Generating AI May Be Easier Than You Think

การสร้าง AI อาจง่ายกว่าที่คิด

Generating AI May Be Easier Than You Think

AI combined with serverless cloud computing is the way forward.

Article by Dr Li Feifei, President of Database Products Business, Alibaba Cloud
Article by Dr Li Feifei, President of Database Products Business, Alibaba Cloud

Since ChatGPT first caught the public’s attention late last year, almost every organisation has been getting into or creating some form of generative AI. More recently, we have seen conversations maturing to discussions on how exactly we can make AI work, especially given the high cost and complexity it requires to live up to the expectations that the hype has generated.

Let’s take a step back first to examine how we arrive at AI. AI is promising because it can be wise. It spots things we may miss or even disregard because it has more capacity and consistency. But fundamentally, data is the foundation for AI.

That means we need to ensure data is properly processed and protected. It is the lifeblood of not just the entire IT infrastructure, but also the basis of all innovation that comes from real humans or artificial intelligence. As part of the underlying infrastructure that powers generative AI, databases have evolved to cater to the demands of corporations in the generative AI era. How effective your AI is boils down to how you are managing data using the right database.

Common Database Models

There’s a type of database called Online Transaction Processing (OLTP), which supports online transaction processing. This basically enables businesses to transact concurrently – for example in online banking, shopping, and so on – and as data accumulates in the database, you can derive value out of the data pool.

We also have On-Line Analytical Processing (OLAP) – which enables organisations to do fast, interactive, and powerful analytics from the data because it helps consolidate data from multiple sources beyond just the transactional ones.

For example, a retailer can combine data in its inventory and what it has in stock with another dataset of what customers are buying to provide intelligence on the need to increase production of a particular item over another due to higher demand.

Another database model family called NoSQL is popular because it helps sort unstructured data unlike the two above.

An emerging database model for AI

But in the emerging age of AI, we expect the vector database model to be the most transformative.

A vector database is used to handle ‘‘intelligent workloads’’ with large language models for embedding and storing those millions of high-dimensional vectors – think of unstructured data such as documents, images, audio recordings, videos and so on which is on track to account for over 80 percent of all data worldwide by 2050 – to enable the semantics expected of AI, that is understanding the underlying context and nuances rather than just the meaning.

AI is ultimately about making sense of the data, and you can’t make sense without using a vector database. It is a key requirement to increase the industry-specific knowledge of large language models, which is one of the largest constraints facing generative AI models.

Alibaba Cloud has enhanced its full range of database solutions – including cloud-native database PolarDB, cloud-native data warehouse AnalyticDB, and cloud-native multi-model database Lindorm – with its proprietary vector engine. Enterprises can now input sector-specific knowledge into their vector databases, enabling them to build and launch generative AI applications.

Let’s use an actual business case to illustrate the power of a vector database.

One of Alibaba Cloud’s customers – a major online gaming company from Southeast Asia – is using Alibaba Cloud’s database solutions to create intelligent Non-Player Characters (NPCs) that can engage a lot more authentically with human players because they are not “reading” a scripted set of lines, but reacting based on real-time understanding of what players are communicating.

Dollars and sense

The promise of AI is not just limited to gaming or even making sense of unstructured data.

AI can manage the database itself. For example, when storage is running low, AI can alert system administrators to watch out for storage requirements and ask if there is a need to extend storage space. AI can automatically scale the storage space if permission is given. The same functionality can be applied to CPU capacity, memory capacity, and other functions.

This capability is handy given the move towards serverless cloud computing. As the name suggests, serverless means that there is no longer a need to worry about servers behind the service you’re using.

In the past when one purchased a cloud service product, a provision had to be made for a set of servers.  For example, four cores and eight gigabytes of memory came with a cost. When one provisions a server that has more capacity than the actual workloads require, it ends up wasting server resources.

Serverless computing is designed to address this challenge and ensure that the server capacity used by the cloud service precisely matches the needs of the workloads. It adapts to the dynamic change in the workloads. However, if workloads are changing dynamically over time, then the serverless way might end up costing you more.

The best of both worlds

By combining AI with serverless cloud computing, we are getting the best of both worlds. That’s why Alibaba Cloud has also made its key AI-driven database products serverless. Customers pay only for the number of resources required and AI is there to guide and augment decision-making capabilities in dealing with sudden peaks in demand or a very dynamic workload.

How you make AI work for you by working with the right databases will determine whether your organisation rides this AI trend towards success or is left behind.

การสร้าง AI อาจง่ายกว่าที่คิด

การสร้าง AI อาจง่ายกว่าที่คิด

การสร้าง AI อาจง่ายกว่าที่คิด

ใช้ AI ร่วมกับการประมวลผลคลาวด์แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ คือวิธีสู่ความสำเร็จ

ดร. หลี่ เฟยเฟย ประธานฝ่ายธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบส อาลีบาบา คลาวด์
ดร. หลี่ เฟยเฟย ประธานฝ่ายธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบส อาลีบาบา คลาวด์

ChatGPT ได้รับความสนใจจากสาธารณชนครั้งแรกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา องค์กรเกือบทุกแห่งได้ใช้หรือสร้าง generative AI ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และเมื่อเร็ว ๆ นี้ เราได้เห็นบทสนทนาที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่าจะใช้ AI ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรกันแน่ โดยเฉพาะเมื่อจะดำเนินการให้เป็นไปตามความคาดหวังต่าง ๆ ที่เกิดจากกระแสความคาดหวังที่เกินจริงที่ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนจำนวนมาก

เรามองย้อนกลับไปเพื่อพิจารณาอีกครั้งว่า AI เริ่มมีความสำคัญได้อย่างไร AI มีแนวโน้มเติบโตอาจเป็นเพราะความฉลาดของมันก็ได้ AI ตรวจพบสิ่งที่เราอาจผิดพลาดหรือละเลยได้เพราะมันมีความสามารถที่จะรองรับสิ่งต่าง ๆ และมีความสม่ำเสมอมากกว่า แต่โดยพื้นฐานแล้ว ข้อมูล คือรากฐานของการทำงานของ AI

ดังนั้นองค์กรต้องมั่นใจว่าข้อมูลได้รับการประมวลผลและปกป้องอย่างเหมาะสม ข้อมูลเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงไม่เพียงแต่โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังเป็นฐานให้กับนวัตกรรมทั้งหมดที่มนุษย์หรือ AI สร้างสรรค์ ฐานข้อมูลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานหลักที่ขับเคลื่อน generative AI ได้มีการพัฒนาเพื่อตอบความต้องการต่าง ๆ ในยุค generative AI ให้กับองค์กรต่าง ๆ ทั้งนี้ AI ขององค์กรจะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการที่องค์กรบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูลได้ถูกต้องเพียงใด

โมเดลฐานข้อมูลที่ใช้ทั่วไป

มีฐานข้อมูลประเภทหนึ่งเรียกว่า Online Transaction Processing (OLTP) ซึ่งรองรับการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจทำธุรกรรมพร้อม ๆ กันได้ เช่น ทำธุรกรรมธนาคารทางออนไลน์, ช้อปปิ้ง และทำธุรกรรมออนไลน์อื่น ๆ ไปด้วย และ องค์กรจะได้รับคุณประโยชน์จากพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนกลาง (data pool) จากการที่ข้อมูลเหล่านี้สะสมอยู่ในฐานข้อมูล

นอกจากนี้ยังมี On-Line Analytical Procession (OLAP) ซึ่งช่วยให้องค์กรวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลได้อย่างทรงประสิทธิภาพ รวดเร็ว โต้ตอบได้ ผ่านความสามารถที่นอกจากจะรวบรวมข้อมูลธุรกรรมแล้ว ยังสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้หลายแห่ง

ตัวอย่าง ผู้ค้าปลีกสามารถรวมข้อมูลด้านสินค้าคงคลังและสิ่งที่มีอยู่ในสต็อก เข้ากับชุดข้อมูลอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นข้อมูลว่าลูกค้ากำลังซื้อหาสินค้าใดอยู่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชาญฉลาดว่าต้องเพิ่มการผลิตสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งมากกว่าชิ้นอื่นเพราะสินค้านั้นขายดีมากขึ้น

โมเดลฐานข้อมูลอื่นอีกตระกูลหนึ่งที่เรียกว่า NoSQL ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะช่วยจัดเรียงข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งเป็นความสามารถที่ต่างจากสองโมเดลที่กล่าวมาข้างต้น

โมเดลฐานข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อใช้กับ AI

เมื่อ AI เกิดขึ้น ทุกคนคาดว่าโมเดลฐานข้อมูลเวกเตอร์ (vector database) จะมีการเปลี่ยนโฉมมากที่สุด

ฐานข้อมูลเวกเตอร์ ถูกนำมาใช้เพื่อรับมือกับ “เวิร์กโหลดอัจฉริยะ” ด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) สำหรับการฝังและเก็บ high-dimensional vectors นับล้านเหล่านั้น เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายที่คาดหวังจาก AI ที่ไม่เพียงเข้าใจความหมาย แต่ยังเข้าใจบริบทและความต่างที่ซ่อนอยู่ด้วย เช่น ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างต่าง ๆ เช่น เอกสาร รูปภาพ การบันทึกเสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมดทั่วโลกภายในปี 2593 

ในท้ายที่สุด AI ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจข้อมูล และจะไม่สามารถทำได้โดยไม่ใช้ฐานข้อมูลเวกเตอร์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องเพิ่มความรู้ด้านโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่เฉพาะกับแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดที่โมเดล generative AI ต้องเผชิญ

อาลีบาบา คลาวด์ เพิ่มประสิทธิภาพให้โซลูชันด้านฐานข้อมูลของบริษัทฯ อย่างเต็มรูปแบบด้วยเวกเตอร์เอนจิ้นที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ โซลูชันด้านฐานข้อมูลของบริษัทฯ เช่น PolarDB (ฐานข้อมูลแบบคลาวด์-เนทีฟ), AnalyticDB (ดาต้าแวร์เฮ้าส์แบบคลาวด์-เนทีฟ) และ Lindorm (ฐานข้อมูลมัลติ-โมเดลแบบคลาวด์-เนทีฟ) ทำให้ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ สามารถป้อนข้อมูลความรู้ที่เจาะจงในแต่ละอุตสาหกรรมเข้าไปยังฐานข้อมูลเวกเตอร์ของตนได้ ช่วยให้สร้างและเปิดตัวแอปพลิเคชัน generative AI ได้

ตัวอย่างสถานการณ์จริงทางธุรกิจที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของฐานข้อมูลเวกเตอร์

ลูกค้ารายหนึ่งของอาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งเป็นบริษัทด้านเกมออนไลน์รายใหญ่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้โซลูชันฐานข้อมูลของอาลีบาบา คลาวด์ สร้างตัวละครอัจฉริยะที่ผู้เล่นไม่ได้เป็นผู้ควบคุม (Non-Player Characters: NPCs) ให้สามารถมีส่วนร่วมกับผู้เล่นที่เป็นมนุษย์ได้อย่างแท้จริงมากขึ้น จากการที่ NPCs เหล่านี้ไม่ได้ “อ่าน” สคริปต์เป็นตอน ๆ แต่ตอบสนองสิ่งที่ผู้เล่นที่เป็นมนุษย์สื่อสารตามความเข้าใจแบบเรียลไทม์

คุ้มค่าการลงทุน

สมรรถนะของ AI ไม่ได้จำกัดอยู่ที่อุตสาหกรรมเกมหรือแม้แต่การทำความเข้าใจข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างเท่านั้น

AI สามารถจัดการฐานข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น เมื่อพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหลือน้อย AI สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบให้ระวังเรื่องข้อกำหนดในการจัดเก็บข้อมูล และถามว่าจำเป็นต้องขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือไม่ AI สามารถปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บได้อัตโนมัติหากได้รับอนุญาตไว้ ฟังก์ชันเดียวกันนี้สามารถใช้กับขีดความสามารถของ CPU หน่วยความจำ และฟังก์ชันอื่น ๆ ได้

ความสามารถนี้มีประโยชน์ต่อการใช้การประมวลผลคลาวด์แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ ไร้เซิร์ฟเวอร์หมายถึงไม่ต้องกังวลเรื่องเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่เบื้องหลังบริการที่องค์กรใช้อีกต่อไป

ในอดีต เมื่อมีการซื้อบริการคลาวด์ จำเป็นต้องระบุจำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการใช้งาน เช่น เซิร์ฟเวอร์ที่มี 4 คอร์ และหน่วยความจำ 8 กิกะไบต์ จะมีค่าใช้จ่ายที่สูง การจัดสรรเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพเกินความต้องการใช้งานจริง ย่อมส่งผลให้เกิดการสูญเปล่าของทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์

การประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ความท้าทายนี้และเพื่อให้มั่นใจว่าความจุของเซิร์ฟเวอร์ที่บริการคลาวด์นั้นใช้ตรงกับความต้องการของเวิร์กโหลดอย่างแม่นยำ และปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างไดนามิกของเวิร์กโหลดได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป หากเวิร์กโหลดเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิก วิธีการแบบไร้เซิร์ฟเวอร์อาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น

สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองโลก

เราจะได้รับประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของทั้งสองโลก ด้วยการรวม AI กับการประมวลผลคลาวด์แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ และนั่นคือเหตุผลที่อาลีบาบา คลาวด์ ใช้สร้างผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งลูกค้าจ่ายเท่าจำนวนทรัพยากรที่ต้องการเท่านั้น และ AI ก็พร้อมให้คำแนะนำและเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจในการจัดการความต้องการที่เกิดขึ้นกระทันหันหรือเวิร์กโหลดที่ไดนามิกมาก ๆ

วิธีการที่ใช้ AI ทำงานให้ โดยการทำงานกับฐานข้อมูลที่เหมาะสมอย่างไรนั้น เป็นตัวกำหนดว่าองค์กรจะขับเคลื่อนเทรนด์ด้าน AI สู่ความสำเร็จหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

How the telco ecosystem can make a more meaningful, measurable impact on sustainability

ผลกระทบของระบบนิเวศด้านโทรคมนาคม ที่วัดผลได้และมีความหมายต่อความยั่งยืน

How the telco ecosystem can make a more meaningful, measurable impact on sustainability

Article by Rimma Iontel, Chief Architect, Red Hat
Article by Rimma Iontel, Chief Architect, Red Hat

It would be great if we could flip a switch on the networks that currently consume about 3% of the world’s power and emit roughly 2% of the world’s greenhouse gasses to make them more sustainable. And I’m sure any telecommunications service provider would want to reduce their network operating costs by being more energy efficient. But achieving sustainability goals is a complex and layered problem, and one that requires an entire ecosystem to work together to reduce the telecommunication industry’s carbon dioxide footprint. 

Many service providers are looking to advanced data analytics powered by artificial intelligence (AI) to drive better outcomes. However, AI can only be as good as the data we feed it, and collecting enough accurate data in areas like traffic patterns and energy consumption across both traditional, cloud and multi-vendor networks is a challenge still to be solved. There is also the challenge of converting AI recommendations into real time manipulation of the network and associated workflows, by means of massive automation. On top of that, AI itself can be a significant contributor to power consumption so we need to be very deliberate in its use for network power optimization. 

Even today, many sustainability projects are implemented in isolation, focusing on individual network domains or challenges and this approach has shown its limitations. In order to maximize the impact of energy efficient strategies, a more holistic approach is required across network domains by leveraging open platforms that use advanced data analytics, AI and automation. I want to use this post to outline some of the building blocks of a unified approach, highlighting some combined efforts Red Hat is actively working on with our partners.

Open 5G core infrastructure for maximized value and reduced power consumption

Red Hat, NEC and Intel have partnered together to deliver an open 5G core infrastructure that helps reduce the operational expenditure associated with power cost and consumption. Now, NEC can reduce commercial power consumption of NEC converged 5G user plane function (UPF) on Red Hat OpenShift by more than 30% with Intel® Infrastructure Power Manager for 5G Core. With Intel® Infrastructure Power Manager for 5G Core, every processor core has the right power at the right time to keep emissions and costs to a minimum. Learn more about how Red Hat, NEC and Intel are working together to contribute to sustainability and power reduction for 5G networks.

Sustainable call processing and packet continuity with greater power

Last year, we showcased a collaboration between Red Hat and Arm to deliver more energy efficient 5G and vRAN solutions fueled by Red Hat open source technologies and Arm® compute platforms.

More recently, in collaboration with NEC, Arm and Qualcomm Technologies, Inc., we have successfully demonstrated end-to-end operation of NEC’s open virtualized radio access network (vRAN) and 5G core products using Qualcomm® X100 5G RAN Accelerator Cards and Arm Neoverse™-based CPUs on Red Hat OpenShift in a commercially equivalent environment. By integrating our technologies, we’ve been able to successfully demonstrate sustainable call processing and packet continuity with enhanced power and space savings with the potential to significantly reduce the total cost of ownership for service provider RAN deployments.

Using Kepler and AI to monitor power usage

Model training and inference consume substantial amounts of energy at the level of containers, pods, namespaces. The open source project Kepler, or Kubernetes-based Efficient Power Level Exporter, captures power consumption metrics across a wide range of platforms to help system administrators and developers understand, optimize and plan power usage. The technology, which was co-founded by Red Hat and IBM Research and is used by Red Hat OpenShift for power monitoring, can capture energy consumption by both CPU and graphical processing unit (GPU), thus providing insight into compute utilization patterns of training and inference tasks and evidence for further tuning and optimization.

Kepler helps equip other open source projects and technologies with the data they need to better manage energy. An example is SusQL, an open source project used to track AI model training jobs in distributed environments, which uses Kepler metrics to aggregate power consumption of distributed training jobs, extending the power consumption insight into the cluster level. 

It also enables optimization model inference services, like those on Red Hat OpenShift AI, an MLOps platform for building, training, deploying, and monitoring AI-enabled applications on OpenShift., Together, power consumption can be monitored to derive energy usage patterns. These patterns can be correlated with system configuration and service provisioning to recommend optimal performance per watt configuration. With tools like Kepler integrated into Red Hat’s AI portfolio, we can help AI become more sustainable.

Energy efficient AI analysis at the edge

Red Hat is dedicated to our work within the IOWN Global Forum to help deliver smarter solutions for the future with sustainability in mind. Most recently, Red Hat, NTT, Fujitsu and NVIDIA were able to demonstrate an energy-efficient IOWN-based platform solution with NTT’s accelerated data pipeline for AI analysis services. Through optimizing AI inferencing at the edge for large scale video camera data analysis, we were able to realize a significant reduction in power usage by combining IOWN all-photonics network (APN) and data-centric infrastructure (DCI) with Red Hat OpenShift to deliver large-scale AI data analysis.

This collaboration demonstrates that it is possible to significantly reduce power consumption while maintaining low latency in the use case of video AI analysis at the edge. We found that even when a large number of cameras were connected, the latency required to aggregate and analyze the data with AI can be reduced by 60% as compared to latency with centralized clouds. By implementing container technology with Red Hat OpenShift, NTT is able to flexibly operate AI analysis processing with ease. This also proves that this solution can be widely applicable from video AI analysis in smart cities to similar scenarios with many distributed sensors.

Red Hat, Intel and Ericsson reduce network power consumption

Red Hat is collaborating with Intel and Ericsson to develop, integrate and deploy more sustainable cloud-native technologies that reduce energy costs and carbon emission of networks. There is a balance to strike in optimizing and reducing energy consumption while maintaining network performance. Red Hat, Intel and Ericsson are focusing initially on radio access networks (RANs) and have been able to demonstrate up to 20% savings in processing power consumption using 4th Gen Intel® Xeon® Scalable processors with vRAN boost. The solution has three pillars: hardware, including energy-efficient servers and accelerators; software, such as real-time dynamic scaling of CPU cores for the RAN distributed unit (DU) and centralized unit (CU) workloads; and automation: real-time, energy-aware automation that’s based on network utilization and traffic patterns. Watch this video to learn how Red Hat, Intel, and Ericsson are helping service providers build more sustainable cloud solutions.

Smart scaling for telco datacenters

Red Hat and Intracom Telecom are working to deliver a solution that optimizes OpenShift-based infrastructures (both on-prem and cloud-based), by proactively adjusting server workloads and strategically powering off underutilized servers to address idle power consumption, without compromising workload performance and stability. The number of worker nodes is dynamically scaled, based on real-time predictions of resource demand to ensure optimal infrastructure scalability and efficiency. This solution is well suited for converged telco data centers hosting 5G network functions (e.g. user plane function pods, control-plane pods) and associated services (AI pods, edge pods), as traffic load for these services fluctuates cyclically, following daily and weekly patterns. The smart scaling capability has demonstrated a potential to significantly reduce the average number of worker nodes, even in telco datacenters exhibiting mild load fluctuations within a day, thus delivering important energy and cost savings.

Collaboration can drive sustainable innovation

Red Hat brings to the table its experience in developing open source tools, capabilities and methodologies that make sustainability an integral part of the control and management of cloud-native architectures. We also bring our history of more consistent and open collaboration to galvanize a community of original equipment manufacturers (OEMs), independent software vendors (ISVs), customers and policymakers to promote industry-wide sustainability best practices. Data collection and analytics will be key for our customers to make the best decisions based on measuring the right things. Red Hat continues to look at enhancing observability capabilities in conjunction with AI platforms and massive automation to analyze data at scale and make in-time recommendations on actions to take. Together with our customers and partners, we can enable a holistic, data-driven, energy-saving approach across IT, network, edge, core, and cloud environments. 

ผลกระทบของระบบนิเวศด้านโทรคมนาคม ที่วัดผลได้และมีความหมายต่อความยั่งยืน

ผลกระทบของระบบนิเวศด้านโทรคมนาคม ที่วัดผลได้และมีความหมายต่อความยั่งยืน

ผลกระทบของระบบนิเวศด้านโทรคมนาคม ที่วัดผลได้และมีความหมายต่อความยั่งยืน

ริมมา ไออนเทล, หัวหน้าสถาปนิก, เร้ดแฮท
บทความโดยริมมา ไออนเทล, หัวหน้าสถาปนิก, เร้ดแฮท

โครงข่ายโทรคมนาคมปัจจุบันใช้พลังงานประมาณ 3% ของการใช้พลังงานทั้งโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 2% ของการปล่อยก๊าซนี้ทั่วโลก แน่นอนว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกแห่งต้องการลดต้นทุนการดำเนินงานด้านโครงข่ายของตนด้วยการประหยัดพลังงานให้มากขึ้น แต่การจะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้นั้นเป็นเรื่องซับซ้อน มีความท้าทายทุกขั้นตอน และต้องการการทำงานร่วมกันของผู้ที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ทั้งหมด

ผู้ให้บริการจำนวนมากกำลังมองหาแนวทางนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตาม AI อาจทำได้ดีเท่าข้อมูลที่เราป้อนเข้าไปเท่านั้น การรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำมากพอในเรื่องต่าง ๆ เช่น รูปแบบการรับส่งข้อมูลและการใช้พลังงานทั้งบนระบบโครงข่ายแบบดั้งเดิม หรือที่อยู่บนคลาวด์และผู้จัดจำหน่ายหลายราย ยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องการการแก้ไข รวมถึงการนำคำแนะนำต่าง ๆ จาก AI ไปปรับโครงข่ายและเวิร์กโฟลว์ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมแบบเรียลไทม์ ด้วยเครื่องมืออัตโนมัติที่มีอยู่อย่างมากมาย และองค์กรจำเป็นต้องใช้แนวทางแบบองค์รวมร่วมกับโดเมนโครงข่ายทั้งหมดให้มากขึ้น ด้วยการใช้คุณประโยชน์ของโอเพ่นแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ใช้ AI และระบบอัตโนมัติ

โครงสร้างพื้นฐานหลัก 5G แบบเปิด (Open 5G) เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดการใช้พลังงาน

Red Hat, NEC และ Intel ร่วมมือกันเพื่อให้บริการโครงสร้างพื้นฐานหลัก open 5G ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนด้านพลังงานและการใช้พลังงาน ปัจจุบัน NEC สามารถลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของฟังก์ชันส่วนข้อมูลผู้ใช้ (User Plane Function: UPF) แบบ converged 5G ของ NEC บน Red Hat OpenShift ได้มากกว่า 30% ด้วย Intel® Infrastructure Power Manager for 5G Core

ประมวลผลการโทรที่ยั่งยืนและความต่อเนื่องของแพ็คเก็ตที่ทรงพลังมากขึ้น

Red Hat, NEC, Arm และ Qualcomm Technologies, Inc. ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันสาธิตการทำงานแบบครบวงจรของโครงข่ายการเข้าถึงคลื่นวิทยุเสมือน (vRAN) แบบเปิด ของ NEC และผลิตภัณฑ์หลัก 5G ที่ใช้ Qualcomm® X100 5G RAN Accelerator Cards and Arm Neoverse™-based CPUs บน Red Hat OpenShift ในสภาพแวดล้อมที่เทียบเท่าการใช้งานเชิงพาณิชย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประมวลผลการโทรที่ยั่งยืนและความต่อเนื่องของแพ็กเก็ต ผ่านการประหยัดพลังงานและพื้นที่ได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถลดต้นทุนรวม (TCO) ในการใช้ RAN ของผู้ให้บริการได้อย่างมาก

ใช้ Kepler และ AI ตรวจติดตามการใช้พลังงาน

การเทรนด์ให้กับโมเดลและการอนุมานนั้น ต้องใช้พลังงานจำนวนมากที่ระดับคอนเทนเนอร์ พ็อด และเนมสเปซ Kepler ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์สโปรเจกต์ หรือ Efficient Power Level Exporter ที่ทำงานบน Kubernetes รวบรวมตัวชี้วัดด้านการใช้พลังงานจากทุกแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบและนักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าใจ ปรับและวางแผนการใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ Red Hat OpenShift AI ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม MLOps ที่ใช้สร้าง เทรนด์ ปรับใช้ และติดตามการทำงานของแอปพลิเคชัน AI-enabled บน OpenShift ที่สามารถติดตามตรวจสอบการใช้พลังงานร่วมกันเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับการกำหนดค่าระบบและการเตรียมบริการเพื่อให้การแนะนำประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุดต่อการกำหนดค่าวัตต์ ดังนั้นการผสานเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Kepler เข้ากับพอร์ตโฟลิโอด้าน AI ของ Red Hat จึงช่วยให้การใช้ AI มีความยั่งยืนมากขึ้น

วิเคราะห์ AI ที่ edge อย่างประหยัดพลังงาน

Red Hat ทุ่มเททำงานให้กับ IOWN Global Forum โดยคำนึงถึงความยั่งยืน เพื่อช่วยมอบโซลูชันที่ชาญฉลาดมากขึ้นในอนาคต โดยล่าสุด Red Hat, NTT, Fujitsu และ NVIDIA ประสบความสำเร็จในการร่วมกันสาธิตแพลตฟอร์มโซลูชัน IOWN-based ที่ประหยัดพลังงานด้วยดาต้าไปป์ไลน์ที่เร่งความเร็วให้กับบริการวิเคราะห์ข้อมูลของ NTT ทั้งนี้การอนุมาน AI เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลกล้องวิดีโอขนาดใหญ่ที่เอดจ์ (edge) ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องของการลดการใช้พลังงานด้วยการรวม IOWN all-photonics network (APN) และโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (data-centric infrastructure: DCI) ไว้ด้วยกันกับ Red Hat OpenShift เพื่อให้บริการการวิเคราะห์ข้อมูล AI ขนาดใหญ่

การทำงานร่วมกันครั้งนี้ เราพบว่าแม้จะมีการเชื่อมต่อกล้องจำนวนมาก ลาเทนซีที่จำเป็นในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ลดลงได้ 60% เมื่อเทียบกับลาเทนซีของคลาวด์แบบรวมศูนย์ การใช้เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์กับ Red Hat OpenShift ช่วยให้ NTT สามารถประมวลผลการวิเคราะห์ AI ได้อย่างยืดหยุ่นและไม่ยุ่งยาก ทั้งยังพิสูจน์ว่าสามารถนำโซลูชันนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์วิดีโอ AI ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เรื่องของเมืองอัจฉริยะ ไปจนถึงสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันต่าง ๆ ที่ได้จากเซ็นเซอร์จำนวนมากที่อยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ

Red Hat, Intel และ Ericsson ลดการใช้พลังงานของโครงข่าย

Red Hat, Intel และ Ericsson ให้ความสำคัญเบื้องต้นกับโครงข่ายการเข้าถึงคลื่นวิทยุ (RANs) และสามารถสาธิตให้เห็นว่ามีการประหยัดพลังงานที่ใช้ในการประมวลผลได้ถึง 20% ด้วยการใช้โปรเซสเซอร์ 4th Gen Intel® Xeon® Scalable บวกกับแรงเสริมของ vRAN โซลูชันดังกล่าวนี้มีแกนหลักสามส่วน คือ 1)-ฮาร์ดแวร์ ซึ่งรวมถึงเซิร์ฟเวอร์และตัวเร่งความเร็วที่ประหยัดพลังงาน 2)-ซอฟต์แวร์ เช่นการสเกล CPU cores สำหรับเวิร์กโหลด RAN distributed unit (DU) และ centralized unit (CU) ได้แบบไดนามิกและเรียลไทม์ และ 3)-ระบบอัตโนมัติ เช่น ระบบอัตโนมัติที่ช่วยให้รู้สถานะการใช้พลังงานซึ่งอิงตามการใช้งานโครงข่ายและรูปแบบการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ แบบเรียลไทม์

สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ด้านโทรคมนาคมอย่างชาญฉลาด

Red Hat และ Intracom Telecom กำลังทำงานร่วมกันเพื่อให้บริการโซลูชันที่ปรับโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่บน OpenShift ให้เหมาะสม (ทั้งระบบที่ติดตั้งในองค์กรและบนคลาวด์) ด้วยการปรับเวิร์กโหลดของเซิร์ฟเวอร์ในเชิงรุก และปิดเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ได้ใช้งานอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อแก้ปัญหาการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพและความเสถียรของเวิร์กโหลด โซลูชันนี้เหมาะกับคอนเวิร์จดาต้าเซ็นเตอร์ด้านโทรคมนาคมที่โฮสต์ฟังก์ชันโครงข่าย 5G เป็นอย่างมาก (เช่น พ็อดฟังก์ชันของผู้ใช้, พ็อดควบคุมต่าง ๆ) และบริการที่เกี่ยวข้อง (AI pods, edge pods)

ร่วมมือกันเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ยั่งยืน

Red Hat นำประสบการณ์ด้านต่าง ๆ สู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง เช่นประสบการณ์ด้านการพัฒนาเครื่องมือโอเพ่นซอร์สที่หลากหลาย, ความสามารถและวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ความยั่งยืนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมและบริหารจัดการสถาปัตยกรรมคลาวด์-เนทีฟ Red Hat ยังคงมองหาการเพิ่มขีดความสามารถผ่านแพลตฟอร์ม AI และระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามขนาดและปริมาณที่ต้องการ ทั้งยังร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตร เพื่อนำเสนอแนวทางประหยัดพลังงานแบบองค์รวมที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนให้กับระบบไอที, โครงข่าย, เอดจ์, คอร์, และคลาวด์

SC ASSET X Think of Living จัดกิจกรรม A Place Called Home ครั้งที่ 3 ชวนร่วมประกวดถ่ายภาพบ้าน 4 โครงการใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “สวยอยู่ได้” ลุ้นรางวัลกว่า 240,000 บาท

SC ASSET X Think of Living จัดกิจกรรม A Place Called Home ครั้งที่ 3 ชวนร่วมประกวดถ่ายภาพบ้าน 4 โครงการใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “สวยอยู่ได้” ลุ้นรางวัลกว่า 240,000 บาท

SC ASSET X Think of Living จัดกิจกรรม A Place Called Home ครั้งที่ 3 ชวนร่วมประกวดถ่ายภาพบ้าน 4 โครงการใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “สวยอยู่ได้” ลุ้นรางวัลกว่า 240,000 บาท

Think of Living เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ผู้นำอสังหาริมทรัพย์คุณภาพสูง และ มีนวัตกรรม เปิดตัวโครงการประกวดถ่ายภาพ “A Place Called Home ครั้งที่ 3″ ในหัวข้อ “สวย อยู่ ได้” เชิญชวนผู้ที่มีใจรักในการถ่ายภาพร่วมถ่ายทอดมุมมองความสวยงามของการออกแบบและตกแต่งบ้านที่ผสมผสานอยู่ในทุกการอยู่อาศัย เพียงส่งผลงานภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอเพื่อคัดเลือกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมประกวดภาพถ่าย โดยผู้ผ่านการคัดเลือกเพียง 20 ท่านจะได้สิทธิ์ในการร่วมถ่ายภาพสุด Exclusive กับ โครงการใหม่ของ SC ASSET พร้อมลุ้นเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 240,000 บาท ผู้สนใจสามารถส่งผลงานภาพถ่ายและคลิปวิดีโอได้ตั้งแต่วันนี้10 เมษายนนี้ ผ่านทาง https://thinkofliving.com/events

SC ASSET X Think of Living launch the 3rd A Place Called Home
บรรยายใต้ภาพ (จากซ้ายไปขวา): นายสมยศ วรวุฒิยานนท์ รองหัวหน้าสายงาน ฝ่ายนวัตกรรมสื่อสารการตลาด SC ASSET และ นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์)

นายสมยศ วรวุฒิยานนท์ รองหัวหน้าสายงาน ฝ่ายนวัตกรรมสื่อสารการตลาด SC Asset กล่าวว่า “นอกเหนือจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยคุณภาพ และ มีนวัตกรรมแล้ว  SC ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลงานดีๆ  ผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ที่ได้ร่วมกับ Think of Living จัดกิจกรรม A Place Called Home หลังจากปีที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากช่างภาพมืออาชีพและผู้สนใจทั่วไป  โดย SC มีโครงการบ้านซีรีส์ใหม่หลากหลาย Segment พร้อมฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม เราหวังว่าจะช่วยจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ให้กับผู้เข้าร่วมประกวดได้ครีเอทภาพ และ วิดีโอ ถ่ายทอดออกมาได้หลากหลายมุมมอง และ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น”

นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า “การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน นอกจากจะต้องคำนึงถึงคุณภาพการก่อสร้าง เทคโนโลยีที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย รวมถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโครงการแล้ว การออกแบบที่อยู่อาศัยให้สวยงามน่าอยู่ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความสุขให้กับผู้อยู่อาศัยและสร้างสุนทรียภาพในการอยู่อาศัย

Think of Living ในฐานะของเว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศ หนึ่งในหน้าที่ของเราคือการถ่ายทอดความสวยงามของการออกแบบโครงการ ความใส่ใจ และความพิถีพิถันให้กับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย

โดย SC Asset  ถือเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ชั้นนำ ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงการให้สวยงาม และใส่ใจกับทุกรายละเอียดของการออกแบบไม่ยิ่งหย่อนกว่าปัจจัยอื่น ๆ สะท้อนให้เห็นได้จากทุกโครงการที่อยู่อาศัยของ SC Asset โดยเฉพาะโครงการบ้านเดี่ยว ที่มีการออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์และโดดเด่น ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้บริโภค

ดังนั้น Think of Living จึงได้ร่วมมือกับ SC Asset จัดกิจกรรมประกวดถ่ายภาพและคลิปวิดีโอ “A Place Called Home ครั้งที่ 3” เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ที่มีใจรักในการถ่ายภาพและวิดีโอ ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์และร่วมถ่ายทอดความสวยงามของที่อยู่อาศัยใน 4 แบรนด์โครงการบ้านเดี่ยวของ SC ASSET ที่ได้รับการออกแบบอย่างใส่ใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากช่างภาพมืออาชีพและผู้สนใจทั่วไป  

สำหรับการประกวดในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “สวยอยู่ได้” เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมถ่ายทอดมุมมองความสวยงามที่สามารถอยู่อาศัยได้ ซึ่งความพิเศษในปีนี้คือ สามารถเลือกส่งผลงานได้ทั้งภาพถ่ายและคลิปวิดีโอสั้น (Short Video) เพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลายมากขึ้น โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเพียง 20 ท่านจะได้รับสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมถ่ายภาพสุด Exclusive กับ 4 โครงการบ้านเดี่ยวของ SC ASSET พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 240,000 บาท

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้ที่ชอบการถ่ายภาพและวิดีโอ รวมทั้งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความสามารถและร่วมถ่ายทอดมุมมองความสวยงามที่สามารถอยู่อาศัยได้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการซื้อที่อยู่อาศัยและตกแต่งบ้านเพื่อเติมเต็มความสุขในอนาคต” นายวิทยา กล่าวสรุป

โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 20 ท่าน จะได้รับสิทธิ์ในการร่วมกิจกรรมถ่ายภาพสุด Exclusive ในโครงการบ้านเดี่ยว 4 โครงการจาก SC ASSET ในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 ประกอบด้วย

  • แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด รามอินทรา-เกษตรนวมินทร์ คฤหาสน์หรู 5 ห้องนอน เป็นส่วนตัวเพียง 70 ยูนิต แปลงมุมทุกหลัง ที่ดินใหญ่ 200 ตารางวา ภายใต้บรรยากาศเมือง FLORENCE ประเทศอิตาลี
  • เดอะ เจนทริ เกษตร-นวมินทร์ วิลล่าหรู หลังใหญ่สไตล์ MODERN LUXURY พร้อมพื้นที่นั่งเล่นแบบ Double Volume และลิฟต์ภายในบ้าน ยูนิตน้อยเป็นส่วนตัว เพียง 57 ยูนิต
  • บางกอก บูเลอวาร์ด รามอินทรา 109 บ้านเดี่ยว 5 ห้องนอน 365 ตารางเมตร บ้านหรู ลา-ไน ซีรีส์ บรรยากาศ AUTUMN IN PARIS นครแห่งความโรแมนติก
  • เวนิว ไอดี รามอินทรา-มีนบุรี บ้านเดี่ยวและบ้านแฝดซีรีส์ใหม่สไตล์ MODERN SIMPLICITY

พร้อมส่วนกลางกว่า 2 ไร่ ทำให้การอยู่อาศัยในทุกวันรู้สึกเหมือนอยู่รีสอร์ต บนบรรยากาศ KARUIZAWA เมืองรีสอร์ตของญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 20 ท่านและร่วมกิจกรรมดังกล่าว จะได้รับค่ากรรมสิทธิ์ภาพ 8,000 บาท พร้อมทั้งมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัล BEST PHOTOGRAPHY, BEST SHORT CLIP VDO และ Popular Vote รวมมูลค่ากว่า 240,000 บาท

พิเศษ! ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ร่วมประกวด สามารถร่วมสนุกกับโครงการนี้ได้ง่าย ๆ เพียงกด Like และกด Share พร้อมโหวตภาพที่ประทับใจผ่านทาง Facebook: SC ASSET ระหว่างวันที่ 8-31 พฤษภาคม 2567 ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลพิเศษ บัตร Sizzler มูลค่า 1,000 บาท จำนวน 5 รางวัล (สุ่มรางวัลจากหน้า Facebook เท่านั้น) ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการหรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่้ https://thinkofliving.com/events 

รายละเอียดของโครงการประกวดถ่ายภาพ “A Place Called Home ครั้งที่ 3”

A Place Called Home 2024_Infographic (3)

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้-10 เมษายน 2567 เพียงส่งรายละเอียดและรูปถ่ายที่เข้ากับหัวข้อ “สวยอยู่ได้” ผ่านทาง https://thinkofliving.com/events 

  • ผู้สมัคร 1 คนสามารถเลือกได้ 1 ประเภทการแข่งขันเท่านั้น แบ่งเป็นภาพนิ่ง และวิดีโอ โดยไม่จำกัดจำนวนชิ้นงานที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรม (ภาพและวิดีโอที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพและวิดีโอที่ผู้สมัครถ่ายด้วยตนเอง)
  • ส่งผลงานถ่ายภาพและวิดีโอโดยการแนบลิงก์ผลงานเพื่อพิจารณาผ่านทาง  https://thinkofliving.com/events
  • หากมีช่องทาง Social Media ที่เผยแพร่ผลงานอยู่แล้ว สามารถแนบลิงก์เพิ่มเติมได้
  • หากได้รับการคัดเลือกแล้ว ต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 ได้

การคัดเลือก

  • ทาง Think of Living และ SC ASSET จะทำการคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือเพียง 20 ท่านเท่านั้น โดยจะประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรม 20 ท่าน ผ่านทาง  https://thinkofliving.com/events และ Facebook: Think of Living ในวันที่ 18 เมษายน 2567
  • ผู้ที่ได้รับคัดเลือก 20 ท่าน จะได้ร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ 4 โครงการใหม่ของ SC ASSET ในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 โดยทุกท่านจะได้รับค่ากรรมสิทธิ์ภาพ มูลค่า 8,000 บาท 

วันและสถานที่เข้าร่วมกิจกรรมสำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก

กิจกรรมถ่ายภาพจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 ณ โครงการบ้านเดี่ยว 4 โครงการจาก SC ASSET ได้แก่ 

  • แกรนด์ บางกอก บูเลอวาร์ด รามอินทรา-เกษตรนวมินทร์
  • เดอะ เจนทริ เกษตร-นวมินทร์
  • บางกอก บูเลอวาร์ด รามอินทรา 109
  • เวนิว ไอดี รามอินทรา-มีนบุรี

ของรางวัล 

คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกรางวัล BEST PHOTOGRAPHY และ BEST SHORT CLIP VDO และเปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมโหวตรางวัล Popular vote (Photo) และ Popular vote (Short Clip VDO) โดยประกาศผลรางวัลผ่านทาง https://thinkofliving.com/events สำหรับของรางวัลมีรายละเอียดดังนี้

  • BEST PHOTOGRAPHY จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 20,000 บาท                          
  • BEST SHORT CLIP VDO จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 20,000 บาท            
  • Popular vote (Photo) จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 20,000 บาท                                     
  • Popular vote (Short Clip VDO) จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 20,000 บาท 

พิเศษ! สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ส่งรูปถ่ายและวิดีโอเข้าประกวด สามารถร่วมสนุกกับโครงการนี้ได้ง่าย ๆ เพียงกด Like และกด Share พร้อมโหวตภาพที่ประทับใจผ่านทาง Facebook: SC ASSET ตั้งแต่วันที่ 8-31 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ผู้ร่วมโหวตมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลพิเศษ บัตร Sizzler มูลค่า 1,000 บาท จำนวน 5 รางวัล (สุ่มรางวัลจากหน้า Facebook เท่านั้น) โดยผลงานที่ได้รับรางวัล Popular Vote จะนับจากภาพและวิดีโอที่มียอด Like & Share มากที่สุด 

หมายเหตุ

  • คณะผู้จัดงานและทีมงานผู้เกี่ยวข้องไม่มีสิทธิ์ได้รับของรางวัลใด ๆ จากโครงการประกวด
  • ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องเป็นผู้ชำระภาษี ณ ที่จ่าย 5%
  • ของรางวัลไม่สามารถเปลี่ยนมือหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นได้ และไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้
  • Think of Living ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงของรางวัล กติกาหรือเงื่อนไขในการประกวดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

#สวยอยู่ได้ #APlaceCalledHome #SCASSETxThinkofLiving #SCxTOL