ก้าวสู่มาตรฐานด้านอาหารที่สูงขึ้น

infor

ก้าวสู่มาตรฐานด้านอาหารที่สูงขึ้น

ฟาบิโอ_Infor_อินฟอร์ อาเซียน
บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเซียน

ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ อย่างมหาศาล ทั้งในบริบทของความต้องการที่เพิ่มขึ้น มาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด และความเสี่ยงที่ต้องปิดกิจการเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งความท้าทายดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจนี้

ธุรกิจบางภาคส่วนถูกบังคับให้เพิ่มขนาดการดำเนินงานขึ้นถึง 30% และระบบซัพพลายเชนต้องแบกรับสถานการณ์ที่หนักหน่วงนี้หลายต่อหลายครั้ง การระบาดของโรคที่ขยายวงกว้างออกไปทำให้เกิดภาวะยากลำบากและเกิดความเสี่ยงสูงมากโดยมีความสำเร็จและชื่อเสียงของธุรกิจเป็นตัวประกัน

ความท้าทายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้บริโภคต้องการให้บริษัทด้านอาหารชี้แจงระเบียบขั้นตอนด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมที่แน่นอนจริงจังมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา การระบาดใหญ่ครั้งนี้ทำให้บริษัทด้านอาหารจะต้องให้บริการกับตลาดที่กำลังต้องการความมั่นใจและความเชื่อถือได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอนอื่น ๆ ดังนั้นการค่อย ๆ สร้างความมั่นใจโดยการดำเนินงานที่ทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจอย่างคงเส้นคงวา และแสดงให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติและมาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

 

วัดกันที่ความสามารถด้านดิจิทัล

ความสำเร็จในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบริษัทเป็นไปในแนวทางที่แตกต่างกันและหลากหลายรูปแบบ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือบริษัทที่นำระบบดิจิทัลมาใช้เป็นหลักคือผู้ที่มักจะประสบความสำเร็จ ส่วนบริษัทที่ยังคงใช้ระบบดั้งเดิมหรือระบบที่พึ่งพาการใช้กระดาษมักอยู่ในสถานะไล่ตามหลังบริษัทอื่น

เหตุผลที่เด่นชัดคือบริษัทที่ใช้ระบบใช้กระดาษเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลขาดความแม่นยำ ความล่าช้า และความซ้ำซ้อน แต่แพลตฟอร์มดิจิทัลสามารถผสานรวมและกำหนดบริบทของข้อมูลเชิงลึกจากวงจรการทำงานทั้งหมดได้อย่างราบรื่น เพื่อช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ

องค์กรหลายแห่งตระหนักว่า แนวทางการทำงานแบบดิจิทัลที่ทันสมัยนำพาประโยชน์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการแข่งขันมาให้ จึงได้ลงทุนในแพลตฟอร์มและฟังก์ชั่นใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถสำคัญนี้  แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีคำถามว่าความสามารถเหล่านี้เพียงพอหรือยัง

 

ความโปร่งใสคือความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับแบบใหม่

ความสามารถในการเรียกคืนสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างครอบคลุม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นแง่มุมที่สำคัญที่สนับสนุนการที่บริษัทสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด ชื่อเสียงของบริษัท และการบริการลูกค้า อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ

อย่างไรก็ตาม ระบบดั้งเดิมที่บริษัทผู้ผลิตอาหารจำนวนมากใช้อยู่มักมีข้อจำกัดในการตรวจสอบย้อนกลับที่ครบวงจร เพราะระบบดั้งเดิมไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของซัพพลายเออร์หลักได้ มีบริษัทด้านอาหารเพียงไม่กี่แห่งที่มีแพลตฟอร์มที่สามารถทำเช่นนี้ได้ และบริษัทเหล่านี้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคต่างต้องการความโปร่งใสมากขึ้นในเวลาที่พวกเขาเลือกซื้ออาหาร

บริษัทด้านอาหารที่มีแนวคิดก้าวไกลมีการระบุคิวอาร์โค้ดไว้บนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตน ซึ่งผู้บริโภคสามารถสแกนเพื่อดูแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์นั้น ตั้งแต่แหล่งกำเนิดของส่วนผสมต่าง ๆ การผลิต การจัดส่งผ่านระบบซัพพลายเชน และความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นความโปร่งใสอย่างครบถ้วนจากแหล่งผลิตจนถึงจานอาหารของผู้บริโภค

การกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์ชัดเจนในการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าด้านอาหารให้กับผู้บริโภค การแสดงหลักฐานว่าอาหารนั้น ๆ ได้รับการผลิตด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและยั่งยืนจะช่วยเสริมให้ความภักดีต่อแบรนด์แข็งแกร่งขึ้น การใช้ข้อมูลจากระบบซัพพลายเชนในแนวทางที่ชาญฉลาด ช่วยให้เกิดประโยชน์หลายประการต่อซัพพลายเชนด้านอาหาร เช่น คุณภาพเพิ่มขึ้น คาดการณ์วันที่ควรบริโภคก่อน (use before dates) ได้มากขึ้น และลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งหรือขยะอาหาร (food waste) ลงได้

Infor_ก้าวสู่มาตรฐาานด้านอาหารที่สูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น ผักและผลไม้นำเข้าจำนวนมากที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต จำเป็นต้องมีระบบที่สามารถมอนิเตอร์สถานะการจัดส่งที่เฉพาะเจาะจงต่าง ๆ ในระบบซัพพลายเชนที่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าใช้และตัวแปรต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่ง การขนส่งเกิดการล่าช้าหรือไม่ และการจัดเก็บในคลังสินค้าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลในการประมาณการอายุการเก็บรักษาสินค้า

ความรับผิดชอบ

หน่วยงานที่ดูแลด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจำนวนมาก ให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านขยะอาหาร เช่น แผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560-2580 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีแผนการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนไว้ 11 เป้าหมาย และมีเป้าหมายในการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารรวมอยู่ด้วย เช่น

    • โรงงานในอุตสาหกรรมอาหารอย่างน้อย ร้อยละ 100 ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต ภายในปี พ.ศ. 2580
    • สินค้าด้านเกษตรและอาหารในประเทศร้อยละ 80 มีข้อมูลปริมาณการสูญเสียอาหารในระบบซัพพลายเชนและขยะอาหาร ภายในปี พ.ศ. 2580
    • ความสูญเสียตลอดซัพพลายเชนในการผลิตอาหารลดลงร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 – 2580
    • ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และ โรงแรมมีขยะเศษอาหารลดลงร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2580 เทียบกับปี พ.ศ. 2560
    • ปริมาณขยะอาหารของประเทศลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2580 เทียบกับปี พ.ศ. 2560

จะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดเป้าหมายด้านขยะอาหารไว้ค่อนข้างสูง และธุรกิจทุกแห่งได้ร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ยกตัวอย่างเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลซึ่งเป็นแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกและบริการของไทยได้ออกมาเปิดเผยถึงนโยบายการจัดการขยะอาหาร เพื่อลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร รวมถึงขยะอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายโดยห้างร้าน ซุปเปอร์มาร์เก็ต และโรงแรมในเครือ โดยมีการนำอาหารส่วนเกินบริจาคให้ผู้เปราะบางทางสังคมจำนวน 203 ตันต่อปี คิดเป็นมื้ออาหาร 855,869 มื้อในปี 2563 คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 380 ตันคาร์บอนเทียบเท่า เป็นต้น

 

การสร้างแบรนด์ที่โปร่งใส

นอกจากประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว ความสดของอาหารเช่นผักผลไม้ แหล่งกำเนิด และสภาพของฟาร์มปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์และนม ที่เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นเหตุผลสำคัญของความแตกต่างระหว่างซุปเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลาย ระดับความโปร่งใสดังกล่าวนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและเพิ่มความเชื่อถือจากผู้บริโภคได้มากขึ้น และช่วยให้แบรนด์มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงได้อีกด้วย

กระบวนการทำงานแบบแมนนวลและระบบแบบดั้งเดิมอาจเป็นวิธีที่ช่วยเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับได้ แต่อยู่ในระดับพื้นฐานเท่านั้น ธุรกิจมีความเสี่ยงสูงที่อาจต้องปิดโรงงานเต็มรูปแบบอันเนื่องมาจากไม่สามารถระบุที่มาของปัญหาได้อย่างถูกต้อง และตามมาด้วยความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ เห็นได้ชัดว่าค่าใช้จ่ายและความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นอย่างถาวร ดังนั้นธุรกิจด้านนี้จึงต้องลงทุนจัดหาและใช้ความสามารถทางดิจิทัลที่ทันสมัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถลดความสูญเปล่าให้เหลือน้อยที่สุด เพิ่มความโปร่งใสและความเชื่อถือจากผู้บริโภคให้มากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ภายในปี 2564 นี้บริษัทด้านอาหารต้องทำให้สำเร็จก่อนที่จะเข้าแข่งขันในตลาด

Related post

ธ.เกียรตินาคินภัทร” ร่วมกับ “ทรูมันนี่” ชูดอกเบี้ยเงินฝาก “KKP Start Saving” สูงถึง 2% เพิ่มทางเลือกการออมเงินยุคโควิด-19

KKP Saving_ทรูมันนี่

ธ.เกียรตินาคินภัทร” ร่วมกับ “ทรูมันนี่” ชูดอกเบี้ยเงินฝาก “KKP Start Saving” สูงถึง 2% เพิ่มทางเลือกการออมเงินยุคโควิด-19

    • KKP Start Saving บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 2% ต่อปี* สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝากสะสมในบัญชี ไม่เกิน 50,000 บาท
    • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ให้เปิดบัญชี KKP Start Saving ผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท โดยยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยบัตรประชาชน (Dip Chip) ได้ที่ร้าน 7-Eleven ทุกสาขาในเขตกรุงเทพฯ เพื่อความสะดวกสูงสุดในยุคโควิด-19

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ร่วมกับทรูมันนี่ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ KKP Start Saving* ขึ้นเป็น 2% ต่อปี** สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝากสะสมในบัญชีไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อเป็นทางเลือกผลตอบแทนสูงให้กับผู้ที่ต้องการออมเงิน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดบริการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการเสียบบัตรประชาชน (Dip Chip) ณ ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ทุกสาขาในเขตกรุงเทพฯ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีเงินฝาก KKP Start Saving บนแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท และเข้าถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ตอบโจทย์ทั้งความสะดวกสบายและสุขอนามัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

นายฟิลิป เชียง ชอง แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนที่มีความปลอดภัยสูง โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนอย่างในปัจจุบัน ธนาคารเกียรตินาคินภัทรจึงได้จับมือกับทรูมันนี่ ประกาศเพิ่มดอกเบี้ยบัญชีเงินฝาก KKP Start Saving ผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท เป็น 2% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝากสะสมไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อจูงใจให้มีการออมเงิน อีกทั้งสนับสนุนการใช้แอปฯ อีวอลเล็ททดแทนเงินสด ในการเติมเงินหรือสแกนจ่ายเงินโดยตรงกับร้านค้าชั้นนำ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, โลตัส, แมคโคร, เชสเตอร์, ทรูคอฟฟี่ และร้านค้าอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดจากการสัมผัส และเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์มากมายซึ่งมีการนำเสนอผ่านแอปฯ อย่างต่อเนื่อง”

นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ภายหลังการร่วมมือกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ “KKP Start Saving” ผ่านแอปพลิเคชั่นทรูมันนี่ วอลเล็ท มากว่า 7 เดือน ก็มีผู้ใช้สนใจเปิดบัญชีเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยยอดเงินออมโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปลายปีที่แล้วเกือบเท่าตัวมาอยู่ที่มากกว่าพันล้านบาท นอกจากนั้นเรายังพบว่าผู้ใช้ที่เปิดบัญชีออมทรัพย์ KKP Start Saving มากกว่า 70% มีการเติมเงินและใช้จ่ายในแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ทอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรมทางการเงินที่เราคิดค้นและมอบให้นั้นสนับสนุนการผลักดันสังคมไร้เงินสด อีกทั้งเติมเต็มความต้องการในการใช้จ่ายและการทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ใช้ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านจากผู้ให้บริการอีวอลเล็ทมาเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินดิจิทัลที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้จ่ายและเก็บออมในชีวิตประจำวัน”

 

ขั้นตอนการเติมเงินและเปลี่ยนช่องทางชำระเงินร้านค้าเป็นบัญชีออมทรัพย์ KKP Start Saving

KKP Start Saving_ทรูมันนี่_full

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านรายละเอียด เงื่อนไข และโปรโมชั่นต่าง ๆ ของการเปิดและใช้งานบัญชีออมทรัพย์ KKP Start Saving ได้ที่ https://www.truemoney.com/startsaving/ 

*บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ KKP Start Saving เป็นผลิตภัณฑ์ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) และได้รับความคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

**ข้อกำหนดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bank.kkpfg.com/th/personal-banking/deposit/savings-account/kkp-start-saving การเปิดบัญชีนี้อยู่ภายใต้โครงการ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ภารกิจ “ลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาด

อาลีเพย์

ภารกิจ “ลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของทุกประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาด

โดย นี ซิงจุน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของแอนท์ กรุ๊ป ผู้ให้บริการอาลีเพย์

Ni Xingjun CTO Ant Group

การแพร่ระบาดระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าเราคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ขณะที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ และทำให้ปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทที่ปรึกษา McKinsey คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดใกล้จะยุติลงในบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดกลับเลวร้ายลงในประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา โดยมีการรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดในประเทศไทยในช่วงที่ประเทศกำลังจะเตรียมฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ทำให้เศรษฐกิจต้องชะงักอีกครั้ง และทำให้กลุ่มคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ไปอีกนานแค่ไหน

สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนาหลายๆ ประเทศ สถานการณ์ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่นี้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อภาคธุรกิจ สุขภาพจิตของประชาชน และระบบการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาช่องว่างที่เกิดขึ้น ส่งเสริมความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันในประเทศต่างๆ ทั้งนี้การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสรรค์สรรค์คือสิ่งที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายข้างต้น

ในประเทศไทย ประชาชนใช้โมบายแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ลงทะเบียนจองและรับวัคซีน ติดตามสถานะการรับวัคซีนทั้งสองโดส บันทึกผลข้างเคียง รวมถึงออกหลักฐานการรับวัคซีน โดยหมอพร้อมยังใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานในการลงทะเบียนอีกด้วย 

ด้วยความพยายามที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยได้เปิดตัวโครงการต่างๆ เช่น “เราชนะ” เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผ่านแอปเป๋าตัง โดยคาดว่าโครงการนี้จะสามารถเยียวยาประชาชนได้มากถึง 33.5 ล้านคน

แม้วิธีการที่ใช้ช่วยเหลือประชาชนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ เราจำเป็นต้องทำให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนามี “ทักษะทางด้านดิจิทัล” เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองหาหนทางใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเราจำเป็นต้องจัดการฝึกอบรมด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียนแล้ว ยังจะช่วยขยายโอกาสให้กับทุกคนในยุคดิจิทัล

รายงานเกี่ยวกับ “อนาคตของการทำงาน” (Future of Jobs) ในปี 2563 สภาเศรษฐกิจโลก พบว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด “คือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม” ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ รายงานประเมินว่าภายในปี 2568 อาจมีการยกเลิกตำแหน่งงานราว 85 ล้านตำแหน่ง และอาจมีตำแหน่งงานใหม่สำหรับบทบาทหน้าที่ใหม่เกิดขึ้นราว 97 ล้านตำแหน่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริธึม

แรงงานไทยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการทำงานในอนาคต สอดคล้องกับรายการเรื่องทักษะดิจิทัลจาก World Economic Forum ในปี 2563 ชี้ว่ามีเพียง 54.9% ของแรงงานไทยที่มีองค์ความรู้ด้านทักษะดิจิทัล และจุดอ่อนคือ “ความไม่พร้อมในการปรับตัวสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคต” ดังนั้นการเทรนนิ่ง การศึกษา และทัศนคติต่อการทำงานในอนาคต เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องส่งเสริมสำหรับแรงงานไทย

ด้วยตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในตลาดแรงงาน International Finance Corporation (ในเครือธนาคารโลก) และอาลีเพย์ (Alipay) จึงร่วมมือกันเปิดตัว โครงการ 10×1000 Tech for Inclusionเมื่อปี 2561 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทรนนิ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี 10,000 คนในช่วงระยะเวลา 10 ปี

ด้วยความหวังว่าบุคลากรเหล่านี้จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรม และการเติบโตให้แก่บริษัทหรือองค์กรที่ตนเองทำงานพร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักดัน และบ่มเพาะบุคลากรรุ่นใหม่ราว 100,000 คนในประเทศบ้านเกิด ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ ให้คำแนะนำ หรือส่งต่อโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้อื่น

กรณีตัวอย่างของโครงการ 10X10,000 คือ Aruna บริษัทสตาร์ทอัพด้านอี-คอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ก่อตั้งบริษัทสองคนได้ผ่านการฝึกอบรมในโครงการดังกล่าว แพลตฟอร์มของพวกเขาสามารถเชื่อมต่อชาวประมงท้องถิ่นกับลูกค้าโดยตรง เพื่อช่วยให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับปลา และบรรเทาปัญหาความยากจน  นอกจากนี้ Aruna ยังได้บ่มเพาะ “ฮีโร่ท้องถิ่น” (Local Hero) ซึ่งหมายถึงเยาวชนในหมู่บ้านชายฝั่งทะเลที่ช่วยให้ความรู้แก่ชาวประมงถึงประโยชน์ของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โครงการนี้ได้จัดการฝึกอบรมในหลักสูตรใหม่ FinTech Foundation Program โดยมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนกว่า 160 คนจาก 17 ประเทศในทวีปเอเชีย ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทคจากทั่วโลก ซึ่งสามารถปลูกฝังความคิดในการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และบ่มเพาะความเป็นผู้นำ ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของอุตสาหกรรมอีกด้วย

10x1000

โรซี่ คาห์นนา ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และแปซิฟิกของ IFC กล่าวระหว่างการเปิดหลักสูตร FinTech Foundation Program ว่า “แรงงานในปี 2564 ต้องพบเจอกับช่วงเวลาที่ไม่ปกติ และด้วยเหตุนี้เอง บทบาทหน้าที่ ความรู้ความสามารถ และการทำงานของพวกเขาจึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ประเทศต่างๆ ฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก”

การแพร่ระบาดนับเป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องอาศัยการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความมุ่งมั่นทุ่มเทของทุกภาคส่วนเพื่อที่จะเอาชนะวิกฤตในครั้งนี้  ขณะที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ เราจำเป็นต้องมองหาหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่เหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อขจัดปัญหาความยากจน และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

นั่นคือเหตุผลที่เราเชื่อว่าการแก้ไข “ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล” ในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาโดยการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต จึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างโลกแห่งอนาคตที่สดใส ยั่งยืน และมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ทุกคน

อินฟอร์แต่งตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

infor

อินฟอร์แต่งตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

นายอรัมบูรูพร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์มาเสริมทัพธุรกิจด้าน Software-as-a-Service (Saas) ในภูมิภาคที่ธุรกิจของอินฟอร์เติบโตเร็วที่สุด

อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้งนายเชมา อรัมบูรู ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ)  ทั้งนี้ นายอรัมบูรูจะประจำที่ฮับภูมิภาคของบริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบธุรกิจของอินฟอร์ในอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี อินเดีย และญี่ปุ่น เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จและความพึงพอใจของลูกค้าต่อไป

Infor_อินฟอร์_เชมา
เชมา อรัมบูรู, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, อินฟอร์

นายเควิน ซามูเอลสัน ซีอีโอของอินฟอร์ กล่าวว่า “เชมาเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมไอทีและระบบคลาวด์ พร้อมผลงานในการพลิกโฉมธุรกิจชั้นนำ และสร้างทีมขายที่ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายราย  เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เขามาร่วมเป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เต็มไปด้วยโอกาสและความหลากหลาย  โดยลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผมเคยพบ ต่างกำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยเร่งสร้างนวัตกรรม ความเติบโต และการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจของตน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและซัพพลายเชนที่ต้องมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว เพื่อให้โมเดลธุรกิจของตนสามารถปรับตัวได้ในทุกรูปแบบ  ทั้งนี้โซลูชั่น CloudSuites แบบ multi-tenant ของอินฟอร์ ถูกสร้างขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อรองรับแต่ละอุตสาหกรรม ช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้มากขึ้น สามารถขยายขนาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และบรรลุผลลัพธ์ด้านลูกค้าได้เป็นอย่างดี

นายอรัมบูรูพร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน SaaS ทั่วทั้งภูมิภาค ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านไอทีและระบบคลาวด์กว่า 20 ปี และประสบการณ์การทำงานตำแหน่งผู้นำระดับสูงใน Oracle และ SAP โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นหัวหอกนำระบบคลาวด์มาใช้ทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ)  ล่าสุดเขาเป็นรองประธานฝ่ายขายระดับองค์กรของ Oracle Autonomous Database Cloud ใน APJ  อีกทั้งก่อนหน้านั้นนายอรัมบูรูได้พลิกโฉมธุรกิจ SME ของ SAP เอเชียแปซิฟิก ด้วยการใช้โมเดลทางธุรกิจทำให้เกิดนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขัน (innovative go-to-market models) ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ขึ้นเป็นทวีคูณอีกด้วย

นายอรัมบูรู กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นผู้นำในภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของเศรษฐกิจโลก และเป็นภูมิภาคที่มีการใช้งานคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน ขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ มองหาการลงทุนด้านระบบดิจิทัล และปรับการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น  เทคโนโลยีและระบบคลาวด์ก็จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สำคัญ  อินฟอร์เป็นเอกทางด้านการนำเสนอบริการและโซลูชั่นที่ออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายหลายหลากที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน  และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยเหลือลูกค้าของเราก้าวไปตามเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้” 

“เครื่องมือในการขับเคลื่อนการเติบโตและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่คือทีมของผม พรสวรรค์ของบุคลากรเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดของอินฟอร์ ผมรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและโค้ชให้กับพวกเขา ได้ช่วยพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งทีมงานคุณภาพ ทำให้ลูกค้าของเราเกิดความพึงพอใจทุกครั้งที่ได้ติดต่องาน” นายอรัมบูรู กล่าวปิดท้าย

ในภาวะที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม เทคโนโลยีช่วยนำการปฏิสัมพันธ์กันของคนกลับสู่ธุรกิจอีกครั้ง

ในภาวะที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม เทคโนโลยีช่วยนำการปฏิสัมพันธ์กันของคนกลับสู่ธุรกิจอีกครั้ง

บทความโดยนายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ปี 2563 ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่การห้ามการเดินทางยังคงอยู่ ทำให้การประชุมธุรกิจแบบออนไลน์ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปเช่นกัน  ข้อมูลล่าสุดจากผลสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรของนูทานิคซ์ (Nutanix Enterprise Cloud Index: ECI) พบว่า 68% ขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นตั้งใจจะดำเนินธุรกิจโดยใช้การประชุมผ่านวิดีโอมากขึ้น และจำกัดการเดินทางให้เหลือเท่าที่จำเป็น

โลกใหม่ของการทำธุรกิจลักษณะนี้ได้เปลี่ยนความเชื่อในการทำธุรกิจต่าง ๆ ที่ฝังแน่นมานาน ผู้นำธุรกิจคุ้นเคยกับประสิทธิภาพของการประชุมแบบพบหน้ากันและกันมาหลายทศวรรษ เป็นนัยว่าการพบกันเป็นทางเดียวที่จะสร้างความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเชื่อใจกันได้ เอเชียเป็นภูมิภาคที่เชื่อในแนวทางนี้มากที่สุด ซึ่งรวมถึงความเชื่อที่ว่าการเดินทางทางธุรกิจเป็นวิถีชีวิตปกติ การพบปะพูดคุยกันเป็นเรื่องสำคัญที่จะดึงให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติต่อพันธมิตร รวมถึงการได้พบกันช่วยให้สามารถหาวิธีจัดการกับความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ทางวัฒนธรรมและการทำธุรกิจได้

วัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจขององค์กรไทยก็เช่นกัน ความอ่อนน้อมถ่อมตน และการคิดว่าการได้พบหน้ากันจะทำให้การเจรจาต่าง ๆ ราบรื่น และในระหว่างพบปะกันก็สามารถสังเกตปฏิกิริยาตอบกลับต่าง ๆ ได้ทันที แต่โควิด-19 ได้เข้ามาเร่งการเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่เคยมีมา ธุรกิจหันมาใช้เครื่องมือการประชุมออนไลน์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต่างแสวงหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์องค์กรของตนมากที่สุด ตัวอย่างของภาครัฐ เช่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้ให้บริการระบบประชุมทางไกลออนไลน์แบบ web conference ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีชื่อว่า GIN Conference (Government Information Network: GIN) ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และได้มีการปรับปรุงระบบเพื่อให้รองรับกับการใช้งานในภาวะเร่งด่วนและรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และจากภาวะวิกฤต
ทำให้ขยายการใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น

 

ปรับตัวสู่โลกใหม่

หากไม่มีการระบาดของโควิด-19 เราจะยังไม่รู้และไม่เข้าใจถึงพลังของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง หากไม่มีเทคโนโลยี โควิด-19 จะต้อนเราเข้ามุมที่โดดเดี่ยวในช่วงเวลาที่ไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แต่เทคโนโลยีช่วยให้เรายังคงติดต่อถึงกัน รักษาและสร้างความสัมพันธ์ใหม่ไว้ได้ 

บริษัทต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างจริงจังเพื่อให้ธุรกิจ “ดำเนินต่อไป” เป็นบริษัทที่มีวิธีคิดที่เต็มไปด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างแท้จริง บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST SEC เป็นบริษัทไทยที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานทั้งหมด มีการวางแผนที่รัดกุมทั้งด้านบุคลากรและเทคโนโลยีที่จะเลือกใช้ บริษัทใช้เวลาในการให้ความรู้ความเข้าใจและปรับวิธีคิดของพนักงาน และศึกษาโซลูชั่นอย่างจริงจังก่อนลงมือปรับเปลี่ยน โดยเริ่มต้นจากโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดปรับเป็นแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ ซึ่งการดำเนินการตามแผนเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ได้ผลลัพธ์เร็วกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าด้วยบริการที่สะดวกรวดเร็วไม่สะดุดแม้ในเวลาอัปเกรดระบบหรือต้องขยายระบบเพื่อรองรับธุรกรรมเร่งด่วนต่าง ๆ

 

ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

บางประเทศได้ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นี้อย่างเต็มที่ ข้อมูลจากผลสำรวจ ECI ของนูทานิคซ์ ทำให้เราได้เห็นว่าบริษัทหลายแห่งให้ความสำคัญกับการจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานจากบ้านอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จาก 46 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วโลก และ 62 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในไทยที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรองรับการทำงานจากระยะไกล การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกิดขึ้นได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ไฮบริดคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถทำให้พนักงานที่ทำงานจากระยะไกลสามารถเข้าถึงเวอร์ชวลแอปพลิเคชั่น เวอร์ชวลเดสก์ท็อป และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 

ปัจจุบัน ผู้นำธุรกิจจำเป็นต้องใช้การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันนี้กับสัมพันธภาพทางธุรกิจต่าง ๆ ภายนอกองค์กรด้วย

เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อผู้บริหารของบริษัทที่แทบจะหาเวลาเข้าร่วมประชุมแบบพบหน้ากันไม่ได้เลย จู่ ๆ ก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ในวาระการประชุมที่ในอดีตผู้บริหารเหล่านี้เคยบอกว่าต้องประชุมแบบพบหน้ากันเท่านั้น และเมื่อพวกเขารู้แน่ในข้อเท็จจริงแล้วว่าไม่สามารถทำการประชุมแบบพบหน้ากันได้อีกต่อไป ผู้บริหารเหล่านี้จึงยอมรับและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากการประชุมแบบเวอร์ชวล ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้มีเวลามากขึ้นเพื่อทำธุรกิจที่เป็นชิ้นเป็นอัน มากกว่านั่งจมอยู่บนท้องถนนกับการจราจรที่ติดขัด หรือรถไฟฟ้าที่แน่นขนัดในเวลาเช้าอันเร่งด่วนเพื่อเดินทางไปร่วมประชุม และเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนการประชุมที่เกี่ยวกับ ‘งานเอกสาร’ ต่าง ๆ ไปเป็นการใช้อีเมล์หรือการส่งข้อความแทน นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถทำธุรกิจกับคนทั่วโลกได้จากบ้านที่มีทั้งความปลอดภัยและสะดวกสบาย

 

ความขัดแย้งที่เห็นชัดเจน เมื่อการเว้นระยะห่างทำให้เกิดความผูกพันมากขึ้น

การทำธุรกิจแบบเวอร์ชวล ยังมีสิ่งดีงามที่ฉายออกมา นั่นคือ เทคโนโลยีช่วยให้เราทุกคนได้รับเชิญให้เข้ามาในบ้านของเพื่อนร่วมงานอย่างไม่ตั้งใจ และได้เห็นเด็ก ๆ สัตว์เลี้ยงของคนที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเรา เดินเข้าออกผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ได้อย่างจริงใจ และบนพื้นฐานของประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะได้แบ่งปันกันได้มากกว่าสิ่งที่เราแสดงออกต่อกันในการพบปะทางธุรกิจอย่างเป็นทางการในระยะเวลาสั้น ๆ

นอกจากนี้ การที่ทุกคนทำงานจากระยะไกล ทำให้เราต่างเผชิญกับการที่ต้องพยายามศึกษาและใช้งานการประชุมผ่านวิดีโอหรือการโทรศัพท์แบบกลุ่ม ในขณะที่ในอดีตห้องประชุมห้องหนึ่ง ๆ มักเต็มไปด้วยผู้เข้าประชุม และมีสปีกเกอร์โฟนตั้งอยู่กลางโต๊ะ อาจมีวิดีโอฉายอยู่บนหน้าจอขนาดใหญ่ แล้วเชื่อมต่อการประชุมในห้องนี้ไปยังพนักงานหนึ่งหรือสองคนที่ทำงานจากระยะไกล ปัจจุบัน ความท้าทายของพนักงานที่ทำงานจากระยะไกลคือความท้าทายของทุกคน นั่นคือ การสร้างพื้นฐานที่ใช้ร่วมกันที่เอื้อให้สร้างการปฏิสัมพันธ์ทางธุรกิจรูปแบบใหม่ได้ นอกจากนี้เมื่อทุกคนอยู่ไกลกันและมักสื่อสารกันแบบไม่ต้องโต้ตอบทันที จึงสามารถใช้เครื่องมือในการแปลภาษาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมในงานต่าง ๆ ไปได้ทั่วภูมิภาค

การระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราทุกคนมีประสบการณ์แล้วว่าการระบาดครั้งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบของสังคมทุกอณูไปแล้ว แต่นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ผู้บริหารต้องหยุดติดต่อกับพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตร ในทางตรงกันข้าม การที่ผู้บริหารได้นั่งประจำที่อยู่แห่งเดียว และมีตารางงานที่คาดการณ์ได้มากกว่า ช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถจัดการงานได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หาผู้อื่นแบบตัวต่อตัวได้มากขึ้น ช่วยให้ได้พูดคุยกับทีมงานที่ทำงานภาคสนามมากขึ้น และช่วยให้มีการประชุมออนไลน์กับพันธมิตรจำนวนมากเกินกว่าที่จะทำได้หากต้องเดินทางไปประชุมแบบพบหน้ากัน ความสามารถในการมารวมตัวกันแม้จะมีระยะห่างและมีความท้าท้ายต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมปรับตัว ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์เรา การที่เราทุกคนยอมรับความยืดหยุ่นที่เพิ่งค้นพบนี้ และสร้างวิธีการที่ดีขึ้นในการทำธุรกิจในอนาคตอันใกล้เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง