“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และประจำปี 2566

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และประจำปี 2566

“พร็อพเพอร์ตี้กูรู” บริษัทแม่ 2 เว็บอสังหาฯ ชื่อดังของไทย เผยผลประกอบการไตรมาส 4 และประจำปี 2566

รายได้แตะ 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และกำไรส่วนที่เป็นเงินสดพุ่ง 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีที่ผ่านมา 

  • รายได้ทั้งหมดโตขึ้น 11% มาอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4 พันล้านบาท เมื่อเทียบอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 มีนาคม 2567) ในปี 2566 
  • กำไรส่วนที่เป็นเงินสด (Adjusted EBITDA) เพิ่มจาก 3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 80 ล้านบาท) ในปี 2565 มาอยู่ที่ 19 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 (ราว 507 ล้านบาท)
  • การบริหารต้นทุนการจัดการตั้งแต่เริ่มต้น (Active cost management) ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นที่ได้ (Adjusted EBITDA margin) เพิ่มขึ้นจาก 2% ในปี 2565 เป็น 13% ในปี 2566 
  • บริษัทฯ คาดว่าผลประกอบการทั้งปี 2567 จะอยู่ระหว่าง 165-180 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4-4.8 พันล้านบาท) ส่วนกำไรที่เป็นเงินสด (Adjusted EBITDA) คาดว่าจะอยู่ที่ระหว่าง 22-26 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 587-694 ล้านบาท)

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE: PGRU) (จากนี้จะเรียกแทนว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1], (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเมืองไทย ประกอบด้วย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของไทย และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้แถลงผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยรายได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 อยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.1 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าราว 4% ในขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 27 ล้านบาท) และกำไรส่วนที่เป็นเงินสด[2] (Adjusted EBITDA หรือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย) อยู่ที่ 9 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 240 ล้านบาท) ตัวเลขดังกล่าวเทียบกับการขาดทุนสุทธิของไตรมาสเดียวกันในปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 133 ล้านบาท) และ Adjusted EBITDA ซึ่งอยู่ที่ 0.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 13 ล้านบาท) 

ความเห็นจากผู้บริหาร  

นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า “ผลประกอบการประจำปี 2566 ของเราแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเราในการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคที่ผันผวน และความมุ่งมั่นของเราที่ต้องการสร้างกำไรให้เกิดขึ้นกับธุรกิจที่เราทำ เราสามารถสร้างรายได้ของทั้งปีให้เติบโตในระดับตัวเลข 2 หลักได้ เช่นเดียวกับอัตรากำไร Adjusted EBITDA ตัวเลขเหล่านี้นับเป็นผลงานที่แสดงถึงความสามารถของเราอย่างชัดเจนในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าของเรา และช่วยให้ผู้ที่กำลังหาบ้านสามารถบรรลุเป้าหมายในการมีบ้านเป็นของตัวเองได้ในที่สุด 

แม้ว่าสภาพตลาดในเวียดนามและมาเลเซียจะอยู่ในสถานะที่ไม่ค่อยดีนักในปีที่ผ่านมา แต่เรายังสามารถสร้างผลประกอบการได้ขนาดนี้ นั่นเพราะการลงทุนแบบมุ่งเน้นไปที่การปรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เหมาะสม, มีการปรับกระบวนการทำงานภายในให้เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น, พัฒนากระบวนการดูแลรักษาคุณภาพ (Code Quality) และการสร้างผลิตภาพ (Productivity) ในฝั่งของเทคโนโลยี เรายังคงเดินหน้าลงทุนในการนำ Generative AI และระบบอัตโนมัติมาใช้ เพื่อให้เราเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาฯ ชั้นแนวหน้า และทำให้เราสามารถพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตต่อจากนี้  

เรายังคงสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบเชิงรุกเพื่อสร้างความยั่งยืน และอนาคตที่มีหลักประกันให้กับธุรกิจของเรา ตามหลักการที่เราถือปฏิบัติในการลงทุนแบบโฟกัสในตลาดที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ เราได้เดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการปรับองค์กร ซึ่งจะทำให้เรามั่นใจว่าการลงทุนของเรามีสัดส่วนที่เหมาะสมกับโอกาสที่มีอยู่ ด้วยประสิทธิภาพที่เหมาะสมในการที่จะสร้างการเติบโตแบบมีผลกำไรที่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตต่อจากนี้  

เราตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับพวกเราทุกคน และผมขอเป็นตัวแทนของบริษัทฯ ในการแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อความทุ่มเทที่ผ่านมาของชาวกูรูทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งล่าสุด และขออวยพรให้พนักงานทุกคนประสบความสำเร็จในก้าวต่อไปของชีวิตการทำงาน 

ต่อจากนี้ ในขณะที่เราคาดการณ์ว่าความท้าทายของเศรษฐกิจในระดับมหภาคยังคงดำเนินต่อไป แต่แผนการสู่ความสำเร็จของเรายังคงมีความชัดเจน สร้างสรรค์ และล้ำสมัยด้วยทีมผู้บริหารและพนักงานที่เต็มไปด้วยความสามารถ และการนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนอย่างเหมาะสม ในปี 2566 ที่ผ่านมา เราได้ผู้บริหารท่านใหม่เข้ามาร่วมทีม และนับตั้งแต่ต้นปี 2567 เราได้ต้อนรับคุณเรย์ เฟอร์กูสัน มาสู่ทีมคณะกรรมการบริหารในฐานะประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู คุณเรย์มาพร้อมกับประสบการณ์ที่พรั่งพร้อมและยาวนานในการสร้างธุรกิจที่มีชื่อเสียง, การนำทีมผู้นำขององค์กร และการเจาะตลาดต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ   

เรายังคงมีความมั่นใจในโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแน่นอนว่าวิสัยทัศน์ของเราจะยังคงมุ่งขับเคลื่อนชุมชนต่าง ๆ เพื่อการอยู่อาศัย การทำงาน และพัฒนาสู่ความเป็นเมืองแห่งอนาคตต่อไป”

ด้านนายโจ ดิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมรู้สึกพอใจกับผลประกอบการของปี 2566 เป็นอย่างยิ่ง เราสามารถทำรายได้ที่โตกว่าปีก่อนหน้าถึง 11% และในส่วนของอัตรากำไร Adjusted EBITDA ก็เพิ่มขึ้นถึง 13% จากปีก่อนหน้า ทั้ง ๆ ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ค่อนข้างใหญ่ใน 2 ตลาดหลักของเรา นั่นคือเวียดนาม และมาเลเซีย 

ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่ปี 2567 และกำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนเชิงบวกที่สำคัญทั้งในเวียดนามและมาเลเซีย เราก็พบว่าสิ่งที่เราพยายามทำภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง อาทิ การควบคุมค่าใช้จ่าย การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และความพยายามในการสร้างขั้นตอนการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในปี 2566 เราใช้เวลาในปีที่ผ่านมาในการสร้างความสมดุลระหว่างการคิดค้นโปรดักส์ใหม่ ๆ และลงทุนอย่างระมัดระวังด้วยการจัดการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 เมื่ออัตรากำไร Adjusted EBITDA ของเราโตขึ้นแบบก้าวกระโดดจาก 1% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 22% ในไตรมาส 4 ของปี 2566

กำไรสุทธิในไตรมาส 4 ของปี 2566 อยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 27 ล้านบาท) นับเป็นการเติบโตที่โดดเด่นจากการขาดทุนมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 133 ล้านบาท) เมื่อไตรมาส 4 ของปี 2565 และยังถือเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันในปี 2566 ที่มีรายได้สุทธิเป็นบวก 

สำหรับผลประกอบการทั้งปี 2566 ในหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสมีผลกำไร Adjusted EBITDA ที่เป็นบวก โดยในสิงคโปร์ มาเลเซีย และตลาดเอเชียอื่น ๆ ที่มีการเติบโตของอัตราผลกำไร Adjusted EBITDA ที่โดดเด่น เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในองค์กรเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ลดลงจาก 39% ในปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ 37% ในปี 2566 

สำหรับปี 2567 เราจะยังคงเดินหน้าโฟกัสการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อให้มีผลิตผลและผลกำไรเพิ่มมากขึ้น โดยเราคาดว่ารายได้ทั้งปีของปี 2567 น่าจะอยู่ที่ราว 165-180 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4.4-4.8 พันล้านบาท) ในขณะที่ Adjusted EBITDA ของทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ราว 22-26 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 587-694 ล้านบาท)”

ไฮไลต์ผลประกอบการไตรมาส 4 และประจำปี 2566 

  • รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+4%) ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และทั้งปีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+11%) เมื่อเทียบกับปี 2565 
  • รายได้ของหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 40 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+4%) ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 144 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+10%) เมื่อเทียบกับปี 2565 จากความแข็งแกร่งของผลประกอบการของตลาดสิงคโปร์ที่ช่วยทดแทนความท้าทายที่เรากำลังเผชิญอยู่ในตลาดเวียดนาม
  • รายได้ตามเซ็กเมนต์:
  • รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+23%) ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 86 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+24%) ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 จากจำนวนเอเจนต์และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (“ARPA”) ที่เติบโตขึ้นในไตรมาส 4 และทั้งปี 2566 โดยในช่วงไตรมาส 4 ARPA ของสิงคโปร์อยู่ที่ 1,312 ดอลลาร์สิงคโปร์ และทั้งปีอยู่ที่ 4,977 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งโตขึ้นราว 22% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนเอเจนต์ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 100 คนจากไตรมาส 3 ของปี 2566 ทำให้จำนวนเอเจนต์ของสิงคโปร์ทั้งปีอยู่ที่ 16,424 ราย อัตราการต่ออายุแพ็คเกจอยู่ที่ 75% ในไตรมาส 4 และอัตราของทั้งปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 81% 
  • รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซียค่อนข้างทรงตัวในไตรมาส 4 โดยอยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-3%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจากปี 2565 (+9%) มาอยู่ที่ 28 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2566 รายได้ที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์เป็นเบสค่อนข้างได้รับผลกระทบจากค่าเงินริงกิตมาเลเซียที่อ่อนตัวลง ถ้าดูจากสกุลเงินท้องถิ่น รายได้ในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นราว 5% และรายได้ของทั้งปีเพิ่มขึ้น 16% 
  • รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนามลดลงมาอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-22%) ในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลง 17 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-29%) เมื่อเทียบระหว่างปี 2566 และปี 2565 เนื่องจากจำนวนของประกาศที่ลดลง อย่างไรก็ดี ยังมีรายได้บางส่วนที่ถูกทดแทนด้วยรายได้เฉลี่ยต่อประกาศ (“ARPL”) ที่เพิ่มขึ้น จำนวนประกาศในไตรมาส 4 อยู่ที่ 2 ล้านรายการ ลดลง 26% จากไตรมาส 4 ของปี 2565 ในขณะที่ ARPL เพิ่มขึ้น 3% มาอยู่ที่ 3.34 ดอลลาร์สิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 และเพิ่มขึ้น 14% มาอยู่ที่ 3.39 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับทั้งปี 2566 
  • รายได้จากหน่วยธุรกิจฟินเทค แอนด์ ดาต้า เซอร์วิสเซส ลดลงมาอยู่ที่ 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (-10%) ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และรายได้ทั้งปีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+20%) เมื่อเทียบกับปี 2565 
  • ณ สิ้นไตรมาส เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด อยู่ที่ 306 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2 พันล้านบาท)

Information regarding our operating segments is presented below. It is noted that in 2023 the Company no longer removed the ongoing cost of being a listed entity when calculating Adjusted EBITDA. As such, the 2022 comparatives have been retrospectively adjusted accordingly.

  

For the Three Months Ended December 31,

 
  

2023

  

2022

  

YoY Growth

 
  

(S$ in thousands except percentages)

 
          

Revenue

  

41,506

   

40,097

   

3.5

%

Marketplaces

  

39,939

   

38,350

   

4.1

%

Singapore

  

23,094

   

18,805

   

22.8

%

Vietnam

  

4,587

   

5,870

   

-21.9

%

Malaysia

  

7,505

   

7,531

   

-0.3

%

Other Asia

  

4,753

   

6,144

   

-22.6

%

Fintech and data services

  

1,567

   

1,747

   

-10.3

%

Adjusted EBITDA

  

8,928

   

503

    

Marketplaces

  

24,039

   

18,240

    

Singapore

  

17,401

   

11,441

    

Vietnam

  

590

   

722

    

Malaysia

  

3,608

   

3,429

    

Other Asia

  

2,440

   

2,648

    

Fintech and data services

  

(2,262

)

  

(1,940

)

   

Corporate*

  

(12,849

)

  

(15,797

)

   

Adjusted EBITDA Margin (%)

  

21.5

%

  

1.3

%

   

Marketplaces

  

60.2

%

  

47.6

%

   

Singapore

  

75.3

%

  

60.8

%

   

Vietnam

  

12.9

%

  

12.3

%

   

Malaysia

  

48.1

%

  

45.5

%

   

Other Asia

  

51.3

%

  

43.1

%

   

Fintech and data services

  

-144.4

%

  

-111.0

%

   
  

For the Twelve Months Ended December 31,

 
  

2023

  

2022

  

YoY Growth

 
  

(S$ in thousands except percentages)

 
          

Revenue

  

150,135

   

135,925

   

10.5

%

Marketplaces

  

144,068

   

130,861

   

10.1

%

Singapore

  

85,988

   

69,241

   

24.2

%

Vietnam

  

17,130

   

24,040

   

-28.7

%

Malaysia

  

27,740

   

25,388

   

9.3

%

Other Asia

  

13,210

   

12,192

   

8.3

%

Fintech and data services

  

6,067

   

5,064

   

19.8

%

Adjusted EBITDA

  

18,912

   

3,325

    

Marketplaces

  

83,843

   

63,045

    

Singapore

  

65,300

   

47,626

    

Vietnam

  

778

   

5,470

    

Malaysia

  

14,803

   

10,208

    

Other Asia

  

2,962

   

(259

)

   

Fintech and data services

  

(9,299

)

  

(7,344

)

   

Corporate*

  

(55,632

)

  

(52,376

)

   

Adjusted EBITDA Margin (%)

  

12.6

%

  

2.4

%

   

Marketplaces

  

58.2

%

  

48.2

%

   

Singapore

  

75.9

%

  

68.8

%

   

Vietnam

  

4.5

%

  

22.8

%

   

Malaysia

  

53.4

%

  

40.2

%

   

Other Asia

  

22.4

%

  

-2.1

%

   

Fintech and data services

  

-153.3

%

  

-145.0

%

   

ความเป็นผู้นำตลาดที่แข็งแกร่งเป็นตัวขับเคลื่อนโอกาสในการเติบโตระยะยาว  

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 พร็อพเพอร์ตี้กูรูยังคงครองความเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในตลาดหลักที่ดำเนินธุรกิจ ได้แก่ สิงคโปร์, เวียดนาม, มาเลเซีย และไทย  

  • สิงคโปร์: 82% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 5.7 เท่า
  • มาเลเซีย: 92% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 12.0 เท่า
  • เวียดนาม: 80% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 4.1 เท่า
  • ไทย: 54% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 1.9 เท่า

ภาพรวมของปี 2567

บริษัทได้คาดการณ์รายได้ของทั้งปี 2567 ไว้อยู่ที่ระหว่าง 165-180 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4.4-4.8 พันล้านบาท) ในขณะที่กำไรที่เป็น Adjusted EBITDA จะอยู่ที่ระหว่าง 22-26 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 587-694 ล้านบาท)

ปัจจัยระยะใกล้ที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินการของบริษัทในปี 2567 ได้แก่ การฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ เวียดนามที่ชะลอตัวออกไป เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงไม่ค่อยดี และการเข้าถึงสินเชื่อ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในมาเลเซียที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อีกทั้งยังมีนโยบายการคลังเพิ่มเติมและมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลสิงคโปร์อาจจะออกมาในเร็ว ๆ นี้  ในระยะยาว บริษัทยังคงมั่นใจกับวิถีการเติบโตของบริษัท มองเห็นโอกาสในการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร และโอกาสพื้นฐานที่ปรากฎอยู่ในตลาดหลักที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ 

อัปเดตทิศทางคนหาบ้าน 2567 ความท้าทายคนซื้อบ้าน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงทุกด้าน หวังภาครัฐเพิ่มมาตรการใหม่ ช่วยสานฝันให้มีบ้านง่ายขึ้น

อัปเดตทิศทางคนหาบ้าน 2567 ความท้าทายคนซื้อบ้าน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงทุกด้าน หวังภาครัฐเพิ่มมาตรการใหม่ ช่วยสานฝันให้มีบ้านง่ายขึ้น

อัปเดตทิศทางคนหาบ้าน 2567 ความท้าทายคนซื้อบ้าน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงทุกด้าน หวังภาครัฐเพิ่มมาตรการใหม่ ช่วยสานฝันให้มีบ้านง่ายขึ้น

การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยยังคงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญในชีวิตของผู้บริโภคหลายคน นอกจากจะสะท้อนถึงความมั่นคงและความพร้อมทางการเงินของผู้บริโภคแล้ว ยังสะท้อนภาพรวมให้เห็นถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสูงย่อมส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคโดยตรงเช่นกัน 

ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัว 1.9% ชะลอตัวจากการขยายตัว 2.5% ในปี 2565 และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวในช่วง 2.2–3.2% (โดยไม่รวมผลของมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต) ซึ่งปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.7-3.7% ถือเป็นการส่งสัญญานให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ต้องเตรียมวางแผนทางการเงินอย่างรัดกุมอีกครั้ง 

DDproperty Thailand Consumer Sentiment

ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย พบว่า ภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยมีทิศทางลดลงในทุกด้าน โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 48% จากเดิม 50% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความท้าทายต่าง ๆ ยังคงส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความท้าทายทางการเงินที่เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงตามไปด้วย โดยลดลงมาอยู่ที่ 59% (จากเดิม 63% ในรอบก่อน) หลังจากผู้บริโภคต้องเผชิญกับความท้าทายทางการเงินทั้งจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง 

ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับสูง (48%) และสูงมาก (29%) มีเพียง 16% ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว ขณะเดียวกันมีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ (ลดลงจาก 15% ในรอบก่อน) เนื่องจากภาครัฐยังคงไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม (นอกจากมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่ต่ออายุมาตรการจนถึงสิ้นปี 2567)

เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยมีการปรับลดลงเช่นกัน โดยลดลงมาอยู่ที่ 63% จากเดิม 65% ในรอบก่อน อย่างไรก็ตามสำหรับในกลุ่มผู้บริโภคที่ยังคงพึงพอใจอยู่ ส่วนใหญ่ 39% เผยว่าพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รองลงมามองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและยืดหยุ่น 37% และเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 31% 

ขณะที่มุมมองของผู้ที่ไม่พึงพอใจ เกือบ 2 ใน 3 (65%) มองว่า เศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยยังไม่ลดลงมาถึงระดับที่คาดหวัง 32% และมองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่มีเสถียรภาพ 30%

เกาะติดความต้องการซื้อ คนอยากซื้อบ้านน้อยลงในยุคดอกเบี้ยสูง 

ข้อมูลจากแบบสอบถามฯ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า ผู้บริโภคกว่า 2 ใน 5 (44%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 53% ในรอบก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงไม่ฟื้นตัว สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างยังคงมีความเปราะบางทางการเงินจึงจำเป็นต้องลดการก่อหนี้ใหม่ ในทางกลับกันสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 14% (จากเดิม 9%) ส่วนอีก 34% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ ขณะที่อีก 8% จะรับมรดกที่อยู่อาศัยต่อจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อไปแทน

  • 1 ใน 3 ของคนหาบ้านมีเงินพร้อมซื้อ หวังเพิ่มพื้นที่ส่วนตัว เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (44%) ตัดสินใจซื้อที่อาศัยในเวลานี้เนื่องจากต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาคือเลือกซื้อเพื่อการลงทุน 29% และซื้อเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับพ่อแม่/บุตรหลานให้มากขึ้น 27% อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาความพร้อมทางการเงินของผู้บริโภคพบว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ โดย 1 ใน 3 ของผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัย (33%) เผยว่ามีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้ว สัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 24% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าคนหาบ้านยุคนี้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินก่อนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้นหลังจากเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน ขณะที่ผู้บริโภคเกือบครึ่ง (47%) เผยว่าเก็บเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น ส่วน 19% ของผู้วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่ได้เริ่มแผนเก็บเงินใด ๆ เลย
  • เงินเก็บไม่พอ ดันคนหันเช่า เหตุผลหลักที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยนั้น กว่า 3 ใน 5 (61%) เผยว่ายังไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ ขณะที่เกือบ 2 ใน 5 (38%) มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไปจึงเลือกเก็บออมเงินแทน และ 27% มองไม่เห็นความจำเป็นหรือความเร่งด่วนที่ต้องซื้อที่อยู่อาศัยตอนนี้ สะท้อนให้เห็นว่าสภาพคล่องทางการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไม่พร้อมเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย จึงหันมาเลือกเช่าแทน 

สอดคล้องกับเทรนด์ Generation Rent ที่ยังคงได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องด้วยความท้าทายจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ทำให้คนรุ่นใหม่และวัยทำงานไม่ต้องการเพิ่มภาระผูกพันทางการเงินในระยะยาวจากการซื้อที่อยู่อาศัย การเช่าจึงตอบโจทย์เรื่องค่าใช้จ่ายมากกว่า และยังได้เปรียบในด้านความยืดหยุ่นและคล่องตัวหากต้องการย้ายที่อยู่อาศัยในอนาคต โดยผู้เช่าส่วนใหญ่ 31% เผยว่าได้วางแผนเช่า 2 ปี ก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในภายหลัง ขณะที่ 1 ใน 3 (33%) ยังไม่แน่ใจว่าจะเช่าต่อไปอีกนานแค่ไหน เนื่องจากต้องพิจารณาความพร้อมหลาย ๆ ด้านประกอบกัน

โดยค่าเช่าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอยู่ที่ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน สัดส่วน 48% และมีสัดส่วนที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้เช่าปัจจุบันและผู้มีรายได้น้อย สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อและความสามารถในการใช้จ่ายของผู้เช่าในปัจจุบันที่ยังคงต้องรัดเข็มขัดต่อเนื่อง รองลงมาคือ 5,001-10,000 บาท/เดือน และ 10,001-15,000 บาท/เดือน (สัดส่วน 39% และ 6% ตามลำดับ)

DDproperty-Thailand-Consumer-Sentiment-Study-H1-2024

อัปเดตเทรนด์ที่อยู่​อาศัย ขนาดและความปลอดภัยคือปัจจัยหลักในการหาบ้าน     

  • “ขนาด-ความปลอดภัย” ปัจจัยหลักเมื่อคิดหาบ้าน สำหรับปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค เกือบครึ่ง (46%) จะพิจารณาจากขนาดที่อยู่อาศัยเป็นอันดับแรก โดยบ้าน/คอนโดมิเนียมที่มองหาต้องมีขนาดและพื้นที่ใช้สอยที่สามารถรองรับการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างครบครัน ตามมาด้วยพิจารณาราคาเฉลี่ยต่อพื้นที่ใช้สอย (39%) สะท้อนให้เห็นว่าคนหาบ้านยุคนี้เน้นไปที่ความคุ้มค่าซึ่งตอบโจทย์การเงินมาเป็นอันดับต้น ๆ และพิจารณาสิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พัก ในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 38%  

ขณะที่ปัจจัยภายนอกโครงการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยนั้น มากกว่าครึ่ง (47%) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของโครงการมากที่สุด โดยมองหาโครงการบ้าน/คอนโดฯ ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่เสริมระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม สร้างความเชื่อมั่นว่าชีวิตและทรัพย์สินจะได้รับการดูแลให้ปลอดภัยเสมอ รองลงมาเป็นทำเลที่ตั้งของโครงการ (45%) หากอยู่ใน​ทำเล​ที่มีศักยภาพ​เติบโตหรือมีแผนพัฒนา​โครงการคมนาคมและสาธารณูปโภคในอนาคตจะช่วยเพิ่มมูลค่าที่อยู่​อาศัยในอนาคต และต้องสามารถเดินทางได้สะดวกด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (44%) รองรับการดำเนินชีวิตให้ราบรื่นยิ่งขึ้น

  • เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสช่วยคนหาบ้านง่ายขึ้น เทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropTech) ยังคงมีบทบาทสำคัญในการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในยุคนี้ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ (65%) เผยว่าเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสเป็นเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เลือกใช้มากที่สุดเมื่อต้องการมีบ้าน ด้วยจุดเด่นที่มีการรวบรวมรายการประกาศขาย-เช่ามากมายไว้ให้เลือกในที่เดียว จึงอำนวยความสะดวกให้ค้นหาบ้าน/คอนโดฯ ได้ง่ายและประหยัดเวลามากขึ้น รองลงมาคือเครื่องมือคำนวณข้อมูลทางการเงิน 47% ที่ช่วยประเมินความพร้อมทางการเงินเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนงบประมาณเบื้องต้นได้ ส่วนการเยี่ยมชมโครงการเสมือนจริง (Virtual Tour) และฟินเทค (Fintech) อยู่ในสัดส่วนเท่ากันที่ 27% 
  • “บ้านมือสอง” ตัวเลือกโดนใจคนหาบ้านยุคนี้ ข้อมูลจากผลสำรวจจากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ddproperty.com ในช่วงเดือนมกราคม 2567 เผยว่าฟีลเตอร์หรือตัวเลือกในการค้นหาที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคยุคนี้ต้องการมากที่สุด คือฟีลเตอร์ที่ช่วยแยกระหว่างที่อยู่อาศัยโครงการใหม่และมือสอง (80%) ซึ่งจะช่วยคัดกรองบ้าน/คอนโดฯ เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายเบื้องต้นได้ โดยโครงการมือสองถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์การซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้เนื่องจากมีราคาเอื้อมถึงได้ง่ายกว่าโครงการใหม่ และมีโอกาสในการต่อรองราคาเพิ่มขึ้นอีกด้วย 

ตามมาด้วยฟิลเตอร์ที่ช่วยแยกระหว่างที่อยู่อาศัยที่เลี้ยงสัตว์ได้และห้ามเลี้ยงสัตว์ 53% สะท้อนให้เห็นว่าเทรนด์ Pet Parents หรือ Pet Humanization การเลี้ยงสัตว์เป็นเสมือนลูกและสมาชิกในครอบครัวได้รับความนิยมมากขึ้น การเลือกอยู่ในโครงการร่วมกับผู้ที่มีไลฟ์สไตล์เดียวกันจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นตามไปด้วย และฟิลเตอร์ที่ระบุว่าเป็นทรัพย์สินรอการขายของธนาคาร (NPA) 51% ซึ่งมาพร้อมโอกาสที่จะได้ที่อยู่อาศัยในราคาย่อมเยา แต่อาจต้องพิจารณาความเสี่ยงหากเกิดปัญหาเจ้าของเดิมไม่ยอมย้ายออก 

  • “บ้านรักษ์โลก-รักษ์สุขภาพ” ความยั่งยืนที่แท้จริงในการอยู่อาศัย จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกมิติรวมไปถึงการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีแนวคิดดังกล่าวด้วย โดยเกือบ 9 ใน 10 ของผู้บริโภค (88%) ยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สะท้อนให้เห็นแนวคิดการเลือกบ้าน/คอนโดฯ ในปัจจุบันที่มองว่าการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพ จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการอยู่อาศัยที่แท้จริง 
  • ฝุ่น PM 2.5 ยังมาเยือนทุกปี กระทบแผนซื้อบ้าน ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ยังคงเป็นเรื่องท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและยังไม่มีแนวทางการจัดการปัญหาที่ได้ผลชัดเจน ทำให้ฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมาพุ่งสูงในทุกปีกลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลในการพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ 58% เผยว่าจะเลือกพิจารณาเฉพาะโครงการที่มีเครื่องปรับอากาศและระบายอากาศได้ดีเท่านั้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้วยตัวเองในเบื้องต้นและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนในครอบครัว ขณะที่ 50% จะทบทวนแผนการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงอีกครั้ง ส่วนอีก 34% จะพิจารณาแผนการย้ายไปอยู่แถบชนบทแทน

จับตาความคาดหวังของคนหาบ้านที่มีต่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากภาครัฐ 

จากสภาพเศรษฐกิจไทยที่มีความไม่แน่นอนสูงและยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัย ในขณะที่ราคาบ้าน/คอนโดฯ ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างและราคาที่ดิน แต่รายได้ของผู้บริโภคยังคงเติบโตไม่ทันราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยิ่งก่อให้เกิดช่องว่างในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น 

โดยผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 3 (30%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บที่มีได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่ 25% ยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้เกินตัวให้น้อยที่สุด 

ขณะเดียวกัน มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้านมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 38% และมีเงินดาวน์ไม่พอ 31% ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายที่มาจากการเงินเป็นหลัก 

นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างมาจากการที่ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงตามไปด้วย หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลงแปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS) เผยว่าในปี 2566 มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงถึง 60-65% จากยอดการขออนุมัติสินเชื่อทั้งหมด 

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจาก KKP Research ประเมินว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ารวมถึงประมาณ 8-12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP สะท้อนให้เห็นว่าเป็นอีกธุรกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และยังเชื่อมโยงกับการเติบโตของธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนั้น หากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ตรงจุดก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมากขึ้น 

ทั้งนี้ 3 อันดับแรกของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่คนหาบ้านอยากได้มากสุดในเวลานี้ เกือบ 3 ใน 5 (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% และมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 40% ซึ่งนอกจากมาตรการเหล่านี้จะครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในวงกว้างแล้ว ยังจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่ม Real Demand ด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยในปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกลับมาคึกคักอีกครั้ง

หมายเหตุ: DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้บริโภค นักลงทุนและเอเจนต์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 22-69 ปี จำนวน 1,050 คน 

อ่านและศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยรอบล่าสุดได้ที่ DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study

Red Hat Global Tech Trends 2024: Security remains top priority while IT management funding priorities shift

ผลสำรวจ Red Hat Global Tech Trends 2024 ระบุว่า แม้ลำดับความสำคัญของการบริหารงบประมาณด้านไอทีเปลี่ยนไป แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

Red Hat Global Tech Trends 2024: Security remains top priority while IT management funding priorities shift

Supannee Amnajmongkol, Country Manager, Red Hat (Thailand)
Article by Supannee Amnajmongkol, Country Manager, Red Hat (Thailand)

Results from Red Hat’s 10th Global Tech Trends survey are in, and, as in years past, we explore what the data reveals about where organizations are in their digital transformation initiatives, IT and non-IT funding priorities, and the state of cloud. We surveyed over 700 information technology (IT) leaders worldwide, across various industries and regions, to help us better understand new aspects of technology use and track trends. 

Here, we highlight key findings and trends from the report and how these results have changed over time.

Security remains a top funding priority

It is no surprise that security remains a top funding priority for IT leaders, but our data shows that security has become even more important than it was in previous years. This year, 50% of survey respondents said it was one of their top three funding priorities, increasing 5 points from last year, which is much larger than most changes we see from one survey to the next.

However, if we dive deeper into the security category, we see some of the same inconsistencies we have seen in the past. With threat intelligence, detection and response being the top IT security funding priority, it’s interesting that security awareness training and hiring security or compliance staff remain among the lowest priorities in most regions. Third-party or supply-chain security also remains near the bottom when it comes to funding, despite the global attention that supply-chain threats have garnered over the last few years.

Overall, a third of respondents prioritize funding for threat intelligence, detection, and response and cloud security. Those in APAC trade network security for data protection, privacy, and sovereignty and disaster recovery. This begs the question, are some aspects of security underfunded?

Over the next 12 months, what are your company's top funding priorities for security? Please select up to 3 of the top areas your company is investing in.
Over the next 12 months, what are your company's top funding priorities for security? Please select up to 3 of the top areas your company is investing in.

Application modernization varies across regions

Modernizing existing applications is the top application development funding priority at 45% with improving digital user experience, building cloud-native applications, and accelerating application and service delivery being other top priorities. However, application development funding priorities varied across regions – while the Americas and EMEA have a fairly similar rank ordering of application development funding priorities, the APAC region is both more varied and places application modernization fairly far down its list of application development funding priorities.

Given that APAC is a larger SaaS consumer on a percentage basis than the other regions, it is reasonable to hypothesize that replacing legacy software with a SaaS is a somewhat more common approach in APAC than elsewhere. In contrast, in the Americas and EMEA more than half of respondents said that modernizing existing applications was a top area of application development investment, which is well over twice the response given in APAC. Other top priorities include improving digital user experience, building cloud-native applications, and accelerating application and service delivery, with the Americas placing more emphasis on providing new developer tools and EMEA slightly more focused on building mobile applications.

IT management funding priorities shift

The large bucket of cloud management, which includes various forms of hybrid and multicloud management, remained the highest IT management funding priority by far this year. 59% of respondents identified cloud management as a top 3 priority, increasing 9 points from just 2 years ago. Hybrid cloud environments proved to be the norm, with companies generally being neither private cloud-first (21%) nor standardizing on a single public cloud (9%), and a hybrid approach requires thoughtful, strategic management to be successful.

A big year-over-year drop in funding priority that was interesting was that workload migration management saw a full 9 point drop to near the bottom of the IT management funding priorities list. Perhaps this drop reflects that many organizations have settled on where their applications can most effectively run or, at least, are not prioritizing moving them at this time.

Over the next 12 months, what are your company's top funding priorities for overall IT management? Please select up to 3 of the top areas your company is investing in.
Over the next 12 months, what are your company's top funding priorities for overall IT management? Please select up to 3 of the top areas your company is investing in.

Manual processes continue to hinder digital transformation efforts

The barriers to digital transformation success have remained relatively consistent over the past couple of years, with manual processes or IT operations, technical debt, and skillset or talent gaps identified as the top areas hindering organizations; however, manual processes was more often cited as a barrier in the Americas and less frequently in EMEA. With automation being such a prominent topic across many areas of IT, it’s no shock that companies are beginning to automate in many areas with security automation, cloud services automation, and service delivery automation at the front of line when it comes to funding.

Notably, lack of funding and cost reduction mandates remain near the bottom of the list, economic uncertainties and tighter budgets notwithstanding.

Find out more in the report

The report has a wealth of additional insights, such as cloud strategies, industry data, automation plans, and more. For a deeper analysis, check out our 2024 Global Tech Trends and learn more about how enterprises plan to modernize their IT approach in the coming year.

Survey methodology

From August through September 2023, Red Hat surveyed over 706 information technology leaders that are at least decision influencers for hardware, software, or cloud purchases at companies with more than US$10 million in revenue. The respondents were drawn from a subset of Red Hat customers together with Red Hat panel partners.

ผลสำรวจ Red Hat Global Tech Trends 2024 ระบุว่า แม้ลำดับความสำคัญของการบริหารงบประมาณด้านไอทีเปลี่ยนไป แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

ผลสำรวจ Red Hat Global Tech Trends 2024 ระบุว่า แม้ลำดับความสำคัญของการบริหารงบประมาณด้านไอทีเปลี่ยนไป แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

ผลสำรวจ Red Hat Global Tech Trends 2024 ระบุว่า แม้ลำดับความสำคัญของการบริหารงบประมาณด้านไอทีเปลี่ยนไป แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท
บทความโดย สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท

เร้ดแฮทเผยผลสำรวจ Red Hat’s 10th Global Tech Trends ซึ่งทำการสำรวจความคืบหน้าของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล, ลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณด้านไอทีและที่ไม่ใช่ไอที รวมถึงสถานะการใช้คลาวด์ขององค์กรต่าง ๆ โดยทำการสำรวจผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 700 รายที่อยู่ในอุตสาหกรรมและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อช่วยให้เข้าใจการใช้เทคโนโลยีในแง่มุมใหม่ ๆ และแนวโน้มต่าง ๆ 

ไฮไลท์ผลสำรวจและเทรนด์สำคัญจากรายงาน รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป มีดังต่อไปนี้

ความปลอดภัยยังคงมีความสำคัญสูงสุดต่อการจัดสรรงบประมาณ

ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าองค์กรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ ผลสำรวจปีนี้พบว่า 50% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าความปลอดภัยเป็นหนึ่งในสามลำดับความสำคัญสูงสุดในการจัดสรรเงินงบประมาณ โดยเพิ่มขึ้น 5 จุดจากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าที่เราเห็นจากการเทียบผลสำรวจครั้งก่อน ๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกลงไปในหมวดหมู่เรื่องความปลอดภัย เราพบว่ามีข้อมูลบางอย่างไม่สอดคล้องกับที่เคยพบในอดีต แม้ว่าข้อมูลการติดตามภัยคุกคามทางไซเบอร์ การตรวจจับ และการตอบสนองต่อภัยคุกคาม นับเป็นความสำคัญสูงสุดของความปลอดภัยด้านไอที แต่ที่น่าสนใจคือ การฝึกอบรมเพื่อให้ตระหนักรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และการจ้างพนักงานเพื่อดูแลด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กลับเป็นความสำคัญลำดับต่ำสุดในภูมิภาคส่วนใหญ่ที่สำรวจ แม้กระทั่งความปลอดภัยของบุคคลที่สาม (third-party) หรือซัพพลายเชน ก็ยังคงอยู่ในลำดับท้าย ๆ ในการจัดสรรงบประมาณ ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกให้ความสนใจกับภัยคุกคามด้านซัพพลายเชนที่เกิดขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาก็ตาม

หนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสำรวจในภาพรวม ให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณให้กับการติดตามภัยคุกคาม การตรวจจับ และการตอบสนองต่อภัยคุกคาม รวมถึงความปลอดภัยบนคลาวด์ แต่องค์กรในเอเชียแปซิฟิกกลับให้ความสำคัญกับการใช้เน็ตเวิร์กด้านความปลอดภัยกับการปกป้องข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และความเป็นเจ้าของข้อมูล รวมถึงการกู้คืนระบบจากความเสียหาย จึงทำให้เกิดคำถามว่ามีงบประมาณครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ด้านอื่นหรือไม่

ผลสำรวจต่อคำถามที่ว่า ในอีก 12 เดือนข้างหน้า อะไรคือความสำคัญสูงสุด 3 ลำดับแรกของการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของบริษัท
ผลสำรวจต่อคำถามที่ว่า ในอีก 12 เดือนข้างหน้า อะไรคือความสำคัญสูงสุด 3 ลำดับแรกของการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของบริษัท

ผลสำรวจเรื่องการปรับแอปพลิเคชันให้ทันสมัย แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค

45% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าการปรับปรุงแอปพลิเคชันที่ใช้อยู่ให้ทันสมัย เป็นความสำคัญสูงสุดของการจัดสรรเงินงบประมาณด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ การเพิ่มประสบการณ์ดิจิทัลให้กับผู้ใช้ การสร้างคลาวด์-เนทีฟแอปพลิเคชัน และการเร่งให้ส่งมอบแอปพลิเคชันและบริการให้ได้เร็วขึ้น เป็นความสำคัญลำดับต่อ ๆ มา อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการให้ความสำคัญกับการจัดสรรเงินทุนเพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันก็แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยทวีปอเมริกา และ ทวีปยุโรป-ตะวันออกกลาง-แอฟริกา (EMEA) ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันใกล้เคียงกันกับด้านการปรับปรุง
แอปพลิเคชันให้ทันสมัย แต่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความหลากหลายมากกว่า โดยจัดให้การปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัยมีความสำคัญต่ำกว่าการจัดสรรเงินทุนเพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันค่อนข้างมาก 

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเปอร์เซ็นต์การใช้ SaaS มากกว่าภูมิภาคอื่น จึงตั้งสมมติฐานได้ว่าจะพบเห็นการใช้ SaaS แทนที่ซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้มากกว่าที่อื่น ในทางตรงกันข้าม ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจจากทวีปอเมริกาและ EMEA กล่าวว่าการปรับปรุงแอปพลิเคชันที่มีอยู่ให้ทันสมัยเป็นการลงทุนลำดับแรก ๆ ในด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน ซึ่งมากกว่าสองเท่าของผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชียแปซิฟิก การเพิ่มประสบการณ์ดิจิทัลให้กับผู้ใช้, การสร้างคลาวด์-เนทีฟแอปพลิเคชัน และการเร่งให้ส่งมอบแอปพลิเคชันและบริการให้ได้เร็วขึ้น เป็นลำดับความสำคัญอื่น ๆ ที่รองลงมา โดยผู้ตอบแบบสำรวจจากทวีปอเมริกาให้ความสำคัญกับการจัดหาเครื่องมือใหม่ ๆ ให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่วนผู้ตอบแบบสำรวจจาก EMEA ให้ความสำคัญกับการสร้างโมบายแอปพลิเคชันมากกว่าเล็กน้อย 

การเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อบริหารจัดการด้านไอที

การบริหารจัดการคลาวด์ขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงการจัดการรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ของไฮบริดและมัลติคลาวด์ ยังคงความสำคัญสูงสุดของการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อบริหารจัดการไอทีในปีนี้ โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าการบริหารจัดการคลาวด์มีความสำคัญเป็นหนึ่งใน 3 อันดับแรก ซึ่งเพิ่มขึ้น 9 จุดจากเพียง 2 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น สภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป เห็นได้จากการที่บริษัทต่าง ๆ ที่ตอบแบบสำรวจให้ความสำคัญกับการใช้ไพรเวทคลาวด์เป็นลำดับแรกเพียง 21% หรือใช้พับลิคคลาวด์หนึ่งระบบเท่านั้นเพียง 9% อย่างไรก็ตามการใช้ไฮบริดคลาวด์ต้องการการจัดการเชิงกลุยทธ์ที่ระมัดระวัง จึงจะประสบความสำเร็จ

ลำดับความสำคัญของการจัดสรรเงินทุนที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบปีต่อปีที่น่าสนใจ คือ การบริหารจัดการการโยกย้ายเวิร์กโหลดลดลง 9 จุด เกือบจะรั้งท้ายในลิสต์ลำดับความสำคัญของการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อบริหารจัดการด้านไอที การลดลงนี้อาจเป็นเพราะองค์กรหลายแห่งได้ตัดสินใจแล้วว่าจะรันเวิร์กโหลดของตนไว้บนสภาพแวดล้อมใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรืออย่างน้อยก็ไม่ให้ความสำคัญกับการย้ายเวิร์กโหลด ณ เวลานี้

การทำงานแบบแมนนวลยังเป็นอุปสรรคของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

อุปสรรคต่อความสำเร็จของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลยังคงคล้ายคลึงกับสองสามปีที่ผ่านมา คือ กระบวนการทำงานหรือการดำเนินงานด้านไอทีแบบแมนนวล หนี้ทางเทคนิคหรือค่าใช้จ่ายในอนาคตในการแก้ไขซอฟต์แวร์ที่ตัดสินใจพัฒนาในช่วงแรก ๆ และช่องว่างทางทักษะหรือความสามารถพิเศษ ถูกระบุว่าเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อองค์กร อย่างไรก็ตาม ในทวีปอเมริกามีการอ้างว่าการทำงานแบบแมนนวลเป็นอุปสรรคมากกว่าใน EMEA นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติเป็นเรื่องโดดเด่นในหลายด้านของไอที จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บริษัทต่าง ๆ กำลังนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานหลายด้าน ทั้งนี้ระบบความปลอดภัยอัตโนมัติ บริการคลาวด์อัตโนมัติ และการให้บริการอัตโนมัติ ได้รับความสำคัญในการจัดสรรเงินงบประมาณเป็นลำดับแรก ๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า การขาดเงินทุนและคำสั่งให้ลดต้นทุน ยังคงอยู่ในลำดับความสำคัญเกือบต่ำสุดของลิสต์ แม้ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะยังไม่แน่นอน และงบประมาณตึงตัวมากขึ้นก็ตาม

การทำงานแบบแมนนวลยังเป็นอุปสรรคของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

อุปสรรคต่อความสำเร็จของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลยังคงคล้ายคลึงกับสองสามปีที่ผ่านมา คือ กระบวนการทำงานหรือการดำเนินงานด้านไอทีแบบแมนนวล หนี้ทางเทคนิคหรือค่าใช้จ่ายในอนาคตในการแก้ไขซอฟต์แวร์ที่ตัดสินใจพัฒนาในช่วงแรก ๆ และช่องว่างทางทักษะหรือความสามารถพิเศษ ถูกระบุว่าเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อองค์กร อย่างไรก็ตาม ในทวีปอเมริกามีการอ้างว่าการทำงานแบบแมนนวลเป็นอุปสรรคมากกว่าใน EMEA นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติเป็นเรื่องโดดเด่นในหลายด้านของไอที จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บริษัทต่าง ๆ กำลังนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานหลายด้าน ทั้งนี้ระบบความปลอดภัยอัตโนมัติ บริการคลาวด์อัตโนมัติ และการให้บริการอัตโนมัติ ได้รับความสำคัญในการจัดสรรเงินงบประมาณเป็นลำดับแรก ๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า การขาดเงินทุนและคำสั่งให้ลดต้นทุน ยังคงอยู่ในลำดับความสำคัญเกือบต่ำสุดของลิสต์ แม้ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะยังไม่แน่นอน และงบประมาณตึงตัวมากขึ้นก็ตาม

(ภาพ) ผลสำรวจต่อคำถามที่ว่า อะไรคืออุปสรรคสำคัญ 3 ลำดับแรกที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ประสบความสำเร็จ
(ภาพ) ผลสำรวจต่อคำถามที่ว่า อะไรคืออุปสรรคสำคัญ 3 ลำดับแรกที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ประสบความสำเร็จ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

  • ข้อมูลจาก ททท. เผยว่า มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยช่วงเทศกาลตรุษจีนมากกว่า 1 ล้านคน โดยในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน
  • จากข้อมูลของ ททท. พบว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2562 ขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14%
  • จากข้อมูลของ Alipay+ ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 4 ของโลกของนักท่องเที่ยวจีน และเป็นอันดับ ของนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวชาวจีน
  • Alipay+ เผยว่ายอดใช้จ่ายโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 4.5 เท่าจากปี 2566
  • Alipay+ ได้เปิดให้บริการอีวอลเล็ทระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชันธนาคารที่สามารถใช้จ่ายในไทยได้ 13 รายการ โดยมีร้านค้าที่รองรับกว่า 250,000 แห่ง ทำให้ประสบการณ์การเดินทางราบรื่นยิ่งขึ้น

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ Alipay+ แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กลับมาปกติเป็นครั้งแรกหลังการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการท่องเที่ยว cross-border ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ข้อมูลจาก ททท. แสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจํานวน 1,008,899 คน ซึ่งในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2019 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14% โดยหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายสูงสุด ได้แก่ การช้อปปิ้ง, อาหารและเครื่องดื่ม, นวดและสปา, สถานที่ท่องเที่ยว และสถานบันเทิงยามค่ำคืน ส่วนเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และกระบี่

นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา, รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า “จํานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมาสูงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ‘ประเทศไทย’ ยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลก ในขณะที่เราเข้าสู่ปีใหม่พร้อมฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงแรกของปี เป้าหมายของเราคือไม่เพียงแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทําให้พวกเขาได้ท่องเที่ยวสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเช่น Alipay+ นอกจากเราจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียได้มากขึ้นแล้ว เรายังสามารถช่วยให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้มีประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นของเรา ททท.มองหาโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ Alipay+ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2567 และปีต่อๆไป”

ขยายอีโคซิสเต็มของ Alipay+ ในไทยเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

ภายใต้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ททท. และ Alipay+ ได้ร่วมกันเปิดตัวการตลาดแบบ co-marketing เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางมายังประเทศไทย พร้อมทั้งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งและการเดินทางที่คุ้มค่ายิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวเหล่านี้ รวมถึงการส่งเสริมความเชื่อมั่นและความปลอดภัย การโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวหลัก เมืองสําคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศไทย ตลอดจนการแนะนําแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษสําหรับนักท่องเที่ยว

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 ข้อมูลจาก Alipay+ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 4 จากนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวจีน

ด้วยการสนับสนุนของ Alipay+ อีวอลเล็ทระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชั่นธนาคาร 13 รายการสามารถใช้งานในประเทศไทยได้แล้ว โดย 9 รายเป็นผู้ให้บริการรายใหม่ ได้แก่ MyPB ของ Public Bank Berhad (มาเลเซีย), Naver Pay และ Toss Pay (เกาหลีใต้), Changi Pay และ OCBC Digital (สิงคโปร์), GCash (ฟิลิปปินส์), Hipay (มองโกเลีย), MPay (เขตบริหารพิเศษมาเก๊าของจีน) และ Tinaba (อิตาลี)

Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) รองรับการใช้จ่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2558 ขณะที่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีน), Kakao Pay (เกาหลีใต้) และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) รองรับการใช้จ่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2566

ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกยอดนิยมอันดับ 3 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย และการเพิ่มจำนวนอีวอลเล็ทเหล่านี้ก่อนฤดูกาลท่องเที่ยวได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นด้วย

Alipay+ ยังคงขยายการรองรับจํานวนร้านค้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการให้บริการในร้านค้ามากกว่า 250,000 แห่งในประเทศไทย นอกเหนือจากร้านค้าปลีกและ F&B แล้ว ยังมีร้านค้าใหม่อื่นๆ ที่ครอบคลุมรูปแบบการใช้จ่ายที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ห้างบิ๊กซี สถานที่ท่องเที่ยวเช่น พระบรมมหาราชวัง ร้านขายของที่ระลึก และสถานบริการสุขภาพและสปา เช่น Let’s Relax และ Health Land

ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการชอปปิ้งที่สําคัญสําหรับนักท่องเที่ยว โดยร้านค้ายอดนิยมรวมถึง คิงเพาเวอร์ ห้างสรรพสินค้าในเครือสยามพิวรรธน์ และ ห้างเครือเซ็นทรัล นอกจากนี้ การขยายตัวของร้านค้าพันธมิตร Alipay+ ในประเทศไทยล่าสุด ยังทําให้การเดินทางในชีวิตประจําวันสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ Big C Supermarket ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านค้ายอดนิยมด้วยเช่นกัน

นายสิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์, ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Global Merchant Partnership ประจำประเทศไทย, Ant International กล่าวว่า “ความร่วมมือใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องของเรากับ ททท. ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น พร้อมทั้งมอบความสะดวกสบายให้แก่นักท่องเที่ยวในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าได้ทั่วประเทศ ปัจจุบันประสบการณ์ดิจิทัลแบบไร้รอยต่อถือเป็นเรื่องธรรมดาสําหรับนักท่องเที่ยว และด้วยการรองรับแอปชําระเงินที่เป็นพันธมิตร Alipay+ ที่มากขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้การทำธุรกรรมโดยใช้อีวอลเล็ทในประเทศของนักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายร้านค้าที่รองรับ Alipay+ เพื่อให้ธุรกิจท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีต่อๆไป เรามองหาโอกาสที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับ ททท. และร้านค้าในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ การโปรโมทร้านค้า และการรับชําระเงินระหว่างประเทศ”

การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง จุดหมายปลายทางที่หลากหลาย และสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากจีนที่ใช้ Alipay

ด้วยโซลูชันเทคโนโลยีการชําระเงินข้ามพรมแดนบนมือถือของ Alipay+ นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถจ่ายค่าสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม การพักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิง ที่ร้านค้ามากกว่า 8 ล้านแห่งในกว่า 70 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกด้วยการใช้แอป Alipay ที่คุ้นเคย โดยไม่ต้องแลกเงิน หรือพกเงินสด Alipay ยังมีบริการคืนภาษีทันทีภายในแอป ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่โปร่งใสและแข่งขันได้  

ประเทศไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเก๊า มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็น 10 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายผ่าน Alipay มากที่สุด โดย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ มียอดใช้จ่ายรวมกันเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 และเพิ่มขึ้นถึง 580% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นําด้านปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมสูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซียมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมอันใกล้ชิดระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และจีนแผ่นดินใหญ่ นโยบายยกเว้นวีซ่าในประเทศหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย และการฟื้นตัวของเที่ยวบินระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในเอเชียยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง จุดหมายปลายทางที่อยู่ไกลออกไปในยุโรป, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ), ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ ก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจีนเช่นกัน

แคมเปญระดับโลกดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบผ่านเครือข่ายผู้ค้า Alipay+ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน ในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 กุมภาพันธ์ จำนวนธุรกรรมที่ทำโดยผู้ใช้ Alipay ในต่างประเทศ แซงหน้าปี 2562 ถึง 7% ขณะที่ยอดใช้จ่ายของผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ 82% ของยอดใช้จ่ายในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นถึง 2.4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566

นอกจากการเดินทางที่ขยายขอบเขตมากขึ้น นักท่องเที่ยวจีนยังขยายความสนใจจากกิจกรรมเดิมๆ เช่น การช้อปปิ้งและเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ไปสู่ประสบการณ์ท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมและมีเอกลักษณ์มากขึ้น ในสัปดาห์วันหยุดตรุษจีนทั่วโลก นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายไปกับอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าปี 2562 ถึง 70% โดยขยายจากจุดหมายยอดนิยมในเมืองไปสู่สถานที่ท้องถิ่นที่น่าสนใจ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านอีวอลเล็ทพันธมิตรของ Alipay+ และแอปพลิเคชันธนาคาร

เทศกาลตรุษจีนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในคอมมูนิตี้ชาวเอเชีย ด้วยความร่วมมือใหม่ในปี 2566 และจำนวนการเดินทางที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายข้ามพรมแดนโดยรวมบนอีวอลเล็ทชั้นนําของประเทศต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Alipay+ เพิ่มขึ้นถึง 252% จากปีก่อน ธุรกรรมเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 304% โดยประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเก๊า และสิงคโปร์ เป็น 5 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางยอดนิยมของผู้ใช้งาน Alipay+ นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่

ในจีนแผ่นดินใหญ่ บัญชี Alipay ที่เชื่อมกับอีวอลเล็ทและบัตรต่างประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด ช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 นักท่องเที่ยวต่างชาติในจีนใช้จ่ายผ่านบัญชี Alipay ที่เชื่อมโยงกับบัตรต่างประเทศที่ร้านค้าในจีนมากขึ้นถึง 500% เมื่อเทียบกับปี 2566 ร้านอาหารจีน สถานที่ท่องเที่ยว และระบบขนส่งมวลชน เป็นแหล่งที่มีการใช้งานสูงสุดในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศจีนและร่วมงานเทศกาล ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 Alipay+ รองรับอีวอลเล็ทและแอปการชําระเงินชั้นนํา 10 รายในเอเชีย รวมถึง TrueMoney เพื่ออำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยบริการจากผู้ค้าในเครือข่าย Alipay กว่า 80 ล้านแห่งทั่วประเทศจีน โดย Visa, Mastercard, JCB, Discover®, และ Diners Club International® ยังขยายความร่วมมือกับ Alipay สําหรับนักท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตระหว่างประเทศของพวกเขากับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ Alipay