พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป บริษัทแม่ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ปรับแบรนด์ครั้งใหญ่

DDproperty and thinkofliving.com repositions brand

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป บริษัทแม่ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ปรับแบรนด์ครั้งใหญ่

ชูภาพกูรูผู้คอยให้ “คำแนะนำ” แก่ผู้ที่คิดจะซื้อ-ขาย-เช่า รวมทั้งเจ้าของอสังหาฯ พร้อมสโลแกนใหม่ “จากบ้านของเรา…สู่บ้านของคุณ”

    • การปรับแบรนด์ใหม่ครั้งนี้มุ่งสร้างภาพจำให้กับพร็อพเพอร์ตี้กูรู และแบรนด์ในเครือ ในฐานะเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ทุกคนไว้วางใจ และเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้ใน “การค้นหาอสังหาฯ” แต่ยังพร้อมให้คำแนะนำ รวมไปถึงบริการ และโซลูชั่นให้กับทุก ๆ คนในระบบนิเวศของธุรกิจอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้ค้นหา, ผู้ขาย, เอเจนต์ และแม้แต่บริษัทผู้พัฒนาโครงการต่าง ๆ
    • นอกจากนี้ การปรับแบรนด์ในครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของกลุ่มพร็อพเพอร์ตี้กูรู ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ ชั้นนำ และยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจฟินเทค (Fintech) รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูล (Data) ล่าสุด เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส” (PropertyGuru For Business) เพื่อเจาะตลาดการให้บริการกลุ่มลูกค้าองค์กร
    • พร้อมกันนี้ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้กูรูยังเปิดตัวแบรนด์แคมเปญที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทพร้อมกันใน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, เวียดนาม และไทย

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป จำกัด (NYSE: PGRU) (“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”), บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาฯ หรือพร็อพเทค (PropTech) ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ ชั้นนำของไทยอย่าง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และเว็บไซต์รีวิวโครงการชั้นนำของประเทศ thinkofliving.com ได้ประกาศการปรับแบรนด์ครั้งสำคัญ โดยมุ่งเน้นให้คำแนะนำกับทุก ๆ คนที่คิดจะอยู่ หรือกำลังอยู่ในเส้นทางของอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ซื้อ, ผู้เช่า, ผู้ขาย, เอเจนต์, บริษัทพัฒนาอสังหาฯ, ธนาคารและสถาบันการเงิน, นักประเมินค่าทรัพย์สิน หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านผังเมือง

จุดยืนใหม่ของแบรนด์พร็อพเพอร์ตี้กูรูในครั้งนี้เป็นการสื่อสารกับทุกคนที่อยู่บนเส้นทางของอสังหาฯ ว่า “ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนไหนก็ตาม คุณจะได้รับคำแนะนำจากกูรู หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านอสังหาฯ” ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ของกรุ๊ปในการที่จะก้าวสู่การเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านอสังหาฯ ที่ทุกคนไว้วางใจ และยังสะท้อนถึงภารกิจหลักของกรุ๊ปที่ต้องการช่วยเหลือให้ผู้ที่กำลังซื้อ, เช่า, ขาย หรือแม้แต่เจ้าของอสังหาฯ สามารถตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนได้อย่างมั่นใจ โดยวันนี้แบรนด์พร็อพเพอร์ตี้กูรูเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มสำหรับการค้นหาอสังหาฯ แต่กำลังเดินหน้าสู่การเป็น “แพลตฟอร์มอสังหาฯ ที่ได้รับความไว้วางใจ” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   

นอกจากนี้ พร็อพเพอร์ตี้กูรูยังได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส” (PropertyGuru For Business) โดยเน้นการให้บริการโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าองค์กร-บริษัทอสังหาฯ ได้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส (PropertyGuru For Business) เป็นการรวมบริการและโปรดักส์ประเภท B2B ต่าง ๆ ซึ่งมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บริษัทผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ, เอเจนซี่ต่าง ๆ, ธนาคารและสถาบันการเงิน, นักประเมินค่าทรัพย์สิน, นักวางนโยบาย/ผังเมือง เป็นต้น โดยโซลูชั่นที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ PropertyGuru Finance, DataSenseValueNet,  FastKey และการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ พร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส จะเป็นการนำเสนอโซลูชั่นที่มีการนำเอาข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าองค์กรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเติบโตอย่างมีศักยภาพ และปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ 

นายแฮรี่ วี คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับแบรนด์ครั้งสำคัญในครั้งนี้ว่า “ในฐานะผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุ๊ปของเรามีภารกิจสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทุก ๆ คนที่อยู่บนเส้นทางอสังหาฯ ให้สามารถตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น เราจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่กำลังซื้อ, เช่า หรือขายอสังหาฯ เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากทุก ๆ การสื่อสารเกิดขึ้นบนหลักการที่สร้างความไว้วางใจระหว่างผู้ใช้งานทั้งสองฝ่าย ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่พูดถึงนี้ ก็คือ “แพลตฟอร์มอสังหาฯ ที่เชื่อถือได้” โดยเราจะนำโซลูชั่นด้านข้อมูลที่จะทำให้เกิดความโปร่งใส อีกทั้งยังนำนวัตกรรมจากเทคโนโลยีของเรามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ และทำให้การซื้อ-ขายอสังหาฯ เข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง  ในขณะเดียวกัน เราจะคอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องในเส้นทางอสังหาฯ นั้น ๆ  

วันนี้ เราเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้ “ค้นหาอสังหาฯ” และนำเสนอบริการแบบครบวงจรยิ่งขึ้นแล้ว อย่างไรก็ดี เราจะยังลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจสินเชื่อบ้าน, ข้อมูล, ระบบปฏิบัติงาน และอื่น ๆ ทั้งหมดนี้เพื่อที่เราจะได้นำเสนอข้อมูลและเครื่องมือที่ใช่ให้กับการตัดสินใจครั้งสำคัญได้อย่างมั่นใจนั่นเอง” 

ด้านนางเรอโมนา ดูเคน ผู้อำนวยการฝ่ายแบรนด์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวเพิ่มเติมว่า “การปรับแบรนด์ของเราในครั้งนี้สะท้อนถึงการปรับกลยุทธ์ครั้งสำคัญขององค์กร เพื่อเข้าสู่การเติบโตในเฟสใหม่ แสดงถึงการให้ความสำคัญกับคุณค่าที่เราต้องการส่งมอบแก่ผู้ใช้งานและลูกค้าของเรา ในวันนี้ เราไม่ได้เป็นแค่เพียงแพลตฟอร์มที่ใช้เพื่อการค้นหา แต่เราต้องการเป็นผู้ช่วยในโมเมนต์สำคัญ ๆ ในเส้นทางของการซื้อ, ขาย, เช่า, และลงทุนด้านอสังหาฯ ของคุณ เพราะเราเข้าใจดีว่าในแต่ละขั้นตอนมีความยุ่งยากซับซ้อน และในบางครั้งเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจจนต้องการความช่วยเหลือ หรือหาใครสักคนที่คอยให้คำแนะนำให้เดินหน้าต่อไปได้ และเราจะขอเป็นคน ๆ นั้นที่คอยช่วยเหลือคุณ 

สำหรับการปรับแบรนด์ในครั้งนี้ มีการปรับรายละเอียดที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเราได้มากยิ่งขึ้น  โดยทุกคนจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของเรา ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ รวมไปถึงเว็บไซต์, แอปพลิเคชัน และสื่อโซเชียลมีเดียของเรา” 

การปรับแบรนด์ของกรุ๊ปที่มุ่งเน้นการให้ “คำแนะนำ” ในครั้งนี้ เป็นการผสมผสานโปรดักส์และโซลูชั่นจากหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท ภายใต้สโลแกน “จากบ้านของเรา…สู่บ้านของคุณ” สะท้อนให้เห็นถึงความหมายที่หลากหลายของคำว่า “บ้าน” สำหรับแต่ละคน (ไม่ว่าจะเป็น ผู้คนที่กำลังค้นหา, เจ้าของ, เอเจนต์, ผู้พัฒนาโครงการ, ธนาคาร หรือแม้แต่นักประเมินค่าทรัพย์สิน) บ้านอาจจะเป็นสถานที่สำหรับพำนักอาศัย แต่สำหรับบางคน บ้านเป็นเสมือนเป้าหมายของชีวิต แต่ไม่ว่าความหมายของคำว่าบ้านสำหรับคุณจะคืออะไร พร็อพเพอร์ตี้กูรูพร้อมที่จะนำเสนอประสบการณ์, โปรดักส์, บริการ และไอเดียการตลาดที่พัฒนาโดยใช้ข้อมูลช่วยสนับสนุน เพื่อให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพกับผู้บริโภคและลูกค้าของเราตลอดการเดินทางบนเส้นทางอสังหาฯ” 

นอกจากนี้ กรุ๊ปยังได้เปิดตัวแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2565 โดยมีการเปิดตัวโลโก้ใหม่ที่เป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อถือในภาคธุรกิจอสังหาฯ พบกับแบรนด์แคมเปญครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้ตามสื่อต่าง ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม โดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุก ๆ เซ็กเมนต์ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังจะซื้อหรือเช่าอสังหาฯ ผู้ขาย, เอเจนต์ และกลุ่มลูกค้าองค์กร ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับแบรนด์แคมเปญในไทยครั้งนี้ได้ที่นี่   

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

By Thawipong Anotaisinthawee, Country Manager, Nutanix (Thailand)

Technology adoption in healthcare has been historically slow compared to other industries, mostly due to its highly regulated nature. For a long time, cloud adoption was no different. However, a recent study by Nutanix predicts healthcare cloud adoption will rise from 27 per cent to 51 per cent in the next three years. The growth will be spurred on by public, private, and hybrid multicloud solutions which open the gate for clinical and non-clinical applications beyond traditional data management.

Throughout the pandemic, digital healthcare delivery increased. Providers required intelligent, scalable, and secure solutions to support their response to the public health emergency and maintain patient engagement. Health providers were required to track patients’ infection rates, manage vaccinations, and tackle a multitude of overly clinical tasks. Consequently, the amount of data produced has never been greater. This requires increasingly sophisticated collection methods and analysis – much of which has occurred in the cloud.

Healthcare providers are also finding new non-clinical applications for the cloud, such as resource planning and supply chain management. However, as the applications and benefits of the cloud become more apparent, where should these organisations look to invest?

Clinical cloud benefits

Although the hybrid multicloud is the most popular IT architecture worldwide, the 2022 Nutanix Enterprise Cloud Index survey found that 30 per cent of healthcare respondents preferred the private cloud as their preferred IT model. The majority (70 per cent) cite security and privacy requirements as being the main obstacles to adopting other forms of cloud, limiting many to private cloud solutions.

However, the public cloud offers numerous benefits that should not be overlooked. Predictive and reactive real-time analytics have become vital tools for healthcare providers, especially as more data is created and stored. Additionally, patient and healthcare devices generate vast amounts of medical data in many different languages. Such information is often spread across multiple electronic health record instances, inhibiting holistic insights. The public cloud allows providers to easily consolidate and manage incoming data from multiple sources before migrating more sensitive information to a secure environment.

When considering cloud solutions in healthcare, it will be key to address the main concerns providers have, from interoperability, security, and cost to data integration. Enter hybrid multicloud which enables providers to use private and public clouds.  Patients want to know their providers can quickly access data to make sound decisions about their care, and providers require easier access to more patient information and data about their facilities and organisations. With the right mix of private and public clouds in a hybrid multicloud environment, organisations can achieve both.

Security must be considered

When managing sensitive data, security and privacy must remain a priority. Some healthcare organisations spend hundreds of thousands of dollars on perimeter and internal endpoint security, which is managed by cloud-based solutions. Especially with the healthcare cloud computing market is expected to hit $128.19 billion by 2028, with an almost 20 per cent CAGR through 2028, security will continue to be top of mind.

Operating through a hybrid multicloud environment means providers can respond much faster than with on-premises infrastructure that could potentially be compromised. The security posture of major cloud providers has been proven to be as good as or better than most enterprise data centres.  Hybrid multicloud also allows providers to implement information air gaps, securing sensitive data or backups in a separate, disconnected environment. This would limit intruder access to critical information and increase the chance of a full recovery following an attack.

Hybrid multicloud environments give providers the best of both worlds, allowing organisations to maintain a cloud environment that enables a combination of security and cost savings at the same time. The most security-focused data and workloads are kept in private clouds while running regular data and apps in cost-effective public cloud networks.

Flexibility, scalability, and the patient experience

The increased need for flexible solutions continues to impact IT decisions. Health providers need infrastructure that allows them to move data between environments more seamlessly. Cloud computing allows businesses to be more flexible – both in and out of the workplace and across multiple data environments. This level of flexibility helps improve the speed at which practitioners can work and deliver care, therefore improving the patient experience

Hybrid multicloud is here to stay, but numerous challenges remain as regulations drive many healthcare organisations’ IT deployment decisions. Despite this, the past two years have influenced healthcare organisations to accelerate – among other innovations – telehealth adoption, allowing them to see more patients safely, scale operations rapidly, and recognise the benefit digital and cloud services can have on patient engagement.

Nutanix-The-future-of-healthcare-is-in-the-cloud-web

As digital services continue to grow in complexity, patients and providers require easier access, control over, and visibility of their data to improve business outcomes and patient care. By investing in both private and public clouds in a hybrid multicloud environment, providers can achieve this, leveraging the efficiency of the public cloud alongside the security and control that private clouds can deliver.

How Thailand’s healthcare industry is embracing new technologies

Songkhlanagarind Hospital, a leader in delivering medical services to 14 southern provinces, is proof that Thailand has continually implemented innovative medical and public health technology for a very prolonged period. Using Nutanix technology, the hospital has enabled the medical staff to give medical consultations utilizing their mobile devices to view information on its Intranet, effectively allowing access to the HIS application and patient medical records from anywhere, at any time.

In the overall scheme of the nation, the Ministry of Public Health in Thailand offers various applications, including for health care and Covid-19. In response to the COVID-19 outbreak, the National Health Security Office (NHSO) has cooperated with the private sector to provide telemedicine services via various applications.

As the Covid-19 situation has become better, the Thai Ministry of Public Health has upgraded “Doctor Ready (Morprompt)”, a central database platform for storing COVID-19 vaccination information for over 32 million people, to be a digital health platform that Thai citizens can utilize to access services more efficiently with incorporating new capabilities including telemedicine. Furthermore, the back-office system has been developed to link all health care units to information and electronic transaction security following international standards. In addition, there is cooperation from many parties to build a system for using cloud-based digital health information per medical and public health standards. The collaboration demonstrates that both public and private sectors in this industry will continue to adopt cutting-edge technologies, including cloud computing, to enhance the efficiency of the healthcare industry for tomorrow.

คลาวด์ประเภทใด เหมาะสำหรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคต

The future of healthcare is in the cloud, but is it public, private or both?

คลาวด์ประเภทใด เหมาะสำหรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคต

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

บทความโดย นายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

อุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงระบบคลาวด์มาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป อันเนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่ต้องมีกฎระเบียบเข้มงวดรัดกุม ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของนูทานิคซ์ คาดการณ์ว่าการใช้คลาวด์ในอุตสาหกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 27 เปอร์เซ็นต์ เป็น 51 เปอร์เซ็นในอีกสามปีข้างหน้า การเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้พับลิคคลาวด์ ไพรเวทคลาวด์ และไฮบริดมัลติคลาวด์ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันที่ให้การวินิจฉัย รักษา หรือดูแลผู้ป่วยโดยตรง (clinical applications) และแอปพลิเคชันที่ใช้สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย (non-clinical applications) ได้ล้ำหน้ากว่าการบริหารจัดการข้อมูลแบบเดิม ๆ

การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลาที่โควิด-19 ระบาดผู้ให้บริการด้านนี้จำเป็นต้องติดตามอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วย ต้องบริหารจัดการการฉีดวัคซีน และติดตามปริมาณงานด้านการรักษาพยาบาลที่มากเกินไปจำนวนมาก ทำให้มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต้องใช้วิธีการรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และส่วนมากวิธีการเหล่านี้อยู่บนระบบคลาวด์

ผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ยังต้องการ non-clinical applications ที่ทำงานบนคลาวด์ เช่น การวางแผนทรัพยากรและการจัดการซัพพลายเชน เมื่อมีความต้องการแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ทำงานบนคลาวด์มากขึ้น และได้เห็นประโยชน์ของคลาวด์ชัดเจนขึ้น แล้วองค์กรด้านนี้ควรลงทุนกับคลาวด์ประเภทใด

ประโยชน์ของคลาวด์ต่อการให้การรักษาพยาบาล

แม้ว่าไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นสถาปัตยกรรมด้านไอทีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก แต่ผลสำรวจ Nutanix Enterprise Cloud Index ประจำปี 2565 พบว่า 30 เปอร์เซ็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขยกให้ไพรเวทคลาวด์ เป็นรูปแบบไอทีที่เลือกใช้ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) อ้างถึงความต้องการด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำคลาวด์ประเภทอื่นมาใช้ ทำให้ส่วนมากจำกัดการใช้อยู่ที่โซลูชันด้านไพรเวทคลาวด์

พับลิคคลาวด์มีประโยชน์มากมายที่ไม่ควรมองข้าม เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เชิงคาดการณ์และเชิงโต้ตอบ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการสร้างและเก็บข้อมูลมากขึ้น นอกจากนี้ อุปกรณ์ด้านการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์ของผู้ป่วยก็สร้างข้อมูลทางการแพทย์จำนวนมากและหลายภาษา ข้อมูลเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ตามอินสแตนซ์การเก็บข้อมูลด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ทำให้ยากที่จะได้ข้อมูลเชิงลึกแบบองค์รวม แต่พับลิคคลาวด์ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านนี้สามารถผสานรวมและบริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลจำนวนมาก ก่อนที่จะย้ายข้อมูลที่อ่อนไหวง่ายไปไว้บนสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

การใช้โซลูชันคลาวด์ในวงการแพทย์และสาธารณสุข คือกุญแจสำคัญที่ช่วยจัดการกับความกังวลต่าง ๆ ให้กับผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกัน ความปลอดภัย และค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการผสานรวมข้อมูลไว้ด้วยกัน การเก็บข้อมูลบางประเภทไว้บนไพรเวทคลาวด์ แต่บางประเภทอยู่บนพับลิคคลาวด์ เมื่อเกิดความต้องการต่าง ๆ ขึ้น เช่น ผู้ป่วยต่างต้องการรับรู้ว่าผู้ให้บริการของตนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตัดสินใจได้ว่าจะรักษาดูแลเขาอย่างไร และผู้ให้บริการก็ต้องการวิธีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ต่าง ๆ และข้อมูลองค์กรของตนได้ง่ายขึ้น ความต้องการเช่นนี้สามารถจัดการได้ด้วยการใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์ ที่ช่วยให้ใช้งานได้ทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์และการผสมผสานที่ลงตัวของไพรเวท และพับลิคคลาวด์ในสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์นี้เองที่ช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการต่าง ๆ ได้

ต้องคำนีงถึงความปลอดภัย

การบริหารจัดการข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นอันดับแรก องค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุขบางแห่งใช้งบหลายแสนดอลลาร์กับเรื่องของความปลอดภัยทั้งจุดที่มีการใช้งานภายใน และส่วนที่ติดต่อกับภายนอกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริหารจัดการด้วยโซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์ และความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการคาดการณ์ว่า ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งของวงการแพทย์และสาธารณสุขจะแตะระดับ 128.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (GAGR) เกือบ 20 เปอร์เซ็นจนถึงปี 2571

การทำงานผ่านสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถตอบสนองได้เร็วกว่าการทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานระบบปิดที่อยู่ในองค์กร ซึ่งเป็นจุดที่จะถูกโจมตีได้ง่าย  แนวทางด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ดีหรือดีกว่าดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ไฮบริดมัลติคลาวด์ยังช่วยให้ผู้ให้บริการใช้วิธีการเปิดช่องว่างให้กับข้อมูล (information air gaps) ที่เป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย หรือสำรองข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่แยกออกต่างหากไม่เชื่อมต่อกัน ซึ่งจะจำกัดผู้บุกรุกไม่ให้เข้าถึงข้อมูลสำคัญและเพิ่มโอกาสในการเรียกคืนข้อมูลและระบบหลังการถูกโจมตี

สภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ช่วยให้ผู้ให้บริการได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุดจากทั้งไพรเวทและพับลิค คลาวด์ ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ คงสภาพแวดล้อมคลาวด์ที่มีทั้งความปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย ในเวลาเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลและเวิร์กโหลดที่ต้องการความปลอดภัยมากที่สุดไว้บนไพรเวทคลาวด์ ในขณะเดียวกันก็วางข้อมูลและแอปพลิเคชันทั่วไปไว้บนเครือข่ายพับลิคคลาวด์ต่าง ๆ ที่คุ้มค่าใช้จ่าย

ความยืดหยุ่น การปรับขนาดได้ และประสบการณ์ของผู้ป่วย

ความต้องการโซลูชันที่ยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น ยังคงส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านไอที ผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขต้องการโครงสร้างพื้นฐานไอที ที่ช่วยให้เคลื่อนย้ายข้อมูลไปมาระหว่างสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น คลาวด์คอมพิวติ้งช่วยให้ธุรกิจยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน และไม่ว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนสภาพแวดล้อมใดก็ตาม ระดับความยืดหยุ่นนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงาน และให้บริการด้านการดูแลสุขภาพได้เร็วขึ้น และส่งผลต่อเนื่องในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วยด้วย

ไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แต่ความท้าทายยังคงมีอยู่อีกมาก เพราะการตัดสินใจเลือกใช้โซลูชันด้านไอทีขององค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ต้องพิจารณาถึงกฎระเบียบต่าง ๆ เป็นสำคัญอย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดสองปีที่ผ่านมามีอิทธิพลต่อองค์กรด้านการแพทย์ และสาธารณสุขให้รีบเร่งพิจารณานวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้เทเลเฮลท์ ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการพบ และให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย, ขยายการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว, และตระหนักว่าดิจิทัลและบริการคลาวด์ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมมากขึ้น

Nutanix-The-future-of-healthcare-is-in-the-cloud-web

การที่บริการดิจิทัลมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ผู้ป่วยและผู้ให้บริการต้องการวิธีการง่าย ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล ควบคุม และมองเห็นข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจ การลงทุนทั้งไพรเวทและพับลิคคลาวด์บนสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ จะช่วยให้ผู้ให้บริการ สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยใช้คุณประโยชน์ด้านประสิทธิภาพของพับลิคคลาวด์ ควบคู่กับความปลอดภัย และความสามารถในการควบคุมที่ไพรเวทคลาวด์มีให้

อุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทยเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ผู้นำในการให้บริการทางการแพทย์ในภาคใต้ของไทย เป็นหนึ่งสถาบันทางการแพทย์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าได้มีการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้งานทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว โรงพยาบาลได้ใช้โซลูชันของนูทานิคซ์ เสริมศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้สามารถให้คำปรึกษาต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์มือถือ สามารถเข้าใช้งานข้อมูลบนอินทราเน็ต เข้าใช้แอปพลิเคชัน HIS และเวชระเบียนของผู้ป่วยได้จากทุกที่ทุกเวลา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการ

ในภาพรวมของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้จัดหาแอปพลิเคชันหลากหลาย ทั้งด้านการดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ และแอปพลิเคชันที่ใช้รับมือกับการระบาดของโควิด-19 เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนให้บริการระบบการแพทย์ทางไกลผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ

เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง กระทรวงสาธารณสุขไทยได้ทำการ ยกระดับ “หมอพร้อม” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีผู้ใช้งานประมาณ 32 ล้านคน ให้เป็นแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ Digital Health Platform เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการง่ายกว่าเดิม โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลากหลายรวมถึง เทเลเมดิซีน และพัฒนาระบบหลังบ้านให้รองรับการเชื่อมโยงกับหน่วยบริการสาธารณสุขทุกสังกัด มีระบบความปลอดภัยข้อมูลและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือจากหลายฝ่ายเพื่อพัฒนาระบบให้มีการใช้ข้อมูลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งตามมาตรฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ความเคลื่อนไหวต่อเนื่องนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งภาครัฐและเอกชนจะยังเดินหน้านำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งรวมถึงคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการให้บริการด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

Alibaba Cloud เผยแผนงานกลยุทธ์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ

Alibaba Cloud เผยแผนงานกลยุทธ์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ

Alibaba Cloud เผยแผนงานกลยุทธ์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ

ผู้นำคลาวด์ระดับโลกให้คำมั่นในการลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับระบบนิเวศ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างครบวงจรด้วยบริการด้านต่าง ๆ เต็มรูปแบบ

อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป เผยแผนงานกลยุทธ์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศล่าสุด ในงาน Alibaba Cloud Summit ประจำปี 2022 โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับองค์กร รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศด้านพันธมิตรทั่วโลกด้วยเงินลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการยกระดับบริการลูกค้าในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การสนับสนุนอย่างครอบคลุมตลอดเส้นทางที่ลูกค้าปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินธุรกิจให้เป็นดิจิทัล

ดร. ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่

ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม 4.0 ที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ประโยชน์จากระบบดิจิทัลและข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เราเห็นทั้งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลายด้าน รวมไปถึงปริมาณข้อมูล การขยายตัวของระบบนิเวศอัจฉริยะ และการทำธุรกรรมออนไลน์หรืออี-คอมเมิร์ซที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในขณะที่เรากำลังพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถ รวมไปถึงความก้าวหน้าทางดิจิทัล ก็มีความท้าทายต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน อาทิ การขาดแคลนแรงงานด้านดิจิทัล และผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างอาลีบาบา คลาวด์ ที่ได้ให้คำมั่นในการเข้ามามีส่วนสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เราเผชิญอยู่ในเวลานี้”

ขับเคลื่อนนวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เชื่อถือได้

ระหว่างงาน Alibaba Cloud Summit ประจำปี 2022 นี้ อาลีบาบา คลาวด์ ได้ลงนามข้อตกลงเกือบ 30 ฉบับ เพื่อช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งชั้นนำเพื่อเร่งขีดความสามารถด้านนวัตกรรมดิจิทัลของตน

ตัวอย่างความร่วมมือ – อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับ MetaverseXR ซึ่งเป็นบริษัทด้านเมตาเวิร์สชั้นนำของไทย เปิดตัวโซลูชันด้านเมตาเวิร์สครบวงจรสำหรับตลาดไทย เพื่อเติมเต็มความต้องการใช้ web3.0 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศ นอกจากนี้ อาลีบาบา คลาวด์ ได้ร่วมมือกับ True IDC ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ชั้นนำ มุ่งมั่นใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งสนับสนุนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลให้กับธุรกิจไทย และขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย (TFA) เพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัปและผู้ประกอบการด้านฟินเทคต่าง ๆ ในประเทศ ด้วยการใช้ความเชี่ยวชาญเชิงลึกและเทคโนโลยีล่าสุดสนับสนุนนวัตกรรมดิจิทัลให้กับบริษัทเหล่านี้

นายไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “เราเน้นย้ำพันธสัญญาของเราต่อตลาดไทย ด้วยการขยายระบบนิเวศด้านพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสนับสนุนลูกค้าของเรา  เราขอขอบคุณลูกค้าและพันธมิตรไทยที่ให้ความไว้วางใจและสนับสนุนตลอดมา เราจะเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรม และนำเทคโนโลยีโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสูงมาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของลูกค้าและพันธมิตรไทย”

นายธีรพันธุ์ เจริญศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรู ไอดีซี กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่า การเป็นพันธมิตรกับอาลีบาบา คลาวด์ จะช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้กว้างไกลมากขึ้น  อาลีบาบา คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่สุดของโลก เราจึงมั่นใจว่าความร่วมมือครั้งนี้ รวมถึงประสบการณ์ด้านองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญพิเศษของเรา จะช่วยเร่งให้ประเทศไทยเดินไปบนเส้นทางดิจิทัลได้เร็วขึ้น”

เน้นประโยชน์ที่พันธมิตรจะได้รับ เพื่อสร้างระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่ครอบคลุม

กลยุทธ์ด้านระบบนิเวศที่ปรับใหม่นี้ อาลีบาบา คลาวด์ ประกาศความมุ่งมั่นใช้งบประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับพันธมิตร และสนับสนุนพันธมิตรให้ขยายตลาดด้วยเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ ภายในระยะเวลาสามปีงบประมาณ การลงทุนนี้ประกอบด้วยรางวัลทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การให้เงินทุน การให้เงินคืน และความคิดริเริ่มในการนำเสนอสินค้าและบริการออกสู่ตลาด (go-to-market)

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้ออกโปรแกรม “Regional Accelerator” เพื่อเร่งสร้างการเติบโตให้กับพันธมิตร โดยให้พันธมิตรที่ดำเนินธุรกิจในตลาดที่แตกต่างกันได้ปรับรูปแบบการทำธุรกิจร่วมกันให้เหมาะกับตลาดในแต่ละท้องถิ่น  รูปแบบนี้ได้รับการออกแบบโดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับความเข้าใจทางเทคโนโลยีของตลาด การเจาะตลาดเฉพาะทาง ความต้องการด้านดิจิทัล และความต้องการทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้และส่งเสริมความเชี่ยวชาญทางเทคนิคให้กับพันธมิตร  ระบบนิเวศด้านพันธมิตรของอาลีบาบา คลาวด์ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ ประกอบด้วย ผู้ค้าปลีก พันธมิตรทางเทคโนโลยี (ISV, SaaS และ SI) และพันธมิตรด้านการให้บริการและคำปรึกษา

คุณเซลิน่า หยวน ประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “อาลีบาบา คลาวด์ ให้ความสำคัญกับพันธมิตรเสมอมา  เรามุ่งมั่นให้การสนับสนุนพันธมิตรอย่างแข็งขัน เพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าทั้งในแง่ของเทคโนโลยี และในเชิงธุรกิจ เพื่อเสริมขีดความสามารถให้กับลูกค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมของเรา  กลยุทธ์ด้านพันธมิตรที่ปรับใหม่ของเรานี้ ให้ความสำคัญกับการเติบโตของพันธมิตร ด้วยการให้การสนับสนุนการขยายธุรกิจของพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสามารถสร้างระบบนิเวศที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรและลูกค้าได้”

เพื่อจัดการกับความซับซ้อนต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศให้กับพันธมิตร อาลีบาบา คลาวด์ ได้พัฒนารูปแบบความร่วมมือกับพันธมิตรกลุ่มที่พัฒนา ผลิต และจำหน่ายซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (ISV) โดยเน้นความสำคัญในการยกระดับความร่วมมือในอุตสาหกรรม กำหนดมาตรฐานกระบวนการส่งสินค้าและบริการออกสู่ตลาด และเร่งกระบวนการทางเทคนิคในการผสมผสานโซลูชันเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน  อาลีบาบา คลาวด์ หวังว่าจะสรรหาพันธมิตรกลุ่ม ISV ที่ดูแลบริการด้านการเงิน ค้าปลีก อินเทอร์เน็ต และการผลิต มากขึ้นในอนาคต เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และสนับสนุนด้านนวัตกรรมให้กับลูกค้า

ปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ทำงานกับพันธมิตรราว 11,000 รายทั่วโลก เช่น Salesforce, VMware, Fortinet, IBM และ Neo4j 

เสริมศักยภาพให้ลูกค้า ด้วยการสนับสนุนที่ครอบคลุมครบทุกความต้องการ

อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดตัวโปรแกรม “Global Delivery and Service Program” เพื่อให้บริการและนำเสนอโซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์รอบด้าน และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการใช้คลาวด์ให้กับลูกค้าทุกราย  ภายใต้โปรแกรมนี้ อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดศูนย์บริการลูกค้าสามแห่งคือ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (ประเทศมาเลเซีย) ปอร์โต (ประเทศโปรตุเกส) และเม็กซิโกซิตี้ (ประเทศเม็กซิโก) เพื่อสนับสนุนลูกค้าในการใช้คลาวด์ ให้คำปรึกษา และให้บริการโยกย้ายข้อมูลและแอปพลิเคชันบนคลาวด์ได้ตามกำหนดเวลาของลูกค้าในแต่ละภูมิภาค

นอกจากศูนย์บริการลูกค้าสามแห่งนี้แล้ว อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้จัดตั้งศูนย์ให้บริการ (Service Delivery Centers) อีกสามแห่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ (ประเทศมาเลเซีย) ดูไบ (ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และฮ่องกง (ประเทศจีน) เพื่อสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มเติมให้แก่สำนักงานและโครงการระดับภูมิภาคของลูกค้าในเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา

นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเสริมพลังให้กับการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาลีบาบา คลาวด์ ตอบรับความต้องการขององค์กรจำนวนมากที่ย้ายไปใช้คลาวด์ และต้องการบริการด้านคลาวด์บนสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดมากขึ้น ด้วยชุดผลิตภัณฑ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ได้รับการยอมรับและพร้อมให้บริการแล้วทั่วโลก ประกอบด้วย คลาวด์-เนทีฟ ดาต้าเบสหลายรุ่น และบริการดิสทริบิ้วเต็ดคลาวด์ต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ลูกค้าองค์กรสามารถใช้บริการคลาวด์ในขอบเขตที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั้งเน็ตเวิร์ก สตอเรจ และการประมวลผล ผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว ประกอบด้วย

    • Cloud Enterprise Network (CEN) 2.0 ที่รองรับความสามารถด้านเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่พิเศษ (ultra-large-scale networking) ด้วยความพร้อมใช้งานที่สูงขึ้น ค่าลาเทนซีที่ต่ำกว่า และการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น
    • ESSD Auto PL ผลิตภัณฑ์ด้านสตอเรจ ที่ให้บริการแบบ block storage รองรับการปรับขนาดแบบอัตโนม้ติภายในไม่กี่วินาที เพื่อช่วยให้ธุรกิจรับมือกับปริมาณการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
    • Lindorm คลาวด์เนทีฟดาต้าเบสหลากหลายรูปแบบของอาลีบาบา คลาวด์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ออกแบบมาเพื่อตอบความต้องการด้านการประมวลผลแบบ fusion-processing สำหรับตารางขนาดใหญ่, time series, space-time และ unstructured data ประเภทต่าง ๆ
    • ACK One (Alibaba Cloud Distributed Cloud Container Platform) แพลตฟอร์มการบริหารจัดการคอนเทนเนอร์หลายคลัสเตอร์และหลายภูมิภาค เพื่อมอบประสบการณ์การบริหารจัดการ การให้บริการ และการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันแก่องค์กรต่าง ๆ และเมื่อต้นปีนี้ อาลีบาบา คลาวด์ ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในกลุ่ม “ผู้นำ” ในรายงาน Forrester WaveTM Public Cloud Container Platforms Q1 2022 เป็นครั้งแรก จากบรรดาผู้ให้บริการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมจำนวนแปดรายที่ได้รับการประเมิน
  •  
  •  
  •  

ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหวังซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ จริงหรือ?

ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหวังซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ จริงหรือ?

ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหวังซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณฟื้นตัวของอสังหาฯ จริงหรือ?

เศรษฐกิจไทยในเวลานี้อยู่ในภาวะเปราะบาง อันเนื่องจากปัจจัยท้าทายที่ยืดเยื้อจากการแพร่ระบาดฯ ผนวกกับภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ล้วนฉุดให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ และเมื่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงแผนการเงินของผู้บริโภค และกลายเป็นความท้าทายระลอกใหม่ของผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้ ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของภาครัฐ พร้อมทั้งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยบวกที่ดึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาอีกครั้ง ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือนสิงหาคม 2565 ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 43.7 จากระดับ 42.4 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน 

ขณะที่ตลาดอสังหาฯ แม้ไม่ได้มีการเติบโตหวือหวา แต่เห็นสัญญาณบวกจากการที่ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ กลับมาเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาโครงการให้ตอบโจทย์คนหาบ้านในยุคนี้มากขึ้น ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 51% จากเดิมที่มีเพียง 45% ในรอบก่อน สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้นในตลาดอสังหาฯ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการยังเลือกตรึงราคาที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับกำลังซื้อในช่วงนี้ จึงทำให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีความพร้อม สามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังพบว่าความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นเป็น 67% จากเดิม 62% ในรอบก่อน ส่งสัญญาณการกลับมาฟื้นตัวของดีมานด์ฝั่งคนหาบ้านที่เริ่มเชื่อมั่นในการใช้จ่ายอีกครั้ง

ไขคำตอบ คนไทยพร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยหรือยัง

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (57%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 1 ปีข้างหน้านี้ ขณะที่อีก 7% ยังคงเลือกเช่าที่อยู่อาศัยต่อไป ส่วน 35% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยในช่วงนี้ 

ส่วนเหตุผลสำคัญอันดับต้น ๆ ของกลุ่มผู้ที่ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการอยู่อาศัยเป็นหลัก โดย 43% ต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น รองลงมาคือต้องการเพิ่มพื้นที่รองรับบุตรหลาน/พ่อแม่ และซื้อไว้เพื่อลงทุนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน (30% และ 29% ตามลำดับ) 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความพร้อมในการวางแผนการเงินก่อนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย พบว่ามีผู้บริโภคเพียง 1 ใน 4 (25%) เท่านั้นที่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (47%) ยังเก็บเงินได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วนอีก 22% ยังไม่ได้เริ่มวางแผนออมเงินใด ๆ สะท้อนให้เห็นว่าแม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้นี้ แต่หากขาดการวางแผนทางการเงินที่รอบคอบก็ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเมื่อต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคต 

นอกจากนี้ พบว่าสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคจำเป็นต้องเช่าที่อยู่อาศัยต่อไป โดยเกือบครึ่ง (48%) ของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้า เผยว่าไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ส่วนเกือบ 2 ใน 5 (39%) เลือกที่จะเช่าเพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่า ขณะที่ 1 ใน 4 ยังมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในเวลานี้ (27%) และมองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงไป จึงเลือกเก็บออมเงินไว้มากกว่าที่จะซื้อที่อยู่อาศัยตอนนี้ (25%) 

เจาะลึกความท้าทายของคนหาบ้าน สั่นคลอนแผนซื้อที่อยู่อาศัยมากน้อยแค่ไหน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด สะท้อนทัศนคติและมุมมองคนหาบ้านชาวไทยที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยปัจจุบัน ท่ามกลางความท้าทายที่ถาโถมรอบด้าน ซึ่งล้วนสร้างความกังวลและสั่นคลอนแผนการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย 

    • “การเงิน” ความท้าทายหลักเมื่อคิดซื้อบ้าน การซื้อที่อยู่อาศัยแม้จะมีราคาสูงและระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน แต่ถือเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ ท่ามกลางความท้าทายรอบด้านที่ส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกระทบมาสู่ผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินตามไปด้วย ข้อมูลจากผลสำรวจ CHAMBER BUSINESS POLL: “สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2565” ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ปีนี้คนไทยมีหนี้สินถึง 99.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับจากที่มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2550 และพบว่าเป็นหนี้จากที่อยู่อาศัย 35.7% ซึ่งสอดคล้องกับแบบสอบถามฯ DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ที่เผยว่า ผู้บริโภคถึง 4 ใน 5 (80%) ยังคงต้องเผชิญความท้าทายจากปัญหาการเงินเมื่ออยากมีบ้าน โดยความท้าทายอันดับต้น ๆ มาจากการหาแหล่งเงินกู้ในการซื้อที่อยู่อาศัย (54%) และยื่นขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ยากขึ้น (44%) ดังนั้น คนซื้อบ้านในยุคนี้จึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งประเมินภาระค่าใช้จ่ายให้รอบด้านก่อนตัดสินใจ 
DDproperty-CSS-H2-2022-TH_Info
    • อย่าผลีผลามเมื่อเจอที่อยู่อาศัยในทำเลที่ถูกใจ ระวังเหตุไม่คาดฝัน การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตเป็นความท้าทาย โดยผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53%) มองว่าการหาทำเลที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องท้าทายและใช้เวลาค้นหาไม่น้อย ซึ่งนอกจากจะต้องเดินทางสะดวก อยู่ในทำเลที่มีความเจริญ รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาฯ ได้ในอนาคตแล้ว นอกจากนี้ อีกข้อสำคัญควรพิจารณาคือข้อมูลและข่าวสารว่าทำเลนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ไม่เป็นผลดีมากน้อยเพียงใด เช่น พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก/อุทกภัย พื้นที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีเมื่อมีเหตุโรงงานไฟไหม้หรือระเบิด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและโครงการอสังหาฯ เอง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงผังเมือง หรือแผนการเวนคืนอสังหาฯ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งก็เป็นอีกประเด็นที่ควรศึกษาเช่นกัน เพื่อให้สามารถคัดเลือกที่อยู่อาศัยในทำเลที่ถูกใจและอยู่ได้ในระยะยาว
    • “เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยสูง” ฉุดคนชะลอซื้อบ้านหลังที่สอง นอกเหนือจากผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องแล้ว ในปีนี้ยังมีความท้าทายจากสถานการณ์เงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามาสร้างความกังวลให้ผู้บริโภคอีกระลอก ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนสิงหาคม 2565 อยู่ที่ 7.86% ถือเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อ กนง. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงยิ่งสร้างความกังวลใจและกระทบกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยไม่น้อยเมื่อต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้วและวางแผนซื้อบ้านหลังที่สองเพิ่มในอีก 1 ปีข้างหน้า มากกว่าครึ่ง (59%) เผยว่าจะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับอีก 58% ที่เลือกชะลอแผนการซื้อไปก่อนเช่นกันหากเงินเฟ้อยังไม่กลับสู่ระดับปกติ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินปัจจุบันและรอประเมินสถานการณ์ในอนาคต
    • หวังภาครัฐช่วยลดดอกเบี้ย จูงใจซื้อบ้านยุคเงินเฟ้อ แม้ปีนี้คนหาบ้านจะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปี แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว พบว่าช่วงเวลานี้ยังคงเป็นโอกาสที่ดีในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย โดยข้อมูลจากแบบสอบถามฯ เผยว่าผู้บริโภคมากกว่า 4 ใน 5 คาดว่าอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ และราคาที่อยู่อาศัยจะมีการปรับเพิ่มขึ้นภายใน 1 ปีข้างหน้า ดังนั้น การมีมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ จากภาครัฐจึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เมื่อเจาะลึกถึงมาตรการช่วยเหลือและสนับสนุนที่คนหาบ้านคาดหวังจากภาครัฐท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อสูงในตอนนี้ พบว่า กว่า 3 ใน 5 (62%) ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเพิ่มเติมอีก ขณะที่มากกว่าครึ่ง (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดดอกเบี้ยทั้งสินเชื่อบ้านที่กู้ใหม่และที่มีอยู่ ตามมาด้วยคาดหวังว่าจะมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก (44%) เพื่อส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงานและเริ่มสร้างครอบครัว ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้บริโภคอายุระหว่าง 22-29 ปี
DDproperty-CSS-H2-2022-TH