อาลีบาบา คลาวด์ โชว์งานสร้างสรรค์ด้าน AI ล้ำสมัย ณ งาน Apsara Conference

อาลีบาบา คลาวด์ โชว์งานสร้างสรรค์ด้าน AI ล้ำสมัย ณ งาน Apsara Conference

อาลีบาบา คลาวด์ โชว์งานสร้างสรรค์ด้าน AI ล้ำสมัย ณ งาน Apsara Conference

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป จัดแสดง AI โมเดลที่เจาะจงเฉพาะด้านสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่งาน Apsara Conference ซึ่งเป็นงานเทคโนโลยีสำคัญประจำปีของบริษัทฯ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้ต่อยอดจาก Tongyi Qianwen (ทงอี้ เชียนเวิ่น) ซึ่งเป็นโมเดลพื้นฐานของอาลีบาบา คลาวด์ และออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเปิดตัวนวัตกรรมด้าน AI อันหลากหลาย รวมถึงเครื่องมือสร้างอวทาร์ดิจิทัล และเครื่องมือ AI text-to-image โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดความซับซ้อนในกระบวนการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ให้กับธุรกิจทุกภาคส่วน

อาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอนวัตกรรม AI ที่โดดเด่น ณ งาน Apsara Conference ดังนี้

  1. โมเดลสำหรับสร้างตัวละครเสมือนและโมเดลการแชทด้วย AI (Tongyi Xingchen: ทงอี้ เซี่ยงเชิน): โมเดลนี้ช่วยให้ทำการโต้ตอบที่เหมือนมนุษย์และมีเสน่ห์ได้อย่างง่ายดายผ่านตัวละครเสมือน ช่วยให้ผู้ใช้งานสร้างตัวละครเสมือนด้วยตัวเองและโต้ตอบกันด้วยมิตรภาพที่ขับเคลื่อนด้วยบุคลิกภาพ การสนับสนุนด้านอารมณ์ และความบันเทิง
  2. โมเดล AI สำหรับการอ่าน (Tongyi ZoneWit: ทงอี้ โซนวิท): โมเดล AI นี้มีความเข้าใจเอกสารต่าง ๆ และสามารถแชร์ความรู้ได้ไม่ยุ่งยาก ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถอัปโหลดเอกสารต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบ และโมเดลนี้จะสรุป ดึงข้อมูล และตอบคำถามที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ
  3. โมเดล AI สำหรับงานสนับสนุนช่วยเหลือลูกค้า (Tongyi Xiaomi: ทงอี้ เซี่ยวมี่): โมเดลเฉพาะทางที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ด้านการให้บริการลูกค้า โมเดลนี้เพิ่มประสิทธิภาพด้านความเข้าใจ การวิเคราะห์ และการอนุมานภาษาธรรมชาติ จึงเข้าใจความตั้งใจของลูกค้าและตอบสนองได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการนั้น ๆ ทั้งนี้มีธุรกิจธนาคารและประกันภัยขนาดใหญ่หลายแห่งนำโมเดลนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบการสนับสนุนช่วยเหลือลูกค้าของตนแล้ว
  4. โมเดล AI สำหรับการเขียนโปรแกรม (Tongyi Lingma: ทงอี้ หลิงมา): โมเดลนี้ช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างโค้ด อธิบายโค้ด และค้นหาโค้ด สามารถเติมโค้ดให้สมบูรณ์ได้อัตโนมัติ แนะนำสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลง และแปลงโค้ดที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมหนึ่งไปเป็นภาษาโปรแกรมอื่นได้ ซึ่งช่วยให้สามารถพัฒนาโค้ดได้ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าใช้จ่าย
  5. โมเดล AI ด้านการดูแลสุขภาพ (Tongyi Renxin: ทงอี้ เหรินซิน): โมเดลนี้ครบครันด้วยความรู้ทางการแพทย์ที่ครอบคลุม ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะด้านการดูแลสุขภาพ ให้คำแนะนำด้านสุขภาพเฉพาะรายบุคคล ทั้งยังสามารถเข้าใจรายงานทางการแพทย์ ระบุปัญหาสุขภาพผ่านการโต้ตอบกับผู้ใช้และให้คำแนะนำได้
  6. โมเดล AI ด้านกฎหมาย (Tongyi Farui: ทงอี้ ฟ่ารุ่ย): โมเดลนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น การวิจัยด้านกฎหมาย การตอบคำถามที่เกี่ยวกับกฎหมาย วิเคราะห์คดีความ และร่างเอกสารทางกฎหมาย
  7. โมเดล AI ด้านการเงิน (Tongyi Dianjin: ทงอี้ เตี่ยนจิ้น): โมเดลนี้ได้รับการพรีเทรนด์ด้วยข้อมูลทางการเงินหลากหลาย สามารถตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเงิน แยกแยะประเด็นสำคัญต่าง ๆ จากรายงานและบทวิเคราะห์ทางการเงิน และสร้างแบบร่างรายงานและชาร์ทด้านการเงิน ช่วยลดความซับซ้อนของงานด้านการเงินให้กับผู้ใช้ ทั้งยังสามารถจัดการการสืบค้นที่ซับซ้อนและหลายรายการผ่านการทำงานร่วมกับ LLM agents ของโมเดลเอง
  8. เครื่องมือสร้างตัวละครเสมือน: เครื่องมือนี้สร้างจาก Tongyi Wanxiang (ทงอี้ ว่านเซี่ยง) ซึ่งเป็นโมเดลพื้นฐานสำหรับการสร้างภาพด้วย AI ของอาลีบาบา คลาวด์ โดยเครื่องมือ AI นี้ทำให้การสร้างตัวละครเสมือนง่ายขึ้นมาก เช่น พ่อค้าสามารถสร้างตัวละครเสมือนในสไตล์ต่าง ๆ ตามคำสั่งข้อความหรือรูปภาพที่ป้อนเข้าไป จากนั้นสร้างภาพสินค้าที่มีตัวละครเสมือนเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า
เครื่องมือสร้างตัวละครเสมือน ช่วยผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซสร้างรูปภาพสินค้า
เครื่องมือสร้างตัวละครเสมือน ช่วยผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซสร้างรูปภาพสินค้า

9. เครื่องมือ Sketch-to-Stylist Picture: เครื่องมือนี้แปลงภาพสเก็ตคร่าว ๆ ให้เป็นรูปภาพสีหลากหลายสไตล์ รวมถึงภาพวาดสีน้ำมัน ภาพวาดสีน้ำ และศิลปะอะนิเมะ ช่วยให้สร้างสรรค์งานศิลปะได้ง่ายขึ้น และส่งเสริมนวัตกรรมด้านงานสร้างสรรค์
10.
เครื่องมือสร้างอวทาร์ดิจิทัล: เครื่องมือนี้ช่วยให้การสร้างอวทาร์ดิจิทัลง่ายขึ้น สามารถสร้างอวทาร์แบบเคลื่อนไหวผ่านแบบจำลอง 3 มิติจากการแยกแยะลักษณะใบหน้าของแต่ละบุคคลจากวิดีโอความยาวสามนาที ทั้งยังช่วยให้ธุรกิจสร้างอวทาร์ดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนและใช้เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซมากขึ้น

Siemens and Microsoft partner to drive cross-industry AI adoption

Siemens and Microsoft partner to drive cross-industry AI adoption

Siemens and Microsoft partner to drive cross-industry AI adoption

  • Companies introduce Siemens Industrial Copilot, a generative AI-powered assistant, designed to enhance human-machine collaboration and boost productivity.
  • Companies will work together to build additional copilots for manufacturing, infrastructure, transportation, and healthcare industries.
  • Leading automotive supplier, Schaeffler AG, is an early adopter of Siemens Industrial Copilot.
  • In addition, the Siemens Teamcenter app for Microsoft Teams will be generally available in December 2023 and accelerate innovation across the product lifecycle.

Microsoft and Siemens are deepening their partnership by bringing the benefits of generative AI to industries worldwide. As a first step, the companies are introducing Siemens Industrial Copilot, an AI-powered jointly developed assistant aimed at improving human-machine collaboration in manufacturing. In addition, the launch of the integration between Siemens Teamcenter software for product lifecycle management and Microsoft Teams will further pave the way to enabling the industrial metaverse. It will simplify virtual collaboration of design engineers, frontline workers, and other teams across business functions. 

“With this next generation of AI, we have a unique opportunity to accelerate innovation across the entire industrial sector,” said Satya Nadella, Chairman and CEO, Microsoft. “We’re building on our longstanding collaboration with Siemens and bringing together AI advances across the Microsoft Cloud with Siemens’ industrial domain expertise to empower both frontline and knowledge workers with new, AI-powered tools, starting with Siemens Industrial Copilot.”

“Together with Microsoft, our shared vision is to empower customers with the adoption of generative AI,” says Roland Busch, CEO of Siemens AG. “This has the potential to revolutionize the way companies design, develop, manufacture, and operate. Making human-machine collaboration more widely available allows engineers to accelerate code development, increase innovation and tackle skilled labor shortages.”

A new era of human-machine collaboration

Siemens Industrial Copilot will allow users to rapidly generate, optimize and debug complex automation code, and significantly shorten simulation times. This will reduce a task that previously took weeks to minutes. The copilot ingests automation and process simulation information from Siemens’ open digital business platform, Siemens Xcelerator, and enhances it with Microsoft’s Azure OpenAI Service. Customers maintain full control over their data, and it is not used to train underlying AI models.

Siemens Industrial Copilot promises to boost productivity and efficiency across the industrial lifecycle. Using natural language, maintenance staff can be assisted with detailed repair instructions and engineers with quick access to simulation tools. 

The vision: Copilots for all industries

The companies envision AI copilots assisting professionals in various industries, including manufacturing, infrastructure, transportation, and healthcare. Numerous copilots are already planned in the manufacturing sectors, such as automotive, consumer package goods and machine building.

Schaeffler AG, a leading automotive supplier, is among the first in the automotive industry to embrace generative AI in the engineering phase. This helps its engineers to generate reliable code for programming industrial automation systems such as robots. In addition, the company intends to incorporate the Siemens Industrial Copilot during their own operations, aiming to significantly reduce downtimes, and also for their clients at a later stage.

”With this joint pilot, we’re stepping into a new age of productivity and innovation. This Siemens Industrial Copilot will help our team work more efficiently, reduce repetitive tasks, and unleash creativity. We’re excited to partner with Siemens and Microsoft on this project”. Klaus Rosenfeld, CEO of Schaeffler Group.

Generative AI facilitates virtual collaboration 

To bring virtual collaboration across teams to the next level, Teamcenter for Microsoft Teams will be generally available beginning December 2023. This new app uses the latest advances in generative AI to connect functions across the product design and manufacturing lifecycle such as frontline workers to engineering teams. It connects Siemens’ Teamcenter software for product lifecycle management (PLM) with Microsoft’s collaboration platform Teams to make data more accessible for factory and field service workers. This will enable millions of workers who do not have access to PLM tools today to contribute to the design and manufacturing process more easily as part of their daily work.

Siemens will share more details on Siemens Industrial Copilot at the SPS expo in Nuremberg, Germany, in November 2023.

 

ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

  • ทั้งสองบริษัทเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ผู้ช่วย Generative AI ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร
  • ทั้งสองบริษัทพร้อมเดินหน้าร่วมกันพัฒนา Copilots เพิ่มสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ
  • ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำ Schaeffler AG เป็นบริษัทแรก ๆ ที่นำ Siemens Industrial Copilot ไปใช้
  • แอปฯ Siemens Teamcenter สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานโดยทั่วไปในเดือนธันวาคมปีนี้ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ

สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot”

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้”

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน

Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว

เปิดวิสัยทัศน์: Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร

Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของการทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง

เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”

Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566

Unleashing the power of open source in Southeast Asia for stronger public sector organizations

โอเพ่นซอร์ส เสริมแกร่งให้หน่วยงานภาครัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไร

Unleashing the power of open source in Southeast Asia for stronger public sector organizations

เปรม ปาวัน

Article by Prem Pavan, VP for Southeast Asia and Korea, Red Hat

growth and technological advancement, with a 2023 Google e-Conomy SEA report estimating the digital economy to be worth US$295bn at the end of 2025. At the same time, the Association for Southeast Asian Nations (ASEAN) has jointly reinforced the importance of digital transformation in the region to strengthen digital service integration and advancement.

These upward trends of growth and optimism shouldn’t be limited to private enterprises – public sector organizations in the region can stand to tap into good design of relevant digital solutions, to unlock the full benefits of digital transformation and boost citizen wellbeing and build a more digitally inclusive society.

At the same time, the promise of digital tools may not necessarily match the reality of implementation. The reality of public sector digital transformation also remains varied across the region. Data from the UN’s e-Government Development Index indicates that while Singapore for example ranks no.12 of 193, Malaysia, Thailand and Indonesia rank at varying levels of digital infrastructure and service maturity. This indicates potential for gaps that result in inefficiencies, outdated systems, and missed opportunities for service improvement.

As the region continues to navigate critical digital transformation, open source technology can be the catalyst to support growth of, and more inclusive, citizen services. Regional governments have already recognized this at a policy level, for example in Making Indonesia 4.0, Singapore’s Smart Nation Initiatives, and Thailand Digital Government Development Plan, all of which focus on leveraging technology for public welfare and common good. So where can we go from here?

Let’s explore three ways governments can better serve citizens, promote innovation, and enhance cybersecurity by leveraging open source to drive more efficient governmental services in the region.

The Digital Economy continues to grow in Southeast Asia, and the public sector shouldn’t be left behind. 

At a holistic level, Southeast Asia’s growth indicators continue to look highly optimistic. The Asian Development Bank for example estimates growth for the Southeast Asia region at 4.7%. A high proportion of regional citizens are also navigating the internet mobile-first, with smartphone adoption in Southeast Asia being the highest in the world.

With such rapid digitalization come two new contexts. One, that consumer expectations around digital services are changing. Consumers across the general public will likely expect fast, agile, and personalized digital services that are as convenient as a touch of a button. At the same time, these positive digital experience developments cannot be confined to the private sector alone. As consumers’ expectations evolve, the public sector must keep pace with technological advancements to deliver greater efficiency and innovation.

The use of open source technology has enabled governments to build cost-effective solutions. The limited budgets faced by governmental organizations can be a constraint, but open source software is often freely available at community level and can be customized to meet specific requirements when that software is used at an enterprise level. Open source technology inherently taps into the knowledge base and quick updating of issues due to its collaborative nature. This type of cost-efficiency is particularly beneficial in a region where governmental budgets may be lean and must be managed judiciously.

An example of where enterprise tech can work together to support advanced digitalization is through the case of Thailand’s Government Savings Bank, a state-owned social bank, Red Hat’s open source solutions played a pivotal role in modernizing the bank’s IT infrastructure, enabling faster and more efficient services for end-customers. / Another example is from Indonesia’s Treasury with Red Hat, which can now deliver new services and features in 50% less time and scale quickly to meet growing demand. These initiatives are examples of how open source overall can streamline service delivery, reduce redundancy, and enhance efficiency in the name of public good. / Another example is from Malaysia’s PERKESO: With its new custom application running on Red Hat Enterprise Linux, 400,000+ of Malaysia’s employers can now use PERKESO’s digital channels, which has also boosted overall online engagement by 90 percent.

Open source supports the growing conversation around data compliance and regulation, supporting safety for public sector constituents

The rise of the digital economy in Southeast Asia can also increase the possibility of cyberattacks. As governments collect and store sensitive citizen data, cybersecurity is of paramount importance. One significant legislative development in this regard is the enactment of data privacy laws across several Southeast Asian countries. Thailand, Malaysia, Indonesia have taken steps towards comprehensive data protection regulations in recent years.

Open source also aligns well with the goals of strengthening cybersecurity by enabling governments to scrutinize the code for vulnerabilities and implement timely security patches. The flexibility of open source software enables the integration of advanced security features, such as multi-factor authentication and encryption, to safeguard sensitive data. Open source technology, especially at the enterprise level with aspects such as a Red Hat Trusted Software Supply Chain – with its transparent and iterative development model – can bolster the security posture of public sector organizations. In an era where data privacy and cybersecurity are paramount concerns, open source technology provides a strong foundation for safeguarding sensitive information.

Open source builds agility and resilience for Southeast Asia’s public sector and citizens

Open source methodologies more broadly promote a culture of collaboration and innovation, essential for agile development in the public sector. Collaboration, transparency, and community-driven development are core tenets of open source methodologies. By embracing these principles, governments can create an environment that promotes innovation and agility. Red Hat’s collaboration with a Singapore government R&D board demonstrates the benefits of knowledge sharing and open working methodologies, as well as their relevance to modern development approaches to support overall citizen services.

Moreover, open source has played an important role in Covid-19 response, a strong demonstration of the technology’s practical applications. Open source technology has helped build resilient healthcare systems, track the virus’s spread, and enabled remote work and education. The implementation of enterprise open source at healthcare agencies BPJS Kesehatan Indonesia and Synapxe Singapore (formerly IHiS) for example improved both organizations’ agility and responsiveness, enabling them to better serve millions of citizens during a critical Covid response time.

In conclusion, Southeast Asia’s public sector is standing on the precipice of a vast digital transformation. As digital tools, apps and software continue to reshape the region’s economies, governments should embrace open source solutions to deliver innovative and more secure services, while adhering to key security considerations. Open source technology can support digital transformation while driving cost-efficiency, promoting interoperability, and enhancing transparency. In embracing open source methodologies, public sector organizations can strengthen innovation and collaboration – and build more agile services that better serve their citizens.

โอเพ่นซอร์ส เสริมแกร่งให้หน่วยงานภาครัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไร

โอเพ่นซอร์ส เสริมแกร่งให้หน่วยงานภาครัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไร

โอเพ่นซอร์ส เสริมแกร่งให้หน่วยงานภาครัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไร

เปรม ปาวัน

บทความโดย นายเปรม ปาวัน รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี ของเร้ดแฮท

เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รายงาน Google e-Conomy SEA ประจำปี 2566 ประเมินว่าสิ้นปี 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าถึง 295 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ยังได้ตอกย้ำ ความสำคัญของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของประเทศในภูมิภาคนี้เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าและการบูรณาการบริการดิจิทัล ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะภาคเอกชนเท่านั้น แม้แต่ภาครัฐเองก็สามารถทรานฟอร์มสู่ดิจิทัล และใช้ดิจิทัลโซลูชันส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน และสร้างสังคมดิจิทัลอย่างทั่วถึงได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อนำไปใช้จริง เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ ที่มีอยู่อาจไม่ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้อยู่ในระดับที่ต่างกันออกไป ข้อมูลจาก e-Government Development Index ของสหประชาชาติ ระบุว่า เมื่อพิจารณาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและความพร้อมในการให้บริการแล้ว ประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับ 12 จาก 193 ประเทศ แต่มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซียกลับไม่ได้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในระดับนโยบายแล้ว เช่น นโยบาย Making Indoensia 4.0 และ Smart Nation Initiatives ของสิงคโปร์ รวมถึง Thailand Digital Government Development Plan ของไทยที่ล้วนโฟกัสไปที่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านสวัสดิการสาธารณะและประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้นการพิจารณานำเทคโนโลยีที่มีอยู่หลากหลายมาใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นแรงกระตุ้นและสนับสนุนให้การพัฒนาบริการประชาชนด้านต่าง ๆ ทำได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นอย่างรวดเร็วคือโอเพ่นซอร์ส ที่จะช่วยขับเคลื่อนบริการภาครัฐในภูมิภาคนี้ให้สามารถให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น ส่งเสริมนวัตกรรมด้านต่าง ๆ และเพิ่มความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุมมากขึ้นได้ ผ่านสามแนวทางหลักคือ

พัฒนาดิจิทัลภาครัฐไปพร้อม ๆ กับเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดการเติบโตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภาพรวมยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี ธนาคารพัฒนาเอเชียประมาณการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะเติบโต 4.7% นอกจากนี้ประชากรในภูมิภาคนี้จำนวนมากยังเข้าสู่ยุค mobile-first ด้วยตัวเลขการใช้สมาร์ทโฟนที่สูงสุดในโลก ผู้บริโภคมีความคาดหวังบริการดิจิทัลที่รวดเร็ว คล่องตัว เฉพาะตัว และสะดวกเพียงกดปุ่ม ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องตามให้ทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์นี้

งบประมาณที่ค่อนข้างจำกัดเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง แต่เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสร้างดิจิทัลโซลูชันที่คุ้มค่าการลงทุน เพราะซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนมากเปิดให้ใช้งานได้ในระดับคอมมิวนิตี้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเมื่อจะนำซอฟต์แวร์ไปใช้ในระดับองค์กรก็สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการที่เจาะจงกับการใช้งาน โอเพ่นซอร์สเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้ความรู้และอัปเดทเรื่องต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการทำงานร่วมกันจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนร่วมทั่วโลก ความคุ้มค่าการลงทุนในลักษณะนี้เป็นประโยชน์มากต่อหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัดและต้องบริหารจัดการงบประมาณนั้นอย่างรอบคอบเหมาะสม

ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อสังคมของรัฐบาลในประเทศไทย เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สระดับองค์กรสนับสนุนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยโซลูชันของเร้ดแฮทมีบทบาทสำคัญในการปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของธนาคารฯ ให้ทันสมัย ส่งผลให้ธนาคารฯ ให้บริการลูกค้าได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Indonesia’s Treasury เป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าโอเพ่นซอร์สช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณประโยชน์และลดความซ้ำซ้อนได้อย่างไร โดยสามารถให้บริการและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในเวลาน้อยลง 50% และปรับขนาดการทำงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโซลูชันของเร้ดแฮท PERKESO ในประเทศมาเลเซียเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่นำแอปพลิเคชันที่ปรับให้เหมาะกับการใช้งานวางไว้ให้ทำงานบน Red Hat Enterprise Linux ซึ่งช่วยให้ผู้จ้างงานในมาเลเซียมากกว่า 400,000 ราย สามารถใช้ช่องทางดิจิทัลของ PERKESO ได้ นับเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางออนไลน์โดยรวมได้ 90 เปอร์เซ็นต์

เสริมความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ รองรับกฎระเบียบและข้อบังคับด้านข้อมูล

การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค มาพร้อมการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ความปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากของหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูงของประชาชน เห็นได้จากการประกาศใช้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในหลายประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

โอเพ่นซอร์สมอบฐานรากที่แข็งแกร่งให้กับการปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย และสนับสนุนเป้าหมายการเสริมสร้างความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุม โอเพ่นซอร์สช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบโค้ดได้อย่างละเอียดว่ามีช่องโหว่ตรงไหนหรือไม่และทำการแพตช์ช่องโหว่นั้น ๆ ได้ทันเวลา ความยืดหยุ่นของซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพ่นซอร์ส ช่วยให้ผสานรวมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยประสิทธิภาพล้ำหน้าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การยืนยันตัวตนและการเข้ารหัสแบบหลายชั้น เพื่อปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย ตัวอย่างเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่ใช้ในองค์กร เช่น Red Hat Trusted Software Supply Chain ที่มีรูปแบบการพัฒนาที่โปร่งใสและทำซ้ำได้ และสามารถรองรับมาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โอเพ่นซอร์สสร้างความคล่องตัวและความยืดหยุ่นให้ภาครัฐและประชาชนในภูมิภาค

รูปแบบการทำงานของโอเพ่นซอร์สเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ภาครัฐพัฒนาได้อย่างคล่องตัว หลักการสำคัญของรูปแบบการทำงานของโอเพ่นซอร์สคือการทำงานร่วมกัน ความโปร่งใส และการพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยคอมมิวนิตี้ ตัวอย่างความร่วมมือของเร้ดแฮทกับคณะกรรมการ R&D ของรัฐบาลสิงคโปร์ แสดงให้เห็นประโยชน์ของการแบ่งปันความรู้และวิธีการทำงานแบบเปิด รวมถึงแนวทางการพัฒนาที่ทันสมัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการให้บริการประชาชนในภาพรวม

โอเพ่นซอร์สยังมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้งานจริงของเทคโนโลยีอย่างชัดเจน เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สได้ช่วยสร้างระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่น ช่วยติดตามการแพร่กระจายของไวรัส และช่วยให้สามารถทำงานและศึกษาจากระยะไกลได้ การใช้โอเพ่นซอร์สที่ใช้ในระดับองค์กรที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข BPJS Kesehatan Indonesia และ Synapxe Singapore (เดิมชื่อ IHiS) เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการเพิ่มความคล่องตัวและการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้สามารถให้บริการประชาชนหลายล้านคนได้ดีขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด

กล่าวได้ว่าหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังอยู่ในช่วงสำคัญของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล การที่เครื่องมือดิจิทัล แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังคงเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง การใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สเพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างปลอดภัยและด้วยนวัตกรรม ในขณะที่ยังคงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่จำเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานภาครัฐควรพิจารณาอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สสามารถสนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ในขณะเดียวกันก็ช่วยขับเคลื่อนความคุ้มค่าการลงทุน สนับสนุนการทำงานร่วมกัน และเพิ่มความโปร่งใส สร้างนวัตกรรม ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และสร้างบริการที่คล่องตัว เพื่อให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น