Generative AI in the Enterprise

AI สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

Generative AI in the Enterprise

By Terry Smagh, Senior Vice President and General Manager for Asia Pacific and Japan, Infor

AI has certainly been hitting the headlines in 2023. We’ve had warnings of its potential to bring about the extinction of humanity, claims that it poses a national security threat, calls for all training of AIs above a certain capacity to be halted for at least six months and a resignation by the ‘Godfather’ of AI. Generative AI (GenAI) models, such as ChatGPT, seem to be some of the most discussed, with much debate around their potential to transform our everyday lives. But what about in an enterprise environment? How can businesses harness the potential power of this truly transformative technology and to what end?

Although the field of GenAI is still pretty nascent, we are definitely at an inflection point in AI and computing in general. Most of the large language models making a splash in the generative AI space are good at Natural Language Processing (NLP). Across a multitude of industries, these GenAI models can help with NLP based applications, such as providing interactive help. You can expose your knowledge base/end-user manuals and documentation through a GenAI-based interactive chatbot, which will make finding information vastly easier for users.  

Another immediate benefit, although a considerably bigger challenge, is to provide an NLP-based enterprise-wide search capability on business data. This is of course an ever-evolving space, with enterprise software businesses already hard at work investigating how GenAI models can complement existing NLP solutions and AI offerings. This could be by enhancing contextual experiences, integrating voice chat capabilities with digital assistants or machine learning (ML) models through AI platforms, and extending enterprise search into image recognition capabilities.

And, because GenAI models enable users to tap into a variety of data sources to generate text and code, formulate predictions and summaries, perform translations, analyse images and more, they can be used for a variety of enterprise use cases. These include writing e-mails, reports, product documentation and web content; creating job descriptions and requisitions; performing product and vendor comparisons, and assembling photos, music tracks and videos for marketing campaigns. And you can also put the NLP skills of GenAI models to good use to summarise books, review and proofread any content, and provide ideas to jumpstart an initiative.

GenAI in action

So, what does this look like in practice? Well, for example, companies with IT and software engineering departments can initiate a healthy practice of leveraging tools such as Microsoft’s Copilot or AWS CodeWhisperer for code generation. For businesses that need to build their own industry specific language models, simply verify general information, get reviews and recommendations by sourcing the web, or have a need to combine their private enterprise data and enrich this with information in the public domain, they can integrate with GenAI tools and platforms such as Open AI’s ChatGPT or AWS Bedrock. 

Challenges ahead

The pace of change in the world of GenAI is quick and organisations that don’t respond in time may be left behind. Ideally, businesses should be embracing this powerful technology rather than rejecting it. But that definitely doesn’t mean that one-size-fits-all when it comes to GenAI models and there are certainly a number of challenges to be addressed before GenAI models can gain widespread adoption in enterprise environments. 

First, there’s the issue of reliability. While the generated content from a large language model looks original, it is in fact mimicking a pattern based on a similar training data set it has been exposed to. Many times, the generated information is known to be false. And the same question can generate different answers. 

Secondly, we have privacy issues. The data and the input conditions that the users share are used to train the larger model. So, valuable trade secrets or PII data can be shared, inadvertently leading to compliance violations. In addition, the generation and exchange of business-specific content must adhere to strict legal and data privacy requirements – for example, when companies perform a Data Protection Impact Assessment (DPIA) they must ensure compliance with the General Data Protection Regulation (GDPR). Most of the GenAI platform vendors do offer the possibility of keeping your enterprise data exclusive and not used for general training purposes but it’s important that businesses who plan to use GenAI take this into account. 

Then there’s the issue of bias. Content generated by AI is tailor-made based on the input prompt. You can also train the model using favourable data points only without exposing it to the full picture. Ultimately, you can mould the output the way you want – both useful and harmful. The tone of generated content could be authoritative while in fact it could be a subjective view and it would be easy to manipulate a gullible user and influence their views pretty convincingly with GenAI.  Also, the risk of generating fake news, fake video and audio clips will only get higher. 

Moderation filters

That’s not to say that these challenges are insurmountable. One way to combat these threats is to apply the proper moderation filters on the end user interface through which GenAI tools can be used by ‘normal’ users. And, without a doubt, for business use, enterprises must follow a ‘human in the middle’ approach. i.e., all generated content must be moderated by a real person before being rolled out for regular consumption. Human control and moderation will be required for some time to boost the accuracy and consistency of the generated content, help reduce socio-political biases and ensure that a company’s competitive edge is not compromised.

Considering all of the above, enterprises need to develop a point of view of how GenAI applies to them. Additionally, it will be vital to follow the best practices from GenAI vendors – for example, the use of moderation filters from Open AI. What we are also seeing is individual countries scrambling to come up with their own AI policies, something else that businesses will need to take into account, making sure the local AI policy is adhered to, following the proper protocols as outlined by respective governments.

Rapid evolution

In terms of how Generative AI will evolve over the next five-to-ten years, investments in the technology will increase tremendously – both in terms of generating better models as well as in the hardware space, with faster more powerful chips and the need for more network bandwidths.  Its impact should definitely not be underestimated. All media content we will consume in the coming years will be influenced by GenAI; the internet search as we know it will move more towards a tailored, conversational experience; tools that detect content generated by AI will get more smarter, and regulatory and compliance will get ever-tighter.

ChatGPT and other GenAI models represent disruptive solutions that already are helping consumers refine the search process, automate the creation of content and boost individual productivity. While we expect enterprises to adopt this powerful technology rapidly, we also hope they are aware of the potential risks, inaccuracy and privacy concerns involved too. Naturally, it’s only a matter of time before the GenAI space matures and addresses such concerns. In the meantime, with human control and moderation, GenAI models have the potential to revolutionise enterprise environments.

การประยุกต์ใช้ Generative AI ในองค์กร

AI สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การประยุกต์ใช้ Generative AI ในองค์กร

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

AI ได้กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปี 2566 นี้ เราได้รับคำเตือนเกี่ยวกับศักยภาพของ AI ที่อาจทำให้มนุษยชาติสูญพันธุ์ได้ โดยอ้างว่า AI เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนเรียกร้องให้ระงับการป้อนข้อมูล (trained) AI จนสูงเกินขีดความสามารถที่กำหนดเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือน รวมทั้งการลาออกจากวงการของ ‘เจ้าพ่อ’ แห่ง AI  สำหรับโมเดล Generative AI (GenAI) ประเภทต่าง ๆ ChatGPT ดูเหมือนจะมีการพูดถึงมากที่สุด พร้อมกันนี้ได้มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน  แต่ในสภาพแวดล้อมขององค์กร ธุรกิจจะสามารถควบคุมพลังแห่งศักยภาพของเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงนี้ได้อย่างไร และการนำ AI ไปใช้ในธุรกิจจะทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร

แม้ว่าศาสตร์ด้าน GenAI ยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ที่แน่นอนคือเราได้มาถึงจุดเปลี่ยนแปลงด้าน AI และการประมวลผลทั่วไป  โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models – LLMs) ที่โดดเด่นของ generative AI ส่วนใหญ่จะเก่งด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processin – NLP) เพราะสามารถช่วยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้ NLP ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทได้ เช่น การให้ความช่วยเหลือแบบมีปฏิสัมพันธ์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงฐานข้อมูลความรู้/คู่มือผู้ใช้และเอกสารอื่น ๆ ผ่านแชตบอตโต้ตอบที่สร้างบนแพลตฟอร์ม GenAI ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้นมาก

แม้จะเป็นความท้าทายที่ยากมากก็ตาม แต่ประโยชน์อีกประการที่ธุรกิจจะได้รับในทันทีคือ สามารถใช้ NLP เพื่อค้นหาข้อมูลธุรกิจทั่วทั้งองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าความสามารถในด้านนี้ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาโดยธุรกิจซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่ทำงานกันอย่างหนัก เพื่อหาวิธีทำให้โมเดล GenAI สามารถทำงานร่วมกับ NLP และ AI ที่มีอยู่แล้วได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยการยกระดับประสบการณ์ตามบริบท ผสานรวมกับการแชทเสียงกับผู้ช่วยดิจิทัล หรือใช้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิง (ML) และการจดจำรูปภาพผ่านแพลตฟอร์ม AI เพื่อปรับปรุงการค้นหาทางธุรกิจ

เนื่องจาก GenAI รูปแบบต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ เพื่อสร้างข้อความและโค้ด สร้างการคาดการณ์และสรุปผล ทำการแปลภาษา วิเคราะห์รูปภาพ และอื่น ๆ ดังนั้น จึงสามารถนำไปใช้กับงานระดับองค์กรได้หลากหลายกรณี ตั้งแต่การเขียนอีเมล รายงาน เอกสารผลิตภัณฑ์และเนื้อหาบนเว็บ สร้างคำอธิบายลักษณะงานและข้อกำหนด ไปจนถึงการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และผู้ขายการรวบรวมภาพถ่าย ข้อมูลดนตรีและวิดีโอสำหรับทำแคมเปญการตลาด  นอกจากนี้ยังนำไปใช้กับการสรุปหนังสือ แก้ไขและตรวจทานเนื้อหา และเสนอไอเดียเพื่อเริ่มต้นโครงการต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การทำงานของ GenAI

แล้วเทคโนโลยีนี้จะนำไปใช้จริงได้อย่างไร ตัวอย่าง บริษัทที่มีแผนกไอทีและวิศวกรรมซอฟต์แวร์สามารถเริ่มแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับสร้างโค้ด เช่น Copilot ของ Microsoft หรือ AWS CodeWhisperer  สำหรับธุรกิจต้องการสร้างโมเดลภาษาเฉพาะอุตสาหกรรมของตน สามารถตรวจสอบข้อมูลทั่วไป อ่านรีวิวและคำแนะนำจากเว็บต่าง ๆ หรือต้องการรวบรวมข้อมูลภายในองค์กรเข้ากับข้อมูลจากโดเมนสาธารณะเพื่อให้เป็นประโยขน์มากขึ้น ก็สามารถผสานข้อมูลเหล่านั้นได้ด้วยเครื่องมือและแพลตฟอร์ม GenAI ต่าง ๆ เช่น ChatGPT ของ Open AI หรือ AWS Bedrock 

ความท้าทายที่จะเกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในโลกของ GenAI เป็นไปอย่างรวดเร็ว องค์กรที่ไม่ตอบสนองให้ทันเวลาอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง  โดยหลักการแล้วธุรกิจควรเปิดใจรับเทคโนโลยีอันทรงพลังนี้แทนที่จะปฏิเสธไม่ยอมใช้  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าโมเดล GenAI จะเหมาะกับการใช้งานในธุรกิจทุกประเภท และก่อนที่โมเดล GenAI ต่าง ๆ จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการทำงานระดับองค์กร แน่นอนว่าจะต้องจัดการแก้ไขปัญหามากมายให้ลุล่วงเสียก่อน

ประการแรกคือ ปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ  แม้ว่าเนื้อหาที่สร้างจากโมเดลภาษาขนาดใหญ่ดูเหมือนจะเป็นต้นฉบับ แต่ในความเป็นจริงเนื้อหาดังกล่าวเป็นการลอกเลียนแบบจากชุดข้อมูลคล้ายกันที่เคยได้รับการเทรนมาก่อน  เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลที่ AI สร้างขึ้นนี้มักมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยคำถามเดียวกันอาจมีคำตอบได้หลากหลายแบบ

ประการที่สองคือ ปัญหาความเป็นส่วนตัว  เนื่องจากเงื่อนไขของข้อมูลและ input ที่ผู้ใช้แชร์จะถูกนำไปเทรนโมเดลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  ดังนั้น ความลับทางการค้าหรือข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตน (Personal Identifiable Information – PII) ที่มีค่าอาจถูกแชร์ต่อ จนนำไปสู่การละเมิดการปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยไม่ได้ตั้งใจ  นอกจากนี้ การสร้างและการแลกเปลี่ยนเนื้อหาเฉพาะทางธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างเข้มงวด เช่น เมื่อบริษัทดำเนินการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Impact Assessment – DPIA) พวกเขาจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation – GDPR) แล้ว  ส่วนใหญ่เวนเดอร์แพลตฟอร์ม GenAI จะรักษาข้อมูลองค์กรไว้เป็นพิเศษและไม่นำไปใช้เทรนโมเดลทั่วไป กระนั้นก็ตาม ธุรกิจที่วางแผนใช้ GenAI จะต้องคำนึงถึงความสำคัญในเรื่องนี้ให้มาก

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องอคติ เพราะ AI จะสร้างเนื้อหาที่ปรับแต่งตามคำสั่ง prompt  นอกจากนี้ คุณยังสามารถเทรน AI ได้ด้วยข้อมูลที่ชอบเท่านั้นโดยไม่ต้องเปิดเผยให้เห็นภาพรวมทั้งหมด  ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วคุณก็จะสามารถกำหนดผลลัพธ์ทั้งแบบที่เป็นประโยชน์และเป็นอันตรายได้ตามต้องการ  แม้ว่าลักษณะเนื้อหาที่ GenAI สร้างขึ้นอาจจะน่าเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นมุมมองส่วนตัวที่สามารถจูงใจผู้ใช้ที่ใสซื่อ และส่งอิทธิพลต่อมุมมองของพวกเขาอย่างน่าเชื่อถือ  นอกจากนี้ความเสี่ยงในการสร้างข่าวปลอม วิดีโอ และคลิปเสียงปลอมก็จะยิ่งทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว

ตัวกรองการตรวจสอบ

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ได้หมายความว่าจะแก้ไขไม่ได้ วิธีที่จะสู้กับภัยคุกคามเหล่านี้คือ การนำตัวกรองการตรวจสอบที่เหมาะสมมาใช้บนอินเทอร์เฟซของผู้ใช้ปลายทาง ซึ่งจะช่วยให้แน่ใจว่าผู้ใช้ทั่วไปจะสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของ GenAI ได้  สำหรับการใช้งานทางธุรกิจ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าองค์กรจะต้องปฏิบัติตามแนวทาง ‘ใช้คนเป็นโซ่ข้อกลาง’ กล่าวคือ เนื้อหาที่สร้างขึ้นทั้งหมดจะต้องได้รับการตรวจสอบโดยบุคคลจริงก่อนจะนำไปใช้งานประจำหรือเผยแพร่สู่สาธารณะ  โดยจะต้องมีมนุษย์ควบคุมและตรวจสอบงานหรือเนื้อหาที่สร้างขึ้นไปสักระยะหนึ่ง เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความสอดคล้องของเนื้อหาที่สร้างขึ้น ลดอคติทางสังคมและการเมือง และตรวจสอบจนแน่ใจว่าความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทจะไม่ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะ

เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งหมดข้างต้นแล้ว ธุรกิจจึงจำเป็นต้องพัฒนามุมมองในการประยุกต์ใช้ GenAI  นอกจากนี้ การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดจากเวนเดอร์ GenAI ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เช่น การใช้ตัวกรองการตรวจสอบจาก Open AI  และอีกประเด็นที่ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงคือ แต่ละประเทศต่างกำลังพยายามสร้างนโยบายด้าน AI ของตนเอง ดังนั้น จึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าธุรกิจมีการปฏิบัติตามนโยบาย AI ในท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางที่รัฐบาลนั้น ๆ กำหนด

การพัฒนาอย่างรวดเร็ว

สำหรับการพัฒนา Generative AI ที่จะเกิดขึ้นในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้า การลงทุนในเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทั้งในด้านการสร้างโมเดลที่ดีขึ้นและในส่วนของฮาร์ดแวร์ ด้วยชิปที่เร็วแรงทรงพลังมากขึ้นและความต้องการด้านแบนด์วิธเน็ตเวิร์กที่สูงขึ้น อนึ่ง เราไม่ควรประเมินผลกระทบของ AI ต่ำจนเกินไป เพราะเนื้อหาสื่อทั้งหมดที่เราจะเสพและใช้งานในปีต่อ ๆ ไป ล้วนได้รับอิทธิพลจาก GenAI ทั้งนั้น ส่วนการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตอย่างที่เราทราบกันดี จะได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมมากขึ้น เครื่องมือตรวจจับเนื้อหาที่สร้างโดย AI จะชาญฉลาดขึ้น พร้อมกับกฎระเบียบและการปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่จะเข้มงวดยิ่งขึ้น

ChatGPT และโมเดล GenAI อื่น ๆ เป็นตัวอย่างของโซลูชันพลิกโฉมธุรกิจที่ช่วยผู้บริโภคปรับปรุงกระบวนการค้นหา สร้างเนื้อหาอัตโนมัติ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละบุคคล  แม้ว่าเราจะคาดหวังให้องค์กรต่าง ๆ นำเทคโนโลยีอันทรงพลังนี้มาใช้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องตระหนักถึงความเสี่ยง ความไม่แม่นยำ และข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลากว่าเทคโนโลยี GenAI จะพัฒนาถึงขีดที่สามารถจัดการกับข้อกังวลดังกล่าวได้ โดยในระหว่างนี้ มนุษย์จะต้องควบคุมและกลั่นกรองการนำศักยภาพของโมเดล GenAI ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ 

Red Hat Collaborates with Intel to Deliver Open Source Industrial Automation to the Manufacturing Shop Floor

Nokia และ Red Hat ประกาศความร่วมมือให้บริการ โซลูชันโทรคมนาคมระดับ Best-in-Class บนแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานของ Red Hat และ Core Network Applications ของ Nokia

Red Hat Collaborates with Intel to Deliver Open Source Industrial Automation to the Manufacturing Shop Floor

Manufacturers will now have access to a new industrial edge platform that helps build smarter, more open software-defined factoriesto the Manufacturing Shop Floor

Red Hat, Inc., the world’s leading provider of open source solutions, announced a new industrial edge platform, designed in collaboration with Intel, that will provide a modern approach to building and operating industrial controls.

By transforming the way manufacturers operate, scale and innovate with standard IT technologies delivered to the plant floor and real-time data insights, the platform will enable industrial control system (ICS) vendors, system integrators (SIs) and manufacturers to automate previously manual industrial automation tasks including: system development, deployment and management, cybersecurity risk reduction, prescriptive and predictive maintenance improvements for factory agility, co-locating deterministic and non-deterministic workloads and reducing turnaround time.

Smart factories, or software-defined factories, are playing a crucial role in amplifying the speed at which manufacturers can innovate. According to a report by McKinsey, “Smart manufacturing has the potential to create up to $3.7 trillion in value by 2025, driving growth, innovation, and competitiveness across sectors.” By breaking down the barriers between IT and OT, manufacturers can embrace collaboration with new functionality and proactively strengthen and speed up operations, with the flexibility and intelligence to scale based on demand.

The industrial edge platform is intended to provide a holistic solution that spans from real-time shop floor control and artificial intelligence/machine learning (AI/ML) to full IT manageability – delivering greater customer choice for data gravity or edge-to-cloud style architectures and improved overall equipment efficiency (OEE). To continuously support this effort, Red Hat and Intel are working to integrate Intel-based platforms and Intel Edge Controls for Industrial (Intel ECI) with current and future versions of Red Hat Enterprise Linux, starting with collaboration in upstream Linux communities like the Fedora Project and CentOS Stream. This collaboration extends to bringing these controls and platforms to Red Hat Device Edge (early access), Red Hat Ansible Automation Platform and Red Hat OpenShift. With this collaboration organizations can benefit from:

  • Fully integrated real-time capabilities from silicon to software, to support industrial automation for predictable performance;
  • Advanced management and network automation for system deployment and management without heavy handed resource usage, simplifying the industrial network creation and management using open standards-based tools;
  • Scalability and flexibility through a software-defined platform approach that facilitates more portable, scalable control and maximizes adaptability;
  • Uninterrupted operations supported by high-availability and redundancy attributes built-in with the platform;
  • Simplified AI workload integration with the ability to take an AI workload and run it next to a control workload, helping simplify hardware complexity, and enabling AI to more easily improve product quality, system uptime, maintenance needs and more;
  • Enhanced cybersecurity posture by removing human error elements with automated patching and updates, an immutable operating system plane and a platform built on hardened, production-tested components.

To underpin this platform, Red Hat – in collaboration with Intel – will deliver a real-time kernel that provides lower latency and reduced jitter, helping applications run repeatedly with greater reliability. This new industrial edge platform will be built on open standards and community-driven innovation, driven by thousands of developers globally, helping to drive more simplified integration with other hardware and software components. Additionally, core code transparency and a clear roadmap and release cycle help take the guesswork out of when new releases are available and their accompanying features. Red Hat’s industry-leading enterprise developer support backs IT teams with a best-in-class developer toolchain, bringing greater deployment consistency regardless of deployment model or integrator, further removing guesswork and choice paralysis around modern developer tooling. 

Software-defined factories in action

Manufacturing innovation has been hampered by the limitations of legacy industrial controls and siloed organizational structures for decades. With this new platform, organizations will be able to benefit from an open edge platform that allows simplified integration of components in an easy-to-use, reliable solution for industrial automation. Industry leaders like ABB, Schneider Electric and Codesys are already working to successfully implement new industry edge platforms to build modern industry controls.

Supporting Quotes

Francis Chow, vice president and general manager, In-Vehicle Operating System and Edge, Red Hat

“From transforming traditional IT infrastructures to helping software-defined vehicles deliver scalable digital solutions across industrial edge, Red Hat has a proven history in driving not just modernization across industries, but innovation. Now, Red Hat has set our sights on bringing that same level of transformation to manufacturing plants across the globe with a new edge platform with Intel. We believe that by helping converge both IT and operational technologies, the next industrial revolution can arrive sooner, more quickly and built on a backbone of open source software.”

Christine Boles, vice president in the network and edge group and general manager of federal and industrial solutions, Intel Corporation

“For years, Intel and Red Hat have worked together to transform and support a range of industries. Bringing together Red Hat’s expertise in cloud-to-edge application platform delivery and Intel’s strength in edge to cloud compute platforms, including industrial hardware and software, will deliver the software-defined capabilities and transformation to meet the resilient, flexible and reliable requirements of today’s manufacturing.”

Red Hat ผสานพลัง Intel มอบ Open Source Industrial Automation ให้กับโรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต

Nokia และ Red Hat ประกาศความร่วมมือให้บริการ โซลูชันโทรคมนาคมระดับ Best-in-Class บนแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานของ Red Hat และ Core Network Applications ของ Nokia

Red Hat ผสานพลัง Intel มอบ Open Source Industrial Automation ให้กับโรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต

ผู้ผลิตจะสามารถเข้าถึง industry edge platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่จะช่วยให้เกิดโรงงานที่ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ และเป็นอัจฉริยะมากขึ้น

Red Hat ผู้ให้บริการโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ ด้าน industrial edge ที่ออกแบบร่วมกับ Intel ซึ่งจะมอบแนวทางที่ทันสมัยในการสร้างและควบคุมการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ แพลตฟอร์มนี้จะช่วยทรานส์ฟอร์มวิธีการดำเนินการ มอบความสามารถในการสเกลและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ผ่านเทคโนโลยีด้านไอทีที่มีมาตรฐาน ส่งตรงถึงโรงงาน และมอบข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ให้กับผู้ผลิต ซึ่งจะช่วยให้เวนเดอร์ด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรม (industrial control system: ICS), ผู้วางระบบ (SIs) และผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานแบบแมนนวลให้เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น การพัฒนาระบบ, การใช้และการบริหารจัดการ, การลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์, เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาตามที่กำหนดและคาดการณ์ไว้ได้เพื่อความคล่องตัวของโรงงาน, วางเวิร์กโหลดที่กำหนดและไม่ได้กำหนดไว้ไว้ ณ โลเคชันเดียวกัน และลดเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการและส่งมอบผลิตภัณฑ์

โรงงานอัจฉริยะหรือโรงงานที่ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์กำลังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ผู้ผลิตสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลจากรายงานของ McKinsey ระบุว่า “การผลิตอัจฉริยะมีศักยภาพที่จะสร้างมูลค่าสูงถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 ทั้งยังขับเคลื่อนการเติบโต นวัตกรรม และความสามารถในการแข่งขันให้กับทุกภาคส่วน” นอกจากนี้ การขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ระหว่างไอทีและเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (OT) จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทำงานร่วมกับฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ เพิ่มความแข็งแกร่งและเร่งความเร็วในการดำเนินงานได้แบบเชิงรุก ด้วยความคล่องตัวและความชาญฉลาดของการสเกลได้ตามต้องการ

แพลตฟอร์ม industrial edge นี้มุ่งหมายที่จะมอบโซลูชันแบบองค์รวมที่ครอบคลุมตั้งแต่การควบคุมระบบการผลิตแบบเรียลไทม์ การใช้ AI/machine learning (AI/ML) ไปจนถึงการจัดการด้านไอทีอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นการมอบทางเลือกที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า ในด้านสถาปัตยกรรมในรูปแบบ data gravity หรือ edge-to-cloud และปรับปรุงมาตรฐานหลักสำหรับการวัดประสิทธิภาพของการผลิต (overall equipment efficiency: OEE) เพื่อสนับสนุนความพยายามนี้อย่างต่อเนื่อง Red Hat และ Intel จึงทำงานร่วมกันเพื่อรวมแพลตฟอร์มที่ใช้ Intel และ Intel Edge Controls for Industrial (Intel ECI) เข้ากับ Red Hat Enterprise Linux เวอร์ชันปัจจุบันและเวอร์ชันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเริ่มจากการร่วมมือกันในคอมมูนิตี้ Linux ต่าง ๆ เช่น  Fedora Project และ CentOS Stream ความร่วมมือนี้ยังขยายไปถึงการนำการควบคุมและแพลตฟอร์มเหล่านี้ไปใช้กับ Red Hat Device Edge (early access), Red Hat Ansible Automation Platform และ Red Hat OpenShift ซึ่งองค์กรต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์จากความสามารถต่าง ๆ ดังนี้

  • ความสามารถแบบเรียลไทม์ครบวงจร ตั้งแต่ซิลิคอนไปจนถึงซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่คาดการณ์ได้
  • การจัดการขั้นสูงและเน็ตเวิร์กอัตโนมัติ สำหรับการใช้และการจัดการระบบโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากเกินไป สามารถสร้างและจัดการเน็ตเวิร์กทางอุตสาหกรรมได้ง่ายด้วยการใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเปิดที่กำหนดไว้เป็นสากล
  • ความสามารถในการสเกลและความยืดหยุ่น ด้วยการใช้แพลตฟอร์มที่ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ที่ช่วยให้เคลื่อนย้ายการทำงานได้สะดวกมากขึ้น มีการควบคุมที่สเกลได้ และมีความสามารถในการปรับตัวได้สูงสุด
  • การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ซึ่งขับเคลื่อนด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีความพร้อมใช้สูงและมีการทำซ้ำที่ built-in มาเบ็ดเสร็จในแพลตฟอร์ม
  • การผสานรวม AI เวิร์กโหลดได้อย่างไม่ยุ่งยาก ด้วยความสามารถในการนำ AI เวิร์กโหลดมารันไว้ถัดจากคอนโทรลเวิร์กโหลด ซึ่งเป็นการช่วยลดความซับซ้อนที่เกิดจากฮาร์ดแวร์ และสามารถใช้ AI ไปเพิ่มประสิทธิภาพให้กับคุณภาพผลิตภัณฑ์ เวลาทำงานของระบบ ความจำเป็นด้านการบำรุงรักษา และอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น
  • เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุมขึ้น ด้วยการขจัดองค์ประกอบที่เกิดจากข้อผิดพลาดของมนุษย์ด้วยการแพตช์และอัปเดตอัตโนมัติ ด้วยระบบปฏิบัติการที่แก้ไขไม่ได้และแพลตฟอร์มหนึ่งที่สร้างขึ้นจากคอมโพเนนท์ที่แข็งแกร่งและผ่านการทดสอบแล้ว

เพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มนี้ Red Hat และ Intel จะร่วมมือกันเพื่อมอบเคอร์เนลแบบเรียลไทม์ที่มีระยะเวลาตอบสนองต่ำกว่า และลดค่าความต่างของระยะเวลาในการส่งข้อมูลผ่านเน็ตเวิร์ก (jitter) ซึ่งช่วยให้รันแอปพลิเคชันซ้ำ ๆ ได้อย่างมั่นใจและเชื่อถือได้มากขึ้น แพลตฟอร์ม industrial edge แพลตฟอร์มใหม่นี้จะสร้างบนมาตรฐานเปิดที่เป็นสากล และจากนวัตกรรมของคอมมิวนิตี้ซึ่งขับเคลื่อนโดยนักพัฒนาทั่วโลกหลายพันคนที่ช่วยขับเคลื่อนการบูรณาการเข้ากับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมโพเนนท์อื่น ๆ ให้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ความโปร่งใสของ core code รวมถึงแผนงานและวงจรการออกวางตลาดที่ชัดเจน ยังช่วยให้ไม่ต้องคาดเดาว่าจะวางตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ เมื่อใดและจะมีฟีเจอร์อะไรในผลิตภัณฑ์นั้นบ้าง Red Hat ให้การสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับองค์กร โดยอยู่เบื้องหลังการทำงานของทีมไอที ด้วยการมอบชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ (toolchain) ที่ดีที่สุดในระดับเดียวกัน ทำให้การใช้งานมีสอดคล้องกันและคงเส้นคงวา โดยไม่ต้องพึ่งพาโมเดลหรือผู้รวมระบบ ทั้งยังเป็นการขจัดการทำงานด้วยการคาดเดาและเป็นเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาที่ทันสมัยอีกทางเลือกหนึ่ง

โรงงานอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์

การสร้างและใช้นวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิต ต้องติดขัดด้วยข้อจำกัดด้านระบบควบคุมในอุตสาหกรรมที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมและโครงสร้างองค์กรแบบไซโล มานานหลายทศวรรษ แพลตฟอร์มใหม่นี้จะช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์จาก open edge platform ที่ช่วยให้ผสานรวมคอมโพเนนท์ต่าง ๆ ได้ง่าย ในรูปแบบโซลูชันที่ใช้งานง่ายและเชื่อถือได้เพื่อการใช้ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น ABB, Schneider Electric และ Codesys ได้นำแพลตฟอร์ม industry edge ใหม่นี้ไปสร้างระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัยอย่างประสบความสำเร็จแล้ว

คำกล่าวสนับสนุน

Francis Chow, vice president and general manager, In-Vehicle Operating System and Edge, Red Hat

“Red Hat ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า ได้ช่วยขับเคลื่อนความทันสมัยและนวัตกรรมให้กับทุกอุตสาหกรรม นับจากเรื่องการทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบดั้งเดิม ไปจนถึงการช่วยให้ยานพาหนะที่ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์มอบดิจิทัลโซลูชันที่สเกลได้ตามต้องการให้กับ industrial edge ทั้งหมด ปัจจุบัน Red Hat ตั้งเป้าหมายในการนำการทรานส์ฟอร์มในระดับเดียวกันนี้มาสู่โรงงานในภาคการผลิตทั่วโลกด้วยแพลตฟอร์ม edge แพลตฟอร์มใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือกับ Intel เราเชื่อว่าการผสานไอทีและเทคโนโลยีในการดำเนินการเข้าด้วยกันนี้ จะส่งให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งต่อไปอย่างรวดเร็ว และมีซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเป็นแกนหลัก”

Christine Boles, vice president in the network and edge group and general manager of federal and industrial solutions, Intel Corporation

“หลายปีที่ผ่านมา Intel และ Red Hat ได้ทำงานร่วมกันเพื่อทรานส์ฟอร์มและสนับสนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย การนำความเชี่ยวชาญด้าน cloud-to-edge application platform ของ Red Hat มาบูรณาการกับความแข็งแกร่งด้าน edge to cloud compute platforms ของ Intel รวมถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม จะมอบความสามารถต่าง ๆ และการทรานส์ฟอร์มที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ ให้ได้ตอบโจทย์ความต้องการด้านความยืดหยุ่น คล่องตัว และเชื่อถือได้ ของภาคการผลิตในปัจจุบัน”

เกาะติดเทรนด์คนหาบ้าน ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งยังอยากซื้อบ้าน แม้โดนสกัดด้วยอุปสรรคทางการเงิน

Trends for people looking for a house

เกาะติดเทรนด์คนหาบ้าน ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งยังอยากซื้อบ้าน แม้โดนสกัดด้วยอุปสรรคทางการเงิน

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังกระเตื้องขึ้นตามความคาดหวัง หลังจากหลายฝ่ายเคยคาดการณ์ว่าตลาดท่องเที่ยวจะกลับมาเติบโตและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ประกอบกับช่วงสุญญากาศของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ผู้บริโภคจึงต้องรัดเข็มขัดและวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ และติดตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 56.9 เพิ่มจาก 55.6 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคกลับมามีความเชื่อมั่นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เรียบร้อย

สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50% จากเดิม 49% ในรอบก่อน สะท้อนให้เห็นว่าความชัดเจนทางการเมืองเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยขับเคลื่อนความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้กลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ความท้าทายทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังคงกระทบต่อสภาพคล่องของผู้บริโภคโดยตรง ส่งผลให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ 63% (จากเดิม 65% ในรอบก่อนหน้า) โดยมีผู้บริโภคเพียง 15% เท่านั้นที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ ลดลงจาก 19% ในรอบก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยปัจจุบันนั้นยังคงทรงตัวอยู่ที่ 65% โดยผู้บริโภคเกือบครึ่ง (47%) เผยว่ามีความพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในเวลานี้ยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ตามมาด้วยมองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและยืดหยุ่น และเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ในสัดส่วนเท่ากันที่ 36% 

จับตาความต้องการซื้อที่อยู่​อาศัย คนไทยมีความพร้อมทางการเงินมากแค่ไหน?

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งคือ 52% ในรอบก่อนหน้า ถือเป็นสัญญาณบวกที่แสดงให้เห็นความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น แม้ความท้าทายจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ จะยังไม่คลี่คลายก็ตาม ขณะที่สัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยยังทรงตัวอยู่ที่ 9% ส่วนอีก 38% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ 

  • คนซื้อบ้านเพิ่มพื้นที่ส่วนตัว แต่ความพร้อมการเงินลดลง เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเกือบครึ่ง (44%) ตัดสินใจซื้อที่อาศัยมาจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาคือ ซื้อเพื่อการลงทุน (28%) และต้องการพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานเพื่อรองรับการขยายครอบครัว (24%) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินของผู้บริโภคพบว่ากลับมีแนวโน้มลดลง มีผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยเพียง 24% เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยสัดส่วนลดลงจาก 32% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของเศรษฐกิจที่มีต่อการวางแผนการเงินอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่ส่งผลต่อการซื้อและการผ่อนชำระอสังหาฯ โดยตรง ขณะที่ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (54%) เผยว่าเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วน 1 ใน 5 ของผู้วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยนั้น (21%) ยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ เลย
  • “เงินไม่พอ-บ้านแพงเกินเอื้อม” ผลักดันให้เช่า เหตุผลหลักของผู้ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยใน 1 ปีข้างหน้านั้น เกือบ 2 ใน 3 (64%) เผยว่ายังไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ 2 ใน 5 (41%) มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไป จึงเลือกเก็บเงินไว้แทน และไม่เห็นความจำเป็นหรือความเร่งด่วนที่ต้องซื้อในเวลานี้ (30%) สะท้อนให้เห็นว่าความท้าทายทางการเงินยังคงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจจากการซื้อมาเช่าแทน เทรนด์ Generation Rent ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมุมมองการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนไป ผู้บริโภคไม่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ที่เป็นภาระผูกพันในระยะยาว นอกจากนี้ การเช่ายังได้เปรียบตรงที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวมากกว่าหากต้องการโยกย้ายที่อยู่อาศัยในอนาคต

อัปเดตเทรนด์ที่อยู่อาศัย แนวคิดรักษ์โลกมาแรง ตอบโจทย์คนหาบ้าน 

  • “ขนาด-ความปลอดภัย” ปัจจัยหลักดึงคนซื้อ/เช่า ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคนั้น เกือบครึ่ง (45%) จะพิจารณาจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับบ้าน/คอนโดฯ ที่มีพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์การใช้งานของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ตามมาด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก (41%) และราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (38%) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคพิจารณาโดยเน้นที่ความคุ้มค่าเป็นหลัก

ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น มากกว่าครึ่ง (51%) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของโครงการมากที่สุด โดยโครงการที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดูแลด้านนี้จะตอบโจทย์คนหาบ้านมากที่สุด เนื่องจากช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของทรัพย์สินทั้งในเวลาอยู่อาศัยหรือออกไปทำงาน รองลงมาคือเดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (50%) และทำเลที่ตั้งของโครงการ (47%) หากอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพหรือมีแผนพัฒนาในอนาคต จะเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้นหากต้องการขายหรือปล่อยเช่า 

  • PropTech ผู้ช่วยสำคัญของคนหาบ้านยุคดิจิทัล เทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropTech) ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทย จากเดิมที่ผู้บริโภคใช้เพียงช่องทางออนไลน์ในการค้นหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการเลือกใช้ PropTech หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้รองรับไลฟ์สไตล์ดิจิทัลและตอบโจทย์การหาบ้านในยุคนี้ โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภค (67%) เผยว่าเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสเป็นสิ่งที่ใช้มากที่สุดเมื่อต้องการซื้อที่อยู่อาศัย รองลงมาคือเครื่องมือคำนวณข้อมูลทางการเงิน (46%) และการเยี่ยมชมโครงการเสมือนจริง (31%) นอกจากนี้ ผู้บริโภคเกือบ 9 ใน 10 (87%) เห็นความสำคัญของ PropTech และมองว่าผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรนำมาใช้ในอาคารที่สร้างใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย
  • ภาวะโลกเดือดดันคนมองหาบ้านรักษ์โลก หลังจากเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ภาวะโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว และตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุคภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ส่งผลให้หลายฝ่ายต่างกังวลและตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากขึ้น ก่อนหน้านี้ผู้พัฒนาอสังหาฯ เริ่มหันมาพัฒนาโครงการที่ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของคนหาบ้านยุคนี้ โดยผู้บริโภค 4 ใน 5 (85%) ให้ความสนใจบทความเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ 2 ใน 5 (41%) เผยว่ายินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่มีแนวคิดรักษ์โลก (Green Home) ขณะที่มากกว่าครึ่ง (56%) เปิดรับแนวคิดนี้แต่ตอนนี้ยังไม่แน่ใจ มีเพียง 3% เท่านั้นที่ไม่สนใจประเด็นนี้
  • ฝุ่น PM 2.5 ทำคนลังเลซื้อบ้าน ปัจจุบัน 9 ใน 10 ของผู้บริโภค (91%) เผยว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญกับแนวคิดการอยู่อาศัยที่สร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยเอง ขณะที่ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ได้กลายเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเช่นกัน โดยมากกว่าครึ่ง (57%) เผยว่าจะเลือกพิจารณาเฉพาะโครงการที่มีเครื่องปรับอากาศและระบายอากาศได้ดีเท่านั้น ตามมาด้วย 53% จะคิดทบทวนการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงอีกครั้ง ขณะที่อีก 35% จะพิจารณาการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีฟังก์ชั่นช่วยแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ และ 35% จะพิจารณาการย้ายไปอยู่แถบชนบทแทน
DDproperty-Thailand-Consumer-Sentiment-Study-H2-2023

หวังรัฐบาลใหม่ออกมาตรการเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ โตส่งท้ายปี 

สภาพเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อสภาพคล่องและแผนการเงินของผู้บริโภค ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายลดลง โดยเฉพาะในการซื้ออสังหาฯ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องมีการวางแผนก่อนตัดสินใจซื้อ มีราคาสูง และมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคเช่นกัน จึงทำให้ตลาดอสังหาฯ ไม่เติบโตคึกคักอย่างที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ผู้บริโภคกว่า 1 ใน 3 (34%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจตอนนี้ ตามมาด้วย 22% ไม่มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้นี้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน 

อย่างไรก็ดี หลังจากมีการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น ถือเป็นการจุดประกายให้ภาคอสังหาฯ มีความหวังอีกครั้ง ผู้บริโภคต่างคาดหวังและตั้งตารอมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ของรัฐบาลชุดนี้ที่จะออกมาในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่าง ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ยังคงเผชิญความท้าทายทางการเงินมากกว่ากลุ่มอื่น 

  • 3 อันดับมาตรการฯ อสังหาเดิมที่คาดหวังให้รัฐบาลใหม่สานต่อ มากกว่า 2 ใน 3 (69%) ต้องการให้ภาครัฐสานต่อมาตรการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ตามมาด้วยมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Loan to Value: LTV (47%) และต้องการให้ขยายระยะเวลาเช่าให้มากกว่า 30 ปี (44%) ซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายอสังหาฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • ขณะที่มาตรการฯ ใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาลในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 (68%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ (65%) และมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก (54%) ซึ่งมาตรการเหล่ามีความครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยทั้งในกลุ่ม Real Demand และกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้การซื้อขายในตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงนักลงทุนและเอเจนต์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 22-69 ปี จำนวน 1,000 คน