Red Hat OpenStack Services on OpenShift is Now Generally Available

Red Hat วางตลาด OpenStack Service on OpenShift

Red Hat OpenStack Services on OpenShift is Now Generally Available

Open source leader brings modern approach to OpenStack deployments, helping organizations build future-ready networks at massive scale

Red Hat, Inc., the world’s leading provider of open source solutions, today announced the general availability of Red Hat OpenStack Services on OpenShift, the next major release of Red Hat OpenStack Platform. This is a significant step forward in how enterprises, particularly telecommunication service providers, can better unify traditional and cloud-native networks into a singular, modernized network fabric. Red Hat OpenStack Services on OpenShift opens up a new pathway for how organizations can rethink their virtualization strategies, making it easier for them to scale, upgrade and add resources to their cloud environments.

Typically operating at a massive scale, enterprises are consistently tasked with managing new levels of complexity as the industries that they serve transform. To do this more effectively, they need to build modern network infrastructures that can scale towards the edge with automated resource scaling providing a high performance architecture that has the ability to optimize resource usage wherever applications are located. To achieve these goals, the underlying infrastructures need to be able to meld traditional virtualized applications with more modern cloud-native applications.

With Red Hat OpenStack Services on OpenShift, organizations will be able to manage complexity for faster, simplified deployments of both virtualized and cloud-native applications from the core to the edge all in one place. Red Hat OpenStack Services on OpenShift can deploy compute nodes 4x faster than before when compared to Red Hat OpenStack Platform 17.1. Additional benefits include:

  • Accelerated time-to-market with Ansible integration;
  • A scalable OpenStack control plane that can manage Kubernetes-native pods running on Red Hat OpenShift;
  • Easier day 2 operations for control plane and lifecycle management;
  • Greater cost management and freedom to choose third party plug-ins and virtualize resources;
  • Improved security and compliance scanning of the control plane and Role-based Access Control encrypts communications and memory cache;
  • A deeper understanding about the health of your hybrid cloud with observability user interface, cluster observability operator and an OpenShift cluster logging operator;
  • AI-optimized infrastructure supports hardware acceleration technologies to help ensure seamless integration and efficient utilization of specialized hardware for AI tasks.

Red Hat’s commitment to and investment in OpenStack remains strong and remains the leading contributor at both the project and product levels. OpenStack continues to be a vital component for large IT infrastructures, especially in the telecommunication space, and this evolution can improve how these organizations deploy, manage, and maintain OpenStack footprints.

Trusted, reliable support for telecommunication service providers

To help telecommunication service providers accelerate their goals, Red Hat offers expertise at every stage of the deployment process. Whether customers are new to OpenStack or migrating from a legacy estate, Red Hat provides tailored training for customer teams to quickly build in-house technical expertise. Our consulting services help plan and deploy projects within the unique environments of telecommunication companies, focusing on minimizing operational risks. Additionally, Red Hat Technical Account Managers provide ongoing guidance and advice throughout the lifecycle of Red Hat OpenStack Services on OpenShift, helping ensure a smooth and secure implementation.

This landscape will only become more dynamic and complex over the next few years. By further blending Red Hat OpenStack Platform with Red Hat OpenShift, Red Hat will continue to help telecommunication service providers solve today’s problems while also preparing their environments to best capitalize on opportunities provided by intelligent networks that can leverage AI, flourish at the edge and scale on-demand. 94% of telecommunication companies in the Fortune 500 rely on Red Hat[3], underscoring our proven ability to support and modernize their networks. With Red Hat OpenStack Services on OpenShift, telecommunication service providers can expand new services, applications and revenue streams – propelling their business forward for 5G and beyond.

Supporting Quotes

Chris Wright, senior vice president of global engineering and chief technology officer, Red Hat

“Red Hat’s dedication to OpenStack is demonstrated through our extensive contributions to the project, our leadership in the OpenStack community and our focus on delivering enterprise-grade OpenStack solutions to our customers. This dedication must evolve as our customers’ needs change, and Red Hat OpenStack Services on OpenShift will help provide our OpenStack customers with a more unified, flexible application platform.”

Takeshi Maehara, deputy general manager, network and cloud platforms, KDDI

“KDDI has been a longstanding user of both Red Hat OpenStack Platform and Red Hat OpenShift and we’re excited about this next evolution. These solutions have enabled us to quickly and flexibly develop and deploy new services and applications. This integration will allow organizations like KDDI to modernize and manage complexity from the core to the edge.”

Nilay Rathod, technology automation and services lead, Spark New Zealand

“Spark is pleased Red Hat is continuing to evolve Red Hat OpenStack Platform. Red Hat OpenStack Services on OpenShift will help to further enhance our telecommunications infrastructure, providing even greater flexibility, scalability and resilience. Our collaboration with Red Hat continues to drive innovation, allowing us to deliver superior performance and reliability to our customers. Together, we are building the future of New Zealand’s wireless mobile networks.”

Red Hat วางตลาด OpenStack Service on OpenShift

Red Hat วางตลาด OpenStack Service on OpenShift

Red Hat วางตลาด OpenStack Service on OpenShift

เพิ่มความล้ำสมัยให้ OpenStack พร้อมช่วยองค์กรสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ที่รองรับอนาคต

เร้ดแฮท ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์ส ประกาศวางตลาด (general availability) Red Hat OpenStack Services on OpenShift ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของแพลตฟอร์ม OpenStack ของเร้ดแฮท และเป็นการเดินหน้าครั้งสำคัญขององค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่จะใช้วิธีการใหม่นี้ในการควบรวมเครือข่ายแบบดั้งเดิมและเครือข่ายที่เป็นคลาวด์-เนทีฟเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน บนโครงสร้างเครือข่ายที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ Red Hat OpenStack Services on OpenShift เปิดเส้นทางสายใหม่ให้องค์กรต่าง ๆ สามารถทบทวนกลยุทธ์ด้านเวอร์ชวลไลเซชันของตน สามารถสเกล อัปเกรด และเพิ่มทรัพยากรให้กับสภาพแวดล้อมคลาวด์ของตนได้อย่างไม่ยุ่งยาก

องค์กรที่มีการทำงานสเกลใหญ่ต้องบริหารจัดการความซับซ้อนที่มีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่องค์กรนั้น ๆ ให้บริการอยู่ องค์กรเหล่านี้ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่ทันสมัยที่สามารถสเกลการทำงานไปที่ปลายทางของงาน (edge) ได้ จึงต้องการความสามารถในการปรับขนาดทรัพยากรได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้เหมาะกับแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่รองรับการทำงานจะต้องสามารถผสานแอปพลิเคชันที่เป็นเวอร์ชวลไลซ์แบบเดิม เข้ากับแอปพลิเคชันแบบคลาวด์-เนทีฟที่ทันสมัยได้เป็นเนื้อเดียวกัน  

Red Hat OpenStack Services on OpenShift ช่วยให้องค์กรจัดการความซับซ้อนนี้ได้จากจุดเดียว ให้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันทั้งสองรูปแบบนี้ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย ตั้งแต่การใช้งานที่ส่วนกลาง (core) ไปจนถึง edge ทั้งนี้ Red Hat OpenStack Services on OpenShift สามารถใช้โหนดการประมวลผลได้เร็วกว่าเดิมถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับ Red Hat OpenStack Platform 17.1 และมีคุณประโยชน์เพิ่มเติมดังนี้

  • โซลูชันนี้มี Ansible ซึ่งเป็นโซลูชันด้านระบบอัตโนมัติอยู่ด้วย จึงสามารถเร่งกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนวางตลาด (time-to-market) ให้เร็วขึ้น
  • ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุม (control plane) ของ OpenStack ที่สเกลได้ สามารถบริหารจัดการ Kubernetes-native pods ที่ทำงานอยู่บน Red Hat OpenShift
  • ดูแลจัดการส่วนควบคุมและบริหารจัดการไลฟ์ไซเคิล หลังจากผ่านช่วงการติดตั้งแล้ว (day 2 operations) ได้ง่ายขึ้น
  • จัดการค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีอิสระในการเลือกว่าจะเชื่อมต่อใช้งานกับบุคคลที่สามรายใด รวมถึงมีอิสระในการเลือกใช้ทรัพยากรแบบเวอร์ชวลไลซ์ต่าง ๆ
  • ประสิทธิภาพในการตรวจตราความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของส่วนควบคุมที่มากขึ้นบวกกับระบบควบคุมการเข้าใช้งานตามสิทธิ์ของแต่ละบุคคล (Role-based Access Control) จะทำการเข้ารหัสการสื่อสารต่าง ๆ และหน่วยความจำแคช (memory cache)
  • โซลูชันนี้เข้าใจสถานะและความสมบูรณ์ของไฮบริดคลาวด์ขององค์กรได้ลึกมากขึ้น ด้วยการวัดประสิทธิภาพของส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface), การใช้ส่วนเสริมที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสร้างสแต็กการตรวจสอบแบบสแตนด์อโลนที่กำหนดค่าได้อย่างอิสระ (cluster observability operator) และ cluster logging operator ของ OpenShift
  • โครงสร้างพื้นฐานได้รับการปรับให้เหมาะกับการใช้ AI รองรับเทคโนโลยีที่ใช้ฮาร์ดแวร์เร่งการทำงาน เพื่อช่วยให้มั่นใจได้ว่าการผสานรวมเป็นไปอย่างราบรื่นและใช้ฮาร์ดแวร์เฉพาะทางสำหรับงานด้าน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความมุ่งมั่นและการลงทุนด้าน OpenStack ของเร้ดแฮทยังคงเข้มข้นต่อเนื่อง และเร้ดแฮทยังคงเป็นผู้นำในการมีส่วนร่วมส่งกลับความรู้ความก้าวหน้าให้กับคอมมิวนิตี้ทั้งระดับโปรเจกต์และระดับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ OpenStack ยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานไอทีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในแวดวงโทรคมนาคม การวางตลาด OpenStack Services on OpenShift ครั้งนี้จะช่วยให้วิธีการที่องค์กรใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถบริหารจัดการฟุตพริ้นท์ของการใช้ OpenStack ได้อย่างต่อเนื่อง

การสนับสนุนที่เชื่อถือได้ พึ่งพาได้ แก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม

เร้ดแฮทนำเสนอบริการที่เชี่ยวชาญกระบวนการใช้งานทุกขั้นตอน เพื่อช่วยผู้ให้บริการโทรคมนาคมบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ให้การอบรมที่เจาะจงกับทีมงานของแต่ละลูกค้า เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในองค์กรอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่เพิ่งเริ่มใช้ OpenStack หรือลูกค้าที่กำลังย้ายจากระบบเดิม ทั้งยังมีบริการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยลูกค้าวางแผนและใช้โปรเจกต์ต่าง ๆ บนสภาพแวดล้อมของบริษัทด้านโทรคมนาคม โดยเน้นไปที่การลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนี้ Red Hat Technical Account Managers ยังให้แนวทางและคำแนะนำอย่างต่อเนื่องตลอดไลฟ์ไซเคิลของ Red Hat OpenStack Services on OpenShift ช่วยให้การใช้งานราบรื่นและปลอดภัย

อย่างไรก็ตามลักษณะการดำเนินงานเหล่านี้จะมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาและซับซ้อนมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เร้ดแฮทจะเดินหน้าผสาน Red Hat OpenStack Platform กับ Red Hat OpenShift เพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมแก้ปัญหาที่พบในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่เครือข่ายอัจฉริยะที่ใช้ AI จะมีให้ พร้อมกับการใช้งานที่ edge อย่างมีประสิทธิภาพ และขยายขนาดการใช้งานได้ตามต้องการ ทั้งนี้ 94% ของบริษัทโทรคมนาคมที่อยู่ใน Fortune 500 ใช้เร้ดแฮท[3]ซึ่งเป็นการย้ำถึงความสามารถที่ได้รับการพิสูจน์แล้วของเร้ดแฮทในการสนับสนุนและเพิ่มความทันสมัยให้กับเครือข่ายของผู้ให้บริการด้านนี้ Red Hat OpenStack Services on OpenShift ช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถขยายบริการใหม่ แอปพลิเคชันใหม่ และมีแหล่งรายได้ใหม่ ๆ เป็นการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ 5G และอื่น ๆ ที่ก้าวไกลกว่าที่กำลังจะตามมา

คำกล่าวสนับสนุน

Chris Wright, senior vice president of global engineering and chief technology officer, Red Hat

ความทุ่มเทของเร้ดแฮทที่มีต่อ OpenStack เห็นได้จากการมีส่วนร่วมคืนความรู้สู่คอมมิวนิตี้อย่างกว้างขวางของเราต่อโปรเจกต์นี้ เราเป็นผู้นำในคอมมิวนิตี้ OpenStack และเราเน้นไปที่การมอบโซลูชัน OpenStack ที่ใช้ในระดับองค์กรให้กับลูกค้าของเรา แน่นอนว่าความทุ่มเทนี้ต้องพัฒนาต่อไปตามความต้องการของลูกค้าของเราที่เปลี่ยนแปลงไป และ Red Hat OpenStack Services on OpenShift จะช่วยมอบแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันที่ยืดหยุ่นและเป็นหนึ่งเดียวให้กับลูกค้า OpenStack ของเรา”

Takeshi Maehara, deputy general manager, network and cloud platforms, KDDI

“KDDI ใช้ Red Hat OpenStack Platform และ Red Hat OpenShift มาอย่างยาวนาน และเรารู้สึกตื่นเต้นกับการวางตลาดของ Red Hat OpenStack Services on OpenShift ครั้งนี้ โซลูชันเหล่านี้ช่วยให้เราพัฒนาบริการใหม่ ๆ และใช้แอปพลิเคชันใหม่ ๆ ได้อย่างยืดหยุ่นและรวดเร็ว การบูรณาการนี้จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ รวมถึง KDDI สามารถบริหารจัดการ ปรับปรุงระบบและการให้บริการให้ทันสมัยได้จากส่วนกลาง (core) ไปจนถึง edge”

Nilay Rathod, technology automation and services lead, Spark New Zealand

“Spark ยินดีที่เร้ดแฮทพัฒนา Red Hat OpenStack Platform อย่างต่อเนื่อง Red Hat OpenStack Services on OpenShift จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความยืดหยุ่น มีความสามารถในการสเกลและความคล่องตัว ความร่วมมือกับเร้ดแฮทในการขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เรามอบประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ให้กับลูกค้าของเรา และเรากำลังสร้างอนาคตของเครือข่ายไวเรสโมบายของนิวซีแลนด์ไปด้วยกัน”

PropertyGuru Reports Second Quarter 2024 Results

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

PropertyGuru Reports Second Quarter 2024 Results

Revenue of S$41 Million and Adjusted EBITDA of S$7 Million

  • Total revenue grew 10% to S$41 million in the second quarter of 2024, with growth from Vietnam as market conditions continue to improve
  • Adjusted EBITDA grew to S$7 million in the second quarter of 2024, up 48% from S$5 million in the second quarter of 2023
  • Adjusted EBITDA margin of 17% in the second quarter of 2024, up from 13% in the second quarter of 2023

PropertyGuru Group Limited (NYSE: PGRU) (“PropertyGuru” or the “Company”), Southeast Asia’s leading, property technology (“PropTech”) company, today announced financial results for the quarter ended June 30, 2024. Revenue of S$41 million in the second quarter of 2024 increased 10% year over year. Net loss was S$16 million in the second quarter and Adjusted EBITDA was positive S$7 million. This compares to net loss of S$6 million and Adjusted EBITDA of positive S$5 million in the second quarter of 2023.

Financial Highlights – Second Quarter 2024

  • Total revenue increased 10% year over year to S$41 million in the second quarter.
  • Marketplaces revenues increased 11% year over year to S$39 million in the second quarter driven by improving conditions in Malaysia and Vietnam combined with ongoing strength in Singapore.
  • Revenue by segment:
  • Singapore Marketplaces revenue increased 16% year over year to S$25 million, as the number of agents and the Average Revenue Per Agent (“ARPA”) grew in the quarter. Quarterly ARPA was up 17% in the second quarter to S$1,464 as compared to the prior year quarter and the number of agents in Singapore was up almost 500 to 16,577 from the second quarter of 2023. The renewal rate was 81% in the second quarter of 2024.
  • Malaysia Marketplaces revenue increased 12% year over year to S$7 million, as the Company continues to benefit from iProperty and PropertyGuru Malaysia’s combined market strength.
  • Vietnam Marketplaces revenue increased 4% year over year to S$5 million, as an increase in the number of listings was partially offset by a decrease in average revenue per listing (“ARPL”). The number of listings was up 17% to 1.5 million in the second quarter compared to the prior year quarter. ARPL was S$3.46, down 10% from the second quarter of 2023.
  • Fintech & Data services revenue increased 3% year over year to S$1.6 million.
  • At quarter-end, cash and cash equivalents were S$309 million.

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู" บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังในไทยเผยผลประกอบการไตรมาส 2

สร้างรายได้ 41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และกำไรส่วนที่เป็นเงินสด 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

  • รายได้โดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 นี้ โตขึ้น 10% อยู่ที่ 41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.07 พันล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 3 ก.ย. 2567) โดยได้รับอานิสงส์การฟื้นตัวและกลับมาเติบโตของตลาดในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง
  • กำไรส่วนที่เป็นเงินสด (Adjusted EBITDA) ในช่วงไตรมาสที่ 2 เติบโตมาอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 183.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 131 ล้านบาท) หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตราว 48% YoY  
  • ทั้งนี้ สัดส่วนอัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ (Adjusted EBITDA margin) ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2567 นี้อยู่ที่ 17% เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 13%

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE: PGRU) (จากนี้จะเรียกแทนว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท” ) ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของไทย และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย วันนี้ได้แถลงผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยรายได้ ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 อยู่ที่ 41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ราว 1.07 พันล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 3 ก.ย. 2567) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาราว 10% (+10% YoY)  ในขณะที่อัตราขาดทุนสุทธิ (Net Loss) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 16 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 419.2 ล้านบาท)  และอัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ ยังคงเป็นบวกอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 183.4 ล้านบาท) ตัวเลขดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นบวกเมื่อเทียบกับผลประกอบการในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนั้นอัตราขาดทุนสุทธิ (Net Loss) อยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 157.12 ล้านบาท) ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 130.9 ล้านบาท) 

ไฮไลต์ผลประกอบการ – ไตรมาสที่ 2 ปี 2567  

  • รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (+10%YoY) มาอยู่ที่41 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.07 พันล้านบาท   
  • รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 11% มาอยู่ที่ 39 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว02 พันล้านบาท) ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของตลาดในประเทศมาเลเซียและเวียดนาม รวมไปถึงตลาดที่มีความแข็งแกร่งอย่างสิงคโปร์ 
  • รายได้ตามเซ็กเมนต์: 
    • หน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 16% อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 655 ล้านบาท) เนื่องจากจำนวนเอเจนต์และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (“ARPA”) เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ในไตรมาสที่ 2 รายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์เพิ่มขึ้นราว 17% อยู่ที่1,464 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 38,000 บาท) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนจำนวนเอเจนต์ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเกือบ 500 รายมาอยู่ที่ 16,577 รายจากไตรมาสที่ 2 ของปีก่อนหน้า อัตราการต่ออายุสมาชิกในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 84%  
    • รายได้ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 12% อยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 183.4 ล้านบาท) โดยบริษัทยังคงเดินหน้ากลยุทธ์ในการใช้ความแข็งแกร่งของ 2 แบรนด์หลัก ที่เป็นเจ้าตลาดด้านแพลตฟอร์มอสังหาฯ ในมาเลเซียเป็นจุดแข็งในการเดินเกมรุก และมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคในมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง
    • รายได้ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า 4% อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 131ล้านบาท) โดยรายได้มาจากการที่จำนวนรายการประกาศที่เพิ่มขึ้นสามารถทดแทนรายได้ต่อประกาศ (“ARPL”) ที่ลดลงไปบางส่วนได้บ้าง  ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เวียดนามมีจำนวนประกาศเพิ่มขึ้นราว 17% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันอยู่ที่ราว 1.5 ล้านรายการ รายได้เฉลี่ยต่อประกาศอยู่ที่ 3.46 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 90 บาท) ลดลง 10% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว   
    • ในขณะที่รายได้จากหน่วยธุรกิจ Fintech & Data services เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 3% (+3% YoY) อยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 42 ล้านบาท)
  • ณ สิ้นสุดไตรมาส 2 ปี 2567 เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash & Cash equivalents) มีทั้งสิ้น 309 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 8.09 พันล้านบาท)

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟแนนซ์” และ “รีเทนชั่น” ตัวช่วยผ่อนบ้านไม่ให้หนี้บาน ปลดหนี้ไวขึ้น

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้งหมายถึงสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการจับจ่ายใช้สอยและวางแผนทางการเงินอื่น ๆ เช่นกัน ข้อมูลล่าสุดจากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจซบเซาและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงอย่างต่อเนื่องที่หลายฝ่ายคาดหวังให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประคับประคองกำลังซื้อไปได้ท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้

ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่าสถานะหนี้เสีย (NPL) ที่ค้างชำระเกิน 90 วันในไตรมาส 2 ของปี 2567 อยู่ที่กว่า 1.15 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นหนี้เสียจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยกว่า 218,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน จะเห็นได้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงสวนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องด้วยที่อยู่อาศัยเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องกู้สินเชื่อจากธนาคารเพื่อซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียม และด้วยระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยาวนาน ทำให้อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นกู้ ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ผู้บริโภคพิจารณาเมื่อต้องกู้ซื้อบ้านถึง 78% ดังนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเปรียบเสมือนเข็มทิศที่กำหนดทิศทางการเงินของผู้ที่วางแผนกู้ซื้อบ้านและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้

การปรับอัตราดอกเบี้ยมีผลอย่างไรเมื่อกู้ซื้อบ้าน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกกำหนดโดยธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจรวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเกี่ยวข้องกับผู้ที่วางแผนซื้อบ้านและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านโดยตรง เพราะหากมีการปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับลดหรือเพิ่มตามเช่นกัน

หากผู้บริโภคกู้ซื้อบ้านโดยเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่มีการปรับขึ้น-ลงในช่วงเวลาที่ธนาคารกำหนด โดยทั่วไปมักจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงต้นของการผ่อนบ้านเพื่อดึงดูดใจลูกค้า เหมาะสำหรับการกู้ซื้อบ้านในช่วงที่เศรษฐกิจดี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยมักมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากยังคงถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปตามสัญญาเดิมนั่นเอง  

ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) จะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะยาวสำหรับลูกหนี้ชั้นดีซึ่งจะเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสุดหรือ MLR (Minimum Loan Rate) ซึ่งสามารถขึ้น-ลงได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดเงิน และต้นทุนทางการเงินของธนาคาร และผันแปรตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย จึงเหมาะสำหรับการกู้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเพราะมักจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่หากอยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นผู้กู้ก็จะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ทำความรู้จัก “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ผู้ช่วยใกล้ตัวของคนผ่อนบ้าน

ผู้บริโภคที่กู้ซื้อบ้านในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวควรวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ รวมทั้งหมั่นศึกษาเทคนิคการผ่อนบ้านที่ช่วยลดต้นลดดอกควบคู่ไปด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนมาทำความรู้จักกับ “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ทางลัดที่จะช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเมื่อกู้ซื้อบ้านที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน โดยการ “รีเทนชั่น” และ “รีไฟแนนซ์” ต่างมีวัตถุประสงค์ในการลดอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านให้ต่ำลงเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

  • รีเทนชั่น (Retention) เป็นการต่อรองขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่กำลังผ่อนอยู่ โดยธนาคารจะตรวจสอบประวัติการผ่อนชำระของผู้กู้ก่อนพิจารณาเช่นกัน วิธีนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ผู้กู้ไม่เสียเวลาในการจัดเตรียมเอกสารใหม่ เนื่องจากเป็นการทำธุรกรรมกับธนาคารเดิม ธนาคารจะมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว ทำให้ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่นาน นอกจากนี้ยังมีข้อดีตรงที่เสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ จึงได้ประโยชน์ทั้งการประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ถูกกว่า
  • รีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการย้ายไปทำสัญญาสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคารแห่งใหม่เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า โดยหลายธนาคารมักจะมีการจัดโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ จึงทำให้ผู้กู้จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการรีเทนชั่น นอกจากนี้บางแห่งยังมีโปรโมชั่นพิเศษเพิ่มเติม เช่น ฟรีค่าประเมินหลักประกัน, ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย หรือฟรีค่าจดจำนอง เป็นต้น จุดเด่นของการรีไฟแนนซ์คือผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกข้อเสนอที่มองว่าคุ้มค่าที่สุดจากธนาคารต่าง ๆ ได้เอง ถือเป็นวิธีที่ได้รับนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนลงได้อย่างชัดเจน หรืออาจได้เงินส่วนต่างมาใช้ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้หากกู้ได้มากกว่าวงเงินเดิม 

เปิดเช็กลิสต์ก่อนตัดสินใจ “รีเทนชั่น” หรือ “รีไฟแนนซ์” แบบไหนเหมาะกับคุณ

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เผยว่า ผู้บริโภคที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองเกือบ 3 ใน 5 (59%) มีความคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์อยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้สูง (สัดส่วน 68% และ 71% ตามลำดับ) ขณะที่อีก 34% ไม่รู้จักการรีไฟแนนซ์มาก่อน โดยเหตุผลหลักของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ตั้งใจจะรีไฟแนนซ์ (60%) มองว่าวิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น ขณะที่ 52% มองว่าช่วยให้ได้อัตราดอกเบี้ยและการผ่อนจ่ายที่ถูกลง และ 36% รู้สึกว่าตัวเองในปัจจุบันมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินมากขึ้นกว่าตอนแรก

อย่างไรก็ดี แม้เป้าหมายในการรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์จะมุ่งเน้นไปที่การช่วยลดอัตราดอกเบี้ย แต่มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้รวบรวมเช็กลิสต์ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกแนวทางลดดอกเบี้ยที่ตอบโจทย์การเงินได้มากที่สุด ดังนี้

  • ตรวจสอบรายละเอียดสัญญาเดิมให้ชัดเจน ปกติแล้วธนาคารจะมีโปรโมชั่นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่คิดดอกเบี้ยอัตราพิเศษในช่วง 3 ปีแรกเท่านั้น เมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวดอกเบี้ยจะขยับเป็นอัตราลอยตัวจึงทำให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้กู้ควรตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่ามีเงื่อนไขเวลาในการยื่นเรื่องรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์ไว้อย่างไร 

โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะระบุให้ผู้กู้สามารถรีไฟแนนซ์ได้หลังจากผ่อนไประยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากมีการรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด ผู้กู้จะต้องเสียค่าปรับให้ธนาคารเดิมขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ดี หากผู้กู้มีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก่อนเวลาที่กำหนดในสัญญาเนื่องจากแบกรับภาระดอกเบี้ยไม่ไหว ก็ควรคำนวณยอดค่าปรับมาเปรียบเทียบกับจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนว่าคุ้มพอที่จะเสียค่าปรับหรือไม่ วิธีไหนจะแบ่งเบาภาระทางการเงินได้มากกว่ากัน หรือจะเลือกอดทนผ่อนจ่ายไปจนครบกำหนดสัญญาก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็นแทน 

  • เวลาในการเตรียมเอกสาร อีกหนึ่งข้อดีของการรีเทนชั่นคือเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ซึ่งมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มากนัก เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ จึงมีความสะดวกสบายมากกว่า อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการพิจารณาไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระอยู่แล้ว จึงอนุมัติได้เร็วกว่าการรีไฟแนนซ์ที่ผู้กู้ต้องเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้ประกอบการยื่นกู้ตามเงื่อนไขของธนาคารใหม่ หลังจากนั้นธนาคารจะตรวจสอบประวัติการชำระสินเชื่อ ภาระหนี้ ประเมินสภาพที่อยู่อาศัยที่ต้องการกู้ และดำเนินการตามขั้นตอนตรวจสอบ ซึ่งใช้เวลาการพิจารณาอนุมัติเท่ากับการขอกู้ใหม่
  • คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด หลายคนมองว่าการรีไฟแนนซ์คุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่มักเสนอโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้ อย่างไรก็ดี ผู้กู้ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่จะต้องมีขั้นตอนการจดจำนองใหม่อีกครั้ง จึงมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการรีเทนชั่นกับธนาคารเดิม โดยค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ประกอบด้วย 
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3% 
  • ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง 1% (ปัจจุบันมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย โดยลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จาก 1% เหลือ 01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา จนถึง 31 ธันวาคม 2567)
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน 25-2% 
  • ค่าอากรแสตมป์ 05% ของวงเงินกู้
  • ค่าประกันอัคคีภัย

นอกจากนี้หลังจากได้รับการอนุมัติจากธนาคารใหม่ที่รีไฟแนนซ์แล้ว ผู้กู้จะต้องสอบถามยอดหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิมก่อน ซึ่งจะต้องเตรียมเงินส่วนนี้ไปชำระให้กับธนาคารเดิมในวันไถ่ถอนด้วยเช่นกัน ขณะที่การรีเทนชั่นจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% ของยอดวงเงินกู้เดิมหรือวงเงินที่เหลือแล้วแต่ที่ธนาคารกำหนด ผู้บริโภคจึงควรคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกันให้ละเอียด หากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับต่างกันไม่มากนัก การรีเทนชั่นอาจจะคุ้มค่ากว่าเนื่องจากเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่น้อยกว่า

  • ต่อรองเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่า เบื้องต้นผู้กู้ควรติดต่อขอทราบตัวเลือกโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์จากธนาคารอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกับการรีเทนชั่นกับธนาคารเดิมว่าที่ใดให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดในช่วง 3 ปีแรก เนื่องจากเมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวก็จะสามารถขอยื่นเรื่องรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยได้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์มักจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการรีเทนชั่น หากผู้กู้ได้รับโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษก็สามารถนำไปต่อรองกับธนาคารเดิมเพื่อขอรีเทนชั่นในอัตรานั้นได้ ซึ่งมีโอกาสที่ทางธนาคารเดิมจะปรับลดดอกเบี้ยลงมาให้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งและรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้ได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลงและคุ้มค่ากว่า เนื่องจากค่าธรรมเนียมการรีเทนชั่นต่ำกว่าการรีไฟแนนซ์

แม้การรีเทนชั่นและรีไฟแนนซ์จะเป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้ทุกคนแบ่งเบาภาระในการผ่อนบ้านได้มากขึ้น ลดจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลง รวมทั้งเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้นแล้ว แต่หัวใจสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามตั้งแต่คิดจะซื้อบ้าน/คอนโดฯ คือการวางแผนการเงินให้เป็นระบบก่อนกู้ซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ผ่อนไม่ไหวจนขาดส่งค่างวดและกระทบไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะแสดงในประวัติทางการเงินของเครดิตบูโรและจะมีผลในการพิจารณาอนุมัติเมื่อยื่นขอรีเทนชั่นและรีไฟแนนซ์กับธนาคารทุกแห่งเช่นกัน จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

ทั้งนี้ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านปี 2567 อัปเดตล่าสุดจากหลากหลายธนาคารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและเงื่อนไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ก่อนดำเนินการติดต่อธนาคารในขั้นตอนต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ/ขาย/ให้เช่าโครงการบ้าน/คอนโดฯ ทั้งโครงการใหม่และบ้านมือสองที่น่าสนใจในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเลือกและค้นหาที่อยู่อาศัยที่ตรงใจได้มากที่สุด เตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน/คอนโดฯ ในฝันได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น