ระบบเครือข่ายซัพพลายเชนด้านการเงินช่วยซัพพลายเออร์ บรรเทาภาระ และรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี
บทความโดย นายแคส เบรนท์เจนส์ รองประธานฝ่ายขายผลิตภัณฑ์อินฟอร์ เน็กซ์ซัส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
สภาวะความผันผวนที่ยังคงสั่นคลอนระบบซัพพลายเชนทั่วโลก กดดันให้ผู้นำธุรกิจต้องคิดถึงแนวทางในการจัดการเอกสาร ข้อมูล และเงินทุนที่ขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกใหม่อีกครั้ง
บรรดาผู้ค้าปลีกและบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสารเคมีเฉพาะ แรงงาน และการขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ที่ผู้บริหารด้านการเงินต่างก็รับรู้ได้ถึงผลกระทบต่อกำไรเบื้องต้นของบริษัท
หลายบริษัทกำลังพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า และอีกหลายบริษัทก็กำลังพยายามต่อรองกับซัพพลายเออร์ของตน ดังนั้นการปรับการดำเนินธุรกิจนำระบบดิจิทัลมาใช้ให้มากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสมากมายชดเชยกับต้นทุนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้ และในบางกรณียังช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจได้อีกด้วย
ผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ขนส่ง
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเกิดอุปสรรคมากมายในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก
ค่าใช้จ่ายของบริษัทขนส่งที่พุ่งทะยานโดยมีความหวังเพียงน้อยนิดว่าจะดีขึ้น กอปรกับความต้องการตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูง ความแออัดของท่าเรือขนส่ง ตลอดจนความล่าช้าและการหยุดชะงักต่าง ๆ ที่ได้รับรายงานยาวเหยียด ล้วนแล้วแต่เพิ่มแรงกดดันต่อต้นทุนในการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสิ้น
หลักฐานที่ชัดเจนของเรื่องนี้คือการที่เรือเอเวอร์กิฟเว่น (Ever Given) ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 20,000 ตู้ เกยตื้นในคลองสุเอซเมื่อวันที่ 23 มีนาคม กีดขวางการจราจรในคลอง และทำให้การขนส่งสินค้าทางทะเลต้องหยุดชะงักในจุดที่มีการสัญจรทางน้ำที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากเบี้ยประกันในการโหลดสินค้าขึ้นเรือก่อน ได้ซ้ำเติมให้ปัญหานี้รุนแรงยิ่งขึ้น จากข้อมูลของ S&P Platts ผู้ให้บริการข้อมูลด้านพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และแหล่งที่มาของราคาอ้างอิง ระบุว่าเบี้ยประกันเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับคอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,000 – 3,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้
การมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์สร้างโอกาสได้
แพลตฟอร์มซัพพลายเชนแบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้ให้บริการ เช่น ธนาคารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เช่น
- การชดเชยต้นทุนการสรรหาซัพพลายเออร์ใหม่ ด้วยการปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมให้เป็นดิจิทัล ลดการใช้พอร์ทัลส่งข้อมูลระหว่างสองอุปกรณ์ (point-to-point portal) ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม (เช่น เอเย่นต์) หรือค่าธรรมเนียมธนาคารที่ไม่จำเป็น
-
- การแบ่งเบาภาระต้นทุนผ่านการจัดการด้านการเงินในระบบซัพพลายเชนแบบดิจิทัล เมื่อต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ซัพพลายเออร์จึงจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนจึงกลายเป็นต้นทุนสินค้าที่ขายซึ่งโปรแกรมการเงินด้านซัพพลายเชนที่ขับเคลื่อนโดยผู้ซื้อจะช่วยแบ่งเบาภาระดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพด้านเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้เข้าร่วมซัพพลายเชนได้สูงสุด
ผู้ที่สามารถนำการปรับเปลี่ยนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อกับซัพพลายเออร์ให้เป็นดิจิทัล จะสามารถลดต้นทุนของสินค้าที่ขาย รวมถึงการปรับปรุงอัตรากำไร และเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยมีผลสำเร็จที่พิสูจน์แล้วดังนี้
- ทำให้การประมวลผลใบแจ้งหนี้แบบไร้สัมผัสมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากกว่า 98%
- กู้คืนข้อมูลการขอเงินค่าสินค้าคืนได้ถึง 100%
- ปรับปรุงระยะเวลานับตั้งแต่วันจ่ายชําระหนี้ค่าสินค้า ถึงวันรับชําระเงินสดจากการขายสินค้าดีขึ้น 10-30% ซึ่งจะช่วยให้การหมุนเวียนเงินสดดีขึ้น
- ช่วยให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถึง 3 เท่า โดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากรภายใน (การสรรหาซัพพลายเออร์ใหม่และการจัดการบัญชีเจ้าหนี้)
การคิดใหม่เรื่องเอกสาร ข้อมูลและเงินทุน
นายเดวิด ลาฟิตต์ กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Deckers Outdoor Corp ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์แบรนด์ UGG, Teva และ Sanuk กล่าวว่า “เมื่อคุณมีคำสั่งซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปมาบ่อยครั้ง คุณก็จะจบลงด้วยการได้รับอีเมลที่ยาวเหยียด พร้อมรายชื่อผู้รับอีเมลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณไม่มีระบบศูนย์กลาง ที่เป็นระบบคลาวด์พอร์ทัลสำหรับสื่อสารกับผู้ขายอื่น ๆ คุณจะต้องเสียเวลามหาศาลในการกระทบยอดใบแจ้งหนี้ แต่สำหรับบริษัทเราใช้เจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวในการตรวจสอบใบแจ้งหนี้จำนวนมาก และใช้เวลาเพียง 30 นาทีต่อวันเท่านั้น บริษัทฯ ใช้เวลาวันทำงานเพียงเล็กน้อยในการจัดการบัญชีเจ้าหนี้โดยมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 1%”
ล่าสุดแฟรงค์ เวทเตอร์ ผู้ดูแลด้านการเงินของพูม่า ได้อธิบายถึงวิธีที่พูม่าซึ่งเป็นผู้นำด้านสนีกเกอร์จัดการกับการขยายเวลาชำระเงินของผู้ค้าปลีกรายย่อยในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยพูม่าได้จัดเตรียมหาเงินทุนของบุคคลที่สามให้กับซัพพลายเออร์ของตน (ตามเครดิตที่มีกับพูม่า) แทนการยอมรับผลกระทบจากการชำระล่าช้าไว้เอง หรือผลักภาระความล่าช้านี้ให้กับซัพพลายเออร์ ช่วยให้พูม่าถือเงินสดไว้ในมือได้นานขึ้น และสามารถชำระเงินซัพพลายเออร์ได้ก่อนกำหนด ทั้งนี้ซัพพลายเออร์ไม่จำเป็นต้องหาเงินทุนที่ดอกเบี้ยแพงสำหรับตลาดท้องถิ่น โดยต้องผูกติดกับเครดิตของตน การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ซัพพลายเชนของพูม่าที่เชื่อมโยงข้อมูล สต็อคสินค้า และเงินทุนทั่วระบบซัพพลายเชน ได้ช่วยให้ความยากลำบากที่เกิดจากการแพร่ระบาดบรรเทาเบาบางลงได้
ผู้ค้าปลีกหลายรายกำลังมองหากลยุทธ์ในการควบคุมต้นทุนด้านซัพพลายเชนของตนมากขึ้น หรือช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในการจัดหาเงินทุนสำหรับซื้อวัตถุดิบ เพื่อลดการพึ่งพาตัวแทน และปรับแบรนด์ของตนให้เติบโตได้ ในตัวอย่างที่ยกมานี้ เริ่มต้นจากความสามารถในการดำเนินการจัดการคำสั่งซื้อ พาร์ทเนอร์คู่ค้า สินค้าคงคลัง และเงินทุน ซึ่งเครือข่ายซัพพลายเชนแบบหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยกัน จะเป็นระบบสำคัญต่อภารกิจในการดำเนินงาน หากปราศจากซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตจะต้องสาละวนอยู่กับการวิ่งไล่ตามคำสั่งซื้อและสต็อคสินค้าคงคลัง รวมถึงต้องคอยป้องกันทั้งเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และผลกำไรที่ค่อย ๆ ลดน้อยลงอีกด้วย