร ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า และลดลงถึง 18% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส 4 ปี 2562) ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและมีความพร้อมทางการเงิน ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาขายอสังหาฯ และดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ 

ขณะที่อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยโดยรวมทุกประเภทอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 485 บาท/ตารางเมตร/เดือน ลดลง 3% จากปีก่อนหน้า และลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดฯ อย่างไรก็ดี แม้คอนโดมิเนียมจะเป็นอสังหาฯ ประเภทเดียวที่ค่าเช่าลดลง 3% จากปีก่อนหน้า แต่ก็ยังมีความต้องการเช่าอยู่ไม่น้อยและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างคนวัยทำงานและนักศึกษา ทำให้มีอัตราค่าเช่าคอนโดฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 500 บาท/ตารางเมตร/เดือน ขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบยังได้รับความนิยมต่อเนื่องในตลาดเช่าและมีทิศทางเติบโต บ้านเดี่ยวมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 320 บาท/ตารางเมตร/เดือน โตถึง 28% จากปีก่อนหน้า ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 210 บาท/ตารางเมตร/เดือน โต 7% จากปีก่อนหน้า 

“สมุทรปราการ” คว้าอันดับ 1 ตลาดซื้อ-เช่าอสังหาฯ ปริมณฑล

เทรนด์ Work from Home ในช่วงการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยในทำเลรอบนอกของกรุงเทพฯ มากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองและปริมณฑลกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในด้านราคาที่ย่อมเยากว่า จากจำนวนการเข้าชมประกาศอสังหาฯ สำหรับขายในเขตปริมณฑลบนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า สมุทรปราการเป็นจังหวัดปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อและเช่าอสังหาฯ มากที่สุดในครึ่งแรกของปี 2565 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ช่วยให้การเดินทางมาทำงานหรือเรียนในย่านใจกลางเมืองสะดวกสบายมากขึ้น 

โดย 5 ทำเลในเขตปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
อันดับ 3 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
อันดับ 4 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 5 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ขณะที่ 5 ทำเลในเขตปริมณฑล ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ 

อันดับ 1 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 2 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
อันดับ 3 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับ 4 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
อันดับ 5 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจชี้ องค์กรด้านการเงินการธนาคาร อยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้มัลติคลาวด์

ผลสำรวจพบว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือรูปแบบไอทีที่เหมาะสมที่สุด และธุรกิจบริการด้านการเงินมีการนำไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริดมัลติคลาวด์คอมพิวติ้งเปิดเผยข้อมูลผลสำรวจเกี่ยวกับองค์กรด้านการเงินการธนาคารทั่วโลก จากรายงานดัชนีคลาวด์ระดับองค์กรประจำปี 2565 (2022 Enterprise Cloud Index – ECI) โดยรายงานดังกล่าวมุ่งตรวจสอบความคืบหน้าขององค์กรต่าง ๆ ในการนำเทคโนโลยีค­ลาวด์ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ผลสำรวจชี้ว่า องค์กรผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วโลกใช้มัลติคลาวด์น้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจโดยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ราว 10% อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้เพิ่มขึ้น เกือบสองเท่าจาก 26% เป็น 56% ในอีกสามปีข้างหน้า ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่มีการพัฒนาไปสู่โครงสร้างพื้นฐานไอที แบบมัลติคลาวด์ ซึ่งครอบคลุมการใช้งานผสมผสานกันทั้งไพรเวท และพับลิคคลาวด์

ผลสำรวจพบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ยังคงใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิม (three-tier) เป็นโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ใช้คลาวด์ และมีการใช้พับลิคคลาวด์ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นทั้งหมดที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้พับลิคคลาวด์โดย 59% ไม่ได้ใช้บริการพับลิคคลาวด์ เปรียบเที่ยบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 47% สาเหตุหลักเนื่องจากได้มีการลงทุนจำนวนมากไปกับแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่ยังใช้งานอยู่ และเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมาก ความยุ่งยากซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบคลาวด์ประเภทต่าง ๆ ยังคงเป็นความท้าทายใหญ่ของผู้ให้บริการด้านการเงิน โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 84% เห็นด้วยว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานมัลติคลาวด์ที่ง่ายขึ้น ขณะที่ 50% ระบุว่าประเด็นเรื่องความปลอดภัยคือความท้าทายประการหนึ่งของการใช้มัลติคลาวด์ สำหรับการแก้ไขความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยความสามารถในการทำงานร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูลนั้น ผู้ตอบแบบสำรวจ 82% เห็นพ้องกันว่าไฮบริด มัลติคลาวด์ เหมาะสมที่สุดเพราะเป็นรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีที่สามารถใช้งานคลาวด์หลายระบบหลายประเภท ทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์ ที่สามารถแลกเปลี่ยนใช้ข้อมูล และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อานันท์ อาเคลา รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชันของนูทานิคซ์ กล่าวว่า “แม้ภาคอุตสาหกรรมด้านการเงินจะอยู่ในช่วงระยะแรกของการใช้คลาวด์ แต่ก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบมัลติคลาวด์ที่ทั้งไพรเวท และพับลิคคลาวด์สามารถทำงานร่วมกันได้การที่ความปลอดภัยของข้อมูล และความยืดหยุ่นในการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน องค์กรเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องนำโซลูชันไฮบริดมัลติคลาวด์มาใช้ โซลูชันไฮบริดคลาวด์ช่วยให้องค์กรสามารถบูรณาการการบริหารจัดการ และระบบความปลอดภัยได้แบบรวมศูนย์ ทั้งยังรองรับการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปใช้บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย”

การสำรวจนี้ยังได้ตั้งคำถามต่อผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในอุตสาหกรรมด้านการเงินเกี่ยวกับความท้าทายในปัจจุบันในเรื่องของการใช้คลาวด์, วิธีการใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจและแอปฯ ที่มีความสำคัญขององค์กร รวมถึงองค์กรได้วางแผนว่าจะวางและใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านั้นบนระบบใดในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ที่มีต่อการตัดสินใจในการใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งที่เพิ่งผ่านมาในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงประเด็นที่ว่ากลยุทธ์และภารกิจสำคัญด้านไอทีอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรสืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว ตัวเลขสำคัญจากผลสำรวจดังกล่าวมีดังนี้

    • ความท้าทายในการใช้มัลติคลาวด์ที่ธุรกิจบริการด้านการเงินพบ เช่น ความปลอดภัย (50%), การบูรณาการข้อมูลบนระบบคลาวด์ต่าง ๆ (46%) และความท้าทายเรื่องประสิทธิภาพเนื่องจากการซ้อนทับกันของเครือข่าย (43%) ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 78% ระบุถึงปัญหาการขาดแคลนทักษะด้านไอทีที่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน การลดความซับซ้อนในการทำงานจึงน่าจะเป็นจุดที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารฝ่ายไอทีเริ่มตระหนักว่าไม่มีแนวทางแบบครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับทุกกรณีในการใช้คลาวด์ ดังนั้นผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (82%) จึงเห็นว่าไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ไฮบริดมัลติคลาวด์ จะช่วยแก้ไขความท้าทายที่สำคัญในการใช้มัลติคลาวด์ด้วยคุณสมบัติที่มอบสภาพแวดล้อมคลาวด์รวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถใช้ระบบความปลอดภัย และการกำกับดูแลข้อมูลในรูปแบบเดียวกันได้ทั้งหมด
    • ความสามารถในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันเป็นเรื่องจำเป็น ผู้ตอบแบบสำรวจจากภาคธุรกิจบริการด้านการเงินเกือบทั้งหมด (98%) ได้ย้ายแอปพลิเคชันอย่างน้อยหนึ่งแอปฯ ไปยังสภาพแวดล้อม ไอทีใหม่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยหลัก ๆ แล้วเป็นการย้ายจากดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นเก่าไปยังไพรเวทคลาวด์ เนื่องจากในภาคธุรกิจนี้ ความแพร่หลายของการใช้มัลติคลาวด์และพับลิคคลาวด์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ระบุว่าการพัฒนาแอปฯ ได้รวดเร็ว กว่า (43%) เป็นเหตุผลสำคัญของการย้ายแพลตฟอร์ม รองลงมาคือเรื่องของความปลอดภัย (42%) และการบูรณาการเข้ากับบริการคลาวด์เนทีฟ (40%)  นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ (83%) มีความเห็นว่าการย้ายแอปพลิเคชันไปยังสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากดังนั้น จึงคาดว่าจะมีการปรับใช้คอนเทนเนอร์เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการติดตั้งใช้งานมัลติคลาวด์เพื่อให้สามารถรันและเคลื่อนย้ายแอปฯ ต่าง ๆ ได้เกือบทุกที่อย่างง่ายดาย รวดเร็ว โดย 86% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากภาคธุรกิจบริการด้านการเงินระบุว่า คอนเทนเนอร์จะมีความสำคัญต่อองค์กรของตนในช่วงปีหน้า
    • งานด้านไอทีที่ธุรกิจบริการด้านการเงินจัดลำดับความสำคัญในช่วง 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย (54%), การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการมัลติคลาวด์ (49%) และการพัฒนาและ/หรือนำเทคโนโลยีแบบคลาวด์เนทีฟมาใช้ (47%) ต่อคำถามที่ว่าองค์กรเหล่านี้จะดำเนินการอะไรบ้าง ที่ไม่เหมือนเดิมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ผู้ตอบแบบสำรวจในธุรกิจด้านนี้ 70% ระบุว่ามีการใช้จ่ายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น, 64% ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในเรื่องของการเพิ่มระบบอัตโนมัติสำหรับการบริการตนเองโดยอาศัย AI และ 64% ลงทุนในด้านการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับประเทศไทย ธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่เริ่มการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล และคลาวด์เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจสูงมากตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 เพื่อรักษาลูกค้าและแข่งขันกับฟินเทค ในช่วงการแพร่ระบาด มีการนำคลาวด์มาใช้ควบคู่กับไพรเวทคลาวด์ และระบบที่อยู่ภายในองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการตัดสินใจในเวลาสั้น ๆ เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างกระทันหัน และทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ที่ยืนยันด้วยข้อมูลจาก Payment Data Indicator ประจำเดือนเมษายน 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า การทำธุรกรรม e-payment ในเดือนเมษายน 2565 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 348 รายการ/คน/ปี คลาวด์จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้รองรับความต้องการดังกล่าวและรองรับแอปพลิเคชัน ดาต้า กรอบการทำงานด้านความปลอดภัยและอื่น ๆ และเป็นที่คาดว่าธุรกิจการเงินไทยจะใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับแนวโน้มทั่วโลก

นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่แวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ได้ดำเนินการสำรวจในนามของนูทานิคซ์ โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอที 1,700 คนทั่วโลกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564  รายงานฉบับนี้เป็นเอกสารเพิ่มเติมจากรายงานหลัก Enterprise Cloud Index ประจำปี ฉบับที่ 4 โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ และแนวโน้มการวางแผนในภาคธุรกิจบริการด้านการเงินโดยอ้างอิงคำตอบของบุคลากรฝ่ายไอที 250 คนที่ทำงานอยู่ในธนาคารและบริษัทประกันทั่วโลก และมีการเปรียบเทียบแผนงานด้านคลาวด์ ภารกิจสำคัญ และประสบการณ์ขององค์กรเหล่านี้กับภาคธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงฐานคำตอบโดยรวมในระดับโลก

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานและผลการสำรวจ สามารถดาวน์โหลดรายงาน Enterprise Cloud Index ของนูทานิคซ์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่