Alipay+ จับมือพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแคมเปญระดับโลกส่งท้ายปี

Alipay+ จับมือพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแคมเปญระดับโลกส่งท้ายปี

Alipay+ จับมือพาร์ทเนอร์อีวอลเล็ท ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแคมเปญระดับโลกส่งท้ายปี

  • แบรนด์ระดับโลกและดิจิทัลวอลเล็ทชั้นนำในเอเชียเข้าร่วมแคมเปญของ Alipay+ เพื่อขับเคลื่อนการเดินทางระหว่างประเทศอย่างมีความรับผิดชอบ สนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี และรักษาสิ่งแวดล้อม
  • มอบสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจมากมายสำหรับนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่อุตสาหกรรมเตรียมพร้อมรองรับการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2567
  • เตรียมเปิดตัวโครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบด้าน ESG ของแคมเปญต่อสิ่งแวดล้อมและธุรกิจท้องถิ่น
  • Alipay+ เทคโนโลยีการชำระเงินและโซลูชั่นการตลาดที่เชื่อมโยงมากกว่า 25 อีวอลเล็ทและแอปชำระเงินชั้นนำเข้ากับผู้ค้าทั่วโลก มียอดธุรกรรมโดยรวมและธุรกรรมรายวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2566

Alipay+ แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านมือถือในเครือบริษัทแอนท์ อินเตอร์เนชันแนล (Ant International) เปิดตัวแคมเปญส่งท้ายปีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลก พร้อมมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้แก่ผู้ใช้อีวอลเล็ทชั้นนำ 5 รายในเอเชีย ซึ่งได้แก่ TrueMoney (ไทย), Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่), AlipayHK (เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน), Touch ‘n Go eWallet โดย TNG Digital (มาเลเซีย) และ GCash (ฟิลิปปินส์) 

แคมเปญนี้จะจัดถึงวันที่ 31 ธันวาคม โดยจะเปิดตัวครั้งแรกสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยนักท่องเที่ยวจะได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อเสนอพิเศษมากมายภายใต้ความร่วมมือกับธุรกิจชั้นนำระดับโลก เช่น ComfortDelGro Taxi, Daimaru Matsuzakaya, Galaxy Macau, King Power และ Lotte Duty Free รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีในท้องถิ่น เช่น Durian BB ในมาเลเซีย และ IJOOZ ในสิงคโปร์ ซึ่งมอบทางเลือกที่หลากหลายและครอบคลุมสำหรับนักท่องเที่ยว

สนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ

แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบในตลาดต่าง ๆ ที่ให้บริการ Alipay+ ด้วยการดำเนินโครงการ ESG ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

แคมเปญนี้มอบข้อเสนอสุดพิเศษจาก Alipay+ และพาร์ทเนอร์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เช่น แพ็คเกจอินเทอร์เน็ตมือถือฟรีในต่างประเทศ ส่วนลดในแอปสำหรับเครือข่ายร้านค้ามากมายของ Alipay+ และโอกาสที่จะได้รับส่วนลด 100% จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ  นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังได้รับรางวัลจากการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลแทนการใช้เงินสด การเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ การพกพาแปรงสีฟันของตัวเองเพื่อใช้ระหว่างท่องเที่ยวแทนการใช้แปรงสีฟันแบบใช้แล้วทิ้ง รวมถึงการไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่นที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

ดร. เชอร์รี่ หวง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการผู้ค้าออฟไลน์ Alipay+ ของ แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า “แคมเปญส่งท้ายปีของเรานอกจากจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแล้ว ยังมุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกด้วยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่มีความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนเช่นเดียวกับเรา โดยนับเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สำรวจโลกอย่างมีความรับผิดชอบ”

บริการชำระเงินดิจิทัลช่วยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้กับเอสเอ็มอีในท้องถิ่น โดยในปี 2566 ขณะที่อาลีเพย์ขยายความร่วมมือกับองค์กรบัตรระหว่างประเทศรายใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือบัตรที่เป็นชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศจีน Alipay+ ได้นำอีวอลเล็ท 10 รายของเอเชีย และแอปธนาคารมาสู่จีนแผ่นดินใหญ่เพื่อรองรับผู้ใช้ระหว่างการเดินทาง ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในการขยายช่องทางการชำระเงินชั้นนำระหว่างประเทศ ส่งผลให้ในปี 2566 ผู้ค้ามากกว่าสามล้านรายในจีน รวมถึงร้านค้าขนาดเล็ก สามารถทำธุรกรรมระหว่างประเทศครั้งแรกบน Alipay+

เนื่องจากการท่องเที่ยวบริเวณทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ค้าชั้นนำกว่า 220 รายในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีน จึงได้เข้าร่วมแคมเปญส่งเสริมการขายส่งท้ายปีเพื่อดึงดูดผู้ใช้ AlipayHK และ mPay ด้วยแพ็คเกจส่วนลดมูลค่าสูงถึง 14,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 1,793 ดอลลาร์สหรัฐฯ)

เพื่อติดตามผลกระทบด้าน ESG ของแคมเปญนี้ Alipay+ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (CUHK) และคณะที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยซิงหัว มหาวิทยาลัยฮ่องกง มหาวิทยาลัยเจนีวา และมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น เพื่อตรวจวัดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของนักท่องเที่ยว ผลกระทบต่อธุรกิจท้องถิ่น วัฒนธรรม และชุมชน รวมไปถึงผลกระทบต่อธุรกิจในอีโคซิสเต็มส์

บรูซ จาง ซีอีโอของ IJOOZ ผู้ให้บริการตู้จำหน่ายน้ำผลไม้ในสิงคโปร์ กล่าวว่า “ในแต่ละปี IJOOZ มีเนื้อและเปลือกส้มจำนวนมากจากกระบวนการผลิต เรารีไซเคิลของเสียจากส้ม เปลี่ยนให้เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เรารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ Alipay+ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มาเยือนสิงคโปร์”

Alipay+ ในปี 2566: ปีแห่งการเติบโตและการขยายความร่วมมือ

นับตั้งแต่ที่เปิดตัวในปี 2563 Alipay+ ชุดโซลูชั่นการชำระเงินและการตลาดระหว่างประเทศ ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงผู้ค้ากว่า 88 ล้านรายใน 57 ตลาด ไปยังบัญชีชำระเงิน 1,500 ล้านบัญชีผ่านอีวอลเล็ทมากกว่า 25 ราย รวมถึงแอปธนาคาร และแอปผ่อนชำระค่าสินค้า/บริการ (Buy Now Pay Later – BNPL)

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 Alipay+ มียอดชำระเงินทั้งหมด (TPV) เพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงหกเดือนแรก และธุรกรรมเฉลี่ยรายวัน (DAT) เพิ่มขึ้นกว่า 70%  และหากไม่รวม Alipay ยอด TPV และ DAT สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศของอีวอลเล็ทที่เป็นพาร์ทเนอร์ Alipay+ เพิ่มขึ้นประมาณ 280% และ 230% ตามลำดับ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

 ในแง่ของปริมาณธุรกรรมในปี 2566 AlipayHK , Kakao Pay, Touch ‘n Go eWallet และ GCash เป็นท็อป 4 อีวอลเล็ทที่เป็นพาร์ทเนอร์ Alipay+ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักเดินทางระหว่างประเทศ นอกเหนือไปจาก Alipay โดย TrueMoney, Touch ‘n Go eWallet และ mPay เป็นท็อป 3 เมื่อพิจารณาจากปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบเดือนต่อเดือน (MoM) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ส่งผลให้ผู้ค้าในจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษมาเก๊า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

อลัน หนี่ ซีอีโอของ TNG Digital ผู้ให้บริการ Touch ‘n Go eWallet กล่าวว่า “การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น และ TNG Digital มุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่างเชิงสร้างสรรค์ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ในปี 2566 บริการชำระเงินระหว่างประเทศ Touch ‘n Go eWallet ในจีนแผ่นดินใหญ่เติบโตแบบเดือนต่อเดือนมากกว่า 100% และด้วยเหตุนี้ เราจึงหวังว่าการดำเนินงานของเราจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับธุรกิจอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตาม”

Alibaba DAMO Academy Introduces SeaLLMs, Inclusive AI Language Models for Southeast Asia

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3

Alibaba DAMO Academy Introduces SeaLLMs, Inclusive AI Language Models for Southeast Asia

Alibaba DAMO Academy announces the launch of SeaLLMs, pioneering large language models (LLM) that come with 13-billion-parameter and 7-billion-parameter versions. The LLMs are specially designed to cater to the linguistic diversity of Southeast Asia. 

The models represent a technological leap forward in terms of inclusivity, offering optimized support for local languages in the region including Vietnamese, Indonesian, Thai, Malay, Khmer, Lao, Tagalog, and Burmese. The conversational models, SeaLLM-chat, exhibit great adaptability to the unique cultural fabric of each market, aligning with local customs, styles, and legal frameworks, and emerging as an invaluable chatbot assistant for businesses engaging with SEA markets.

SeaLLMs are now open-sourced on Hugging Face, with released check point and available for research and commercial use. 

“In our ongoing effort to bridge the technological divide, we are thrilled to introduce SeaLLMs, a series of AI models that not only understand local languages but also embrace the cultural richness of Southeast Asia,” said Lidong Bing, Director of the Language Technology Lab at Alibaba DAMO Academy. “This innovation is set to hasten the democratization of AI, empowering communities historically underrepresented in the digital realm.”

Echoing this sentiment, Luu Anh Tuan, Assistant Professor in the School of Computer Science and Engineering (SCSE) at Nanyang Technological University, a long-term partner of Alibaba in multi-language AI study, said, “Alibaba’s strides in creating a multi-lingual LLM are impressive. This initiative has the potential to unlock new opportunities for millions who speak languages beyond English and Chinese. Alibaba’s efforts in championing inclusive technology have now reached a milestone with SeaLLMs’ launch.”

SeaLLM-base models, underwent pre-training on a diverse, high-quality dataset inclusive of the SEA languages, ensuring a nuanced understanding of local contexts and native communication. This foundational work lays the groundwork for chat models, SeaLLM-chat models, which benefit from advanced fine-tuning techniques and a custom-built multilingual dataset. As a result, chatbot assistants based on these models can not only comprehend but respect and accurately reflect the cultural context of these languages in the region, such as social norms and customs, stylistic preferences, and legal considerations.

A notable technical advantage of SeaLLMs are their efficiency, particularly with non-Latin languages. They can interpret and process up to 9 times longer text (or fewer tokens for the same length of text) than other models like ChatGPT for non-Latin languages such as Burmese, Khmer, Lao, and Thai. That translates into more complex task execution capabilities, reduced operational and computational costs, and a lower environmental footprint.

Furthermore, SeaLLM-13B, with 13 billion parameters, outshines comparable open-source models in a broad range of linguistic, knowledge-related, and safety tasks, setting a new standard for performance. When evaluated through the M3Exam benchmark (a benchmark consisting of exam papers from primary school to university entrance examination), SeaLLMs display a profound understanding of a spectrum of subjects, from science, chemistry, physics to economics, in SEA languages, outperforming its contemporaries.

In the FLORES benchmark, which assesses machine translation capabilities between English and low-resource languages—those with limited data for training conversational AI systems, such as Lao and Khmer—SeaLLMs excel. They surpass existing models in these low-resource languages and deliver performances on par with state-of-the-art (SOTA) models in most high-resource languages, such as Vietnamese and Indonesian.

Alibaba DAMO Academy’s SeaLLMs series is not just an advancement in AI but a step towards a more inclusive digital future. For an in-depth look at SeaLLMs’ capabilities and impact, visit the project page on Hugging Face: SeaLLMs – Language Models for Southeast Asian Languages and the technical report: https://arxiv.org/abs/2312.00738 

Alibaba DAMO Academy ปล่อย SeaLLMs โมเดลภาษาขับเคลื่อนด้วย AI รองรับภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

IaaS+PaaS ของ Alibaba Cloud ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 3

Alibaba DAMO Academy ปล่อย SeaLLMs โมเดลภาษาขับเคลื่อนด้วย AI รองรับภาษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Alibaba DAMO Academy ประกาศเปิดตัว SeaLLMs จุดเริ่มต้นของโมเดลด้านภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ประกอบด้วยเวอร์ชันที่มี 13 พันล้านพารามิเตอร์ และเวอร์ชัน 7 พันล้านพารามิเตอร์ โมเดล LLM ทั้งสองนี้ออกแบบมาอย่างเจาะจงให้สามารถรองรับความหลากหลายของภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โมเดลทั้งสองเวอร์ชันนี้แสดงให้เห็นถึงความรุดหน้าทางเทคโนโลยีที่ครอบคลุม โดยให้การสนับสนุนที่เหมาะสมที่สุดให้กับภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ในภูมิภาค คือ ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาไทย ภาษามาเลย์ ภาษากัมพูชา ภาษาลาว ภาษาตากาล็อก และภาษาพม่า โมเดลการสนทนา SeaLLM-chat ต่าง ๆ ล้วนแสดงให้เห็นความสามารถในการปรับให้เข้ากับโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างยอดเยี่ยม สอดคล้องกับประเพณี สไตล์ และกรอบด้านกฎหมายในท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้งยังเป็นผู้ช่วยแชทบอทที่ทรงประสิทธิภาพที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในทุกตลาดในภูมิภาคนี้

ปัจจุบัน SeaLLMs เปิดเป็นโอเพ่นซอร์สบน Hugging Face พร้อมเผยแพร่จุดตรวจสอบสาธารณะและพร้อมใช้งานด้านการวิจัยและเชิงพาณิชย์

นายหลี่ตงปิง ผู้อำนวยการ Language Technology Lab ของ Alibaba DAMO Academy กล่าวว่า “เราพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัว SeaLLMs ซึ่งเป็นชุดโมเดล AI ที่ไม่เพียงเข้าใจภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ แต่ยังเปิดรับความหลากหลายและความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย นวัตกรรมนี้ช่วยเร่งการเข้าถึงและใช้ AI ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อเสริมศักยภาพให้ชุมชนต่าง ๆ ที่มีบทบาทน้อยในอดีต ให้มีส่วนร่วมมากขึ้นในโลกดิจิทัล”

นายลู อันห์ ตวน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ (SCSE) แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ซึ่งเป็นพันธมิตรระยะยาวของอาลีบาบาในด้านการศึกษาเกี่ยวกับ AI หลายภาษา กล่าวถึงความรู้สึกนี้ว่า “ความก้าวหน้าในการสร้าง LLM หลายภาษาของอาลีบาบานั้นน่าประทับใจ ศักยภาพของการริ่เริ่มนี้สามารถปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ มากมายให้กับผู้คนนับล้านที่พูดภาษาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ความพยายามของอาลีบาบาในการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้ในวงกว้างได้มาถึงจุดสำคัญของการเปิดตัว SeaLLMs”

โมเดล SeaLLM-base ได้รับการฝึกอบรมล่วงหน้า (pre-training) ด้วยชุดข้อมูลหลากหลายที่มีคุณภาพสูงและครอบคลุมภาษาต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโมเดลนี้จะสามารถเข้าใจบริบทท้องถิ่นและการสื่อสารในท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง งานพื้นฐานนี้วางรากฐานให้กับโมเดล SeaLLM-chat ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคนิคการปรับแต่งขั้นสูงและชุดข้อมูลหลายภาษาที่สร้างขึ้นเอง จึงทำให้ผู้ช่วยแชทบอทที่ใช้โมเดลเหล่านี้ไม่เพียงแต่เข้าใจภาษา แต่ยังเคารพและสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมของภาษาต่าง ๆ ในภูมิภาคได้อย่างถูกต้อง  เช่น  บรรทัดฐานทางสังคมและประเพณี สำนวนและรูปแบบภาษาที่เป็นที่นิยมใช้ และข้อพิจารณาทางกฎหมาย

ข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยีที่โดดเด่นของ SeaLLMs คือประสิทธิภาพที่มีต่อภาษาต่าง ๆ โดยเฉพาะกับภาษาที่ไม่ใช่ภาษาละติน โดยสามารถตีความและประมวลผลข้อความได้ยาวกว่าโมเดลอื่น เช่น ChatGPT for non-Latin languates เช่น ภาษาพม่า ภาษากัมพูชา ภาษาลาว และภาษาไทยได้ถึง 9 เท่า (หรือโทเค็นน้อยกว่าสำหรับข้อความที่ยาวเท่ากัน) นั่นหมายถึงมีความสามารถในการดำเนินงานที่ซับซ้อนมากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการคำนวณ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ SeaLLM-13B ที่มีพารามิเตอร์มากถึง 13 พันล้านตัว ยังเหนือกว่าโมเดลโอเพ่นซอร์สอื่น ๆ ที่เทียบเคียงได้ ในด้านการทำงานหลากหลายที่เกี่ยวกับภาษา ความรู้ และความปลอดภัย เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ด้านประสิทธิภาพ และเมื่อทำการประเมินด้วยเกณฑ์มาตรฐาน M3Exam (เกณฑ์มาตรฐานที่ประกอบด้วยข้อสอบจากโรงเรียนประถมศึกษาจนถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย) SeaLLMs แสดงความเข้าใจสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ไปจนถึงเศรษฐศาสตร์ และในภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับเป็นประสิทธิภาพที่เหนือกว่าโมเดลอื่นในรุ่นเดียวกัน  

SeaLLMs มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับเป็นเลิศตามเกณฑ์มาตรฐานของ FLORES ซึ่งประเมินความสามารถด้านการแปลภาษาด้วยเครื่อง (machine translation) ระหว่างภาษาอังกฤษ และภาษาที่มีแหล่งข้อมูลที่จะใช้ในการเทรนด์ระบบ AI ด้านการสนทนาน้อยมาก เช่น ภาษาลาว และภาษากัมพูชา SeaLLMs เหนือกว่าโมเดลอื่นที่ใช้อยู่กับภาษาที่มีแหล่งข้อมูลน้อยเหล่านี้ และมอบประสิทธิภาพที่ทัดเทียมกับโมเดลล้ำสมัยที่ใช้กับภาษาที่มีแหล่งข้อมูลมาก เช่น ภาษาเวียดนามและอินโดนีเซีย

ซีรีส์ SeaLLMs ของ Alibaba DAMO Academy ไม่เพียงเป็นความล้ำหน้าด้าน AI แต่ยังเป็นก้าวย่างสู่อนาคตดิจิทัลที่ครอบคลุมมากขึ้น สามารถดูข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสามารถและผลที่ได้จาก SeaLLMs ได้ที่เพจของ Hugging Face: SeaLLMs – Language Models for Southeast Asian Languages และดูข้อมูลการสนับสนุนด้านเทคนิคได้ที่: https://arxiv.org/abs/2312.00738 

Manufacturing in 2024: What to Expect

Infor-Manufacturing-in-2024

Manufacturing in 2024: What to Expect

Terry-Smagh_pic2
By Terry Smagh, Senior Vice President and General Manager for Asia Pacific and Japan, Infor

Throughout 2023, the U.S. economy has remained largely resilient despite rapid monetary policy tightening. Buoyed by stable consumer demand and a strong labor market, the manufacturing sector performed reasonably. The manufacturing sector outlook for 2024 remains cautious amidst several challenges. Fiscal tightening, inflation, and geopolitical instability could undermine growth in 2024, and if favorable economic trends start to unwind, the risk of a downturn looms large.  

Here are five 2024 predictions for manufacturers:

  1. Rebalancing business will continue to be a challenge – Manufacturing executives have spent the past four years essentially firefighting the pandemic and its aftermath. Unsurprisingly, executives are hoping for some semblance of normalcy as they endeavor to rebalance their business. 

Most leading indicators of supply chain performance, labor markets, and productivity are gradually aligning with their pre-pandemic trajectories. However, inflation, fiscal spending cuts, and geopolitical instabilities continue to loom over 2024. Investment in software and other digital technologies will help hedge against this VUCA (volatility uncertainty, complexity, and ambiguity) in 2024. 

Manufacturers will accelerate investments to protect long-term profitability by broadening their smart manufacturing capabilities. The two dominant themes will be continuing to implement smart factory initiatives to achieve targeted business goals, and utilizing digital technology to increase supply chain visibility, productivity, and connectivity with suppliers, partners, and consumers. 

  1. AI will be key to optimizing supply chains and inventory Global supply chain management approaches can broadly be divided into two types based on a company’s inventory management philosophies – just-in-time or just-in-case. Companies usually bounce between these approaches based on market conditions and operational realities. In idyllic conditions, such as the ones experienced during the previous two decades, companies gravitated towards optimizing inventory costs and, hence, just-in-time found favor. But in response to pandemic-led shortages, companies have recently sought the protection of just-in-case inventory management and increased inventories to manage contingencies.  

This approach, however, has resulted in storage space shortages and a meteoric rise of warehouse rents. As manufacturers realize the long-term nature of this VUCA environment, more and more will pivot towards a data-driven and agile approach that dynamically adjusts to real-time conditions.

Spending on AI-enhanced supply chain management solutions will increase next year as manufacturers look to balance the cost and risks of inventories. Supply chain management solutions that predict demand and risks and consider supplier reliability and agility and transcontinental transportation risks will be a key factor in creating the market leaders and winners.   

  1. Automation will debottleneck warehouses – The manufacturing sector went into a just-in-case overdrive in the past few years. The peak of the deliveries started arriving all at the same time, clogging up ports and warehouses, and soon after that, the Ukraine war began. The industry has been cautiously dealing with the bullwhip effect of the supply chain. The dominant theme for 2023 has been to find a balance between bringing inventories and derisking disruptions. The factors most impacted by this bullwhip effect were warehouse utilization and rents. Although warehouse vacancy rates have cooled recently, rents are still at historical highs. 

2024 will see rationalization of warehouse capacity, in light of increased real estate prices and higher interest rates. The focus will be on optimizing capacity through automation. Warehouse management systems (WMS) are likely to play a critical role because they can optimize the velocity of goods, reduce errors, improve labor productivity, and optimize warehouse storage. Integrating WMS with other supply chain solutions will see an acceleration in 2024, as customers look to achieve agility, transparency, and increased productivity in their supply chains.  

  1. AI will engulf Industry 4.0 – AI is now already at the heart of any Industry 4.0 transformation. It is widely acknowledged as the most important tool redefining the boundaries of manufacturing. However, 2023 was the year of Generative AI. The speed of maturity of Generative AI has taken the industry by surprise. 2024 will be the year of maturity for Gen-AI-related use cases and how Gen-AI will collaborate with traditional predictive AI to unleash more areas of productivity. 

Four use cases are likely to mature the most and find wider adoption:  

  • Predictive maintenance. The utilization of AI-driven predictive maintenance has evolved from preventing costly breakdowns to orchestrating maintenance schedules to optimize production. The vendor landscape will likely mature the most, and more solutions will be available to meet customer complexities and needs. As industrial equipment companies switch to the servitization model, it will act as an additional driver.
  • Dynamic supply chain management. After making its impact felt in inventory management and demand forecasting, AI will revolutionize supply chain management, from demand management to last-mile delivery.
  • Product quality via cognitive analytics. The adoption of AI-powered cognitive analytics to enhance quality control is likely to grow and mature with incorporation of Gen-AI.  
  • Innovative design with Gen-AI-driven creativity. Product design will witness a Gen-AI-driven makeover, with algorithms generating innovative concepts based on consumer preferences and market trends. This will expedite design cycles and enhance product relevance in dynamic market conditions.  
  1. Ecosystems will take center stage – Ecosystem-centric thinking has gained solid traction in the past few years, and it will accelerate in 2024. There are various types of digital ecosystems. Some are defined by the number of partners involved, and others by what they offer. All ecosystems share these four characteristics: symbiotic, customer-centric, scalable, and most importantly, focused. 
  • Technology partner ecosystem. No man is an island. This is particularly true for digital transformation projects, which typically rely upon several specialists. Relying on a single turnkey partner will increasingly give way to a partner ecosystem approach, which will handle the size and complexity of projects. 
  • Platform ecosystem. Leading manufacturers are pivoting from product-centered thinking to modern platform-oriented digital thinking. In this new era, composition platforms provide the plumbing and glue for agility and digital transformation. Manufacturers will rely increasingly on the flexibility of platforms over monolithic products.  

In conclusion, the manufacturing landscape will continue to evolve, battling the VUCA environment, relying on Industry 4.0 and AI synthesis in 2024. This evolution isn’t just about boosting productivity; it’s about fostering innovation, sustainability, and creating a future that combines human ingenuity with technological prowess. Embracing these advancements ensures the manufacturing sector withstands the near-term challenges and emerges even stronger in the coming decades.  

คาดการณ์ธุรกิจในภาคการผลิตปี 2567

Infor-Manufacturing-in-2024

คาดการณ์ธุรกิจในภาคการผลิตปี 2567

เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์
เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

ตลอดปี 2566 เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวได้สูงแม้ว่าจะมีการปรับนโยบายด้านการเงินให้กระชับมากขึ้นก็ตาม อีกทั้งความต้องการของผู้บริโภคที่ยังคงตัวและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งยังช่วยให้ธุรกิจในภาคการผลิตดำเนินกิจการไปได้อย่างเหมาะสม สำหรับปี 2567 ที่จะถึงนี้ ภาคการผลิตมีแนวโน้มที่จะยังคงต้องดำเนินงานอย่างระมัดระวังท่ามกลางความท้าทายหลายประการ เช่น ความเข้มงวดทางการคลัง อัตราเงินเฟ้อ และความไม่มั่นคงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในปี 2567 ได้ และหากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีเริ่มหดหาย ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวก็จะมีมากขึ้น

คาดการณ์ธุรกิจในภาคการผลิตในปี 2567 ห้าประการ

  1. การปรับสมดุลทางธุรกิจยังคงเป็นเรื่องท้าทาย – ผู้บริหารธุรกิจในภาคการผลิตใช้เวลาสี่ปีที่ผ่านมารับมือกับโรคระบาดและผลกระทบที่ตามมา และหวังว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติด้วยการพยายามปรับสมดุลทางธุรกิจของตน

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของซัพพลายเชน ตลาดแรงงาน และความสามารถในการผลิต จะค่อย ๆ ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ก่อนเกิดโรคระบาด อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อ การตัดค่าใช้จ่ายด้านการคลัง และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงมีเค้ารางที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2567 การลงทุนด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ จะช่วยป้องกันความไม่แน่นอนจากความผันผวน ความซับซ้อน และความคลุมเครือเหล่านี้ได้

ธุรกิจในภาคการผลิตจะเร่งลงทุนเพื่อปกป้องความสามารถในการทำกำไรระยะยาว ด้วยการขยายความสามารถด้านการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ของตน ประเด็นหลักสองประการที่ธุรกิจในภาคการผลิตจะนำมาใช้คือ หนึ่ง-ดำเนินแนวคิดโรงงานอัจฉริยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้ และสอง-ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงความเป็นไปของซัพพลายเชน เพิ่มความสามารถในการผลิต และเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อกับซัพพลายเออร์ พันธมิตร และผู้บริโภค

  1. AI จะเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชนและสินค้าคงคลัง – แนวทางการบริหารจัดการซัพพลายเชนทั่วโลกแบ่งเป็นสองประเภท คือ แบบทันเวลาพอดี (just-in-time) หรือ แบบการจัดเก็บและกักตุนสินค้าเพื่อใช้เฉพาะสถานการณ์ (just-in-case) การจะใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับหลักการและระบบการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของแต่ละบริษัท แต่บริษัทต่าง ๆ มักใช้แนวทางสองแบบนี้สลับกันไปมาตามสภาพตลาดและการดำเนินงานจริง เช่น ในสถานการณ์ที่สงบสุขเช่นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทต่าง ๆ ให้ความสนใจกับการเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนสินค้าคงคลัง จึงใช้แบบ just-in-time แต่ในช่วงของการขาดแคลนเนื่องจากโรคระบาดเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทต่างมองหาวิธีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแบบ just-in-case และเพิ่มสินค้าคงคลังเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบ just-in-case ทำให้พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และต้องจ่ายค่าเช่าคลังสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ธุรกิจในภาคการผลิตตระหนักดีถึงลักษณะที่แท้จริงในระยะยาวของสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวน ความซับซ้อน และความคลุมเครือเหล่านี้ ธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนไปใช้วิธีการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและแนวทางที่คล่องตัวที่สามารถปรับได้อย่างไดนามิกให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ 

การใช้จ่ายด้านโซลูชันบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ใช้ AI จะเพิ่มขึ้นในปี 2567 เนื่องจากธุรกิจในภาคการผลิตต้องการสร้างสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสินค้าคงคลัง โซลูชันบริหารจัดการซัพพลายเชนที่สามารถคาดการณ์อุปสงค์และความเสี่ยงต่าง ๆ สามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือและความคล่องตัวของซัพพลายเออร์ รวมถึงความเสี่ยงในการขนส่งข้ามทวีปได้ จะเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจขึ้นเป็นผู้นำและเป็นที่หนึ่งในตลาด

  1. ระบบอัตโนมัติจะแก้ปัญหาคอขวดให้กับคลังสินค้า – ภาคการผลิตเข้าสู่ภาวะการใช้ just-in-case เกินพิกัดไปแล้วในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ปริมาณการขนส่งสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นพร้อม ๆ กัน ทำให้ท่าเรือและคลังสินค้าอัดแน่นไปด้วยสินค้าเหล่านั้น และไม่นานหลังจากนั้นสงครามยูเครนก็เริ่มขึ้น ภาคการผลิตต้องจัดการกับปรากฎการณ์แส้ม้า (bullwhip effect) ของซัพพลายเชน ซึ่งคือความผันผวนของความต้องการในซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ทำให้มีปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือล้นตลาดอย่างระมัดระวัง ประเด็นสำคัญของปี 2566 คือการหาสมดุลระหว่างการเพิ่มสินค้าคงคลัง และ การลดความเสี่ยงจากการหยุดชะงัก ปัจจัยที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก bullwhip effect คือการใช้และเช่าคลังสินค้า แม้ว่ามีพื้นที่คลังสินค้าว่างมากขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ค่าเช่ายังคงอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์

ปี 2567 เราจะได้เห็นการปรับความสามารถด้านการใช้พื้นที่คลังสินค้าให้เหมาะสม ในแง่ของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จุดสำคัญจะอยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่จัดเก็บผ่านระบบอัตโนมัติ โดยระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (warehouse management systems: WMS) จะมีบทบาทสำคัญ เพราะสามารถเพิ่มความรวดเร็วในการะบวนการด้านต่าง ๆ ของสินค้า ลดข้อผิดพลาด เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในคลังสินค้า นอกจากนี้จะมีการผสานรวม WMS เข้ากับโซลูชันด้านซัพพลายเชนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในปี 2567 เนื่องจากลูกค้าต้องการความคล่องตัว ความโปร่งใส และเพิ่มผลผลิตในซัพพลายเชนของตน

  1. อุตสาหกรรม 4.0 จะใช้ AI อย่างถ้วนทั่ว – ปัจจุบัน AI เป็นเทคโนโลยีหลักของการทรานส์ฟอร์มสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะเปลี่ยนโฉมธุรกิจในภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ปี 2566 เป็นปีแห่ง Generative AI (Gen-AI) และการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Gen-AI ในปีนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับภาคการผลิต สำหรับปี 2567 จะเป็นปีที่มีการนำ Gen-AI ไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ และจะมีการใช้ Gen-AI ทำงานร่วมกับการคาดการณ์ที่ใช้ AI แบบเดิม เพื่อช่วยเพิ่มผลิตผลในแง่มุมต่าง ๆ มากขึ้น

กรณีใช้งานที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้ในวงกว้างมากขึ้นมีสี่รูปแบบ

  • การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์: การใช้ AI เพื่อคาดการณ์การบำรุงรักษาล่วงหน้าเกิดจากความต้องการหลีกเลี่ยงความเสียหายที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไปจนถึงการเตรียมตารางการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต ภาพรวมผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก และโซลูชันจะพร้อมตอบสนองต่อความต้องการที่ซับซ้อนของลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้การที่อุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมของบริษัทต่าง ๆ เปลี่ยนไปใช้โมเดลที่อยู่ในรูปแบบการให้บริการ โมเดลนั้นก็จะมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนความมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
  • การบริหารจัดการซัพพลายเชนได้อย่างไดนามิก:  นอกจาก AI ส่งผลต่อการบริหารจัดการคลังสินค้าและการคาดการณ์ความต้องการแล้ว AI จะปฏิวัติการบริหารจัดการซัพพลายเชนตั้งแต่การบริหารจัดการความต้องการไปจนถึงการส่งมอบสินค้า/บริการถึงมือผู้บริโภคอีกด้วย
  • คุณภาพสินค้าผ่านการวิเคราะห์องค์ความรู้: แนวโน้มการใช้การวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น และจะมีการนำ Gen-AI มาใช้ร่วมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การออกแบบสิ่งใหม่ ๆ ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ Gen-AI: Gen-AI จะปรับโฉมการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยอัลกอริธึมที่ช่วยสร้างคอนเซปต์ใหม่ ๆ ที่อิงตามความต้องการของผู้บริโภคและแนวโน้มตลาด ซึ่งจะช่วยเร่งวงจรการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์สถานการณ์ตลาดที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาได้มากขึ้น
  1. ระบบนิเวศจะเป็นศูนย์กลาง – แนวคิดที่เน้นระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางได้รับการยอมรับอย่างมากในสองสามปีที่ผ่านมา และจะมากขึ้นในปี 2567 ระบบนิเวศดิจิทัลมีหลายประเภท บางประเภทถูกกำหนดด้วยจำนวนพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง และบางประเภทขึ้นอยู่กับข้อเสนอของพันธมิตร ระบบนิเวศทั้งหมดมีลักษณะร่วมสี่ประการ: พึ่งพาซึ่งกันและกัน, ยึดลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ, ปรับขนาดได้, และที่สำคัญที่สุดคือมุ่งเน้นสิ่งที่ต้องการ 
  • ระบบนิเวศพันธมิตรเทคโนโลยี: คำกล่าวที่ว่าทุกคนต้องพึ่งพากันเป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะกับโครงการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลที่ปกติต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน การพึ่งพาพันธมิตรแบบครบวงจรเพียงหนึ่งเดียวจะทำให้แนวทางระบบนิเวศด้านพันธมิตรเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับขนาดและความซับซ้อนของโครงการทรานส์ฟอร์มต่าง ๆ 
  • ระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม: ธุรกิจชั้นนำในภาคการผลิตกำลังเปลี่ยนจากแนวคิดการยึดผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ ไปเป็นแนวคิดดิจิทัลที่ทันสมัยโดยยึดแพลตฟอร์มเป็นหลัก ซึ่งแพลตฟอร์มที่มีองค์ประกอบรวมจะมีคุณสมบัติที่พร้อมเพื่อการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลและมีความคล่องตัว ธุรกิจในภาคการผลิตจะพึ่งพาความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์มมากขึ้นเพื่อการผลิตขนาดใหญ่

โดยสรุป ในปี 2567 แลนด์สเคปของภาคการผลิตจะยังคงพัฒนาและยังคงต้องต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ และจะต้องพึ่งพาอุตสาหกรรม 4.0 และข้อมูลจากการสังเคราะห์ของ AI การพัฒนานี้ไม่เพียงเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการส่งเสริมนวัตกรรม ความยั่งยืน และสร้างอนาคตที่ผสานรวมความฉลาดของมนุษย์เข้ากับความสามารถทางเทคโนโลยีต่าง ๆ การนำความล้ำหน้าเหล่านี้มาใช้จะช่วยให้ภาคการผลิตมั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับความท้าทายระยะสั้นและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นได้แข็งแกร่งมากขึ้นในทศวรรษต่อ ๆ ไป