PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

Marketing and programs to play key role in delivering Group Vision

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or “the Group”), Southeast Asia’s leading[1], property technology (“PropTech”) company today announced the appointment of Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer (CMO). As CMO, Disha will oversee the Group’s Brand strategy, corporate communications function, as well as the Environmental, Social, and Governance (ESG) mandate. Disha is part of PropertyGuru’s Group Leadership Team and will report to CEO and Managing Director, Hari V. Krishnan.

Disha is a seasoned executive having led strategic marketing and communications teams and cross-functional work streams for some of the most well-known tech companies in the world, working extensively across 30+ markets in Asia, Europe, Latin America & the Americas. Most recently, Disha served as the Senior Global Director of Marketing at Twitter where she led global strategy and built Twitter’s business brand globally. Previously, Disha spent a decade at Google where in her last role she was Head of Ad Product Commercialisation for Asia Pacific.

Disha’s appointment follows the Group’s announcement of its brand repositioning that places guidance at its core– ‘Where every step of your journey will be guided by Guru’. With over 17 years of deep brand experience and expertise in marketing, Disha will help accelerate the Group’s growth trajectory across the five markets – Singapore, Malaysia, Vietnam, Thailand and Indonesia, – as it creates Southeast Asia’s Trust Platform for property. Disha will also build the ESG mandate for the Group and focus on creation of long-term financial and social value for stakeholders by integrating material ESG issues into company strategy. 

She will lead the Brand, Communications, ESG teams, and spearhead experiences across all offline and digital channels by taking forward the new brand positioning that reflects a strategic evolution in the Group’s growth to move beyond property search to offering end-to-end property solutions for consumers, agents, developers, bankers, valuers and city planners. 

[1] In terms of Engagement Market Share based on SimilarWeb data.

Hari V. Krishnan

Hari V. Krishnan, Chief Executive Officer and Managing Director, PropertyGuru Group, said, “We are excited to have Disha join the team as our Chief Marketing Officer. She brings a strong skill set in technology marketing which is critical as we fuel PropertyGuru’s growth and guide all in the property sector to make confident decisions. Disha’s rich experience will aid the Group in our ambition to be a trusted advisor as we help people find, finance, and own their homes.”

Disha Goenka Das, Chief Marketing Officer, PropertyGuru Group, said, “I am thrilled to join PropertyGuru Group at such an exciting and defining juncture in the company’s journey. Their vision and latest brand positioning, which seeks to be a trusted advisor that guides every step of the property journey deeply resonates with me. My role is an exciting opportunity to contribute and make an impact on the Group’s role in the Southeast Asia property industry and I look forward to bringing my experience in tech and marketing to help offer solutions that continue to better all our stakeholder experiences.”

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “ดิฌา โกเองกา ดาส” อดีตผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่

PropertyGuru appoints Disha Goenka Das as Chief Marketing Officer

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com ประกาศแต่งตั้ง “ดิฌา โกเองกา ดาส” อดีตผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่

การตลาดและโปรแกรมต่าง ๆ จะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของกรุ๊ป

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ[1] (Prop Tech) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กภายใต้ชื่อ PGRU (NYSE: PGRU) (โดยต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “กรุ๊ป”) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งในประเทศไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และเว็บไซต์รีวิวอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศอย่าง thinkofliving.com ได้ประกาศแต่งตั้งนางดิฌา โกเองกา ดาส (Disha Goenka Das) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด (CMO) โดยจะดูแลรับผิดชอบภาพรวมและทีมทำงานด้านกลยุทธ์เกี่ยวกับแบรนด์, ด้านการสื่อสารองค์กร รวมไปถึงด้านที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เธอจะเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารของพร็อพเพอร์ตี้กูรูกรุ๊ป และรายงานตรงต่อนายแฮรี วี คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการของกรุ๊ป

นางดิฌามาพร้อมกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่แข็งแกร่งด้านแบรนด์และการตลาด รวมไปถึงการทำงานร่วมกับทีมต่าง ๆ ให้กับบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังระดับโลกหลายแห่งด้วยกัน เธอเคยทำงานในกว่า 30 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป อเมริกาใต้ และอเมริกา โดยล่าสุดเธอดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการตลาดนานาชาติให้กับทวิตเตอร์ (Twitter) นำทีมพัฒนาโปรแกรมกลยุทธ์การตลาดระดับโลก และสร้างแบรนด์ทวิตเตอร์ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ก่อนหน้านี้ นางดิฌาเคยร่วมงานกับกูเกิล (Google) ในตำแหน่งหัวหน้าทีมธุรกิจการโฆษณาเชิงพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นเวลาถึง 10 ปีด้วยกัน  

ก่อนการประกาศแต่งตั้งนางดิฌาขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดในครั้งนี้ กรุ๊ปได้ประกาศจุดยืนใหม่ของแบรนด์ โดยยึดการให้คำแนะนำเป็นหัวใจหลักของเรา “ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงจุดไหนบนเส้นทางของการซื้อ-ขาย-เช่า-หรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เราพร้อมให้คำแนะนำในฐานะกูรู” ด้วยประสบการณ์ด้านแบรนด์และความเชี่ยวชาญด้านการตลาดที่แข็งแกร่งกว่า 17 ปี นางดิฌาจะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเร่งการเติบโตของกรุ๊ปแบบก้าวกระโดดในทั้ง 5 ตลาดหลักในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย และเป็นส่วนที่ขับเคลื่อนการสร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ นางดิฌาจะสร้างและดูแลรับผิดชอบทีม ESG ให้กับกรุ๊ปด้วย โดยจะโฟกัสไปที่การสร้างคุณค่าที่มีผลระยะยาวทั้งทางด้านการเงิน และสังคมให้กับผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน โดยจะผสานนโยบายด้าน ESG เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของบริษัทด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ นางดิฌาจะนำทีมแบรนด์ ทีมการสื่อสาร และทีม ESG โดยนำประสบการณ์ที่มีมาช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตั้งแต่ออฟไลน์ไปจนถึงช่องทางดิจิทัลเพื่อเน้นย้ำจุดยืนใหม่ของกรุ๊ปให้สะท้อนในทุก ๆ กลยุทธ์การเติบโตของกรุ๊ปที่เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาอสังหาฯ แต่สามารถให้บริการโปรดักส์และโซลูชั่นแบบครบวงจรให้กับผู้ที่กำลังค้นหาบ้าน, เอเจนต์, ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์, ธนาคารและสถาบันการเงิน, นักประเมินค่าทรัพย์สิน ไปจนถึงนักวางผังเมือง  

[1] ในส่วนของส่วนแบ่งการมีส่วนร่วมทางการตลาด (Engagement Market Share) อ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก SimilarWeb

Hari V. Krishnan

ด้านนายแฮรี วี คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “เราตื่นเต้นมากที่ได้คุณดิฌามาร่วมทีมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของเรา เธอมาพร้อมกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่แข็งแกร่งในด้านเทคโนโลยีการตลาด ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของกรุ๊ป อีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจอย่างมั่นใจในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยประสบการณ์ของคุณดิฌา ผมมั่นใจว่าเธอจะช่วยขับเคลื่อนให้กรุ๊ปของเราเดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ที่เราตั้งไว้คือ การเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ได้รับความไว้วางใจ ที่ช่วยให้ผู้คนค้นหาบ้านที่ใช่ ได้รับสินเชื่อที่เหมาะกับตนเอง และเป็นเจ้าของบ้านที่ชอบได้ในที่สุด”  

ในขณะที่นางดิฌา โกเองกา ดาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า “ดิฉันก็ตื่นเต้นไม่แพ้กันที่ได้มีโอกาสมาร่วมทีมกับพร็อพเพอร์ตี้กูรูในช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น และถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของกรุ๊ปในขณะนี้ ดิฉันชื่นชมวิสัยทัศน์ของกรุ๊ป และจุดยืนของแบรนด์ที่ต้องการเป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้กับทุกคนในทุกช่วงเวลาที่อยู่บนเส้นทางของการซื้อ-ขาย-เช่า-ลงทุนด้านอสังหาฯ และด้วยบทบาทที่ได้รับทำให้ดิฉันมีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์ที่สั่งสมมา รวมไปถึงการสร้างคุณประโยชน์ให้กับกรุ๊ปของเรา เพื่อมุ่งหน้าสร้างแพลตฟอร์มอสังหาฯ ที่มีความโปร่งใส ที่ทุกคนเชื่อถือได้ให้กับภูมิภาคนี้ ดิฉันหวังว่าประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี และการตลาดของดิฉันจะช่วยสร้างโซลูชั่นที่นำเสนอประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป” 

Nutanix Predicts Technology Trends to carry weight in 2023

Nutanix Predicts Technology Trends to carry weight in 2023

Nutanix Predicts Technology Trends to carry weight in 2023

    • Cloud deployment models will develop significantly
    • Processes and tools that support asynchronous collaboration will be increasingly crucial
    • More consideration will be given to eco-friendly IT infrastructure
    • Unconstrained working at the edge will be more widely leveraged
    • The rapidly expanding use of social media will have a huge impact on various platforms.

Predictions by: Wendy M. Pfeiffer, CIO/SVP at Nutanix, and Lee Caswell, SVP of Product and Solutions Marketing at Nutanix

Nutanix unveils the technological trends that will impact businesses in 2023, the post-pandemic era that affects all aspects, every industry, and level. Companies must pay attention to the following technological changes, which will help them adapt to changes and be ready for the future.

Cloud economics are dramatically changing – which is in turn driving new decision-making around applications and infrastructure. As businesses are facing new pressures around IT spending, many are realizing that they can’t move their applications as fast or as cost-effectively as they originally thought to the cloud. It takes a lot of valuable time and top talent to redo applications that are already running on-prem in the cloud. What won’t change in the years to come is that getting to the cloud is strategically important. But businesses will increasingly become more strategic about which workloads belong in the cloud and which belong in private cloud environments and will prioritize solutions that offer multi-cloud portability across all environments. 

Adoption of asynchronous work processes supporting contributions from workforces across the globe will be necessary in order to increase productivity. New, more effective ways to collaborate, especially across multiple time zones, will drive innovation in 2023. This will mean rethinking companies’ approach to asynchronous collaboration including tooling and policies to better support it. In order to succeed, complexity must be supplanted by simplicity and automation will become even more necessary.

The global pinch on energy supply will cause organizations to rethink their IT infrastructure models with more consideration given to power consumption and carbon footprint. Organizations are being told to be more efficient with power consumption, and it’s not just a sustainability issue. While reducing carbon footprint and going green is commendable and an increased point of consideration for potential customers, companies are feeling the impact of oversized power consumption against their bottom line when it comes to cloud usage. The cloud is built for speed and performance, not for the economy when it comes to cost and power, leaving companies to consider how tasks they’re currently pushing to the cloud might be handled elsewhere more efficiently and economically.

Untethered edge operating models will become more prevalent. In today’s world, it’s become expected that applications have to run all the time. Whether they’re connected or not means that the edge, by definition, will have to have an untethered operating model that’s not supported by closed-out models. IT organizations that valued server-based infrastructure to easily scale up and support mixed workloads will quickly find out that the same software-defined approach suits the edge by scaling down easily, by operating while connected or unconnected to a central cloud, and by introducing a fleet management approach that spans from the edge to the data center to the public cloud with consistent cloud management. 

Seismic shifts to social media as we know it will have a significant impact well beyond those platforms. 2022 has been a rollercoaster of a year for social media platforms, and some of the trends we’re seeing are not likely to reverse direction. This will have a trickle-down effect on multiple organizations. First, many organizations rely on data purchased from social media companies to tune their own targeting algorithms; targeting that will become less refined as social media data sets become outdated and less curated. Second, the data sets are often the basis to train AI and ML tools; as data sets become outdated, I expect AI and ML that rely on them to become much less effective.

นูทานิคซ์คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในปี 2566

Nutanix Predicts Technology Trends

นูทานิคซ์คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในปี 2566

    • รูปแบบการใช้งานคลาวด์จะมีการพัฒนาขึ้นอย่างมา
    • กระบวนการและเครื่องมือที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบอะซิงโครนัส (ไม่ต้องการโต้ตอบสื่อสารกลับทันที) จะทวีความสำคัญมากขึ้น
    • จะมีการให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
    • การทำงานอย่างไม่มีข้อจำกัดบนเครือข่ายจะมีการใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
    • การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการใช้โซเชียลมีเดียจะกระทบต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างมาก

บทความโดย เวนดี้ เอ็ม. ไฟเฟอร์, CIO/SVP และ ลี แคสเวลล์, SVP of Product and Solutions Marketing ของนูทานิคซ์

นูทานิคซ์เผยแนวโน้มทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อธุรกิจในปี 2566 ซึ่งเป็นยุคที่ผ่านพ้นการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับทุกแวดวง ทุกอุตสาหกรรม และทุกระดับ ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อที่จะช่วยให้ปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

ความคุ้มค่าในการใช้คลาวด์ (Cloud economics) กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิดการตัดสินใจรูปแบบใหม่ ๆ เกี่ยวกับแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานไอที

ธุรกิจกำลังเผชิญกับความกดดันใหม่ ๆ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านไอที องค์กรจำนวนมากตระหนักว่าไม่สามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปยังคลาวด์ได้เร็ว และคุ้มค่าใช้จ่ายเหมือนที่คิดไว้ตั้งแต่แรก และต้องใช้เวลาและความสามารถสูงมาก เพื่อปรับแอปพลิเคชันที่ใช้อยู่ในระบบภายในองค์กรให้สามารถนำไปใช้งานบนคลาวด์ได้ แต่สิ่งที่จะยังไม่เปลี่ยนแปลงในอีกหลายปีข้างหน้า คือการใช้คลาวด์มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ ธุรกิจจะเน้นกลยุทธ์ว่าจะนำเวิร์กโหลดใดไปใช้งานบนคลาวด์และเวิร์กโหลดใดที่ยังคงใช้อยู่ในไพรเวทคลาวด์ภายในองค์กร และจะให้ความสำคัญมากขึ้นกับโซลูชันในรูปแบบมัลติคลาวด์ที่สามารถเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดไปใช้งานกับทุกสภาพแวดล้อมได้ 

การใช้กระบวนการทำงานแบบอะซิงโครนัสที่ไม่จำเป็นต้องทำงานในเวลาเดียวกัน และรองรับการทำงานร่วมกันจากบุคลากรทั่วโลกจะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงาน

แนวทางการทำงานร่วมกันแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันจากหลายแห่งที่มีโซนเวลาต่างกัน จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมในปี 2566 นั่นคือบริษัทต่าง ๆ ควรทบทวนแนวทางในการทำงานร่วมกันแบบอะซิงโครนัสที่ไม่ต้องการการตอบกลับแบบทันที รวมทั้งเครื่องมือและนโยบายต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนแนวทางนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการจะบรรลุผลสำเร็จได้นั้น องค์กรจะต้องแทนที่ความซับซ้อนด้วยความเรียบง่าย และระบบอัตโนมัติจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น

วิกฤตด้านพลังงานของโลกจะส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทบทวนรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานและปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมามากขึ้น

องค์กรต่าง ๆ ได้รับนโยบายให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมันไม่เพียงเป็นประเด็นเรื่องความยั่งยืนเท่านั้น ในขณะที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และเป็นเรื่องที่ลูกค้าเป้าหมายใช้ประกอบการพิจารณาเมื่อจะเลือกใช้บริการต่าง ๆ บริษัทจำนวนมากกำลังรับรู้ถึงผลกระทบของการใช้คลาวด์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการใช้พลังงานกับผลกำไรที่เกิดขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติของคลาวด์คือความเร็วและประสิทธิภาพ ไม่ใช่ความคุ้มค่าด้านค่าใช้จ่ายและพลังงาน ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ ควรพิจารณาว่างานที่กำลังจะนำขึ้นไปรันอยู่บนคลาวด์นั้น สามารถนำไปรันในสภาพแวดล้อมอื่นที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากกว่าได้อย่างไร

รูปแบบการทำงานบนเครือข่ายแบบไม่จำกัดขอบเขต (Untethered edge) จะแพร่หลายมากขึ้น

ปัจจุบันมีความคาดหมายว่าต้องสามารถรันแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเชื่อมต่อหรือไม่ก็ตาม รูปแบบการทำงานจะต้องไม่จำกัดขอบเขต (untethered operating model)
ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบปิด (closed-out models) ไม่สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้ องค์กรด้านไอทีที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ปรับขนาดเพิ่มได้ง่าย และรองรับเวิร์กโหลดหลากหลาย จะค้นพบอย่างรวดเร็วว่าวิธีการที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์แบบเดียวกันเหมาะกับเอดจ์ ด้วยความสามารถในการปรับขนาดลดลงได้ง่ายดาย สามารถทำงานในขณะที่เชื่อมต่อหรือไม่เชื่อมต่อกับคลาวด์ส่วนกลาง และด้วยการแนะนำแนวทางการบริหารจัดการที่ครอบคลุมจากเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ไปถึงพับลิคคลาวด์ ผ่านวิธีการบริหารจัดการคลาวด์ที่สอดคล้องกัน 

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่โซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบอย่างมากไม่เฉพาะกับแพลตฟอร์มเหล่านั้นเท่านั้น

ปี 2565 เป็นปีทองของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหลายที่มีจำนวนพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มก็น่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อองค์กรหลายแห่ง ประการแรก  องค์กรจำนวนมากที่พึ่งพาข้อมูลที่ซื้อจากบริษัทด้านโซเชียลมีเดียเพื่อปรับอัลกอริทึมของตนอาจบรรลุผลได้น้อยลง เพราะชุดข้อมูลโซเชียลมีเดียล้าสมัยและถูกต้องน้อยลง ประการที่สอง ชุดข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ป้อนให้กับเครื่องมือที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ได้เรียนรู้ ดังนั้นการที่ชุดข้อมูลล้าสมัยจึงคาดการณ์ได้ว่า AI และ ML ที่พึ่งพาข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีประสิทธิภาพน้อยลงมากตามไปด้วย

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 ต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ผนวกกับภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย สรุปภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยบ้านแนวราบยังครองความนิยม ส่งผลให้ดัชนีราคาและดัชนีค่าเช่าเติบโตต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ รวมทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อในประเทศให้กลับมามากขึ้น 

ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 65 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรง ราคาซื้อ-เช่าโตต่อเนื่อง

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566 พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ปรับเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน (QoQ) มาอยู่ที่ 82 จุด แต่ลดลงจากปีก่อนหน้า (YoY) อยู่ 3% และลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนการแพร่ระบาดฯ) ถึง 22%  

DDproperty Thailand Property Market outlook 2566
    • บ้านเดี่ยวยืนหนึ่งอสังหาฯ ประเภทเดียวที่ราคาเพิ่ม เมื่อแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า บ้านเดี่ยวมีแนวโน้มดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 6% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 18% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ สวนทางกับทาวน์เฮ้าส์ที่ลดลง 2% YoY และลดลง 3% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ขณะที่ดัชนีราคาคอนโดฯ ยังทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ พบว่าลดลงถึง 16%

      ส่วนทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก ได้แก่ เขตทวีวัฒนา และเขตตลิ่งชัน ที่ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ส่งผลให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 16% YoY ตามมาด้วยเขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 7% YoY ขณะที่เขตดินแดง, เขตหนองจอก, เขตหนองแขม และเขตพระโขนง เพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 6% YoY 
DDproperty-Thailand-Property-Market-outlook-2566
    • ค่าเช่าแนวราบโต สวนทางภาพรวมทุกประเภทลดลง 3% ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อเช่ายังตรึงราคาเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจเช่าท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ลดลง 3% YoY และลดลงถึง 14% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ อย่างไรก็ดี จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของที่อยู่อาศัยแนวราบส่งผลให้ดัชนีค่าเช่าในกลุ่มนี้เติบโตตามไปด้วย โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 11% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 41% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ด้านทาวน์เฮ้าส์ก็เติบโตเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 8% YoY และเพิ่มขึ้น 11% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ สวนทางกับคอนโดฯ ที่ดัชนีราคาลดลง 1% YoY และลดลง 13% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ

      โดยค่าเช่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทำเลศักยภาพ อาทิ แนวรถไฟฟ้าที่เป็นแหล่งงาน โดยทำเลที่ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เขตสะพานสูง และเขตหลักสี่ เพิ่มขึ้นถึง 11% YoY ตามมาด้วยเขตคลองสามวา และเขตบางเขน เพิ่มขึ้น 10% YoY, เขตดอนเมือง เพิ่มขึ้น 9% YoY ส่วนเขตลาดพร้าว และเขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 8% YoY 

  • ดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ พุ่ง ปลุกตลาดอสังหาฯ แนวดิ่ง
DDproperty Thailand Property Market outlook 2566

หากโฟกัสไปที่ความต้องการซื้อพบว่าเติบโตถึง 16% YoY และเพิ่มจากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ถึง 58% โดยความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย คอนโดฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุด 21% YoY ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 14% YoY และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 5% YoY 

จะเห็นได้ว่าที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับความนิยมเนื่องจากตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุค New Normal ทำให้ความต้องการซื้อเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นถึง 76% และทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 65% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ

ความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเงินเป็นปัจจัยผลักดันให้ตลาดเช่าได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการเช่าคอนโดฯ เพิ่มสูงถึง 167% YoY และเพิ่มขึ้นถึง 272% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ เนื่องด้วยคอนโดฯ สามารถโยกย้ายทำเลได้ง่าย จึงตอบโจทย์การใช้ชีวิตของวัยทำงานและวัยเรียนในเมืองหลวงมากกว่า รองลงมาคือบ้านเดี่ยว เพิ่มขึ้น 12% YoY เพิ่มขึ้น 67% จากช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ความต้องการเช่าลดลง 6% YoY แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ พบว่าความต้องการเช่ายังเพิ่มขึ้นถึง 51% 

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (57%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 1 ปีข้างหน้านี้ ส่วน 7% ยังคงเลือกเช่าที่อยู่อาศัยต่อไป ขณะที่กว่า 1 ใน 3 (35%) ยังไม่มีแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ 

เมื่อพิจารณาข้อมูลในฝั่งผู้เช่าพบว่ามีเพียง 1 ใน 3 (33%) ที่มีแผนจะเช่าต่ออีก 2 ปีก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง สะท้อนให้เห็นว่าแม้ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมากเพียงใด แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเก็บออมและเตรียมความพร้อมทางการเงินพอสมควร ก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยใด ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความท้าทายเช่นนี้ 

ความท้าทายที่น่าจับตามอง ตลาดอสังหาฯ ปี 66 พร้อมฟื้นจริงหรือไม่? 

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566 รวบรวมข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในหลายแง่มุมจากข้อมูลบนเว็บไซต์ DDproperty.com เผยคาดการณ์ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัว หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณบวกต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 โดยมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดว่าจะมีจำนวนอุปทานใหม่ ๆ เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2566 โดยเฉพาะสินค้าประเภทแนวราบ เพื่อตอบรับกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และมีกำลังซื้อเพียงพอ 

อย่างไรก็ดี ปี 2566 ยังถือเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ซื้อ เนื่องจากระดับราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐบางส่วนได้สิ้นสุดลงตั้งแต่ปลายปี 2565 แล้ว ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้จึงจำเป็นต้องมีความพร้อมทางการเงินและมีวินัยทางการเงินมากพอสมควร โดยมีความท้าทายที่ควรจับตามองก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ดังนี้  

    • ราคาที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มตามต้นทุนใหม่ ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวขึ้น และต้นทุนก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทั้งจากค่าวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งราคาพลังงานซึ่งเป็นทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนในการขนส่ง ส่งผลให้ราคาอสังหาฯ ในปี 2566 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากโครงการที่อยู่อาศัยที่เป็นต้นทุนเดิมได้มีการดูดซับไปแล้วบางส่วนในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในปี 2566 ส่วนใหญ่จะเป็นการคำนวณราคาจากต้นทุนใหม่ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการปรับราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อ-ขายอสังหาฯ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดว่าราคาที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะโครงการที่เปิดใหม่ในปี 2566 มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10% แต่ยังไม่กระทบกับที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จพร้อมขาย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นต้นทุนเดิมของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันถือเป็นโอกาสของบ้านมือสองหรือผู้ที่มีบ้านในราคาต้นทุนเดิมที่อยากจะนำออกมาขายในช่วงนี้เช่นกัน 
    • การเงินต้องพร้อมรับสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแต่ภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจุบันอยู่ที่ 1.25% ต่อปี ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ซื้อบ้านต้องส่งค่างวดสูงขึ้นกว่าเดิม หรือใช้เวลาในการผ่อนชำระนานมากขึ้น ผนวกกับการที่สถาบันการเงิน/ธนาคารส่งสัญญาณจะยกเลิกหรือลดจำนวนปีของอัตราดอกเบี้ยคงที่ลง ทำให้ผู้กู้ซื้อบ้านต้องพิจารณาสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ และจะต้องมีวินัยทางการเงินมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้ คาดว่าสถาบันการเงิน/ธนาคารจะมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อเข้มงวดมากขึ้น หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลง แปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อปัจจุบัน
    • มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ดึงดูดใจไม่มากพอ มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของภาครัฐในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ ที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไม่ขยายเวลาผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value: LTV) ที่ให้ผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาแรก และราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้ได้ 100% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2565 ประกอบกับการที่คณะรัฐมนตรีมีมติต่อมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย (มาตรการก่อนหน้าลดเหลือเพียง 0.01%) และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% จากยอดเงินกู้ สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทำให้มาตรการสนับสนุนการซื้ออสังหาฯ ปัจจุบันอาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นการเติบโตของตลาดในปีนี้ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงต้องเผชิญความท้าทายทางการเงินทั้งจากเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น มาตรการฯ ปัจจุบันจึงยังไม่ครอบคลุมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และตอบโจทย์ของผู้บริโภคเท่าที่ควร

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ยังพบว่า 3 มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ที่ผู้บริโภคคาดหวังจากภาครัฐเพื่อช่วยสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงภาวะเงินเฟ้อสูงนั้น มากกว่าครึ่ง (62%) ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเพิ่มเติม และต้องการมาตรการลดดอกเบี้ยทั้งสินเชื่อบ้านที่กู้ใหม่และที่มีอยู่เดิม (58%) ขณะที่อีก 44% คาดหวังว่าจะมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มคนที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมาก่อนได้มีโอกาสซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองมากขึ้น

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Property Market Outlook เป็นรายงานภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่วิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางตลาดอสังหาฯ จากการรวบรวมข้อมูลดัชนีราคา (Price Index) และดัชนีความต้องการ (Demand Index) ของที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ทั้งในตลาดซื้อ-ขาย และตลาดเช่า รวมไปถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Sentiment) ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา นำมาวิเคราะห์ต่อยอด เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่าอสังหาฯ หรือนักลงทุนได้เข้าใจถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในตลาดอสังหาฯ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนหรือตัดสินใจซื้อ-ขาย-เช่าได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

อ่านและศึกษาข้อมูลภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2566 ฉบับเต็มได้จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566