การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ Alipay+ ร่วมกันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน

  • ข้อมูลจาก ททท. เผยว่า มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยช่วงเทศกาลตรุษจีนมากกว่า 1 ล้านคน โดยในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน
  • จากข้อมูลของ ททท. พบว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2562 ขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14%
  • จากข้อมูลของ Alipay+ ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 4 ของโลกของนักท่องเที่ยวจีน และเป็นอันดับ ของนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวชาวจีน
  • Alipay+ เผยว่ายอดใช้จ่ายโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 4.5 เท่าจากปี 2566
  • Alipay+ ได้เปิดให้บริการอีวอลเล็ทระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชันธนาคารที่สามารถใช้จ่ายในไทยได้ 13 รายการ โดยมีร้านค้าที่รองรับกว่า 250,000 แห่ง ทำให้ประสบการณ์การเดินทางราบรื่นยิ่งขึ้น

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ Alipay+ แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กลับมาปกติเป็นครั้งแรกหลังการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการท่องเที่ยว cross-border ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ข้อมูลจาก ททท. แสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจํานวน 1,008,899 คน ซึ่งในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2019 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14% โดยหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายสูงสุด ได้แก่ การช้อปปิ้ง, อาหารและเครื่องดื่ม, นวดและสปา, สถานที่ท่องเที่ยว และสถานบันเทิงยามค่ำคืน ส่วนเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และกระบี่

นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา, รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า “จํานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมาสูงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ‘ประเทศไทย’ ยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลก ในขณะที่เราเข้าสู่ปีใหม่พร้อมฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงแรกของปี เป้าหมายของเราคือไม่เพียงแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทําให้พวกเขาได้ท่องเที่ยวสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเช่น Alipay+ นอกจากเราจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียได้มากขึ้นแล้ว เรายังสามารถช่วยให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้มีประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นของเรา ททท.มองหาโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ Alipay+ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2567 และปีต่อๆไป”

ขยายอีโคซิสเต็มของ Alipay+ ในไทยเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

ภายใต้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ททท. และ Alipay+ ได้ร่วมกันเปิดตัวการตลาดแบบ co-marketing เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางมายังประเทศไทย พร้อมทั้งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งและการเดินทางที่คุ้มค่ายิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวเหล่านี้ รวมถึงการส่งเสริมความเชื่อมั่นและความปลอดภัย การโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวหลัก เมืองสําคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศไทย ตลอดจนการแนะนําแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษสําหรับนักท่องเที่ยว

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 ข้อมูลจาก Alipay+ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 4 จากนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวจีน

ด้วยการสนับสนุนของ Alipay+ อีวอลเล็ทระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชั่นธนาคาร 13 รายการสามารถใช้งานในประเทศไทยได้แล้ว โดย 9 รายเป็นผู้ให้บริการรายใหม่ ได้แก่ MyPB ของ Public Bank Berhad (มาเลเซีย), Naver Pay และ Toss Pay (เกาหลีใต้), Changi Pay และ OCBC Digital (สิงคโปร์), GCash (ฟิลิปปินส์), Hipay (มองโกเลีย), MPay (เขตบริหารพิเศษมาเก๊าของจีน) และ Tinaba (อิตาลี)

Alipay (จีนแผ่นดินใหญ่) รองรับการใช้จ่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2558 ขณะที่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีน), Kakao Pay (เกาหลีใต้) และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) รองรับการใช้จ่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2566

ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกยอดนิยมอันดับ 3 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย และการเพิ่มจำนวนอีวอลเล็ทเหล่านี้ก่อนฤดูกาลท่องเที่ยวได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นด้วย

Alipay+ ยังคงขยายการรองรับจํานวนร้านค้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการให้บริการในร้านค้ามากกว่า 250,000 แห่งในประเทศไทย นอกเหนือจากร้านค้าปลีกและ F&B แล้ว ยังมีร้านค้าใหม่อื่นๆ ที่ครอบคลุมรูปแบบการใช้จ่ายที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ห้างบิ๊กซี สถานที่ท่องเที่ยวเช่น พระบรมมหาราชวัง ร้านขายของที่ระลึก และสถานบริการสุขภาพและสปา เช่น Let’s Relax และ Health Land

ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการชอปปิ้งที่สําคัญสําหรับนักท่องเที่ยว โดยร้านค้ายอดนิยมรวมถึง คิงเพาเวอร์ ห้างสรรพสินค้าในเครือสยามพิวรรธน์ และ ห้างเครือเซ็นทรัล นอกจากนี้ การขยายตัวของร้านค้าพันธมิตร Alipay+ ในประเทศไทยล่าสุด ยังทําให้การเดินทางในชีวิตประจําวันสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ Big C Supermarket ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านค้ายอดนิยมด้วยเช่นกัน

นายสิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์, ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Global Merchant Partnership ประจำประเทศไทย, Ant International กล่าวว่า “ความร่วมมือใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องของเรากับ ททท. ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น พร้อมทั้งมอบความสะดวกสบายให้แก่นักท่องเที่ยวในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าได้ทั่วประเทศ ปัจจุบันประสบการณ์ดิจิทัลแบบไร้รอยต่อถือเป็นเรื่องธรรมดาสําหรับนักท่องเที่ยว และด้วยการรองรับแอปชําระเงินที่เป็นพันธมิตร Alipay+ ที่มากขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้การทำธุรกรรมโดยใช้อีวอลเล็ทในประเทศของนักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายร้านค้าที่รองรับ Alipay+ เพื่อให้ธุรกิจท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีต่อๆไป เรามองหาโอกาสที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับ ททท. และร้านค้าในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ การโปรโมทร้านค้า และการรับชําระเงินระหว่างประเทศ”

การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง จุดหมายปลายทางที่หลากหลาย และสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากจีนที่ใช้ Alipay

ด้วยโซลูชันเทคโนโลยีการชําระเงินข้ามพรมแดนบนมือถือของ Alipay+ นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถจ่ายค่าสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม การพักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิง ที่ร้านค้ามากกว่า 8 ล้านแห่งในกว่า 70 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกด้วยการใช้แอป Alipay ที่คุ้นเคย โดยไม่ต้องแลกเงิน หรือพกเงินสด Alipay ยังมีบริการคืนภาษีทันทีภายในแอป ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่โปร่งใสและแข่งขันได้  

ประเทศไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเก๊า มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็น 10 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายผ่าน Alipay มากที่สุด โดย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ มียอดใช้จ่ายรวมกันเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 และเพิ่มขึ้นถึง 580% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นําด้านปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมสูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซียมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมอันใกล้ชิดระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และจีนแผ่นดินใหญ่ นโยบายยกเว้นวีซ่าในประเทศหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย และการฟื้นตัวของเที่ยวบินระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในเอเชียยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง จุดหมายปลายทางที่อยู่ไกลออกไปในยุโรป, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ), ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ ก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจีนเช่นกัน

แคมเปญระดับโลกดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบผ่านเครือข่ายผู้ค้า Alipay+ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน ในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 กุมภาพันธ์ จำนวนธุรกรรมที่ทำโดยผู้ใช้ Alipay ในต่างประเทศ แซงหน้าปี 2562 ถึง 7% ขณะที่ยอดใช้จ่ายของผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ 82% ของยอดใช้จ่ายในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นถึง 2.4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566

นอกจากการเดินทางที่ขยายขอบเขตมากขึ้น นักท่องเที่ยวจีนยังขยายความสนใจจากกิจกรรมเดิมๆ เช่น การช้อปปิ้งและเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ไปสู่ประสบการณ์ท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมและมีเอกลักษณ์มากขึ้น ในสัปดาห์วันหยุดตรุษจีนทั่วโลก นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายไปกับอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าปี 2562 ถึง 70% โดยขยายจากจุดหมายยอดนิยมในเมืองไปสู่สถานที่ท้องถิ่นที่น่าสนใจ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านอีวอลเล็ทพันธมิตรของ Alipay+ และแอปพลิเคชันธนาคาร

เทศกาลตรุษจีนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในคอมมูนิตี้ชาวเอเชีย ด้วยความร่วมมือใหม่ในปี 2566 และจำนวนการเดินทางที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายข้ามพรมแดนโดยรวมบนอีวอลเล็ทชั้นนําของประเทศต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Alipay+ เพิ่มขึ้นถึง 252% จากปีก่อน ธุรกรรมเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 304% โดยประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเก๊า และสิงคโปร์ เป็น 5 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางยอดนิยมของผู้ใช้งาน Alipay+ นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่

ในจีนแผ่นดินใหญ่ บัญชี Alipay ที่เชื่อมกับอีวอลเล็ทและบัตรต่างประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด ช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 นักท่องเที่ยวต่างชาติในจีนใช้จ่ายผ่านบัญชี Alipay ที่เชื่อมโยงกับบัตรต่างประเทศที่ร้านค้าในจีนมากขึ้นถึง 500% เมื่อเทียบกับปี 2566 ร้านอาหารจีน สถานที่ท่องเที่ยว และระบบขนส่งมวลชน เป็นแหล่งที่มีการใช้งานสูงสุดในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศจีนและร่วมงานเทศกาล ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 Alipay+ รองรับอีวอลเล็ทและแอปการชําระเงินชั้นนํา 10 รายในเอเชีย รวมถึง TrueMoney เพื่ออำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยบริการจากผู้ค้าในเครือข่าย Alipay กว่า 80 ล้านแห่งทั่วประเทศจีน โดย Visa, Mastercard, JCB, Discover®, และ Diners Club International® ยังขยายความร่วมมือกับ Alipay สําหรับนักท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตระหว่างประเทศของพวกเขากับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ Alipay

จับตาทิศทางตลาดอสังหาฯ ราคาบ้านพุ่งรับศักราชใหม่ สวนทางดีมานด์ซื้อ-เช่าชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

จับตาทิศทางตลาดอสังหาฯ ราคาบ้านพุ่งรับศักราชใหม่ สวนทางดีมานด์ซื้อ-เช่าชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

จับตาทิศทางตลาดอสังหาฯ ราคาบ้านพุ่งรับศักราชใหม่ สวนทางดีมานด์ซื้อ-เช่าชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนและกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผู้บริโภคชะลอแผนซื้อบ้านออกไปก่อน ทำให้ภาพรวมความต้องการซื้อทั่วประเทศในไตรมาสล่าสุดลดลง 14% และลดลงทุกประเภทที่อยู่อาศัย สวนทางภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศที่ปรับขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นอุปสรรคต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ด้านดัชนีค่าเช่าทั้งแนวสูงและแนวราบเติบโตอย่างน่าสนใจ แม้เริ่มเผชิญความท้าทายเมื่อความต้องการเช่าทั่วประเทศลดลงมากถึง 27% ในรอบไตรมาส โดยมีเพียงบ้านเดี่ยวเท่านั้นที่ความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ รวมทั้งความท้าทายทางการเงินรอบด้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ปิดกั้นการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้  

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2567 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยภาพรวมดัชนีราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน (QoQ) และเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยยังคงมีทิศทางเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป 

สอดคล้องกับต้นทุนการก่อสร้างในปัจจุบันที่ได้ปรับขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรง จึงส่งผลให้บ้านแพงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่ามีที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวเท่านั้น คือ คอนโดมิเนียมที่ดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 2% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบชะลอตัวเล็กน้อย ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวลดลง 1% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ส่วนทาวน์เฮ้าส์ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาและปีก่อนหน้า

ท่ามกลางปัจจัยท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และภาวะหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นยังคงสร้างความกังวลใจและส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะชะลอแผนการซื้อบ้านออกไปก่อน เห็นได้ชัดจากภาพรวมความต้องการซื้อทั่วประเทศที่ลดลง 14% QoQ (ลดลง 25% YoY) และลดลงในทุกประเภทที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (ไตรมาส 4 ปี 2562) พบว่า ภาพรวมความต้องการซื้อในระยะยาวยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยความต้องการซื้อคอนโดฯ ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 12% ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว (เพิ่มขึ้น 10% และ 2% ตามลำดับ)

นอกจากนี้ พบว่าที่อยู่อาศัยราคา 1-3 ล้านบาท มีจำนวนมากที่สุดในตลาดด้วยสัดส่วน 30% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคระดับล่างยังคงไม่มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะดูดซับอุปทานเหล่านี้ สอดคล้องกับข้อมูลของเครดิตบูโรที่พบว่าหนี้เสียจากสินเชื่อบ้านเพิ่มสูงขึ้น ผู้ซื้อระดับล่างเริ่มผ่อนบ้านไม่ไหวจากปัญหาค่าครองชีพที่แพงขึ้น โดยประมาณ 60-70% ของหนี้ที่กำลังจะเสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือประมาณ 1.2 แสนล้านบาท มีปัญหามาจากคนที่ผ่อนบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง

เทรนด์เช่ายังมีแนวโน้มมาแรง ค่าเช่าพุ่งต่อเนื่อง ดีมานด์เช่าบ้านเดี่ยวครองตลาด

เมื่อพิจารณาภาพรวมตลาดเช่าที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ พบว่าดัชนีค่าเช่ามีทิศทางเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวสูงอย่างคอนโดฯ และอะพาร์ตเมนต์มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 7% QoQ และเพิ่มขึ้น 18% YoY ส่วนดัชนีค่าเช่าของที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 2% QoQ และเพิ่มขึ้น 25% YoY 

นอกจากนี้ ดัชนีค่าเช่าในระยะยาวยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง โดยดัชนีค่าเช่าของที่อยู่อาศัยแนวราบเพิ่มขึ้นถึง 64% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ส่วนดัชนีค่าเช่าแนวสูงเพิ่มขึ้น 5%

อย่างไรก็ดี ภาพรวมความต้องการเช่าทั่วประเทศปรับตัวลดลงอย่างมากถึง 27% QoQ และลดลง 25% YoY โดยมีเพียงบ้านเดี่ยวเท่านั้นที่มีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นถึง 35% QoQ (เพิ่มขึ้น 23% YoY) อันเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน จึงหลีกเลี่ยงการขยับขยายหรือเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเพื่อลดความเสี่ยงในการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่อาจกลายเป็นภาระออกไป 

หากมองในระยะยาว ถือว่าภาพรวมความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยยังคงเติบโต โดยปรับเพิ่มขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ โดยบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นมากที่สุด 74% ตามมาด้วยคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 60% มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ลดลง 26% 

โดยความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นแนวโน้มการเติบโตของตลาดเช่าที่ได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมมีบ้านเป็นของตัวเอง หรือไม่ต้องการมีภาระหนี้ระยะยาว และชอบความยืดหยุ่นในการเช่าที่อยู่อาศัยมากกว่า

ทั้งนี้ ที่อยู่อาศัยเพื่อเช่าในระดับค่าเช่า 10,000-30,000 บาท/เดือน ครองตลาดด้วยสัดส่วนสูงสุดที่ 44% ของจำนวนที่อยู่อาศัยเพื่อเช่าทั้งหมดทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้มากกว่าและเป็นช่วงค่าเช่าที่จับต้องได้ ครอบคลุมทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย ยกเว้นในกลุ่มบ้านเดี่ยวที่ระดับค่าเช่าสูงกว่า 100,000 บาท/เดือนจะมีจำนวนมากที่สุด (สัดส่วน 52%)

นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า ”หากมองภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้อาจไม่ได้สดใสเท่าใดนัก เนื่องจากยังมีปัจจัยท้าทายที่สืบเนื่องมาจากปีก่อนหน้า ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวไม่มากนัก อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง ปัจจัยเหล่านี้กำลังผลักให้กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ต้องชะลอการซื้อบ้านออกไปก่อน 

แต่ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในระยะถัดไปน่าจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยรวมทั้งผู้ที่กำลังผ่อนบ้านในเวลานี้ 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความท้าทายบนสถานการณ์ที่คาดเดาอนาคตไม่ได้นี้ มองว่าผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างควรต้องรักษาวินัยทางการเงินอย่างมาก นอกจากจะมีแผนรับมือในกรณีที่ดอกเบี้ยไม่ได้ปรับลดลงแล้ว ควรมีแผนฉุกเฉินในกรณีที่ดอกเบี้ยเข้าสู่ยุคขาขึ้นอีกครั้งด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยโดยที่ไม่ขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารยังคงมีมาตรการที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อกับผู้บริโภคกลุ่มนี้เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจตามมา

แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้แต่คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีปัจจัยบวกในระยะยาว เนื่องจากความต้องการซื้อและความต้องการเช่ายังคงสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในฐานะสินทรัพย์ที่สามารถถือครองและหวังผลกำไรในระยะยาวได้ 

นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ของธนาคารโลกเผยว่าการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ซึ่งหมายความว่าอัตราค่าเช่าและราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหลวงและภูมิภาคสำคัญที่ดึงดูดด้านการท่องเที่ยวจะมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ” นายวิทยา กล่าวเสริม

“อีกปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเวลานี้คือมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการทุกคนรอคอย เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีมาตรการใหม่ ๆ ออกมาเพิ่มเติม รวมทั้งไม่มีนโยบายในการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ที่ชัดเจน คาดว่าหากภาครัฐมีการออกมาตรการอื่น ๆ ที่โดดเด่นเพียงพอจะดึงดูดใจผู้บริโภคจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคักอีกครั้ง และส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ เติบโตมากขึ้นตามไปด้วย” นายวิทยา กล่าวสรุป 

สรุปภาพรวมตลาดอสังหาฯ เมืองหลวง ราคาเริ่มฟื้น สวนทางดีมานด์ซื้อ-เช่าระยะสั้นหดตัว

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2567 เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ในไตรมาสล่าสุด สรุปภาพรวมดัชนีราคา ดัชนีค่าเช่า ความต้องการซื้อและเช่าที่อยู่อาศัย พร้อมอัปเดตทำเลศักยภาพที่ดัชนีราคาและดัชนีค่าเช่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ 

  • ราคาบ้านแพงขึ้น ฉุดดีมานด์ผู้ซื้อลด 15% ภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับภาพรวมของทั้งประเทศ พบว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2% QoQ และเพิ่มขึ้น 4% YoY โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย โดยคอนโดฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 2% QoQ (เพิ่มขึ้น 3% YoY) และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 1% QoQ (เพิ่มขึ้น 3% YoY) สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการก่อสร้างโครงการใหม่ที่กลายเป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ประกอบการต้องวางกลยุทธ์เพื่อปรับราคาให้สอดคล้องกับทั้งต้นทุนและกำลังซื้อของผู้บริโภค

ราคาบ้านที่แพงขึ้นในยุคที่อัตราดอกเบี้ยสูงกลายเป็นความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภค ทำให้ความต้องการซื้อในกรุงเทพฯ ลดลงอย่างมาก โดยภาพรวมความต้องการซื้อลดลง 15% QoQ และลดลง 27% YoY ทั้งนี้ บ้านเดี่ยวเป็นที่อยู่อาศัยที่ความต้องการซื้อลดลงมากที่สุด โดยลดลงถึง 21% QoQ (ลดลง 34% YoY) รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ลดลง 17% QoQ (ลดลง 28% YoY) และคอนโดฯ ลดลง 12% QoQ (ลดลง 23% YoY)

อย่างไรก็ดี หากมองในระยะยาวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ภาพรวมความต้องการซื้อในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นบวก โดยความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 8% ซึ่งบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 10% สวนทางกับความต้องการระยะสั้น ตามมาด้วยคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 8% และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 5% 

จำนวนที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนมากที่สุดส่วนใหญ่มีระดับราคา 5-10 ล้านบาท สัดส่วน 25% รองลงมาเป็น 1-3 ล้านบาท และมากกว่า 15 ล้านบาท (สัดส่วน 24% และ 21% ตามลำดับ) เมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่าคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคา 1-3 ล้านบาทมีจำนวนมากที่สุด (25% และ 38% ตามลำดับ) ขณะที่บ้านเดี่ยวในระดับราคามากกว่า 15 ล้านบาทมีสัดส่วนมากที่สุด (45%) ตามเทรนด์ที่ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและบนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคารในกลุ่มผู้ซื้อระดับล่าง

สำหรับทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกรุงเทพฯ ในไตรมาสล่าสุด ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ และกรุงเทพฯ รอบนอก อันดับ 1 ได้แก่ เขตบางเขน เพิ่มขึ้น 16% QoQ (เพิ่มขึ้น 10% YoY) ด้วยทำเลที่ใกล้รถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และยังอยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองจึงเชื่อมต่อการเดินทางได้อย่างสะดวก ตามมาด้วยเขตบางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้น 15% QoQ (เพิ่มขึ้น 24% YoY), เขตลาดกระบัง เพิ่มขึ้น 13% QoQ (ลดลง 5% YoY), เขตบางขุนเทียน เพิ่มขึ้น 9% QoQ (เพิ่มขึ้น 1% YoY) และเขตประเวศ เพิ่มขึ้น 6% QoQ (เพิ่มขึ้น 10% YoY)

ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกรุงเทพฯ
  • ตลาดเช่ายังคงร้อนแรง ดีมานด์เช่าบ้านเดี่ยวพุ่ง 51% ตลาดเช่าในกรุงเทพฯ ยังคงเติบโตอย่างน่าสนใจโดยเฉพาะค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากดัชนีค่าเช่าที่อยู่อาศัยแนวสูงอย่างคอนโดฯ และอะพาร์ตเมนต์เพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 16% YoY) ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 4% QoQ (เพิ่มขึ้น 15% YoY) ทั้งนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่าดัชนีค่าเช่าที่อยู่อาศัยแนวราบมีการเติบโตอยางน่าสนใจ โดยเพิ่มขึ้นถึง 19% ส่วนดัชนีค่าเช่าที่อยู่อาศัยแนวสูงเพิ่มขึ้น 3%

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาความต้องการเช่าในกรุงเทพฯ กลับพบว่าลดลงอย่างมาก โดยภาพรวมความต้องการเช่าลดลงถึง 33% QoQ (ลดลง 22% YoY) เมื่อแยกตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า ความต้องการเช่าคอนโดฯ ลดลงมากที่สุด 40% QoQ (ลดลง 30% YoY) ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ลดลง 22% QoQ (ลดลง 19% YoY) มีเพียงบ้านเดี่ยวเท่านั้นที่ความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นถึง 51% QoQ (เพิ่มขึ้น 73% YoY) สอดคล้องกับภาพรวมทั่วประเทศ

หากมองในระยะยาวพบว่าตลาดเช่ายังมีสัญญาณเติบโตที่ดี ภาพรวมความต้องการเช่าในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 73% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ โดยบ้านเดี่ยวยังครองความนิยมด้วยความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้น 155% ตามมาด้วยคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 75% มีเพียงทาวน์เฮ้าส์เท่านั้นที่ลดลง 6%

เมื่อพิจารณาจำนวนที่อยู่อาศัยให้เช่าที่มีจำนวนคงเหลือมากที่สุด พบว่าเป็นระดับค่าเช่า 10,000-30,000 บาท/เดือน โดยมีสัดส่วนถึง 45% ของจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าในกรุงเทพฯ ทั้งหมด หากแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่าคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ในระดับค่าเช่า 10,000-30,000 บาท/เดือน มีจำนวนมากที่สุด (สัดส่วน 47% และ 33% ตามลำดับ) ส่วนบ้านเดี่ยวที่มีจำนวนมากที่สุดจะอยู่ที่ระดับค่าเช่ามากกว่า 100,000 บาท/เดือน สัดส่วน 52%

ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกรุงเทพฯ ในไตรมาสล่าสุด ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลแหล่งงานและใกล้แนวรถไฟฟ้า ซึ่งตอบโจทย์การเดินทางในเมืองหลวง อันดับ 1 ได้แก่ เขตหนองแขม เพิ่มขึ้น 22% QoQ (เพิ่มขึ้น 10% YoY) เป็นทำเลชานเมืองที่ไม่ไกลจากรถไฟฟ้าและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ในอนาคต ตามมาด้วยเขตสายไหม เพิ่มขึ้น 20% QoQ (ลดลง 10% YoY), เขตคลองสามวา เพิ่มขึ้น 14% QoQ (เพิ่มขึ้น 11% YoY), เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 10% QoQ (เพิ่มขึ้น 18% YoY) และเขตดินแดง เพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 17% YoY)

ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกรุงเทพฯ

หมายเหตุ: รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report เป็นรายงานแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยที่จัดทําขึ้นเป็นรายไตรมาส (ทุก 3 เดือน) โดยใช้ข้อมูลจากประกาศขาย-เช่าบนเว็บไซต์ DDproperty มาคํานวณด้วยวิธีการทางสถิติ วิเคราะห์ และจัดทําเป็นดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคา, จํานวนที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ในตลาด และความต้องการที่มีต่อที่อยู่อาศัยในช่วงเวลานั้น ๆ โดยรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย ดัชนีราคา (Price Index) และดัชนีความต้องการ (Demand Index) จากทั้งฝั่งตลาดซื้อ-ขายและตลาดเช่า แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในรอบไตรมาสว่าเป็นไปในทิศทางใด โดยนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 เป็นต้นมา ดัชนีราคาและความต้องการในรายงานนี้ได้ใช้ข้อมูลในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เป็นปีฐาน  

อ่านและศึกษาข้อมูลแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสล่าสุดได้ที่ รายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q1 2567

Alibaba Cloud Named a Leader in Gartner Magic Quadrant for Cloud Database Management Systems for Fourth Consecutive Year

Alibaba Cloud ได้รับเลือกเป็นผู้นำเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน จากรายงาน Gartner® Magic Quadrant™ for Cloud Database Management Systems

Alibaba Cloud Named a Leader in Gartner Magic Quadrant for Cloud Database Management Systems for Fourth Consecutive Year

Vendors Ability to Execute and Completeness of Vision evaluated in the report. Robust product capabilities drive the success of customers across sectors.

Alibaba Cloud, the digital technology and intelligence backbone of Alibaba Group, has been named a Leader in the 2023 Gartner Magic Quadrant for Cloud Database Management Systems (“the report”) for the fourth year in a row.

Gartner, a company that delivers actionable, objective insight to executives and their teams evaluated cloud vendors around the world on their capabilities based on their Ability to Execute and Completeness of Vision in cloud database management systems (DBMS). As per Gartner, “Leaders execute well against their current vision and are well positioned for tomorrow.”

“To us, being named a Leader in the latest Gartner Magic Quadrant for cloud DBMS report for four years in a row is a great recognition of our team’s efforts in providing one-stop, cloud database products and services for our customers,” said Dr Li Feifei, President of Database Products Business at Alibaba Cloud. “We are seeing exciting development of generative AI and increasing demand for customized generative AI applications. It is very important for enterprises to have high-performance, innovative database products if they want to expedite the process of continuous development. We will continue to enhance our offerings, embrace the latest generative AI trend, and work with our ecosystem partners to cater to the needs of our customers.”

Alibaba Cloud’s cloud-native data management products driving customer success across sectors.

Alibaba Cloud’s database product offerings support an exceptional amount of business activities across a wide range of industries including retail, finance, and logistics.

Sephora is the world’s most loved beauty community. Sephora Greater China has a strong store network of more than 350 stores in over 100 cities and a robust e-commerce offering across website and apps. Its retail staff assist more than 1 million beauty lovers daily and a smart BA app that is its one-on-one personalized commerce tool hit a milestone record in 2023. Sephora leverages Alibaba Cloud products such as cloud-native data warehouse AnalyticDB, to conduct real-time intelligent analytics on various customer touchpoints in-store as well as on its e-commerce platforms. This has allowed Sephora to enjoy greater data management, processing and analytics efficiencies and cost savings.

Pt Jasa Angkasa Semesta (known as PT JAS) is a trusted provider of ground and cargo handling services in Indonesia. As PT JAS’s operations grew, their IT infrastructure became increasingly complex, leading to difficulties in managing and maintaining their systems. To address these issues, PT JAS decided starting to migrate their IT systems to Alibaba Cloud for its stable and reliable infrastructure. By using Alibaba Cloud’s Relational Database Service (RDS), PT JAS was able to focus more on database management and ensure its database services are more efficient, scalable and secure. As a result, the migration to Alibaba Cloud allowed PT JAS to streamline their IT operations and improve the performance and reliability of their systems.

A Plus, a gaming company in Japan, chose Alibaba Cloud as its trusted cloud service provider in building a robust IT infrastructure to support its rapid growth of gaming business. Among Alibaba Cloud’s comprehensive offerings for A Plus, is the online database services, PolarDB for MySQL and RDS for MySQL. With robust read/write capability, the PolarDB clusters are equipped with high processing capability. In addition, only one end point is required for read/write splitting thanks to the automatic endpoint mapping, making it easy for PolarDB to interact with MySQL in the game development environment. Such features help A Plus faster its gaming development process in a cost-effective way, and reduce the maintenance cost in its daily operation.

In Malaysia, EasyParcel, a one-stop delivery service booking platform, collaborated with Alibaba Cloud to drive its digital transformation, significantly enhancing its operational efficiency. EasyParcel has adopted PolarDB, Alibaba Cloud’s cloud-native relational database, to improve its ability to offer real-time tracking updates and efficient service availability for its customers. PolarDB contributed to EasyParcel’s efforts to improve performance and enhance cost-effectiveness for better client satisfaction.

Database product innovation to support customer demand

Alibaba Cloud recently announced a series of upgrades to its database product offerings to lower the technology threshold for customers to enjoy the benefits of the latest technology development such as AI, cloud-native, and one-stop data management solution.

At Apsara Conference, Alibaba Cloud annual flagship event held in November 2023, Alibaba Cloud has enhanced its entire range of database solutions, including its cloud-native database PolarDB, cloud-native data warehouse AnalyticDB, and cloud-native multi-model database Lindorm, which uses a proprietary vector engine to speed up the process of creating customized generative AI applications. Additionally, the cloud provider has launched large language model-powered database ecosystem tools such as Data Copilot, an intelligent data analytics assistant for DBMS.

To help its customers deploy their resources more efficiently, Alibaba Cloud has also made its key cloud products, including PolarDB, AnalyticDB and ApsaraDB, serverless, paired with a higher degree of elasticity in speed, stability and scope.

ApsaraDB HTAP, a dynamic solution unveiled earlier last year integrating PolarDB and AnalyticDB, is available for international customers. This one-stop database management tool increases performance as well as provides extensive data processing capabilities that are highly elastic and cost effective.

Alibaba Cloud ได้รับเลือกเป็นผู้นำเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน จากรายงาน Gartner Magic Quadrant for Cloud Database Management Systems

Alibaba Cloud ได้รับเลือกเป็นผู้นำเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน จากรายงาน Gartner® Magic Quadrant™ for Cloud Database Management Systems

Alibaba Cloud ได้รับเลือกเป็นผู้นำเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน จากรายงาน Gartner® Magic Quadrant™ for Cloud Database Management Systems

รายงานฉบับนี้ประเมินความสามารถของผู้ขายเทคโนโลยี ที่ทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริงและสมบูรณ์ความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่ง ขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าทุกภาคส่วน

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้รับการจัดให้เป็นผู้นำด้านระบบจัดการดาต้าเบสบนคลาวด์ (Cloud Database Management Systems) ในรายงาน Gartner® Magic Quadrant™ ประจำปี 2023 เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

การ์ทเนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงแก่ผู้บริหารและทีมงานของผู้บริหาร ได้ประเมินความสามารถของผู้ให้บริการคลาวด์ (คลาวด์เวนเดอร์) ทั่วโลก โดยพิจารณาจากความสามารถในการนำไปใช้ได้จริง และความสมบูรณ์ของวิสัยทัศน์ด้านระบบจัดการดาต้าเบสบนคลาวด์ (DBMS) ทั้งนี้การ์ทเนอร์ได้ระบุไว้ว่า “คลาวด์เวนเดอร์ที่อยู่ในกลุ่มผู้นำสามารถทำตามวิสัยทัศน์ในปัจจุบันได้ดี และอยู่ในสถานะที่รองรับอนาคตได้ดี”

ดร. หลี่ เฟยเฟย ประธานฝ่ายธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบส อาลีบาบา คลาวด์ กล่าวว่า “การได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่มผู้นำในรายงาน Gartner Majic Quadrant for cloud DBMS เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน นับเป็นการแสดงถึงการยอมรับในความทุ่มเทของทีมงานของบริษัทฯ ในการมอบผลิตภัณฑ์และบริการด้านดาต้าเบสบนคลาวด์ครบวงจรให้ลูกค้าของเรา ปัจจุบันเราเห็นการพัฒนาที่ตื่นตาตื่นใจของ generative AI และเห็นว่ามีความต้องการแอปพลิเคชัน generative AI ที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มมากขึ้น และหากองค์กรต่าง ๆ ต้องการเร่งกระบวนการพัฒนาให้เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบสใหม่ ๆ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง อาลีบาบา คลาวด์ จะยังคงยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับแนวโน้มด้าน generative AI ที่เกิดขึ้นล่าสุด และทำงานกับพันธมิตรในระบบนิเวศของบริษัทฯ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าของเรา”

ผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารจัดการข้อมูลคลาวด์-เนทีฟของอาลีบาบา คลาวด์ ขับเคลื่อความสำเร็จของลูกค้าทุกภาคส่วน

ผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบสของอาลีบาบา คลาวด์ ให้การสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจจำนวนมากในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น ค้าปลีก การเงิน และโลจิสติกส์

ตัวอย่าง Sephora ซึ่งเป็นคอมมิวนิตี้ด้านความงามที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดย Sephora Greater China มีเครือข่ายร้านค้าที่โดดเด่นมากกว่า 350 แห่งที่ตั้งอยู่ในกว่า 100 เมือง และอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมอย่างมากผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ พนักงานในร้านค้าปลีกของ Sephora ให้บริการลูกค้าผู้รักความงามวันละมากกว่า 1 ล้านคน และแอปวิเคราะห์ทางธุรกิจ (BA app) ที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านอีคอมเมิร์ซที่เจาะจงแบบตัวต่อตัว ก็สร้างสถิติใหม่ในปี 2566

Sephora ใช้ผลิตภัณฑ์ของอาลีบาบา คลาวด์ เช่น cloud-native data warehouse AnalyticDB เพื่อทำการวิเคราะห์อัจฉริยะแบบเรียลไทม์ ณ จุดที่เป็นช่องทางต่าง ๆ ที่ลูกค้าใช้ติดต่อกับร้านค้าปลีกเมื่อเข้ามาในร้าน รวมถึงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ Sephora บริหารจัดการข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย 

Pt Jasa Angkasa Semesta หรือที่รู้จักกันในชื่อ PT JAS เป็นผู้ให้บริการภาคพื้นดินและบริการขนส่งสินค้า (cargo) ที่ได้รับความไว้วางใจในประเทศอินโดนีเซีย การดำเนินงานของ PT JAS ที่เติบโตขึ้น ทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีซับซ้อนมากขึ้น นำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ PT JAS ตัดสินใจย้ายระบบไอทีต่าง ๆ ไปทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์ เพื่อใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เสถียรและเชื่อถือได้เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ทั้งนี้ Relational Database Service (RDS) ของอาลีบาบา คลาวด์ ช่วยให้ PT JAS สามารถให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการดาต้าเบสได้มากขึ้น และเกิดความมั่นใจว่าบริการด้านดาต้าเบสของตนนั้นมีประสิทธิภาพ เสถียร และปลอดภัยมากขึ้น การย้ายการทำงานไปรันบนอาลีบาบา คลาวด์ ช่วยให้ PT JAS ปรับปรุงการทำงานด้านไอทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ให้กับระบบต่าง ๆ ของบริษัทฯ

A Plus ซึ่งเป็นบริษัทเกมในประเทศญี่ปุ่น เลือกอาลีบาบา คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่บริษัทเชื่อมั่นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับธุรกิจเกมของบริษัทฯ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว PolarDB for MySQL และ RDS for MySQL เป็นบริการด้านดาต้าเบสออนไลน์สองโซลูชันที่บรรจุอยู่ในข้อเสนอด้านบริการครบวงจรของอาลีบาบา คลาวด์ ที่นำเสนอต่อ A Plus โดย PolarDB clusters มีความสามารถในการประมวลผลสูง เนื่องจากมีความสามารถในการอ่าน/เขียนที่สมบูรณ์แบบ และต้องการใช้ end point เพียงจุดเดียวเพื่อแยกการอ่าน/เขียน นอกจากนี้ automatic endpoint mapping ยังช่วยให้ PolarDB โต้ตอบกับ MySQL ในการพัฒนาเกมได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์เหล่านี้ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเกมของ A Plus เร็วขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่ามากขึ้น และลดค่าบำรุงรักษาในการดำเนินงานในแต่ละวัน

EasyParcel ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจองบริการจัดส่งของครบวงจรในประเทศมาเลเซีย ร่วมมือกับอาลีบาบา คลาวด์ ขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มของบริษัท และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ EasyParcel ใช้ PolarDB ซึ่งเป็น cloud-native relational database ของอาลีบาบา คลาวด์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอัปเดทระบบติดตามการส่งของแบบเรียลไทม์ และเพิ่มความพร้อมในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพแก่ลูกค้า ทั้งนี้ PolarDB เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนความมุ่งมั่นของ EasyParcel ในการยกระดับการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น

นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบสเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า 

เร็วๆ นี้ อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดตัวชุดอัปเกรดผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบส เพื่อลดกฎเกณฑ์ทางเทคโนโลยีให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีล่าสุด เช่น AI, คลาวด์-เนทีฟ และโซลูชันด้านการบริหารจัดการดาต้าครบวงจร

ณ งาน Apsara Conference งานสำคัญประจำปีของอาลีบาบา คลาวด์ จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 อาลีบาบา คลาวด์ ได้ประกาศยกระดับประสิทธิภาพของโซลูชันด้านดาต้าเบสทั้งหมดของบริษัทฯ เช่น cloud-native database PolarDB, cloud-native data warehouse AnalyticDB, และ cloud-native multi-model database Lindorm ซึ่งใช้เวกเตอร์เอ็นจิ้นที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ ใช้เร่งกระบวนการสร้างแอปพลิเคชัน generative AI แบบเจาะจงเฉพาะทางให้เร็วขึ้น นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เปิดตัวเครื่องมือระบบนิเวศด้านดาต้าเบสที่ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เช่น Data Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะด้านการวิเคราะห์ดาต้าสำหรับ DBMS

เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้ทรัพยากรของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาลีบาบา คลาวด์ยังได้ทำให้ผลิตภัณฑ์ด้านคลาวด์สำคัญ ๆ รวมถึง PolarDB, AnalyticDB และ ApsaraDB ไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ จึงมาพร้อมกับความเร็ว ความเสถียร และสโคปที่มีระดับความยืดหยุ่นสูงกว่า

ApsaraDB HTAP ซึ่งเป็นโซลูชันที่ผสาน PolarDB และ AnalyticDB ไว้ด้วยกันและมีความไดนามิก พร้อมให้บริการแก่ลูกค้านานาชาติแล้ว เครื่องมือบริหารจัดการดาต้าเบสครบวงจรนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและให้ความสามารถด้านการประมวลผลที่กว้างขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงและคุ้มค่าใช้จ่าย

ปฏิวัติเทคโนโลยีค้าปลีก สู่ประสบการณ์การจับจ่ายในร้าน ที่บูรณาการวิธีการที่ดีที่สุดไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ

ปฏิวัติเทคโนโลยีค้าปลีก สู่ประสบการณ์การจับจ่ายในร้าน ที่บูรณาการวิธีการที่ดีที่สุดไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ

ปฏิวัติเทคโนโลยีค้าปลีก สู่ประสบการณ์การจับจ่ายในร้าน ที่บูรณาการวิธีการที่ดีที่สุดไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ

โชบัน ลักปรากาดา, ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์เอดจ์คอมพิวติ้ง, เร้ดแฮท
บทความโดยนายโชบัน ลักปรากาดา, ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์เอดจ์คอมพิวติ้ง, เร้ดแฮท

เมื่อเข้าสู่ปี 2567 อย่างเต็มตัว ความชุลมุนของเทศกาลจับจ่ายหาซื้อของขวัญปีใหม่ก็จบลง แต่ไม่ว่านักช้อปจะวางแผนจัดหาของขวัญไว้ล่วงหน้าหรือมาช้อปเอานาทีสุดท้ายก็ตาม เชื่อว่ายังมีข้อเสนอแนะดี ๆ อยู่มากมายที่วนเวียนอยู่ในใจนักช้อป และอยากจะบอกกับผู้ค้าปลีกให้ได้ปรับปรุงเพื่อยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งให้ราบรื่นมากขึ้น เช่น บรรยากาศในร้านแน่นขนัดเกินไปไหม สามารถใช้วิธีชำระเงินด้วยตนเองได้ไหม และอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกได้รับรู้ปริมาณสินค้าคงคลังที่เป็นปัจจุบันจริง ๆ คือ สามารถสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วมารับสินค้าที่หน้าร้านได้หรือไม่ ผู้ค้าปลีกจะตอบโจทย์เหล่านี้อย่างไร

การปฏิวัติวงการค้าปลีก ต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือหลากหลาย แต่ AI คือเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนที่สุด ตั้งแต่การชำระเงินด้วยตนเอง ไปจนถึงการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและอื่น ๆ อีกมาก แต่แค่นำ AI มาใช้ในร้านค้านั้นไม่เพียงพอ ผู้ค้าปลีกต้องใช้แพลตฟอร์มเดียวสำหรับเอดจ์คอมพิวติ้งที่สามารถรองรับการใช้ AI และเทคโนโลยีสำคัญอื่น ๆ ที่อยู่ในกลยุทธ์การทรานส์ฟอร์มของตน ทั้งนี้เอดจ์คอมพิวติ้งเป็นหัวข้อสนทนาอย่างต่อเนื่องในหมู่ผู้นำองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเอดจ์ในอวกาศที่ห่างไกล ยานพาหนะที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ที่เป็นอุปกรณ์เอดจ์คอมพิวติ้งต่าง ๆ หรือเซ็นเซอร์ระยะไกลที่ติดตั้งอยู่ในทะเลทราย กล่าวได้ว่าเอดจ์คอมพิวติ้งกำลังช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมทุกประเภท

ความคาดหวังของลูกค้าที่สูงขึ้นและตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้มีการนำเทคโนโลยีด้านการค้าปลีกมาใช้มากขึ้น การระบาดของโรคเป็นสถานการณ์ที่เร่งให้ร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้มีทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น เช่น การรับสินค้าโดยไม่ต้องลงจากรถและอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้การที่ต้นทุนด้านแรงงานกำลังเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนของเทคโนโลยีหลักต่าง ๆ กำลังลดลง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้ที่เอดจ์ ทำให้ผู้ค้าปลีกกำลังเริ่มมองหาโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้าแต่ละรายมากขึ้น เช่น

  • ประสบการณ์ระหว่างการช้อปหน้าร้านและออนไลน์แบบไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการมองเห็นสินค้าคงคลังได้แบบเรียลไทม์และทางเลือกแบบเจาะจงเฉพาะบุคคลอย่างแท้จริงได้มากขึ้น ไปจนถึงการจัดส่งด่วนและอื่น ๆ
  • การจัดวางสินค้าในร้านรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ที่ช่วยให้การช้อปหน้าร้านสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกดูสินค้าในร้าน หรือการรับสินค้าที่สั่งซื้อไว้ทางออนไลน์
  • ประสบการณ์การชำระเงินด้วยตนเองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยลูกค้าสามารถหยิบสินค้าและชำระเงินด้วยตนเองได้เลย
  • โซลูชันป้องกันการสูญเสียที่ทันสมัย เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบของ “shrinkage” หรือความสูญเสียสินค้าคงคลังที่เกิดจากการลักขโมยและการใช้ความรุนแรง

เอดจ์คอมพิวติ้งสามารถยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภคในธุรกิจค้าปลีกได้อย่างมาก

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น เราจึงเห็นผู้ค้าปลีกรวมถึงลูกค้าของเร้ดแฮท ลงทุนกับส่วนสำคัญสามด้าน คือ ปรับปรุงระบบขายหน้าร้าน (point of sale: POS) ให้ทันสมัย ลงทุนด้านคอมพิวเตอร์วิชัน และคลังสินค้าอัตโนมัติ 

Red Hat Edge’s validated patterns
Red Hat Edge’s validated patterns

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

ตัวอย่าง ลูกค้ารายหนึ่งมีร้านค้า 1,200 แห่งทั่วประเทศ ให้บริการลูกค้ามากกว่า 65 ล้านรายในอเมริกาเหนือ ลูกค้ารายนี้ต้องประเมินเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ใหม่ เพราะต้องเผชิญกับต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น มีความจำเป็นต้องเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าที่เข้ามาในร้านอย่างต่อเนื่อง ณ จุดชำระเงินที่อาจต้องใช้โปรแกรมสะสมคะแนน และต้องเผชิญกับคำสั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อจัดการระบบ POS ของร้านค้าทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพ 

เพื่อแก้ไขความท้าทายดังกล่าว บริษัทเลือกที่จะรีเซ็ตโครงสร้างพื้นฐาน POS ใหม่ โดยใช้แพลตฟอร์มระดับองค์กรครบวงจรในแพลตฟอร์มเดียวสำหรับเอดจ์คอมพิวติ้งโดยการใช้ Hat Enterprise Linux (RHEL), Red Hat OpenShift และ Red Hat Ansible Automation Platform

การตัดสินใจดังกล่าว เป็นการจัดการความท้าทายทางเทคนิคสำคัญ 4 ประการคือ

  • ทำความเข้าใจการใช้ RHEL ในรูปแบบที่เน้นไปที่เอดจ์ เพื่อสร้างแอปพลิเคชัน POS ใหม่
  • การโยกย้ายการทำงานไปที่ระบบ POS ที่ไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ด้วยการวางแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไว้บนคอนเทนเนอร์
  • คงความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยและความปลอดภัยในการชำระเงินด้วยบัตร โดยใช้ immutable image ของ RHEL และ containerizing applications
  • สามารถใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงที่เชื่อมต่อที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในการชำระเงินด้วยบัตร เช่นเครื่องสแกนบาร์โค้ด อุปกรณ์การป้อนรหัส (PIN pads) และเครื่องพิมพ์ใบเสร็จต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรันแอปพลิเคชัน POS ที่พัฒนาใหม่ได้

ผู้ค้าปลีกเลือกที่จะปรับโครงสร้างพื้นฐาน POS ของตนให้ทันสมัยด้วยแพลตฟอร์มระดับองค์กรที่สามารถจัดการกับความต้องการด้านเครือข่ายเอดจ์ให้กับอุตสาหกรรมค้าปลีกได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ค้าปลีกใช้ข้อมูลได้ใกล้กับจุดที่ข้อมูลเข้าสู่ระบบได้มากขึ้น และเป็นจุดที่เกิดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าส่วนใหญ่ หากพิจารณาตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ก็คือลูกค้าจากร้านค้า 1,200 แห่งของบริษัทค้าปลีกรายนั้น

เมื่อได้ปรับ POS ให้ทันสมัยแล้ว ผู้ค้าปลีกจะตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น สามารถสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับลูกค้า และเพิ่มผลลัพธ์จากการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อถือได้และเสถียร ช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถมุ่งให้ความสำคัญกับการปฏิบ้ติตามกฎระเบียบและมาตรการด้านความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่

ระบบอัตโนมัติจะช่วยให้ทีมไอทีทำการบำรุงรักษาหรืออัปเดทระบบความปลอดภัยได้ตามความจำเป็นตามต้องการ และยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกอยู่เสมอ ซึ่งอาจหมายถึงการตรวจจับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิต และบรรเทาหรือขจัดปัญหานั้น ๆ ให้หมดไป ทีมงานจึงไม่ต้องใช้เวลาไปกับการบำรุงรักษาด้วยวิธีการซ้ำ ๆ และหันไปโฟกัสเรื่องอื่นที่สำคัญ เช่น ความปลอดภัยด้านไอทีและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นพร้อม ๆ กับลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มผลกำไร

นวัตกรรมแบบเปิดของเร้ดแฮท ช่วยเพิ่มประสบการณ์ “ในร้านค้า” ให้ทันสมัย 

ลูกค้าจำนวนมากใช้โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วิชันที่ทันสมัยจากผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISVs) เพื่อให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่ง่ายมากกว่าการสแกนบาร์โค้ด ซึ่งนั่นหมายความว่าลูกค้าสามารถหยิบสินค้าที่ต้องการใส่ตระกร้าและกลับออกไปโดยไม่ต้องต่อแถวชำระเงิน ในทำนองเดียวกับแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถช่วยวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของลูกค้า เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค และโซลูชันป้องกันสินค้าสูญหายที่ทันสมัยที่ไม่ต้องพึ่งพา RFIDs หรือแท็กข้อมูลเพื่อความปลอดภัยที่ติดอยู่กับตัวสินค้า

การจะใช้แอปพลิเคชันประเภทนี้ได้นั้น ผู้ค้าปลีกต้องใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชันระดับองค์กรที่ทันสมัยกับเซิร์ฟเวอร์ในร้านค้า ที่เชื่อมต่อกลับไปยังแอปพลิเคชันหลักต่าง ๆ ของร้านผ่านไฮบริดคลาวด์ Red Hat OpenShift และ Red Hat OpenShift AI สามารถช่วยให้ลูกค้าใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้ได้ ไม่ว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้จะเป็นแบบ homegrown หรือ ISV build-on 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เร้ดแฮทได้ประกาศว่า Red Hat Device Edge พร้อมให้ใช้งานได้แล้ว Red Hat Device Edge มอบแพลตฟอร์มที่คงเส้นคงวา และออกแบบมาสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรจำกัด โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่ต้องการการประมวลผลฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กที่เอดจ์ คุณสมบัติดังกล่าวทำให้โซลูชันนี้เหมาะกับระบบ POS ของร้านค้าปลีกเป็นอย่างมาก Red Hat Device Edge เป็นที่รวมของความพร้อมใช้งานในระดับองค์กร และสนับสนุนโครงการชุมชนโอเพ่นซอร์สที่นำโดย MicroShift (โครงการ lightweight Kubernetest ที่ใช้ความสามารถด้านเอดจ์ของ Red Hat OpenShift) มาพร้อมกับ Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat Ansible Automation Platform สำหรับการบริหารจัดการตั้งแต่การเริ่มพัฒนา (Day 1) และวันที่มีการใช้ระบบต่าง ๆ และต้องบริหารจัดการต่อไป (Day 2) ให้กับไซต์และอุปกรณ์นับร้อยนับพันได้อย่างสอดคล้องกันมากขึ้น