อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนจากการประเมินของ ABI Research

อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนจากการประเมินของ ABI Research

อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนจากการประเมินของ ABI Research

อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในรายงานผลการศึกษาที่จัดทำโดย ABI Research โดยประเมินศักยภาพของอีริคสันซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมในการลดการใช้พลังงานและขยะทั่วทั้งภาคอุตสาหกรรม

ABI ได้จัดอันดับผู้จำหน่ายและซัพพลายเออร์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากกว่า 80 ราย โดยพิจารณาจากสองปัจจัยสำคัญในด้านผลกระทบ (Impact) และการนำไปใช้งาน (Implementation) โดยการประเมินดังกล่าวได้นำเสนอมุมมองหลากหลายในระบบนิเวศของบริษัทต่าง ๆ ที่สามารถสนับสนุนผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งหลายได้ดีที่สุดเพื่อผลักดันไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในรายงานการประเมินของ ABI หัวข้อ “Sustainability Assessment: Telco Technology Suppliers” อีริคสันนำหน้าการประเมินทั้งหมดทั้งด้านการนำไปใช้งาน (Implementation) โดยได้รับอันดับสูงสุดด้านเครือข่ายและธุรกิจที่มีความยั่งยืน และยังเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก RAN (Radio Access Network) ซึ่งประกอบด้วย Massive MIMO, 5G RAN, ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอ (AI-driven Software) และโซลูชันเสาอากาศ (Antenna Solutions)

ในแง่ผลกระทบ (Impact) อีริคสันยังติดอันดับสูงสุดเป็นผู้จำหน่ายที่มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่า (Value-Chain) ลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 และเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2583 นอกจากนี้ ภายในปี 2573 อีริคสันยังตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในทุกกิจกรรมและการดำเนินงานทั้งหมดขององค์กร

คิม อาร์ริงตัน จอห์นสัน นักวิเคราะห์จาก ABI Research กล่าวว่า “สำหรับการประเมินศักยภาพเรื่องความยั่งยืน เราพบว่าอีริคสันได้รับคะแนนสูงในด้านนวัตกรรมและผลกระทบที่ยั่งยืน เนื่องจากขุมพลังของ Ericsson Silicon ซึ่งเป็นระบบ Systems on a Chip ที่ออกแบบมาร่วมกับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างประสิทธิภาพขั้นสูง น้ำหนักเบา และเป็นผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน อีริคสันออกแบบและสร้างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ RAN โดยยึดมั่นความยั่งยืนเป็นหัวใจ”  

เฟรดดี้ โซเดอเกรน หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและกลยุทธ์ของ Ericsson Networks กล่าวว่า “ที่อีริคสัน เราเริ่มต้นการเดินทางไปบนถนนแห่งความยั่งยืนหลายปีมาแล้ว โดยมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือและสนับสนุนลูกค้า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราทำงานอย่างใกล้ชิดกับพวกเขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและด้านพลังงาน ซึ่งประสิทธิภาพด้านพลังงานและการบรรลุเป้าหมาย Net Zero คือหมุดหมายของอีริคสันและยังเป็นกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญขององค์กร”

กระบวนวิธีการประเมิน

ผู้จำหน่าย (Vendor) และผู้จัดหาสินค้า (Supplier) จะได้รับคะแนนในแต่ละกลุ่มอุปกรณ์เทียบจากชุดข้อมูลด้านผลกระทบ (Impact) และชุดข้อมูลด้านการนำไปใช้งาน (Implementation) สำหรับใช้เป็นเกณฑ์การให้น้ำหนักในแง่ของความสำคัญด้านศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และของเสีย และไล่ระดับที่มีการนำอุปกรณ์ไปใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม (ดูตัวอย่างวิธีการให้คะแนนด้านล่าง)

 

Source: ABI’s “Sustainability Assessment: Telco Technology Suppliers” research report

Source: ABI’s “Sustainability Assessment: Telco Technology Suppliers” research report

ขั้นตอนสุดท้ายจะใช้คะแนนรวมของแต่ละบริษัทและจัดกลุ่มไปอยู่ในส่วนตลาดที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้จำหน่ายดั้งเดิม (Traditional Vendors) และผู้จำหน่ายรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Vendors) ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์  (Software Vendors) และผู้จำหน่ายชิปเซ็ตและส่วนประกอบ (Chipset And Component Vendors) ซึ่งอีริคสันครองอันดับหนึ่งในคะแนนรวมนี้ทั้งหมด

นำไปสู่เครือข่ายที่มีความยั่งยืน

ABI Research กล่าวในรายงานว่าการมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพด้านพลังงานเครือข่ายและการจัดการพลังงานในผลิตภัณฑ์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความพยายามในการสร้างความยั่งยืนของอีริคสัน โดยบริษัทวิเคราะห์แห่งนี้ยังให้ความสำคัญกับ “ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบ (Product Impact Example)” อย่าง Triple-Band Tri-Sector Radio 6646 ที่ลดการใช้พลังงานลง 40% เมื่อเทียบกับ Triple-Band Single-Sector Radios และมีน้ำหนักเบากว่าถึง 60% (จากการใช้อะลูมิเนียมที่น้อยลง)

นอกจากนี้ ABI Research ยังประเมินความพยายามในการสร้างความยั่งยืนของอีริคสันเพิ่มเติม อาทิ โปรแกรมรับคืนสินค้า (หรือ Global Product Take-Back Program) เช่นเดียวกับโครงการริเริ่มต่าง ๆ ของอีริคสันที่ดำเนินการร่วมกับซัพพลายเออร์เชิงกลยุทธ์เพื่อกำหนดเป้าหมายทางด้านสภาพภูมิอากาศร่วมกันที่ตั้งเป้าจำกัดภาวะโลกร้อนจากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส

โรงงานอัจฉริยะ 5G ของอีริคสัน ที่เมืองลูอิสวิลล์ รัฐเท็กซัส ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวทางปฏิบัติของภาคการผลิตที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญไว้ในรายงาน ซึ่งโรงงานแห่งนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำระดับโลกในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) และได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ “Global Lighthouse” จาก World Economic Forum

การได้รับเลือกให้เป็นผู้นำความยั่งยืนจากการประเมินของ ABI Research ถือเป็นการให้การยอมรับความพยายามและบรรลุผลตามเป้าหมายไปสู่ Net Zero ของอีริคสัน บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าก้าวข้ามความท้าทายอย่างต่อเนื่องและล่าสุดเราเพิ่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใหม่กว่า 10 รายการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงจำนวนสถานีฐาน เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน และเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย ซึ่งโซลูชั่นใหม่นี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ในงาน Mobile World Congress (MWC) 2023 ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ที่เพิ่งจบไป

SAP and Red Hat Deepen Partnership to Power SAP® Software Workloads with Red Hat Enterprise Linux

CIMB Thai Bank และ KBTG สององค์กรไทย ได้รับรางวัล APAC Innovation Awards ประจำปี 2565 จาก Red Hat

SAP and Red Hat Deepen Partnership to Power SAP® Software Workloads with Red Hat Enterprise Linux

    • SAP bolsters internal IT landscape by running a continuously increasing part of its cloud infrastructure on the world’s leading enterprise Linux platform as one of its standard operating systems for software-as-a-service applications to drive hybrid cloud innovation and greater customer value
    • SAP and Red Hat extend support for the RISE with SAP solution on Red Hat Enterprise Linux, the preferred operating system for net new business for RISE with SAP solution deployments 

SAP SE (NYSE: SAP) and Red Hat, Inc., the world’s leading provider of open source solutions, today announced an expanded partnership to significantly increase SAP’s use of and support for Red Hat Enterprise Linux. This collaboration aims to enhance intelligent business operations, support cloud transformation across industries and drive holistic IT innovation.

Building on the two companies’ long-standing collaboration, SAP is steadily migrating part of its internal IT landscape and the SAP® Enterprise Cloud Services portfolio onto the standard foundation of Red Hat Enterprise Linux, a shift intended to better meet SAP’s evolving business and IT needs. As part of its migration road map, SAP is boosting support for the RISE with SAP solution using Red Hat Enterprise Linux as the preferred operating system for net new business for RISE with SAP solution deployments. 

A hardened, production-ready Linux operating system for hybrid cloud innovation, Red Hat Enterprise Linux is trusted by global enterprises across industries worldwide. The platform builds on this trust by offering a consistent, reliable foundation for SAP software deployments, providing a standard Linux backbone to support SAP customers across hybrid and multi-cloud environments. 

SAP’s internal IT environments and SAP Enterprise Cloud Services adopting Red Hat Enterprise Linux can gain greater flexibility to address modern and future technology requirements. Paired with the RISE with SAP solution, Red Hat Enterprise Linux offers enhanced performance capabilities to support RISE with SAP solution deployments across cloud environments, smoothing the path towards cloud adoption and transformation for customers as they plan their next wave of IT innovation. Over the next year, Red Hat and SAP will collaborate closely to deepen support for RISE with SAP solution workloads on Red Hat Enterprise Linux and accelerate SAP’s adoption of Red Hat Enterprise Linux more broadly.

To support SAP in more widely implementing Red Hat Enterprise Linux, Red Hat is providing dedicated product engineers and on-site resources to assist SAP engineering and technical teams in driving standardization on Red Hat Enterprise Linux and interoperability for SAP and Red Hat solutions. SAP associates can develop critical technical skills and deepen their knowledge of Red Hat’s hybrid cloud technologies through virtual and instructor-led Red Hat training courses and hands-on labs through Red Hat Learning Subscription Premium

This joint initiative to extend SAP software workloads on Red Hat Enterprise Linux is intended to make it easier for SAP customers to achieve greater business agility, accelerate cloud deployments and drive business innovation by building on Red Hat’s scalable, flexible, open hybrid cloud infrastructure. Customers can now more readily streamline cloud transformation projects based on SAP software, including SAP S/4HANA®, based on the RISE with SAP solution underpinned by Red Hat Enterprise Linux. 

Supporting Quotes

Lalit Patil, CTO, SAP Enterprise Cloud Services, SAP SE

“Red Hat Enterprise Linux offers a robust, open infrastructure to support SAP software deployments, providing a consistent foundation for hybrid cloud workloads. We look forward to building on our legacy of  innovation together with Red Hat to empower our customers with greater flexibility and resilience across cloud environments.” 

Gunnar Hellekson, vice president and general manager, Red Hat Enterprise Linux Business Unit, Red Hat 

“As organizations look to expand business intelligence and analytics systems across the open hybrid cloud, they need an operating system foundation that is tested, validated and trusted for these critical operations on every footprint. Red Hat Enterprise Linux already serves as a trusted backbone for the global Fortune 500, and we are pleased to further extend this trust to SAP and our joint customers as the common operating system supporting SAP software workloads and business operations.”

SAP และ Red Hat กระชับความร่วมมือ เสริมประสิทธิภาพ SAP® Software Workloads ด้วย Red Hat Enterprise Linux

CIMB Thai Bank และ KBTG สององค์กรไทย ได้รับรางวัล APAC Innovation Awards ประจำปี 2565 จาก Red Hat

SAP และ Red Hat กระชับความร่วมมือ เสริมประสิทธิภาพ SAP® Software Workloads ด้วย Red Hat Enterprise Linux

    • SAP เสริมศักยภาพแลนด์สเคปด้านไอทีภายในองค์กร ใช้โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม Linux ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดับองค์กรคุณภาพแนวหน้า เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการมาตรฐานให้กับ software-as-a-service applications เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านไฮบริดคลาวด์และเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้ามากขึ้น
    • SAP และ Red Hat ขยายการสนับสนุนการใช้ RISE with SAP solution บน Red Hat Enterprise Linux ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมกับแหล่งรายได้ใหม่ของธุรกิจที่ใช้ RISE with SAP solution 

SAP SE (NYSE: SAP) และ Red Hat, Inc., ผู้ให้บริการด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์สชั้นนำของโลก ประกาศขยายความร่วมมือ เพื่อเพิ่มการใช้งานและการสนับสนุนที่สำคัญให้กับการใช้ SAP บน Red Hat Enterprise Linux ความร่วมมือครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานทางธุรกิจมีความชาญฉลาดมากขึ้น รองรับการทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์ของอุตสาหกรรมทุกประเภท และขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านไอทีแบบองค์รวม

บริษัททั้งสองแห่งมีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ SAP กำลังย้ายแลนด์สเคปด้านไอทีภายในส่วนหนึ่งของบริษัท และพอร์ตโฟลิโอของ SAP® Enterprise Cloud Services ไปยังโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานของ Red Hat Enterprise Linux อย่างต่อเนื่อง การโยกย้ายนี้มุ่งตอบสนองความต้องการด้านไอทีและธุรกิจที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ SAP ได้ดีขึ้น โดยส่วนหนึ่งของโรดแมปการโยกย้ายนี้ คือ SAP กำลังส่งเสริมการให้การสนับสนุน RISE with SAP solution ให้ใช้ Red Hat Enterprise Linux เป็นระบบปฏิบัติการให้กับแหล่งรายได้ใหม่ของธุรกิจ (net new business) ที่ใช้ RISE with SAP solution

Red Hat Enterprise Linux เป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่แข็งแกร่งและพร้อมใช้กับนวัตกรรมด้านไฮบริดคลาวด์ที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรใหญ่ ๆ ระดับโลก และอุตสาหกรรมทุกประเภททั่วโลก เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาพร้อมความเชื่อมั่นเพื่อให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่เสถียรและเชื่อถือได้ให้กับการใช้ซอฟต์แวร์ของ SAP และเป็นฐานที่แข็งแกร่งตามมาตรฐานของ Linux ที่ให้การสนับสนุนลูกค้าของ SAP บนทั้งไฮบริดและมัลติคลาวด์

สภาพแวดล้อมไอทีภายในองค์กรของ SAP และ SAP Enterprise Cloud Services ที่ใช้ Red Hat Enterprise Linux จะมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของเทคโนโลยีสมัยใหม่และเทคโนโลยีในอนาคต ทั้งนี้เมื่อทำงานร่วมกับ RISE with SAP solution แล้ว Red Hat Enterprise Linux นำเสนอความสามารถต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นให้กับลูกค้า เพื่อรองรับการใช้ RISE with SAP solution กับสภาพแวดล้อมคลาวด์ทั้งหมด ช่วยให้การใช้และการทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์เป็นไปอย่างราบรื่น ในเวลาที่ลูกค้าวางแผนนวัตกรรมด้านไอที และในปีหน้า Red Hat และ SAP จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเวิร์กโหลด RISE with SAP solution บน Red Hat Enterprise Linux อย่างเข้มข้น และสนับสนุนให้ SAP นำ Red Hat Enterprise Linux ไปใช้งานในวงกว้างมากขึ้นได้เร็วขึ้น

Red Hat จัดหาวิศวกรด้านผลิตภัณฑ์ และจัดหาทรัพยากรให้ไว้ ณ สถานที่ทำงาน เพื่อช่วยทีมด้านวิศวกรรมและเทคนิคของ SAP ขับเคลื่อนการกำหนดมาตรฐานบน Red Hat Enterprise Linux และขับเคลื่อนความสามารถในการทำงานร่วมกันให้กับโซลูชันของ SAP และ Red Hat ทั้งนี้เป็นการสนับสนุน SAP ให้ใช้ Red Hat Enterprise Linux ได้ในวงกว้างมากขึ้น ผู้ร่วมงานของ SAP สามารถพัฒนาทักษะทางเทคนิคสำคัญ ๆ และเพิ่มความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ของ Red Hat ผ่านคอร์สอบรมแบบเวอร์ชวลโดยมีผู้สอนของเร้ดแฮท และ hands-on labs ผ่าน Red Hat Learning Subscription Premium

ความร่วมมือในการขยาย SAP software workloads ไปยัง Red Hat Enterprise Linux นี้มุ่งให้ลูกค้าของ SAP มีความคล่องตัวทางธุรกิจ ใช้คลาวด์ได้เร็วขึ้น และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ ด้วยการใช้และทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ของ Red Hat ได้อย่างไม่ยุ่งยาก ปัจจุบันลูกค้าสามารถขับเคลื่อนโปรเจกต์การทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์ได้คล่องตัวมากขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์ของ SAP รวมถึง SAP S/4HANA® ที่ทำงานบน RISE with SAP solution ที่มี Red Hat Enterprise Linux เป็นฐานที่แข็งแกร่ง

คำกล่าวสนับสนุน

Lalit Patil, CTO, SAP Enterprise Cloud Services, SAP SE 

“Red Hat Enterprise Linux ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานแบบเปิดที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับการใช้ซอฟต์แวร์ของ SAP และมอบโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้กับเวิร์กโหลดที่ทำงานบนไฮบริดคลาวด์ เรามุ่งมั่นที่จะร่วมสร้างมรดกทางนวัตกรรมร่วมกับ Red Hat เพื่อเสริมแกร่งให้ลูกค้าของเราผ่านความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการใช้สภาพแวดล้อมคลาวด์ทั้งหมด”

Gunnar Hellekson, vice president and general manager, Red Hat Enterprise Linux Business Unit, Red Hat 

“การที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดผ่านระบบการวิเคราะห์ต่าง ๆ บนโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ องค์กรเหล่านั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานระบบปฏิบัติการที่ได้รับการทดสอบและตรวจสอบแล้ว และต้องเชื่อถือได้ เพื่อรองรับปฏิบัติการสำคัญ ๆ ทุกด้าน Red Hat Enterprise Linux ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนหลักที่เชื่อถือได้ให้กับองค์กรใน Fortune 500 ทั่วโลก และเรายินดีที่ได้มีโอกาสขยายความเชื่อถือได้นี้มายัง SAP และลูกค้าของเราทั้งสองบริษัทฯ ในฐานะระบบปฏิบัติการพื้นฐานที่รองรับ SAP software workloads และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ”

2023 Technology Trends for the Enterprise

Supply Chain’s Wild Ride Continues

2023 Technology Trends for the Enterprise

By Terry Smagh, Senior Vice President and General Manager for Asia Pacific and Japan, Infor

As we usher in the new year, enterprise cloud solution providers are looking to expand their focus to business buyers, not just IT/development teams. 

As Gartner® notes in its Top Strategic Technology Trends for 2023[1] presentation, given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally, “senior IT and business leaders need to prepare to optimize, scale, or pioneer. 

    • To optimize resilience, operations or trust
    • To scale your vertical solutions, product delivery, or … everywhere
    • To pioneer customer engagement, accelerated responses or opportunity”

From an Infor perspective, we also see the growing need for combinations of technologies to address disruptions in any given industry or market.

With these market dynamics as the backdrop, here are four of our technology predictions for 2023: 

    1. The Composable Reality

For the last few years, many of the top market research and analyst firms have talked about the need and recommendation for purchasing best-of-breed applications and “composing” them together in a harmonious way, known as the “composable ERP.” 

This challenges the notion of a monolithic ERP system itself as the center of gravity for an organization. However, what hasn’t yet been formally addressed is the means by which to accomplish this composition. While many pure-play vendors in the market have their specific versions of iPaaS (infrastructure platform-as-a-service), no-code development frameworks, machine learning platforms, and more, no one has fully expanded their portfolio to cover the complete breadth for an end-to-end innovation use case. This is where GSIs (global system integrators) have traditionally played a large role, but the demand from buyers will likely be that this is an easier and faster process to procure, personalize, and deploy. Many larger software companies have procured more capabilities, but the vast majority are not natively integrated yet with their existing cloud services. This will be the year to make that the reality through a true digital transformation platform that becomes the standard glue for any given organization.

    1. Mainstream Hyperautomation

With the continuous pressure on cost efficiency and market influence, there is a conflicting need for new business models & differentiation while also being cost conscious. Organizations need to prove ROI faster while also focusing on the areas of their business where the largest cost and risk occurs. More often than not this tends to center around operations and people. 

What we should expect is that simply automating one given task is not enough. That may simply begin the journey. Instead, this will be a journey of continuous improvement even if a sense of automation exists. Can I make this faster, more accurate, more proactive, more intelligent? Can this continue to automate across disparate systems? Can this reach into my legacy on-premise systems and knowledge? This will become the expectation that IT teams request, as they are pressured by the business.

    1. Enterprise Simulations

Similar to the hyperautomation trend, businesses will want to explore if new paths can help them receive inventory faster, sell more product, reduce waste, move into new markets, or even assess how they can react to new market situations. Performing large-scale simulations like this can certainly be done in test environments but that comes with an excessively large overhead of data migrations or refreshes, process refinements, and eventual porting of changes to production. My expectation is that business users will want access to simulations in the context of their daily work. For instance, if a procurement specialist is working on an order and thinks this might be her opportunity to work with a new vendor of choice, then perhaps technology will enable her to simulate that decision based on the mass data profiles and machine learning & optimization models running in the background. If the user likes the result, then they can gain more confidence in the path and ultimately make better decisions that affect the overall business significantly. It should no longer be the bottleneck for changing a business process for better decision making.

    1. Enterprises becoming Creative Agencies

As an aggregator of the previous trends, the overarching movement is that, as the workforce evolves and the business becomes increasingly more pressured for ROI-based innovation, the C-suite will want technology solutions that empower their workers to be creative in safe yet measured ways. They will want to exploit the creativity of every member of every department without having to procure a myriad of tools and put stress on IT to provide project spaces. Instead, this should be engrained into the enterprise software experience to encourage such behavior. Employees will be better able to manage supply chains, resolve issues and escalations, optimize planning and inventory, and more. Companies will look for a trusted partner in an enterprise software vendor to empower and embrace the fact that lack of standardization in innovation can actually make you differentiated in your market. 

Gartner is a registered trademark of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved.

[1] Gartner® “Top Strategic Technology Trends for 2023” presentation, Gilbert van der Heiden, David Groombridge and others, October 2022; given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally.

 

เทรนด์เทคโนโลยีปี 2566 ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

Supply Chain’s Wild Ride Continues

เทรนด์เทคโนโลยีปี 2566 ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

เมื่อย่างเข้าสู่ปีใหม่ ผู้จำหน่ายโซลูชันคลาวด์ระดับองค์กรก็ต่างพากันมองหาลู่ทางขยายฐานลูกค้าเพิ่ม โดยไม่เน้นที่ทีมพัฒนาหรือทีมไอทีเท่านั้นอีกต่อไป

ข้อมูลจาก Top Strategic Technology Trends for 2023[1] ที่นักวิเคราะห์ของ Gartner® ได้นำเสนอในงานระดับโลก IT Symposia 2022 ระบุว่า “ผู้นำด้านไอทีและธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมพร้อมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับขยายหรือเป็นผู้ริเริ่ม ในประเด็นต่อไปนี้:

    • เพิ่มประสิทธิภาพด้านความยืดหยุ่น การดำเนินงาน หรือความไว้วางใจให้เหมาะสมที่สุด
    • ปรับขยายโซลูชันซอฟต์แวร์แบบครบวงจรที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเฉพาะ (vertical solutions) ตลอดจนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการได้จากทุกที่
    • เป็นผู้นำในการมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตอบสนองต่อความต้องการ และสร้างโอกาสในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าอย่างรวดเร็ว”

จากมุมมองของ Infor เราสังเกตเห็นถึงความต้องการการผสานรวมเทคโนโลยีหลากหลายที่เพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 

4 เทคโนโลยีที่ Infor คาดการณ์ โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในตลาดเหล่านี้ มีดังนี้:

    1. ความเป็นจริงที่ประกอบได้

      ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ตลาดชั้นนำหลายแห่งต่างระบุถึงความต้องการและให้คำแนะนำในการซื้อแอปพลิเคชันที่ดีที่สุด และ “จัดองค์ประกอบ” ของแอปพลิเคชันเหล่านี้เข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อที่รู้จักกันในนาม “composable ERP” ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่งระบบ ERP ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะทางธุรกิจ

      วิธีแบบนี้ขัดกับแนวคิดที่ว่าระบบ ERP เป็นระบบหลักที่สำคัญขององค์กร  แต่วิธีการที่จะทำให้องค์ประกอบนี้สำเร็จยังไม่ได้รับการกล่าวถึงอย่างเป็นทางการ  ในขณะที่ผู้ให้บริการแบบ Pure-Play ที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการเฉพาะจำนวนมากในตลาดจะมี iPaaS (แพลตฟอร์มบริการโครงสร้างพื้นฐาน) เฟรมเวิร์กการพัฒนาแบบไม่ใช้โค้ด ตลอดจนแพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิงและอื่น ๆ ที่เป็นเวอร์ชันเฉพาะของตนเองก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีบริษัทใดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมนวัตกรรมแบบครบวงจรได้ทั้งหมด  ซึ่งเป็นจุดที่เดิม GSIs (ผู้รวมระบบทั่วโลก) เข้ามามีบทบาทสำคัญมาโดยตลอด แต่ผู้ซื้อก็มักจะต้องการกระบวนการจัดซื้อ การปรับแต่ง และการปรับใช้ที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น 

      ที่จริง บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่หลายแห่งได้เพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถผสานรวมเข้ากับบริการคลาวด์ที่มีอยู่ได้โดยตรง  ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปีที่จะทำให้การจัดซื้อ การปรับแต่งและการปรับใช้ที่ง่ายดาย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นจริงขึ้นมาได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่แท้จริง ที่กำลังกลายเป็นเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานที่เชื่อมต่อ ตลอดจนรวมบริการคลาวด์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ สำหรับทุกองค์กร  

    1. ไฮเปอร์ออโตเมชันกระแสหลัก – แนวคิดในการทำให้การทำงานทุกอย่างภายในองค์กรเป็นอัตโนมัติ

      ด้วยแรงกดดันด้านประสิทธิภาพของต้นทุนและอิทธิพลของตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจเกิดความต้องการที่ขัดแย้งระหว่างรูปแบบธุรกิจใหม่กับการสร้างความแตกต่างที่ต้องคำนึงถึงต้นทุนด้วยในเวลาเดียวกัน  ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ให้เร็วขึ้น และต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่มีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและผู้คน

      ดังนั้น ธุรกิจควรคำนึงไว้เสมอว่าการทำให้งานหนึ่งงานเป็นอัตโนมัตินั้นไม่พอ มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะระบบอัตโนมัตินั้นจะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ข้อเรียกร้องต่อทีมไอทีให้ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ รวมไปถึงการทำให้กระบวนการต่าง ๆ เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น เป็นเชิงรุกมากขึ้น ชาญฉลาดขึ้น สามารถทำได้โดยขยายความสามารถด้านการทำงานระบบอัตโนมัตินี้ไปยังระบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระบบดั้งเดิมและความรู้ในองค์กรที่ไม่ได้บูรณาการหรือทำงานอัตโนมัติในปัจจุบัน  

    1. โปรแกรมเพื่อวิเคราะห์และทดสอบสถานการณ์ทางธุรกิจในสภาพแวดล้อมจำลอง

ธุรกิจต้องการวิธีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับสินค้าคงคลังเร็วขึ้น ขายสินค้าได้มากขึ้น
ลดของเสีย ย้ายไปตลาดใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งประเมินวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ตลาดใหม่ ซึ่งคล้าย ๆ กับเทรนด์ด้านไฮเปอร์ออโตเมชันที่เป็นการผสานรวมเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และเครื่องมือต่างๆ สำหรับระบบงานอัตโนมัติเข้าไว้ด้วยกัน  อนึ่ง การจำลองงานสเกลใหญ่ขนาดนี้จะสามารถทำได้อย่างแน่นอนในสภาพแวดล้อมเพื่อการทดสอบ แต่นั่นก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการย้ายหรือรีเฟรชข้อมูล การปรับแต่งกระบวนการ และการถ่ายโอนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตในตอนท้าย   

สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าถึงการจำลองในบริบทของการทำงานประจำ เช่น หากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อจัดจ้างรายหนึ่งกำลังทำคำสั่งซื้อ และคิดว่านี่อาจเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับเวนเดอร์รายใหม่ ก็อาจใช้เทคโนโลยีนี้ช่วยจำลองการตัดสินใจได้ โดยอิงจากโปรไฟล์ข้อมูลจำนวนมาก แมชชีนเลิร์นนิงและโมเดลเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ  ซึ่งหากผู้ใช้พอใจในผลลัพธ์ก็จะทำให้มั่นใจและตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญในท้ายที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาติดขัดในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นอีกต่อไป

    1. องค์กรธุรกิจจะกลายเป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์

ในฐานะที่ Infor เป็นผู้รวบรวมเทรนด์ต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ เราพบว่าความเคลื่อนไหวโดยรวมคือ เมื่อพนักงานมีการเปลี่ยนแปลง และธุรกิจต้องเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่พิจารณาจากผลตอบแทนการลงทุนเป็นหลัก  สิ่งนี้จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต้องการโซลูชันเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานรังสรรค์งานด้วยวิธีที่ปลอดภัยและวัดผลได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกทุกคนในทุกแผนก โดยไม่ต้องจัดหาเครื่องมือมากมายหรือสร้างแรงกดดันให้กับฝ่ายไอทีในการจัดหาพื้นที่สำหรับโครงการต่าง ๆ  และควรใช้ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรส่งเสริมการกระทำดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้พนักงานบริหารจัดการซัพพลายเชน แก้ไขปัญหาและยกระดับการทำงาน พร้อมปรับปรุงการวางแผนและสินค้าคงคลังและอื่น ๆ ได้ดีขึ้น  ทั้งนี้ ธุรกิจจะต้องมองหาพันธมิตรที่เชื่อถือได้จากผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและน้อมรับแนวทางและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสร้างโซลูชันที่ไม่เหมือนใครและเป็นนวัตกรรม ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมและยังคงแข่งขันได้

Gartner is a registered trademark of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved.

[1] Gartner® “Top Strategic Technology Trends for 2023” presentation, Gilbert van der Heiden, David Groombridge and others, October 2022; given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally.