Technology Powers the Green Revolution in the Sports Industry Towards Sustainability Victory

Technology Powers the Green Revolution in the Sports Industry Towards Sustainability Victory

Technology Powers the Green Revolution in the Sports Industry Towards Sustainability Victory

The sports industry has played an increasingly important role on the global sustainabilitystage in recent years. Recognized by the United Nations as a vital contributor to the Sustainable Development Goals (SDGs), the sports world is now setting the pace for environmental responsibility. With the Paris 2024 Games pioneering alignment with the Paris Agreement on Climate Change, the industry is poised to showcase how tech innovations can lead the way in sustainable practices.

The sports industry’s commitment to sustainability is more than a trend; it’s a necessary evolution in a world increasingly aware of its environmental footprint. However, achieving these green goals is a complex challenge. This is where technological innovation steps in as the Most Valuable Player (MVP). It’s also in line with Alibaba Cloud’s commitment to supporting the sports industry and events with innovative AI solutions and trustworthy cloud technologies.

Sustainability Through Technological Innovation

Artificial intelligence (AI) and data analytics have already proven their worth by enhancing athlete performance and redefining fan engagement. Coaches utilize AI for personalized training regimes while minimizing the risk of injury, and media organizations are leveraging AI to streamline content creation and curation, saving time and resources. Looking ahead, AI’s capacity to analyze digital assets will help sports organizations mine insights and repurpose content across multiple channels, enhancing fan experiences while promoting sustainability narratives.

But the influence of technology in advancing sustainability goals extends far beyond the playing field. Let’s examine how leading solutions are being deployed in practical and high-impact scenarios:

Precision Eco-Impact Analytics with AI: Harnessing AI enables meticulous assessment and mitigation of the environmental footprint of sports events, providing data-driven insights for strategic carbon management. AI-driven sustainability platforms, like Alibaba Cloud’s Energy Expert applied during the first ever Olympic Esports Week in Singapore last year, are breaking new ground in quantifying the environmental impact of sporting events. By measuring and analyzing the carbon emissions from temporary constructions, these platforms enable organizers to make insightful decisions that reduce the ecological footprint of major events.

Energy expert’s dashboard shows carbon footprint of temporary construction at the first Olympic Esports Week in Singapore
Energy expert’s dashboard shows carbon footprint of temporary construction at the first Olympic Esports Week in Singapore

Eco-Efficient Cloud Transformation for Mega Sports Events: A transformative approach leverages cloud technologies to slash the carbon footprint of major sporting events, simultaneously enhancing operational efficiency and extending media reach. The Hangzhou Asian Games launched its core systems on Alibaba Cloud, with Alibaba Cloud powering core operational systems, results dissemination, and event management, resulting in a reduction of physical resources and a sustainable overall infrastructure for the event. The Olympics Winter Games Beijing 2022 expanded the use of Alibaba Cloud’s live content delivery platform on the cloud, initially piloted in Tokyo 2020, making the Games more accessible to broadcasters around the world with reduced carbon footprint.

Green Rewards for Sustainable Actions: An innovative incentive system rewards eco-friendly behaviors among event participants and spectators, fostering an environmentally responsible community culture. Alibaba Cloud’s sustainable lifestyle tool introduced at the Hangzhou Asian Games exemplifies how technology can encourage environmentally responsible behavior. By rewarding eco-friendly choices with tangible benefits, such as carbon points, the industry can foster a culture of sustainability among participants and spectators alike.

Interactive Green Playbook for Fans and Organizers: Sports federations and fans are empowered with state-of-the-art, cloud-powered sustainability toolkits that make environmental responsibility an engaging and educational aspect of the sporting experience. Organizations like the International Canoe Federation and the World Baseball Softball Confederation are harnessing cloud technology to create sustainability toolkits and enhance fan experiences. These toolkits assist organizers in adopting renewable energy and sustainable event management practices. Moreover, by infusing sustainability messaging into the fan experience through gamification, these organizations are making environmental responsibility an engaging component of the sporting experience.

Toward a Sustainable Future in Sports

The sports industry’s embrace of technology is unlocking new possibilities for achieving sustainability goals. Through innovative applications of AI, cloud computing, and digital engagement tools, the industry is proving that environmental responsibility can go hand-in-hand with a winning performance. As we race towards a greener future, the sports sector stands as a testament to how embracing technology is not just a strategic move—it’s a necessary leap towards a sustainable planet for all.

As the journey towards a greener future continues, the sports industry is solidifying its position as a leader in sustainability. By making strategic use of technology, it is scoring goals for both the planet and the future of sports. The message is clear: sustainability and performance are not mutually exclusive; they are co-drivers of an industry that champions the wellbeing of our world as much as the thrill of the game.

พลังเทคโนโลยี ปฏิวัติเขียวอุตสาหกรรมกีฬา สู่ชัยชนะแห่งความยั่งยืน

พลังเทคโนโลยี ปฏิวัติเขียวอุตสาหกรรมกีฬา สู่ชัยชนะแห่งความยั่งยืน

พลังเทคโนโลยี ปฏิวัติเขียวอุตสาหกรรมกีฬา สู่ชัยชนะแห่งความยั่งยืน

อุตสาหกรรมกีฬามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีความยั่งยืนระดับโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้ให้การยอมรับว่าอุตสาหกรรมกีฬาเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โลกกีฬาในปัจจุบันกำลังให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก Paris 2024 ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement on Climate Change) ซึ่งชูให้เห็นว่าอุตสาหกรรมกีฬาพร้อมแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยีสามารถนำสู่การใช้แนวปฏิบัติที่ยั่งยืนได้อย่างไร

ความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกีฬาเป็นมากกว่าการตามกระแส แต่เป็นการปฏิวัติที่จำเป็นต้องทำในโลกที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างไรก็ตามการจะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นต้องผ่านความท้าทายที่ซับซ้อน ณ จุดนี้เองที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยและมีบทบาทโดดเด่นเหมือนนักกีฬาที่ได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยม (Most Valuable Player: MVP) ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ Alibaba Cloud ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมกีฬาและการจัดการแข่งขันต่าง ๆ ด้วยโซลูชัน AI ที่เป็นนวัตกรรมล้ำหน้า และเทคโนโลยีคลาวด์ที่เชื่อถือได้ของบริษัทฯ

ยั่งยืนด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

AI และการวิเคราะห์ข้อมูลได้พิสูจน์คุณค่าตัวเองแล้ว ด้วยการเพิ่มสมรรถนะให้กับนักกีฬาและกำหนดนิยามใหม่ให้กับการมีส่วนร่วมของแฟนกีฬา โค้ชใช้ AI เพื่อกำหนดระบบการเทรนด์แบบเจาะจงให้กับนักกีฬาแต่ละคน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บด้วย นอกจากนี้ องค์กรสื่อต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการสร้างและการจัดการคอนเทนต์ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและทรัพยากร ในอนาคต ความสามารถของ AI ในการวิเคราะห์สินทรัพย์ดิจิทัล จะช่วยให้องค์กรกีฬาเจาะลึกข้อมูลเชิงลึกและนำเนื้อหามาใช้ใหม่ได้หลายช่องทาง เป็นการเพิ่มประสบการณ์การรับชมการแข่งขันให้กับแฟนกีฬาพร้อม ๆ กับส่งเสริมเรื่องราวด้านความยั่งยืน

อิทธิพลของเทคโนโลยีต่อเป้าหมายความยั่งยืนนั้นไปไกลมากกว่าในสนามแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นโซลูชันชั้นนำที่มีการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงและได้รับประสิทธิผลสูง

วิเคราะห์ผลกระทบต่อระบบนิเวศได้อย่างแม่นยำด้วย AI: การใช้ AI ช่วยให้ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการจัดแข่งขันกีฬาได้อย่างละเอียด จึงสามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างมาก ทั้งยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าเพื่อใช้บริหารจัดการกลยุทธ์ด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอน แพลตฟอร์มด้านความยั่งยืนที่ใช้ AI เช่น Energy Expert ของ Alibaba Cloud ซึ่งใช้ในการแข่งขัน Olympic Esports Week เป็นครั้งแรกในประเทศสิงคโปร์เมื่อปีที่ผ่านมา กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการจัดงานแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ด้วยการวัดและวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอร์นจากการก่อสร้างสถานที่จัดแข่งขันชั่วคราว นอกจากนี้ แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังช่วยให้ผู้จัดงานตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และส่งผลให้ฟุตพริ้นท์ของระบบนิเวศในการจัดงานสำคัญต่าง ๆ ลดลง

แดชบอร์ดของ Energy Expert แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการก่อสร้างสถานที่จัดงานชั่วคราว ในการแข่งขัน Olympic Esports Week ครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์
แดชบอร์ดของ Energy Expert แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการก่อสร้างสถานที่จัดงานชั่วคราว ในการแข่งขัน Olympic Esports Week ครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์

การทรานส์ฟอร์มไปยังคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ให้กับการจัดมหกรรมกีฬาต่าง ๆ: การเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากมหกรรมกีฬาต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการแข่งขัน และขยายช่องทางการสื่อสารการแข่งขันผ่านสื่อได้อย่างกว้างขวางไปพร้อม ๆ กัน เช่น การรันระบบหลักของการจัดมหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่หางโจว (Hangzhou Asian Games) บน Alibaba Cloud โดยใช้ Alibaba Cloud ขับเคลื่อนระบบการทำงานสำคัญ เผยแพร่ผลการแข่งขัน และบริหารจัดการการจัดงาน ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมของการจัดงานครั้งนั้นมีความยั่งยืน และลดการใช้ทรัพยากรทางกายภาพลงได้ นอกจากนี้ ณ มหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งในปี 2022 (Olympics Winter Games Beijing 2022) ได้มีการขยายการใช้แพลตฟอร์มการจัดส่งเนื้อหาสดบนคลาวด์ของ Alibaba Cloud ซึ่งมีการเริ่มทดลองใช้แพลตฟอร์มนี้เป็นครั้งแรกที่โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (Tokyo 2020) เป็นการช่วยให้ผู้ทำการถ่ายทอดสดทั่วโลกเข้าถึงการแข่งขันได้มากขึ้น และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลง

รางวัลสีเขียว (Green Rewards) มอบให้กับผู้ที่ปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมที่นำสู่ความยั่งยืน: ระบบนี้เป็นการจูงใจด้านนวัตกรรมที่ให้รางวัลกับผู้เข้าร่วมงานและผู้ชมที่มีการกระทำหรือพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ได้มีการแนะนำเครื่องมือไลฟ์สไตล์ด้านความยั่งยืนของ Alibaba Cloud ณ Hangzhou Asian Games เพื่อเป็นตัวอย่างว่าเทคโนโลยีสามารถส่งเสริมการกระทำที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ด้วยการให้รางวัลทางเลือกในการปฏิบัติหรือการเลือกใช้สิ่งต่าง ๆ ที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและเห็นผลที่จับต้องได้ เช่น คะแนนคาร์บอน ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมกีฬาสามารถสนับสนุนวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนทั้งในหมู่ผู้มีส่วนร่วมในการแข่งขันและผู้ชมได้

Interactive Green Playbook สำหรับแฟนกีฬาและผู้จัดงาน: ชุดเครื่องมือด้านความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยคลาวด์ที่ทันสมัยนี้ช่วยเสริมความสามารถให้สหพันธ์กีฬาต่าง ๆ รวมถึงเหล่าแฟนกีฬา ทั้งยังช่วยให้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมกลายเป็นแง่มุมที่น่าศึกษาและน่ามีส่วนร่วมในแวดวงกีฬา องค์กรต่าง ๆ เช่น the International Canoe Federation และ the World Baseball Softball Confederation กำลังใช้เทคโนโลยีคลาวด์สร้างชุดเครื่องมือด้านความยั่งยืนและเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้แฟน ๆ กีฬาของตน ชุดเครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้องค์กรบริหารการจัดงานด้วยแนวทางที่ยั่งยืนและใช้พลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้องค์กรเหล่านี้ยังกำลังทำให้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่แฟนกีฬาจะได้รับ ด้วยการผสานแนวคิดแบบเกมเข้ากับประเด็นด้านความยั่งยืนเพื่อเสริมแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมกีฬา

อุตสาหกรรมกีฬา อ้าแขนรับการนำเทคโนโลยีมาใช้ปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน การใช้นวัตกรรมด้าน AI คลาวด์คอมพิวติ้ง และเครื่องมือการมีส่วนร่วมแบบดิจิทัล เป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมกีฬากำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสามารถไปด้วยกันได้กับสมรรถนะที่ทำให้ชนะการแข่งขัน ในขณะที่เราแข่งกันวิ่งสู่อนาคตสีเขียว อุตสาหกรรมกีฬายืนหยัดเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การเปิดรับและนำเทคโนโลยีมาใช้ ไม่เพียงเป็นการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นก้าวกระโดดที่จำเป็นสู่โลกที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

การเดินทางสู่อนาคตสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังคงดำเนินต่อไป อุตสาหกรรมกีฬากำลังรั้งตำแหน่งผู้นำด้านรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเหนียวแน่น และจะสามารถทำแต้มสู่ความสำเร็จให้กับโลกและอนาคตของกีฬาต่าง ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีกลยุทธ์ ด้วยประเด็นที่ชัดเจนว่า ความยั่งยืนและสมรรถนะในการแข่งขันไม่ได้แยกจากกัน แต่ร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่สนับสนุนและปกป้องความเป็นอยู่ที่ดีของโลกของเราเท่า ๆ กับความตื่นเต้นของการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ฟันเฟืองขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย ภายใต้เศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ฟันเฟืองขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย ภายใต้เศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ฟันเฟืองขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย ภายใต้เศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

ปี 2567 ถือเป็นปีที่มีความสำคัญสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ชาวไทย หลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมานี้ ได้เป็นนิมิตหมายอันดีในการเปิดประตูแห่งความเสมอภาคทางเพศในไทยให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมีกฎหมายมารองรับและให้สิทธิต่าง ๆ แก่คู่รัก LGBTQIAN+ อย่างเท่าเทียม ลดช่องว่างที่สร้างความไม่เสมอภาคทางเพศให้น้อยลงไป ซึ่งหากมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ไทยจะถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย

การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่สำคัญ และเป็นโอกาสของภาครัฐรวมถึงภาคธุรกิจที่จะดึงดูดกำลังซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลจาก LGBT Capital คาดการณ์ว่า อำนาจการใช้จ่ายโดยรวมทั่วโลกของฐานผู้บริโภค LGBTQIAN+ (LGBT-GDP) ในปี 2566 จากจำนวนประชากร 388 ล้านคนทั่วโลก (อายุ 15 ปีขึ้นไป) อยู่ที่ประมาณ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยในจำนวนนี้คิดเป็น LGBTQIAN+ ชาวไทยประมาณ 3.7 ล้านคน และมีอำนาจการใช้จ่ายอยู่ที่ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ และยังเป็นโอกาสของภาคธุรกิจอสังหาฯ ในการตอบโจทย์และเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy)

พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม บันไดก้าวสู่สิทธิพื้นฐานสำหรับคู่รักทุกเพศ

นอกจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมาพร้อมสิทธิในการสมรสที่ครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้ 

  • สิทธิในการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้าง คู่สมรส LGBTQIAN+ จะได้รับสิทธิตามกฎหมายในการหมั้น หรือแต่งงาน ซึ่งสามารถจดทะเบียนสมรสในไทยและใช้สิทธิคู่สมรสได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง รวมไปถึงในกรณีที่ต้องการหย่าร้างทั้งโดยสมัครใจหรือฟ้องหย่า ก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมเช่นกัน
  • สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกัน ช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ สามารถรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้ ต่างจากเดิมที่กลุ่ม LGBTQIAN+ จะสามารถเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมได้เพียงคนเดียว เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายเหมือนคู่ชายหญิง
  • สิทธิในการดูแลชีวิตของคู่สมรสตามกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายได้ในฐานะคู่สมรส และเป็นผู้ตัดสินใจแทนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ยังมีสิทธิรับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรสเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสิทธิประกันสังคม
  • สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส หากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรส LGBTQIAN+ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมายเช่นกัน
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน โดยคู่สมรส LGBTQIAN+ จะมีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งรวมไปถึงการถือครองอสังหาฯ อย่างบ้าน/คอนโดมิเนียมเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเป็นเหมือนบันไดนำพาคู่รัก LGBTQIAN+ ไปสู่สิทธิขั้นพื้นฐานในหลากหลายด้าน รวมไปถึงการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างการเปิดโอกาสในการกู้ร่วมเพื่อซื้ออสังหาฯ ในฐานะคู่สมรส ข้อมูลจากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในภาพรวมของไตรมาส 1 ปี 2567 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เผยว่าผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นกลุ่ม LGBTQIAN+ ถึง 4.9% โดยความต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัย 4 ถือเป็นเทรนด์ที่ปราศจากเพศ (Genderless) และผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ ต่างก็มีความต้องการที่อยู่อาศัยที่ไม่ต่างจากผู้บริโภคในกลุ่มอื่น ดังนั้นจึงควรได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เท่าเทียมกัน

ปลดล็อกความเสมอภาคในการซื้อที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIAN+ ด้วย พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม 

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยว่า แม้ปัจจุบันสังคมไทยจะเปิดรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ยังไม่มีการรับรองความสัมพันธ์แบบคู่สมรสอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลต่อการใช้สิทธิกู้ร่วมในการซื้ออสังหาฯ ของคู่รัก LGBTQIAN+ โดยทั่วไปแล้วหากเป็นการกู้เพียงลำพัง ชาว LGBTQIAN+ จะสามารถยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ทันทีเพียงแต่จะมีข้อจำกัดอยู่ที่ไม่สามารถขอสินเชื่อในฐานะผู้กู้ร่วมได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของธนาคารที่ระบุว่าผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ขณะที่ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่รองรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รัก LGBTQIAN+ จึงทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีผลทางนิตินัย

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเริ่มมีหลายธนาคารที่จัดแคมเปญพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ร่วมกันได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศอีกต่อไป โดยส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดเบื้องต้นที่คล้ายคลึงกัน เช่น 

  • มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
  • มีรายได้มั่นคง โดยมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม (บางธนาคารกำหนดให้ผู้กู้หลักมีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป)
  • พนักงานประจำต้องมีอายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (บางธนาคารไม่มีกำหนด)
  • ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, เปิดบัญชีเงินฝากร่วมกัน, รูปถ่ายงานมงคลสมรส หรือรูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริง ๆ เป็นต้น (บางธนาคารไม่มีกำหนด)

นอกจากนี้ ผู้กู้ยังต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วไป คือต้องมีภาระหนี้ไม่เกิน 30-40% ของรายได้ มีเงินออมอย่างน้อย 10% ของราคาที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีบันทึกการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน โดยวงเงินกู้ที่ได้รับอาจได้ 100% ตามที่ยื่นกู้หรือแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ดี ปัจจุบันธนาคาร/สถาบันทางการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดหนี้เสีย ผู้บริโภคจึงควรเตรียมความพร้อมทางการเงิน โดยมีวินัยในการเก็บออมเงิน ลดภาระหนี้ที่ไม่จำเป็น เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินที่ดีและแสดงความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งจะช่วยให้การยื่นกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ผ่านไปได้ด้วยดี และได้วงเงินที่ครอบคลุมเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากขึ้น

ทางเลือกช่วยให้คู่รัก LGBTQIAN+ กู้ร่วมได้ แม้ยังไม่ได้เป็นคู่สมรส

จากข้อจำกัดในการขอกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQIAN+ ตามที่กล่าวมานั้น จึงทำให้เกิดทางเลือกในการใช้สินเชื่อประเภทอื่นในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยบางธนาคารจะมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME ที่คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวรเพื่อประกอบกิจการได้ เช่น สถานประกอบการพร้อมที่ดิน หรือที่ดินเปล่าเพื่อใช้ดำเนินกิจการ 

อย่างไรก็ดี การใช้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ถือได้ว่าเป็นเพียงทางเลือกในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เนื่องจากมาพร้อมความท้าทายที่ควรพิจารณา ทั้งในเรื่องของระยะเวลากู้นานสุดที่ได้เพียง 10 ปีเท่านั้น ต่างจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งให้ระยะเวลาผ่อนสูงสุดถึง 30-40 ปี และอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ที่มีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั่วไปอีกด้วย ดังนั้น คู่รัก LGBTQIAN+ จึงควรพิจารณาและศึกษารายละเอียดของแคมเปญสินเชื่อต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย โดยคำนึงจากพื้นฐานความเหมาะสมในการอยู่อาศัยจริงและความพร้อมทางการเงินเป็นหลัก 

อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงที่สำคัญเมื่อคู่รักทุกเพศวางแผนจะกู้ร่วมคือกรรมสิทธิ์บ้านจะเป็นของทั้งสองฝ่าย หากในอนาคตมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการจะโอนหรือขายให้แก่ผู้อื่น จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกราย แม้ว่าความจริงผู้กู้หลักจะเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม นอกจากนี้ หากมีปัญหาต้องการกรรมสิทธิ์คืน ผู้กู้อาจจะต้องดำเนินการฟ้องร้องและหาหลักฐานการผ่อนชำระ เพื่อมาสนับสนุนให้เห็นว่าผู้กู้หลักเป็นผู้ผ่อนแต่เพียงผู้เดียวจริง ๆ และอาจใช้เวลาในการฟ้องร้องพอสมควร

ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา ก่อนจะประกาศใช้เป็นกฎหมายในอนาคต ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในไทย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีหลายธนาคาร/สถาบันการเงินที่เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถยื่นเรื่องกู้สินเชื่อร่วมกันได้ผ่านแคมเปญพิเศษ โดยมีเงื่อนไขในการพิจารณาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทยอย่างดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (www.ddproperty.com) ได้รวบรวมข้อมูลธนาคารที่ให้สินเชื่อสำหรับผู้กู้ร่วมที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ในแวดวงอสังหาฯ เพื่อเป็นข้อมูลให้ชาว LGBTQIAN+ ได้ศึกษาประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกที่อยู่อาศัย พร้อมเป็นแหล่งรวมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในหลากหลายทำเลทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยสามารถเตรียมความพร้อมก่อนเป็นเจ้าของบ้านในฝันได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น 

Siemens Enables Thai F&B Industry to Mitigate Energy Challenge, Driving Efficiency and Sustainability

ซีเมนส์สนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ไทย ใช้เทคโนโลยีลดความท้าทายด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

Siemens Enables Thai F&B Industry to Mitigate Energy Challenge, Driving Efficiency and Sustainability

Showcases the Latest Digital Twin Technology and Innovative Solutions at ProPak Asia 2024

Siemens is at the forefront of supporting Thailand’s vision for industry-wide transformation, known as Thailand 4.0. The company is bringing its latest world-class technology and solutions to ProPak Asia 2024, accelerating the food and beverage (F&B) industry’s digital transformation toward a greener and more sustainable future.  The event will be held from June 12-15 at the Bangkok International Trade & Exhibition Centre (BITEC), and Siemens will be at Hall 98, Booth B44.

The F&B sector faces mounting economic pressures, including rising energy and raw material costs. Evolving consumer demands for healthier, more sustainable, and personalized products also present challenges. Data from the Office of Industrial Economics (OIE) reveals the Manufacturing Production Index contracted for the 18th consecutive month in March 2024, with climate change and higher production costs cited as key factors impacting the F&B industry.

To address these issues, companies are increasingly adopting digital technologies to boost productivity and reduce costs. In 2023, approximately 190 million tons of customer emissions were avoided with Siemens’ products and solutions, aligning with sustainable business practices to combat climate change.

Joseph Kong, Head of Digital Industries at Siemens Thailand said, “Siemens is excited to witness the Thai manufacturing industry embracing digitalization and pursuing a journey towards sustainable production.  Our commitment is to support the sustainable digital transformation of the Food and Beverage industry with our comprehensive solutions, encompassing the entire value chain.  At Propak Asia 2024, our showcases will offer industrial operators valuable insights into leveraging these sustainability-focused technologies across design, production, and supply chain management, transforming challenges into opportunities., driving the use of innovation to create a more sustainable future for the industry.

Siemens will showcase cutting-edge solutions capable of accelerating the F&B industry’s digital transformation. Highlights included:

  • Robot Integrator: This solution streamlines robot integration from various manufacturers, reducing software programming and engineering time by up to 30%*. It lowers costs, complexity, and errors while enhancing performance, efficiency, and business agility.
  • Integrated Energy Management System. An ISO 50001-certified end-to-end energy management solutions, ranging from energy data recording to energy analysis. This solutionis a scalable production-related energy monitoring system that can be expanded to generate energy analyses right up to the company-wide level. The solution helps operators sustainably lower energy cost, increase plant productivity and competitiveness.
  • Opcenter Advanced Planning and Scheduling (APS) Software. Optimizing production planning and scheduling ensures efficient production, minimizes downtime and improves customer service. With Siemens Opcenter APS, operator can realize:
    • Up to +25% Productivity – Detect bottlenecks, reduce setup time. Increase machines and tools utilization. Reduce work in progress.
    • Up to -50% Inventory – Reduce waste. Easily identify shortages. Optimize material flow and production synchronization.
    • Up to+50% On-time delivery – Increase availability and efficiency. Reduce lead time.
  • Senseye Predictive Maintenance: By automating machine behavior modeling and directing attention where needed most, this solution cuts machine downtime by up to 50% and maintenance costs by up to 40%, accelerating digital transformation.

With its comprehensive range of cutting-edge solutions, Siemens is leading the charge in drive Thailand’s F&B industry into the digital era, promoting sustainability and addressing the sector’s pressing challenges. For more details, please visit Siemens’s booth B44 at the  ProPak Asia 2024.

ซีเมนส์สนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ไทย ใช้เทคโนโลยีลดความท้าทายด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ซีเมนส์สนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ไทย ใช้เทคโนโลยีลดความท้าทายด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ซีเมนส์สนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ไทย ใช้เทคโนโลยีลดความท้าทายด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ยกเทคโนโลยีดิจิทัลทวินและนวัตกรรมการผลิตล่าสุดสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมาแสดงในงาน ProPak Asia 2024 

ซีเมนส์ เดินหน้าสนับสนุนวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ในการก้าวสู่ยุคดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนมากขึ้น นำเทคโนโลยีและโซลูชันระดับโลกล่าสุด อาทิ Robot Integrator, Integrated Energy Management System, Advanced Planning and Scheduling หรือ APS Predictive Maintenance และอีกหลากหลายนวัตกรรมด้านความยั่งยืน มาร่วมจัดแสดงและสาธิตยูสเคสที่น่าสนใจ ภายในงาน ProPak Asia 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน ศกนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) โดยซีเมนส์จะอยู่ที่ ฮอลล์ 98 บูท B44 

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจรอบด้าน โดยเฉพาะต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภคที่เน้นการดูแลสุขภาพ สินค้าที่ออกแบบเฉพาะบุคคล และการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความยั่งยืน ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนมีนาคม 2567 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ซึ่งมีหลายปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมัน โดยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ในปีงบประมาณ 2566 ผลิตภัณฑ์และโซลูชันจากซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าของบริษัทฯ หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ประมาณ 190 ล้านตัน สอดรับกับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักความยั่งยืนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ซีเมนส์รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นอุตสาหกรรมการผลิตไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้และเดินหน้าสู่เส้นทางการผลิตที่ยั่งยืน เรามุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรม F&B ไปสู่การใช้โซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดของอุตสาหกรรม การจัดแสดงโซลูชันของซีเมนส์ ภายในงาน Propak Asia 2024 ครั้งนี้จะช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฯเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นความยั่งยืน ตั้งแต่ส่วนการออกแบบ (Design) ส่วนการผลิต (Production) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาส ผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมฯ

เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลท์ของซีเมนส์ที่จัดแสดงในงาน ProPak Asia 2024 ประกอบด้วย

  • Robot Integrator: ปัจจุบันภาคการผลิตมีการใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์อย่างแพร่หลาย จากผู้ผลิตต่างแบรนด์ ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อน สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการจัดการ ทั้งนี้โซลูชัน Robot Integrator ผนวกรวมการจัดการหุ่นยนต์จากผู้ผลิตหลายรายเข้าด้วยกันภายใต้ Interface เดียว ลดเวลาการเขียนโปรแกรมและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ลงถึง 30%* สามารถช่วยให้อุตสาหกรรม F&B ได้รับประโยชน์ในสองด้านหลัก ๆ ได้แก่ ด้านการทำวิศวกรรม และด้านการปฏิบัติงาน ช่วยลดความผิดพลาดและการซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ
  • Integrated Energy Management System: ซอฟต์แวร์โซลูชันในการตรวจสอบจัดการพลังงานครบวงจรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 50001 โดยโซลูชันนี้จะบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์การใช้พลังงานหลากหลายประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิต สามารถปรับขยายได้ (Scalable) สามารถให้ข้อมูลการใช้พลังงานในส่วนย่อยไปจนถึงภาพรวมของทั้งองค์กร ช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นภาพรวมสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืน พร้อมเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
  • Opcenter Advanced Planning and Scheduling (หรือ APS): ซอฟต์แวร์ช่วยการวางแผนและกำหนดตารางการผลิตขั้นสูง ที่มีความสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและกำหนดตารางการผลิต ลดเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักร เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ประโยชน์เด่นของ Opcenter APS
    • เพิ่มผลผลิตขึ้นได้สูงสุดถึง 25% ด้วยการตรวจจับอุปสรรคคอขวดในระบบ ลดเวลาการตั้งค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการนำเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ และลดงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการลง
    • ลดการเก็บสินค้าคงคลังลงได้สูงสุดถึง 50% โดยลดของเสียในระบบ ระบุสาเหตุการขาดแคลนสินค้าได้อย่างง่ายดาย พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของวัสดุและการซิงโครไนซ์ด้านการผลิต
    • การจัดส่งตรงเวลาเพิ่มขึ้นได้สูงสุดถึง 50% โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งาน ลดระยะเวลาการรอคอยสินค้า
  • Senseye Predictive Maintenance: โซลูชันการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์นี้ช่วยจัดการกับความท้าทายของผู้ผลิตในการบริหารการบำรุงรักษาสินทรัพย์ ด้วยเทคโนโลยี AI ชั้นนำที่สามารถสร้างแบบจำลองพฤติกรรมของเครื่องจักรและผู้ดูแลแบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรไปใช้ในจุดที่มีความจำเป็นสูงสุด ลดเวลาเครื่องจักรหยุดทำงานลงสูงสุดถึง 50% ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงสูงสุดถึง 40% แพลตฟอร์มนี้ยังช่วยเร่งกระบวนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันขององค์กรได้อีกด้วย

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และร่วมสัมผัสนวัตกรรมซีเมนส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไปสู่ดิจิทัล ในงาน ProPak Asia 2024 ภายใต้คอนเซ็ปต์ Go Digital, Become Sustainable ได้ที่ Siemens ProPak Asia 2024