“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com 2 เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565

PropertyGuru Reports Fourth Quarter and Full Year 2022 Results

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ และ thinkofliving.com 2 เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และผลประกอบการของทั้งปี 2565

รายได้รวมไตรมาส 4 โตขึ้น 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้ทั้งปี 2565 โตขึ้น 35%

    • รายได้รวมโตขึ้น 35% มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 3.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 2 มี.ค. 66) ซึ่งในทุก ๆ ธุรกิจเติบโตขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
    • ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) มีมูลค่า 14 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 362 ล้านบาท) ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์จากยอดขาดทุน 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 258 ล้านบาท) เมื่อปี 2564
    • ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลส (Marketplaces) ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 6 เท่าจากปี 2564

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (หรือต่อจากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 เว็บไซต์ด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย ได้แก่ DDproperty.com แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 ของประเทศ และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของประเทศ วันนี้ได้ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส 4 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยมีรายได้ในไตรมาสนี้รวมทั้งสิ้น 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้น 17% จากปีก่อนหน้า ยอดขาดทุนสุทธิ (Net loss) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) และ Adjusted EBITDA[2] เป็นบวกอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์  เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2564 ยอดขาดทุนสุทธิจะอยู่ที่ 27 ล้านดอลลาร์ สิงคโปร์[3] (ราว 698 ล้านบาท) และผลกำไรที่ปรับแล้วมูลค่าอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 103 ล้านบาท)   

 ความเห็นจากผู้บริหาร

 นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า “เรายินดีกับผลประกอบการที่ออกมา เนื่องจากพร็อพเพอร์ตี้กูรูทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ มากมายที่ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดหลักของเรา ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและการแทรกแซงจากมาตรการของภาครัฐที่เข้มงวดในการให้สินเชื่อส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในตลาด เรายังคงยืนหยัดและเติบโตได้อย่างดี ด้วยการช่วยให้ลูกค้าของเราผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญไปได้ และยังเพิ่มมูลค่าให้กับโซลูชั่นต่าง ๆ ของเราในทุก ๆ เฟสของวงจรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

“ปีที่ผ่านมานับเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู เพราะเราได้ก้าวสู่การเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของโลกอย่างนิวยอร์ก (NYSE) และต่อจากนี้ไป เรายังคงมองเห็นโอกาสที่ดีในปี 2565 รวมถึงในอนาคต โดยเรายังคงเดินหน้านำเสนอโซลูชั่นที่แตกต่างให้กับลูกค้าของเรา และยังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุนอย่างชาญฉลาดเพื่อเร่งการเติบโตของบริษัท เซนด์เฮลเพอร์ (Sendhelper) เป็นตัวอย่างที่ดีของการซื้อกิจการอย่างมีกลยุทธ์ที่เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้สร้างมูลค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ของเรา และเน้นย้ำการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ” นายแฮร์รี่ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าเงินเฟ้อทั่วโลกและมาตรการหรือนโยบายทางภาษีของรัฐบาลคือความท้าทายที่เราจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา ด้วยการทำให้ระบบนิเวศของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเป็นดิจิทัลยิ่งขึ้นและทำให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราเชื่อว่าตลาดต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราดำเนินธุรกิจอยู่จะเติบโตขึ้นมาอยู่ในระดับแถวหน้าในระดับโลกได้ในอนาคต”

ด้านนายโจ ดิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน กล่าวเสริมว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรูมีรายได้ที่เติบโตอย่างแข็งแรงถึง 35% ในปี 2565[4] ในทุกเซ็กเมนต์ของธุรกิจทำผลงานได้อย่างดีแม้ว่าจะต้องเผชิญกับการทำงานที่เต็มไปด้วยความท้าทาย เรารู้สึกยินดีกับผลประกอบการที่ออกมา ด้วยมาตรการเชิงรุกในการควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้เราสามารถมีผลกำไรที่ปรับแล้วเป็นบวก คือ 25 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในปี 2566 เรายังคงมีแผนที่จะเพิ่มรายได้ให้เติบโตและพัฒนาผลประกอบการให้ดียิ่งขึ้น เรายังคงเดินหน้าขยายธุรกิจ เร่งการลงทุน และเพิ่มการลงทุนที่สร้างผลกำไรในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น”

 ไฮไลต์ผลประกอบการไตรมาส 4 และตลอดทั้งปี 2565

    • ยอดรายได้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 17% มาอยู่ที่ 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 35% มาอยู่ที่ 136 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลส (Marketplaces) เพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 38 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 34% มาอยู่ที่ 131 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยยังรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้ในตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย ชดเชยความท้าทายที่ต้องเผชิญในตลาดเวียดนาม เนื่องจากข้อบังคับด้านการปล่อยสินเชื่อในช่วงปลายปีที่ผ่านมานั่นเอง
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 15% อยู่ที่ 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 24% มาอยู่ที่ 69 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (Average Revenue Per Agent หรือ ARPA) และรายได้โดยรวมจากเอเจนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาส 4 รายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์เพิ่มขึ้นราว 20% มาอยู่ที่ 1,076 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคนเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ทั้งปีเพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 4,078 ดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2565 นอกจากนี้ ในไตรมาส 4 สิงคโปร์มีเอเจนต์จำนวน 15,529 ราย โดยอัตราการต่ออายุในไตรมาสที่ 4 นี้อยู่ที่ 79%
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้ทั้งปี เพิ่มขึ้น 77% จากปีก่อนหน้ามาเป็น 25 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ โดยบริษัทยังคงสร้างรายได้จาก 2 แบรนด์ชั้นนำ และใช้ประโยชน์จากการควบรวมธุรกิจจาก iProperty เมื่อเดือนสิงหาคม 2564
    • รายได้จากธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามลดลง 7% ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้น 28% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 24 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ การที่รัฐบาลประกาศนโยบายที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อจำนวนประกาศอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเวียดนามโดยรวม โดยจำนวนประกาศในไตรมาส 4 ลดลงถึง 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 6 ล้านรายการ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อประกาศ (“ARPL”) ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 3.25 ดอลลาร์สิงคโปร์ และรายได้เฉลี่ยต่อประกาศทั้งปีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 8% มาอยู่ที่ 2.97 ดอลลาร์สิงคโปร์
    • ณ สิ้นปี เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดมีมูลค่าอยู่ที่ 309 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของแต่ละเซ็กเมนต์แสดงตามรายละเอียดด้านล่างนี้

  

For the Three Months Ended December 31,

 
  

2022

 

2021

 

YoY Growth

 
  

(S$ in thousands except percentages)

 
  

 

 

 

 

 

 

Revenue

40,097             

 

34,329             

 

16.8%

 

Marketplaces

38,350

 

33,299             

 

15.2%

 
 

Singapore

18,805             

 

16,382             

 

14.8%

 
 

Vietnam

5,870             

 

6,304            

 

-6.9%

 
 

Malaysia

7,531               

 

5,888               

 

27.9%

 
 

Other Asia

6,144               

 

4,725               

 

30.0%

 

Fintech and data services

1,747          

 

1,030                  

 

69.6%

 

Adjusted EBITDA

4,829               

 

(4,149)            

   

Marketplaces

18,240             

 

6,321               

   
 

Singapore

11,441             

 

6,709               

   
 

Vietnam

722               

 

655               

   
 

Malaysia

3,429               

 

(2,026)            

   
 

Other Asia

2,648               

 

983            

   

Fintech and data services

(1,981)            

 

          (1,546)

   

Corporate*

(11,430)            

 

(8,924)            

   
       

Adjusted EBITDA Margin (%)

12.0%

 

-12.1%

   

Marketplaces

47.6%

 

19.0%

   
 

Singapore

60.8%

 

41.0%

   
 

Vietnam

12.3%

 

10.4%

   
 

Malaysia

45.5%

 

-34.4%

   
 

Other Asia

43.1%

 

20.8%

   

Fintech and data services

-113.4%

 

-150.1%

   
       
  

For the Twelve Months Ended December 31

 
  

2022

 

2021

 

YoY Growth

 
  

(S$ in thousands except percentages)

 
  

 

 

 

 

 

 

Revenue

135,925

 

100,711

 

35.0%

 

Marketplaces

130,861

 

97,334

 

34.4%

 
 

Singapore

69,241

 

55,891

 

23.9%

 
 

Vietnam

24,040

 

18,767

 

28.1%

 
 

Malaysia

25,388

 

14,315

 

77.4%

 
 

Other Asia

12,192

 

8,361

 

45.8%

 

Fintech and data services

5,064

 

3,377

 

50.0%

 

Adjusted EBITDA

14,466

 

(10,372)

   

Marketplaces

63,045

 

23,746

   
 

Singapore

47,626

 

33,355

   
 

Vietnam

5,470

 

2,063

   
 

Malaysia

10,208

 

(10,440)

   
 

Other Asia

(259)

 

(1,232)

   

Fintech and data services

(7,385)

 

(4,634)

   

Corporate*

(41,194)

 

(29,484)

   

Adjusted EBITDA Margin (%)

10.6%

 

-10.3%

  

Marketplaces

48.2%

 

24.4%

   
 

Singapore

68.8%

 

59.7%

   
 

Vietnam

22.8%

 

11.0%

   
 

Malaysia

40.2%

 

-72.9%

   
 

Other Asia

-2.1%

 

-14.7%

   

Fintech and data services

-145.8%

 

-137.2%

   
                  

*Corporate consists of headquarters costs, which are not allocated to the segments. Headquarters costs are costs of PropertyGuru’s personnel that are based predominantly in its Singapore headquarters and certain key personnel in Malaysia and Thailand, and that service PropertyGuru’s group as a whole, consisting of its executive officers and its group marketing, technology, product, human resources, finance and operations teams, as well as platform IT costs (hosting, licensing, domain fees), workplace facilities costs, corporate public relations retainer costs and professional fees such as audit, legal and consultant fees. Certain elements of marketing expenses previously allocated to Corporate in the first quarter 2022 have since been moved to business segments in line with changes to internal reporting lines.

 ความเป็นผู้นำอย่างแข็งแกร่งในธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 พร็อพเพอร์ตี้กูรูยังคงครองความเป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาด[5] ในประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศไทย  

 สิงคโปร์: 81 % – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 5.2 เท่า          ไทย: 58% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 2.5 เท่า

เวียดนาม: 75% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 3.1 เท่า         อินโดนีเซีย: 22% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 0.3 เท่า  

มาเลเซีย: 93% – นำหน้าอันดับที่ 2 อยู่ 15.2 เท่า

 คาดการณ์ผลประกอบการปี 2566

ทั้งนี้ บริษัทได้คาดการณ์รายได้ทั้งปีของปี 2566 ไว้ประมาณ 160-170 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และ Adjusted EBITDA อยู่ที่ระหว่าง 11–15 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในระยะใกล้นี้การร่วมบูรณาการและขยายการควบรวมกิจการกับเซนด์เฮลเพอร์ (Sendhelper) คาดว่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผลกำไรราว 3-4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 นี้ และนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 บริษัทจะไม่ลบค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการเป็นบริษัทมหาชนเมื่อต้องคำนวณ Adjusted EBITDA สำหรับปี 2566 บริษัทคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะอยู่ที่ประมาณ 11–12 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ที่ 11 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และจากฐานดังกล่าวทำให้ Adjusted EBITDA ทั้งปี 2565 ของบริษัทอยู่ที่ 3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์  

ปัจจัยระยะสั้นที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทและทำให้การคาดการณ์ผลประกอบการเป็นไปแบบไม่หวือหวาสำหรับปี 2566 ได้แก่ มาตรการของรัฐบาลเวียดนามที่ควบคุมการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภค, การเมืองที่ยังคงไม่แน่นอนในมาเลเซีย, นโยบายที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างเคร่งครัดในสิงคโปร์, ความไม่ชัดเจนของนโยบายการคลังทั่วโลกอันเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น, แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อ และเรื่องเกี่ยวกับระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global Supply Chain Issues) ในระยะยาว บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด มุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนผลกำไร และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดหลักที่บริษัทดำเนินการอยู่

 รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) และ Webcast  

บริษัทจะจัดการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) และเว็บแคสต์ (Webcast) ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 8:00 น. ตามเขตเวลาตะวันออกในสหรัฐอเมริกา / 21:00 น. ตามเวลาประเทศสิงคโปร์ (20:00 น. ตามเวลาประเทศไทย) เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัท รวมถึงการคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต คุณสามารถเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ผ่านการลงทะเบียนที่:

https://propertyguru.zoom.us/webinar/register/WN_KYdeZj7TQzW-8UifD2sWAQ

สำหรับการบันทึกการประชุมสามารถรับฟังได้ที่หน้า Investor Relations บนเว็บไซต์ของบริษัท หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นแล้วที่  https://investors.propertygurugroup.com/news-and-events/events-and-presentations/default.aspx

[1] อ้างอิงข้อมูลจาก SimilarWeb ช่วงระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2565

[2] ในการปรับปรุงรายการระหว่างยอดขาดทุนสุทธิ และผลกำไรที่ปรับแล้วของไตรมาส 4 ปี 2565 มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 258 ล้านบาท) นั้นได้รวมถึงค่าเสื่อมราคา (depreciation) และ ค่าตัดจำหน่าย (amortization) มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) แล้ว

[3] ในการปรับปรุงรายการระหว่างยอดขาดทุนสุทธิ และผลกำไรที่ปรับแล้วของไตรมาส 4 ปี 2564 มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ได้รวมถึงค่าเสื่อมราคา (depreciation) และ ค่าตัดจำหน่าย (amortization) มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 129 ล้านบาท) อีกทั้งยังรวมถึงสิทธิ์ในการจัดสรรและซื้อขายหุ้นมูลค่า 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และค่าใช้จ่ายในการควบรวมกิจการต่าง ๆ อีก 7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แล้ว

4 ผลประกอบการทั้งปี ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 นั้นรวมผลประกอบการธุรกิจของ iProperty Malaysia และ thinkofliving ซึ่งถูกควบรวมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564

[5] อ้างอิงจากข้อมูลของ SimilarWeb ช่วงระหว่าง ก.ค.- ธ.ค. 2565

Alibaba Cloud Named a Leader in Cloud Database Management Systems for the Third Consecutive Year

Alibaba Cloud Launches Carbon Management Solution

Alibaba Cloud Named a Leader in Cloud Database Management Systems for the Third Consecutive Year

Alibaba Cloud Named a Leader in Cloud Database Management Systems for the Third Consecutive Year

Alibaba Cloud, the digital technology and intelligence backbone of Alibaba Group, has been named a Leader in the Gartner® Magic Quadrant™ for Cloud Database Management Systems (DBMS) for the third consecutive year in 2022, as well as a Challenger in its Magic Quadrant™ for Network Firewalls for the second consecutive year. 

Alibaba Cloud believes the recognition shows its strengths in Cloud DBMS and Network Firewall offerings. The reports identified the most relevant providers in particular markets and evaluated their Completeness of Vision and Ability to Execute based on a variety of factors.

Delivering cloud database management systems

The diversity of Alibaba Cloud’s DBMS provides versatile support that can handle operational, analytical, multimodal and real-time use cases. Alibaba Cloud’s DBMS business has grown significantly on the back of these strengths, supported by success stories across a wide range of industries and organizations. Core database products such as the cloud-native relational database PolarDB also stood out for their ability to handle extremely high concurrency and elasticity scenarios, such as the world’s biggest shopping festival 11.11.

“As the global demand for public and hybrid cloud solutions has grown, the need for reliable solutions to manage data has also increased. We’re delighted to be recognized as a Leader by Gartner in Cloud Database Management Systems, and believe the inclusion reflects our commitment to innovating scalable and accessible solutions for our customers.” said Selina Yuan, Vice President of Alibaba Group and President of International Business for Alibaba Cloud Intelligence. “We will continue to expand our partner ecosystem and look forward to further working with our global customers to meet their evolving cloud needs.”

Alibaba Cloud provides a range of cloud database offerings, including PolarDB and PolarDB-X for operational use cases, and AnalyticDB and MaxCompute for analytical use cases. For non-relational and real-time use cases, Alibaba Cloud provides the multi-model database Lindorm and cloud-native in-memory database Tair.

Building network firewalls

The cloud service provider has a comprehensive security product portfolio, while the ability to centrally manage these products via the Alibaba Security Center has made network management and vendor consolidation easier. 

“Network security has always been a priority for us, especially now as cyber threats have become increasingly sophisticated. Our continuous work in the area of Network Firewalls shows our commitment to helping clients to stay ahead of these threats and continue to use cloud solutions confidently,” Yuan said.

Alibaba Cloud Firewall is one of the first Software-as-a-Service firewalls deployed on the public cloud. It can be activated without complex network configurations or installation, acting as an all-in-one solution capable of managing various security features. These include inbound and outbound traffic from IP addresses, access control between VPC networks and a visualization of traffic between security groups for customers to secure the traffic and meet compliance requirements. 

Alibaba Cloud ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำ ด้าน Cloud Database Management Systems เป็นปีที่สามติดต่อกัน

Alibaba Cloud Launches Carbon Management Solution

Alibaba Cloud ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้าน Cloud Database Management Systems เป็นปีที่สามติดต่อกัน

และยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในกลุ่ม Challengers ด้าน Network Firewalls

อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่ม Leaders ด้าน Cloud Database Management Systems (DBMS) 2022 จากรายงาน Gartner® Magic QuadrantTM เป็นปีที่สามติดต่อกัน และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่ม Challengers ด้าน Network Firewalls จากรายงานเดียวกันนี้เป็นปีที่สองติดต่อกัน

อาลีบาบา คลาวด์ เชื่อว่า การได้รับการยอมรับและจัดให้อยู่ในกลุ่มเหล่านี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ด้าน Cloud DBMS และ Network Firewall ของบริษัท รายงานทั้งสองฉบับได้จำแนกผู้ให้บริการที่สัมพันธ์กันมากที่สุดในแต่ละตลาดที่เฉพาะเจาะจง และประเมินความสำเร็จของวิสัยทัศน์ และความสามารถในการปฏิบัติการโดยพิจารณาจากปัจจัยที่หลากหลาย

มอบระบบบริหารจัดการดาต้าเบสบนคลาวด์

ความหลากหลายของ DBMS ของอาลีบาบา คลาวด์ ทำให้สามารถให้การสนับสนุนที่มีความสามารถรอบตัว และรับมือกับงานเชิงปฏิบัติการ เชิงวิเคราะห์ รวมถึงงานต่าง ๆ ที่ใช้วิธีการทำงานหลายรูปแบบและเป็นแบบเรียลไทม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจ DBMS ของอาลีบาบา คลาวด์ เติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากจุดแข็งเหล่านี้ และได้รับการสนับสนุนจากเรื่องราวความสำเร็จต่าง ๆ จากองค์กรจำนวนมากในหลากหลายอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบสหลัก ๆ เช่น PolarDB ซึ่งเป็น cloud-native relational databaseก็ยังคงโดดเด่นด้วยความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกันและต้องการความยืดหยุ่นสูง เช่น เทศกาล 11.11 ซึ่งเป็นมหกรรมช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดของโลก 

คุณเซลินา หยวน รองประธาน อาลีบาบา กรุ๊ป และประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “เมื่อความต้องการโซลูชันพับลิคและไฮบริดคลาวด์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการโซลูชันที่เชื่อถือได้เพื่อบริหารจัดการดาต้าก็เพิ่มขึ้นด้วย  เรายินดีที่ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่ม Leader ด้าน Cloud Database Management Systems จาก Gartner และเราเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นในการคิดค้นโซลูชันที่ปรับขนาดได้และเข้าถึงได้ให้กับลูกค้าของเรา เราจะยังคงขยายระบบนิเวศด้านพันธมิตรของเราต่อไป และมุ่งทำงานร่วมกับลูกค้าทั่วโลก เพื่อตอบความต้องการด้านคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาให้กับลูกค้าของเรา”

อาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ดาต้าเบสบนคลาวด์หลากหลาย เช่น PolarDB และ PolarDB-X เพื่อการใช้งานเชิงปฏิบัติการ, AnalyticDB และ MaxCompute เพื่องานเชิงวิเคราะห์ สำหรับการใช้งาน non-relational และเรียลไทม์ อาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอ Lindorm ซึ่งเป็นมัลติ-โมเดล ดาต้าเบส และ Tair ซึ่งเป็นดาต้าเบสในหน่วยความจำแบบคลาวด์เนทีฟ

การสร้าง network firewalls

อาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม และด้วยความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้แบบรวมศูนย์ผ่าน Alibaba Security Center ทำให้การจัดการเน็ตเวิร์กและการรวบรวมข้อมูลของผู้ขายเทคโนโลยีทำได้ง่ายขึ้น

คุณเซลินา กล่าวว่า “การรักษาความปลอดภัยเน็ตเวิร์กสำคัญสูงสุดสำหรับเราเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความซับซ้อนมากขึ้น  การทำงานอย่างต่อเนื่องของเราในด้าน Network Firewall แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการช่วยให้ลูกค้าก้าวล้ำนำหน้าภัยคุกคามเหล่านี้ และใช้โซลูชันคลาวด์ได้อย่างมั่นใจ” 

Alibaba Cloud Firewall เป็นหนึ่งในไฟร์วอลล์แบบ Software-as-a-Service ตัวแรก ๆ ที่ใช้บนพับลิคคลาวด์ สามารถเริ่มใช้งานได้โดยไม่ต้องกำหนดค่าหรือติดตั้งเน็ตเวิร์กที่ซับซ้อน ทำหน้าที่เป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรที่สามารถจัดการฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการรับส่งข้อมูลขาเข้าและขาออกจาก IP address ต่าง ๆ ควบคุมการเข้าถึงระหว่าง VPC networks และการแสดงภาพรับส่งข้อมูลระหว่างกลุ่มความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ามีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลและให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ

Ericsson Presents Global 5G Leadership to depa at MWC 2023 in Barcelona

Ericsson โชว์ศักยภาพผู้นำ 5G ระดับโลกในงาน MWC 2023 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

Ericsson Presents Global 5G Leadership to depa at MWC 2023 in Barcelona

    • Ericsson meets with depa’s management team at the world’s largest and most influential connectivity event – Mobile World Congress 2023.
    • Ericsson is committed to bringing the latest 5G technologies to and nurturing the 5G eco-system in Thailand.
    • The Ericsson-depa collaboration includes an innovation lab, which will serve as a 5G testbed and center for trials of new wireless and network technologies.

Ericsson’s commitment to bringing the latest 5G technologies to Thailand and nurturing the country’s 5G eco-system development was on display this week at the world’s largest and most influential connectivity event – Mobile World Congress 2023.

At the global event in Barcelona, Ericsson welcomed the management team of the Digital Economy Promotion Agency (depa) to the Ericsson Hall and took them on a tour of the 5G technologies and use cases that can be leveraged for the benefit of Thailand.

During the visit, Igor Maurell, Head of Ericsson Thailand, discussed Ericsson’s 5G vision with Asst. Prof. Dr. Nuttapon Nimmanphatcharin, President/CEO of depa, and his team. The depa delegation explored Ericsson demonstrations such as the Future Technology Experience, Cloud Gaming Connected Enterprise Solutions and the Enterprise Ecosystem.

“5G can open up limitless possibilities for Thailand including transforming enterprises, delivering exceptional consumer experiences and enabling the country to grow sustainably, in support of the Thailand 4.0 vision,” Igor said.

“We are pleased to be collaborating with depa to accelerate Thailand’s transformation to a digital economy and during our joint discussions at Mobile World Congress we re-iterated Ericsson’s commitment to bringing the company’s state-of-the-art technology and solutions together with our global experience and expertise to Thailand.”

Ericsson Thailand and depa signed a Memorandum of Understanding to collaborate towards driving 5G based digital transformation in Thailand. As part of the MoU, both parties will establish an innovation lab in depa’s Thailand Digital Valley in Chonburi province that will serve as a 5G testbed and service center for trials of new wireless and network technologies, spectrum sharing, as well as new applications and services in Thailand.

Ericsson is a global 5G leader and today powers 143 live 5G networks in 62 countries with 21 live 5G standalone networks across the world.

Ericsson โชว์ศักยภาพผู้นำ 5G ระดับโลกในงาน MWC 2023 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

Ericsson โชว์ศักยภาพผู้นำ 5G ระดับโลกในงาน MWC 2023 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

Ericsson โชว์ศักยภาพผู้นำ 5G ระดับโลกในงาน MWC 2023 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

    • อีริคสันให้การต้อนรับคณะผู้บริหารของดีป้า ในงานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก – Mobile World Congress 2023
    • อีริคสันมุ่งมั่นนำเทคโนโลยี 5G ล่าสุด พร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ในประเทศไทย
    • อีริคสันและดีป้าร่วมมือกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรม เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ทดสอบเครือข่าย 5G และศูนย์บริการสำหรับการทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายและเครือข่ายใหม่ ๆ

ความมุ่งมั่นของอีริคสันในการนำเสนอเทคโนโลยี 5G ล่าสุดมายังประเทศไทยและการร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศ ได้ถูกนำมาสาธิตที่งานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอย่าง Mobile World Congress 2023

อีริคสันได้ต้อนรับคณะผู้บริหารของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่เดินทางมาเยี่ยมชมเทคโนโลยี 5G และศึกษากรณีการใช้งานเครือข่ายที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทย ณ อีริคสัน ฮอลล์ ภายในงานระดับโลก ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน

ระหว่างการเยี่ยมชม มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย ได้แสดงวิสัยทัศน์ 5G ของอีริคสัน กับ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และทีมงาน โดยคณะผู้แทนจากดีป้าได้ให้ความสนใจและชมการสาธิตเทคโนโลยีของอีริคสันมากมาย อาทิ Future Technology Experience โซลูชันของ Cloud Gaming Connected Enterprise และ Enterprise Ecosystem

“5G สามารถเปิดโอกาสที่ไร้ขีดจำกัดให้แก่ประเทศไทย ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมแก่ผู้บริโภค และทำให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0” มร.อิกอร์ กล่าว

“เรายินดีที่ได้ร่วมมือกับดีป้าเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ในระหว่างการหารือร่วมกันที่งาน Mobile World Congress เรายังได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นด้านเครือข่ายที่ล้ำสมัย พร้อมมอบประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมาสู่ประเทศไทย”

อีริคสัน ประเทศไทย และ ดีป้า ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลโดยใช้เครือข่าย 5G ในประเทศไทย ส่วนหนึ่งในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ยังระบุว่า อีริคสันและดีป้าจะจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรมใน Thailand Digital Valley ของดีป้าในจังหวัดชลบุรี เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ทดสอบเครือข่าย 5G และศูนย์บริการสำหรับการทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายและเครือข่ายใหม่ ๆ การแบ่งปันคลื่นความถี่ (Spectrum Sharing) ตลอดจนการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ในประเทศไทย

อีริคสันเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ระดับโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ขยายการให้บริการเครือข่าย 5G ไปแล้วจำนวน 143 เครือข่าย ใน 62 ประเทศ พร้อมเครือข่าย 5G แบบ Standalone จำนวน 21 เครือข่ายทั่วโลก