วางตลาด Red Hat Enterprise Linux AI นวัตกรรม AI พร้อมใช้งานในองค์กร

วางตลาด Red Hat Enterprise Linux AI นวัตกรรม AI พร้อมใช้งานในองค์กร

วางตลาด Red Hat Enterprise Linux AI นวัตกรรม AI พร้อมใช้งานในองค์กร

RHEL AI ผสานโมเดลแบบโอเพ่นที่ทรงประสิทธิภาพกับเครื่องมือการจัดตำแหน่งโมเดล เพื่อนำนวัตกรรม AI ไปใช้บนไฮบริดคลาวด์ได้มากขึ้น

เร้ดแฮท ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์ส ประกาศวางตลาด Red Hat Enterprise Linux (RHEL) AI ใช้งานบนไฮบริดคลาวด์ RHEL AI คือแพลตฟอร์ม foundation model ของเร้ดแฮทที่เป็นพื้นที่ให้ผู้ใช้ทำการพัฒนา ทดสอบ และรันโมเดล generative AI (gen AI) ต่าง ๆ ได้อย่างลงตัวมากขึ้น ส่งผลให้สามารถใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ในองค์กรได้อย่างราบรื่น  แพลตฟอร์มนี้บูรณาการโมเดลด้านภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ตระกูล Granite ที่เป็นไลเซนส์โอเพ่นซอร์ส และ InstructLab ซึ่งเป็นเครื่องมือปรับโมเดลที่อิงการทำงานตามวิธี  Large-scale Alignment for chatBots (LAB) ไว้ด้วยกันเป็น RHEL image ที่บู๊ตได้ตามความเหมาะสม เพื่อใช้งานกับเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวที่อยู่บนไฮบริดคลาวด์ทั้งหมดอย่างเป็นเอกเทศ

แม้ว่าความนิยมในการใช้ gen AI กำลังพุ่งสูงขึ้นมาก แต่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา การเทรน และการปรับแต่งโมเดล LLM ต่าง ๆ นั้นสูงมาก การเทรนโมเดลชั้นนำบางโมเดลก่อนจะเปิดตัวได้ มีค่าใช้จ่ายเกือบ 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการปรับโมเดลให้สอดคล้องกับความต้องการหรือข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร ที่มักต้องทำโดยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientists) หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโมเดลใดให้กับแอปพลิเคชันที่จะใช้ก็จำเป็นต้องปรับโมเดลให้สอดคล้องกับข้อมูลและกระบวนการเฉพาะของแต่ละบริษัท ดังนั้นการใช้ AI ในสภาพแวดล้อมการทำงานจริงจึงต้องการประสิทธิภาพและความคล่องตัวอย่างมาก

เร้ดแฮทเชื่อว่าในอีกสิบปีข้างหน้า โมเดล AI ที่เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นโมเดลที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง จะเป็นตัวทำให้เกิดการผสมผสาน IT stack ขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญ ควบคู่กับแอปพลิเคชันแบบคลาวด์-เนทีฟ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ ผู้ใช้จะต้องเข้าถึง gen AI ได้มากขึ้น และ gen AI ต้องพร้อมใช้งานมากขึ้น นั่นคือการพิจารณาด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา gen AI ไปจนถึงทำให้สามารถรัน gen AI บนไฮบริดคลาวด์ได้ทั้งหมด ในมุมของโอเพ่นซอร์สคอมมิวนิตี้นั้น นับเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่คอมมิวนิตี้นี้ได้ช่วยแก้ไขความท้าทายในลักษณะเดียวกันนี้ให้กับซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนต่าง ๆ ผ่านการมีส่วนร่วมส่งความรู้เข้าคอมมิวนิตี้จากผู้ใช้กลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งวิธีการเดียวกันนี้สามารถลดอุปสรรคในการใช้ gen AI ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

แนวทางของโอเพ่นซอร์สต่อ gen AI

ความท้าทายที่กล่าวข้างต้นคือสิ่งที่ RHEL AI ต้องบริหารจัดการ เพื่อทำให้เข้าถึง gen AI ได้มากขึ้นบนไฮบริดคลาวด์ มอบความคล่องตัวและประสิทธิภาพมากขึ้นให้กับผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (CIOs) และองค์กรด้านไอที ดังนี้

  • สนับสนุนนวัตกรรมด้าน gen AI ด้วยโมเดล Granite ที่เป็นไลเซนส์โอเพ่นซอร์สความสามารถระดับใช้งานในองค์กร และใช้งาน gen AI ได้หลายรูปแบบ
  • InstructLab ช่วยปรับโมเดล gen AI ให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ขององค์กร ใช้ทักษะเฉพาะและความรู้ต่าง ๆ กับโมเดลของตนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data science)
  • เทรนและใช้ gen AI ได้ทุกที่บนไฮบริดคลาวด์ ผ่านเครื่องมือที่จำเป็นทั้งหมดที่มีให้เพื่อใช้ปรับแต่งและใช้โมเดลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานในทุกแห่งที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องวางอยู่ นอกจากนี้ยังมอบช่องทางเพื่อต่อยอดไปสู่การใช้งาน Red Hat OpenShift AI เพื่อเทรน ปรับแต่ง และให้บริการโมเดลเหล่านี้ในสเกลที่ใหญ่ขึ้นตามต้องการด้วยการใช้เครื่องมือและแนวทางเดียวกัน

RHEL AI ยังใช้สิทธิประโยชน์ของ Red Hat subscription ได้ ซึ่งรวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ระดับองค์กรที่เชื่อถือได้ การให้บริการช่วยเหลือการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน การสนับสนุนไลฟ์ไซเคิลของโมเดล และการคุ้มครองทางกฎหมายของ Open Source Assurance

ใช้ RHEL AI บนไฮบริดคลาวด์ทุกแห่ง

สิ่งที่สำคัญมากในการนำ AI ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การนำโมเดลที่ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นไปวางไว้ให้ใกล้จุดที่ข้อมูลขององค์กรวางอยู่ RHEL AI ซึ่งเป็นส่วนขยายของพอร์ตโฟลิโอไฮบริดคลาวด์ของเร้ดแฮท จะขยายข้ามไปใกล้สภาพแวดล้อมขององค์กรเกือบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่ติดตั้งภายในองค์กร สภาพแวดล้อม edge ไปจนถึงบนพับลิคคลาวด์ นั่นหมายถึง RHEL AI จะพร้อมให้ใช้งานได้ทั้งจากเร้ดแฮทโดยตรง จากพันธมิตร OEM ของเร้ดแฮท และรันอยู่บนบริการของผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลก เช่น Amazon Web Services (AWS), Google Cloud, IBM Cloud และ Microsoft Azure ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และองค์กรด้านไอที สามารถใช้พลังของทรัพยากรการประมวลผลแบบไฮเปอร์สเกลในการสร้างแนวคิดนวัตกรรมด้าน AI ด้วย RHEL AI

การจัดจำหน่าย

ขณะนี้ RHEL AI พร้อมให้บริการแล้วผ่าน Red Hat Customer Portal เพื่อรันบนระบบภายในองค์กร หรืออัปโหลดไปยัง AWS และ IBM Cloud ในรูปแบบ “bring your own subscription” (BYOS) สำหรับ Azure และ Google Cloud นั้นวางแผนไว้ว่าจะพร้อมให้ใช้บริการในรูปแบบ BYOS ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 และคาดว่าจะพร้อมให้ใช้งานบน IBM Cloud ในรูปแบบ as a service ปลายปีนี้

เร้ดแฮทวางแผนขยาย RHEL AI cloud และพันธมิตร OEM เพิ่มเติมในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อมอบทางเลือกการใช้งานบนสภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ให้มากขึ้น

คำกล่าวสนับสนุน

Joe Fernandes, vice president and general manager, Foundation Model Platforms, Red Hat

การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในการใช้แอปพลิเคชัน AI ได้อย่างแท้จริงได้นั้น องค์กรและผู้ใช้จะต้องเข้าถึงแอปฯ เหล่านั้นได้ในวงกว้างมากขึ้น และสามารถนำแอปฯ เหล่านั้นไปใช้กับงานด้านต่าง ๆ ของธุรกิจได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น RHEL AI มอบความสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งไม่เจาะจงเฉพาะกับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientist) ในการมีส่วนร่วมสร้างโมเดล AI เพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์เฉพาะ บนไฮบริดคลาวด์ ในขณะเดียวกันองค์กรด้านไอทีก็สามารถสเกลโมเดลเหล่านี้ให้เหมาะสมกับระบบงานจริงผ่าน Red Hat OpenShift AI”

Hillery Hunter, CTO and general manager of innovation, IBM Infrastructure

“IBM ให้คำมั่นที่จะช่วยองค์กรต่าง ๆ สร้างและใช้โมเดล AI ที่มีประสิทธิภาพ และสเกลได้อย่างรวดเร็ว RHEL AI on IBM Cloud คือการนำนวัตกรรมโอเพ่นซอร์สมาสู่แนวหน้าของการใช้ gen AI ช่วยให้องค์กรและผู้คนเข้าถึง สเกล และใช้พลังของ AI ได้มากขึ้น  การรวมพลังของ RHEL AI, InstructLab และโมเดลในตระกูล Granite ของ IBM นี้ เป็นสิ่งที่เรากำลังสร้างโมเดล gen AI ที่จะช่วยลูกค้าขับเคลื่อนผลทางธุรกิจอย่างแท้จริงตลอดทั้งองค์กร”

Jim Mercer, program vice president, Software Development, DevOps & DevSecOps, IDC

ประโยชน์ของ AI ในองค์กรนั้นมาพร้อมกับแลนด์สเคปของโมเดล AI ขนาดมหึมา และมีความซับซ้อนโดยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ การปรับแต่ง และการบำรุงรักษาโมเดลภายในองค์กร  กลยุทธ์ด้าน AI ของผู้ใช้และองค์กรที่มีความหลากหลาย จะประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยโมเดลที่มีขนาดเล็กลง เจาะจงสร้างตามวัตถุประสงค์ และเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนนี้คือเป้าหมายที่เร้ดแฮทจะใช้ RHEL AI เป็นแพลตฟอร์มสำหรับ foundational model”

Alibaba Cloud and KMUTT Collaborate to Cultivate Future Digital Talents for Thailand’s Workforce in a Rapidly Evolving Tech Landscape

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับ มจธ. เตรียมบุคลากรแห่งโลกอนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ตลาดแรงงานไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

Alibaba Cloud and KMUTT Collaborate to Cultivate Future Digital Talents for Thailand’s Workforce in a Rapidly Evolving Tech Landscape

  • Integration of hands-on skills development and opportunities to get Alibaba Cloud certificates.
  • Hundreds of computer engineering students to benefit from the partnership

Alibaba Cloud, the digital technology and intelligence backbone of Alibaba Group, has announced partnership with King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT), to equip and train students in cutting-edge cloud-based technologies. This collaboration reinforces Alibaba Cloud’s commitment to empowering local digital talents in Thailand.

The partnership commenced with a series of weekly public lectures in August designed to provide foundational cloud computing knowledge to university students, faculty, and staff. The inaugural session on the history of cloud computing started in late August. Beginning in late September, the program will offer advanced courses for computer engineering students, focusing on deployment and management skills related to Alibaba Cloud’s core products and architecture, with certification opportunities available. Additionally, the duo are planning to incorporate the training materials into an elective course on cloud computing for engineering students. This partnership aims to benefit hundreds of students in KMUTT’s Computer Engineering Department, preparing them to meet future demands in the digital workforce.

“As cloud computing transforms industries and reshapes our work environments, we are excited to collaborate with Alibaba Cloud to empower KMUTT’s students as vital contributors to our economy and national development. Our objective is to seamlessly integrate this cutting-edge expertise into the university’s curriculum, ensuring our students are well-prepared for the rapidly evolving labor market shaped by emerging technologies,” said Asst. Prof. Dr. Santitham Prom-on, Director of the Big Data Experience Center and Head of the Computer Engineering Department at KMUTT.

The Alibaba Cloud Academic Empowerment Program (AAEP) collaborates directly with accredited educational institutions to provide resources for students, educators, and researchers. Member educators will benefit from free training, opportunities to connect with global cloud industry leaders, and access to hands-on labs for practical knowledge application. Alibaba Cloud has partnered with more than 80 universities across 16 countries and regions outside the Chinese mainland, empowering future talents with cloud computing learning resources.

“Alibaba Cloud is dedicated to bringing digital intelligence to academic institutions worldwide including Thailand through our academic empowerment program. The program empowers students with online training in cloud computing with certification opportunities. We are excited to partner with KMUTT, a prominent institution known for its exceptional technological expertise. This collaboration aligns perfectly with our efforts to cultivate a skilled digital workforce that meets the evolving demands of the labor market,” said Selina Yuan, President of International Business at Alibaba Cloud Intelligence.

Globally, Gartner has highlighted Platform Engineering as a key trend for 2024, forecasting that by 2026, 80% of software engineering organizations will establish in-house platform teams.

According to an independent cloud survey Alibaba Cloud released in 2023, 95% majority of Thai businesses expected a sizeable increase in cloud investment, leading the pack of 8 surveyed Asian markets including Indonesia, the Philippines, and Singapore.

Asst. Prof. Dr. Santitham noted that the demand for cloud computing in Thailand is notably surging as businesses seek to migrate workloads to the cloud, benefiting from its flexibility, scalability, security, and cost-effectiveness. However, challenges such as legacy systems and vendor dependencies must be navigated carefully, necessitating a trusted technology partner for seamless migration. KMUTT, with its comprehensive IT facilities, is well-positioned to leverage cloud systems, opening new opportunities for projects requiring extensive online engagement.

The partnership offers a hybrid learning model with varying entry-level setups. The first phase, which started in late August, 2024, includes three sessions of public lectures led by an Alibaba Cloud Academy tutor with in-depth cloud computing expertise. These lectures introduce the history of cloud computing, key cloud computing technologies, and the economic aspects of cloud adoption. They are open for registration to all KMUTT students and faculty members. The first lecture kicked off on August 26th with a full house of more than 130 attendees. 

Following this, the second phase will launch from September to November with regular sessions focused on helping computer engineering students learn to deploy and manage Alibaba Cloud’s main cloud computing products such as elastic computing and storage and cloud architectures know-how. Students will be able to earn Alibaba Cloud certifications upon successfully passing the exams.

Alibaba Cloud Academy, the training and certification division of Alibaba Cloud, offers over 300 online and offline certification courses, 17 professional certifications, and 250 online hands-on labs with over 300 associated partners worldwide. Computer engineering students from KMUTT will have membership access to the online training resources to hone their skills in cloud computing, big data analytics, and artificial intelligence.

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับ มจธ. เตรียมบุคลากรแห่งโลกอนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ตลาดแรงงานไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับ มจธ. เตรียมบุคลากรแห่งโลกอนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ตลาดแรงงานไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับ มจธ. เตรียมบุคลากรแห่งโลกอนาคตทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ตลาดแรงงานไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • มอบโอกาสในการพัฒนาทักษะผ่านการลงมือปฏิบัติจริง พร้อมโอกาสรับใบรับรองจากอาลีบาบา คลาวด์
  • มอบสิทธิพิเศษให้แก่นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หลายร้อยคนที่เข้าร่วมโครงการจากความร่วมมือในครั้งนี้

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อเตรียมความพร้อมและให้การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีคลาวด์ที่ล้ำสมัยให้กับนักศึกษา ความร่วมมือครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอาลีบาบา คลาวด์ ในการเสริมศักยภาพให้กับผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลในประเทศไทย

ความร่วมมือนี้เริ่มในเดือนสิงหาคมด้วยชุดการบรรยายรายสัปดาห์ต่อสาธารณะ เพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านคลาวด์คอมพิวติ้งกับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย และเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม ได้มีการบรรยายประวัติของคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างเป็นทางการ โปรแกรมนี้จะเริ่มเปิดสอนหลักสูตรขั้นสูงให้กับนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยเน้นด้านทักษะการใช้และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หลักและสถาปัตยกรรมของอาลีบาบา คลาวด์ พร้อมมีใบรับรองให้กับผู้ผ่านการอบรม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการวางแผนที่จะรวมสื่อด้านการฝึกอบรมต่าง ๆ ไว้ในหลักสูตรวิชาเลือกเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มจธ. มีความพร้อมและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานดิจิทัลในอนาคต

ผศ. ดร.สันติธรรม พรหมอ่อน ผู้อำนวยการศูนย์ Big Data Experience และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. กล่าวว่า “คลาวด์คอมพิวติ้งกำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรมทุกแวดวง และพลิกโฉมสภาพแวดล้อมการทำงานของมหาวิทยาลัยฯ  มจธ. มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับอาลีบาบา คลาวด์ เพื่อเสริมศักยภาพให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความเชี่ยวชาญที่ล้ำหน้านี้ไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาจะได้รับการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีใหม่”

Alibaba Cloud Academic Empowerment Program (AAEP) ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองเป็นทางการ เพื่อสนับสนุนทรัพยากรให้กับนักศึกษา นักการศึกษา และนักวิจัย นักการศึกษาที่เป็นสมาชิกจะได้รับประโยชน์จากการฝึกอบรมฟรี มีโอกาสเชื่อมต่อกับผู้นำอุตสาหกรรมคลาวด์ระดับโลกต่าง ๆ และได้เข้าใช้ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติ อาลีบาบา คลาวด์ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมากกว่า 80 แห่ง ใน 16 ประเทศและภูมิภาค ที่อยู่นอกประเทศจีน เพื่อเสริมศักยภาพให้ผู้มีความสามารถในอนาคต ด้วยทรัพยากรที่ใช้ในการเรียนรู้ด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง

คุณเซลิน่า หยวน ประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “อาลีบาบา คลาวด์ มุ่งมั่นนำความอัจฉริยะทางดิจิทัลสู่สถาบันการศึกษาทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ผ่านโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการของเรา โปรแกรมนี้จะช่วยเสริมความสามารถให้กับนักศึกษาผ่านการฝึกอบรมออนไลน์ด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมกับมีการออกใบรับรองให้ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นสถาบันที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักในด้านความเชี่ยวชาญพิเศษด้านเทคโนโลยี ความร่วมมือนี้สอดคล้องกับความพยายามของเราในการพัฒนาแรงงานดิจิทัลที่มีทักษะที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป”

การ์ทเนอร์ได้จัดให้ Platform Engineering เป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญทั่วโลกของปี 2567 และคาดการณ์ว่าภายในปี 2569, 80% ขององค์กรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะจัดตั้งทีมแพลตฟอร์มขององค์กรเป็นผู้ให้บริการภายในองค์กร 

ข้อมูลจากการสำรวจด้านคลาวด์ – independent cloud survey ของอาลีบาบา คลาวด์ ที่เผยแพร่ในปี 2566 ระบุว่า ธุรกิจไทยส่วนใหญ่ (95%) คาดว่าจะลงทุนด้านคลาวด์เพิ่มอย่างมาก ซึ่งมากกว่าตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ 

ผศ. ดร.สันติธรรม กล่าวเสริมว่า ความต้องการระบบคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ พยายามย้ายเวิร์กโหลดไปสู่ระบบคลาวด์ เพื่อใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับขนาดการทำงาน ความปลอดภัย และความคุ้มค่าที่คลาวด์มีให้บริการ อย่างไรก็ตามองค์กรจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ใช้อยู่เป็นแบบดั้งเดิม หรือการต้องพึ่งพาผู้ขายแต่ละราย ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องมีพันธมิตรทางเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ เพื่อการโยกย้ายที่ราบรื่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านไอทีอย่างครบครัน จึงสามารถใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับโครงการต่าง ๆ ที่ต้องการการมีส่วนร่วมทางออนไลน์อย่างกว้างขวาง

ความร่วมมือนี้ นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดที่มาพร้อมระดับการเริ่มต้นที่แตกต่างกัน โดยเฟสแรกเริ่มเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2567 ประกอบด้วยการบรรยายสาธารณะสามหัวข้อ บรรยายโดยผู้สอนจาก  Alibaba Cloud Academy ที่มีความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างลึกซึ้ง การบรรยายเหล่านี้เป็นการแนะนำความเป็นมาของคลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีสำคัญด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง และแง่มุมทางเศรษฐกิจของการใช้คลาวด์ การบรรยายทั้งหมดนี้ได้เปิดให้นักศึกษาและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทุกคนลงทะเบียนเข้าร่วม ทั้งนี้การบรรยายครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 26 สิงหาคม และได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังมากกว่า 130 คน

เฟสที่สองจะจัดขึ้นในเดือนกันยายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเน้นให้นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนรู้การใช้งานและการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์คลาวด์คอมพิวติ้งหลักของ อาลีบาบา คลาวด์ เช่น การประมวลผลและพื้นที่เก็บข้อมูลแบบยืดหยุ่น (elastic computing and storage) และความรู้เชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์ และเมื่อสอบผ่านนักศึกษาจะได้รับใบรับรองจากอาลีบาบา คลาวด์ 

Alibaba Cloud Academy เป็นแผนกฝึกอบรมและออกใบรับรองของอาลีบาบา คลาวด์ มีหลักสูตรที่มีใบรับรองทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากกว่า 300 หลักสูตร มีการรับรองระดับมืออาชีพ 17 รายการ มีห้องปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติจริงทางออนไลน์ 250 ห้อง โดยมีพันธมิตรที่เกี่ยวข้องมากกว่า 300 ราย

ทั่วโลก นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฯ จะมีสิทธิ์เข้าถึงแหล่งข้อมูลการอบรมออนไลน์ เพื่อฝึกฝนทักษะด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)

คนไทยยังตั้งเป้าซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพเศรษฐกิจยังท้าทาย ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐแรงพอจุดไฟให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก

คนไทยยังตั้งเป้าซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพเศรษฐกิจยังท้าทาย ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐแรงพอจุดไฟให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก

คนไทยยังตั้งเป้าซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า แม้สภาพเศรษฐกิจยังท้าทาย ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐแรงพอจุดไฟให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก

แม้ภาครัฐจะขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านหน่วยงานในการกำกับของรัฐฯ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมาได้เร็วอย่างที่คาด ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนสิงหาคม 2567 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการเติบโตของหลายธุรกิจรวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ต่างชะลอตัวตามไปด้วยเช่นกัน

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย พบว่าภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 48% ขณะที่ความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัวอยู่ที่ 63% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ออกมาเพิ่มเติมในเดือนเมษายน 2567 นี้ ยังไม่สามารถปลุกให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้ตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง

อย่างไรก็ดี ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 61% (จากเดิม 59% ในรอบก่อน) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการวางแผนทางการเงินมากขึ้น หลังจากเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องซื้อบ้านในเวลานี้เรียนรู้ที่จะปรับแผนการใช้จ่ายและสร้างวินัยทางการเงินให้พร้อมยิ่งขึ้นก่อนที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

ประกอบกับการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจึงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้ที่วางแผนซื้อบ้านเช่นกัน โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ในระดับสูง (49%) และสูงมาก (28%) มีเพียง 16% เท่านั้นที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมแล้ว นอกจากนี้สัดส่วนของผู้บริโภคที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ยังทรงตัวอยู่ที่ 13% เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ออกมาเพิ่มเติมในปีนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์และช่วยแบ่งเบาภาระของคนซื้อบ้านได้มากเท่าที่ควร

จับตาดีมานด์ที่อยู่อาศัย คนอยากซื้อบ้านมากขึ้นก่อนสิ้นสุดมาตรการรัฐ  

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามฯ (50%) วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากรอบก่อนหน้าที่เป็น 44% นับเป็นสัญญาณบวกสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังต้องการซื้อบ้าน/คอนโดมิเนียมในระยะเวลาอันใกล้ก่อนที่มาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนและลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นี้ ด้านสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยลดลงมาอยู่ที่ 10% (จากเดิม 14%) ขณะที่ผู้บริโภค 7% วางแผนจะรับมรดกที่อยู่อาศัยจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อ ส่วนอีก 32% ยังคงไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ ในเวลานี้

  • อยากได้พื้นที่ส่วนตัวโจทย์ใหญ่ดันคนซื้อบ้าน ในกลุ่มผู้บริโภคที่อยากซื้อที่อยู่อาศัย เกือบครึ่ง (47%) ตัดสินใจซื้อเนื่องจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวที่มากขึ้น รองลงมาคือซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเมื่อขยายครอบครัว 31% จะเห็นว่าสองอันดับแรกจะให้ความสำคัญไปที่การซื้อเพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยซื้อเพื่อการลงทุนในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 30% เนื่องจากการลงทุนในอสังหาฯ ถือเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ และมีดีมานด์ในตลาดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินพบว่าผู้วางแผนซื้อบ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย (33%) เผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว ขณะที่เกือบครึ่ง (48%) สามารถเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ครึ่งทางแล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อที่อาศัยในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว คนหาบ้านจึงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยตนเองก่อน โดยมีเพียง 18% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเก็บเงินใด ๆ

  • เงินเก็บสวนทางราคาบ้านทำคนเลือกเช่า ในขณะเดียวกันเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อ ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการเงินเป็นหลัก โดยมากกว่าครึ่ง (56%) เผยว่ามีเงินเก็บไม่พอที่จะซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ราคาบ้านที่สูงเกินไปทำให้เกือบ 2 ใน 5 (37%) ขอเลือกออมเงินแทน และ 36% มองไม่เห็นความจำเป็น/ความเร่งด่วนที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้เช่าส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับการบริหารสภาพคล่องทางการเงินในยุคที่แนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง จึงลดความเสี่ยงโดยหลีกเลี่ยงการซื้อที่อยู่อาศัย และหันมาเลือกเช่าซึ่งตอบโจทย์ทางการเงินและลดภาระค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า

ปัจจุบันมุมมองการเป็นเจ้าของที่อาศัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปตามเทรนด์ Generation Rent ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไม่สร้างภาระทางการเงินในระยะยาวจากการซื้อที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีความคล่องตัวมากกว่าหากต้องการโยกย้ายในอนาคต โดยผู้เช่าเกือบ 2 ใน 5 (39%) เผยว่าได้วางแผนเช่า 2 ปีก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยในภายหลัง ส่วน 29% มีความไม่แน่ใจว่าจะเช่าอีกนานแค่ไหน เนื่องจากยังต้องพิจารณาปัจจัยความพร้อมด้านอื่น ๆ อีกครั้ง ขณะที่ 5% เผยว่าตั้งใจจะเช่าอยู่ตลอดชีวิต 

สำหรับอัตราค่าเช่าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในหมู่ผู้เช่าอยู่ในช่วงไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน สัดส่วน 46% สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์การมองหาที่อยู่อาศัยให้เช่าที่มีราคาย่อมเยา ตอบโจทย์สถานะทางการเงินในยุคปัจจุบันเป็นหลัก รองลงมาคือ 5,001-10,000 บาท/เดือน และ 10,001-15,000 บาท/เดือน (สัดส่วน 32% และ 9% ตามลำดับ)

อัปเดตเทรนด์คนหาบ้าน ต่อจิ๊กซอว์บ้านในฝันยุค 2024 

  • ขนาด-ทำเลหัวใจสำคัญเมื่อเลือกซื้อบ้าน ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค กว่า 2 ใน 5 (43%) ให้ความสำคัญกับขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก โดยบ้าน/คอนโดฯ ในฝันต้องมีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอที่จะตอบโจทย์การอยู่อาศัยและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของสมาชิกในครอบครัว รองลงมาคือพิจารณาราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอยในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 42% สะท้อนให้เห็นว่าความคุ้มค่ายังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดใจให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก 37%

สำหรับปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย พบว่าผู้บริโภคเกือบครึ่ง (48%) พิจารณาจากทำเลที่ตั้งของโครงการมาเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับการเลือกโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพในการเติบโตหรืออยู่ในทำเลที่ภาครัฐมีแผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเมกะโปรเจกต์ในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของที่อยู่อาศัยตามไปด้วย รองลงมาคือโครงการที่เดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และพิจารณาจากความปลอดภัยของโครงการ ในสัดส่วนเท่ากันที่ 44% ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวทั้งสิ้น

  • คุณภาพงานตกแต่งภายในดึงดูดใจให้เลือกดีเวลลอปเปอร์ ปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคพิจารณาเมื่อเลือกผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น มากกว่าครึ่ง (53%) ให้ความสำคัญกับคุณภาพของการตกแต่งภายในของโครงการมากที่สุด เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สะท้อนคุณภาพของสินค้าโดยตรง และผู้บริโภคยังสามารถประเมินความคุ้มค่าจากคุณภาพงานเทียบกับราคาขายในเบื้องต้นได้ รองลงมาคือพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนาอสังหาฯ และข้อเสนอทางการเงินต่าง ๆ ส่วนลด หรือเงินคืน ในสัดส่วนเท่ากันที่ 50% ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเมื่อซื้อบ้านใหม่ได้ไม่น้อย โดยที่ผู้บริโภคยังสามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้เป็นงบตกแต่งบ้านได้
  • เทรนด์ Pet Parent มาแรง 78% สนใจโครงการเลี้ยงสัตว์ได้ ผลสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยว่าคนไทยต้องการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นลูก (Pet Parent) มากถึง 49% สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงและโอกาสในการเจาะกลุ่มเป้าหมายนี้ในหลากหลายธุรกิจรวมทั้งตลาดที่อยู่อาศัยเช่นกัน สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study ที่พบว่า ผู้บริโภคกว่า 3 ใน 4 (78%) เผยว่าสนใจโครงการที่เลี้ยงสัตว์ได้ หรือ Pet-Friendly โดยกว่า 2 ใน 3 (67%) ของกลุ่มผู้ที่สนใจนั้นคาดหวังว่าในโครงการเหล่านี้จะมีการแยกโซนระหว่างผู้ที่เลี้ยงสัตว์และไม่ได้เลี้ยงภายในอาคารอย่างชัดเจน รองลงมาคือมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น สวน สระว่ายน้ำ ระบบระบายอากาศ ฯลฯ ในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 66% และมีการออกแบบเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง เช่น มาพร้อมระบบระบายอากาศภายในห้อง ระเบียงเสริมความปลอดภัยป้องกันการปีนป่าย 60%
  • ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่จาง คนไทยมองหาบ้านที่ช่วยจบปัญหา ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นความกังวลของคนหาบ้าน เนื่องจากความเสี่ยงนี้กระทบต่อสุขภาพอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้บริโภคถึง 61% เลือกพิจารณาเฉพาะโครงการที่มีเครื่องปรับอากาศและระบายอากาศได้ดีเท่านั้น เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 รองลงมา 53% เผยว่าจะทบทวนแผนการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงอีกครั้ง ขณะที่ 37% จะพิจารณาการเลือกซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่มีฟังก์ชั่นหรือคุณสมบัติที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ 
  • ได้บ้านไม่ตรงปกความกังวลอันดับ 1 ของคนซื้อบ้าน การซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่และมาพร้อมความท้าทาย เนื่องจากหากซื้อแล้วเกิดปัญหา ผู้ซื้อไม่สามารถเปลี่ยนได้ง่ายดายเหมือนการซื้อสินค้าทั่วไป เห็นได้ชัดจากความกังวลของผู้บริโภคที่ซื้อ ขาย หรือเช่าที่อยู่อาศัยนั้น พบว่ากว่า 3 ใน 5 (61%) มีความกังวลว่าคุณภาพของที่อยู่อาศัยที่ได้จะไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้มากที่สุด โดยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางและสูง รองลงมาคือ กังวลว่าแผนการผ่อนชำระอาจได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนหรือเพิ่มขึ้นในอนาคต 51% ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทางการเงินตามมาได้ ขณะที่อีก 42% กังวลว่าโครงการที่ซื้อไปแล้วจะมีข้อพิพาทกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถขาย โอนกรรมสิทธิ์ หรือปล่อยเช่าได้ 

กลุ่มมิลเลนเนียลและ Gen Z พร้อมซื้อบ้านมากแค่ไหนในเวลานี้

ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) หรือ Gen Y และ Gen Z เป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างครอบครัวและเริ่มวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยจึงมีความสำคัญต่อภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ดีมีผู้บริโภคเพียง 37% เท่านั้นที่มีแผนย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ภายใน 1 ปีข้างหน้า ขณะที่กว่า 3 ใน 5 (63%) เผยว่ายังไม่มีแผนย้ายออกเร็ว ๆ นี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องการดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด 43% รองลงมาคือตั้งใจรับช่วงต่อบ้านของพ่อแม่ 28% และไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของตัวเองในเวลานี้ 27% สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายทางการเงินที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญของมนุษย์ 

แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z เผยว่าหากต้องเลือกระหว่างการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องการซื้อมากถึง 82% มีเพียง 18% เท่านั้นที่สนใจเช่า 

ทั้งนี้ในช่วง 1 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z วางแผนการเงินไปกับการใช้จ่ายภายในครอบครัวมากถึง 56% รองลงมาคือเก็บเงินไว้เป็นกองทุนเงินสำรองฉุกเฉิน 54% เพื่อรับมือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต และเก็บเงินไว้เพื่อเคลียร์หนี้ต่าง ๆ ให้หมด 27% โดยมีเพียง 21% เท่านั้นที่วางแผนออมเงินไว้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่า สถานการณ์สังคมสูงวัยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับวัยแรงงานที่ลดลงในไทย ส่งผลให้ “แซนด์วิช เจเนอเรชัน (Sandwich Generation)” หรือคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเอง มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเผชิญปัญหาทางการเงิน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางกลายเป็นความท้าทายให้คนรุ่นใหม่สร้างเนื้อสร้างตัวได้ยากกว่าสมัยก่อน การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ อีกต่อไป

หวังพึ่งมาตรการภาครัฐ กลไกผลักดันให้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความท้าทายจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลายาวนานและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้กลายมาเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาฯ ไม่ได้เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ และกระทบต่อผู้ที่วางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จาก 1 ใน 3 ของผู้บริโภค (33%) เผยว่าจะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ รองลงมาคือวางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกกว่าแทน และไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ ในสัดส่วนเท่ากันที่ 22% เพื่อเป็นการลดการสร้างภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ออกไปก่อน

นอกจากนี้ สภาพคล่องทางการเงินยังเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การมีบ้านในฝันไม่ใช่เรื่องง่าย มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง รองลงมาคือมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 41% และมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ไม่เอื้ออำนวย 30% จะเห็นได้ว่าอุปสรรคสำคัญ 3 อันดับแรกล้วนเป็นผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้บริโภค ที่มีผลโดยตรงต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคารทั้งสิ้น ทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เผยว่าอัตราการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เป็นกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท

ทั้งนี้ หลายฝ่ายยังคงคาดหวังปัจจัยบวกจากมาตรการจากภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดอสังหาฯ ควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดในเวลานี้ 3 ใน 5 (60%) ต้องการให้มีมาตรการช่วยลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น รองลงมาคือมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อเดิมที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% จะเห็นได้ว่า 2 อันดับแรกให้ความสำคัญกับมาตรการที่มาช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยเป็นหลัก เนื่องจากจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของผู้กู้ซื้อบ้านได้โดยตรง และอันดับ 3 มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก 40% ซึ่งจะช่วยดึงดูดใจให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ตัดสินใจเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีบ้านเป็นของตนเองสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่อยากให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัย ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญขับเคลื่อนให้ภาคอสังหาฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกลับมาคึกคักอีกครั้ง

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค นักลงทุนและเอเจนต์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 22-69 ปี จำนวน 1,050 คน 

อ่านและศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยรอบล่าสุดได้ที่ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study

Alibaba Cloud Empowers Customers and Partners with its Proven Large Models and High-Performance Infrastructure

Alibaba Cloud เสริมแกร่งให้ลูกค้าและพันธมิตร ด้วยโมเดลขนาดใหญ่ที่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพแล้ว และโครงสร้างพื้นฐานสมรรถนะสูง

Alibaba Cloud Empowers Customers and Partners with its Proven Large Models and High-Performance Infrastructure

Global Cloud Leader Collaborates with NVIDIA, XPENG, miHoYo, Atlas, Codium, UNESCO-ICHEI to Drive the Future of Mobility, Gaming, Travel, IT, and Education

Alibaba Cloud, the digital technology and intelligence backbone of Alibaba Group, today announced at its annual flagship event Apsara Conference that its proprietary foundational model Tongyi has attracted over 300,000 customers via its generative AI platform, Model Studio, a significant jump from 90,000 revealed in May. 

Leveraging Alibaba Cloud’s Tongyi large models and its scalable global cloud infrastructure, businesses across automobile, gaming, travel, IT sectors have delivered enhanced customer experience and developed innovative solutions. Alibaba Cloud also unveiled a partnership with the International Centre for Higher Education Innovation under the auspices of UNESCO (UNESCO-ICHEI) to bring the benefits of generative AI to higher education institutes through digital training initiatives.

“Our collaborations with industry-leading organizations demonstrate our dedication to delivering enhanced customer experiences and boosting enterprise efficiency through innovative solutions. Together with our partners, we want to empower more businesses and individuals to unlock the potential of generative AI through digital training and accessible cloud solutions,” said Jingren Zhou, CTO of Alibaba Cloud Intelligence.

Driving the Future of Mobility and Smart Cockpits with LLMs Built on NVIDIA

Alibaba Cloud today unveiled its large multimodal model (LMM) solution designed for automotive applications and co-developed with NVIDIA and Banma, Alibaba’s intelligent cockpit solution provider. This solution, which will be made available to China-based automakers, aims to deliver a more interactive experience for car owners and redefine the smart mobility journey. Through this collaboration, Alibaba Cloud’s portfolio of proprietary large language model Qwen—including the Qwen2-7B language model and the Qwen2-VL vision language model—have been seamlessly integrated with the NVIDIA DRIVE AGX Orin™ platform for autonomous vehicles. Additionally, NVIDIA’s model acceleration technology has significantly reduced computational costs and minimized latency in Alibaba Cloud models’ real-time processing of complex tasks. This ensures a smooth and uninterrupted intelligent experience for both drivers and passengers. 

This initiative marks the first integration of Alibaba’s large models into NVIDIA’s automotive platform. Leveraging Qwen’s advanced capabilities in handling complex inquiries and processing visual intelligence, in-car voice assistants will be able to engage in dynamic, multi-turn conversations and even offer recommendations, ranging from providing information about nearby landmarks to proactively suggesting car headlights be turned on during snowy conditions. 

As part of the LMM solution, Alibaba Cloud’s Mobile Agent—a multimodal AI agent for edge devices—will expand the capabilities of in-car voice assistants. Utilizing the Mobile Agent’s strengths in complex task planning, self-reflection, and decision-making, users will be able to effortlessly execute voice commands, such as ordering milkshakes through a food delivery app, resulting in richer and more enjoyable in-car experiences.

Looking ahead, Alibaba Cloud plans to work with NVIDIA to adapt Qwen models on NVIDIA DRIVE Thor, NVIDIA’s next-generation centralized car compute platform that combines advanced driver assistance, autonomous driving, and AI cockpit capabilities into a single safe and secure system.

Partnering with XPENG to Enhance Smart Cockpit Experience 

XPENG, a leading Chinese smart electric vehicle company, is leveraging Alibaba Cloud’s AI models and robust cloud computing capabilities to redefine its smart cockpit and autonomous driving experience.

It has tapped into Alibaba Cloud’s Qwen to enhance its AI voice assistant, Xiao P, for a more superior smart cockpit experience. With no specific instructions needed, the LLM-enabled voice assistant excels at understanding complex conversational contexts and user intentions. It can engage in natural and intuitive dialogues with both drivers and passengers. For instance, when a user simply states, “It’s cold inside the car,” the voice assistant automatically adjusts the vehicle’s temperature.

In addition to utilizing Qwen for the smart cockpit, XPENG is collaborating with Alibaba Cloud to integrate large models for various innovations. Users can design custom stickers for their car’s exterior through Alibaba Cloud’s text-to-image model, Tongyi Wanxiang, within XPENG’s mobile app. XPENG is also exploring the use of Alibaba Cloud’s Tongyi Lingma, an AI coding assistant powered by Qwen, to enhance R&D efficiency in the latest automotive technologies.

Alibaba Cloud also offers robust and resilient computing resources to help XPENG accelerate its training of large model for autonomous driving. 

Powering Immersive and Scalable Gaming Experience for miHoYo

As a long-term partner, Alibaba Cloud has provided its cloud infrastructure support for miHoYo in launching its latest game Zenless Zone Zero, a new urban fantasy action role-playing game (ARPG) which received nearly 50 million pre-beta registrations, posting high demands on system stability and smooth access to the games’ reservation website.

With Alibaba Cloud’s infrastructure and comprehensive product suite, Zenless Zone Zero has successfully addressed challenges in high server load, large volume of game data processing, and strong demand on platform stability, providing a smooth experience for players who logged in simultaneously on the day of its grand launch on July 4. The game has reached 50 million downloads within the first week since launched.

Building A Strong Digital Foundation for Southeast Asia 

Atlas, an innovative B2B travel technology provider in Singapore, has leveraged Alibaba Cloud’s infrastructure, machine learning and AI architecture innovations to serve over 50 global travel sellers and 150 low-cost airlines around the world. Alibaba Cloud’s LLM Qwen and Model Studio platform also support Atlas’ digital chatbot, providing customer support around the clock, addressing partner inquiries regarding booking procedures and payment options.

Since collaborating with Alibaba Cloud in 2021, Atlas has reduced operational expenses by 45%. Alibaba Cloud has aided Atlas in transitioning from a startup in Singapore to becoming one of the leading industry players, revolutionizing the low-cost flight industry with its innovative travel platform. 

Additionally, Codium, a prominent software company in Thailand specializing in digital workplace solutions, has partnered with Alibaba Cloud to utilize its scalable cloud infrastructure and reliable solutions. The partnership aims to establish a strong digital foundation for businesses in Thailand and improve the Thai cloud market ecosystem by offering accessible cloud services and providing comprehensive local support and expertise to Thai clients.

Empowering the Future of Education with UNESCO 

During Apsara Conference 2024, Alibaba Cloud signed a Memorandum of Understanding (MoU) agreement with UNESCO-ICHEI to launch the GenAI and Cloud Micro-Certification online program for global learners.

The program targets educators and students in higher education institutes including universities and colleges across Asia and Africa. The program, featuring 6 courses, is designed to deliver the fundamental knowledge and applications of generative AI and cloud computing technologies with easily understandable graphics and best practices of integrating generative AI into teaching activities to make learning more engaging, personalized, and efficient.

After completing each course session, educators and students can take an exam to obtain a micro certification jointly issued by both UNESCO-ICHEI and Alibaba Cloud. With the gradual rollout of the program, the initiative aims to benefit around 12,000 educators and students globally by the end of 2025.