Three steps to adaptive leadership in the age of technology

สามขั้นตอนสู่ความเป็น Adaptive Leadership ในยุคเทคโนโลยี

Three steps to adaptive leadership in the age of technology

Article by Marjet Andriesse, Senior Vice President and General Manager, Red Hat APAC
Article by Marjet Andriesse, Senior Vice President and General Manager, Red Hat APAC

Today organizations are finding themselves intricately woven into the fabric of technological advancements and are compelled to adopt new technologies to remain competitive. From using IoT technology in manufacturing and facility management to small retail or food and beverage businesses relying on contactless payment solutions, technology is shaping how enterprises operate and compete. While we see more and more organizations investing in technology and generative AI, most enterprises are rushing into it without having established how beneficial these investments can truly be to their organizations – simply to avoid the risk of being left behind.

Characterized by unparalleled economic growth and cultural diversity, the Asia-Pacific (APAC) region presents a tapestry of opportunities. But, it also comes with a diverse range of risks. According to the Anatomy of Adaptive Leaders report developed by Economist Impact, business leaders surveyed shared that shortages in skilled labor (77%), supply chain disruptions (76%), cybersecurity attacks (69%), and increasingly fragmented regulations (69%) are some of the top challenges faced in the region. Talent shortages are particularly acute in countries like Japan (87%), Australia (84%), and South Korea (81%) and in sectors like wholesale, natural resources, and services. Business leaders in APAC are expected to navigate a multi-faceted landscape that requires a refined understanding of the risk factors at play.

Whether you are the boss of a small business or at the helm of a large multinational corporation, the ability to adapt and thrive is critical to running a successful business and remaining competitive in an ever-evolving marketplace. 

Digital transformation is more than just digital transformation

Everyone has been talking about digital transformation, but it isn’t just about digitalization or automation. It is about using these methodologies to transform business processes, culture, and customer experiences. To achieve this, business leaders need to agree to and support cultivating a digital-ready organization.

Leaders must remain open-minded about novel technologies and be willing to try them. This includes emerging or newer technologies like cloud computing, Web3, quantum computing, and generative AI. While business leaders cannot acquire expertise in every technological innovation or product, those who can successfully leverage emerging technologies will improve the efficiency of company resources used and reduce costs incurred. Non-tech-savvy executives can continue to drive innovation in their organizations with one important trait – being adaptive.

Here are three steps to being an adaptive leader:

#1 Encourage a digital-ready culture

Fostering an adaptive leadership style in the age of technology first begins with cultivating a digital-ready culture within the organization. This goes beyond introducing cutting-edge technology and digital tools but instilling both confidence and proficiency among employees to use these tools. When it comes to introducing new processes and practices like digital integration, leaders play a pivotal role in ensuring seamless change to daily operations. It is empirical for leaders to lead by example, such as actively learning about new technologies and how these can benefit the organization. By promoting a culture of being adaptive and embracing technological advancements, leaders empower their teams to stay ahead of the curve, enhancing overall organizational agility.

#2 Assess what needs modernizing based on business objectives 

The next step involves evaluating the enterprise’s IT infrastructure and identifying what requires modernization. Compared to mere technological updates, this involves a strategic alignment between IT infrastructure and business objectives. Adaptive leaders have to work closely with IT departments to leverage their expertise to deploy the most suitable platforms and technologies, in order to tap into these resources to address the evolving needs of the business. By doing so, leaders fortify the organization’s technological foundation, positioning it for sustained success in the rapidly changing business landscape.

#3 Collaborate and adopt an open style of work

Embracing an adaptive leadership style also includes adopting an open style of work. This is characterized by agility and collaboration. By adopting an agile mindset, leaders can encourage teams to respond swiftly to the varying market conditions.

Collaboration between teams is also key. For example, the IT department may usually be perceived to work in silos from other functions of the business, but these talents bring a niche set of skills and expertise to the table that can help improve current work processes and alleviate pain points. For example, reducing time spent on repetitive tasks via automating workflows and upgrading traditional infrastructure to accommodate rapid changes in industries like banking. It is critical to foster collaboration across the organization to cultivate an open and inclusive work culture. By allowing ideas to be shared freely, leaders will be able to steer the organization towards greater innovation.

The answer to navigating business complexities in APAC

APAC is a culturally diverse region where many of the countries are experiencing different economic headwinds. As reported by Economist Impact, Australia is experiencing a period of an  economic lull that is aggravated by an aging workforce; while Taiwan’s reliance on exports is compromising its near-term prospects for economic recovery amid a slow global demand. Although most would like to invest in innovation and new technologies to navigate the challenging environment, enterprises are faced with the need to be frugal.

While organizations may instinctively try to lower the risk of these headwinds by cutting back technological investments or initiatives that drive innovation, it is these ongoing complexities and headwinds that have brought the role of business leaders into sharp focus as they steer their business and deliver value and innovation despite reduced resources. APAC companies have found increased competitiveness, productivity, and efficiency in adopting technologies like cloud computing and generative AI

To enhance organizational resilience, leveraging technology such as open source has shown to be imperative to becoming future-ready. Singaporean companies have made robust progress in embracing technology-driven new ways of working as 72% of these companies advanced in adopting open source principles and technologies – the highest adoption rate in the region. Open source sets the foundation for many of these emerging technologies, increasing competitiveness, productivity, and efficiency of enterprises with these solutions and it takes a forward-thinking and adaptive leader to recognize that.

สามขั้นตอนสู่ความเป็น Adaptive Leadership ในยุคเทคโนโลยี

สามขั้นตอนสู่ความเป็น Adaptive Leadership ในยุคเทคโนโลยี

สามขั้นตอนสู่ความเป็น Adaptive Leadership ในยุคเทคโนโลยี

มาร์เจ็ต แอนดรีซ, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป, เร้ดแฮท เอเชียแปซิฟิก
บทความโดย มาร์เจ็ต แอนดรีซ, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป, เร้ดแฮท เอเชียแปซิฟิก

องค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบันถูกดึงเข้าไปพัวพันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างเหนียวแน่น และจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อคงความสามารถทางการแข่งขันให้ได้ เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานและความสามารถทางการแข่งขันของทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี IoT ในภาคการผลิต ไปจนถึงร้านค้าปลีกเล็ก ๆ หรือธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มที่พึ่งพาโซลูชันการชำระเงินแบบไร้สัมผัส องค์กรต่างลงทุนด้านเทคโนโลยีและ generative AI มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะไม่ต้องการที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แต่องค์กรส่วนใหญ่เร่งรีบเกินไปจนไม่ได้พิจารณาว่าองค์กรจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริงเพียงใด

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดดเด่นและนำมาซึ่งโอกาสต่าง ๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความเสี่ยงในวงกว้างเช่นกัน ข้อมูลจากรายงาน Anatomy of Adaptive Leaders ที่จัดทำโดย Economist Impact ที่เป็นการสำรวจความเห็นของผู้นำองค์กรพบว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (77%), การหยุดชะงักด้านซัพพลายเชน (76%), การโจมตีทางไซเบอร์ (69%) และการเพิ่มขึ้นของกฎระเบียบที่กระจัดกระจาย (69%) เป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายที่ทุกภาคส่วนในภูมิภาคนี้เผชิญ การขาดแคลนผู้มีความสามารถเป็นปัญหาที่หนักโดยเฉพาะในประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น (87%) ออสเตรเลีย (84%) และเกาหลีใต้ (81%) รวมถึงภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ธุรกิจขายส่ง แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และธุรกิจบริการต่าง ๆ  ทำให้ผู้นำทางธุรกิจในภูมิภาคนี้ต่างคาดหวังที่จะสำรวจสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจในหลายแง่มุม ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น 

ความสามารถในการปรับตัวและการเจริญเติบโตของธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้นำองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้บริหารบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจอย่างประสบความสำเร็จและแข่งขันในตลาดที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาได้

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ที่มากกว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหรือระบบอัตโนมัตเท่านั้น แต่เกี่ยวกับการนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ วัฒนธรรม และประสบการณ์ลูกค้า ซึ่งหากต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ ผู้นำธุรกิจต้องเห็นด้วยและสนับสนุนการพัฒนาองค์กรที่พร้อมใช้ดิจิทัล

ผู้นำต้องมีใจเปิดกว้างและเต็มใจทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่หรือใหม่กว่า เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, Web3, ควอนตัมคอมพิวติ้ง และ generative AI แม้ว่าจะไม่สามารถเรียนรู้และเชี่ยวชาญในนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีได้ทุกอย่าง แต่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ต่าง ๆ จะเพิ่มประสิทธิภาพให้แหล่งทรัพยากรของบริษัทและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ส่วนผู้นำที่ไม่เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมากนักก็สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรอย่างต่อเนื่องได้ด้วยคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งคือ ความสามารถในการปรับตัว

สามขั้นตอนสู่การเป็นผู้นำที่สามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (adaptive leader)

#1 ส่งเสริมวัฒนธรรมที่พร้อมใช้ดิจิทัล

ลักษณะของการเป็นผู้นำที่สามารถปรับตัวและนำพาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงได้ (adaptive leader) ในยุคที่เทคโนโลยีมาเป็นอันดับแรก ต้องเริ่มจากการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมใช้ดิจิทัล ซึ่งเป็นมากกว่าการแนะนำการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยไปใช้กับการทำงานในแต่ละวันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องความรู้เชิงประสบการณ์ที่ผู้นำทางเทคโนโลยีและเครื่องมือทางดิจิทัลต่าง ๆ จะต้องปลูกฝังทั้งความมั่นใจและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้กับพนักงานทุกคน การแนะนำกระบวนการและแนวปฏิบัติใหม่ ๆ เช่น การบูรณาการทางดิจิทัลนั้น ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการทำนำเป็นตัวอย่าง เช่น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และระบุได้ว่าองค์กรจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างไรบ้าง การส่งเสริมวัฒนธรรมการปรับตัวและการยินดีรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้นำสามารถเสริมพลังให้ทีมของตนได้ก้าวหน้าอยู่เสมอ และเพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กรในภาพรวม

#2 ประเมินสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร และระบุว่ามีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงให้ทันสมัย เรื่องนี้เกี่ยวกับการปรับกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานไอทีและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน adaptive leaders ต้องทำงานใกล้ชิดกับแผนกไอทีเพื่อใช้ความเชี่ยวชาญของพวกเขาให้เป็นประโยชน์ในการเลือกใช้แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้จัดการกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถเสริมสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีขององค์กรได้ และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

#3 ทำงานร่วมกันและใช้สไตล์การทำงานแบบเปิด

Adaptive leadership จะใช้สไตล์การทำงานแบบเปิดซึ่งมีลักษณะคล่องตัวและมีการทำงานร่วมกัน การใช้กรอบความคิดที่คล่องตัวว่องไว ช่วยให้ผู้นำสามารถกระตุ้นทีมงานให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็ว

การทำงานร่วมกันของทีมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น แผนกไอทีที่มักถูกมองว่าทำงานแยกส่วนจากแผนกอื่น แต่พนักงานที่มีความสามารถของแผนกนี้เป็นผู้นำทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาให้ทุกคนได้ใช้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานในปัจจุบันและบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น การลดการใช้เวลาในงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ด้วยการใช้เวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ และการอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นภาคการเงิน การส่งเสริมทำงานร่วมกันทั่วทั้งองค์กรเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานที่ครอบคลุม นอกจากนี้การอนุญาตให้แชร์ไอเดียได้อย่างอิสระจะช่วยให้ผู้นำสามารถนำองค์กรสู่นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นได้

คำตอบต่อการค้นหาเส้นทางความซับซ้อนทางธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก

เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเทศจำนวนมากในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่น Economist Impact รายงานว่า ออสเตรเลียกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความซบเซาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความท้าทายด้านแรงงานสูงวัย การพึ่งพาการส่งออกของไต้หวันกำลังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระยะสั้นท่ามกลางอุปสงค์ของโลกที่ชะลอตัว ทั้งนี้องค์กรต่างเผชิญกับความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด แม้ว่าส่วนใหญ่ต้องการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมที่ท้าทายก็ตาม การที่องค์กรต่าง ๆ อาจพยายามลดความเสี่ยงจากแรงต้านเหล่านี้ด้วยการตัดการลงทุนทางเทคโนโลยีหรือโครงการต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม ความซับซ้อนและอุปสรรคเหล่านี้ทำให้บทบาทของผู้นำทางธุรกิจอยู่ในความสนใจมากว่าจะสามารถนำธุรกิจ สร้างคุณค่าและนวัตกรรมให้กับองค์กรตนได้อย่างไรด้วยทรัพยากรที่ลดลง บริษัทต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกพบว่ามีความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น มีผลผลิตและประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้งและ generative AI เพิ่มขึ้น

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเช่นโอเพ่นซอร์สเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมรับอนาคต และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กร บริษัทในประเทศสิงคโปร์มีความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีไปขับเคลื่อนแนวทางการทำงานแบบใหม่อย่างมาก โดย 72% ของบริษัทเหล่านี้ใช้หลักการและเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สล้ำหน้าอย่างมาก และเป็นอัตราการใช้ที่สูงที่สุดในภูมิภาค โอเพ่นซอร์สวางพื้นฐานให้กับเทคโนโลยีเกิดใหม่จำนวนมาก เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพให้กับองค์กรต่าง ๆ และ adaptive leader ตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพของโซลูชันและความคิดก้าวหน้าของโอเพ่นซอร์ส

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลทองประจำปี 2566 ส่งท้ายปีเถาะ

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลทองประจำปี 2566 ส่งท้ายปีเถาะ

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้เผยสุดยอดทำเลทองประจำปี 2566 ส่งท้ายปีเถาะ

ปี 2566 เป็นปีแห่งความหวังของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ต่างตั้งตารอว่าการเติบโตจะกลับมาดีดังเดิม แม้สุดท้ายจะไม่เป็นดังหวังด้วยผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่เป็นไปตามคาด ประกอบกับภาครัฐไม่มีมาตรการใหม่ ๆ ในการกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัย จึงกระทบต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ อย่างเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ้นสุดยุคดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว แม้จะเป็นแสงสว่างเล็ก ๆ ที่ปลายอุโมงค์ แต่ก็ส่งผลดีต่อผู้บริโภคที่กำลังผ่อนบ้านและผู้ที่วางแผนซื้อบ้านในอนาคต เห็นได้จากข้อมูลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 60.2 เป็น 60.9 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 45 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา 

แม้การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้จะไม่คึกคัก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริโภคยังคงมองหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์อย่างต่อเนื่องและรอเวลาที่เหมาะสมในการเป็นเจ้าของ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.ddproperty.com ในรอบปี 2566 (เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566) สะท้อนเทรนด์ความต้องการซื้อและเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ 

10 จังหวัดที่มีความต้องการซื้อมากที่สุด

“กรุงเทพฯ – นนทบุรี – สมุทรปราการ” ท็อป 3 จังหวัดยอดนิยมของผู้ซื้อทั่วประเทศ

กรุงเทพมหานครยังคงครองความนิยมเป็นจังหวัดที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ตามมาด้วยจังหวัดปริมณฑลโดยรอบ ดังนี้ อันดับ 2 นนทบุรี, อันดับ 3 สมุทรปราการ, อันดับ 4 ปทุมธานี, อันดับ 5 ชลบุรี, อันดับ 6 เชียงใหม่, อันดับ 7 นครปฐม, อันดับ 8 ระยอง, อันดับ 9 นครราชสีมา และอันดับ 10 สมุทรสาคร 

โดย 4 อันดับแรกอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งสิ้น เนื่องมาจากความเจริญของเมืองหลวงที่มีการวางรากฐานระบบสาธารณูปโภคและพัฒนาระบบคมนาคมอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้ยังได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้สะดวกยิ่งขึ้น จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อสังหาฯ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 

เมื่อแบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวดิ่งครองความนิยมมากที่สุด โดยคอนโดมิเนียมมีความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ด้วยสัดส่วนถึง 43% ของอสังหาฯ ทั้งหมด ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยว 38% และทาวน์เฮ้าส์ 19% ตามลำดับ 

สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์การอยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป หลังจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีการขยายโครงการไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะคอนโดฯ ที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ จึงส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยประเภทนี้ยังได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ระดับราคาที่อยู่อาศัยที่มีความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่ 

  • อันดับ 1 ระดับราคา 1-3 ล้านบาท มีสัดส่วน 38% ของระดับราคาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อส่วนใหญ่ของคนหาบ้านทั่วประเทศที่อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่าง ซึ่งมองหาโครงการที่ราคาจับต้องได้ (Affordable price) 
  • อันดับ 2 ระดับราคา 3-5 ล้านบาท มีสัดส่วน 21%
  • อันดับ 3 ระดับราคา 5-10 ล้านบาท มีสัดส่วน 18% 

ทั้งนี้ สัดส่วนของที่อยู่อาศัยระดับราคา 3-5 ล้านบาท รวมกับระดับราคา 5-10 ล้านบาท พบว่าสูงกว่าระดับราคา 1-3 ล้านบาท เป็นผลมาจากการที่กลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-บนได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจน้อยกว่าผู้บริโภคระดับล่าง จึงมีความพร้อมทางการเงินในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาสูง 

สอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เผยว่า กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยราคา 1-3 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง เริ่มเห็นสัญญาณมีปัญหาในการผ่อนชำระติดขัดมากขึ้น และเห็นการไหลจากสินเชื่อปกติเป็นกลุ่มสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) หรือค้างชำระตั้งแต่ 31 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน มากขึ้น

10 จังหวัดที่มีความต้องการเช่ามากที่สุด

“กรุงเทพฯ” ยืนหนึ่งจังหวัดยอดนิยมในหมู่ผู้เช่า หัวเมืองท่องเที่ยวมาแรง 

จังหวัดยอดนิยม 3 อันดับแรกในฝั่งตลาดเช่านั้นยังคงเหมือนกับตลาดซื้อ ตามมาด้วยเมืองท่องเที่ยวหลัก สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นบ้านพักตากอากาศทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งเทรนด์ Workcation รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกันที่ยังได้รับความนิยมอยางต่อเนื่อง ทำให้ 10 จังหวัดที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่ อันดับ 1 กรุงเทพฯ, อันดับ 2 นนทบุรี, อันดับ 3 สมุทรปราการ ตามมาด้วย เชียงใหม่, ภูเก็ต, ชลบุรี, ขอนแก่น, ปทุมธานี, นครราชสีมา และอุดรธานี ตามลำดับ

ขณะเดียวกันเมื่อแบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่าผู้เช่าเกือบ 4 ใน 5 สนใจเช่าคอนโดฯ มากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึง 79% ของอสังหาฯ ทั้งหมด เนื่องจากผู้ประกอบการพัฒนาโครงการเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น จึงครอบคลุมไลฟ์สไตล์แต่ละช่วงวัยได้เป็นอย่างดี ขณะที่บ้านเดี่ยวมีสัดส่วน 13% ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วน 8% เท่านั้น 

เมื่อพิจารณาระดับค่าเช่าต่อเดือนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในรอบปี 2566 พบว่า ผู้เช่าส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 5 (62%) ให้ความสนใจที่ระดับราคาไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาค่าเช่าที่เหมาะสมในการหาโครงการที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีพื้นที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้อยู่อาศัย และอยู่ในทำเลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกล้อมรอบ เดินทางได้ง่าย 

  • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 36% 
  • อันดับ 2 ระดับค่าเช่าไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 26% 
  • อันดับ 3 ระดับค่าเช่ามากกว่า 30,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 23% 

“BTS อ่อนนุช” ขึ้นแท่นทำเลแนวรถไฟฟ้าสุดฮอตของคนหาบ้าน

ทำเลที่ตั้งของโครงการอสังหาฯ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยไม่น้อย โดยเฉพาะทำเลที่มีโครงการรถไฟฟ้าพาดผ่าน เนื่องจากเป็นการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลามากที่สุดในเมืองหลวง นอกจากนี้ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตและได้รับการพัฒนาในอนาคต จึงกลายเป็นทำเลที่น่าจับตามองทั้งในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยและนักลงทุน

จากข้อมูล 10 สถานีรถไฟฟ้ายอดนิยมของกลุ่มคนค้นหาอสังหาฯ ในรอบปี 2566 พบว่า 7 ใน 10 เป็นสถานีที่อยู่ในโครงการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ซึ่งเปิดให้บริการเป็นสายแรกของประเทศไทย ทำเลโดยรอบสถานีจึงมีการพัฒนามาอย่างยาวนานทั้งในเชิงพาณิชย์และเพื่ออยู่อาศัย 

โดยอันดับ 1 ได้แก่ BTS อ่อนนุช ทำเลศักยภาพแนวรถไฟฟ้าที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยและมาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทั้งแหล่งช้อปปิ้ง, ห้างสรรพสินค้า และโรงเรียนนานาชาติ นอกจากนี้ยังเป็นทำเลที่รวมที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงจึงเหมาะกับการซื้อเพื่ออยู่อาศัยและลงทุน 

ตามมาด้วย อันดับ 2 MRT พระราม 9, อันดับ 3 BTS พร้อมพงษ์, อันดับ 4 BTS อารีย์, อันดับ 5 BTS เอกมัย, อันดับ 6 BTS ทองหล่อ, อันดับ 7 BTS อโศก, อันดับ 8 BTS อุดมสุข, อันดับ 9 MRT ลาดพร้าว และอันดับ 10 MRT ห้วยขวาง

ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566

“เขตวัฒนา” คว้าทำเลทองครองใจทั้งผู้ซื้อ-ผู้เช่าในเมืองหลวง

ความเจริญของเมืองหลวงดึงดูดให้มีจำนวนประชากรเข้ามาอาศัยอย่างหนาแน่น และกลายเป็นทำเลทองของการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ที่คับคั่งที่สุดเช่นกัน จากข้อมูลการเข้าชมประกาศอสังหาฯ ในรอบปี 2566 พบว่า ”เขตวัฒนา” ครองอันดับ 1 สุดยอดทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อและเช่ามากที่สุด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) ที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งงานขนาดใหญ่และเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า จึงเป็นทำเลย่านใจกลางเมืองที่น่าจับตามองทั้งในฝั่งผู้ซื้อและผู้เช่า 

โดย 10 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่

  • อันดับ 1 เขตวัฒนา
  • อันดับ 2 เขตจตุจักร
  • อันดับ 3 เขตห้วยขวาง
  • อันดับ 4 เขตบางกะปิ
  • อันดับ 5 เขตคลองเตย
  • อันดับ 6 เขตประเวศ
  • อันดับ 7 เขตสวนหลวง
  • อันดับ 8 เขตบางนา
  • อันดับ 9 เขตพระโขนง
  • อันดับ 10 เขตบางเขน

ด้าน 10 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่

  • อันดับ 1 เขตวัฒนา 
  • อันดับ 2 เขตคลองเตย 
  • อันดับ 3 เขตห้วยขวาง
  • อันดับ 4 เขตจตุจักร 
  • อันดับ 5 เขตพระโขนง 
  • อันดับ 6 เขตราชเทวี 
  • อันดับ 7 เขตบางนา
  • อันดับ 8 เขตปทุมวัน
  • อันดับ 9 เขตบางรัก 
  • อันดับ 10 เขตสาทร 

ผู้ซื้อชาวกรุงมากกว่าครึ่งเลือกคอนโดฯ – มองราคาต่ำ 3 ล้านบาทยังตอบโจทย์ 

เมื่อจำแนกความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ตามประเภทอสังหาฯ พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (56%) ให้ความสนใจเลือกซื้อคอนโดฯ มากที่สุด ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนความสนใจซื้อของคนทั้งประเทศ (43%) เนื่องจากคอนโดฯ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในเมืองหลวงที่ต้องการความคล่องตัวในการอยู่อาศัยและการเดินทาง อีกทั้งยังมีตัวเลือกโครงการที่หลากหลายกว่า ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกระดับราคา ขณะที่บ้านเดี่ยวมีสัดส่วน 27% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วน 17% ของอสังหาฯ ทั้งหมด

เมื่อพิจารณาในปัจจัยด้านราคา แม้ที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทจะได้รับสนใจค้นหามากที่สุด แต่พบว่าระดับราคาตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ศักยภาพในการเติบโตสูงตามดีมานด์ในตลาดจึงทำให้ราคาที่อยู่อาศัยต้องปรับขึ้นตามต้นทุนใหม่เช่นกัน โดยระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ชาวกรุงเทพฯ สนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่ 

  • อันดับ 1 ระดับราคา 1-3 ล้านบาท มีสัดส่วน 33% 
  • อันดับ 2 ระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาท มีสัดส่วน 21% 
  • อันดับ 3 ระดับราคา 3-5 ล้านบาท และ 5-10 ล้านบาท มีสัดส่วนเท่ากันอยู่ที่ 20% 

ชาวกรุงเกือบ 9 ใน 10 อยากเช่าคอนโดฯ – ค่าเช่าไม่เกิน 20,000 บาทดึงดูดใจ

กรุงเทพฯ มีประชากรเป็นจำนวนมากทั้งคนกรุงเทพฯ เองและกลุ่มประชากรแฝงส่งผลให้ความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยสูงตามไปด้วย เนื่องจากมีความยืดหยุ่นตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ได้ต้องการตั้งถิ่นฐานเป็นการถาวรหรือมีแผนโยกย้ายในอนาคต ซึ่งคอนโดฯ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสังคมเมืองมากที่สุด 

เห็นได้ชัดจากการที่เกือบ 9 ใน 10 ของผู้เช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ สนใจเช่าคอนโดฯ มากที่สุด ด้วยสัดส่วนถึง 87% ของอสังหาฯ ทั้งหมด ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีความต้องการเช่าอยู่บ้าง โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพียง 7% ส่วนทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วน 6% เท่านั้น

เมื่อพิจารณาภาพรวมระดับค่าเช่าต่อเดือนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในกรุงเทพฯ พบว่า มีความคล้ายคลึงกับภาพรวมทั่วประเทศ โดยมากกว่าครึ่ง (59%) สนใจค้นหาที่อยู่อาศัยเพื่อเช่าในระดับค่าเช่าไม่เกิน 20,000 บาทมากที่สุด สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเวลานี้ 

  • อันดับ 1 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 37% 
  • อันดับ 2 ระดับค่าเช่ามากกว่า 30,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 25% 
  • อันดับ 3 ระดับค่าเช่าไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 22% 

รถไฟฟ้าสายสีชมพูดัน “นนทบุรี” ครองแชมป์ทำเลซื้อและเช่ายอดนิยมในโซนปริมณฑล 

อานิสงส์จากการพัฒนาระบบคมนาคมอย่างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยในจังหวัดปริมณฑล (ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร) มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย 

ล่าสุดเมื่อมีการเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เชื่อมต่อการเดินทางมายังจังหวัดนนทบุรี ถือเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมให้โครงการอสังหาฯ ในละแวกนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ส่งผลให้ “อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี” กลายเป็นเขตปริมณฑลที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ซื้อและผู้เช่ามากที่สุดในรอบปีนี้

โดย 5 ทำเลในเขตปริมณฑลที่ได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่

  • อันดับ 1 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
  • อันดับ 2 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 
  • อันดับ 3 อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
  • อันดับ 4 อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  
  • อันดับ 5 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ขณะที่ 5 ทำเลในเขตปริมณฑลที่ได้รับความสนใจเช่ามากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่

  • อันดับ 1 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
  • อันดับ 2 อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 
  • อันดับ 3 อำเภอเมืองปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 
  • อันดับ 4 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 
  • อันดับ 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 

สรุปภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และระดับราคายอดนิยมในเขตปริมณฑล 

  • เมื่อแบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่าต่างจากภาพรวมทั่วประเทศและในกรุงเทพฯ อย่างสิ้นเชิง โดยที่อยู่อาศัยแนวราบได้รับความสนใจซื้อมากที่สุดในเขตปริมณฑล บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนมากถึง 48% ของอสังหาฯ ทั้งหมด ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์และคอนโดฯ มีสัดส่วน 31% และ 21% ตามลำดับ
  • นอกจากนี้ด้วยต้นทุนราคาที่ดินที่ถูกกว่าในกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแถบชานเมืองมากขึ้น โดยระดับราคาที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑลที่มีความสนใจซื้อมากที่สุดในรอบปี 2566 ได้แก่
    • อันดับ 1 ระดับราคา 1-3 ล้านบาท มีสัดส่วน 46% 
    • อันดับ 2 ระดับราคา 3-5 ล้านบาท มีสัดส่วน 22% 
    • อันดับ 3 ระดับราคา 5-10 ล้านบาท มีสัดส่วน 14%
าพรวมความต้องการเช่าที่อยู่อาศัย และระดับค่าเช่ายอดนิยมในเขตปริมณฑล

ขณะที่ภาพรวมความต้องการเช่าที่อยู่อาศัย และระดับค่าเช่ายอดนิยมในเขตปริมณฑล 

  • เมื่อแบ่งตามประเภทอสังหาฯ พบว่าคอนโดฯ ยังคงครองความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนความสนใจเช่า 60% ของอสังหาฯ ทั้งหมด ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ได้รับความสนใจเช่าในสัดส่วนไล่เลี่ยกัน (22% และ 19% ตามลำดับ)  
  • ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาภาพรวมระดับค่าเช่าต่อเดือนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเขตปริมณฑล พบว่า มากกว่าครึ่งให้ความสนใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 10,000 บาท สะท้อนให้เห็นว่าค่าครองชีพในเขตปริมณฑลยังคงอยู่ในระดับเหมาะสม ไม่มีปัจจัยกดดันให้ระดับค่าเช่าที่อยู่อาศัยพุ่งสูงจนเกินเอื้อม ถือเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคขยับขยายมาอยู่เขตปริมณฑลมากขึ้น
    • อันดับ 1 ระดับค่าเช่าไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 52% 
    • อันดับ 2 ระดับค่าเช่า 10,000-20,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 27% 
    • อันดับ 3 ระดับค่าเช่ามากกว่า 30,000 บาท/เดือน มีสัดส่วน 11% 

PropertyGuru Asia Real Estate Summit ครั้งที่ 9 สุดยอดงานสัมมนาแวดวงอสังหาฯ-พร็อพเทคแห่งเอเชีย ปิดฉากลงอย่างสวยงาม ประกาศจุดยืนชัด “มุ่งขับเคลื่อนชุมชนของทุกคนเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้น”

PropertyGuru Asia Real Estate Summit ครั้งที่ 9 สุดยอดงานสัมมนาแวดวงอสังหาฯ-พร็อพเทคแห่งเอเชีย ปิดฉากลงอย่างสวยงาม ประกาศจุดยืนชัด “มุ่งขับเคลื่อนชุมชนของทุกคนเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้น”

PropertyGuru Asia Real Estate Summit ครั้งที่ 9 สุดยอดงานสัมมนาแวดวงอสังหาฯ-พร็อพเทคแห่งเอเชีย ปิดฉากลงอย่างสวยงาม ประกาศจุดยืนชัด “มุ่งขับเคลื่อนชุมชนของทุกคนเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้น”

นักคิดระดับโลกและผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตบเท้าร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในการประชุมสุดยอดปีนี้ เพื่อถกถึงแนวทางในการสร้างเมืองแห่งอนาคตสำหรับทุกคน

พร็อพเพอร์ตี้กูรู เอเชีย เรียล เอสเตท ซัมมิต (PropertyGuru Asia Real Estate Summit หรือ ARES) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำระดับโลกที่รวบรวมบทความและไอเดียสำหรับผู้นำและผู้ที่สนใจ (Thought Leadership Platform) ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ หรือพร็อพเทค ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรู๊ป (PropertyGuru Group) ซึ่งมีชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ว่า PGRU และเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดงานประชุมสุดยอดประจำปีที่รวมเอาเหล่านักคิดที่มีชื่อเสียง ผู้นำจากองค์กรในแวดวงธุรกิจต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก โดยในปี 2566 นี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 ภายใต้ธีม “ขับเคลื่อนชุมชนของทุกคนเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้น” (Powering Communities) และมีการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกันถึงประเด็นการเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบจะสามารถสร้างและพัฒนาเมืองแห่งอนาคตสำหรับคนทุก ๆ คนได้อย่างไรอีกด้วย 

สำหรับงาน ARES ประจำปี 2566 นี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 400 รายจากทั่วโลกที่เข้าร่วมฟังการสัมมนาที่จัดในรูปแบบไฮบริด คือทั้งการจัดงาน ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล และแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Zoom โดยมีวิทยากรรับเชิญเกือบ 40 ราย ร่วมจุดประกายความคิด ประเด็นการสนทนาที่น่าสนใจในหัวข้อเกี่ยวกับอนาคตของชุมชนที่พวกเราอยู่อาศัย, ธุรกิจ, การบริการ, สันทนาการ และนวัตกรรม 

สำหรับธีมงานในปีนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ใหม่ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ซึ่งก็คือ ขับเคลื่อนชุมชนสำหรับการอยู่อาศัย การทำงาน และการพัฒนาเพื่อเมืองแห่งวันพรุ่งนี้ (To power communities to live, work, and thrive in tomorrow’s cities) ซึ่งวิสัยทัศน์ใหม่ดังกล่าวได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณชน โดยนายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่แห่งพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ในพิธีเปิดงาน ARES ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 หนึ่งวันก่อนถึงวันครบรอบ 16 ปีของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ในวันที่ 8 ธันวาคม

นายแฮร์รี่ กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นผู้นำตลาดที่มีความรับผิดชอบ เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ที่มีส่วนในการช่วยสนับสนุน หรือเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพให้กับทุก ๆ คนที่อยู่ในเส้นทางของการซื้อ-ขาย-เช่า-ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ ด้วยการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจผ่านคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลและคำแนะนำเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และที่ขาดไม่ได้ก็คือการให้บริการมาตรฐานระดับโลกของเรา จากการช่วยให้คนซื้อบ้านสามารถค้นหาบ้านและแหล่งเงินทุนสำหรับการซื้อบ้านในฝัน ไปสู่การช่วยผู้ซื้อต่างชาติหาที่พักที่เหมาะสม การสนับสนุนลูกค้าองค์กรให้สามารถลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่น่าพอใจ การแบ่งปันข้อมูลปฐมภูมิ (First party data) ให้กับธนาคาร-สถาบันการเงิน และนักประเมินค่าสินทรัพย์ รวมไปถึงการแบ่งปันข้อมูลที่มีความหมายและสร้างผลกระทบต่อสังคมในภาพใหญ่ให้กับผู้ที่มีส่วนในการวางนโยบายต่าง ๆ (Policymakers) จะเห็นได้ว่า เราพร้อมทำงานร่วมกับทุก ๆ ภาคส่วนในระบบนิเวศ เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งหรือมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนให้เมืองและสังคมที่เราอยู่ก้าวหน้าต่อไปเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น” 

สำหรับเซ็กเมนต์แรกของงาน ARES ประจำปี 2566 เป็นหัวข้อเกี่ยวกับ “การใช้ชีวิต: ชุมชนแห่งอนาคต” (Live: Future of Communities) ซึ่งเป็นการพูดคุยโดยมีประเด็นสำคัญที่พูดถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ และแนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจของเอเชียในปี 2567 โดยคุณสุมนา ราจาเรทนัม ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครือข่ายองค์กรนักเศรษฐศาสตร์ อย่าง Economist Intelligence Corporate Network โดยมีผู้ร่วมพูดคุยเป็นนักสิทธิมนุษยชนประจำเคนยาอย่าง ดร.เอ็ดลัม อะเบอรา เยเมรู หัวหน้าหน่วยความรู้และนวัตกรรมจากฮาบิแทตแห่งสหประชาชาติ ซึ่งพูดถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนชุมชนที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ และการสร้างเมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goal (SGD) Cities 

นอกจากนี้ เดวิด กิซเซ่น นักเขียน, ดีไซน์เนอร์, นักวิชาการ, ที่ปรึกษา, ศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์เมืองแห่งโรงเรียนออกแบบพาร์สันส์ (Parsons School of Design) ได้พูดถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการทบทวนการออกแบบอาคารต่าง ๆ รวมไปถึงคอนเซ็ปต์ของเมืองชั้นเดียว (One-storey city)

ในขณะที่เซ็กเมนต์ที่สอง “การทำงาน: อนาคตของธุรกิจ” เริ่มต้นด้วยคุณเชลซี เพอริโน กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดและสื่อสารไร้พรมแดน (Global Marketing & Communications) จากดิ เอ็กเซ็กคิวทีฟ เซ็นเตอร์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านพื้นที่ทำงานระดับโลก มาแชร์ความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการสร้างสรรค์พื้นที่การทำงาน และการจัดระบบการทำงานแบบไฮบริด 

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Panel discussion)

ในส่วนของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Panel discussion) กลุ่มแรกของวัน นำโดย คุณมานาฟ คัมบอช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี และกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจฟินเทค จากพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป รับหน้าที่เป็นพิธีกร โดยมีผู้ร่วมพูดคุยเป็นบุคคลจากแวดวงเทคโนโลยีที่ใช้  A.I. ในการออกแบบ, จัดการข้อมูล, เทคโนโลยี Digital Twins หรือการสร้างโมเดลเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพ, และเทคโนโลยีบล็อกเชน เมตาเวิร์ส ซึ่งประกอบไปด้วย คุณท็อป – จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าที่บริหารกลุ่มบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด, ศาสตราจารย์เจสัน โพเมรอย ผู้ก่อตั้ง โพเมรอย สตูดิโอ แอนด์ โพเมรอย อคาเดมี / Fellow หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณูปการในสาขาวิชาภาวะผู้นำที่ยั่งยืน (Sustainability Leadership) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และคุณเว็นฮุย ลิม ผู้อำนวยการ สปาร์ค อาร์คิเทคส์  

ช่วงที่สองและงานสัมมนาในช่วงเช้าจบลงด้วยการโชว์ผลงานของพร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส (PropertyGuru For Business หรือ PG4B) ซึ่งลงทุนในการพัฒนาระบบวิทยาการข้อมูล (Data Science) เพื่อพัฒนาโปรดักส์และบริการสำหรับลูกค้าองค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคุณเจเรมี วิลเลี่ยมส์ กรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลส และคุณชินยี่ โฮ-สเตรนกราส กรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจดาต้า แอนด์ ซอฟต์แวร์ โซลูชั่น ได้เริ่มต้นเซสชั่นดังกล่าวด้วยการพูดคุยถึงการปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจ 

ตามด้วยการเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจจาก ดร.ไนเจีย ลี หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของทีมดิจิทัล แอนด์ ซอฟต์แวร์ โซลูชั่น ในประเด็นเกี่ยวกับการขยายตัวของเมือง และดัชนีความน่าอยู่อาศัย ปิดท้ายด้วยการแสดงตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจของ PG4B โดยคุณบ็อบ ค็อปเพส ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ อย่างการจ่ายเงินและการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและตอบโจทย์การใช้งานทั้งทางฝั่งผู้ใช้บริการและผู้ใช้งานมากที่สุด 

สำหรับงาน ARES ประจำปี 2566 ในช่วงบ่ายเริ่มต้นด้วยเซสชั่นที่ 3 กับธีม “การขับเคลื่อน: อนาคตของการสันทนาการ” (Thrive: Future of Leisure) โดยเริ่มจากการพูดคุยแบบ Virtual จากประเทศมาเลเซีย โดยคุณเดวิด ชอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สถาบันอบรมและวิจัยของสมาคมอสังหาฯ มาเลเซีย REHDA โดยคุณเดวิดยกประเด็นเกี่ยวกับการสร้างเมกะซิตี้ที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้  

จากนั้นเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกลุ่มย่อย โดยประเด็นที่ยกมาพูดคุยกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของการรับประทานอาหาร, การเพิ่มขึ้นของวัฒนธรรมการเลี้ยงสัตว์ในทำเลเมือง, และการเปลี่ยนแปลงของประชากรซึ่งส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัย 

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มที่สองนี้ ประกอบด้วย ดร.อัลลาดดิน ดี. ริลโล ที่ปรึกษาเศรษฐศาสตร์อาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคอาเซียน และเอเชียตะวันออก (ERIA), คุณเอมี่ สาวิตตา เลเฟอร์พ อดีตสื่อสารมวลชนระดับนานาชาติ (อดีตผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์ส), คุณคริสติน ลี หัวหน้าแผนกวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไนท์แฟรงค์, คุณคอลิน ฉี ครีเอเตอร์และครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ จาก บริษัท เนเวอร์ ทู สมอลล์, คุณดิดี้ อัลเมย์ดา นักเขียน, อดีตสื่อสารมวลชน และผู้ฝึกสัตว์ในอินโดนีเซีย, คุณเจสสิก้า ซาฟรา นักเขียนมือรางวัล, สื่อสารมวลชน และผู้พิทักษ์สวัสดิภาพสัตว์, คุณคีแรน กิบบ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการเอเจนซี่ด้านการตลาดจากฮ่องกง โมโนจิก (Monogic), คุณมิเชล มาร์ติน ผู้ดำเนินรายการ มันนี่ เอฟเอ็ม 89.3 จากสิงคโปร์, คุณพิพพา วู้ดเฮด หัวหน้าแผนกพอดแคสต์ ประจำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทางด้านโซเชียลที่มีชื่อว่า ไทเกอร์ฮอลล์ จากประเทศสิงคโปร์, และคู่สามี-ภรรยา คุณเฟย์-ธัญจิรา ตระกูลวงษ์ และเชฟแดน บาร์ก เจ้าของและผู้จัดการร้าน Cadence by Dan Bark (ได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ ภายใน 6 เดือนหลังจากเปิดร้าน) และร้าน Caper by Dan Bark 

นอกจากนี้ คุณแอนเดรีย ซาเวจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมแห่งเอ ไลฟ์ บี ดีไซน์ ซึ่งเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในชื่อดัง และอดีตพรีเซ็นเตอร์คนดังจากช่อง HGTV Asia มาพูดคุยถึงประเด็นหลักในหัวข้อของการออกแบบว่าเป็นภาษาสากลของการใช้พื้นที่ และการทำให้เกิดประสบการณ์เพื่อการปรับเปลี่ยนมุมมอง ร่วมกับ คุณแคเมอรอน ริชาร์ดส์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่งดิจิทัลเอเจนซี่จากสิงคโปร์ ซีพีอาร์ วิชั่น แมเนจเมนท์  

ในฐานะประธานการจัดงาน ARES ประจำปี 2566 คุณสตีเฟน โอห์ม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณค่า และผู้สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน / กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอนตัม อะนาไลสิส และควอนตัม ประเทศไทย จำกัด เข้าร่วมการพูดคุยผ่านระบบออนไลน์ (Virtual) ตรงจากงาน COP28 จากดูไบ เพื่อพูดถึงเป้าหมายล่าสุดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงขั้นตอนในการพัฒนา และการกระจายการพัฒนาไปตามเมืองต่าง ๆ ของโลก 

การจัดงาน ARES ยังคงเป็นการจัดงานที่รวบรวมไว้ซึ่งความแตกต่างและหลากหลาย โดย 50% ของผู้ร่วมบรรยายในงานครั้งนี้เป็นผู้หญิงและ/หรือกลุ่มคนจากชุมชนเพศทางเลือกอย่าง LGBTQ+

และในปีนี้ คุณเชน บาเทีย รองผู้อำนวยการ มูลนิธิความเท่าเทียมแห่งเอเชีย (Equal Asia Foundation) ได้แชร์ความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับอสังหาฯ สำหรับชนกลุ่มน้อยและกลุ่มผู้พิการ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และเป็นการปิดฉากอีเวนต์ในเซ็กเมนต์ที่สามของวัน 

สำหรับเซ็กเมนต์สุดท้ายของงานสัมมนาในปีนี้อยู่ในธีมของ “การขับเคลื่อน: อนาคตของนวัตกรรม” (Thrive: The Future of Innovation) ซึ่งเปิดด้วยประเด็นสำคัญของการพูดคุยโดย คุณวิณุ แดเนียล ผู้ก่อตั้งวอลล์เมคเกอร์ จากประเทศอินเดีย คุณวิณุเป็นสถาปนิกผู้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ของ TIME100 Next ซึ่งเป็นลิสต์ที่รวบรวมบุคคลสำคัญและเป็นความหวังแห่งอนาคตในการขับเคลื่อนสังคมของนิตยสารไทม์ นอกจากนี้ คุณวิณุยังได้ร่วมพูดบนเวที TED2023 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาด้วย โดยเขายังได้รับรางวัล PropertyGuru Visionary Award จากงาน ARES ประจำปี 2566 จากผลงานการออกแบบที่ยั่งยืนของเขาที่ใช้ดินและเศษจากสิ่งเหลือใช้  

คุณวิณุกล่าวกับทีมพร็อพเพอร์ตี้ รีพอร์ต บาย พร็อพเพอร์ตี้กูรู (Property Report by PropertyGuru) ซึ่งเป็นนิตยสารอย่างเป็นทางการสำหรับงาน ARES ประจำปี 2566 ว่า “การก่อสร้างเกิดขึ้นตลอดเวลาในทุก ๆ ที่ มันจึงเป็นเรื่องที่ดีมาก หากเราจะสามารถแบ่งปันความรู้ที่เรามีให้กับคนอื่น ๆ ได้”  

ด้านคุณคอลิน ฉี ครีเอเตอร์และผู้ก่อตั้งเว็บชื่อดัง เนเวอร์ ทู สมอลล์ (Never Too Small) และเป็นเจ้าของรางวัล Visionary Award จาก ARES เมื่อปีที่แล้ว กลับมาสู่เวที ARES ในปีนี้อีกครั้งกับกรณีศึกษาเรื่องการออกแบบภายในที่มีการนำของเหลือใช้จากไซต์ก่อสร้างและการรื้อถอนมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยกรณีศึกษาดังกล่าวรวมไปถึงคลิปตัวอย่างบางตอนจากลิมิเต็ดซีรีส์ของเขาที่มีชื่อว่า “Wonderful Waste” ด้วย  

สำหรับเซ็กเมนต์ที่สี่ ประกอบด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายหัวข้อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์, ความยืดหยุ่นของธุรกิจนี้ รวมไปถึงความท้าทายต่าง ๆ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ร่วมสนทนา ประกอบด้วย คุณซินดี้ แทน จาราบาทะ กลุ่มบริษัท TAJARA Leisure and Hospitality Group, คุณแฮง ดัง กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี เวียดนาม, คุณริต้า ชอว์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารธุรกิจ ซันชายน์ พีอาร์ (ประเทศจีน), คุณ สตีเฟน พิมบลีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการ บริษัทสถาปนิก สปาร์ค อาร์คิเทคส์ โดยมีคุณมาร์โค โลเบลกัท บรรณาธิการประจำภูมิภาคเอเชียของนิตยสาร Bridges ซึ่งเป็นนิตยสารเชิงธุรกิจและไลฟ์สไตล์ในรูปแบบดิจิทัลเจาะกลุ่มนักธุรกิจทั่วโลก และผู้อำนวยการต่างประเทศของมีเดียเอเจนซี่ Synergy Media Specialists เป็นผู้ดำเนินรายการ

คุณตอง-อรผกา วุฒิโฆษิต ผู้จัดการอาวุโส (ธุรกิจท่องเที่ยว, อสังหาริมทรัพย์ และอีคอมเมิร์ซ) แห่ง Google ประจำประเทศไทย พูดปิดท้ายในเซ็กเมนต์ที่สี่ด้วยหัวข้อเกี่ยวกับอนาคตของนวัตกรรมดิจิทัล

งานสุดยอดสัมมนา ARES ประจำปี 2566 เป็นหนึ่งในซีรีส์อีเวนต์สำคัญของพร็อพเพอร์ตี้กูรูวีค ซึ่งมีผู้บริหารและผู้นำในแวดวงอสังหาฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั่วภูมิภาคเอเชียตบเท้าเข้าร่วมงาน โดยสัปดาห์ของซีรีส์อีเวนต์จะเริ่มต้นด้วยงานสัมมนาและงานเลี้ยงผู้บริหารในแวดวงอสังหาฯ ซึ่งจัดในรูปแบบ Roundtable (Real Estate Leaders’ Roundtable) ในวันที่ 6 ธันวาคม โดยพร็อพเพอร์ตี้กูรู ฟอร์ บิสิเนส (PG4B) ต่อด้วยงานสุดยอดสัมมนา ARES ประจำปี 2566 และ งาน ARES VIP Cocktail Party ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 7 ธันวาคม ในขณะที่วันที่ 8 ธันวาคม มีการจัดงานกาล่า 2 งานด้วยกัน ได้แก่ งานเลี้ยงช่วงกลางวันเพื่อแจกรางวัลสำหรับผู้ชนะจากประเทศจีน, นิเซโกะ ประเทศญี่ปุ่น และอินเดีย และงานประกาศผลรางวัลพร็อพเพอร์ตี้กูรู เอเชีย พร็อพเพอร์ตี้ อวอร์ดส์ แกรนด์ ไฟนอล ครั้งที่ 18 ซึ่งมีผู้ชนะจากแต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย และออสเตรเลียเข้าร่วม และสัปดาห์แห่งซีรีส์อีเวนต์นี้ปิดท้ายด้วยการเข้าชมสุดเอ็กซ์คลูซีฟแบบไพรเวท สกรีนนิ่ง กับลิมิเต็ดซีรีส์ “Wonderful Waste” โดยเนเวอร์ ทู สมอลล์ 

งานสัมมนาพร็อพเพอร์ตี้กูรู เอเชีย เรียล เอสเตท ซัมมิต (ARES) ประจำปี 2566 มีผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการประกอบด้วย พอร์ทัลพาร์ทเนอร์อย่างพร็อพเพอร์ตี้กูรู, นิตยสารพร็อพเพอร์ตี้ รีพอร์ต บาย พร็อพเพอร์ตี้กูรู, พาร์ทเนอร์ด้านประชาสัมพันธ์ อาร์ทิมิส แอสโซสิเอทส์, พาร์ทเนอร์ด้านสื่อ ได้แก่ นิตยสารดิจิทัล Bridges, นิตยสาร d+a, นิตยสาร Hot, มะนิลา บูลละทิน, นิตยสาร REm และ Techsauce

ในส่วนของสมาคมต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ประกอบด้วย บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) กับนวัตกรรม EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) ที่เน้นความเป็นเลิศในการออกแบบ และให้ประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น, และสถาบัน REHDA ในส่วนของงาน ARES VIP Cocktail Party ได้รับการสนับสนุนโดย PG4B และผู้สนับสนุนอย่าง ดาวเอธธิคอลกิ๊ฟส์ (โปรเจกต์ที่สนับสนุนความสามารถของผู้หญิง) และบริษัท ฟ้าใหม่ โฮลดิ้งส์ จำกัด 

Charting the Course: APAC’s Tech Trajectory for 2024

วิถีเทคโนโลยีปี 2567 ช่วยองค์กรสร้างกลยุทธ์ไอทีที่แตกต่าง

Charting the Course: APAC’s Tech Trajectory for 2024

Aaron White, VP and GM of Sales, Nutanix APJ
Aaron White, VP and GM of Sales, Nutanix APJ

The last 12 months brought about an unprecedented surge of technology and innovation. The importance of the cloud and the growing preference for a hybrid infrastructure was reinforced as a business imperative. The digital-first world we live in today is enabled largely by the cloud. To deliver data and insights even faster, the edge also emerged as a key differentiator for organizations. However, the hottest commodity was AI. Overnight, it dominated conversations. Most organizations hopped on the AI train, to different extents, with immediacy and a suitcase of uncertainty.

However, amidst the deluge of new technologies emerging at breakneck speeds, and a sense of urgency to adopt these innovations, business decision-makers are starting to find themselves overwhelmed with new solutions. It increasingly feels like technology is happening to people rather than for them.

While AI will continue to dominate conversations, organisations need to take a quick step back and put in place a strong cloud strategy that will pave the way for their journey. It will be crucial to understand their technology stack, focus efforts on (re)building customer trust and cultivate the skills that will allow workers to keep up with the demands of an ever-evolving digital landscape.

Hybrid multicloud will become the default choice for enterprises

Adoption of cloud services across all industries and regions has accelerated and will continue to. Gartner predicts that, by 2025, 75 percent of enterprise data will be created and processed outside the traditional data centre or cloud, up from a mere 10 per cent in 2018.

Organisations have sought to enable a variety of applications, enhance business agility, and optimise costs. Despite this surge, not every workload seamlessly aligns with the public cloud, and many enterprises grapple with legacy applications and data entrenched in on-premises or private cloud environments. Therefore, hybrid multicloud solutions that offer the best of both worlds will become the default choice for enterprises that want to balance performance, security, compliance, and cost. According to the Nutanix 2023 ECI report, 86 per cent of IT decision-makers in APJ expect hybrid cloud to positively impact their businesses in 2024.

On top of all this with the ever-expanding digital frontier, and as AI takes root in everyday operations, the inevitability of the hybrid multicloud as the default choice becomes a catalyst for transformative change. It not only addresses immediate challenges but positions organizations to thrive amidst the uncertainties of tomorrow. The ongoing journey toward hybrid multicloud adoption represents a strategic paradigm shift—one where adaptability, resilience, and innovation collide to redefine the very fabric of modern enterprise IT.

Trust: Overcoming uncertainty and promoting innovation

The last couple of years have been marked by rapid technological advancements and unprecedented disruptions, and overcoming uncertainty and adopting technology are paramount for sustained success but it comes with the shadow of an increase in cyber threats. According to the National Cyber Security Agency (NCSA) in Thailand, the top attack between October 1, 2022, and August 4, 2023, was a hacked website (phishing, defacement, gambling). The most attacked sectors were education (36%), other government agencies (31%), and the financial and banking sector (8%).

Nutanix

Thailand enacted the Personal Data Protection Act (PDPA) on June 1, 2022. However, since 2021, many organizations in Thailand have faced ransomware attacks that have stolen customer data. These incidents have all had a significant impact on the trust of customers and consumers. As a result, businesses across Thailand are reviewing and accelerating their cybersecurity plans to ensure that they are in full compliance with PDPA and regain the trust of their customers.

Thus, as the technology sector continues to evolve and innovate, trust will be a potent catalyst, allowing organisations to unlock the full potential of their teams to explore new ideas and take calculated risks. With technology providers continuing to invest in AI and ML solutions and services, it will be essential to embed security, privacy, and transparency into their systems as they are being built.

Skilled workforce: Empowering digital innovation

While technology is advancing at lightning speed, the shortage of skilled professionals across Asia-Pacific and Japan (APJ) capable of harnessing new and emerging technologies poses a significant hurdle. For Thailand, the PWC Asia Pacific Workforce Hopes and Fears Survey 2023 found that 77% of respondents believe that digital skills are important for careers. They also believe that both hard skills, such as technical skills, and soft skills are equally important for careers. The most important skills are teamwork skills (84%), analytical/data skills (83%), and leadership skills (83%). 

With the speed of innovation, it might be difficult to predict what skills will be needed over the next few years. However, one thing is certain: we’ll need to start building education into our workflows to upskill and reskill the current workforce to keep pace with evolving business requirements. Academic programs also need to evolve and ensure that students are being equipped with the right knowledge and skill sets for entering the workforce.

While training should be a fundamental tool and requirement, there is also a need for organisations to place more emphasis on skills, in addition to university degrees, to fully unlock the potential of its future technology workforce. The PWC Asia Pacific Workforce Hopes and Fears Survey 2023 also found that 71% of Thai respondents are confident that their employers will provide them with the skills they need to succeed in their careers in the next five years. Additionally, 70% believe that their skills will change significantly in the next five years as well.  

We are standing at the precipice of this transformative year – a journey toward resilience, innovation, and sustainability. As organisations take stock of the last 12 months and the tech odyssey that we’ve been on, it is time now to take full advantage of the innovation. Having the right technology partner, skills, and talent, will be crucial as we take off to new technological heights.