นูทานิคซ์แต่งตั้ง แอรอน ไวท์ เป็นรองประธาน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นูทานิคซ์แต่งตั้ง แอรอน ไวท์ เป็นรองประธาน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นูทานิคซ์แต่งตั้ง แอรอน ไวท์ เป็นรองประธาน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริดมัลติคลาวด์คอมพิวติ้ง ประกาศแต่งตั้งนายแอรอน ไวท์ เป็นรองประธานและผู้จัดการทั่วไป ดูแลงานด้านการขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีผลทันที โดยประจำอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์และรายงานตรงไปยังนายแอนดรูว์ บรินด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายรายได้ของนูทานิคซ์

นายแอรอนร่วมงานกับนูทานิคซ์มากว่า 5 ปี ตำแหน่งล่าสุดเป็นรองประธานดูแลตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ และประจำอยู่ที่ดูไบ ก่อนร่วมงานกับนูทานิคซ์ เขาเป็นผู้นำด้านการขายที่ Sage, Hitachi Data Systems, Citrix และ VMware

นายบรินด์ กล่าวว่า “แอรอนมีประสบการณ์ในแวดวงเทคโนโลยีระดับนานาชาติมากกว่า 20 ปี สร้างการเติบโตให้กับทั้งบริษัทและทีมงานฝ่ายขายควบคู่กันไป เพื่อขับเคลื่อนให้บริษัทมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและสม่ำเสมอ ผมมีโอกาสอันแสนพิเศษเห็นสไตล์การบริหารงาน และความสามารถต่าง ๆ ของแอรอนตั้งแต่เขาเริ่มเข้ามาทำงานกับนูทานิคซ์ เขามีความเชื่อมั่นอย่างมากว่า ผู้คนคือการเต้นของหัวใจของนูทานิคซ์ และยังเชื่อในการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นลำดับแรกรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ”

นายแอรอน ไวท์ กล่าวว่า “ความสำเร็จของผมต้องยกให้กับทีมที่ผมสร้างและวัฒนธรรมองค์กรที่ผมมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมา วัฒนธรรมองค์กรที่แสดงความยินดีแม้แต่ความสำเร็จที่เล็กที่สุด เป็นพลังให้ทีมงานทำสิ่งที่ดีที่สุดและกล้าที่จะนำเสนอและทดลองแนวคิดใหม่ ๆ ผมหวังว่าจะได้ส่งเสริมจิตวิญญาณนี้ให้กับทีมนูทานิคซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นนี้ และทำงานร่วมกับทีมเพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ นำนูทานิคซ์ไปใช้ปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย และประสบความสำเร็จในการสร้างสภาพแวดล้อมไฮบริด มัลติคลาวด์

ลูกค้าของนูทานิคซ์ในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ประกอบด้วยองค์กรที่หลากหลายในทุกภาคส่วน เช่น Toyota และ Mitsui Chemical ในญี่ปุ่น, Langs Building Supplies ในออสเตรเลีย, Suncorp ในนิวซีแลนด์, Olam ในอินเดีย, Meritz Securities ในเกาหลี,  ธนาคาร BJB Syariah  และ ธนาคาร BPD Bali ในอินโดนีเซีย รวมถึง KTBST Securities ในประเทศไทย

แอรอนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขา Human Movement Science and Physical Education และปริญญาโทด้าน Information Systems จาก University of Liverpool เมื่อรับตำแหน่งใหม่นี้เขาและครอบครัวจะย้ายมาประจำอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์

Red Hat เปิดตัว OpenShift Platform Plus เวอร์ชันล่าสุด เพื่อบริหารจัดการการทำงานบนไฮบริดคลาวด์ให้สอดคล้องกันมากขึ้น

Red Hat เปิดตัว OpenShift Platform Plus เวอร์ชันล่าสุด เพื่อบริหารจัดการการทำงานบนไฮบริดคลาวด์ให้สอดคล้องกันมากขึ้น

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก เปิดตัว Red Hat OpenShift Platform Plus รุ่นล่าสุด

ความสามารถใหม่ ๆ นี้ ช่วยให้ใช้ Kubernetes stack ได้ง่ายขึ้น เพิ่มความคล่องตัว สร้างมาตรฐานในการพัฒนาและการบริหารจัดการแอปพลิเคชัน ที่ครอบคลุมตั้งแต่ดาต้าเซ็นเตอร์ เอดจ์ ไปจนถึง มัลติพับลิคคลาวด์

เร้ดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก เปิดตัว Red Hat OpenShift Platform Plus รุ่นล่าสุด ที่มาพร้อมฟีเจอร์และความสามารถใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากแพลตฟอร์ม Kubernetes พื้นฐานทั่วไป ให้ตอบสนองการใช้งานด้านสตอเรจ การบริหารจัดการ และอื่น ๆ อีกมาก นับเป็นการยกระดับ Red Hat OpenShift Platform Plus ให้เป็นแพลตฟอร์ม Kubernetes หนึ่งเดียวที่รองรับความต้องการด้านไอทีขององค์กรได้ครบถ้วนในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมการทำงานที่ดิสทริบิ้วเต็ดเอดจ์ หรือสภาพแวดล้อมมัลติพับลิคคลาวด์

รายงาน The Innovation Leader’s Guide to Navigating the Cloud-Native Container Ecosystem ของบริษัทวิจัย การ์ทเนอร์ (Gartner®) ให้คำแนะนำว่า “องค์กรต่าง ๆ ควรกำหนดมาตรฐานไว้บนแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรเพียงหนึ่งเดียวให้ครอบคลุมกรณีการใช้งานที่หลากหลายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”[1] การที่องค์กรต่าง ๆ ใช้แอปพลิเคชันมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้แพลตฟอร์มคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วย Kubernetest ที่นอกจากจะใช้รองรับโครงสร้างพื้นฐานโอเพ่นไฮบริดคลาวด์แล้ว ยังต้องรองรับเวิร์กโหลดและแอปพลิเคชันหลากหลายที่ทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานนี้ด้วย

Red Hat OpenShift Platform Plus ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานที่มีความมั่นคงให้กับองค์กรต่าง ๆ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดมาตรฐานด้านไอทีเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แพลตฟอร์มรุ่นใหม่ล่าสุดนี้ประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างปกป้อง และจัดการแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นตลอดอายุการใช้งานของซอฟต์แวร์ และใช้ได้กับคลัสเตอร์ Kubernetes ทั้งหมด เทคโนโลยีพื้นฐานที่ได้รับการอัปเดทประกอบด้วย

    • Red Hat OpenShift 4.11
    • Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes 2.6
    • Red Hat OpenShift Data Foundation 4.11

แพลตฟอร์มครบวงจรสำหรับเวิร์กโหลดต่าง ๆ ที่รันอยู่บนไฮบริดคลาวด์

การที่องค์กรต่าง ๆ ยังปรับขนาดสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการระบบที่มั่นคง สอดคล้องกัน และใช้ได้กับทุก ๆ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพิ่มขึ้นตามไปด้วย  Red Hat OpenShift 4.11 ที่ทำงานกับรันไทม์อินเทอร์เฟซ Red Hat OpenShift 4.11 และ CRI-O 1.24 ได้รับการออกแบบเพื่อทำให้ใช้ Kubernetes ระดับองค์กรได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะใช้อย่างไรและที่ไหนบนโอเพ่นไฮบริดคลาวด์

Red Hat OpenShift เวอร์ชันล่าสุดช่วยให้องค์กรสามารถติดตั้ง OpenShift ได้โดยตรงจาก marketplace ของผู้ให้บริการพับลิคคลาวด์สำคัญ ๆ ในตลาด เช่น AWS marketplace และ Azure marketplace ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่องค์กรในการเลือกที่จะรัน OpenShift ตามลักษณะที่ต้องการ และช่วยให้ทีมงานฝ่ายไอทีตอบสนองความต้องการด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้น

ฟีเจอร์และความสามารถใหม่ ๆ ของ Red Hat OpenShift 4.11 ประกอบด้วย

    • Pod Security Admission integration: ช่วยให้ผู้ใช้ระบุระดับการแยกระบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันให้กับ Kubernetes pod ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ควบคุมลักษณะการทำงานของ pod ได้อย่างชัดเจน สม่ำเสมอ และสอดคล้องกันมากขึ้น
    • Installer Provisioned Infrastructure (IPI) รองรับการใช้งานกับนูทานิคซ์: ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้กระบวนการ IPI เพื่อติดตั้ง OpenShift บนสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลซ์ของนูทานิคซ์ ได้แบบอัตโนมัติด้วยการคลิกครั้งเดียว พร้อมผสานรวมการทำงานร่วมกัน
    • สถาปัตยกรรมเพิ่มเติมสำหรับแซนด์บ็อกซ์คอนเทนเนอร์ (Sandboxed Container) รวมถึงความสามารถในการรันแซนด์บ็อกซ์คอนเทนเนอร์บน AWS และบน OpenShift แบบซิงเกิลโหนด แซนด์บ็อกซ์คอนเทนเนอร์ใช้เป็นเลเยอร์เพิ่มเติมสำหรับการแยกเวิร์กโหลด แม้กระทั่งที่ส่วนเอดจ์ของเครือข่ายที่อยู่ไกลออกไปก็ตาม

เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบบนสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด

ในการจัดการเวิร์กโหลดต่าง ๆ อาจจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลเพิ่มเติม  ด้วยเหตุนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการคอนเทนเนอร์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เอดจ์  Red Hat Advanced Cluster Management 2.6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Red Hat OpenShift Platform Plus จึงได้เพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความพร้อมใช้งานในกรณีการใช้งานที่มีลาเทนซีสูงและแบนด์วิธต่ำ

Red Hat Advanced Cluster Management hub cluster เดียวสามารถใช้และบริหารจัดการคลัสเตอร์ OpenShift แบบซิงเกิลโหนดได้มากถึง 2,500 คลัสเตอร์ ซึ่งสามารถใช้และจัดการที่เอดจ์ของเครือข่ายโดยไม่ต้องกำหนดค่าใด ๆ) นอกจากนี้ Red Hat Advanced Cluster Management 2.6 ยังประกอบด้วยตัวเก็บรวบรวมข้อมูลดัชนีที่เอดจ์ ซึ่งเหมาะสำหรับเวิร์กโหลดแบบซิงเกิลโหนด และเวิร์กโหลดขนาดเล็ก ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบการทำงานของระบบผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล 

นอกจากนั้น Red Hat Advanced Cluster Management ยังสามารถทำงานผสมผสานกับเครื่องมือสำคัญ ๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้เวิร์กโฟลว์ที่มีอยู่ได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการบูรณาการที่สำคัญได้แก่:

    • การมองเห็นแอปพลิเคชันได้อย่างกว้างขวางโดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ ของแอปพลิเคชันได้กว้างขึ้น และแสดงให้เห็นแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยตรงผ่าน OpenShift
    • การจัดการคลัสเตอร์โดยตรงจาก Red Hat Ansible Automation Platform ซึ่งเป็นส่วนของเทคโนโลยีพรีวิว ช่วยให้ผู้ใช้ Ansible สามารถโต้ตอบกับ Red Hat Advanced Cluster Management ได้ในแบบเนทีฟ
    • การบูรณาการเข้ากับ Kyverno PolicySet ซึ่งเป็นส่วนของเทคโนโลยีพรีวิว ช่วยให้ผู้ใช้มีทางเลือกมากขึ้นในการปรับใช้นโยบาย Kubernetes

บริการข้อมูลและที่เก็บข้อมูลถาวร (Persistent Storage) ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับโมเดิร์นเวิร์กโหลด

องค์กรต่าง ๆ ที่โยกย้ายระบบไปยังไฮบริดคลาวด์ มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการกู้คืนระบบให้กลับสู่ภาวะปกติ  ด้วยเหตุนี้ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาข้อมูลสูญหายและการหยุดชะงักของธุรกิจในกรณีที่ระบบเกิดล้มเหลว Red Hat OpenShift Data Foundation 4.11 จึงมี OpenShift API สำหรับการปกป้องข้อมูล โดยสามารถใช้ API ของผู้ให้บริการเพื่อแบ็คอัพและกู้คืนแอปพลิเคชันและข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงหรือใช้แอปพลิเคชันการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่โดยครอบคลุมไฮบริดคลาวด์ทั้งหมด

นอกจากนั้น Red Hat OpenShift Data Foundation ยังรองรับการตรวจสอบแบบมัลติคลัสเตอร์ผ่านทาง Red Hat Advanced Cluster Management ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการจัดการข้อมูลคลัสเตอร์ได้อย่างครบถ้วนจากจุดเดียว โดยครอบคลุมหลายคลัสเตอร์ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยการผนวกรวมการจัดการคลัสเตอร์สำหรับระบบต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือหนึ่งเดียว

การวางจำหน่าย

Red Hat OpenShift 4.11 และ Red Hat OpenShift Data Foundation 4.11 มีวางจำหน่ายแล้ว ส่วน Red Hat Advanced Cluster Management 2.6 คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงเดือนสิงหาคม

คำกล่าวสนับสนุน

โจ เฟอร์นันเดส รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มของเร้ดแฮท
“ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ หันไปใช้โมเดิร์นแอปพลิเคชันกันมากขึ้น เพื่อนำเสนอประสบการณ์แบบไดนามิกที่เหนือกว่าให้แก่ผู้ใช้ ดังนั้นองค์กรเหล่านี้จึงต้องการแพลตฟอร์มที่รองรับการจัดการที่ใช้ได้กับทุกระบบอย่างสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ หรือเวิร์กโหลดแบบคอนเทนเนอร์ที่ครอบคลุมทั้งส่วนขอบของเครือข่ายและมัลติพับลิคคลาวด์ Red Hat OpenShift Platform Plus ที่เปิดตัวครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้านแพลตฟอร์มที่รองรับการทำงานอย่างสอดคล้องกัน ประกอบด้วยชุดเครื่องมือที่พร้อมสรรพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มอบความยืดหยุ่นให้กับการใช้ข้อมูล และมีการรักษาความปลอดภัยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น”

ข้อมูลเพิ่มเติม

จับตาเทรนด์อสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยยังไม่ปรับขึ้น โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน

จับตาเทรนด์อสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยยังไม่ปรับขึ้น โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน

จับตาเทรนด์อสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ราคาที่อยู่อาศัยยังไม่ปรับขึ้น โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวในเวลาอันใกล้ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ต้องประเมินความเสี่ยงทางการเงินกับความคุ้มค่าให้รอบคอบมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยยังคงไม่ปรับขึ้น หลังผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยบ้านเดี่ยวยังได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ดัชนีราคาเติบโตในไตรมาสที่ผ่านมา ด้านตลาดเช่ายังคงมาแรง ความต้องการเช่าโตถึง 88% ในรอบไตรมาส ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมซื้อ ดันดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนที่พร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่ยังไม่แพงเกินไป ก่อนปรับราคาขึ้นตามต้นทุน และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2565 นี้

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บน DDproperty เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 2% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 5% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 ต่ำกว่าดัชนีราคาปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานถึง 18% สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคายังไม่กลับมาฟื้นตัวดีเท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ 

ขณะที่การทำงานออนไลน์และเรียนออนไลน์ที่กลายเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันส่งผลให้บ้านเดี่ยวยังคงครองใจผู้บริโภคยุคนี้ โดยเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มถึง 21% จากปีก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อนหน้า ต่างจากดัชนีราคาคอนโดฯ ที่ลดลงถึง 3% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงนี้ผู้ซื้อยังคงให้ความสนใจที่อยู่อาศัยแนบราบที่มีความคุ้มค่าและพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์มากกว่า และเมื่อโครงการที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นในอนาคต ย่อมส่งผลให้โครงการรีเซลหรือโครงการมือสองซึ่งมีราคาถูกกว่า กลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเช่นกัน

- ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวในเวลาอันใกล้ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ต้องประเมินความเสี่ยงทางการเงินกับความคุ้มค่าให้รอบคอบมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยยังคงไม่ปรับขึ้น หลังผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยบ้านเดี่ยวยังได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ดัชนีราคาเติบโตในไตรมาสที่ผ่านมา ด้านตลาดเช่ายังคงมาแรง ความต้องการเช่าโตถึง 88% ในรอบไตรมาส ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมซื้อ ดันดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนที่พร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่ยังไม่แพงเกินไป ก่อนปรับราคาขึ้นตามต้นทุน และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2565 นี้ ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บน DDproperty เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 2% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 5% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2563 ต่ำกว่าดัชนีราคาปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานถึง 18% สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคายังไม่กลับมาฟื้นตัวดีเท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ ขณะที่การทำงานออนไลน์และเรียนออนไลน์ที่กลายเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันส่งผลให้บ้านเดี่ยวยังคงครองใจผู้บริโภคยุคนี้ โดยเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มถึง 21% จากปีก่อนหน้า ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อนหน้า ต่างจากดัชนีราคาคอนโดฯ ที่ลดลงถึง 3% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงนี้ผู้ซื้อยังคงให้ความสนใจที่อยู่อาศัยแนบราบที่มีความคุ้มค่าและพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์มากกว่า และเมื่อโครงการที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นในอนาคต ย่อมส่งผลให้โครงการรีเซลหรือโครงการมือสองซึ่งมีราคาถูกกว่า กลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเช่นกัน

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “ความท้าทายที่ตลาดอสังหาฯ ไทยต้องเผชิญในตอนนี้ถือเป็นบททดสอบที่หลายฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคไปด้วยกัน เนื่องจากผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่และโรคฝีดาษลิง ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาพลังงานและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบกันเป็นทอด ๆ ทั้งในฝั่งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และภาครัฐ ทำให้การซื้อ-ขายในตลาดอสังหาฯ ไม่กลับมาคึกคักได้ตามที่คาดการณ์ไว้ 

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense พบว่าแนวโน้มความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึง 20% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อาจทำให้จำเป็นต้องชะลอการซื้อออกไปก่อน เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการเป็นภาระหนี้ผูกพันระยะยาวในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอนเช่นนี้ กลายเป็นโอกาสของตลาดเช่าที่อยู่อาศัย เห็นได้จากความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้นถึง 166% จากปีก่อนหน้า”

“ช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นโอกาสทองของกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และนักลงทุนที่มีความพร้อม ก่อนที่ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงที่สูงขึ้น ผนวกกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่มีทิศทางปรับขึ้นตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะส่งผลให้ยอดผ่อนชำระที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงการยกเลิกอัตราดอกเบี้ยคงที่ของธนาคาร/สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ท้าทายในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคไม่น้อย ด้านผู้ประกอบการเร่งกระตุ้นการตัดสินใจซื้อด้วยการแข่งจัดโปรโมชันสุดคุ้ม หรือตรึงราคาให้นานที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของคนหาบ้านยุคนี้ เมื่อผนวกกับปัจจัยบวกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ทำให้ผู้ซื้อบ้านสามารถกู้ได้ 100% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย รวมถึงมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนอง เหลือเพียง 0.01% จึงถือเป็นโอกาสสุดท้ายของปีนี้ที่เอื้อให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่ยังไม่แพงเกินไป” 

“อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคกว่า 3 ใน 5 (63%) ต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้าน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้สูง ขณะที่ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (59%) คาดหวังว่าภาครัฐจะมีการปรับระเบียบข้อบังคับที่ช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น ดังนั้น มองว่าภาครัฐยังคงต้องกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในกลุ่มผู้ซื้อชาวไทยให้มากขึ้นด้วยการออกมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม อาทิ การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก หรือการขยายมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนองครอบคลุมที่อยู่อาศัยในระดับราคามากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้งมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงจุดและชัดเจน เพื่อเพิ่มความสามารถในการซื้อของผู้บริโภค กระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัยมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวได้ไวขึ้น นอกจากนี้ การที่กระทรวงมหาดไทยเตรียมออกประกาศกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเงื่อนไขให้ชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้บนเนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่นั้น หากมีการประกาศใช้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ แนวราบเติบโตเพิ่มขึ้นอีกด้วย” นางกมลภัทร แสวงกิจ กล่าวสรุป

ดีมานด์ที่อยู่อาศัยยังไม่แผ่ว คนสนใจซื้อ-เช่าโตต่อเนื่อง

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q3 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บน DDproperty เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในไตรมาสล่าสุด สรุปภาพรวมความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าสนใจทั้งในตลาดซื้อและตลาดเช่า พร้อมอัปเดตทำเลศักยภาพที่มีแนวโน้มราคาเติบโตในไตรมาสนี้

    • อุปทานแนวราบโตต่อเนื่อง ดีมานด์คนซื้อเพิ่ม ดัชนีอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ผ่านมานั้น ที่อยู่อาศัยแนวราบมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนอยู่ที่ 11% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3% จากไตรมาสก่อน ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 7% และเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อนเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่สินค้าแนวราบอยู่ในมือได้นำสินค้าออกมาขายมากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand)

      ด้านคอนโดฯ แม้จะครองตลาดด้วยสัดส่วนมากที่สุดถึง 82% แต่ลดลง 4% จากไตรมาสก่อน อันเป็นผลจากการดูดซับอุปทานไปแล้วบางส่วนจากการจัดโปรโมชันเร่งระบายสินค้าในสต็อกของผู้ประกอบการ รวมทั้งยังไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่มากนัก ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจะมีจำนวนที่อยู่อาศัยมากขึ้น จากความเชื่อมั่นของผู้ขายที่นำสินค้าในมือออกมาขายมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการที่เปิดโครงการคอนโดฯ ใหม่เพิ่มขึ้น สอดรับกับดีมานด์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งตลาดอสังหาฯ จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตลาดท่องเที่ยวและกำลังซื้อจากชาวต่างชาติเช่นกัน

      ด้านแนวโน้มความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยล่าสุดเพิ่มขึ้น 20% จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย อันเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มส่งสัญญาณปรับขึ้นราคาที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ย กลายเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้บริโภคต้องมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ในเวลานี้มากขึ้น ซึ่งคอนโดฯ กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการซื้อเพิ่มสูงสุดที่ 26% จากไตรมาสก่อน ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว (เพิ่มขึ้น 15% และ 11% ตามลำดับ)

    • ดัชนีค่าเช่ายังทรงตัว คอนโดฯ ครองใจผู้เช่าดันดีมานด์พุ่ง 105% แม้ภาพรวมอัตราค่าเช่าต่อตารางเมตรต่อเดือนในกรุงเทพฯ ยังคงทรงตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเจ้าของอสังหาฯ ให้เช่ายังตรึงราคาให้สอดคล้องกับรายจ่ายของผู้เช่า เพื่อช่วยกระตุ้นการตัดสินใจเช่าอีกทางหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้วพบว่า ดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี 2561 ซึ่งเป็นปีฐานอยู่ที่ 9% เลยทีเดียว เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีโอกาสเติบโตในตลาดเช่า โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5% ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดฯ (เพิ่มขึ้น 4% และ 1% ตามลำดับ) ขณะที่ดัชนีความต้องการเช่าล่าสุดปรับตัวเพิ่มสูงถึง 88% จากไตรมาสก่อน หรือเพิ่มขึ้นถึง 166% จากปีก่อนหน้า โดยคอนโดฯ ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุด เห็นได้ชัดจากดัชนีความต้องการเช่าที่เพิ่มถึง 105% จากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดเช่าคอนโดฯ ที่กลับมามีดีมานด์ในตลาดสูงอีกครั้ง ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ที่มีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 21% และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาสก่อน

      โดยทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเช่าที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในโซนใจกลางเมือง เนื่องจากการขยายเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าหลายสายที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น ผู้บริโภคจึงเลือกเช่าในทำเลที่มีอัตราค่าเช่าย่อมเยากว่าแทน จากรายงานฯ พบว่า ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นในรอบไตรมาส ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ เพิ่มขึ้นมากที่สุด 38% รองลงมาคือเขตคลองสามวา เพิ่มขึ้น 22%, เขตสะพานสูง เพิ่มขึ้น 13%, เขตทุ่งครุ เพิ่มขึ้น 8% และเขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งอัตราค่าเช่าส่วนใหญ่อยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/เดือน 

    • เกาะติดทำเลศักยภาพ รถไฟฟ้าดันย่านชานเมืองราคาพุ่ง ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก โดยมีโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีราคาเติบโตอย่างน่าสนใจ ที่น่าจับตามองคือในไตรมาสนี้เริ่มเห็นบางทำเลใจกลางเมือง และใกล้แหล่งธุรกิจมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมาให้ความสนใจทำเลใจกลางเมืองอีกครั้ง
        • เขตทวีวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มถึง 19% จากปีก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เชื่อมต่อการเดินทางมายังใจกลางเมืองให้สะดวกขึ้น 
        • เช่นเดียวกับเขตตลิ่งชัน ที่ได้รับปัจจัยบวกจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันเช่นกัน ส่งผลดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 15% จากปีก่อนหน้า โดยทั้งเขตทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชันยังเป็นทำเลที่มีสินค้าแนวราบเป็นหลัก ซึ่งตอบโจทย์คนหาบ้านในยุคนี้ จึงทำให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงการแพร่ระบาดฯ 
        • เขตสัมพันธวงศ์ อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสองกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เขตสัมพันธวงศ์มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 6% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ยังเป็นย่านการค้าเก่าที่หาโครงการใหม่ ๆ ยาก จึงทำให้ระดับราคาในทำเลนี้ค่อนข้างสูงตามไปด้วย
        • เขตวังทองหลาง มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 21% จากปีก่อนหน้า มีแนวโน้มเติบโตจากการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ที่จะเปิดให้บริการปี 2566 จึงทำให้ทำเลนี้เป็นที่จับตามองในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และคาดว่าจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
        • เขตหนองจอก แม้จะอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก แต่เนื่องจากเป็นทำเลที่มีสินค้าแนวราบเป็นหลัก จึงทำให้ราคาที่อยู่อาศัยมีการเติบโตขึ้นอย่างน่าสนใจ โดยดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 8% จากปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ ยังพบว่าทำเลใจกลางเมืองที่เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่นั้น ดัชนีราคาได้เริ่มปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ได้แก่ เขตบางรัก มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 2%, เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 2%, เขตคลองสาน เพิ่มขึ้น 2% และเขตพระโขนง เพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน อันเป็นผลจากการคลายล็อกดาวน์และกลับมาดำเนินธุรกิจตามปกติเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตามโซนของกรุงเทพฯ พบว่า โซนกรุงธนบุรีตอนเหนือยังคงเป็นโซนที่มีทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากเป็นทำเลที่มีที่ดินให้ต่อยอดพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบได้ และได้อานิสงส์จากโครงข่ายทางด้านคมนาคมของภาครัฐ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าและทางด่วน จึงตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคได้อย่างครบครัน

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ค่าใช้จ่ายพุ่ง กังวลเรื่องความปลอดภัย และการกระจัดกระจายของดาต้าในองค์กร เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบสต้องเผชิญ

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

แนวทางบริหารจัดการดาต้าเบสในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ข้อถกเถียงเกี่ยวกับประโยชน์ของพับลิคคลาวด์เมื่อเทียบกับไพรเวทคลาวด์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเด็นร้อนแรงนั้น ได้กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากองค์กรต่างต้องวุ่นวายอยู่กับการใช้งานดาต้าเบสหลายประเภท บนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ แอปพลิเคชันจำนวนมากในปัจจุบันที่ใช้ดาต้าเบสมากกว่าหนึ่งประเภท และแอปพลิเคชันที่เป็นคอนเทนเนอร์ไรซ์ที่ทันสมัยต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการกระจัดกระจายของดาต้า (sprawl of data) และดาต้าเบส ปริมาณมหาศาลเหล่านี้มีข้อมูลรวมกันหลายสิบหรือหลายร้อยเพตาไบต์ ซึ่งผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องบริหารจัดการ และแน่นอนว่าเป็นปริมาณที่มากมายเกินกว่าจะจัดการได้

นอกจากนี้ ภาระด้านค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดการดาต้าเบส และความเสี่ยงจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้องค์กรต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรไม่อาจละเลยได้ การที่ดาต้าเบสมีบทบาทสำคัญมากต่อการทำงานในแต่ละวันขององค์กร ทำให้ธุรกิจทั้งหลายต่างต้องแสวงหาวิธีการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายกว่าวิธีการเดิม ๆ

ค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูง

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความเกี่ยวเนื่องที่พัวพันซับซ้อนกันระหว่างแอปพลิเคชัน ดาต้าเบส
และบริการต่าง ๆ จากภายนอกที่เพิ่มขึ้นมากกำลังกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รายงาน IDC InfoBrief[1] ชี้ให้เห็นว่า องค์กรเกือบสามในสี่ (73 เปอร์เซ็นต์) ใช้เครื่องมือและกระบวนการหลายประเภทเพื่อบริหารจัดการดาต้าเบสที่เก็บอยู่ภายในองค์กร เมื่อเทียบกับดาต้าเบสที่อยู่บนคลาวด์ ส่งผลให้องค์กรต้องซื้อเครื่องมือที่ซ้ำซ้อนและต้องจัดการดูแลเครื่องมือเหล่านี้ อีกทั้งยังต้องจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอ ข้อเท็จจริงจากรายงานของ Forrester Consulting [2] ชี้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพในการจัดสรรบุคลากรส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาจำนวนมากแก่ทีมงานผู้ดูแลด้านดาต้าเบส (Database Administrator – DBA) เพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วง

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แนวทางไอทีแบบเดิม ๆ ที่ใช้เครื่องมือรุ่นเก่าเพื่อจัดการดาต้าเบสที่รันอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมจะก่อให้เกิดความล่าช้าจนไม่สามารถรองรับงาน และความคิดริเริ่มที่สำคัญมากต่อธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางดังกล่าวยังทำให้การดำเนินการส่วนต่าง ๆ แยกออกจากกันขาดความต่อเนื่อง และมีการใช้ทรัพยากรและกระบวนการที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการลดรายจ่าย และจำเป็นที่จะต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการดาต้าเบสให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และตอบสนองได้อย่างฉับไวมากขึ้น

เมื่อองค์กรเดินมาถึงทางตัน เราจะพบว่ามีองค์กรหลายแห่งหันไปใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่ใช้งานง่ายที่สามารถบริหารจัดการดาต้าเบสหลายแบบผ่านแพลตฟอร์มเดียวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริการต่าง ๆ เช่น Database-as-a-Service (DBaaS) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและใช้ดาต้าเบสต่าง ๆ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยาก เช่น การติดตั้ง การกำหนดค่า การดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ด้านดาต้าเบสที่ซับซ้อน จะได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะองค์กรต่าง ๆ มองหาวิธีการที่ง่ายขึ้นเพื่อจัดการดาต้าเบสที่หลากหลายนี้ ควบคู่กับการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

การเพิ่มขึ้นของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)

การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่อาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อปี 2564 ซึ่งสร้างความกังวลใจอย่างมากแก่ผู้ดูแลด้านดาต้าเบส ทั้งในเรื่องของการป้องกันดาต้าเบสให้รอดพ้นจาก ransomware รวมถึงการดูแลไม่ให้ข้อมูลแบ็คอัพติดเชื้อไปด้วย

แม้ว่าการป้องกันการโจมตีจาก ransomware เป็นเรื่องท้าทายอันดับแรก แต่แพลตฟอร์มการบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ สามารถช่วยได้ในเรื่องของการกู้คืนข้อมูล (data recovery) การแพตช์จุดล่อแหลมด้านความปลอดภัยบนสภาพแวดล้อมไอทีแบบดั้งเดิม อาจก่อให้เกิดดาวน์ไทม์เป็นเวลานาน ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาของ Forrester Consulting ที่สนับสนุนโดยนูทานิคซ์ ระบุว่าตัวเลขการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานและรายได้ขององค์กรที่เป็นแบบ composite organization คิดเป็นมูลค่า 35,000 เหรียญสหรัฐฯ

ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ระบบบริหารจัดการดาต้าเบสต่าง ๆ ช่วยให้องค์กรที่ติดแรนซัมแวร์สามารถกู้คืนระบบและย้อนกลับไปยังจุดที่ถูกต้อง ก่อนที่จะติดแรนซัมแวร์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการที่บุคลากรจะต้องดำเนินการแก้ไขแบบแมนนวลด้วยตนเอง

โซลูชั่นที่ช่วยให้สามารถแบ็คอัพข้อมูลตามกำหนดเวลาได้อย่างละเอียดจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่ผู้ดูแลดาต้าเบสและผู้จัดการฝ่ายไอที ฟังก์ชันนี้เปรียบได้กับโปรแกรมเล่นวิดีโอที่ฝังอยู่บนเว็บไซต์ โดยคุณจะสามารถย้อนกลับไปกลับมายังช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่องในขั้นที่ต้องการ ซึ่งนับว่าสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ข้อมูลแบ็คอัพอาจเป็นส่วนหนึ่งของดาต้าเบสที่ติดเชื้อ การกำหนดเวลาอย่างละเอียดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการกู้คืนข้อมูลจากช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อแล้ว

บริหารจัดการดาต้าเบสได้เรียบง่าย

ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดการข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสภาพแวดล้อมด้านดาต้าเบสก็มีความซับซ้อนและมีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์กรต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการดาต้าเบส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องคำนึงถึง SLA ด้านประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจจำนวนมากมักจะรันแอปพลิเคชันและบริการที่มีความสำคัญต่อธุรกิจไว้บนดาต้าเบสขนาดใหญ่ โดยไม่มีการบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนและสิ้นเปลืองเวลาในการทำงาน และทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้โซลูชันการจัดการดาต้าเบสที่เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยโซลูชันที่ว่านี้จะต้องช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการฐานข้อมูลบนพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์บนระบบแบบเก่า ก็จะสามารถลดเวลาให้เหลือเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังช่วยให้สามารถปกป้องดาต้าเบสได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว หรือทำการโคลนข้อมูล (fast clone) และสร้างสแน็ปช็อตเพื่อช่วยในการกู้คืนข้อมูล จะเห็นได้ว่าดาต้าเบสมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอที เครื่องมือด้านการจัดการ และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดค่าใช้จ่าย กู้คืนข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และดำเนินงานในแต่ละวันได้อย่างราบรื่นไม่ยุ่งยาก

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

อินฟอร์แต่งตั้ง อิซาเบลลา กุสุมาวาตี เป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

ภูมิภาคที่มีความหลากหลายมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้ง คุณอิซาเบลลา กุสุมาวาตี ดำรงตำแหน่งรองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี (SEAK) คุณอิซาเบลลาจะประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบการขยายธุรกิจในภูมิภาค SEAK ของอินฟอร์ เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศ และนำความเจริญเติบโตมาสู่อินโฟร์ในสิงคโปร์, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และเกาหลีต่อไป

คุณเชมา อรัมบูรู รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “เรายินดีต้อนรับคุณอิซาเบลลาเป็นผู้นำภูมิภาค SEAK ภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินฟอร์ เธอเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม ด้วยประวัติการทำงานที่แข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และการสร้างทีมขายที่มีประสิทธิภาพสูงในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คลาวด์, การใช้งานบนอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย, ปัญญาประดิษฐ์และ IoT ทำให้เรามีโอกาสมากมายในการช่วยลูกค้าเร่งสร้างนวัตกรรมให้ครอบคลุมทั่วธุรกิจของพวกเขา  ผมเชื่อมั่นว่า อิซาเบลลาจะเป็นบุคลากรทรงคุณค่าของอินฟอร์ พันธมิตร และเป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าของเรา”

คุณอิซาเบลลานำประสบการณ์กว่าสองทศวรรษในการบริหารจัดการการขาย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาธุรกิจและตลาดใหม่มาใช้  ล่าสุดเธอดำรงตำแหน่งรองประธานและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ SUSE  ก่อนหน้านี้คุณอิซาเบลลาเคยดำรงตำแหน่งผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ Salesforce, SAP, Oracle และ Microsoft  ซึ่งเธอได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและพันธมิตร ตลอดจนคว้ารางวัลความสำเร็จอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการขาย ความเป็นผู้นำ และพนักงานดีเด่น

ในฐานะพลเมืองในภูมิภาคที่มีความหลากหลายเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณอิซาเบลลาจึงสามารถพูดภาษาต่าง ๆ ที่สำคัญในภูมิภาคนี้ได้ กอปรกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการค้าในเอเชีย ทำให้เธอมีความได้เปรียบในบทบาทนี้  เธอเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของ Women’s Business Network ซึ่งเป็นสมาคมการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นภายในธุรกิจและสังคม และเป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจอันแรงกล้าในการสนับสนุนความเป็นผู้นำและด้านเทคโนโลยีของสตรี

คุณอิซาเบลลา กล่าวว่า “ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลีกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความสนใจและความต้องการระบบคลาวด์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม และผลลัพธ์เชิงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม  การที่ธุรกิจต่าง ๆ หลุดพ้นจากความไม่แน่นอนหลังการแพร่ระบาดในช่วงสองปีที่ผ่านมา พวกเขาจึงมองหาโซลูชันเทคโนโลยีที่สามารถรองรับความต้องการในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความคล่องตัว, ประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และการเข้าใจความต้องการการใช้งาน  อินฟอร์สร้างโซลูชัน CloudSuite ที่เฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ และเพื่อให้การนำนวัตกรรมทางธุรกิจออกสู่ตลาดเกิดได้เร็วขึ้น  ดิฉันยินดีที่ได้ร่วมงานกับครอบครัวอินฟอร์ และพร้อมจะขับเคลื่อนความสำเร็จและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าและพันธมิตรของเราทั่วภูมิภาค SEAK”