เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพลิกฟื้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ให้อยู่รอดหลังการแพร่ระบาดอย่างไร

เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพลิกฟื้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ให้อยู่รอดหลังการแพร่ระบาดอย่างไร

กลยุทธ์ดิจิทัลไม่เพียงช่วยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้ไปต่อ แต่ยังช่วยให้เติบโตต่อไปแม้ยังมีการแพร่ระบาด

โดย เชอรี่ หวง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความร่วมมือกับผู้ค้าทั่วโลกของอาลีเพย์ ประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาลีเพย์_Alipay

เราไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของอาหารที่นอกจากจะทำให้เราอิ่มท้องแล้ว ยังช่วยให้เรารู้สึกสบายใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของ Social distancing ที่ไม่ว่าจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่คุณสั่งมาตอนเที่ยง การตั้งโต๊ะกินชาบูกับเพื่อนๆ หรือการลิ้มลองครัวซองต์แสนอร่อยจากร้านเบเกอรี่ใกล้บ้านช่วงที่คุณต้อง WFH นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว รสชาติที่คุ้นเคยยังช่วยให้คุณผ่อนคลาย เสริมสร้างกำลังใจในยามที่โลกกำลังมองหาหนทางในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

ในความเป็นจริง ธุรกิจบริการด้านอาหารกำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายย่อยที่มีความเปราะบาง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ขณะที่การแพร่ระบาดส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร

แนวโน้มสำคัญที่เราพบเห็นคือ ผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ในเอเชีย ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกแง่มุมของชีวิตประจำวัน  ข้อมูลจาก Deloitte ชี้ว่า ผู้ใหญ่วัย 21-40 ปีเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์ (Digital Life) อย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดย 78% ระบุว่าใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาด

สำหรับธุรกิจ F&B แบบเดิม ๆ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในเอเชีย แพลตฟอร์มบริการส่งอาหาร Fly-Food ในไทย ได้นำเสนอโซลูชั่นภายใต้ความร่วมมือกับอาลีเพย์ (Alipay) เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในไทย โดยมุ่งเน้นบริการส่งอาหารจีนให้กับชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

ตั้งแต่ต้นปี 2563 แพลตฟอร์ม Fly-Food ที่มีฐานธุรกิจหลักอยู่ในไทย มุ่งเน้นการให้บริการแก่ชาวจีนที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัวมินิโปรแกรมบน Alipay โดยบริษัทฯ คาดการณ์ว่าน่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้ชาวจีนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก และอาหารท้องถิ่นของจีนน่าจะเป็นหนทางหนึ่งในการบรรเทาจิตใจชาวจีนให้หายคิดถึงบ้านเกิดได้

การดำเนินการที่รวดเร็วของธุรกิจสตาร์ทอัพรายนี้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่า แม้สถานการณ์แพร่ระบาดจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบัน Fly-food มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยสูงถึง 700 รายการต่อวัน และมีร้านอาหารเข้าร่วมแพลตฟอร์มมากขึ้น โดย 40 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหารทั้งหมด (ประมาณ 1,500 ร้าน) เข้าร่วมแพลตฟอร์มหลังเกิดการแพร่ระบาด และหลายร้านมีรายได้ที่มากกว่าครึ่งมาจากออเดอร์ที่สั่งผ่าน Fly-Food เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าในการกำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิทัล ธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก

แนวคิดที่ว่า “ทำเลคือสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ” ยังคงเป็นความจริงแม้กระทั่งในยุคดิจิทัล กล่าวคือ ธุรกิจจำเป็นที่ต้องอยู่ในจุดที่ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวก โดยนอกจากจะมีหน้าร้านบนระบบดิจิทัลแล้ว ยังต้องทำประชาสัมพันธ์ และทำให้ลูกค้าสามารถค้นหาธุรกิจของคุณได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะผ่านแอพส่งอาหาร แพลตฟอร์มบริการดิจิทัลไลฟ์ หรือเว็บไซต์ของคุณเอง

ตัวอย่างเช่น ทรูมันนี่ (TrueMoney) บริการดิจิทัลวอลเล็ท ได้เปิดตัวฟีเจอร์ “ร้านค้าใกล้คุณ” ในช่วงการแพร่ระบาด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาร้านค้าในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงร้านอาหารข้างทางและร้านสาขา ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารโดยไม่ต้องเดินทางไกล  ขณะเดียวกันฟีเจอร์นี้ก็มีประโยชน์ต่อร้านค้า เพราะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เทรนด์การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเริ่มก่อตัวขึ้นในธุรกิจ F&B เห็นได้จากธุรกิจที่มีหน้าร้านตามปกติก็เริ่มหันไปใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขายสินค้าในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรกำนัลสำหรับรับประทานอาหาร เพื่อดึงดูดนักช้อปออนไลน์ให้เข้ามารับประทานอาหารที่ร้านในแบบออฟไลน์

ปัจจุบัน ผู้บริโภคใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และมองหาหนทางในการลดการสัมผัส โดยหันไปใช้บริการที่ไว้ใจได้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง  ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน  ความสามารถในการจองผ่านระบบออนไลน์ การชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล เครือข่ายการจัดส่งสินค้าที่มีความคล่องตัวสูง ทั้งหมดนี้คือแง่มุมสำคัญในการพิจารณาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางด้านดิจิทัล ควบคู่กับการดำเนินงานที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ

รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังแก่ธุรกิจในแต่ละประเทศ เช่น สำหรับงบประมาณปี 2564 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศแผนการจัดสรรงบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับโครงการใหม่ ๆ รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนสนับสนุนบางส่วนแก่องค์กรต่าง ๆ ในการปรับใช้โซลูชั่นดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โครงการ Hawkers Go Digital ของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ได้รับการตอบรับที่ดี โดยจากตัวเลขการลงทะเบียนจนถึงเดือนสิงหาคม 2563 พบว่าเกือบหนึ่งในสามของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยราว 18,000 รายทั่วประเทศสิงคโปร์ได้เข้าร่วมโครงการนี้

แพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วโลกสามารถร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี เพื่อมองหาหนทางใหม่ ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจท้องถิ่นเพื่อการเข้าถึงลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งอาหาร การสั่งซื้อทางออนไลน์แล้วไปรับสินค้าที่ร้าน การสำรองที่นั่ง หรือการเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการส่งเสริมการขายและการทำตลาด  ด้วยการทำงานและผนึกกำลังร่วมกัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ ธุรกิจ F&B จะสามารถฟันฝ่าวิกฤติและสร้างอนาคตใหม่ที่สดใสได้อย่างแน่นอน

ทรูมันนี่ สนับสนุนร้านค้าเติบโต เปิดบริการแอปฯ ระบบสมาชิกครบวงจร ‘Membership Mini Program’ บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ช่วยเพิ่มฐานลูกค้าใหม่และยอดขาย สู้วิกฤติโควิด-19”

ทรูมันนี่ สนับสนุนร้านค้าเติบโต เปิดบริการแอปฯ ระบบสมาชิกครบวงจร ‘Membership Mini Program’ บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ช่วยเพิ่มฐานลูกค้าใหม่และยอดขาย สู้วิกฤติโควิด-19”

ตั้งเป้าขยายฐานบริการครอบคลุม 500 ร้านค้า และช่วยร้านค้าหาสมาชิกรวม 2 ล้านราย พร้อมเตรียมต่อยอดฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อเพิ่มยอดขายแก่ร้านค้าเพิ่มเติม ภายในปี 2564

ทรูมันนี่ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำการเป็น Super App ที่ครอบคลุมทั้งด้านการใช้จ่าย การเงิน การลงทุน ล่าสุดรุกคืบตลาด B2B ครั้งใหญ่เปิดตัวบริการ Membership Mini Program’ มินิแอปฯ บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่มาพร้อมแพลตฟอร์มบริหารจัดการระบบสมาชิกลูกค้าแบบครบวงจร ใช้งานง่าย สามารถปรับแต่งแอปฯ เองได้ตามความต้องการ และช่วยให้ร้านค้าและผู้ประกอบการที่ต้องเผชิญความท้าทายในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 สามารถขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้ใช้ทรูมันนี่กว่า 17 ล้านราย และเสริมความแกร่งด้าน CRM กับลูกค้าที่มีอยู่ อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ร้านค้าได้รับข้อมูลลูกค้า รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่าย และสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรูมันนี่ตั้งเป้าให้บริการ ‘Membership Mini Program’ ครอบคลุม 500 ร้านค้า และช่วยร้านค้าสมัครสมาชิกรวม 2 ล้านรายภายในปี 2564

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีที่หลายธุรกิจต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงรวมถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เครื่องมือและช่องทางการทำตลาดแบบดิจิทัลที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการลูกค้า และสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดี ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกผู้ประกอบการมองหาและต้องการนำมาปรับใช้เพื่อเร่งศักยภาพของธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ ทรูมันนี่ จึงใช้ความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี เครือข่าย และทีมงานของเรา ในการนำเสนอบริการที่สามารถช่วยให้ร้านค้าสามารถบริหารจัดการและขยายฐานลูกค้าของพวกเขาได้ผ่านแอปพลิเคชั่นของเรา ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคด้านต้นทุนเทคโนโลยี บุคลากร และการจัดการ CRM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทรูมันนี่ ที่มุ่งทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงนวัตกรรมการเงิน และสร้าง Financial Inclusion ทั้งกับผู้ใช้และร้านค้าธุรกิจ”

นายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ทรูมันนี่เล็งเห็นถึงความท้าทายและความต้องการของร้านค้าและผู้ประกอบการที่ต้องการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้ในช่องทางใหม่ ๆ เพื่อปรับตัวรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ เราจึงได้พัฒนา “Membership Mini Program” ซึ่งเป็นมินิแอปฯ บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่มาพร้อมแพลตฟอร์มจัดการระบบสมาชิกครบวงจรแบบสำเร็จรูปสำหรับร้านค้า ทำหน้าที่ช่วยบริหารจัดการลูกค้าแก่ธุรกิจเพื่อเพิ่มยอดขายและขยายฐานลูกค้าใหม่ ผ่านฟีเจอร์ต่างๆ อาทิ การสมัครสมาชิกในคลิกเดียว มอบคูปองส่วนลด และสะสมคะแนนอัตโนมัติจากการใช้จ่ายด้วย TrueMoney Wallet ฯลฯ โดยนอกเหนือจากเรื่องของ Membership แล้ว Mini Program ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ร้านค้าได้รับข้อมูลลูกค้า รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่าย และสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“โดยตั้งแต่ทดลองให้บริการราว 7 เดือนก่อนหน้านี้ เราได้รับความไว้วางใจจากร้านค้าชื่อดังกว่า 20 ร้านทั้งในหมวดหมู่ของ Food ได้แก่ กาแฟมวลชน ซูกิชิ โชนัน เบรดทอล์ค โยเกิร์ทแลนด์ บัน เฮลโหลโยเกิร์ท A&W ทาโก้เบล เพนกวินกินชาบู เยลลี่ยัวส์ ดัคกาลบี้ ยูแอนด์ไอ ทิมโฮวาน โฮมเบเกอรี พระราม 9 ไก่ย่าง รวมถึงกลุ่ม Non-Food ได้แก่ เนลอิทโตเกียว แลชชูรี APEX และอีซี่คัท พร้อมช่วยให้ร้านค้าเหล่านี้สามารถสมัครสมาชิกลูกค้าของเขาผ่านแอปฯ ของเราไปแล้วมากกว่า 400,000 ราย และที่สำคัญจากการเปรียบเทียบการใช้จ่ายของลูกค้าที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกบน Membership Mini Program พบว่า ลูกค้าที่เป็นสมาชิกมียอดการใช้จ่ายที่ร้านต่อเดือนมากกว่าลูกค้าที่ไม่เป็นสมาชิกถึง 27% และลูกค้าที่เป็นสมาชิกแล้วมีอัตราการกลับมาใช้จ่ายในเดือนถัดมามากกว่าลูกค้าที่ไม่เป็นสมาชิกถึง 3 – 4 เท่า โดยเราตั้งเป้าว่าจะสามารถนำเสนอบริการ ”Membership Mini Program” เข้าถึงร้านค้ากว่า 500 ร้าน และช่วยสมัครสมาชิกรวมกว่า 2 ล้านรายผ่านแพลตฟอร์มของเราภายในสิ้นปี 2564 นี้” นายนิรันดร์ กล่าว

ทั้งนี้ฟีเจอร์และบริการที่โดดเด่นของ ‘Membership Mini Program’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการระบบสมาชิกลูกค้าแบบครบวงจรสำหรับร้านค้าบนแอปฯ TrueMoney Wallet ได้แก่

  1. Mini-App Icon on TrueMoney Wallet: Icon โลโก้แบรนด์ร้านค้าของคุณบนแอปฯ TrueMoney Wallet เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ และเข้าถึงผู้ใช้กว่า 17 ล้านคน
  2. One-Click Membership: ระบบการสมัครสมาชิกสำหรับลูกค้าที่ง่ายและรวดเร็ว สมัครได้ในคลิกเดียว ลูกค้าที่สมัครไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ เนื่องจากหลังจากกดอนุญาต ก็สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ใช้กับบัญชีทรูมันนี่ได้เลย นอกจากนี้ ข้อมูลยังมีความแม่นยำและปลอดภัยเนื่องจากผ่านขั้นตอนการยืนยันตัวตนของแอปฯ TrueMoney Wallet มาแล้ว
  3. E-Coupon & Promo Code: มอบคูปองส่วนลดหรือข้อเสนอกิจกรรมการตลาดแก่ลูกค้าผ่าน e-coupon ในแอปฯ เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งสามารถรองรับคูปองออนไลน์สำหรับใช้บนเว็บไซต์ร้านค้าได้ด้วย
  4. Loyalty Points with Point Mall Catalogue: การเก็บคะแนนสะสมและแลกคะแนนสำหรับลูกค้าสมาชิกที่ใช้จ่ายผ่าน TrueMoney Wallet ที่ร้านค้า พร้อม Rewards e-Catalogue ที่ชื่อ Point Mall แสดงรายการของรางวัล/คูปองที่ลูกค้าสามารถแลกได้
  5. Auto Point Collection from Payment: สะสมคะแนนอัตโนมัติจากการใช้จ่ายด้วย TrueMoney Wallet ไม่ต้องโชว์บัตร หรือบอกเบอร์ ลูกค้าสะดวก หน้าร้านลดภาระงาน
  6. Product Showcase / Online Menu: ร้านค้าสามารถแสดงลิสต์สินค้า พร้อมรูป และราคา ในรูปแบบ Product e-Catalogue / Online Menu ซึ่งสามารถแยกประเภทและหมวดหมู่ หรือตามสาขาได้ ร้านอาหารสามารถใช้ฟีเจอร์นี้เป็นเมนูออนไลน์ของร้านได้
  7. Auto Push Notification: ส่งข้อความอัตโนมัติหาลูกค้าตามพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ส่งหาลูกค้าที่ไปใช้จ่ายที่ร้านประจำแต่ยังไม่เป็นสมาชิก ส่งหาสมาชิกที่สมัครมาแล้วแต่ยังไม่มาเก็บคูปอง รวมถึงให้ไปใช้คูปองก่อนหมดอายุ หรือคอยแจ้งเตือนคะแนนสะสมของลูกค้าให้นำคะแนนไปใช้ เพื่อสร้างการกลับมาใช้จ่ายที่ร้านค้าอย่างต่อเนื่อง

โดยแพลตฟอร์มทั้งหมดนี้ ได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ร้านค้าสามารถปรับแต่งหน้าตาของ Mini Program สำเร็จรูปได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายและการใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหากต้องการความช่วยเหลือ ทรูมันนี่ก็มี Technical Support พร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

“การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจออนไลน์ และการทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากพฤติกรรมลดการใช้เงินสดของผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจหลากหลายต่างมองหาเครื่องมือเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่ต้องมีความคล่องตัวสูง ซึ่งระบบ CRM (Customer Relationship Management) คือ หัวใจสำคัญที่สามารถช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้  ประกอบกับนวัตกรรมอีวอลเล็ทวันนี้พัฒนาไปไกลมากกว่าแค่เรื่องการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและการลงทุน แต่ยังสามารถเป็นระบบหลังบ้านให้แก่ธุรกิจร้านค้าเพื่อใช้ทำความเข้าใจและบริหารจัดการลูกค้า นำเสนอแคมเปญการตลาด และเข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในอนาคตทรูมันนี่ยังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ บน Membership Mini Program เพื่อช่วยผลักดันยอดขายให้กับผู้ประกอบการเพิ่มเติม อาทิ การจำหน่ายคูปองส่วนลด, บริการจัดส่งสินค้าและอาหาร (เชื่อมโยงกับระบบคูปอง และการสะสมคะแนน) เป็นต้น ขอให้ผู้ใช้รวมถึงลูกค้าที่สนใจลองสมัครสมาชิกร้านค้าที่ตนชื่นชอบและรอติดตาม” นายนิรันดร์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่สนใจบริการ “Membership Mini Program” ในแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet สามารถคลิกดูรายละเอียดต่าง ๆ และลงทะเบียนเพื่อให้เจ้าหน้าทีติดต่อกลับได้ที่ https://www.truemoney.com/membership-miniprogram/?utm_source=news หรือติดต่อทาง LINE: @tmnminiprogram

ทำความรู้จัก “ข้อมูลส่วนบุคคล” และ “การล่อลวงแบบฟิชชิ่ง”

ทรูมันนี่

ทำความรู้จัก “ข้อมูลส่วนบุคคล” และ “การล่อลวงแบบฟิชชิ่ง”

ทรูมันนี่จัดเต็ม 4 มาตรการความปลอดภัย เสริมเกราะการใช้จ่ายผ่านอีวอลเล็ทให้แก่ผู้ใช้งาน พร้อมเสนอยึดหลัก “3ร” ป้องกันตกเป็นเหยื่อล่อลวงทางการเงินในยุคไซเบอร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตตั้งแต่เราลืมตาตื่นจนเข้านอน หลายคนใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมผ่าน e-Money อยู่เป็นประจำ ข้อมูลจาก ธปท. ระบุจำนวนบัญชี e-Money ณ ธันวาคม 2563 มีมากกว่า 107 ล้านบัญชี ยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลและกระแสการใช้จ่ายผ่านออนไลน์มีความสะดวกและเติบโตมากขึ้นเท่าไร กลโกงของมิจฉาชีพก็เพิ่มความแนบเนียนและมีความหลากหลายมากขึ้นเท่านั้น จนเกิดกรณีที่มีผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อย ๆ ซึ่งสิ่งที่มิจฉาชีพต้องการจากเราหลัก ๆ นอกจาก “เงิน” แล้ว ก็ยังมี “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่มักใช้กลลวงให้ได้มาโดยวิธีที่เรียกว่า ‘ฟิชชิ่ง’ (Phishing) ซึ่งก็คือการเอาเหยื่อล่อให้เราหลงเชื่อและทำตาม โดยใช้ชั้นเชิงปลอมแปลงแม้กระทั่งชื่อผู้ส่งข้อความ SMS ไปที่เบอร์ของเหยื่อพร้อมแนบลิงค์ไปยังเว็บที่ทำขึ้นปลอมและแสร้งเป็นผู้ให้บริการต่าง ๆ เพื่อให้เหยื่อหลงกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องมีสติและใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อได้รับการติดต่อในรูปแบบดังกล่าว

 

ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร?

ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนหรืออัตลักษณ์ของบุคคลนั้น ๆ ได้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่จะทำให้คนที่ได้ข้อมูลชุดนั้นไปสามารถเข้าถึงโปรไฟล์ของบริการต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูล อาทิ บัตรประชาชน ใบขับขี่ ทะเบียนบ้าน รูปภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิตรวมถึงเลขหลังบัตร เบอร์มือถือ ชื่อผู้ใช้ (Username) รหัสผ่าน (Password) และอาจรวมถึงรหัสผ่านแบบใช้ได้ครั้งเดียวหรือ OTP (One Time Password) ที่อาจผูกอยู่กับบริการหรือแอปฯ ทางการเงินต่าง ๆ ของเรา เป็นต้น ซึ่งมิจฉาชีพพอได้ไปแล้วก็สามารถเอาไปทำธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เสมือนเป็นเจ้าของข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว

ฟิชชิ่ง_ทรูมันนี่

การล่อลวงฟิชชิ่ง (Phishing) อันตรายแค่ไหน จะระวังหรือป้องกันตัวอย่างไร?

Phishing หากแปลจากเสียงอ่านก็เหมือนกับ “การตกปลา” ซึ่งการจะตกปลาให้ได้นั้นต้องใช้ “เหยื่อล่อ” ซึ่ง Phishing เป็นหนึ่งในกลโกงที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยวิธีที่มิจฉาชีพมักใช้เพื่อล่อเอาข้อมูลส่วนบุคคลของเรานั้นหลากหลายและบางครั้งก็แนบเนียนมาก ตั้งแต่การส่งอีเมล ข้อความทางแชต หรือ SMS พร้อมลิงก์ปลอมโดยแอบอ้างชื่อหรือโลโก้แบรนด์อื่น รวมถึงปลอมแปลงเอกสารทางการเกี่ยวกับบริษัทเพื่อให้ดูเหมือนน่าเชื่อถือก็มีมาแล้ว จากนั้นก็นำเสนอสินค้าหรือบริการ อาทิ เล่มเกม ลงทุน เสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ฯลฯ หรือแม้แต่สวมรอยเป็นหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงินที่น่าเชื่อถือ ติดต่อเราโดยการโทร ส่งข้อความ อีเมลสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ จนเราหลงเชื่อและลวงให้เราทำตามขั้นตอน เช่น คลิกลิงค์ บอกข้อมูลส่วนตัวสำคัญ ๆ  จนไปถึงให้ OTP แล้วก็ใช้ข้อมูลของเราล็อกอินเข้าบัญชีแอปฯ การเงินเพื่อเปลี่ยนการแจ้งเตือน รวมถึงดูดเงินออกจากบัญชี

ด้วยความห่วงใยความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการเงินของผู้ใช้ ทรูมันนี่ ในฐานะผู้ให้บริการอีวอลเล็ทชั้นนำในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องความปลอดภัยและมี 4 มาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันความปลอดภัยและดูแลผู้ใช้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการทรูมันนี่ได้อย่างสบายใจ ได้แก่

ทรูมันนี่_ฟิชชิ่ง
    1. ระบบความปลอดภัยระดับโลก เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดให้สอดคล้องกับนโยบาย Digital ID ทรูมันนี่ได้นำเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า Biometric Facial Recognition (e-KYC) มาใช้ เพื่อช่วยป้องกันการฉ้อโกงทางออนไลน์และทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในการทำธุรกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ การยืนยันตัวตนในระดับสูงสุด เช่น การไปเสียบบัตรประชาชนที่หน่วยให้บริการและสแกนใบหน้า ยังช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการใหม่ ๆ เช่น การฝากเงินดอกเบี้ยสูงผ่านแอปฯ ซึ่งสอดคล้องกับระดับการยืนยันตัวตนที่ภาครัฐกำหนดในการใช้บริการดังกล่าว
    2. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการจะถูกจัดเก็บตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยระดับสากลตามที่กฏหมายกำหนด โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นจะนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์การให้บริการเท่านั้น
    3. ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยง ที่ได้รับใบรับรอง Professional Security Certifications ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกที่ได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชั่นและดูแลป้องกันการฉ้อโกงโดยร่วมมือกับหน่วยงานป้องกันและปราบปราม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐฯ นอกจากนี้ยังมีศูนย์บริการ “Service Monitoring Center” เพื่อคอยตรวจสอบคุณภาพบริการและระบบเครือข่ายต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง
    4. TrueMoney Customer Care คอยดูแลอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานให้อุ่นใจในการทำธุรกรรมการเงิน พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือเมื่อพบปัญหา หรือมีข้อสงสัยในการใช้งาน สามารถติดต่อได้ทั้งช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชั่น และ Call Center 1240 ตลอด 24 ชั่วโมง

โดย ทรูมันนี่ นำเสนอแนวทางป้องกันการถูกล่อลวงโดยยึดหลัก “3ร” ดังนี้

    • ร – ระมัดระวัง… ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวใด ๆ แก่ผู้ติดต่อเข้ามาทั้งที่ไม่แน่ใจและไม่ได้ตรวจสอบก่อน ให้สังเกตความผิดปกติต่าง ๆ จากการติดต่อสื่อสารที่ได้รับ อาทิ ชื่อลิงค์เว็บไซต์ไม่ตรงกับแบรนด์ที่แอบอ้าง การขอข้อมูลที่จะทำให้ผู้ขอสามารถเข้าถึงเงินในบัญชีเราได้ เป็นต้น
    • ร – รอบคอบ… อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ไม่ว่าข้อเสนอที่ได้จะดีแค่ไหน สามารถขอติดต่อกลับในช่องทางติดต่ออย่างเป็นทางการ หรือขอข้อมูลผู้ติดต่ออย่างละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร และตรวจสอบโดยตรงผ่านช่องทางทางการของแบรนด์นั้น ๆ อาทิ อีเมลที่ระบุใน Official Website และ Call Center เป็นต้น
    • ร – รอบรู้… อัปเดทข่าวสารกลโกงมิจฉาชีพทั้งสำหรับความปลอดภัยของตนเอง และไว้เตือนคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และเยาวชน ให้เข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล และฉลาดใช้เทคโนโลยีโดยไม่เสี่ยงตกเป็นเหยื่อ

 

ทั้งนี้ ทรูมันนี่ ขอให้ผู้ใช้โปรดใช้ความระมัดระวังมิจฉาชีพแอบอ้าง ชื่อ และโลโก้ทรูมันนี่ หรือ บริษัทในเครือ อย่าง แอสเซนด์ นาโน และมี “สติ” ตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง หรือหากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อช่องทางสื่อสารทางการของทรูมันนี่ หรือ โทร 1240

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

DDProperty

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง "วัคซีนต้านไวรัส" ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในช่วงปิดประเทศ ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อผู้บริโภค กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน หวังความชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแปรสำคัญเข้ามาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมา

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_ดัชนีอสังหา_โควิด

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) แม้เคยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มีความเป็นไปได้ยาก คาดว่าตลาดจะมีทิศทางเติบโตอีกครั้งเมื่อภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้ และมีการฉีดวัคซีนมากเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุดถือเป็นปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพลทำให้การเติบโตของธุรกิจทุกภาคส่วนต้องชะงักลง เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ว่าจะควบคุมให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติได้เร็วเพียงใด ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดมุมมองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6% เป็น 1.8% อันเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ รอบล่าสุดที่รุนแรงกว่ารอบก่อน ในส่วนภาคอสังหาฯ นั้นก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือแต่ยังคงไม่ครอบคลุมเพียงพอ เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงผันผวนตามสถานการณ์ปัจจุบัน จึงชะลอการซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูงอย่างที่อยู่อาศัยออกไปก่อน

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้แนวโน้มดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ คาดว่าจะยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2564 นี้ ในขณะที่ดัชนีอุปทานมีการเติบโตจากการที่ผู้ประกอบการกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่ พร้อมจัดโปรโมชั่นเร่งระบายสต็อกคงค้างของโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อเจาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือนักลงทุนที่มีความพร้อม ซึ่งถือว่ายังเป็นโอกาสทองอยู่ แต่คาดว่าดัชนีอุปทานจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามแผนธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในอนาคตเช่นกัน

ส่วนแผนการแก้ไขกฎหมายฉบับต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของชาวต่างชาติก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย ในขณะเดียวกันต้องพิจารณาผลดีและผลเสียในระยะยาวให้รอบด้านอย่างถี่ถ้วน มองว่าปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อได้ดีที่สุดในตอนนี้ คือ แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ชัดเจน ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดฯ ในวงกว้างแล้ว ยังเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค กระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ และช่วยให้สามารถเปิดประเทศเพื่อต้อนรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจทุกภาคส่วน หลังจากต้องเผชิญผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้มาอย่างยาวนาน”

 

ตลาดที่อยู่อาศัยยังผันผวน ผู้บริโภคอยากมีบ้านแต่ขาดกำลังซื้อ

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด เผยข้อมูลเชิงลึกและทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงต้นปี 2564 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่คาด ส่งผลกระทบให้การเติบโตของตลาดอสังหาฯ กลับต้องชะลอตัวอีกครั้ง แม้มีความต้องการในตลาด แต่ใช้เวลาตัดสินใจซื้อนานขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้_อุปทานอสังหา_โควิด
    • เทรนด์ Work From Home ยังได้ไปต่อ ดันที่อยู่อาศัยแนวราบโตต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องในไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนผลักดันให้เทรนด์ Work From Home แพร่หลายมากขึ้น ผู้บริโภคมีการปรับตัวเพื่อรับมือโดยหันมามองหาที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่เพียงพอ รองรับการทำงานจากที่บ้านได้สะดวกมากขึ้น ข้อมูลจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ล่าสุด พบว่า ผู้พัฒนาอสังหาฯ ยังคงเน้นไปที่การเปิดตัวโครงการที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลายคนหันมาให้ความสนใจที่อยู่อาศัยแนวราบเพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน และรักษาระยะห่างกับสังคม ทำให้ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยพบว่า ดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นถึง 8% ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา สวนทางกับดัชนีราคาคอนโดมิเนียมที่ปรับตัวลดลงถึง 8% ในรอบปี และลดลง 12% ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนด้านจำนวนอุปทาน แม้ว่าคอนโดมิเนียมจะมีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ 88% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเพียง 10% ต่างจากจำนวนอุปทานบ้านเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น 12% และทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 12% จากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ หันมาโฟกัสกับโครงการแนวราบมากกว่าคอนโดมิเนียม
    • อานิสงส์รถไฟฟ้า ดึงดูดคนหาบ้านแถบชานเมืองมากขึ้น ปัจจัยจากการพัฒนาระบบขนส่งทั้งเส้นทางปัจจุบันและแผนในอนาคต ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่นอกเขต CBD และกรุงเทพฯ รอบนอกมากขึ้น เนื่องจากถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้สูง จึงทำให้ทำเลดังกล่าวมีทิศทางการเติบโตของราคาอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ เขตทวีวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสก่อน ซึ่งบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 15% ในขณะที่เขตตลิ่งชัน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 3% เป็นผลมาจากอานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่วางแผนเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ ประกอบกับที่ย่านนี้ยังมีทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ซึ่งเอื้อต่อการเดินทางทั้งโดยรถยนต์ส่วนตัวและระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ การเปิดให้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต ซึ่งเชื่อม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และปทุมธานี โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ถือเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีราคาในพื้นที่เขตบางเขนเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาสก่อน โดยคอนโดมิเนียมในทำเลนี้มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 11%
    • มาตรการรัฐไม่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคอย่างที่คิด จากมาตรการช่วยลดค่าโอน-ค่าจดจำนองสำหรับบ้าน-คอนโดฯ ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้าน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาตลาดอสังหาฯ ของภาครัฐ และหวังกระตุ้นการซื้อขายให้เติบโต แต่จากรายงานพบว่า ความสนใจซื้อของผู้บริโภคที่มองหาที่อยู่อาศัยระดับราคา 1-3 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับระดับราคาอื่น โดยเพิ่มขึ้นเพียง 14% จากไตรมาสก่อน ต่างจากความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึง 34% ตามมาด้วยระดับราคา 5-10 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 27%) และระดับราคา 3-5 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 23%)
DDproperty_Supply

เมื่อพิจารณาจากรายงานจะพบว่า จำนวนอุปทานที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดจะเป็นระดับราคา 1-3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 14% จากไตรมาสก่อน รองลงมาคือราคา 3-5 ล้านบาท และระดับราคา 5-10 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10% และ 8% ตามลำดับ) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างยังคงไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ จึงต้องเลือกใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อน สอดคล้องกับผลสำรวจ “ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19” ของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ถึง 75.41% มองว่าปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาในครอบครัวที่พบมากขึ้นในยุคโควิด-19 นี้ และปัญหาหนักอกในครอบครัวอันดับแรกยังคงเป็นเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายถึง 44.27% ในขณะที่ผู้บริโภคในระดับบนแม้จะยังคงให้ความสนใจในการซื้อหรือลงทุนในตลาดอสังหาฯ แต่จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งไม่มีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ สำหรับที่อยู่อาศัยในระดับราคาอื่น จึงส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้นหรือชะลอการซื้อออกไปก่อนเช่นกัน

เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

infor

เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

Infor_อินฟอร์_ฟาบิโอ

ความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต  ผลพวงมาจากความคุ้นเคยที่ได้รับจากความสะดวกสบายแบบเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทโฟนที่ทันสมัยที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา รวมถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาหารทั่วโลก  การรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น

แม้ว่าความกังวลด้านความยั่งยืน และความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่อาจทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ความคาดหวังต่าง ๆ ของลูกค้าที่เพิ่มขึั้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่ เช่น การจัดส่งอาหารถึงผู้บริโภคโดยตรง และ “คลาวด์” คิทเช่น (Cloud Kitchen) พื้นที่ครัวกลางสำหรับให้ร้านค้าหลายแห่งเข้ามาใช้งานร่วมกัน  ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารจานโปรดไปถึงที่พักของคุณได้ในเวลาพอๆ กันกับการที่คุณต้องขับรถไปร้านอาหารด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะพบว่าความนิยมของลูกค้าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และการปร้บเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้านั้นเป็นไปได้อย่างไร

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า แม้ว่าโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ก็ทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทอาหารหลายแห่งได้พบกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม  และได้มีการปรับตัวเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยอาศัยโมเดลธุรกิจคลาวด์คิทเช่น ซึ่งได้กระตุ้นให้ปริมาณการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จึงเกิดการคาดการณ์ว่าคลาวด์คิทเช่นจะเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑลอย่างน้อย 50 แห่งภายในสิ้นปี 2565

ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารพร้อมปรุงตามการเลือกสรรของแต่ละบุคคล นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดส่งอาหารตรงถึงผู้บริโภค ก็ได้เข้ามาเพิ่มความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตอาหาร คำถามที่มีการถามมากที่สุดคือการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดความท้าทายต่างๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมื่ออาหารเกิดการปนเปื้อน หรือผลิตผลที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ถูกเก็บรวมไว้กับอาหารชนิดอื่น ๆ โดยไม่ตั้งใจระหว่างการจัดส่ง ใครควรจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งผู้ผลิตอาหารไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของตน หากปราศจากระบบติดตามที่ครอบคลุมแบบครบวงจร

Infor_อินฟอร์_food industry
Food photo created by azerbaijan_stockers - www.freepik.com

การเติบโตของตลาดในเอเชียทำให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างแพร่หลาย และซัพพลายเชนที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นเพียงสองตัวอย่างของการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของโลกที่ให้ความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคที่มีจำนวนจำกัด ยังทำให้การถกเถียงด้านความยั่งยืนไม่สามารถนำมาใช้ป้องกันปัญหาการใช้น้ำในกระบวนการผลิตอาหารได้

 

แนวทางที่ดีกว่า

หากผู้ผลิตอาหารรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ก็จะสามารถจัดการกับความท้าทายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป, การค้นหาและติดตามส่วนผสมในการผลิตอาหารจำนวนมหาศาลเพื่อทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับ, หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กร และจำกัดการใช้น้ำให้เหลือน้อยที่สุด เป็นต้น

กระนั้นก็ตาม การพัฒนาระบบใหม่โดยใช้ไอทีแบบดั้งเดิม ต้องใช้เงินลงทุนล่วงหน้าจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อโครงการที่มีอยู่ และเกิดความซับซ้อนที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนในด้านการดูแลรักษาหากมีสถานที่ทำงานมากกว่าหนึ่งแห่ง  ในทางกลับกัน การใช้ระบบคลาวด์จะสามารถปรับใช้ได้รวดเร็วและมีราคาถูกกว่ามาก อีกทั้งยังมอบระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning – ERP) ที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา มีความยืดหยุ่นในการปรับขยายมาก และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไปด้วยในขณะเดียวกัน 

ในโลกที่การผิดพลาดต้องน้อยที่สุด และแรงกดดันต่อเนื่องเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตอาหารไม่สามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรือทำการทดลองใด ๆ ได้อีกต่อไป พวกเขาจึงต้องการสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้จริง และนำไปใช้งานได้ทันทีแทนที่จะเริ่มต้นจากศูนย์  ระบบคลาวด์ ERP จึงเหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึง, การส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงความน่าเชื่อถือขององค์กร

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนคลาวด์หนึ่งเดียว จะสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลยืนยันความถูกต้องสำหรับการทำงานขององค์กรทั้งหมด ช่วยลดความผิดพลาดใด ๆ ระหว่างแผนกก่อนที่จะเกิดขึ้นได้  อีกทั้งการมีคู่ค้าและซัพพลายเออร์อยู่บนหน้าจอเดียวกัน ยังช่วยให้การขยายซัพพลายเชนและนวัตกรรมเป็นไปได้ง่ายดายขึ้นอีกด้วย

 

ทำไมระบบ ERP จึงเหมาะที่จะใช้บนคลาวด์

เมื่อใช้ระบบ ERP บนคลาวด์ ความเป็นไปได้ในทุกด้านจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล กระบวนการที่ต่างกันและไซโลต่าง ๆ ที่เคยมีก่อนหน้านี้ จะสามารถรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นส่วนที่สอดคล้องกันทั้งหมด ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังสามารถนำไปใช้งานในระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้ผลิตอาหารในทวีปเอเชียที่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ส (Internet of Things – IoTs) ด้วยการติดเซ็นเซอร์ไว้กับฝูงวัว ทำให้ข้อมูลจากฝูง ปศุสัตว์ที่อยู่ในระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงข้อมูลอันล้ำค่าที่จำเป็นต่อการเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพดี พร้อมอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วขึ้น

Infor_อินฟอร์_food industry 2
Food photo created by aleksandarlittlewolf-www.freepik.com

อินฟอร์®ได้ลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาในโซลูชั่นตระกูล CloudSuitTM ของบริษัทฯ ด้วยเครื่องมือที่เร่งการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นดิจิทัลซัพพลายเชนของผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในทวีปเอเชียและทั่วโลก Infor CloudSuite Food & Beverage จะช่วยกระตุ้นการคิดค้นนวัตกรรมและการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น