ครั้งแรก! 2 ผู้นำพร็อพเทคไทย “Think of Living – ดีดีพร็อพเพอร์ตี้” ผนึกกำลัง ปลุกตลาดอสังหาฯ คึกคักส่งท้ายปีในงาน “Living Expo 2022”

ครั้งแรก! 2 ผู้นำพร็อพเทคไทย "Think of Living - ดีดีพร็อพเพอร์ตี้" ผนึกกำลัง ปลุกตลาดอสังหาฯ คึกคักส่งท้ายปีในงาน “Living Expo 2022”

ครั้งแรก! 2 ผู้นำพร็อพเทคไทย "Think of Living - ดีดีพร็อพเพอร์ตี้" ผนึกกำลัง ปลุกตลาดอสังหาฯ คึกคักส่งท้ายปีในงาน “Living Expo 2022”

งานรวมบ้าน-คอนโดฯ ใกล้รถไฟฟ้า และบ้านตากอากาศ กว่า 100 โครงการ

“Think of Living” เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย ผนึกกำลัง “ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty)” เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย สองบริษัทในเครือบริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (NYSE: PGRU) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาฯ หรือพร็อพเทค (PropTech) ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศจัดงาน “Living Expo 2022” มหกรรมคอนโดฯ และบ้านครั้งยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 24 ถึง 27 พฤศจิกายน ณ สยามพารากอน ยกขบวนที่อยู่อาศัยจากบรรดาผู้ประกอบการชั้นนำกว่า 100 โครงการในทำเลศักยภาพแนวรถไฟฟ้า เสริมทัพด้วยโครงการบ้านพักตากอากาศสุดหรู จัดโปรโมชั่นมากมายจากผู้ประกอบการหวังกระตุ้นการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 

งาน “Living Expo 2022” ครั้งนี้จัดในคอนเซ็ปต์ “Anytime Anywhere” ที่นำประสบการณ์ซื้อขายอสังหาฯ ในบรรยากาศที่คุ้นเคยมาให้กับผู้สนใจและผู้เข้าชม ควบคู่ไปกับแบบ Virtual Living Expo ที่อำนวยความสะดวกและเชื่อมโยงให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกันได้อย่างราบรื่น พิเศษสุด ๆ กับหนังสือ “อยู่ได้ ไม่ใช่แค่ ได้อยู่” กูรูออฟไลน์ที่ให้คำแนะนำผู้ซื้อบ้านเพื่อยกระดับการเลือกที่อยู่อาศัยให้รองรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์วิถีใหม่ (New Normal) ที่เทรนด์ความต้องการของคนหาบ้านเปลี่ยนไปหลังเผชิญการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 8,000 คน หรือเพิ่มขึ้น 50% จากครั้งก่อนหน้า

งาน “Living Expo 2022” นำผู้ซื้อและนักลงทุนให้กลับมาสู่บรรยากาศการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในรูปแบบปกติ โดยมีผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย อาทิ บริษัท เมเจอร์ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด, บริษัท โบทานิก้า เดอะ วัลเล่ย์ จำกัด, กลุ่มบริษัทบันยันไทยแลนด์, บริษัท คัลเลอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด, บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน), บริษัท เทียนเฉิน อินเตอร์เนชั่นแนล พร็อพเพอร์ตี้ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด, บริษัท ฟินน์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด, บริษัท พีเอ็มที พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด, บริษัท ดิเอเจ้นท์ (พรอพเพอร์ตี้ เอ็กซ์เพิร์ท) จำกัด, บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ฯลฯ ที่พร้อมนำเสนอโครงการคอนโดฯ และบ้านคุณภาพในหลากหลายทำเลแนวรถไฟฟ้า BTS และ MRT ตอบโจทย์การเดินทางของชาวกรุงมาให้เลือกสรรกว่า 380 ยูนิตจากกว่า 80 โครงการ นอกจากนี้ ยังมีโครงการบ้านตากอากาศสุดหรูในเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม ซึ่งตอบสนองเทรนด์การทำงานนอกออฟฟิศแบบ Work from Anywhere ที่ได้รับความนิยมในยุคโควิด-19 นี้ มาให้ผู้ที่วางแผนซื้อบ้านหลังที่สองได้จับจองเป็นเจ้าของอีกด้วย 

นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้เปรียบเทียบและรับข้อเสนอพิเศษของโครงการแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถเสนอขายโครงการไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงเช่นกัน เพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายส่งท้ายปี 2565 ซึ่งถือเป็นช่วงโอกาสทองโค้งสุดท้ายที่ผู้บริโภคยังมีปัจจัยสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยจากมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของภาครัฐ ทั้งมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนอง และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปลายปี 2565 นี้ 

นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และหัวหน้าแผนกมาร์เก็ตเพลสประจำประเทศไทย (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) DDproperty ในฐานะผู้จัดงาน Living Expo 2022 กล่าวว่า “ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยืดเยื้อในไทย ถือเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน เนื่องจากมีทิศทางการเติบโตแปรผันตามสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภค จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ จนปัจจุบันที่ทุกคนมีภูมิต้านทานมากพอที่จะใช้ชีวิตตามปกติแบบ New Normal แล้ว จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะกลับมาจัดงานมหกรรมคอนโดฯ และบ้าน “Living Expo 2022” อีกครั้งในรอบ 3 ปี ซึ่งที่น่าตื่นเต้นกว่านั้นก็คือนี่เป็นครั้งแรกที่ Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ สองบริษัทในเครือ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ได้ผนึกกำลังนำจุดแข็งด้านประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญในแวดวงอสังหาฯ มาทำให้งานครั้งนี้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น” 

“งานดังกล่าวจะผสมผสานการส่งมอบประสบการณ์การซื้อขายที่อยู่อาศัยทั้งรูปแบบออฟไลน์ ณ หน้างาน และการเข้าร่วมงานออนไลน์ Virtual Living Expo by DDproperty x Think of Living โดยติดตามได้ทาง DDproperty Facebook Fanpage ตั้งแต่วันที่ 14-27 พฤศจิกายน 2565 ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการจับคู่ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคกับสินค้าในสต็อกของผู้ประกอบการให้มาบรรจบกัน รวมทั้งช่วยกระตุ้นการซื้อขายในตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้กลับมาเติบโตอย่างคึกคัก แม้ปีนี้จะมีปัจจัยลบเข้ามากระทบแผนการซื้อบ้านของผู้บริโภคบ้าง แต่เชื่อว่าผู้บริโภคมีการวางแผนและเตรียมพร้อมรับมืออย่างดี เห็นได้จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) เดือน ก.ย. 2565 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 44.6 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2565 ถือเป็นสัญญาณบวกสะท้อนให้เห็นทิศทางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่จะกลับสู่ตลาดมากขึ้น” 

“ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า คุณสมบัติที่อยู่อาศัยที่สำคัญมากที่สุดเมื่อผู้บริโภคยังต้องอยู่ร่วมกับโควิด-19 นั้น มากกว่า 3 ใน 5 (64%) ต้องการบ้าน/คอนโดฯ ที่ตั้งอยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามมาด้วยเดินทางสะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (63%) และต้องการพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น (61%) เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ที่มาพร้อมการเรียนและทำงานออนไลน์ นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับระบบระบายอากาศและแสงธรรมชาติ (59%) รวมไปถึงต้องการบ้าน/คอนโดฯ ที่มาพร้อมระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและรองรับ IoT อีกด้วย (36%) สะท้อนให้เห็นว่าการเข้ามาของโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของคนหาบ้านยุคนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบที่อยู่อาศัยรักษ์ธรรมชาติ หรือการนำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพการอยู่อาศัยให้ดีขึ้นอีกด้วย” 

“เราพร้อมเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองร่วมขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ของบริษัทแม่ Think of Living และทำงานร่วมกับดีดีพร็อพเพอร์ตี้เพื่อยืนหยัดเป็นกูรูผู้ให้คำแนะนำด้านอสังหาฯ ที่ทุกคนไว้วางใจ และช่วยให้ทุกก้าวของการตัดสินใจบนเส้นทางอสังหาฯ ของคุณเป็นไปด้วยความราบรื่น และมั่นใจยิ่งขึ้นด้วยเนื้อหาเข้มข้นในหนังสือ Limited edition ของงานปีนี้ที่มาในคอนเซ็ปต์ “อยู่ได้ ไม่ใช่แค่ ได้อยู่” ถ่ายทอดแนวคิดในการเลือกสรรที่อยู่อาศัยยุคใหม่ พร้อมทั้งพลิกมุมมองเพื่อเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเดิมของคุณให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ New Normal ให้ได้มากที่สุด เพราะเราเชื่อมั่นว่าชีวิตที่ดีเริ่มต้นได้ที่บ้าน และทุกคนสามารถสร้างได้” 

งาน “Living Expo 2022” มหกรรมคอนโดฯ และบ้านทำเลสะดวกใกล้รถไฟฟ้า ภายใต้คอนเซปต์ “Anytime Anywhere” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2565 ณ ลานแฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 สยามพารากอน เวลา 11:00 – 21:00 น. มาพร้อมกับหนังสือแจกฟรีสุดพิเศษ “อยู่ได้ ไม่ใช่แค่ ได้อยู่” คู่มือความรู้เพื่อคนรักบ้านยุค New Normal ที่จะชวนทุกคนมาเปลี่ยนชีวิตให้อยู่ง่าย และอยู่สบายทั้งกายและใจหลังยุคโควิด แหล่งความรู้ออฟไลน์ที่จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ได้ง่ายขึ้น หนังสือมีจำนวนจำกัด ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อรับหนังสือฟรี! ณ หน้างาน และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thinkofliving.com/events

Connecting the Dots

Disruption as the new normal?

Connecting the Dots

By Isabella Kusumawati, Vice President and Managing Director for Southeast Asia and Korea, Infor

The value of the market for artificial intelligence (AI) in the food and beverage sector is expected to reach a staggering $29.94 billion by 2026. Already in use by pioneering businesses across the industry, it’s clear that AI is making its presence felt in more ways than one, impacting all aspects of the food supply chain, driving smarter, faster decisions and underpinning that all-important competitive advantage.

Whilst many in the industry have heard of AI, there is still widespread uncertainty as to how AI technologies can be applied and just what benefits can be reaped. Put simply, AI has the potential to optimise all areas of food manufacturing, facilitating smart, industry-specific applications to improve every aspect of the supply chain, from farm to fork, building agile supply chains and driving revenue growth.

Many regard AI as the machinery and technologies used to carry out complex tasks that previously required human thought to complete, but it goes even further than that, enabling new approaches to data analysis that simply are not possible to do manually. This is where AI comes into its own, with the ability to consider an inordinate number of data values, parameters, what-if scenarios and other contributing factors to produce accurate and timely recommendations for almost every aspect of the food supply chain. Ultimately, this provides a competitive advantage that it would be impossible to replicate without the application of AI technologies.

AI in the food industry comprises a number of technologies, from robotics to machine learning, so where are we seeing AI in action across the industry and what impact is it having?

Precision farming

AI technologies are being used to bring new depths of precision to farming. So, this might be analysis of past harvests in terms of both quantity and quality, in combination with weather forecasts to inform which fields need watering and when, or when to use fertiliser perhaps. In the aquaculture sector, there is a business that is using AI technology to ensure accurate doses of feed are administered in shrimp farming, avoiding over and under-feeding. This serves to lower the feed conversion ratio and shortens the shrimp production cycle, doubling production without huge intensification.

Pricing strategy

Again, taking into account numerous factors, the application of AI technologies can inform a more effective pricing strategy. AI applications can quickly and effectively analyse all contributing variables, such as seasonality, competitor pricing, promotions, customer demand, etc., building up a clear picture of pricing history and trends, to inform recommendations regarding which products should be sold at which price to maximise revenues. There is already a leading European bakery ingredients business doing just this, implementing the right technology to achieve optimal pricing recommendations for its wide range of products.

Mitigate against unpredictability

Over the past two years in particular, the unpredictability of food supply chains has had a massive impact on food and beverage manufacturing. This is another area where AI can hold the key to unlocking new, better ways of working. For example, the right AI tools can predict sea vessel arrival times, helping manufacturers to more accurately forecast when their raw ingredients will be arriving. It is the level of detail that AI brings that makes all the difference. Not only can manufacturers secure a more accurate picture of when ingredients will arrive, but the technology can also factor in considerations such as how long deliveries will take to unload at the factory, instilling an even greater level of accuracy when it comes to scheduling production to optimise operations and maximise productivity.

This granularity of information is what makes AI the cornerstone of more accurate, agile, predictable supply chains, helping businesses to plan for all eventualities and delivering the actionable insight needed to stay one step ahead of the competition.

Sustainability

The issue of sustainability is another area where AI is having a positive impact on food and beverage manufacturing. Businesses are able to use the insight generated by AI applications to minimise energy and water usage, ensuring the most energy-efficient production, alongside waste reduction at all potential touch points in the manufacturing process. In a similar vein, machine learning-based specification matching and stock allocation enables manufacturers to ask if they can optimise the use of existing stock and still meet customer specifications.  

As well, innovative businesses are taking quality information, in combination with ingredient shelf-life data, using AI to determine dynamic best before dates. AI answers the question of ‘can we extend the shelf life safely considering the quality at hand?’, which ultimately prolongs the sellable life of a product, reducing waste and increasing revenue. At the same time, AI technologies can facilitate smart shelves in supermarkets, where prices are adjusted based on remaining shelf life and point of sales history, reducing waste and increasing profitability further still.

Maximise yield

The ability to maximise yield is yet another area where AI can make a world of difference. Internet of Things (IoT) devices in combination with machine learning are optimising machine settings to maximise yield. For example, manufacturers can ask how to maximise yield considering the quality of ingredients and the process conditions. Taking into account an almost inordinate number of process parameters, it is possible for manufacturers to use AI to maximise the output of processes at every step of the way.   

AI is all about connecting the dots, making the most of the huge amounts of data generated by the food and beverage sector, and using AI technologies to analyse this data and gain a better understanding of the many and complex variables at play within the industry. As more businesses invest in AI technologies, so suppliers can create more out-of-the box AI solutions. The learnings and experiences of food and beverage manufacturers inform AI templates that can then be applied to similar businesses, delivering the insight needed to maximise efficiencies and boost revenue.

To work, AI needs data. As long as there is data, it is possible to use AI technologies to recognise data trends and patterns, applying this learning and insight back to the business. It is this application of insight that is helping to create better, faster, more profitable operations at every stage of the supply chain, building a responsive and resilient food and beverage industry right across the world.

การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

Disruption as the new normal?

การเชื่อมโยงข้อมูลด้วยเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย อิซาเบลลา กุสุมาวาตี, รองประธานและกรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี, อินฟอร์

มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2569 ตลาดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะมีมูลค่าสูงถึง 29.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  การใช้งาน AI โดยผู้บุกเบิกธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า AI กำลังเป็นที่รู้จักในหลาย ๆ ด้าน มีผลต่อซัพพลายเชนอาหารในทุกแง่มุม ช่วยขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ชาญฉลาด และทำให้สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในทุกการแข่งขันที่สำคัญ

แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมฯ จะเคยได้ยินเรื่องของ AI มาบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความสับสนค่อนข้างมากเกี่ยวกับวิธีการและประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการปรับใช้เทคโนโลยี AI  อธิบายง่าย ๆ คือ AI มีศักยภาพในการปรับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารทั้งหมดให้เหมาะสม, เอื้ออำนวยต่อการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่ออกแบบเฉพาะให้กับแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงทุกส่วนของซัพพลายเชน ตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงพัฒนาให้ซัพพลายเชนต่าง ๆ มีความคล่องตัว และขับเคลื่อนให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น

หลายคนคิดว่า AI เป็นสมองกลและเทคโนโลยีสำหรับปฏิบัติงานที่ซับซ้อน ซึ่งเคยต้องใช้สติปัญญาของมนุษย์จึงจะสำเร็จ แต่ AI ทำได้มากกว่านั้น ทำให้เกิดแนวทางใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่สามารถกระทำแบบแมนนวลได้  และนี่เองคือจุดเริ่มต้นที่ AI เข้ามามีบทบาทในการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง และทันเวลาสำหรับงานเกือบทุกด้านของซัพพลายเชนอาหาร  โดยใช้ความสามารถในการพิจารณาคุณค่าของข้อมูล, พารามิเตอร์, สถานการณ์แบบ what-if และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ที่มากมายมหาศาล  และท้ายที่สุด ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่สามารถเลียนแบบได้เลย หากปราศจากการใช้เทคโนโลยี AI

AI ในอุตสาหกรรมอาหารประกอบด้วยเทคโนโลยีหลากหลายชนิด ตั้งแต่หุ่นยนต์ไปจนถึงแมชชีนเลิร์นนิง แล้วเราจะเห็นอุตสาหกรรมอาหารใช้งาน AI ในด้านใด และเทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง

การเกษตรแม่นยำ

การใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การเกษตรมีความแม่นยำมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลการเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพควบคู่ไปกับการพยากรณ์อากาศ ทำให้สามารถกำหนดพื้นที่และเวลาสำหรับให้น้ำหรือใส่ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสม  สำหรับภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีฟาร์มเลี้ยงกุ้งแห่งหนึ่งใช้เทคโนโลยี AI ในการจัดการปริมาณอาหารสำหรับเลี้ยงกุ้งให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการให้อาหารที่มากหรือน้อยจนเกินไป ช่วยลดอัตราส่วนอาหารต่อการผลิต (Feed conversion ratio – FCR) ทำให้วงจรการผลิตกุ้งสั้นลง และเพิ่มผลิตผลขึ้นได้ถึงสองเท่าโดยไม่ต้องใช้ระบบที่มีความเข้มข้นสูง

สำหรับภาคการเกษตรของประเทศไทย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า ผลการศึกษาของ Association of Equipment Manufacturers (AEM) พบว่า การเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) สามารถเพิ่มผลผลิตได้ราว 6% ช่วยประหยัดการใช้ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืชได้เกือบ 15% และ ลดการใช้น้ำได้ถึง 21% ดังนั้น การนำ Precision Farming มาใช้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการเกษตรไทย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ราคาปุ๋ยมีแนวโน้มแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

EIC มองว่า หากส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้าสู่ภาคการเกษตรไทยได้สำเร็จ ไม่เพียงแต่จะช่วยเหลือเกษตรกรไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยเหลือส่วนต่าง ๆ ในระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรได้อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การยกระดับภาคการเกษตรไทยทั้งหมดแข็งแกร่งขึ้น อนึ่ง ภาคการเกษตรนั้นเป็น 1 ใน 5 ของภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด การนำเทคโนโลยีมาปรับรูปแบบของการเกษตรจะสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่นับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรง และแปรปรวนมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

กลยุทธ์ด้านราคา

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยหลาย ๆ ประการ ก็จะพบว่าเทคโนโลยี AI ยังสามารถกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย  โดยแอปพลิเคชัน AI สามารถวิเคราะห์ตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เช่น ฤดูกาล, ราคาคู่แข่ง, โปรโมชัน, ความต้องการของลูกค้า ฯลฯ ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการตั้งราคาและแนวโน้มต่าง ๆ ที่ผ่านมา พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดของสินค้าและราคาที่ควรขาย เพื่อเพิ่มรายได้สูงสุด  ปัจจุบันมีบริษัทส่วนผสมเบเกอรีชั้นนำของยุโรปใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมชนิดนี้ เพื่อให้ได้คำแนะนำด้านราคาที่ดีที่สุดสำหรับสินค้าที่หลากหลายของบริษัท 

บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง

ความผันผวนของซัพพลายเชนอาหารส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมา  ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติของ AI ที่ช่วยให้ค้นพบวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่ดีกว่าได้  เช่น เครื่องมือ AI ที่เหมาะสมจะสามารถคาดการณ์เวลาที่เรือเดินทะเลจะมาถึง ช่วยให้ผู้ผลิตคำนวณเวลาที่วัตถุดิบจะมาถึงได้แม่นยำยิ่งขึ้น  และเป็นการให้รายละเอียดในระดับที่สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างสิ้นเชิง  เพราะไม่เพียงแต่ผู้ผลิตจะเห็นภาพตอนที่ส่วนผสมจะมาถึงได้ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น แต่เทคโนโลยียังสามารถนำปัจจัยต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น ระยะเวลาขนถ่ายสินค้าที่โรงงานที่ช่วยให้กำหนดตารางเวลาการผลิตได้แม่นยำขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มผลผลิตสูงสุด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลที่ละเอียดขนาดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ AI เป็นรากฐานสำคัญของซัพพลายเชนที่แม่นยำ คล่องตัวและคาดการณ์ได้มากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนสำหรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด รวมทั้งให้ข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นและนำไปใช้ได้จริง เพื่อจะได้ก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งไปอีกก้าว

ความยั่งยืน

นอกจากนี้ AI ยังส่งผลดีในประเด็นความยั่งยืนต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย  โดยธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกที่สร้างขึ้น โดยแอปพลิเคชัน AI ควบคุมการใช้น้ำและพลังงานให้น้อยที่สุด ทำให้มั่นใจได้ถึงการผลิตที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการลดของเสียที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตทั้งหมด  ในทำนองเดียวกัน การจับคู่ข้อมูลจำเพาะแบบแมชชีนเลิร์นนิงและการจัดสรรสต็อก จะช่วยทำให้ผู้ผลิตสามารถใช้สต็อกที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยังคงรักษามาตรฐานได้ตามที่ลูกค้าต้องการ 

สำหรับธุรกิจที่มองการณ์ไกลยังมีการใช้ AI กำหนดวันหมดอายุแบบไดนามิกที่ปรับได้ตามคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพร่วมกับข้อมูลอายุการเก็บรักษาของส่วนผสม  ดังนั้น AI จึงตอบโจทย์ที่ว่า ‘เราจะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้อย่างปลอดภัย โดยพิจารณาจากคุณภาพของวัตถุดิบที่มีอยู่ได้หรือไม่’ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้สินค้ามีอายุการขายที่นานขึ้น พร้อมลดของเสียและเพิ่มรายได้ไปในตัว ขณะเดียวกันเทคโนโลยี AI สามารถทำให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตใช้ชั้นวางของอัจฉริยะได้ โดยมีการปรับเปลี่ยนราคาสินค้าไปตามอายุการเก็บรักษาที่เหลืออยู่และประวัติระบบขายหน้าร้าน ซึ่งจะช่วยลดของเสียและเพิ่มผลกำไรได้อีกทางหนึ่ง

เพิ่มผลผลิตสูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนในด้านการเพิ่มผลผลิต ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Internet of Things (IoT) ร่วมกับแมชชีนเลิร์นนิง ที่ทำให้การตั้งค่าเครื่องเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตสูงสุด เช่น ผู้ผลิตสามารถสอบถามถึงวิธีการเพิ่มผลผลิตสูงสุด โดยพิจารณาจากคุณภาพของส่วนผสมและสภาวะต่าง ๆ ของกระบวนการ  ผู้ผลิตสามารถใช้ AI เพื่อเพิ่มผลผลิตของกระบวนการให้สูงสุดในทุกขั้นตอน โดยพิจารณาจากพารามิเตอร์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มากมายมหาศาล

AI คือการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ภาคอาหารและเครื่องดื่มสร้างขึ้น และใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อทำความเข้าใจตัวแปรซับซ้อนจำนวนมากที่เกิดในอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น  เมื่อมีธุรกิจจำนวนมากขึ้นลงทุนในเทคโนโลยี AI ซัพพลายเออร์ก็จะสามารถพัฒนาโซลูชัน AI ที่สร้างสรรค์ได้มากขึ้น  โดยจะนำการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มมาใช้เป็นเทมเพลต AI ที่สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน  เพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ

AI ต้องใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ ตราบใดที่มีข้อมูล AI จะสามารถระบุแนวโน้มและรูปแบบของข้อมูล ถอดบทเรียนจากข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพื่อให้ธุรกิจนำไปใช้งานต่อ การประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงลึกนี้จะทำให้การดำเนินงานดีขึ้น เร็วขึ้น และให้ผลกำไรมากขึ้นในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่พร้อมตอบสนองและยืดหยุ่นไปทั่วโลก

Alibaba Cloud Showcases Wuying Cloudbook at Apsara Conference

Alibaba Cloud โชว์ Wuying Cloudbook ณ การประชุม Apsara Conference

Alibaba Cloud Showcases Wuying Cloudbook at Apsara Conference

Supported by dedicated Wuying Architecture, Wuying Cloudbook provides enhanced security, flexibility, and collaboration for the workplace in the digital age

Alibaba Cloud, the digital technology and intelligence backbone of Alibaba Group, will be showcasing the new additions to its cloud computer offering at its Apsara Conference. The Wuying Cloudbook, empowered by Wuying Architecture, is designed to provide enterprises with unlimited computing power while helping them enhance data security, improve cost efficiency, and facilitate collaboration in increasingly diverse hybrid office settings.

Drawing on the high levels of security, scalability and compatibility that characterize the cloud, the Wuying Cloudbook allows users to fully leverage the power of cloud computing while minimizing the workload for local devices. Users can scale computing power and storage up or down to meet their demands as and when they need, getting rid of the capacity restrictions of running large-scale software, such as video-rendering software, and enjoying a real-time interactive experience with low latency and high-quality images.

Wuying Cloudbook supports secure storage and transmission of massive volumes of organizational resources by centralizing and managing them in the cloud. It overcomes typical security challenges in enterprise environments, such as data loss and local device vulnerabilities, while allowing users to access organizational resources at any time, anywhere.

Wuying Cloudbook also extends the boundaries of collaboration, allowing users to run multiple operating systems, including Windows, Linux, or Android on it simultaneously. As the software is also deployed and running in the cloud, there is no need to download and install software on local devices, minimizing the requirement for storage capacity and the battery consumption of local devices. Wuying Cloudbook is an ideal choice for new ways of working, such as remote working, outsourcing, and collaboration between teams in different locations.

The scalability, security, and flexibility of Wuying Cloudbook is supported by Alibaba Cloud’s Wuying Architecture, which is designed to optimize workload collaboration between cloud and local devices. The industry-leading architecture is compatible with devices ranging from laptops and tablets to any hardware that demands robust computing power. Leveraging this architecture, users can access unlimited computing power and storage capacity in any computing terminal.

Wuying Architecture is a powerful extension and expansion of the workplace. It helps enterprises to enhance flexibility and improve operational efficiency. Taking advantage of cloud-based data security capabilities and tools, Wuying provides additional assurance to safeguarding corporate information security,” said Jiangwei JIANG, Senior Researcher and General Manager of Infrastructure Products, Alibaba Cloud Intelligence. “Thanks to its compatibility, Wuying Architecture brings the benefits of cloud computing to hardware brands, software vendors and enterprises, as well as individual users.”

The Wuying Cloudbook, demonstrated at the exhibition area at Alibaba Cloud’s Apsara Conference, features an ultra-thin body just 13.9mm deep and a 14-inch touchscreen. An unboxing video, giving a preview of the device, is available here.  With this new addition, Alibaba Cloud now offers cloud computing in the form of a card, a box, an all-in-one PC, a laptop, and a Desktop-as-a Service (DaaS) application.

Customer experiences with Wuying: Automotive and Education 

In China, IM Motors, an intelligent electric vehicle company, is the first in the automobile industry to adopt Wuying in product design. At the R&D stage, teams in different locations need to collaborate closely. Using Wuying, the design documents can be accessed by multiple teams in multiple locations.

“The automobile industry traditionally relied heavily on offline collaboration, as large-scale workstations were necessary for many work processes. Wuying is a dream come true for our sector. Not only does it offer the necessary computing power to support the intense workload, but it also eases our anxiety around data security when transmitting and sharing confidential design files, allowing us to focus our attention on the design itself,” said Jiao XIANG, Executive Director of Intelligence Research Center, IM Motors. 

East China Normal University is one of the early adopters of Wuying in education. The cloud computer has replaced traditional server rooms in research projects, allowing students to work seamlessly on their projects when they move from laboratories to classrooms and dormitories, as the research data has been centralized in the cloud. Research efficiency has also been greatly improved by running data analytics on the cloud.

“This mobile research mode offered by Wuying has proven to be very valuable for professors and students alike. On-the-cloud laboratories provide unlimited computing power, overcoming the limitations of latency and bandwidth in a localized setting. In addition, it’s a powerful, 24/7 service, which helps us obtain research results in a much shorter time,” said Wei WANG, professor of the School of Data Science and Engineering, East China Normal University.   

Alibaba Cloud โชว์ Wuying Cloudbook ณ การประชุม Apsara Conference

Alibaba Cloud โชว์ Wuying Cloudbook ณ การประชุม Apsara Conference

Alibaba Cloud โชว์ Wuying Cloudbook ณ การประชุม Apsara Conference

Wuying Cloudbook ใช้เทคโนโลยีจาก Wuying Architecture เพียบพร้อมด้วยความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และความสามารถในการทำงานร่วมกัน เพื่อรองรับการทำงานในยุคดิจิทัล

อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป โชว์ Wuying Cloudbook ผลิตภัณฑ์ด้านคลาวด์คอมพิวเตอร์ใหม่ล่าสุดที่ใช้สมรรถนะต่าง ๆ จาก Wuying Architecture ณ งาน Apsara Conference, Wuying Cloudbook ออกแบบมาเพื่อมอบพลังแห่งการประมวลผลแบบไร้ขีดจำกัดให้แก่องค์กรธุรกิจ เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล คุ้มค่าใช้จ่ายมากขึ้น และรองรับการทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดที่มีความต้องการแตกต่างกัน

Wuying Cloudbook มาพร้อมความปลอดภัยที่รัดกุม สามารถปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการและสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่หลากหลาย ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของคลาวด์ จึงช่วยให้ผู้ใช้งานได้ใช้ประโยชน์จากสมรรถนะของคลาวด์คอมพิวติ้ง และลดปริมาณเวิร์กโหลดที่อยู่ในตัวอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุด ผู้ใช้สามารถปรับขนาดการประมวลผลและขนาดของสตอเรจขึ้นลงได้ตามต้องการและในเวลาที่ต้องการ จึงสามารถขจัดข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพในการใช้ซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น ซอฟต์แวร์ video-rendering และได้รับประสบการณ์การโต้ตอบแบบเรียลไทม์ที่มีการตอบสนองเร็วขึ้น และมีภาพคมชัด คุณภาพสูง

Wuying Cloudbook ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลและการรับส่งทรัพยากรทางเทคโนโลยีจำนวนมหาศาลขององค์กรมีความปลอดภัย ด้วยการรวมศูนย์และบริหารจัดการทรัพยากรเหล่านั้นบนคลาวด์ จึงช่วยขจัดความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยที่มักเกิดกับสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร เช่น ข้อมูลสูญหาย และช่องโหว่ต่าง ๆ ของอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานที่อาจถูกโจมตีได้ ในขณะที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงทรัพยากรทางเทคโนโลยีขององค์กรได้จากทุกที่ทุกเวลา

Wuying Cloudbook ยังช่วยขยายขอบเขตการทำงานร่วมกันได้กว้างขวางมากขึ้น ผู้ใช้งานสามารถรันระบบปฏิบัติการได้หลากหลายในคราวเดียวกัน เช่น Windows, Linux หรือ Android นอกจากนี้การใช้และรันซอฟต์แวร์บนคลาวด์ทำให้ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ในตัวอุปกรณ์ที่ใช้งานซึ่งช่วยลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และลดการใช้แบตเตอร์รี่ของอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Wuying Cloudbook จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่ เช่น การทำงานจากระยะไกล การจ้างงานภายนอกองค์กร (outsourcing) และ การทำงานร่วมกันของทีมที่อยู่ต่างสถานที่กัน

Wuying Cloudbook ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการปรับขนาดการทำงาน ความปลอดภัย และความยืดหยุ่น ของ Wuying Architecture ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผสานการทำงานของเวิร์กโหลดบนคลาวด์และที่อยู่ในอุปกรณ์ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสถาปัตยกรรมระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมนี้ สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป และแท็บเล็ต ไปจนถึงฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ที่ต้องการพลังแห่งการประมวลผลที่แข็งแกร่ง สถาปัตยกรรมนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้สมรรถนะในการประมวลผล และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะทำการประมวลผลบนอุปกรณ์ใดก็ตาม

นายเจียงเหว่ย เจียง นักวิจัยอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “Wuying Architecture เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ในการเพิ่มและขยายพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น Wuying ใช้ประโยชน์จากความสามารถและเครื่องมือด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็น cloud-based ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าจะปกป้องคุ้มครองข้อมูลขององค์กรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ความสามารถในการทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Wuying Architecture ยังช่วยให้ฮาร์ดแวร์แบรนด์ต่าง ๆ ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ องค์กรธุรกิจ ตลอดจนผู้ใช้ส่วนบุคคล ได้รับประโยชน์จากคุณลักษณะของคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างเต็มประสิทธิภาพ”

Wuying Cloudbook มีตัวเครื่องบางเฉียบ มีความลึกเพียง 13.9mm และมีจอ touchscreen ขนาด 14 นิ้ว สามารถรับชมวิดีโอแกะกล่องได้ที่ลิงก์นี้ พร้อมกันนี้อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้นำเสนอผลิตภัณฑ์คลาวด์คอมพิวติ้งในรูปแบบของ card, box, all-in-one PC, laptop และ แอปพลิเคชันในรูปแบบ Desktop-as-a-Service (DaaS)

ประสบการณ์ของลูกค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคการศึกษาที่ใช้ Wuying

IM Motors บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งหนึ่งในประเทศจีน เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งแรกที่นำ Wuying ไปใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยในช่วงของการวิจัยและพัฒนา Wuying ช่วยให้ทีมงานหลายทีมที่ทำงานอยู่ต่างสถานที่และจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด สามารถเข้าใช้งานเอกสารการออกแบบต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น

นายเจี่ยว เซี่ยง ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอัจฉริยะของ IM Motors กล่าวว่า “ในอดีตอุตสาหกรรมยานยนต์อาศัยการทำงานร่วมกันแบบออฟไลน์อย่างมาก เนื่องจากขั้นตอนการทำงานหลายอย่างต้องใช้เวิร์กสเตชันขนาดใหญ่ Wuying ทำให้ความฝันของเราเป็นจริง เพราะไม่เพียงมอบพลังการประมวลผลที่สามารถรองรับเวิร์กโหลดหนัก ๆ ได้เท่านั้น แต่ยังช่วยลดความวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลในเวลาที่เรารับส่งและแชร์ไฟล์ด้านการออกแบบที่เป็นความลับ เราจึงสามารถมุ่งความสำคัญไปในเรื่องของการออกแบบได้อย่างหมดกังวล”

East China Normal University เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งแรก ๆ ที่นำ Wuying ไปใช้ในภาคการศึกษา โดยนำคลาวด์คอมพิวเตอร์นี้ไปแทนที่ห้องเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมที่ใช้ในโครงการวิจัยต่าง ๆ ช่วยให้นักศึกษาสามารถทำโครงการของตนได้อย่างราบรื่น แม้จะต้องย้ายจากห้องปฏิบัติการไปตามห้องเรียนและหอพักต่าง ๆ เพราะงานวิจัยล้วนรวมศูนย์อยู่บนคลาวด์ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลบนคลาวด์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานวิจัยอย่างมาก

นายเว่ย หวัง อาจารย์ประจำ School of Data Science and Engineering, East China Normal University กล่าวว่า “โหมด mobile research ของ Wuying ได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณค่าและมีประโยชน์มากสำหรับอาจารย์และนักศึกษา ห้องปฏิบัติการบนคลาวด์ทำให้เราใช้สมรรถนะการประมวลผลได้ไม่จำกัดเป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการตอบสนองและแบนด์วิดท์ นอกจากนี้ยังให้บริการด้วยประสิทธิภาพสูงได้ 24 ชั่วโมงทุกวัน ซึ่งช่วยให้เราได้รับผลการวิจัยเร็วขึ้นมาก”